yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - 34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง

กิเลส 1500  ตัณหา 108 
              กิเลสกับตัณหาเป็นเพื่อนสนิทกัน.....คราใดที่เกิดตัณหาคือ ความอยาก  กิเลสคือความเศร้าหมองก็จะติดตามมาทันที.....เช่น  เมื่อเกิดภวตัณหาความอยากมีอยากเป็น  โลภกิเลสคือความโลภอยากได้ก็จะควงแขนมาทันที  เมื่อเกิดวิภวตัณหาความอยากไม่มีอยากไม่เป็น  โทสกิเลสคือความโกรธก็จะตามมาทันที  และเมื่อเกิดกามตัณหาความอยากในกาม  ราคะกิเลสคือความกำหนัดยินดีในกามก็จะแฝงตัวมาทันที......ที่ไหนมีไฟที่ นั่นก็จะมีความร้อน  แยกกันไม่ออกครับ
              และทั้งตัณหาและกิเลส  ก็คือเหตุให้เกิดทุกข์  ถ้าอยากพ้นทุกข์จึงต้องทำใจให้หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาให้ได้.....

กิเลส คือ ตัวโลภ โกรธ หลง......ทั้ง3ตัวนี้ครอบงำเรามาทุกภพทุกชาติ ตราบใดที่กิเลสตัวใดตัวหนึ่งยังหลงเหลืออยู่ก็ต้องไปเกิด ไปจุติที่ใดที่หนึ่ง(ชาติ,ภพ)ในสามโลก(อบายภูมิ-มนุษย์โลก-สวรรค์โลก)วน เวียนอยู่นี่ เป็นไปตามกฎแห่งกรรม ๆคือกฎธรรมชาติเหมือนสนามแม่เหล็กโลก ดูดทุกอย่างไปหมด ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่าแรงกรรม กรรมเป็นของตนเอง กรรมเป็นทายาท กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ฯลฯ.....พระพุทธเจ้าท่านตรัสบอกพวกเราไว้ว่า "ฤกษ์ก็เป็นประโยชน์สำหรับตัวฤกษ์เอง ดวงดาวจะทำอะไรได้....."ดวงดาวไม่มีความหมาย แต่กรรมมีความหมายในทุกวินาที จิตวิญญาณของคนนี่เป็นคอมพิวเตอร์ที่บริสุทธิ์ มีประสิทธิภาพสูงที่สุด มีความจุไม่จำกัดขนาด ไม่ว่าคุณจะไปทำกรรมดี กรรมชั่วแอบซ่อนไว้ที่ไหน มันก็บันทึกลงไว้ในซีพียูคือในจิตวิญญาณคุณหมดแหละนะ คุณตายไปมันก็ติดตัวคุณไปด้วยโดยอัตโนมัติแล้วมันฝังไว้ในดีเอ็นเอของคุณ สะสมไปเรื่อยๆทุกภพทุกชาติ แถมตกทอดไปยังลูกๆคุณอีกด้วย(น่ากลัวไหมล่ะ).......เวลาตายสำคัญมากนึกถึง บุญกุศลก็ไปข้างบน นึกถึงบาปกรรมชั่วก็ลงไปข้างล่าง บางทีกลางๆก็เกิดมาเป็นคนอีก.....ยังไม่มีปัญญาพอที่จะหลุดพ้นไปจาก สังสารวัฏได้ เหมือนพายเรืออยู่ในเขื่อน วนอยู่นั่นละครับ ไม่รู้ตัวด้วยว่าพายเรือวนอยู่ หาทางออกไปไหนก็ไม่ได้ ถ้ากิเลสหมดคุณก็ไปนิพพาน นั่นแหละหมดเรื่องไปเลยทีเดียว......คนสมัยนี้เขาไม่ค่อยเชื่อกันนะว่าบุญ บาปมีจริง สวรรค์นรกมีจริง เขานึกไปว่าตายแล้วสูญ ก็ทำแต่เรื่องที่ตัวชอบ เห็นว่ามีความสุขจึงทำ ใครเป็นอย่างไร กระทบใครๆอย่างไรไม่สนใจ โลกมันถึงได้ยุ่งวุ่ยวายกันไม่รู้จบไงครับ ทุกวันนี้คนบูชาเงิน เงิน เงิน......จริงๆแล้วพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า "เงินคืองูพิษ"......มันพร้อมจะกัดคุณให้ตายได้ทันทีเมื่อคุณเผลอ รู้ไม่เท่าทันมัน.....แล้วความจริงเงินซื้อไม่ได้ทุกอย่างหรอกนะ ความรัก ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี่ซื้อไม่ได้หรอก ยังไงก็ต้องเจ็บ แก่และตายวันยังค่ำแหละทุกคนด้วย......แต่คนก็บูชาเงิน ๆ ๆ ......แล้วคนรวยมีความทุกข์ไหม ตอบว่ามี แล้วมีเยอะซะด้วยซี เปรียบเทียบกับคนจนๆมีความทุกข์น้อยกว่า เพราะเขามีความต้องการน้อยกว่า มีความพอมากกว่า ตราบใดที่คุณพอ นั่นแหละคุณหยุดแล้วนะ คุณจะพบกับความสุขที่แท้จริงครับ.......ทุกอย่างขึ้นกับการกระทำของเราเอง (กรรม)ไม่ใช่เรื่องดวงดาวอะไรหรอกครับ.......

