ประวัติพระ อริยสงฆ์ไทย
จากการศึกษาประวัติพระอรหันตสาวก หลายๆท่าน ทำให้ทราบว่า ท่านทั้งหลายล้วนต้องผจญเรื่องที่ไม่ดี ตามกรรมชั่วที่ท่านเคยทำไว้ในอดีต แม้ท่านจะเป็นผู้บริสุทธิ์หมดกิเลสแล้ว ยังไม่พ้นจากกรรม หรือแม้แต่ชาติสุดท้ายนี้ เมื่อท่านยังมิได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล ท่านเหล่านี่แหละ ยังประกอบกรรมที่ชั่วอยู่ ด้วยความไม่รู้และถูกกิเลสที่มีอยู่ในจิตครอบงำ
(หลวงปู่แหวน สุจิณโณ)
พระอริยสงฆ์ คือบุคคลผู้ละกิเลสตั้งแต่ 3 ข้อไปจนถึง 10 ข้อได้อย่างสิ้นเชิง ป็น(สังโยชน์ ๑๐) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
- พระโสดาบัน - ละสังโยชน์ ๓ ข้อแรก
- พระสกิทาคามี - ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย
- พระอนาคามี - ละสังโยชน์ ๕ ข้อแรก
- พระอรหันต์ - ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ
บุคคลผู้ได้ชื่อว่าพระอริยสงฆ์นี้ มีได้ทั้งชาวบ้าน (ฆราวาส) และนักบวช (บรรพชิต) มีได้ทั้งชายและหญิง หากละกิเลสได้ก็นับว่าเป็นพระอริยสงฆ์ทั้งสิ้น ในทางกลับกัน หากเป็นนักบวชที่โกนหัว นุ่งห่มผ้าเหลือง แต่ยังถูกกิเลสทั้ง 10 ครอบงำ ก็เป็นได้เพียง “สมมติสงฆ์” ที่มีคุณค่าแค่เพียงปุถุชนคนหนาทั่วๆ ไป
การเพ่งโทษ การตำหนิติเตียน การให้ร้ายผู้อื่น เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนาสอนว่าไม่ควรกระทำ เพราะสิ่งเหล่านี้มันจะให้ผลย้อนกลับมาทำร้ายตัวเราเองในรูปแบบของความทุกข์ ใจ ยิ่งเราทำกรรมเหล่านี้กับพระอริยสงฆ์ด้วยแล้วล่ะก็ ผลที่สะท้อนกลับยิ่งหนักหนารุนแรง ให้ผลต่อเนื่องทั้งปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากไม่มีตัวตนฝั่งผู้รับ ดังนั้นกรรมใดๆ ที่เราเป็นผู้ส่งออกไป ผู้รับย่อมต้องเป็นเราแต่เพียงผู้เดียว
เป็นเหมือนคดีอาญา ที่ถึงแม้ว่าเจ้าทุกข์จะไม่เอาความ แต่ผู้กระทำความผิดย่อมต้องได้รับโทษอยู่วันยังค่ำ
จะคลั่งชาติคลั่งการเมืองก็คลั่งไป จะบ้าประชาธิปไตยก็บ้าไป จะยึดมั่นในสิทธิเสรีภาพก็ตามสบาย จะเข้าร่วมขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ตามแต่ปรารถนา เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นสมมติบัญญัติที่มีเกิดดับ มีเสื่อมสลาย ไปตามเหตุปัจจัยและกาลเวลาทั้งสิ้น ผู้กระทำกรรมก็ย่อมได้รับผลเช่นเดียวกับที่กระทำกับสมมติบัญญัติ
แต่สำหรับกรรมที่กระทำต่อพระอริยสงฆ์ ซึ่งถือเป็นตัวแทนของวิมุติบัญญัตินั้น แม้ไม่นับเป็นกรรมหนัก (อนันตริยกรรม) เช่น ฆ่าแม่ ฆ่าพ่อ ฆ่าพระอรหันต์ แต่ก็ถือเป็นกรรมที่หนักหนาสาหัสกว่าการทำกับสมมติบัญญัติ
เท่าที่ได้ศึกษาทางนี้มาพอสมควร มั่นใจว่าพระมหากษัตริย์พระองค์นี้มีภูมิธรรมอยู่ในขั้นพระอริยสงฆ์อย่างแน่ นอน การได้กราบไหว้สักการะถือเป็นสิ่งดีที่ควรปฏิบัติ ย่อมได้รับผลให้จิตใจเบิกบาน แต่หากปฏิบัติต่อท่านด้วยแนวทางตรงกันข้ามแล้วไซร้ ผลกรรมย่อมตกแก่ตัวผู้กระทำเองทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
ว่างๆ ลองสังเกตดูเหล่าพวกที่กระทำกรรมชั่วต่อท่าน ลองดูสีหน้า ใบหน้า แววตา ชีวิตความเป็นอยู่ ของพวกเขาเหล่านั้น รังสีทุกข์มันแสดงออกมาเด่นชัดมาก หากวันหน้ายังมีลมหายใจอยู่และมีใจฝักใฝ่เรื่องของชาวบ้าน ให้รอดูชีวิตในบั้นปลายของแต่ละคนที่เพ่งโทษ ตำหนิติเตียน ให้ร้าย แก่พระเจ้าอยู่หัว หรือพระหลวงตามหาบัว ดูนะ
หากไม่เชื่อสิ่งใดๆ ในโลกนี้ ขอให้เชื่อเรื่องกรรม … ปลูกพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น มีบ้างที่ปลูกถั่วเขียวแล้วได้ถั่วงอก นั่นเพราะว่าเป็นสมมติที่เราไปบัญญัติกันขึ้นมาเอง
กรรมพาไปทั้งนั้น…
(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
(หลวงปู่ขาว อนาลโย)
(หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
(หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
(หลวงปู่ชอบ ฐานสโม)
(หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
(หลวงพ่อเกษม เขมโก)
ยกเว้นหลวงพ่อเกษม เขมโก … หลวงปู่ หลวงพ่อ ทุกรูป ต่างล้วนเป็นพระป่าสุปฏิปันโน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทั้งสิ้น
1.ชีวประวัติย่อและอาจาโรวาท หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรรณานิคม จ.สกลนคร
บรรยายโดย พระตะวัน ปัญญาวชิโร(คำสุจริต) รายการภูพานธรรม
2.รวมธรรมะครูบาอาจารย์สายปฏิบัติกัมมัฏฐาน
3.รวมธรรมะหลวงพ่อชา สุภัทโท (วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี)
4.ตอบปัญหานานาสาระ โดยพระอธิการสุธรรม สุธัมโม
วัดป่าหนองไผ่ จ.สกลนคร
5.โอวาทธรรมพระอริยะ ๑
6.โอวาทธรรมพระอริยะ ๒
7.โอวาทธรรมหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
8.โอวาทธรรมหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
9.โอวาทธรรมพระเจนยุทธนา จิรยุทฺโธ (หลวงปู่ภูพาน)
10.พระวินัย ๒๒๗ เทศน์ภาคปฏิบัติ หลวงปู่จันทา ถาวโร
11.ธรรมะหลวงปู่พุธ ฐานิโย (วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา)
12.หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
13.หลวงพ่อเลี่ยม ฐิติธมฺโม วัดป่าพง
14.หลวงพ่อเลี่ยม ฐิติธมฺโม วัดป่าพง (๒)
15.ประวัติหลวงตาคำดี ปัญโญภาโส วัดป่าสุทธาวาส
16.พระธรรมเทศนาหลวงพ่อบุญกู้ อนุวฑฺฒโน
วัดพระศรีมหาธาตุ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม.