วิธีคิด กิเลส 1500

คนเรามีจิต ก็คิดเป็น 1 อย่าง

มีเจตสิก คือ เครื่องปรุงแต่งจิต อีก 52 อย่าง

มีรูปปรมันตถ์ ตามพระอภิธรรมที่เป็นรูปปรมันตถ์แท้ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ ประสาทต่างๆ ฯลฯ อีก 18 รูป

มี ลักขณรูป คือเป็นอาการของรูปแท้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่สืบต่อกัน แก่ และ ตาย อีก 4 รวม 75

ของ ทั้ง 75 อย่างนี้มีทั้งที่เกิดอยู่ภายในตัวเรา และภายนอกตัวเรา ( เช่นผู้อื่น ) นับภายใน 1 ภายนอก 1 มีอย่างละ 75 เท่รากัน จึงรวมเป็น 150

ที นี้ กิเลสชนิดต่างๆ มีอยู่ 10 ชนิด ที่จะเกิดขึ้นได้ใน 150 แห่งนั้น กิเลสเหล่านั้นคือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ 150 คูณด้วย 10 จึงเป็น กิเลส 1500

โลภะ ความอยากได้ในกามคุณอารมณ์
โทสะ ความโกรธ ความประทุษร้าย
โมหะ ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ขาดปัญญา โง่เขลา
มานะ ความเย่อหยิ่งถือตัว ว่าดีกว่าเขา ต่ำกว่าเขา หรือเสมอเขา
ทิฏฐิ ความคิดเห็นผิด
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย เคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย
ถีนะ ความหดหู่ ความท้อแท้ใจ
อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตส่าย ใจวอกแวก
อหิริกะ ความไม่ละอายแก่ใจ ไม่ละอายต่อความชั่ว
อโนตตัปปะ ความไม่กลัวบาป ไม่เกรงกลัวต่อทุจริต

 
วิธีคิด ตัณหา 108

ตัณหาหลักมี 3 อย่าง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ รวม 6 ทาง
คูณกันนับเป็น 18 เกิดขึ้นภายในตัวเรา 18 เกิดขึ้นภายนอกตัวเรา ( เช่นที่คนอื่น ) 18 รวมเป็น 36

ทีนี้ เวลาที่ตัณหาเกิด มีเป็น 3 ระยะ คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต อย่างละ 36 รวมเป็น ตัณหา 108
 
 
 
 

  กิเลส ๑๕๐๐

อารัมมณธรรม คือ ธรรมที่เป็นอารมณ์ ๑๕๐ คูณด้วยกิเลส ๑๐ จึงเป็นกิเลส โดยพิสดาร ๑,๕๐๐
อารมฺมณธมฺม = ธรรมที่เป็นอารมณ์    อชฺฌตฺต ภายใน     พหิทฺธ ภายนอก      
                                                                  
รวม

นาม    1.จิต                                            1                        1                      2
          2.เจตสิก                                      52                      52                 104

รูป      3.นิปผันนรูป                                  18                      18                     36
          4.ลักขณรูป                                     4                        4                       8
                รวม                                        75                      75                   150

ที่แสดงกิเลส ๑,๕๐๐ นี้ เป็นการแสดงกิเลสตามธรรมที่เป็นอารมณ์ ทั้งภาย ในและภายนอก
อีกนัยหนึ่ง จำแนกกิเลสออกตามอาการของกิเลส ก็จำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ

ก. อนุสยกิเลส  ได้แก่ กิเลสที่ตามนอนเนื่องอยู่ในสันดาน หมายความว่า กิเลสจำพวกนี้นอนสงบนิ่งอยู่ ยังไม่ได้ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์ ซึ่งตัวเองก็ไม่สามารถรู้ ได้ และคนอื่นก็ไม่สามารถรู้ได้
ข. ปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่ กิเลสที่เกิดอยู่ภายใน หมายความว่า กิเลสจำพวก นี้เกิดอยู่ในมโนทวารเท่านั้น คือลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อยู่ในใจ ยังไม่ถึงกับแสดง ออกมาทางวาจาหรือทางกาย ซึ่งตัวเองรู้ ส่วนคนอื่นบางทีก็รู้บางทีก็ไม่รู้
ค. วีติกกมกิเลส  ได้แก่ กิเลสที่เกิดขึ้นภายนอก หมายความว่า กิเลสจำพวก นี้ได้ล่วงออกมาแล้วถึงกายทวาร หรือวจีทวาร อันเป็นการลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อย่าง โจ่งแจ้ง
 
ตัณหา 108   ความทะยานอยาก

อารมณ์ตัณหา ๖ คือ
  รูปตัณหา ๑, สัททตัณหา ๑, คันธตัณหา ๑, รสตัณหา ๑,  โผฏฐัพ พตัณหา ๑ และ ธัมมตัณหา ๑
ปวัตติอาการ คือ         อาการที่เป็นไป ๓ ได้แก่ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ และ วิภวตัณหา ๑

อารมณ์ตัณหา ๖ คูณด้วยปวัตติอาการ ๓ เป็นตัณหา ๑๘
ตัณหา ๑๘ นี้ เกิดที่สัณฐานใน คือ เกิดภายใน ๑  และเกิดที่สัณฐานนอก คือ เกิดภายนอก ๑   รวมเป็น ๒
คูณกับตัณหา ๑๘ นั้น เป็นตัณหา ๓๖
ตัณหา ๓๖ นี้ เกิดได้ในกาลทั้ง ๓ คือ ปัจจุบันกาล ๑ อดีตกาล ๑ และ อนาคตกาล ๑  เอากาลทั้ง ๓ นี้คูณ
ตัณหา ๓๖ นั้นอีก จึงรวมเป็นตัณหา ๑๐๘

1. กามตัณหา คือ ความทะยานอยากได้ ของตัณหา 6 ประการ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ เช่น อยากได้ของสวยที่ตนไม่มีสิทธิได้ อยากรับทานอาหารทิพย์ อยากได้กลิ่นหอมของเทวดา อยากฟังเสียงจากสวรรค์ อยากมีรูปงามอย่างนางฟ้า อยากมีบ้านสวย ทำให้ไม่รู้จักพอ เป็นต้น
2. ภวตัณหา คือ ความทะยานอยากเป็น อยากมี หรืออยากให้อยู่ เช่น อยากเป็นนายกรัฐมนตรี อยากเป็นเจ้า อยากเป็นดารา นักร้อง จนถึงอยากนิพพาน ก็นับเป็นตัณหา
3. วิภวตัณหา คือ ความทะยานอยากไม่ให้เป็น ไม่ให้อยู่ หรือให้พ้นไป ของสิ่งที่สมควรจะเป็น เช่น ไม่อยากแก่ ไม่อยากตาย ไม่อยากให้สิ่งที่มีอยู่หมดสิ้นไป หรือเชื่อว่าตายแล้วสูญไม่เกิดอีก ในความเป็นจริงลักษณะของตัณหาทั้ง 3 ประการนี้ไม่ได้เกิดตามลำพังแต่เกิดต่อเนื่องกัน เช่น กามตัณหา คือ อยากได้ เมื่อได้มาแล้วก็เป็นภวตัณหา คือ อยากให้อยู่ตลอดไป แต่เมื่อเบื่อก็เกิดวิภวตัณหา คืออยากให้พ้นไปจากตน จึงรวมเรียกว่า ตัณหา 3

อุปาทาน เป็นตัวกิเลสที่ต่อมาจากตัณหา คือเมื่อคนเรามีความทะยานอยากแล้วก็เกิดอุปาทานคือความหลงเชื่อผิดว่าเป็น ของตน ทำให้มีการ ยึดถือ ไม่ยอมปล่อย ไม่ว่าจะเป็นยศ ศักดิ์ สรรเสริญ บริวาร ทรัพย์สมบัติ หรือรูปกายของตน จะมีอุปาทานยึดมั่นว่าเป็นของตนทั้งสิ้น โดยลืมนึกไปว่าอย่าว่าแต่ของนอกกายเหล่านี้เลย แม้แต่ร่างกายของเรายังยึดไม่อยู่ มีป่วย มีแก่ชรา มีตาย สลายไป อุปาทานจึงเป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอันหนึ่ง ซึ่งอาจแยกสาเหตุได้หลายอย่าง ได้แก่

อัตตวาทุปาทาน
เป็นข้อสำคัญที่สุดคือความยึดมั่นว่าเห็นตนเองหรืออัตตาเป็นตัวเรา สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นของตนและยึดไว้ไม่ยอมปล่อย อันจะเป็นเหตุให้เกิดภพชาติต่อๆไป พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ยึดว่าทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
กามุปาทาน ความยึดมั่นในรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัสและการบริโภคของที่มีที่ได้
ทิฏฐปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในความคิดเห็นของตนว่าเป็นสิ่งถูกต้องแน่นอน
สิลพัตตุปาทาน ความยึดมั่นกับศิลพรต ซึ่งมีข้อยึดถือข้อปฏิบัติต่างๆกันว่าของตนถูกต้อง ซึ่งเป็นความงมงาย

ซึ่งถ้าดูเหตุการณ์ในปัจจุบันนี้ที่เห็นคนเขาทะเลาะโต้เถียงกันอยู่ แบ่งพรรคแบ่งพวก จนถึงฆ่ากันตาย ก็เกิดจากข้อกามุปาทานกับทิฎฐปาทาน ในประเทศที่ต่างศาสนาตีกันฆ่ากันอยู่ก็จากสิลพัตตุปาทาน ต่างยึดมั่นของตน จนเกิดมีการสู้รบแย่งดินแดนกัน คนแย่งที่ดินกัน แย่งหญิงแย่งชายกัน ก็เป็นอัตตวาทุปาทานนั่นเอง ดังนั้นอุปาทานจึงเป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอย่างชัดเจนดังนี้ ผู้ใดจะปฏิบัติตัวให้พ้นทุกข์ จึงต้องลดตัณหา อุปาทาน ให้บางลงมากที่สุด แต่ก็คงเป็นความจริงที่ว่าผู้ที่มีตัณหาอุปาทานน้อยมากคงจะดำรงชีวิตในสังคม มนุษย์ที่แย่งชิงแข่งขันกันทุกสิ่งได้ยาก เราคงจะต้องเดินสายกลางในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันตัวตัณหาอุปาทานก็พอจะแก้ไขให้ได้ดีต่อตัวเรามากที่สุด

อวิชชา คือ ข้อสุดท้ายที่สำคัญที่สุดของ กิเลส แปลตามตัวหมายถึง ความไม่รู้จริงไม่รู้แจ้ง ความโง่ ความไม่รู้ทันเกี่ยวกับเรื่องของชีวิต รวมถึงความไม่ยอมรับรู้ และความรู้ผิดด้วย ซึ่งทางโลกคำว่าวิชามักจะหมายถึงผู้ที่มีการศึกษา แต่ในทางธรรมไม่ได้หมายถึงความรู้ที่ได้จากวิชาที่ได้จากการศึกษา แต่เป็นวิชาที่เกิดจากการศึกษาทางธรรมของพระพุทธองค์พระองค์เดียวและปฏิบัติ ทางจิตจนสามารถรู้ทันกิเลส ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน ทำให้เบาบางลง ผู้ที่มีอวิชชาอาจจะจบปริญญาเอกจากมหาวิยาลัยที่เด่นดังที่สุดในโลก ได้เหรียญได้รางวัลต่างๆมีชื่อเสียง แต่ถ้าไม่รู้ทันตัณหา อุปาทาน รวมทั้งไม่รู้จักอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แล้ว ทางธรรมก็ถือเป็นผู้ที่มีอวิชชาทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถรู้ถึงทางที่จะพ้นทุกข์ คือนิพพานได้ เพราะยังติดตัณหาอุปาทานที่จะนำให้เกิดภพเกิดชาติไปไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นเพราะความสำคัญเช่นนี้ในปฏิจจสมุปบาทจึงเริ่มต้นด้วยคำว่า อวิชชา