|
คติธรรมหลวงปู่มั่น : คนดีมีศีลธรรม |
|
|
|
คนดีมีศีลธรรม หายากยิ่งกว่าเพชรนิลจินดา ทำให้โลกร่มเย็นและยั่งยืน
หา คนดีมีศีลธรรมในใจ หายากยิ่งกว่าเพชรนิลจินดา ได้คนเป็นคนดีเพียงคนเดียว ย่อมมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นล้าน ๆ เพราะเงินล้านไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจ เหมือนได้คนดีมาทำประโยชน์ คนดีแม้เพียงคนเดียวยังสามารถทำความเย็นให้แก่โลกได้มากมายและยั่งยืน เช่น พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายเป็นตัวอย่างคนดี แต่ละคนมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นก่ายกอง เป็นคุณค่าแห่งความดีของตนที่จะทำต่อไปมากกว่าเงิน แม้จะจนก็ยอมจนขอแต่ให้ตัวดีและโลกมีความสุข
แต่คนโง่ชอบเงินมากกว่าคนดีและความดี ขอแต่ได้เงิน แม้ตัวจะเป็นอย่างไรไม่สนใจคิด สนใจดู ถึงจะชั่วช้าลามกหรือแสนโสมมเพียงไรไม่หลีกห่าง ขนาดยมบาลเกลียดกลัวไม่ยอมนับเข้าบัญชีผู้ต้องหา กลัวจะไปทำลายสัตว์นรกด้วยกันให้เดือดร้อน ขอแต่ได้เงินก็เป็นที่พอใจ ส่วนจะผิดถูกประการใดเขาไม่ยุ่งเกี่ยว
คนดีกับคนชั่ว สมบัติเงินทองกับธรรมะ คือ คุณความดี ผิดกันอย่างนี้แล ใครมีหูมีตาก็คิดแก้ไขเสียแต่บัดนี้ อย่าให้สายเกินแก้ ฉะนั้น สัตว์โลกจึงต่างกันทั้งภพ กำเนิด รูปร่างลักษณะ จริตนิสัย ดีชั่ว สุขทุกข์ เพราะกฎของกรรมหรือกฎของตัวเองที่ทำขึ้น มิใช่กฎของใครไปทำให้ ตัวทำเอาเอง
.............................................................................................................................
คำสอนหลวงปู่ ครูบาอาจารย์ต่างๆ
บทธรรมเทศนาจากหลวงปู่ และครูบาอาจารย์ทั่วเมืองไทย
เสียงธรรม ออนไล
อ่านประวัติ/ฟังเสียงเทศนาธรรม บรรยายธรรม ของอริยสงฆ์ ครู อาจารย์ที่เคารพ
อ่านประวัติ/ฟังเสียงเทศนาธรรม บรรยายธรรม ของอริยสงฆ์ ครู อาจารย์ที่เคารพ
|
เสียงธรรม ออนไล
เปรียบนิสัยของพระอริยเจ้าและปุถุชนไว้ดังนี้
๑. น้ำลึกเงาลึก ๒. น้ำลึกเงาตื้น ๓. น้ำตื้นเงาลึก ๔. น้ำตื้นเงาตื้น ทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นวิธีตัดสินได้ยากมาก เพราะไม่มีญาณหยั่งรู้พิเศษเฉพาะตัว นอกจากจะสุ่มเดาไปเท่านั้น
ข้อ ๑ คำว่า น้ำลึกเงาลึก นั้น หมายความว่า ท่านผู้นั้นมีคุณธรรมอยู่ในใจแล้ว และก็ยังมีนิสัยกิริยามรรยาทการแสดงออกมาทางกายและวาจามีความสุขุมลุ่มลึก เป็นนิสัยเดิมของท่านเป็นมาอย่างนั้น ถ้าลักษณะอย่างนี้ก็พอจะเดาถูกบ้าง