กิเลส ข้อที่สำคัญที่สุดคือ อวิชชา คือความไม่รู้ ความไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ในเรื่องของชีวิต ของสังขาร ของบาปบุญ รู้เรื่องของการเกิดดับฯ อวิชชาทำให้เกิดกิเลสตัวอื่น คือ ตัณหา และอุปาทาน และทำนองเดียวกัน การเกิดตัณหาและอุปาทานทำให้เกิดอวิชชา อวิชชาจึงเป็นกิเลสตัวใหญ่ ถ้าแก้ความไม่รู้ได้ ก็จะไม่มีตัณหาและอุปาทาน ก็จะหมดซึ่งกิเลสทั้งปวง

 อกิเล 10

กิเลสเป็นสภาพธรรมที่เศร้าหมองและเร่าร้อน ซึ่งยังให้ สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองและเร่าร้อน กิเลส มี ๑๐ ประการ คือ

๑. โลภกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะยินดีชอบใจในอารมณ์ ๖ องค์ ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน
โลภมูลจิต ๘

๒. โทสกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ชอบใจในอารมณ์ ๖ องค์ธรรม ได้แก่ โทสเจตสิก ที่ใน
โทสมูลจิต ๒

๓. โมหกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความมัวเมาลุ่มหลง ไม่รู้สึกตัว ปราศจากสติสัมปชัญญะ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

๔. มานกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความทนงตนถือตัว องค์ธรรม ได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔

๕. ทิฏฐิกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความเห็นผิดจากเหตุผลตาม ความเป็นจริง องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๖. วิจิกิจฉากิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความสงสัยลังเลใจใน พระ พุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉา สัมปยุตตจิต ๑

๗. ถีนกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะหดหู่ท้อถอยจากความเพียร องค์ ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก ที่ในอกุสลสสังขาริกจิต ๕

๘. อุทธัจจกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะเกิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

๙. อหิริกกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ละอายในการกระทำบาป องค์ธรรมได้แก่ อหิริกเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

๑๐. อโนตตัปปกิเลส เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่เกรงกลัวผลของการ กระทำบาป องค์ธรรมได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

ธรรมที่เป็นกิเลส สัก ๗๗ ข้อ  ซึ่งเป็นธรรมที่ต้องต้องละเสีย ดังนี้
อกุศลกรรมบท ๑๐ กรรมที่เป็นอกุศล

๑. ปาณาติบาต  คือการฆ่าสัตว์

 ๒. อทินนาทาน  คือการลักทรัพย์
              ๓. กามเมสุมิจฉาจาร   คือการผิดในกาม
 ๔. มุสาวาท       คือการการพูดเท็จ
  ๕. ปิสุณวาจา    คือการพูดส่อเสียด
   ๖. ผรุสวาจา      คือการพูดคำหยาบ
   ๗. สัมผัปปลาปะ   คือการพูดเพ้อเจ้อ
    ๘. อภิชฌา   คือการเพ่งเล็งทรัพย์ผู้อื่น
๙. พยาบาท  คือการการปองร้าย
๑๐. มิจฉาทิฎฐิ    คือการความเห็นผิด

อกุศลวิตก ๓ ความคิดตรึกตรองที่เป็นอกุศล
๑. กามวิตก   คือ ความคิดตรึกตรองไปในกาม
๒. พยาบาทวิตก  คือ ความคิดตรึกตรองไปในการประทุษร้าย
๓. วิหิงสาวิตก     คือ ความคิดตรึกตรองไปในการเบียดเบียน

อุปกิเลส ๑๖  ความมัวหมองที่เข้าไปครอบครองจิต
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ  คือความละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือกว่าควรหรือไม่ควร
๒. โทสะ   คือ ความมีใจคิดประทุษร้าย
๓. โกธะ    คือ ความโกรธ
๔. อุปนาหะ  คือ ความผูกโกรธไม่วาง
๕. มักขะ      คือ ความลบหลู่คุณท่าน
๖. ปลาสะ     คือ ความตีเสมอ
๗. อิสสา      คือ ความริษยา (ตามพจนานุกรมไทยคือความหึงหวง ความชิงชัง)
๘. มัจฉริยะ   คือ ความตระหนี่
๙. มายา   คือ ความมีจิตคิดเล่ห์กลลวง
๑๐.สาเถยยะ  คือ ความโอ้อวด
๑๑. ถัมภะ      คือ ความรั้นในทางที่ผิด
๑๒. สารัมภะ   คือ ความแข่งดี
๑๓. มานะ      คือ ความถือตัว
๑๔. อติมานะ  คือ ความดูหมิ่นท่าน
๑๕. มทะ       คือความมัวเมา
๑๖. ปมาทะ    คือความเลินเล่อหรือละเลย
 อาสวะ ๓ เครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
๑. กามาสวะ   คือความเศร้าหมองเพราะเกิดกาม
๒. ภวาสวะ    คือความเศร้าหมองเพราะติดอยู่ในภพ (กามาวจร อกุศลจิต )
๓. อวิชชาสวะ   คือความเศร้าหมองเพราะความมืดบอดของจิตที่ถูกอวิชชาครอบงำ

ตัณหา ๓ ความทะยานอยากไปของจิต

๑. กามาตัณหา   คือความอยากได้ ทะยานอยากไปใน รูปเสียงกลิ่นรส อันน่าใคร่ น่าพอใจ ถูกใจตัว ฯ
๒. ภวาตัณหา     คือความพยายามแสวงหา ทะยานอยากไป รูปเสียงกลิ่นรส อันน่าใคร่น่าพอใจ ที่ถูกใจตัวเองนี้น ฯ
๓. วิภวตัณหา     คือความไม่อยากประสบ ทะยานอยากดิ้นรนผลักใส ผัสสะที่ไม่ดี ที่มากระทบ

อุปาทาน ๔ ความยึดมั่น ถือมั่น เพราะตัณหา
๑. กามานุปาทาน    คือความถือมั่นในกาม
๒. ทิฏฐิ อุปาทาน    คือความถือมั่นในทิฏฐิ
๓. สีลพตปรามาส อุปาทาน   คือความถือมั่นในศิลพรต
๔. อัตตานุปาทาน    คือความถือมั่นในตัวตน

นวรณ์ ๕  เครื่องกีดขวางความเจริญ
๑. กามฉันทนิวรณ์   คือจิตที่ถูกความยินดีในกามคุณ ๕ ขวางกั้นอยู่
๒. พยาบาทนิวรณ์   คือจิตที่มีความพยาบาทกั้นขวางอยู่
๓. ถินนิทธนิวรณ์     คือจิตที่มีความเกียจคร้าน เอาแต่ง่วงหงาวหาวนอน กั่นขวางอยู่
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์   คือจิตที่มีความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ กั่นขวางอยู่
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์    คือจิตที่มีความสงสัย กั่นขวางอยู่

  อนุสัย ๗  กิเลสที่นอนเนื่องในขันธสันดาร
(คือจิตกระทบผัสสะต่างๆ ก็จะเกิดต่อเนื่องตามทันที)
๑. ทิฏฐานุสัย   คือกิเลสที่นอนเนืองคือความเห็น (เช่น ตาเห็นรูป เกิดเห็นว่าสวย ว่าหล่อ ตามทันที เป็นต้น )
๒. วิจิกิจฉานุสัย  คือกิเลสที่นอนเนืองคือความสงสัย(เช่น เมื่อตัวเองประสบทุกข์ ก็สงสัยทันทีทำไมฉันถึงได้รับผลกรรมเช่นนี้ เป็นต้น)
๓. มานานุสัย  คือกิเลสที่นอนเนืองคือความถือตัว (เช่น ตัวเองเป็นคนมีศิลมีธรรม พอสนทนากับคนพาลก็มีความเห็นว่าตัวประเสริฐกว่า เขาต่ำกว่าตัวเอง เกิดขึ้นตามทันทีเป็นต้น
๔. ภวานุสัย   คือกิเลสที่นอนเนืองคือภพ (เช่นได้ยินเสียงที่ไม่ชอบใจ ก็เกิด ความโกรธทันที และผูกโกรธไม่วางก็ติดอยู่ในภพ หรือสภาวะอกุศลจิตนั้นๆๆ เป็นต้น)
๕. ราคานุสัย  คือกิเลสที่นอนเนืองคือความยินดี (เช่นเห็นของสวยงาม ก็เกิดรักใคร่ ยินดีอยากได้อยากครอบครองขึ้นตามทันที เป็นต้น)
๖. ปฏิฆานุสัย   คือกิเลสที่นอนเนืองคือ ความติดข้องใจ ไม่พอใจ (เช่นเมื่อได้ยินเสียงที่ไม่ดี ก็เกิดความไม่พอใจตามมาทันที)
๗. อวิชชานุสัย  คือกิเลสที่นอนเนืองคือความไม่รู้ (เช่นเมื่อสภาวะธรรมคือทุกข์เกิดขึ้น ก็ไม่รู้ว่า อะไรคือทุกข์ คือสมุทัย คือนิโรธ คือมรรค ย่อมเป็นทุกข์ร้อนอยู่ โดยมิสามารถพ้นทุกข์ไปได้ เป็นต้น)

โอฆะ ๔ กิเลสที่เปรียบดังห้วงน้ำใหญ่ ที่หมู่สัตว์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ มิอาจข้ามได้
๑. กามาโอฆะ    คือห้วงน้ำใหญ่ คือกาม
๒. ภวโอฆะ       คือห้วงน้ำใหญ่ คือภพ
๓. ทิฏฐิโอฆะ    คือห้วงน้ำใหญ่ คือทิฏฐิ
๔. อวิชชาโอฆะ คือห้วงน้ำใหญ่ คือ อวิชชา

โยคะ ๔  เครื่องประกรอบสัตว์ใว้ในภพ ดุจเชือกผูกวัวไว้กับแอก
๑. กามาโอฆะ   คือเครืองประกอบสัตว์ คือกาม
๒. ภวโอฆะ   คือเครืองประกอบสัตว์ คือภพ
๓. ทิฏฐิโอฆะ   คือเครืองประกอบสัตว์ คือทิฏฐิ
๔. อวิชชาโอฆะ  คือเครืองประกอบสัตว์ คืออวิชชา 

สังโยชน์ ๑๐  กิเลสเครืองร้อยรัด

๑. สักกายทิฏฐิ   คือความเห็นว่าเป็นอัตตา
๒. วิจิกิจฉา  คือความสงสัย (นิพพาน)
๓. สีลพตปรามาส  คือความถือศิลพรต (เช่นเชื่อว่าทรมานตน การเซ่นไหว้ บวงสรวงเทพเจ้า เป็นทางพ้นทุกข์ เป็นต้น)
๔. กามราคะ   คือความยินดีในกาม
๕. พยาบาท   คือความประทุษร้าย
๖. รูปราคะ  คือความยินดีในรูปฌาณ
๗. อรูปราคะ   คือความความยินดีในอรูปฌาณ
๘. มานะ   คือ ความถือตัว
๙. อุทธัจจะ  คือความฟุ้งซ่านของจิต
๑๐.อวิชชา  คือความไม่รู้