ข้อ ๒ คำว่า น้ำลึกเงาตื้น หมาย ความว่า ท่านผู้นั้นมีคุณธรรมอยู่ภายในใจแล้ว แต่กิริยามรรยาทการแสดงออกมาทางกายและวาจาไม่มีความสำรวมเลย อยากแสดงตัวอย่างไร อยากพูดอย่างไร ก็เป็นในความไม่สำรวมทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ผิดในพระธรรมวินัย ไม่มีอกิริยาภายในใจ แต่เป็นเพียงกิริยาที่แสดงออกมาเท่านั้น ถ้าหากไปพบเห็นผู้ที่ท่านเป็นนิสัยอย่างนี้ ก็จะเดาภายในใจไปเลยว่า ท่านผู้นี้ยังเป็นปุถุชนทันที เพราะมีนิสัยไม่น่าเคารพเชื่อถือได้เลย
ข้อ ๓ น้ำตื้นเงาลึก หมายความว่า ท่านผู้นั้นยังไม่มีคุณธรรมภายในใจ แต่กิริยามรรยาทการแสดงออกมาทางกายและวาจานั้นมีความสุขุมลุ่มลึกมาก การสำรวมทางกาย การสำรวมทางวาจาน่าเลื่อมใส ใครได้พบเห็นแล้วจะเกิดความเชื่อถือเป็นอย่างมาก เพราะความบกพร่องในความชั่วร้ายในตัวท่านไม่มี ถ้าได้พบเห็นผู้ที่ท่านมีนิสัยอย่างนี้ ก็จะเดาไปว่าเป็นพระอริยเจ้าทันที
ข้อ ๔ น้ำตื้นเงาตื้น หมายความว่า ท่านผู้นั้นยังไม่มีคุณธรรมภายในใจเลย กิริยามรรยาทการแสดงออกทางกายทางวาจาไม่มีความสำรวมแต่อย่างใด ทำไปพูดไปตามใจชอบ ถ้าหากพบเห็นท่านผู้ใดมีกิริยาการแสดงออกมาอย่างนี้ ก็จะพอเดาถูกอยู่บ้าง
การแบ่งภูมิธรรมของพระอริยบุคคล
- พระโสดาบัน แบ่งเป็น3ประเภทดังนี้
- เอกพิชีโสดาบัน ผู้ที่จะเกิดอีกชาติเดียวก็จะบรรลุอรหันต์
- โกลังโกลโสดาบัน ผู้ที่จะเกิดอีก2-6ชาติ แล้วจะบรรลุอรหันต์
- สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ผู้ที่จะเกิดอีกไม่เกิน 7ชาติ จะบรรลุอรหันต์
- พระสกทาคามี ผู้ที่จะมาเกิดอีกเพียงชาติเดียวแบ่งเป็น5 ประเภท
- ผู้บรรลุธรรมนี้ ในโลกมนุษย์และบรรลุอรหัตผลในโลกมนุษย์
- ผู้บรรลุธรรมนี้ ในโลกมนุษย์แล้วไป บรรลุอรหัตผลในเทวโลก
- ผู้บรรลุธรรมนี้ ในเทวโลกและบรรลุอรหัตผลในเทวโลก
- ผู้บรรลุธรรมนี้ ในเทวโลก แล้วมาบรรลุอรหัตผลในโลกมนุษย์
- ผู้บรรลุธรรมนี้ ในโลกมนุษย์แล้วไปเกิดในเทวโลก และกลับมาบรรลุอรหัตผลที่โลกมนุษย์
- พระอนาคามี ผู้ที่จะไม่กลับมาเกิดในกามภพอีก แบ่งเป็น5ประเภท
- อันตราปรินิพพายีสำเร็จอรหันต์และปรินิพพานภายในอายุครึ่งแรกของพรหมชั้นสุทธาวาสที่สถิตอยู่
- อุปหัจจปรินิพพายีสำเร็จอรหันต์และปรินิพพานภายในอายุครึ่งหลังของพรหมชั้นสุทธาวาสที่สถิตอยู่
- อสังขารปรินิพพายี สำเร็จอรหันต์และปรินิพพานในพรหมโลก โดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก
- สสังขารปรินิพพายี สำเร็จอรหันตผลและปรินิพพานในพรหมโลก โดยต้องใช้ความเพียรมาก
- อุทธังโสตอกนิฏฐคามี ไปเกิดเป็นพรหมชั้นสุทธาวาสแล้ว จุติเกิดเป็นพรหมที่สูงขึ้นจนถึงชั้นอกนิฏฐพรหมจึงสำเร็จอรหันต์และปรินิพพานในที่นั้น
- พระอรหันต์ ผู้ดับกิเลสเป็นสิ้นแล้ว แบ่งเป็น 2ประเภท
- เจโตวิมุตติ ผู้ที่ปฏิบัติสมถกรรมฐานได้ฌาณก่อน แล้วเจริญวิปัสสนาจนสำเร็จพระอรหันต์
- ปัญญาวิมุตติ ผู้สำเร็จอรหันต์ด้วยการเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว
-
-