อวิชชา ๘  ความไม่รู้ความมืดบอดของจิต
๑.  อดีตขันธ อวิชชา    คือไม่รู้ขันธ์ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ที่เป็นอดีต
๒. อนาคตขันธ อวิชชา   คือไม่รู้ขันธ์ ที่เป็นอนาคต
๓. ปัจจุปันนขันธ อวิชชา  คือไม่รู้ขันธ์ ที่เป็นปัจจุบัน
๔. ทุกข อวิชชา  คือไม่รู้ว่าทุกข์คือสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ และไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์
๕. สมุทัย อวิชชา  คือไม่รู้สิ่งที่ต้องกำหนดละ  และไม่ได้ละธรรมที่ต้องละ
๖. นิโรธ อวิชชา  คือไม่รู้ความดับทุกข์ เพราะเมื่อทุกข์เกิดขึ้นก็ไม่ตามดูปล่อยให้ดับไปเอง เลยไม่รู้จักนิโรธความดับด้วยปัญญา
๗. มัคค อวิชชา   คือไม่รู้จักหนทาง ว่าปฏิบัติเช่นไร ทุกข์ถึงจะไม่สามารถได้ช่องกลับมาเกิดขึ้นได้ เพราะไม่ได้พิจารณาอริยสัจ
๘. ปฏิจสมุปทบาท อวิชชา   คือไม่รู้จัก เหตุปัจจัย ความเกียวเนื่อง ของสภาวะธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับ
ธรรม ที่ต้องละ ๗๗ ประการที่นำมาแสดง มีอกุศลกรรมบทข้อที่ ๑-๓ เกิดที่กาย ข้อที่๔-๗ เกิดที่วาจา ธรรมนอกนั้นเป็น
กิเลสที่เกิดขึ้นที่จิตใจเราทั้งหมด 


สรุปอกุศลกรรมบถ ๑๐

ความชั่วทางกาย ๓ ประการ

๑. ปาณาติบาต ( ฆ่าสัตว์ , เบียดเบียนสัตว์ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. สัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่จริงๆ
         ๒. เราก็รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิตอยู่
         ๓. มีจิตหรือเจตนาที่จะฆ่าสัตว์นั้นให้ตาย
         ๔. ทำความเพียรเพื่อจะฆ่าสัตว์นั้น ( ความเพียรพยายามเพื่อฆ่าแบ่งออกเป็น ๖ ประการ )
            ๔.๑ ทำการฆ่าด้วยตนของตนเอง
            ๔.๒ ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือใช้วาจาทำการฆ่า
            ๔.๓ ใช้อาวุธเป็นเครื่องทำการฆ่า
            ๔.๔ ฆ่าด้วยหลุมพราง ( มีการวางแผนนานาประการเพื่อให้สัตว์นั้นตาย )
            ๔.๕ สังหารด้วยวิชาคุณ ( พิธีทางไสยศาสตร์ )
            ๔.๖ สังหารด้วยฤทธิ
         ๕. สัตว์นั้นก็ตายเพราะความเพียรนั้น
ผลของ ปาณาติบาต
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. ทุพพลภาพ
         ๒. รูปไม่งาม
         ๓. กำลังกายอ่อนแอ
         ๔. กำลังกายเฉื่อยชา
         ๕. กำลังปัญญาไม่ว่องไว
         ๖. เป็นคนขลาดหวาดกลัว
         ๗. ฆ่าตนเอง หรือถูกผู้อื่นฆ่า
         ๘. โรคภัยเบียดเบียน
         ๙. ความพินาศของบริวาร
         ๑0. อายุสั้น

๒. อทินนาทาน ( ลักทรัพย์ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่น
         ๒. ผู้กระทำการลักทรัพย์ก็รู้โดยชัดแจ้งว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่น
         ๓. มีจิตหรือมีเจตนาพยายามที่จะลักทรัพย์นั้นให้ได้
         ๔. มีความเพียรพยายามที่จะลักทรัพย์นั้น ( ความเพียรที่จะลักทรัพย์แบ่งออกเป็น ๖ ประการ )
            ๔.๑ ทำการลักทรัพย์นั้นด้วยตนของตนเอง
            ๔.๒ ใช้ให้ผู้อื่นทำการลักทรัพย์นั้น
            ๔.๓ ทำการลักทรัพย์นั้นโดยใช้อาวุธเป็นเครื่องประกอบ
            ๔.๔ ทำการลักทรัพย์โดยใช้เครื่องปกปิดไม่ให้จำหน้าตาได้
            ๔.๕ ทำการลักทรัพย์โดยใช้วิชาคุณ ( ไสยศาสตร์ เช่น สะกดให้เจ้าของทรัพย์หลับ )
            ๔.๖ ทำการลักทรัพย์ด้วยฤทธิ์เดช ( เช่น ดำดินไปลักทรัพย์ )
         ๕. ได้ทรัพย์มาสำเร็จเพราะความเพียรที่จะลักทรัพย์นั้น
ผลของ อทินนาทาน
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. ด้อยทรัพย์
         ๒. ยากจนค่นแค้น
         ๓. มีความอดอยาก
         ๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา
         ๕. พินาศในการค้า การขาย
         ๖. ทรัพย์ของตนพินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย และโจรภัย เป็นต้น

๓. กาเมสุมิจฉาจาร ( ผิดประเวณี ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. วัตถุที่ไม่ควรไป ( ผู้ที่ไม่สมควรเสพตามกฏหมายหรือตามประเพณี )
         ๒. มีจิตคิดที่จะเสพ
         ๓. มีความพากเพียรพยายามที่จะเสพ ( กระทำเองด้วยความเพียรเพื่อได้เสพรสกามคุณ )
         ๔. พอใจในการทำมัคคให้ล่วงมัคค ( พอใจในการเดินทางที่ผิด )
ผลของ กาเมสุมิจฉาจาร
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. มีผู้เกลียดชังมาก
         ๒. มีผู้ปองร้ายมาก
         ๓. ขัดสนในทรัพย์
         ๔. ยากจนอดอยาก
         ๕. เป็นผู้หญิง
         ๖. เป็นกะเทย
         ๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ
         ๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
         ๙. ร่างกายไม่สมประกอบ
         ๑0. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
         ๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

การดื่มสุรา หมายถึงการเสพของมึนเมา จัดอยู่ในอกุศลกรรมประเภท " กาเมสุมิจฉาจาร "
องค์ประกอบของการดื่มสุรา
         ๑. สิ่งนั้นเป็นของมึนเมา
         ๒. มีเจตนาเพื่อที่จะดื่มหรือเสพหรือกิน
         ๓. กระทำการดื่ม การเสพ การกิน
         ๔. สุรานั้นล่วงลำคอลงไปแล้ว
ผลของ การดื่มสุรา หรือการเสพของมึนเมา
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. ทรัพย์ถูกทำลาย
         ๒. เกิดวิวาทบาดหมาง
         ๓. เป็นบ่อเกิดของโรค
         ๔. เสื่อมเกียรติ
         ๕. หมดยางอาย
         ๖. ปัญญาเสื่อมถอย

ความชั่วทางวาจา ๔ ประการ

๔. มุสาวาท ( พูดโกหก ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องที่ไม่จริง ( วัตถุเทียม )
         ๒. มีจิตหรือเจตนาที่คิดจะพูดโกหก
         ๓. ประกอบด้วยความเพียรที่โกหกให้คนเชื่อ ( โดยหลักการที่จะให้คนเชื่อ ๓ ประการ )
            ๓.๑ พูดมุสาด้วยตนของตนเอง
            ๓.๒ ให้ผู้อื่นกล่าวคำโกหกแทนตัว
            ๓.๓ พูดหรือโฆษณาคำโกหกออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
         ๔. ผู้ที่ได้ฟังหรืออ่านลายลักษณ์อักษรแล้วก็มีความเชื่อตามนั้น
ผลของ มุสาวาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. พูดไม่ชัด
         ๒. ฟันไม่มีระเบียบ
         ๓. ปากเหม็นมาก
         ๔. ไอตัวร้อนจัด
         ๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
         ๖. พูดด้วยปลายลิ้น หรือปลายปาก
         ๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
         ๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต

๕. ปิสุณาวาท ( พูดส่อเสียด ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. มีคนหมู่มากหรือน้อยที่ต้องการให้เขามีความแตกแยกซึ่งกันและกันเกิดขึ้น
         ๒. มีความปรารถนาหรือเจตนาต้องการให้คนหมู่นั้นแตกแยกกัน
         ๓. เพียรพยายามที่ให้เขาแตกแยกกัน ( โดยหลักการทำได้ ๒ ประการ )
            ๓.๑ วจีปโยค คือ กล่าวด้วยวาจาให้เขามีความแตกแยกกัน
            ๓.๒ กายปโยค คือ การแสดงกิริยาบุ้ยใบ้ให้เขาแตกแยกกันโดยไม่ออกเสียง
         ๔. คนในหมู่คณะนั้นก็ปักใจเชื่อใน " วจีปโยค หรือ กายปโยค " ที่แสดงออกไป
ผลของ ปิสุณาสวาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. ตำหนิตนของตนเอง
         ๒. แตกมิตรสหาย
         ๓. มักถูกลือโดยไม่มีความจริง
         ๔. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน

๖. ผรุสวาท ( กล่าวคำหยาบ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. มีคนอื่นที่จะพึงด่าว่าให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ
         ๒. เหตุที่จะกล่าวให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจนั้น เพราะเหตุว่ามีจิตโกรธเคืองเขา
         ๓. จึงแสดงคำหยาบหรือแสดงอาการหยาบ เพื่อให้เขาเจ็บช้ำใจ ( โดยหลักการทำได้ ๒ ประการ )
            ๓.๑ วจีปโยค คือ การกล่าวทางวาจาให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ
            ๓.๒ กายปโยค คือ การแสดงอาการกิริยาบุ้ยใบ้ให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ
ผลของ ผรุสวาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. พินาศในทรัพย์
         ๒. มีกายวาจาหยาบ
         ๓. ได้ยินเสียง เกิดความไม่พอใจ
         ๔. ตายด้วยอาการงงงวย

๗. สัมผัปปลาปะ ( กล่าวคำเพ้อเจ้อ )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. มุ่งกล่าวคำที่ไร้แก่นสารไม่มีประโยชน์ หรือเจตนานั่นเอง
         ๒. กล่าวคำที่ไม่มีประโยชน์นั้นออกไป
ผลของ สัมผัปปลาปะ
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล
         ๒. ไม่มีอำนาจ
         ๓. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูด
         ๔. จิตไม่เที่ยง คือวิกลจริต

ความชั่วทางใจ ๓ ประการ


๘. อภิชฌา ( อยากได้ของผู้อื่น ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. ทรัพย์หรือของเหล่านั้นเป็นของผู้อื่น
         ๒. มีความเพ่งเล็งที่จะให้ได้ทรัพย์หรือของเหล่านั้นมาเป็นของตน
ผลของ อภิชฌา
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. ปฏิสนธิในตระกูลต่ำ
         ๒. มักได้รับคำติเตียน
         ๓. ขัดสนในลาภสักการะ
         ๔. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี

๙. พยาบาท ( ผูกใจเจ็บ )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. มีสัตว์อื่นเพื่อทำลาย
         ๒. มีจิตหรือเจตนาคิดทำลายเพื่อให้สัตว์นั้นประสพความพินาศ
ผลของ พยาบาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. มีรูปทราม
         ๒. อายุสั้น
         ๓. มีโรคภัยเบียดเบียน
         ๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย

๑0. มิจฉาทิฏฐิ ( ความเห็นผิด )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
         ๑. มีความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ผิด
         ๒. เชื่อและยินดีพอใจในอารมณ์ที่ผิดนั้น
ผลของ มิจฉาทิฏฐิ
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
         ๑. มีปัญญาทราม
         ๒. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน
         ๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร
         ๔. ห่างไลกแห่งรัศมีแห่งพระธรรม


เอาชนะราคะกิเลสมารด้วยยุทธวิธี

๑. มีปัญญาความรอบรู้จากพระพุทธองค์ ครู อาจารย์ พระอริยเจ้าทั้งหลายถึงความมีโทษของตัณหาราคะ

กิเลสว่าทำให้สัตย์โลกต้องเวียนวายตายเกิดมาเป็นเวลายาวนานต้องประสบทุกข์ โทษ ภัย เวร อันตราย วิบาก ความเจ็บปวด ความเจ็บใจ ความทุกข์ โทษทันดับแค้นใจ มามากจนนับชาติไม่ได้กระดูก น้ำตา สายเลือด มากมายดุจน้ำทะเลภูเขา

๒. มองให้เห็นสัทธรรมความจริงในปัจจุบันของความรักว่า ที่ใดมีรักที่นั้นมีทุกข์ รักมากทุกข์มาก รักน้อยทุกข์น้อย หมดรักหมดทุกข์

๓. การไม่เห็น การไม่ได้ยิน การไม่พูดด้วย การไม่คลุกคลีกับเพศตรงกันข้ามอันทำให้เกิดความกำหนัด ราคะกิเลส

๔. การมองให้เห็นความจริงว่า ไม่มีอะไรสวยงามจริง มองตาก็มองให้เห็นตาว่ามีขี้ตา มีน้ำตา มองหูก็มองให้

เห็นขี้หู น้ำหนวก น้ำหนอง มองจมูกก็มองให้เห็นขี้มูก มองปากลิ้นก็มองให้เห็นขี้ฟัน น้ำลาย สกปรก มอง กายส่วนใด ก็มองให้เห็นขี้ เหยี่ยว อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเหลือง น้ำหนองที่ไหลออกจากทวารหนัก เบาก้าม เนื้อก็เต็มไปด้วย เหงื่อไคล ขี้เต่า กลิ่นเหม็น กลิ่นสาป

๕. มองให้ความสวย ความสาว ความหนุ่ม ไม่จีรังไม่หยั่งยืนไม่ถาวร ต้องแก่ ต้องเหี่ยว ต้องชรา ต้องเจ็บ ต้องตายในที่สุด

๖.มองให้เห็นความเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีตัว ไม่มีตน ที่ถาวรอะไร

๗.มองให้เห็นเป็นของเน่า ของเหม็น ของสกปรก ของเปื่อย ของต้องผุพังต้องเป็นหนอน ดุจซากผีดุจซากศพ

๘.มองให้เป็นสัทธรรมความจริงว่า ไม่มีความเป็นหญิงเป็นชายไม่มีสัตว์ บุคคลมองเห็นเพียงธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปตามเวลา ตามปัจจัย

๙. ให้ภาวนา เน่าหนอ เหม็นหนอ ไม่เทียงหนอ ตายหนอ พินาศหนอ น่ารังเกลียดหนอ ไม่เป็นสาระหนอ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นหนอ บ่อย ๆ นาน ๆ ทุกวัน ๆ ๆ ๆ

๑๐. นั่งสมาธิเจริญภาวนาจนจิตไม่คิดว่าสวยงาม น่ารัก น่าภิรมย์ รักใคร่สะกดจิตจนได้ รูปฌาน๑–๔ราคะ กิเลสก็ดับ

 

เอาชนะโมหะความหลงด้วยยุทธวิธี

วิปัสสนากรรมฐานรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า รูปกายทั้งปวง สุขทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ ความจำได้หมายรู้ทั้งปวง ความนึกคิดปรุงแต่งใจทั้งปวง ความรู้ สึกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

๑. มีความไม่เทียง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน ไม่เป็นเราของเรา ไม่เป็นใครของใคร เป็นเขาของเขาไม่มีฉันของฉัน

ไม่มีเธอของเธอ ไม่เป็นสัตว์เป็นบุคคล

๒.มีเกิดเป็นธรรมดา มีความเป็นอยู่ตั้งอยู่เป็นธรรมดา และในที่สุดก็มีความดับไปสลายไปเป็นธรรมดา

๓. มองเห็นความจริงในความไม่มี ไม่เป็น ไม่ได้ อะไรเลย

๔. มองให้เห็นความจริงว่า ยินดีก็ทุกข์ ยินร้ายก็ทุกข์ ติดใจก็ทุกข์ จึงคลายละ ปล่อยวางความยินดี ยินร้าย

ติดใจในสิ่งทั้งปวง

๕. มองให้เห็นความจริงว่าโลกทั้งปวง ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเพราะยึดมั่นถือมั่นก็เกิดทุกข์

๖. มองให้เห็นทุกข์ โทษ ภัย เวร อันตราย วิบากกรรม อันเกิดจากจิตปรุงแต่ง คิดมาก ปรุงมากก็ทุกข์มาก

๗. คบเพื่อน คบครูอาจารย์มีปัญญา วิชชา ความรอบรู้ ควรแนะนำตักเตือนตลอด

๘. หมั่นเจริญกรรมฐาน ทุกวันจนเกิด มรรค ผล นิพพาน


 
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden