yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - 63 มโนมยิทธิ
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง

การใช้อารมณ์มโนมยิทธิให้เป็นประโยชน์ โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ



สนทนาหลังกรรมฐาน วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๒

มโนมยิทธินี่เป็นหลักสูตรของอภิญญา

ขอได้โปรดทราบว่า ถ้าหากว่ากำลังใจของท่านดี นี่ทุกคนก็มีโอกาสจะได้เหมือนกันหมด
หากว่าท่านที่ยังไม่ได้ หรือได้ไม่คล่อง แต่กลับไปที่บ้าน ไปหารือกับคนที่เขาได้แล้ว

ว่าเขาตั้งอารมณ์แบบไหน มันถึงได้
ว่าทำอารมณ์แบบไหน จึงมีความแจ่มใส

เพราะว่าการฝึก มโนมยิทธิ นี่ ถ้าพูดกันตามหลักสูตรจริงๆ ละก็ ถือเป็นของที่ยากมาก
เพราะว่าเป็นอภิญญา อภิญญา ก็ดี วิชชาสาม ก็ดี จัดว่าเป็นหลักสูตรที่ยากอย่างยิ่ง

คือว่า ถึงแม้ว่าถ้าหลักสูตรนี้ยาก
ถ้าเราทำได้ ก็สามารถที่จะบรรลุมรรคผลได้โดยรวดเร็ว
เพราะว่า เป็นเครื่องมือสำหรับตัดกิเลสได้อย่างชัดเจน

ซึ่งการปฏิบัติแบบนี้ มีผลดีกว่าแบบ สุกขวิปัสสโก



***แบบสุกขวิปัสสโก

สำหรับการปฏิบัติในด้าน สุกขวิปัสสโก นี่ เราทำไป แต่ว่าเราไม่เห็นอะไรเลย
มันก็แบบเดียวกับคนดำน้ำ ดำน้ำนี่เราเห็นอะไรชัดไม่ได้ ข้อนี้ฉันใด

การปฏิบัติแบบ สุกขวิปัสสโก
ก็สามารถเป็น พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ได้
แต่ว่าความมั่นใจของเราไม่มี ต้องมีอารมณ์ที่มีความเข้มแข็ง เชื่อมั่นจริงๆ จึงจะบรรลุได้



***แบบวิชาสามและอภิญญา

สำหรับด้าน วิชชาสาม ก็ดี อภิญญา ก็ดี นี่เราเห็น
เราสามารถที่จะเห็นนรก เห็นเปรต เห็นอสุรกาย เห็นสัตว์เดรัจฉาน
เห็นสัมภเวสี เห็นเทวดา เห็นพรหม แล้วก็เห็นนิพพาน



วิชามโนมยิทธิควรใช้เพื่อตัดกิเลส

ในเมื่อเราสามารถจะเข้าถึงนิพพาน ก็จงมีความภูมิใจว่า
ถ้าเราไม่เลวเกินไป ชาตินี้ เราก็ไปพระนิพพานได้

ที่ว่าไม่เลวเกินไป ก็เพราะอะไร
เพราะว่าที่เลวเกินไป ก็หมายถึงว่า เป็นคนที่มีความประมาท อีกประการหนึ่ง
เอาวิชาความรู้ประเภทนี้ไปเที่ยวอวดชาวบ้าน เที่ยวไปเป็นหมอดูบ้าง
อวดชาวบ้าน ว่าฉันเห็นนั่นเห็นนี่บ้าง
ถ้าอวดแบบนี้มีสิทธิ์พลาดพลั้ง ถ้าทรุดตัวเมื่อไหร่ การตีตัวขึ้นเป็นของยาก

ทั้งนี้ก็เพราะว่า เราตกอยู่ในความประมาท ถ้าตกอยู่ในความประมาทเมื่อไหร่
ก็แสดงว่านิวรณ์ก็กินใจเราเมื่อนั้น ในเมื่อนิวรณ์กินใจ ทุกคนมีหวังลงนรก


ถ้าหากบรรดาท่านพุทธบริษัทที่ทำได้แล้ว ก็จงควบคุมใจว่า การเห็นนรกได้ เห็นเปรต
เห็นอสุรกาย เห็นสัมภเวสี เห็นสวรรค์ เห็นพรหม และเห็นนิพพานได้ การเห็นนี่ ยังดีไม่พอ

เพราะว่าการเห็นและการไปได้ เราอาศัยฌานโลกีย์ แต่ในช่วงนั้น
เรามีวิปัสสนาญาณพอสมควร สามารถตัดขันธ์ ๕ ได้ชั่วขณะหนึ่ง เราจึงไปได้


ใครคืออาจารย์ที่ไม่ใช่มนุษย์

ในเมื่อเราไปได้แล้ว ก็ต้องรักษาความดีเอาไว้
เพราะว่าการปฏิบัติแบบนี้ เราสามารถจะได้อาจารย์ที่ไม่ใช่มนุษย์

คำว่า“อาจารย์ที่ไม่ใช่มนุษย์” นั่นก็คือ พระพุทธเจ้า

ถ้ามีการขัดข้องอะไรเกี่ยวกับผลของการปฏิบัติ เราขึ้นไปทูลถามพระองค์เอง
พระองค์ก็จะตรัสมาโดยเฉพาะ กับกิจที่เราจะพึงทำ และตรงกับอารมณ์จิตของเรา
ในเมื่อได้รับคำสอนนั้นแล้วอย่างไหนต้องปฏิบัติให้ได้ จงตั้งใจว่า
“คำว่าไม่สามารถ จะต้องไม่มีในชีวิตเรา”

แล้วประการที่ ๒ ที่เราจะลืมไม่ได้ นั่นก็คือว่า
เราจะไม่ห่วงร่างกายของเรา
เราไม่ห่วงร่างกายของบุคคลอื่น
เราไม่ห่วงทรัพย์สินใดๆ


เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเราห่วงถึงเวลาที่มันจะตาย ก็ไม่มีประโยชน์ในการห่วง
คนที่ตายทุกคน ไม่มีใครแบกเอาร่างกายไปด้วย
ไม่มีใครแบกพี่ แบกน้อง แบกพ่อ แบกแม่ แบกผัว แบกเมีย แบกลูก แบกหลานไปด้วย
และทรัพย์สินต่างๆ ที่เรามีอยู่ ก็ไม่มีโอกาสที่จะแบกได้
สิ่งที่จะแบกไปได้ นั่นก็คือ ความดีกับความชั่ว


บุคคลตัวอย่าง


ฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องแบกไปเราก็ต้องเลือกแบก
ถ้าเราเลือกแบกเอาความชั่วไป นั่นหมายถึงว่า เราต้องลงนรก

ดูตัวอย่าง พระเทวทัต ท่านสามารถทรงอภิญญา ๕ ได้อย่างคล่องแคล่ว
เนรมิตอะไรก็ได้ เหาะเหินเดินอากาศก็ได้ ต่อมาความโลภของจิต
ความทะเยอทะยานเกิดขึ้น คิดอยากจะปกครองพระสงฆ์ซึ่งเป็นพระอริยเจ้า
และต่อมาถึงขั้นคิดฆ่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง
อันนี้เป็นอารมณ์ของความชั่ว


ขอทุกท่านน่ะ จงอย่านึกว่า ตัวของเราดี

จงจำคำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

“อัตตนา โจทยัตตานัง”
จงกล่าวโทษโจทย์ความผิดของตัวเองไว้เสมอ


ในเมื่อเรากล่าวโทษโจทย์ความผิด เราจะโจทย์กันตรงไหนล่ะ

การทรงอารมณ์ของพระโสดาบัน

ก็มานั่งดู สังโยชน์ ๓ คือ
(๑) สักกายทิฏฐิ
(๒) วิจิกิจฉา
(๓) สีลัพพตปรามาส


สังโยชน์ ๓ นี่ เป็นการทรงอารมณ์ได้ของ พระโสดาบัน และพระสกิทาคามี
(๑) สักกายทิฏฐิ
ของพระอริยเจ้า ๒ ขั้น
จะมีความรู้สึกว่า ร่างกายเรานี้มันเป็นของไม่ดี ในที่สุดมันต้องตาย

และในข้อที่
(๒) วิจิกิจฉา
เราจะมีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ด้วย “ปัญญา”
ต้องใช้ “ปัญญา” พิจารณาว่า พระพุทธเจ้าน่ะดีแบบไหน ท่านทำดีแบบไหน
พระอริยสงฆ์ดีแบบไหน ทำไมเราจึงต้องเชื่อ ทำไมถึงต้องเคารพนับถือ

(๓) สีลัพพตปรามาส เราจะต้องมีศีลเคร่งครัด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอริยเจ้าสองขั้นนี้ ก็คือ ศีล ๕
เราจะต้องเป็นผู้ทรงศีล ๕ อยู่ตลอดเวลา เมื่อทรงศีล ๕ นี่ต้องทรงอยู่ ๓ ระดับคือ
๑. เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
๒. ไม่ยุยงบุคคลอื่นให้ทำลายศีล
๓. ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว


(๔) และก็ มีนิพพานเป็นอารมณ์

เพราะว่าคนที่จะเป็นพระโสดาบันได้ เมื่อจิตเข้าสู่ โคตรภูญาณ
จิตจะรักพระนิพพานเป็นปรกติ คือไม่มีความต้องการอย่างอื่น

เมื่อจิตเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันจริงๆ ตอนนี้จิตจะยอมรับนับถือ
กฎของธรรมดา ว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของธรรมดา”

แต่ทว่าพระโสดาบันก็ยังไม่ได้ละกิเลสได้หมด ยังมีความรักในระหว่างเพศ
ยังมีแต่งงาน มีผัว มีเมีย มีลูก มีหลาน แต่อยู่ในขอบเขตของศีล ๕

พระโสดาบันยังอยากรวย แต่ว่ารวยใน สัมมาอาชีวะ ไม่โกงใคร หากินโดยสุจริตธรรม
พระโสดาบันยังมีความโกรธ แต่ว่าไม่ทำร้ายคนอื่น เพราะเกรงว่าศีลจะขาด
พระโสดาบันยังมีความหลง เพราะยังมีเหตุ ๓ ประการที่กล่าวมา
แต่ว่าความหลงของพระโสดาบันนี่หลงไม่มาก หลงเพียงว่ายังมีความรัก
ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีศีลที่พึงควบคุม

แต่ว่าจิตใจของพระโสดาบันก็มีความคิดอยู่เสมอว่า
“ถ้าตายจากชาตินี้เราต้องการพระนิพพาน”


อันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทต้องทำให้ได้

คำว่า ต้องทำให้ได้นี่ ความจริงอารมณ์พระโสดาบันนี่ ถ้าเราจะทำกันจริงๆ นะ
อย่างช้ามันไม่เกิน ๓ เดือน มันก็ได้


ครูมีหน้าที่เพียงแต่บอก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ มโนมยิทธิ นี่ ถ้าใครทำถึงเดือนก็เลวเต็มที
ที่ว่าเลวเพราะอะไร
เพราะเห็นแล้ว นรกก็เห็น เปรตก็เห็น อสุรกายก็เห็น เทวดาก็เห็น พรหมก็เห็น นิพพานก็เห็น
ทั้งๆ ที่เราเห็นได้เราไปได้ แต่จิตใจเรายังเลว มันก็สุดทางแก้

การแก้นี่เราต้องแก้ด้วยตัวเอง
การช่วย จะให้ดี จะให้ชั่ว เราก็ต้องทำเอง ไม่ใช่หน้าที่ครู

ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อักขาตาโร ตถาคตา”
ซึ่งแปลว่า ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก

บอกแล้วทำตามหรือไม่ทำตาม ก็เป็นเรื่องของท่าน
ท่านจะไปสวรรค์ ท่านจะไปพรหม ท่านจะไปนิพพานได้ ครูไม่มีการอิจฉาริษยาท่าน

หากว่าท่านจะไปนรก ไปเป็นเปรต ไปเป็นอสุรกาย ครูก็ไม่ตามไปแก้
เพราะมันเป็นความพอใจของท่าน


ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เมื่อได้ มโนมยิทธิ แล้ว
ก็ควรจะมุ่งจุดหมายปลายทาง นั่นคือ ความเป็นพระอรหันต์

สำหรับ ฆราวาส จะเป็นพระอรหันต์ ถ้าเป็นวันนี้ วันพรุ่งนี้ก็นิพพาน
สำหรับ พระ ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ต้องอยู่ถึงอายุขัย หรือบางทีเกินอายุขัย
เพราะต้องทำกิจให้พระพุทธเจ้าเพื่อตอบแทนพระองค์

อย่าประมาทในการปฏิบัติ

ฉะนั้น ขอให้ทุกคนจำ ปัจฉิมวาจา ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อวันที่พระองค์นิพพานว่า “อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ”
นั่นแปลเป็นใจความว่า ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม

คำว่า “ไม่ประมาท” ก็หมายความว่า ไม่ประมาทในการปฏิบัติความดี
ทุกคนต้องทำทุกขณะจิต
จงอย่าคิดว่าเราดี ถ้าเรายังมีขันธ์ ๕ อยู่เพียงใด จงอย่าเข้าใจว่าเราดี
ถ้าเราตายไปแล้ว ถ้ายังไม่ถึงนิพพาน ก็จงอย่าคิดว่าเราดี
ถ้ามันจะดีกันจริงๆ คือ ต้องละขันธ์ ๕ ไปแล้ว แล้วเข้าสู่พระนิพพานแล้ว
นั่นจึงชื่อว่าเป็นความดี



การบรรลุมรรคผลไม่ต้องบรรลุตามลำดับ

ในเมื่อเราทรงความเป็นพระโสดาบันได้ การบรรลุเป็นพระอริยเจ้าไม่ใช่ตามลำดับ
ไม่ใช่ว่าจะได้พระโสดาบันแล้ว ก็เป็นพระสกิทาคามี
เมื่อเป็นพระสกิทาคามีแล้ว ก็เป็นพระอนาคามี
เมื่อเป็นพระอนาคามีแล้ว จึงเป็นพระอรหันต์ นี่ไม่ใช่แบบนั้น

เป็นแต่เพียงว่า พระอริยเจ้ามี ๔ ระดับ แต่การบรรลุนี่ไม่แน่นอน

บางท่านแล้ว ก็ส่วนใหญ่เมื่อได้ ก็ถึงความเป็นพระอรหันต์เลยก็มี
บางท่านขึ้นต้นด้วยความเป็นพระโสดาบัน แล้วก็เป็นพระอรหันต์
บางท่านขึ้นต้นด้วยความเป็นพระสกิทาคามี แล้วก็เป็นพระอรหันต์
บางท่านขึ้นต้นด้วยความเป็นพระอนาคามี แล้วก็เป็นพระอรหันต์


นี่จงอย่านึกว่าเราเป็นพระโสดาบันแล้ว จะต้องเป็นพระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ อันนี้ไม่จำเป็น


แนวการสอนเพื่อความเป็นพระอรหันต์

ฉะนั้น แนวการสอนของที่นี่ จึงมีแนวการสอนว่า ขอให้ทุกท่านคิดไว้เสมอว่า
ถ้าเราตายจากชาตินี้
เราไม่ต้องการเป็นมนุษย์
เราไม่ต้องการเป็นเทวดา
เราไม่ต้องการเป็นพรหม
สิ่งที่เราต้องการนั่นก็คือพระนิพพาน

อารมณ์นี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์

เข้าใจไว้ด้วยว่า การแนะนำแบบนี้ เป็นการแนะนำ อารมณ์ของพระอรหันต์


อันนี้ถ้าเราจะฝึก วิธีฝึกง่ายๆ ให้มันเป็นกิจประจำวันตามที่ หลวงพ่อปาน ท่านเคยแนะนำไว้ แล้วก็ส่วนใหญ่ลูกศิษย์ของท่านที่ได้นี่ คือว่าท่านยืนยันผลทุกคน
เขาก็ปฏิบัติตามแล้ว มันก็เป็นผลดี


วิธีกราบพระให้ถูกต้อง

กราบครั้งที่หนึ่ง นั่นก็คือ เวลาที่เรากราบพระทุกครั้งนี่ หรือไหว้พระทุกครั้ง
จิตจะต้องเห็นพระพุทธเจ้าอยู่เป็นปรกติ แล้วกล่าวว่า

“อะระหัง สัมมาสัมพุทธโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ”

นั่นหมายถึงว่า เรากราบพระพุทธเจ้า ถ้าเวลา จิตที่กราบ
ความจริงเราอาจนั่งอยู่หน้าพระพุทธรูป หรือว่าที่เรากราบไม่มีพระพุทธรูปก็ตาม
แต่ว่าจิตของเราถ้าได้ มโนมยิทธิ ต้องส่งจิตขึ้นไปที่นิพพาน
แล้วกราบลงไปต่อหน้าพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อย่างนี้เขาเรียกว่า “กราบถึงพระ”


กราบครั้งที่สอง ที่เรียกกันว่า “กราบพระธรรม”
ที่เป็นคำสอนของ หลวงพ่อปาน ก็ดี อาจารย์อีกทั้ง ๑๐ องค์ของอาตมาก็ดี สอนเหมือนกัน
เพราะอีก ๑๐ องค์ เป็นพระอรหันต์ หลวงพ่อปานเป็นพระโพธิสัตว์

ท่านบอกว่า เวลากราบพระธรรม ให้จิตคิดกำหนดไว้ว่า เมื่อกราบลงไปแล้วเห็นเป็น “ดอกมะลิแก้ว” ไหลออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์ลงมาบนเศียรเกล้าของเรา

พระธรรมให้ตั้งเป็นนิมิต ให้เหมือนกับ ดอกมะลิแก้ว ที่ใสสะอาด มีความแพรวพราว
ไหลออกจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลงบนเศียรของเรา


แล้วเวลา กราบพระอริยสงฆ์
ตอนนี้พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่ไหน ที่นั่นย่อมไม่ว่างจากพระอริยสงฆ์
เวลาที่กราบลงไปครั้งที่สาม
ก็ตั้งใจเห็นพระอริยสงฆ์ ซึ่งมี พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เป็นต้น

กราบครั้งที่สาม ก็คิดว่าเรากราบลงไปข้างหน้าท่านทั้งสอง หรือพระองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้


ถ้าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททำเป็นปรกติ เป็นกิจประจำวัน
เวลากราบพระทีไรเห็นสภาพแบบนี้
หรือนึกถึงพระขึ้นมาเมื่อไหร่ก็เห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทันที
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราเห็นที่นิพพาน
ให้มันจับใจเราอยู่เสมอเป็นปรกติ

รวมความว่า หายใจเป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็ต้องมีจิตคิดไว้เสมอว่า
เราไม่ต้องการอะไรทั้งหมด ตัดอารมณ์ย่อๆ
องค์สมเด็จพระบรมสุคต คือพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน
เวลาตายแล้วเราขอไปที่นั่น เราขอไปอยู่กับท่าน

ถ้าท่านมีอารมณ์คิดอย่างนี้ไว้เป็นปรกติ ถ้ามันตายเมื่อไร เราก็ไปนิพพานเมื่อนั้น

ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่านทำตามนี้นะ

อารมณ์ที่สำคัญที่สุดที่จะต้องทำ และก็ส่วนที่มีความสำคัญอีกจุดหนึ่งก็คือ

เวลาก่อนหลับเราจะต้องส่งจิตไปนิพพานก่อน
ถ้าตื่นขึ้นมาใหม่ๆ ยังไม่ต้องสนใจอะไรทั้งหมด ไปนิพพานก่อน ทำให้มันเป็นปรกติ

เวลาทำงานทำการ ถ้าอยู่ว่างคนเดียวไม่มีใครชวนคุย ว่างจากงานนิดหนึ่ง
หรือว่าเวลาทำงานอยู่ จิตจับอยู่ที่พระนิพพานเป็นอารมณ์
ถ้าทำได้อย่างนี้ทุกคนก็ไปนิพพานทุกคน


เอ้า เลิกได้แล้วนะ หวังว่าทุกท่านคงจำได้และก็ปฏิบัติได้ สวัสดี

คัดลอกจากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๑

การใช้อารมณ์มโนมยิทธิให้เป็นประโยชน์ โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ



สนทนาหลังกรรมฐาน วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๒

มโนมยิทธินี่เป็นหลักสูตรของอภิญญา

ขอได้โปรดทราบว่า ถ้าหากว่ากำลังใจของท่านดี นี่ทุกคนก็มีโอกาสจะได้เหมือนกันหมด
หากว่าท่านที่ยังไม่ได้ หรือได้ไม่คล่อง แต่กลับไปที่บ้าน ไปหารือกับคนที่เขาได้แล้ว

ว่าเขาตั้งอารมณ์แบบไหน มันถึงได้
ว่าทำอารมณ์แบบไหน จึงมีความแจ่มใส

เพราะว่าการฝึก มโนมยิทธิ นี่ ถ้าพูดกันตามหลักสูตรจริงๆ ละก็ ถือเป็นของที่ยากมาก
เพราะว่าเป็นอภิญญา อภิญญา ก็ดี วิชชาสาม ก็ดี จัดว่าเป็นหลักสูตรที่ยากอย่างยิ่ง

คือว่า ถึงแม้ว่าถ้าหลักสูตรนี้ยาก
ถ้าเราทำได้ ก็สามารถที่จะบรรลุมรรคผลได้โดยรวดเร็ว
เพราะว่า เป็นเครื่องมือสำหรับตัดกิเลสได้อย่างชัดเจน

ซึ่งการปฏิบัติแบบนี้ มีผลดีกว่าแบบ สุกขวิปัสสโก



***แบบสุกขวิปัสสโก

สำหรับการปฏิบัติในด้าน สุกขวิปัสสโก นี่ เราทำไป แต่ว่าเราไม่เห็นอะไรเลย
มันก็แบบเดียวกับคนดำน้ำ ดำน้ำนี่เราเห็นอะไรชัดไม่ได้ ข้อนี้ฉันใด

การปฏิบัติแบบ สุกขวิปัสสโก
ก็สามารถเป็น พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ได้
แต่ว่าความมั่นใจของเราไม่มี ต้องมีอารมณ์ที่มีความเข้มแข็ง เชื่อมั่นจริงๆ จึงจะบรรลุได้



***แบบวิชาสามและอภิญญา

สำหรับด้าน วิชชาสาม ก็ดี อภิญญา ก็ดี นี่เราเห็น
เราสามารถที่จะเห็นนรก เห็นเปรต เห็นอสุรกาย เห็นสัตว์เดรัจฉาน
เห็นสัมภเวสี เห็นเทวดา เห็นพรหม แล้วก็เห็นนิพพาน



วิชามโนมยิทธิควรใช้เพื่อตัดกิเลส

ในเมื่อเราสามารถจะเข้าถึงนิพพาน ก็จงมีความภูมิใจว่า
ถ้าเราไม่เลวเกินไป ชาตินี้ เราก็ไปพระนิพพานได้

ที่ว่าไม่เลวเกินไป ก็เพราะอะไร
เพราะว่าที่เลวเกินไป ก็หมายถึงว่า เป็นคนที่มีความประมาท อีกประการหนึ่ง
เอาวิชาความรู้ประเภทนี้ไปเที่ยวอวดชาวบ้าน เที่ยวไปเป็นหมอดูบ้าง
อวดชาวบ้าน ว่าฉันเห็นนั่นเห็นนี่บ้าง
ถ้าอวดแบบนี้มีสิทธิ์พลาดพลั้ง ถ้าทรุดตัวเมื่อไหร่ การตีตัวขึ้นเป็นของยาก

ทั้งนี้ก็เพราะว่า เราตกอยู่ในความประมาท ถ้าตกอยู่ในความประมาทเมื่อไหร่
ก็แสดงว่านิวรณ์ก็กินใจเราเมื่อนั้น ในเมื่อนิวรณ์กินใจ ทุกคนมีหวังลงนรก


ถ้าหากบรรดาท่านพุทธบริษัทที่ทำได้แล้ว ก็จงควบคุมใจว่า การเห็นนรกได้ เห็นเปรต
เห็นอสุรกาย เห็นสัมภเวสี เห็นสวรรค์ เห็นพรหม และเห็นนิพพานได้ การเห็นนี่ ยังดีไม่พอ

เพราะว่าการเห็นและการไปได้ เราอาศัยฌานโลกีย์ แต่ในช่วงนั้น
เรามีวิปัสสนาญาณพอสมควร สามารถตัดขันธ์ ๕ ได้ชั่วขณะหนึ่ง เราจึงไปได้


ใครคืออาจารย์ที่ไม่ใช่มนุษย์

ในเมื่อเราไปได้แล้ว ก็ต้องรักษาความดีเอาไว้
เพราะว่าการปฏิบัติแบบนี้ เราสามารถจะได้อาจารย์ที่ไม่ใช่มนุษย์

คำว่า“อาจารย์ที่ไม่ใช่มนุษย์” นั่นก็คือ พระพุทธเจ้า

ถ้ามีการขัดข้องอะไรเกี่ยวกับผลของการปฏิบัติ เราขึ้นไปทูลถามพระองค์เอง
พระองค์ก็จะตรัสมาโดยเฉพาะ กับกิจที่เราจะพึงทำ และตรงกับอารมณ์จิตของเรา
ในเมื่อได้รับคำสอนนั้นแล้วอย่างไหนต้องปฏิบัติให้ได้ จงตั้งใจว่า
“คำว่าไม่สามารถ จะต้องไม่มีในชีวิตเรา”

แล้วประการที่ ๒ ที่เราจะลืมไม่ได้ นั่นก็คือว่า
เราจะไม่ห่วงร่างกายของเรา
เราไม่ห่วงร่างกายของบุคคลอื่น
เราไม่ห่วงทรัพย์สินใดๆ


เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเราห่วงถึงเวลาที่มันจะตาย ก็ไม่มีประโยชน์ในการห่วง
คนที่ตายทุกคน ไม่มีใครแบกเอาร่างกายไปด้วย
ไม่มีใครแบกพี่ แบกน้อง แบกพ่อ แบกแม่ แบกผัว แบกเมีย แบกลูก แบกหลานไปด้วย
และทรัพย์สินต่างๆ ที่เรามีอยู่ ก็ไม่มีโอกาสที่จะแบกได้
สิ่งที่จะแบกไปได้ นั่นก็คือ ความดีกับความชั่ว


บุคคลตัวอย่าง


ฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องแบกไปเราก็ต้องเลือกแบก
ถ้าเราเลือกแบกเอาความชั่วไป นั่นหมายถึงว่า เราต้องลงนรก

ดูตัวอย่าง พระเทวทัต ท่านสามารถทรงอภิญญา ๕ ได้อย่างคล่องแคล่ว
เนรมิตอะไรก็ได้ เหาะเหินเดินอากาศก็ได้ ต่อมาความโลภของจิต
ความทะเยอทะยานเกิดขึ้น คิดอยากจะปกครองพระสงฆ์ซึ่งเป็นพระอริยเจ้า
และต่อมาถึงขั้นคิดฆ่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง
อันนี้เป็นอารมณ์ของความชั่ว


ขอทุกท่านน่ะ จงอย่านึกว่า ตัวของเราดี

จงจำคำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

“อัตตนา โจทยัตตานัง”
จงกล่าวโทษโจทย์ความผิดของตัวเองไว้เสมอ


ในเมื่อเรากล่าวโทษโจทย์ความผิด เราจะโจทย์กันตรงไหนล่ะ

การทรงอารมณ์ของพระโสดาบัน

ก็มานั่งดู สังโยชน์ ๓ คือ
(๑) สักกายทิฏฐิ
(๒) วิจิกิจฉา
(๓) สีลัพพตปรามาส


สังโยชน์ ๓ นี่ เป็นการทรงอารมณ์ได้ของ พระโสดาบัน และพระสกิทาคามี
(๑) สักกายทิฏฐิ
ของพระอริยเจ้า ๒ ขั้น
จะมีความรู้สึกว่า ร่างกายเรานี้มันเป็นของไม่ดี ในที่สุดมันต้องตาย

และในข้อที่
(๒) วิจิกิจฉา
เราจะมีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ด้วย “ปัญญา”
ต้องใช้ “ปัญญา” พิจารณาว่า พระพุทธเจ้าน่ะดีแบบไหน ท่านทำดีแบบไหน
พระอริยสงฆ์ดีแบบไหน ทำไมเราจึงต้องเชื่อ ทำไมถึงต้องเคารพนับถือ

(๓) สีลัพพตปรามาส เราจะต้องมีศีลเคร่งครัด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอริยเจ้าสองขั้นนี้ ก็คือ ศีล ๕
เราจะต้องเป็นผู้ทรงศีล ๕ อยู่ตลอดเวลา เมื่อทรงศีล ๕ นี่ต้องทรงอยู่ ๓ ระดับคือ
๑. เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
๒. ไม่ยุยงบุคคลอื่นให้ทำลายศีล
๓. ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว


(๔) และก็ มีนิพพานเป็นอารมณ์

เพราะว่าคนที่จะเป็นพระโสดาบันได้ เมื่อจิตเข้าสู่ โคตรภูญาณ
จิตจะรักพระนิพพานเป็นปรกติ คือไม่มีความต้องการอย่างอื่น

เมื่อจิตเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันจริงๆ ตอนนี้จิตจะยอมรับนับถือ
กฎของธรรมดา ว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของธรรมดา”

แต่ทว่าพระโสดาบันก็ยังไม่ได้ละกิเลสได้หมด ยังมีความรักในระหว่างเพศ
ยังมีแต่งงาน มีผัว มีเมีย มีลูก มีหลาน แต่อยู่ในขอบเขตของศีล ๕

พระโสดาบันยังอยากรวย แต่ว่ารวยใน สัมมาอาชีวะ ไม่โกงใคร หากินโดยสุจริตธรรม
พระโสดาบันยังมีความโกรธ แต่ว่าไม่ทำร้ายคนอื่น เพราะเกรงว่าศีลจะขาด
พระโสดาบันยังมีความหลง เพราะยังมีเหตุ ๓ ประการที่กล่าวมา
แต่ว่าความหลงของพระโสดาบันนี่หลงไม่มาก หลงเพียงว่ายังมีความรัก
ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีศีลที่พึงควบคุม

แต่ว่าจิตใจของพระโสดาบันก็มีความคิดอยู่เสมอว่า
“ถ้าตายจากชาตินี้เราต้องการพระนิพพาน”


อันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทต้องทำให้ได้

คำว่า ต้องทำให้ได้นี่ ความจริงอารมณ์พระโสดาบันนี่ ถ้าเราจะทำกันจริงๆ นะ
อย่างช้ามันไม่เกิน ๓ เดือน มันก็ได้


ครูมีหน้าที่เพียงแต่บอก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ มโนมยิทธิ นี่ ถ้าใครทำถึงเดือนก็เลวเต็มที
ที่ว่าเลวเพราะอะไร
เพราะเห็นแล้ว นรกก็เห็น เปรตก็เห็น อสุรกายก็เห็น เทวดาก็เห็น พรหมก็เห็น นิพพานก็เห็น
ทั้งๆ ที่เราเห็นได้เราไปได้ แต่จิตใจเรายังเลว มันก็สุดทางแก้

การแก้นี่เราต้องแก้ด้วยตัวเอง
การช่วย จะให้ดี จะให้ชั่ว เราก็ต้องทำเอง ไม่ใช่หน้าที่ครู

ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อักขาตาโร ตถาคตา”
ซึ่งแปลว่า ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก

บอกแล้วทำตามหรือไม่ทำตาม ก็เป็นเรื่องของท่าน
ท่านจะไปสวรรค์ ท่านจะไปพรหม ท่านจะไปนิพพานได้ ครูไม่มีการอิจฉาริษยาท่าน

หากว่าท่านจะไปนรก ไปเป็นเปรต ไปเป็นอสุรกาย ครูก็ไม่ตามไปแก้
เพราะมันเป็นความพอใจของท่าน


ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เมื่อได้ มโนมยิทธิ แล้ว
ก็ควรจะมุ่งจุดหมายปลายทาง นั่นคือ ความเป็นพระอรหันต์

สำหรับ ฆราวาส จะเป็นพระอรหันต์ ถ้าเป็นวันนี้ วันพรุ่งนี้ก็นิพพาน
สำหรับ พระ ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ต้องอยู่ถึงอายุขัย หรือบางทีเกินอายุขัย
เพราะต้องทำกิจให้พระพุทธเจ้าเพื่อตอบแทนพระองค์

อย่าประมาทในการปฏิบัติ

ฉะนั้น ขอให้ทุกคนจำ ปัจฉิมวาจา ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อวันที่พระองค์นิพพานว่า “อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ”
นั่นแปลเป็นใจความว่า ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม

คำว่า “ไม่ประมาท” ก็หมายความว่า ไม่ประมาทในการปฏิบัติความดี
ทุกคนต้องทำทุกขณะจิต
จงอย่าคิดว่าเราดี ถ้าเรายังมีขันธ์ ๕ อยู่เพียงใด จงอย่าเข้าใจว่าเราดี
ถ้าเราตายไปแล้ว ถ้ายังไม่ถึงนิพพาน ก็จงอย่าคิดว่าเราดี
ถ้ามันจะดีกันจริงๆ คือ ต้องละขันธ์ ๕ ไปแล้ว แล้วเข้าสู่พระนิพพานแล้ว
นั่นจึงชื่อว่าเป็นความดี



การบรรลุมรรคผลไม่ต้องบรรลุตามลำดับ

ในเมื่อเราทรงความเป็นพระโสดาบันได้ การบรรลุเป็นพระอริยเจ้าไม่ใช่ตามลำดับ
ไม่ใช่ว่าจะได้พระโสดาบันแล้ว ก็เป็นพระสกิทาคามี
เมื่อเป็นพระสกิทาคามีแล้ว ก็เป็นพระอนาคามี
เมื่อเป็นพระอนาคามีแล้ว จึงเป็นพระอรหันต์ นี่ไม่ใช่แบบนั้น

เป็นแต่เพียงว่า พระอริยเจ้ามี ๔ ระดับ แต่การบรรลุนี่ไม่แน่นอน

บางท่านแล้ว ก็ส่วนใหญ่เมื่อได้ ก็ถึงความเป็นพระอรหันต์เลยก็มี
บางท่านขึ้นต้นด้วยความเป็นพระโสดาบัน แล้วก็เป็นพระอรหันต์
บางท่านขึ้นต้นด้วยความเป็นพระสกิทาคามี แล้วก็เป็นพระอรหันต์
บางท่านขึ้นต้นด้วยความเป็นพระอนาคามี แล้วก็เป็นพระอรหันต์


นี่จงอย่านึกว่าเราเป็นพระโสดาบันแล้ว จะต้องเป็นพระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ อันนี้ไม่จำเป็น


แนวการสอนเพื่อความเป็นพระอรหันต์

ฉะนั้น แนวการสอนของที่นี่ จึงมีแนวการสอนว่า ขอให้ทุกท่านคิดไว้เสมอว่า
ถ้าเราตายจากชาตินี้
เราไม่ต้องการเป็นมนุษย์
เราไม่ต้องการเป็นเทวดา
เราไม่ต้องการเป็นพรหม
สิ่งที่เราต้องการนั่นก็คือพระนิพพาน

อารมณ์นี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์

เข้าใจไว้ด้วยว่า การแนะนำแบบนี้ เป็นการแนะนำ อารมณ์ของพระอรหันต์


อันนี้ถ้าเราจะฝึก วิธีฝึกง่ายๆ ให้มันเป็นกิจประจำวันตามที่ หลวงพ่อปาน ท่านเคยแนะนำไว้ แล้วก็ส่วนใหญ่ลูกศิษย์ของท่านที่ได้นี่ คือว่าท่านยืนยันผลทุกคน
เขาก็ปฏิบัติตามแล้ว มันก็เป็นผลดี


วิธีกราบพระให้ถูกต้อง

กราบครั้งที่หนึ่ง นั่นก็คือ เวลาที่เรากราบพระทุกครั้งนี่ หรือไหว้พระทุกครั้ง
จิตจะต้องเห็นพระพุทธเจ้าอยู่เป็นปรกติ แล้วกล่าวว่า

“อะระหัง สัมมาสัมพุทธโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ”

นั่นหมายถึงว่า เรากราบพระพุทธเจ้า ถ้าเวลา จิตที่กราบ
ความจริงเราอาจนั่งอยู่หน้าพระพุทธรูป หรือว่าที่เรากราบไม่มีพระพุทธรูปก็ตาม
แต่ว่าจิตของเราถ้าได้ มโนมยิทธิ ต้องส่งจิตขึ้นไปที่นิพพาน
แล้วกราบลงไปต่อหน้าพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อย่างนี้เขาเรียกว่า “กราบถึงพระ”


กราบครั้งที่สอง ที่เรียกกันว่า “กราบพระธรรม”
ที่เป็นคำสอนของ หลวงพ่อปาน ก็ดี อาจารย์อีกทั้ง ๑๐ องค์ของอาตมาก็ดี สอนเหมือนกัน
เพราะอีก ๑๐ องค์ เป็นพระอรหันต์ หลวงพ่อปานเป็นพระโพธิสัตว์

ท่านบอกว่า เวลากราบพระธรรม ให้จิตคิดกำหนดไว้ว่า เมื่อกราบลงไปแล้วเห็นเป็น “ดอกมะลิแก้ว” ไหลออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์ลงมาบนเศียรเกล้าของเรา

พระธรรมให้ตั้งเป็นนิมิต ให้เหมือนกับ ดอกมะลิแก้ว ที่ใสสะอาด มีความแพรวพราว
ไหลออกจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลงบนเศียรของเรา


แล้วเวลา กราบพระอริยสงฆ์
ตอนนี้พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่ไหน ที่นั่นย่อมไม่ว่างจากพระอริยสงฆ์
เวลาที่กราบลงไปครั้งที่สาม
ก็ตั้งใจเห็นพระอริยสงฆ์ ซึ่งมี พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เป็นต้น

กราบครั้งที่สาม ก็คิดว่าเรากราบลงไปข้างหน้าท่านทั้งสอง หรือพระองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้


ถ้าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททำเป็นปรกติ เป็นกิจประจำวัน
เวลากราบพระทีไรเห็นสภาพแบบนี้
หรือนึกถึงพระขึ้นมาเมื่อไหร่ก็เห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทันที
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราเห็นที่นิพพาน
ให้มันจับใจเราอยู่เสมอเป็นปรกติ

รวมความว่า หายใจเป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็ต้องมีจิตคิดไว้เสมอว่า
เราไม่ต้องการอะไรทั้งหมด ตัดอารมณ์ย่อๆ
องค์สมเด็จพระบรมสุคต คือพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน
เวลาตายแล้วเราขอไปที่นั่น เราขอไปอยู่กับท่าน

ถ้าท่านมีอารมณ์คิดอย่างนี้ไว้เป็นปรกติ ถ้ามันตายเมื่อไร เราก็ไปนิพพานเมื่อนั้น

ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่านทำตามนี้นะ

อารมณ์ที่สำคัญที่สุดที่จะต้องทำ และก็ส่วนที่มีความสำคัญอีกจุดหนึ่งก็คือ

เวลาก่อนหลับเราจะต้องส่งจิตไปนิพพานก่อน
ถ้าตื่นขึ้นมาใหม่ๆ ยังไม่ต้องสนใจอะไรทั้งหมด ไปนิพพานก่อน ทำให้มันเป็นปรกติ

เวลาทำงานทำการ ถ้าอยู่ว่างคนเดียวไม่มีใครชวนคุย ว่างจากงานนิดหนึ่ง
หรือว่าเวลาทำงานอยู่ จิตจับอยู่ที่พระนิพพานเป็นอารมณ์
ถ้าทำได้อย่างนี้ทุกคนก็ไปนิพพานทุกคน


เอ้า เลิกได้แล้วนะ หวังว่าทุกท่านคงจำได้และก็ปฏิบัติได้ สวัสดี

คัดลอกจากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๑

 

Create Date : 11 มีนาคม 2552
Last Update : 11 มีนาคม 2552 5:33:00 น.    

หลวงพ่อฤาษี ตอบปัญหาการฝึกมโนมยิทธิ สำหรับผู้เริ่มฝึกได้แล้ว



ปัญหาของผู้เริ่มฝึกได้แล้วและการฝึกแบบเต็มกำลัง
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ผู้ถาม:-
"ผมเคยชวนคนอื่น ๆ มาฝึกมโนมยิทธิ แต่แล้วเขาบอกว่า พอออกไปแล้ว
กลัวใครจะมาทำร้ายร่างกาย มาเผาร่างกาย เรื่องนี้จริงไหมครับ........?"


หลวงพ่อ:-
"ไอ้คนที่ได้มโนมยิทธิจริง ๆ ถ้าไปถึงสวรรค์ได้เขาไม่อยากมองมนุษย์นะ
เพราะเมืองมนุษย์มันเลอะเทอะด้วยประการทั้งปวง โลกทั้งโลกมันสกปรก
ถ้าแดนสวรรค์ก็มีแก้วกับทอง สวรรค์มีความสุขมีที่อยู่สบาย
ถ้าไปถึงพรหม เราก็ไม่อยากไปสวรรค์ เพราะพรหมเขาดีกว่า
ถ้าเข้าถึงนิพพาน เราก็ไม่อยากมองพรหม

ถ้าบังเอิญเวลานั้นใครทำร้าย หรือจะเอาร่างกายไปเผาเสียก็ดี จะได้ไม่ต้องกลับมา
กลัวเขาจะไม่ทำยังงั้นน่ะซิ"


"ถ้ากลัวตายก็ฝึกวิชานี้ไม่ได้ อันนี้เป็นหัวใจสำคัญของการเจริญพระกรรมฐาน"

ผู้ถาม:-
มีลูกศิษย์บางคนนะคะ เขาไม่ชอบไปดูของสวย ๆ บนสวรรค์ เขาอยากไปนรก
เขาบอกว่า เห็นในสิ่งที่ไม่ดีแล้วจะได้ไม่ทำในสิ่งนั้น


หลวงพ่อ:-
เออ....ไอ้นี่เหมือนกับฉัน ไปได้ครั้งแรก ปีแรกฉันไม่ไปสวรรค์เลย ไปนรกจุดเดียว
นรกนี่ใช้เวลา ๑ ปี ไปไม่ครบนะ นรกจริง ๆ มันมี ๔๐๐ ขุมกว่า ขุมใหญ่มี ๘ ขุม
แต่ละขุมมันแยกไปอีก ไปถึงก็ถามเขา แต่ละขุมเราเคยมากี่เที่ยว
แต่ละครั้งที่เรามาทำบาปอะไร เราขอดูภาพเดิม สมัยเป็นมนุษย์เราทำบาปอะไร
นรกขุมนี้ลงโทษ แบบไหน ฉันไปทุกขุมฉันก็ไปถามเขาทุกขุม ลองไล่เบี้ยดู
เป็นการลงโทษตัวเอง ปรามตัวเอง


อย่างไอ้หนูนี่คิดถูก ถ้าดูคนอื่นเขาลงน่ะมันไม่มันนะ ต้องดูของตัวเอง
ดูว่าในสมัยที่เราเป็นคน เราทำอะไรผิดเราจึงลงนรก
บางครั้งเราเป็นคนมีวาสนาบารมีสูง แต่ก็เมาในชีวิต มีอำนาจมากกว่าเขา
ก็สร้างความชั่วข่มเหงเขาบ้าง ทำอะไรเขาบ้าง ตายแล้วก็ลงนรก ต้องขอดูภาพเดิม
อย่าดูแต่ภาพนรกเฉย ๆ นะ ดูว่าสมัยเป็นมนุษย์เราทำอะไรไว้ จึงถูกลงโทษแบบนี้
มันจะได้ประสานกัน

ที่สวรรค์ จุดแรกที่ต้องการไปให้ถึงคือ พระจุฬามณี อยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์


ผู้ถาม:-
"หลวงพ่อคะ ดาวดึงส์กับจุฬามณีนี่ที่เดียวกันใช่ไหมคะ...?"

หลวงพ่อ:-
"ใช่ ที่เดียวกัน จุฬามณีตั้งอยู่ในเขตของดาวดึงส์"

ผู้ถาม:-
"ดิฉันไปกราบท่านพ่อกับท่านแม่ที่ดาวดึงส์ค่ะ แล้วก็ไปนิพพาน"

หลวงพ่อ:-
"ก็ได้ คือว่าเราต้องการให้อารมณ์จิตอยู่ที่นั่น ก็ต้องไปกราบทุกวันนะ ฉันก็กราบ
ที่เราไปกราบพ่อแม่เพราะอะไร เพราะท่านจะไปนิพพานอยู่แล้ว


พ่อแม่นี่มีความจำเป็นต้องกตัญญู ทางที่ดีพอขึ้นไปที่นั่นแล้ว พอกราบท่านแล้ว
ก็ต้องถามท่านว่า มีอีกบ้างไหมที่เป็นบิดามารดาเดิม ที่ยังเป็นเทวดาหรือพรหมอยู่
ขอเชิญมาประชุมหมด แล้วท่านก็จะมาหมด พอมาแล้วก็กราบท่าน เราขอขอบคุณท่าน
เราจะได้รู้ว่าพ่อแม่ที่อยู่เป็นเทวดาหรือพรหมมีเท่าไร พ่อแม่ของเราในอดีตมีเยอะ
ขึ้นไปแล้วไม่หงอยเหงาแน่ ๆ เพลิดเพลินจนไม่อยากกลับทีเดียว"


ผู้ถาม:-
"หนูมีปัญหาอันหนึ่ง คือก่อนนอนก็ภาวนา นะ มะ พะ ธะ แล้วก็หลับไปเลย
มีอยู่วันหนึ่งนะคะ ตอนใกล้เช้าค่ะ มีความรู้สึกว่าไม่ได้หลับ
แต่มีความรู้สึกว่าจิตมันจะออกไป แต่ไม่ยอมลอยขึ้นไปข้างบน
แล้วอยู่ ๆ ก็ดึงลงไปข้างล่างเลยค่ะ ทั้ง ๆ ที่ไม่อยากจะให้ลง มันเป็นเพราะอะไรค่ะ.......?"


หลวงพ่อ:-
"ถ้ามันดึงลงข้างล่างก็ให้มันดึงไป ไปเที่ยวนรก
ถ้าปล่อยตัวหลุดแบบนั้นเป็นตัวอภิญญาแท้
คือ นะ มะ พะ ธะ ที่เราทำเวลานี้นะ ถ้ามันถึงจุดมันจะออก จุดออกของเขาจริง ๆ
มันเหมือนกับตัวเราออกไปเลย มันออกไปจริง ๆ
ทีนี้มันจะดิ่งลงก็ให้มันลงไป
อารมณ์อันหนึ่ง เขาอาจจะบังคับให้ไปดูนรก ข้างล่างว่าเป็นยังไง
แต่ไปแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะกลับมาไม่ได้นะ กว่าจะกลับก็เช้า

ทีหลังตั้งใจไว้ก่อนว่า ถ้าออกได้จะขอไปพระนิพพาน แล้วไปจะหาแม่ หาปู่
แต่ว่าการตั้งใจไว้ก่อน เวลาภาวนาก็อย่านึกถึงท่านนะ ทิ้งเลย ถ้าออกปั๊บมันจะพุ่งไปเลย
ขณะที่ภาวนาเราต้องทิ้งอารมณ์อยากจะไปนิพพาน จะไปหรือไม่ไปไม่
สำคัญแต่ทำใจให้สบายนี่มันจะไปได้ ซึ่งซ้อมแบบนั้นน่ะดีแล้ว มันจะเคลื่อนได้ดี


ถึงฝึกแบบเต็มกำลังจริง ๆ ออกไปได้จะสนุกมาก เห็นวิมานเยอะแยะ
ไม่มืดสลัว เห็นชัดเจนแจ่มใสดีมาก แทบไม่อยากกลับมาทีเดียว"


ผู้ถาม:-
"กระผมสังเกตดู อย่างวิมานของหลวงปู่ก็ดี ของพระพุทธเจ้าก็ดี
ปรากฏเห็นชัดดี แจ่มใสดี เวลาไม่ต้องการเห็นก็หายไป"


หลวงพ่อ:-
"ใช่...ถ้าจิตเราไม่ต้องการเห็น แป๊บเดียวก็หาย มันเป็นไปตามกำลังของจิต
แต่ความจริงไม่ใช่วิมานหายนะ จิตเราไม่เห็นเอง ถ้าเราไม่ต้องการมันก็ไม่เห็น
ไม่ใช่เราไปรื้อวิมานเขานะ ถ้าโยมไปรื้อวิมาน เทวดาตีตาย"


ผู้ถาม:-
"เรื่องนี้องค์อื่นผมก็ไม่กล้าคุยครับ"

หลวงพ่อ:-
"อาตมาไม่เป็นไรหรอกโยม ความจริงพระที่ท่านเข้าถึง ไม่มีองค์ไหนบอกนิพพานสูญ
เรื่องของนิพพานมันมีอยู่อย่างนี้ เราจะเห็นได้หรือไม่ได้ มันมีอารมณ์ของจิตตามขั้น
ถ้าจิตของเราเป็นฌานโลกีย์ล้วน ไม่มีทางเห็นได้เลย สมมุติว่าเราไม่เป็นพระอริยเจ้าจริง
เวลานั้นจิตมันต้องว่างจากกิเลสชั่วเวลาหนึ่ง
อันนี้จึงจะเห็นนิพพานถ้าตามเกณฑ์ที่จะเห็นนิพพานได้

ถ้าสุกขวิปัสสโกนี่ท่านไม่เห็นเลยนะ ไม่เห็นผี ไม่เห็นเทวดา ไม่เห็นนรกสวรรค์
ไม่เห็นอะไรทั้งหมด ก็ชื่อว่า ตัดกิเลสได้

ถ้าเตวิชโช เขามีสองในวิชชาสาม คือ ทิพจักขุญาณ กับ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ถ้ายังเป็นฌานโลกีย์อยู่ ทิพจักขุญาณ ตัวนี้จะไม่สามารถเห็นนิพพานได้เลย
จะเห็นได้แค่พรหมโลก นรกทุกขุมเห็นได้ สวรรค์ขึ้นไปถึง พรหมโลกเห็น


ถ้าจิตเข้าถึง โคตรภูญาณ เป็นอย่างต่ำ อันนี้จึงจะเห็นนิพพาน
ไม่ใช่ว่าทำทิพจักขุญาณได้จะเห็นอะไรทั้งหมด
ถ้าหากว่าเราปฏิบัติกันแล้วไปถึงนิพพานได้ แสดงว่าจิตเวลานั้น ว่างพอ สะอาดพอ"


ผู้ถาม:-
"หลวงพ่อคะ เวลาขึ้นไปแล้ว แต่ว่าทรงอารมณ์อยู่ไม่นานก็กลับมาใหม่
อันนี้เป็นเพราะเหตุใดคะ ขอให้หลวงพ่อชี้ข้อผิดพลาดด้วยค่ะ...?"


หลวงพ่อ:-
"มันไม่ผิดหรอก
เวลาตั้งอารมณ์ จิตไม่ตั้งเป็นฌานเพราะว่าอารมณ์ที่เป็นฌานมันน้อยเกินไป
มันเป็นอุปจารสมาธิเสียมาก วิธีที่ฝึกเวลานี้ไม่ใช่ไปแก้จุดนั้น ไปแก้อีกจุดหนึ่ง

เมื่อยามว่างเราควรจะตั้งเวลาสัก ๓ นาที ๕ นาที จับลมหายใจเข้าออกแล้วว่านะ มะ พะ ธะ
เราจะนั่งท่าไหนก็ได้ ให้จิตมันอยู่ช่วงนี้ เฉพาะคำภาวนากับลมหายใจนะ
แต่ว่าอาการอย่างนั้นจะมีได้ในบางขณะ บางทีเราเริ่มจับปั๊บจิตมันตกต่ำลงไปเลย
ถ้าหากว่ามันทรงไม่อยู่ ไปแล้วกลับมา พอกลับมาก็ทรงอารมณ์ให้สบาย ไม่ไปไหนละ
นั่งอยู่ภาวนาให้สบาย ๆ ให้จิตมันเป็นสุข พอจิตมีกำลังปั๊บ ขึ้นไปใหม่ มันอยู่ได้
ไอ้นี่เรื่องธรรมดา"


ผู้ถาม:-
"แต่บางครั้งในขณะที่ครูเขาทดสอบ มีความรู้สึกว่าจะตายค่ะ"

หลวงพ่อ:-
"จะตายหรือ ดี คือ มีความรู้สึกว่าจะตาย ถ้ามันจะตายเวลานี้เราขออยู่ที่นิพพาน"

ผู้ถาม:-
"พอมีความรู้สึกว่าจะตายเลยไม่ยอมไป"

หลวงพ่อ:-
"ไม่เป็นไรนะ นั่นเป็นอารมณ์อันหนึ่ง ถือว่าเป็นอารมณ์แทรกเข้ามา
คือว่ากำลังใจเราจะมั่นคงไหม แต่การแทรกเข้ามารู้สึกว่าจะตาย
จะดูว่าเรามั่นใจในพระนิพพานไหม หรือเราจะไปยุ่งกับทุกขเวทนา

ทีนี้ถ้าจิตมันตัด ตายก็ตาย ถ้าตายเราไปนิพพาน แค่นี้เขาก็พอใจแล้ว
คือว่าอาการที่เป็นอย่างนั้น ไม่ใช่อาการของร่างกายเป็นอาการถูกทดสอบจากพระอริยะ
ถ้าเวทนาแบบนี้เข้ามา กำลังใจเราเป็นอย่างไร
ถ้ากำลังใจเราตัดสินใจว่า ถ้าเราตายเวลานี้เราไปนิพพานช่วงนี้
และตอนนั้นเราดีดตัวถึงพระนิพพานได้ ลงมาเราก็ไม่เป็นไร
ถืออารมณ์อย่างเดียว คือว่า เราห่วงตัวหรือห่วงนิพพาน เขาต้องการเท่านี้แหละ........

การเจริญพระกรรมฐาน มักจะมีเทวดา ครูบาอาจารย์และพระอริยะ มาทดลองเสมอ
เพราะฉะนั้นอย่างได้กลัว ท่านต้องการให้เราได้ดี"


ผู้ถาม:-
"หลวงพ่อคะ ตอนที่ฝึกมโนมยิทธินะคะ
เมื่อขึ้นไปบนสวรรค์แล้ว เห็นใส่เสื้อผ้าเป็นธรรมดาค่ะ อันนี้เป็นภาพจริงหรือเปล่าคะ..?"


หลวงพ่อ:-
"ภาพน่ะเป็นภาพจริง แต่ไม่ตรงความจริง"

ผู้ถาม:-
"แล้วยังเห็นคนที่เขาอยู่บนสวรรค์ เขาก็แต่งตัวไม่เหมือนชาวสวรรค์
เราเป็นมนุษย์ยังแต่งตัวสวยกว่าตั้งเยอะ"


หลวงพ่อ:-
"ที่เราเห็นเขาอย่างนั้นน่ะ เขาทำภาพเดิมให้ดู คือว่าเขาเกรงว่าเราจะจำเขาไม่ได้
อันดับแรกเขา ต้องแสดงแบบนั้นก่อน ถ้าเราเห็นแบบนั้น เราควรจะถามเขาว่า
เวลานี้ภาพความเป็นจริงของท่านมีรูปร่างเป็นอย่างไร ขอให้แสดงความเป็นจริง"


ผู้ถาม:-
"อยากถามเขาเหมือนกันค่ะ แต่ดูหน้าตาเขาแล้วไม่อยากจะพูดกับเขาเลย
ตอนนี้พยายามฝึกให้ได้ฌาน ๔ ก่อนเผื่อจะได้ถอดจิตไปถึงอินเดียบ้าง"


หลวงพ่อ:- ""ฌาน ๔ เป็นอย่างไร..?"

ผู้ถาม:- "ไม่ทราบซิคะ"

หลวงพ่อ:-
"นี่กินขนมอยู่แล้วยังนึกว่ายังไม่ได้กิน
ไอ้การไปสวรรค์ได้ไปพรหมได้นี่มันเป็นกำลังของฌาน ๔
ถ้ากำลังไม่ถึงฌาน ๔ มันจะไปถึงจุฬามณีไม่ได้

จำให้ดีว่าขณะที่เราเห็นภาพครั้งแรกที่ครูเขาฝึก อันนี้เป็นทิพจักขุญาณ
ตอนนี้เป็นอุปจารสมาธิ ถ้าเห็นภาพแล้วภาพเริ่มแจ่มใส ตอนนี้เป็นฌาน
แต่ถ้าไม่ถึงฌาน ๔ จะเคลื่อนจิตไม่ได้ ถ้าจิตเคลื่อนไปถึงพระจุฬามณีได้
จงทราบว่าระหว่างนั่นเป็น ฌาน ๔ หมด เป็นฌาน ๔ สำหรับใช้งาน"


ผู้ถาม:-
"เป็นยังไงคะฌาน ๔ ใช้งาน...?"

หลวงพ่อ:-
"ฌานมันมี ๒ ลักษณะ
ที่เขานั่งเข้าฌาน นั่งเฉย ๆ เป็นการฝึกให้ฌานมันเกิดขึ้น แล้วก็ทรงฌาน

ทีนี้ฌาน ๔ สำหรับใช้งาน ก็คือ จิตเคลื่อนไปสู่ภพต่าง ๆ หรือไปที่ต่าง ๆ
อย่างเรานั่งอยู่ตรงนี้ คนที่นั่งอยู่ข้างหลังคิดอะไรอยู่เราอยากรู้เราก็รู้
หรือเขาทำอะไรเราอยากรู้เราก็รู้ได้ แล้วเป็นฌาน ๔ ประกอบไปด้วยอภิญญา
ถ้าฌาน ๔ เฉย ๆ มันก็ไม่รู้เหมือนกัน ถ้าไม่เคยได้อภิญญา

ความจริงถ้าฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มอัตรา ที่ฝึกกันนี่ใช้กำลังเพียงครึ่งหนึ่ง
ถ้าแบบเต็มอัตรามีสภาพเหมือนฝัน คือไปได้แบบตัวเราไปเที่ยวธรรมดา รู้สึกได้เต็มที่
ก็บังคับให้กำลังภาพมันหยาบหน่อย

ที่เราฝึกนี่ใช้กำลังเพียงครึ่งเดียว คือกำลังที่เราใช้แค่วิชชาสาม
เนื้อแท้จริง ๆ ของมโนมยิทธิต้องเป็นกำลังของอภิญญา
แต่ว่าถ้าจะหันเข้าไปฝึกอภิญญา มันเป็นของไม่ยาก
อภิญญาต้องตั้งต้นด้วยกสิณ ๑๐ มี เตโชกสิณ อาโปกสิณ เป็นต้น
แต่ว่าได้มโนมยิทธิแบบนี้แล้ว ก็ใช้จับภาพกสิณได้ทันที เพราะว่าตัวที่ได้มโนมยิทธิ
ถ้าเราไปเริ่มต้นกสิณจริง ๆ เราก็ถอยหลังเข้าคลองคือจับผลของกสิณเลย
กสิณถ้ามันได้ผลจริง ๆ มันมีสีเหมือนกันหมด มีสีใสเป็นประกายแพรวเหมือนกันหมด
เดิมจะเป็นสีอะไรก็ช่าง

อย่างโลหิตกสิณ (กสิณสีแดง) จับภาพทีแรกมันเป็นสีแดง เขาต้องภาวนา "โลหิตกสิณัง"
แต่ว่าถ้าทำไป ๆ สีแดงมันจะกลายจนกระทั่งขาว พอขาวแล้วก็เป็นประกายแพรวเต็มที่
ถ้าจิตมีกำลังถึงฌาน ๔ กสิณจะเป็นประกายแพรว ฉะนั้นกสิณทุกกองจะมีภาพเหมือนกัน
เมื่อถึงฌาน ๔ เราจับกสิณก็เป็นประกายให้หมด
ใช้กำลังมโนยิทธิที่เราได้ จับปลายของกสิณเลย แล้วมันจะคล่องตัว ปลุ๊บ ๆ จับได้หมด
จับได้ก็ย้อนไปย้อนมาจนชิน จนกระทั่งอารมณ์เราจะใช้เวลาไหนก็ได้
กำลังปวดท้องขี้เต็มที่จับภาพกสิณก็ได้ ต้องได้จริง ๆ นะ ไม่ใช่ล้อเล่น
ต้องได้จริง ๆ จึงจะฝึกอภิญญาได้"


ผู้ถาม:-
"ถ้าฝึกอภิญญาได้ก็แสดงฤทธิ์ได้ใช่ไหมคะ....?"

หลวงพ่อ:-
"แสดงฤทธิ์ได้ แสดงไปเดี๋ยวก็หลงตัวเอง
ความสำคัญมีอยู่ว่า ทำอย่างไรจึงจะเข้าใจว่าสวรรค์มีจริง พรหมโลกมีจริง นิพพานมีจริง
พวกเปรต อสุรกายมีจริง ความสำคัญมันมีอยู่แค่นี้เอง
วิชานี้ที่เรามีอยู่แล้วทำเสียให้เต็มที่ ทำให้พอใจ

เพราะว่าถ้าเราเป็นมโนมยิทธิเต็มที่ เต็มกำลัง เราก็รู้อะไรทั้งหมด
เวลานี้เราก็รู้หมดอยู่แล้ว กำลังอ่อนหน่อยก็ไม่แปลก รู้ได้เหมือนกัน

เราก็ใช้กำลังส่วนนี้รู้จักพระนิพพาน จิตก็จับพระนิพพานเป็นอามรณ์มันก็แค่นื้
ที่ทำทั้งหมดก็เพื่อนิพพานอย่างเดียว ไม่ใช่ทำเพื่ออวดชาวบ้าน"


ผู้ถาม:-
"ถ้าหากเราฝึกมโนมยิทธิได้แล้ว ต้องการดูกระแสจิตของเราเอง จะได้ไหมคะ.......?"

หลวงพ่อ:-
"ได้........การดูใจเขาดูแบบนี้ คือ ดูแสงสว่างของใจที่มันออกมา กระแสจิตของนักปฏิบัติ
เป็นสีเนื้อหรือสีเคลือบแก้ว ถ้ายังเป็นสีเนื้ออยู่ก็แสดงว่า บุคคลนั้นเป็นปุถุชนเต็มอัตรา
ถ้าเป็นแก้วเคลือบหนาขึ้นไปทีละหน่อย ๆ จนกระทั่งเป็นแก้วใสสะอาด
อย่างนี้ใช้ได้ในด้านสมถภาวนา
ต่อไปอีกขั้นหนึ่ง ถ้าเป็นประกายแพรวพราว อันนี้เขาถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี
แต่ถ้าจะดีจริง ๆ มันเป็นแสงละเอียด เหมือนประกายแว้บ ๆ เหมือนกระจกน่ะดี
แต่ยังดีไม่เต็มที่

ถ้าจะดูว่าอารมณ์จิตละเอียดไหม ถ้าวิปัสสนาญาณมาก จิตจะเป็นประกายมาก
ถ้าประกายน้อย จิตมีวิปัสสนาญาณน้อย


ทีนี้กระแสจิตที่ออกมาน่ะ ออกเรียบร้อยดีไหม........หรือว่าลุ่ม ๆ ดอน ๆ
ถ้ากระแสจิตเรียบร้อยดี อย่างนี้มีหวังไม่มีทางพลาดหวังพระนิพพาน ท่านบอกไว้เลยนะ

การเห็นกระแสจิต เรียกว่า เจโตปริยญาณ เป็นญาณหนึ่งในญาณ ๘
ถ้าฝึกมโนมยิทธิได้ ฝึกญาณ ๘ ได้ง่ายมาก"


ผู้ถาม:-
"หลวงพ่อคะ ครั้งแรกที่ฝึกมโนมยิทธิ เวลาที่ขึ้นไปพระนิพพานแล้ว
ครูก็จะปล่อยให้นั่งชมบารมีของพระพุทธองค์ พอกลับไปบ้านก็นึกถึงภาพนี้อยู่เสมอ
บางครั้งจะเห็นว่า ที่ขึ้นไปอีกคน ไม่ใช่ภาพที่เห็นค่ะ"


หลวงพ่อ:-
"ตัวเรามีคนเดียว"

ผู้ถาม:-
"แต่ทำไมถึงเห็น ๒ คนเล่าคะ......?"

หลวงพ่อ:-
"เห็นได้ เพราะสภาพความเป็นทิพย์ เห็นกี่แสนคนก็ได้
รวมให้เป็นคนเดียวเสีย เมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ถ้าใช้มันจะใช้กี่แสนคนก็ได้
ทำงานเหมือนกันหมด ทำงานคนละอย่าง

คนหมดโลกนี่ต่างคนต่างพูดกันคนละเรื่อง เขายังทำกันได้
เพราะสภาพความเป็นทิพย์ ไม่งั้นเขาจะเรียกความเป็นทิพย์ทำไม.....?"


ผู้ถาม:-
"คือสงสัยค่ะ ปกติเห็นแต่ตัวเราคนเดียว......."

หลวงพ่อ:-
"นี่เขาทำให้ดูอย่างนั้นแหละ อะไรบ้างที่เราผูกพันเขาต้องสภาวะอย่างนั้นให้ดู
ถ้าเราเห็นอย่างนั้น จิตมันก็ผูกพันอยู่กับสิ่งนั้น ถ้าตายปุ๊บมันก็ไปอยู่ที่นั่น
ท่านหาทางให้จิตไปอยู่ที่นั่น"


ผู้ถาม:-
"บางทีขออาราธนาบารมีท่านให้พาไปที่อื่น ท่านก็เกาะหัวจุกไปเลย บางทีก็เกาะพระบาท บางทีก็เกาะบั้นเอว"

หลวงพ่อ:-
"จะถามอะไรก็ตาม ถ้าทำให้เราดึงดูดใจ ท่านก็ทำภาพนั้น ท่านใจดีจะตาย
โดยมากท่านต้องการให้คนของท่าน
คำว่า "คนของท่าน" หมายถึง ลูกก็ดี หลานก็ดี บริวารก็ดี
อย่างน้อยต้องขึ้นดาวดึงส์ให้หมด

เวลานี้คนของฉันไม่มี เพราะว่าตัดสินใจแล้ว เพราะถ้าตัดไปกันหมดแล้ว
แสดงว่าไม่ค้าง ถ้ายังค้างอยู่ ยังไปไม่ได้ก็ไปสมัยพระศรีอาริย์


พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ตอบปัญหาการฝึกมโนมยิทธิ


เรื่องการฝึกมโนมยิทธิแบบใหม่นี้ คนที่ไม่เคยฝึกมักจะมีปัญหาถามเสมอ เช่น
"ถ้าฝึกไปได้แล้ว เวลาจะกลับ กลับยังไง"

หลวงพ่อก็ตอบว่า "ให้มันไปได้ก่อนเถอะน่า" ทั้งนี้ก็กลัวว่าไม่ได้กลับ

และหลวงพ่อก็ยังบอกอีกว่า
"วิชานี้เดี๋ยวนี้เขาเฟื่องหมดแล้ว เขาได้กันเป็นแสนแล้ว เวลานี้ก็หนักมากที่อเมริกา เยอรมันตะวันตก และเริ่มไปไหวตัวที่ ญี่ปุ่น กับ นิวซีแลนด์
ระวังนะ อยู่ประเทศไทย ชาวต่างประเทศจะมาสอนเอา
เขาเอาความรู้ไปจากประเทศไทย เขาจะเอาความรู้ของไทยมาสอนคนไทยต่อไป

ข้อนี้น่าคิดนะครับ เราเป็นคนไทยอยู่ใกล้พระพุทธศาสนา จะเป็นดังสุภาษิตที่ว่า
"ใกล้เกลือกินด่าง" บางคนไม่กินแล้วยังว่ากระทบกระเทือนเสียอีก อันนี้ก็ไม่ขอว่ากัน
เราถือว่า "ของจริงย่อมทนต่อการพิสูจน์"
และเวลานี้คนที่ได้พิสูจน์คำสอนของพระพุทธเจ้าก็มีเยอะแยะไปโดยเฉพาะผู้หญิง”


หลวงพ่อเคยบอกว่า
"พวกผู้หญิงนี่คล่องตัวกว่า ผู้ชายเราเสียท่าผู้หญิง
แต่อีกพวกหนึ่งก็คือพระ เสียท่าฆราวาส พระนี่เสียท่าจริง ๆ เพราะพระมีศีล ๒๒๗
การฝึกกรรมฐานนี้ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ มันเดินไม่ออก และพระเวลานี้ก็หนักใจเหมือนกัน
เพราะเวลานี้ท่านบวชเข้ามา ท่านรู้ตัวว่าเป็นพระหรือเปล่าก็ไม่รู้

ถ้าปฏิบัติแบบฆราวาสล่ะ เจ๊ง........สังฆาทิเสส
ถ้าผิดเข้าไปแล้วไม่มีทางจะได้ฌานสมาบัติ
ถ้ายิ่งเป็น ปาราชิก ก็ขาดความเป็นพระภิกษุ
ส่วนฆราวาสเขาตั้งตัวได้ วันนี้ศีลขาด พรุ่งนี้เขาตั้งตัวใหม่ได้ ใช่ไหม.....

ก่อนที่จะมาเจริญพระกรรมฐาน ศีลบกพร่องหรือไม่เป็นเรื่องเละเทะมาก่อน
พอเริ่มเจริญพระกรรมฐาน ตั้งใจรักษาศีลทันที ศีลฆราวาส ฆราวาสเขาทำได้
ส่วนพระไม่เหมือนกัน พระถ้าพังแล้วพังเลย

การสอนเวลานี้ เวลาพระเจ้าไปฝึกพระที่มารับการสอนก็รู้สึกหนักใจ
แต่บางท่านก็เก่ง บางท่านแป๊บเดียวได้เลย แล้วก็คล่องตัว เพราะศีลเขาบริสุทธิ์
แต่เราก็อย่าไปถือว่าเขาไม่บริสุทธิ์ทุกองค์ไม่ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกนักตำราที่ท่านบอกว่าเป็นเปรียญฯ นั่นแหละ
มันก็ ปะ ปะ ใช่ไหม.....

พวกที่เปรียญที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยิ่งเป็นนักเทศน์นี่ร้ายกาจ แต่ท่านที่ดีก็มีนะ
ไม่ใช่ว่าจะชั่วทุกองค์ เพราะเคยสัมผัส เคยอยู่ร่วมกันมา แกบวชเข้ามาแล้ว
มาเรียนหนังสือ แกไม่ได้นึกว่าแกเป็นพระ ตั้งหน้าตั้งตาจะสอบให้ได้
จะเอาผลนี่ไปแลกกับเปรียญพวกนี้ก็เป็นอาชีพ
ก็ถือว่าเป็น อุปสมชีวิกา อาศัยศาสนาเลี้ยงชีวิต แบบนี้แล้วจะไปได้อะไร ถ้าไปเกาะไอ้พวกนี้

แต่พระที่เป็นเปรียญที่เขาเก่งก็มี เขาดีจริง ๆ น่ะมี บริสุทธิ์ จริง ๆ น่ะ
อย่าไปนึกว่าเป็นเปรียญแล้วไม่ดีนะ
พวกพระราชาคณะที่เป็นเจ้าคุณที่เป็นสมเด็จที่ไม่เป็นเรื่องก็เยอะ ที่ดีจริง ๆ ก็มาก
เราต้องเลือกดูอีกนะ ดูพื้นฐานของคน
คนทุกคน ถ้าหาจุดเลวก็มีเลวทุกคน ถ้าหาจุดดีก็มีดีทุกคน ใช่ไหม....
จุดบกพร่องมันก็ต้องมี คนก็ต้องมีดี แล้วใครจะเลว ผิดมุมไหนล่ะ......?"


ผู้ถาม:-
"อีกพวกหนึ่งครับหลวงพ่อ พวกที่แก่วิทยาศาสตร์ไปอธิบายให้เขาฟัง เขาไม่ค่อยฟังครับ"

หลวงพ่อ:-
"พวกแก่วิทยาศาสตร์ดี แต่พวกตุ่ย ๆ วิทยาศาสตร์ ไม่ค่อยได้ความนะ
ให้เขาแก่จริง ๆ น่ะ ไม่เป็นหรอก คือว่าเขาจะเรียนสาขาไหนก็ตามเถอะ
ถ้าเขาเป็นคนมีเหตุมีผลหน่อยมันไม่แปลก
ถ้าจะค้นคว้าแบบไม่มีเหตุไม่มีผล มันอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ใช่ไหม.....

เขาจะรู้ได้ว่าบ้านของเขามีถ้วยขนาดไหน มีโถขนาดไหน
เขาก็นึกว่าบ้านคนอื่นมีเหมือนกับเขาทุกอย่าง อาจจะมีคนเขามีของดีกว่าก็ได้ ใช่ไหม...

ถ้านักวิทยาศาสตร์จริง ๆ เขาเข้าใจอะไรง่าย มีเหตุมีผลดีมาก เจอะบ่อยไป
สำคัญไอ้พวกลืมจริง ๆ น่ะซิ

ปัญหาในการฝึกมโนมยิทธิ ก็ขอนำมาเพียงเท่านี้
จะคงช่วยให้ท่านทั้งหลายที่ยังไม่ฝึกก็ดี ฝึกแล้วก็ดี คลายความสงสัยลงได้มาก
ใครที่ฝึกได้แล้วสามารถไปสอนคนอื่นได้นะ หลวงพ่ออนุญาต"


และหลวงพ่อแนะนำว่า
"พวกที่ได้มโนมยิทธิแล้วนี่ ถ้าไม่เป็นครูสอนเขา ของเรามันจางง่าย
พยายามสอนเขา ถ้าเราเริ่มสอนเขา จะได้ระมัดระวังตัวเอง คือเราจะได้ฝึกฝนตัวเอง
การสอนเขามันมีประโยชน์มาก มันได้ ๒ อย่าง

ประการที่ ๑ การทรงตัว การคล่องตัว แจ่มใส มันจะเกิดขึ้น
ประการที่ ๒ ได้ ธรรมทาน เป็นการเร่งรัดบารมีเดิม ให้มันแจ่มใสเร็วขึ้น
เพราะธรรมทานมีอานิสงส์สูงมาก คือว่าผลที่เราจะพึงได้ แทนที่จะ ๑๐ ปีอาจจะเหลือ ๓ ปี
อานิสงส์สูงมาก

สอนเขาใหม่ ๆ มันอาจจะงงก็ได้ ถ้าตามทันหรือไม่ทันไม่สำคัญ
ให้มีความเข้าใจเรื่องตั้งอารมณ์เอาไว้ เพราะเราผ่านมาเรารู้ใช่ไหม........

ถ้าเราไปถึงนั่นแล้ว เผอิญเราตามไม่ทัน ก็กวดไปทีหลังได้
ถามความรู้สึก ถ้าเขาไม่รู้สึกก็แก้อารมณ์ที่ขัดข้องให้
ถ้าเป็นครูเขา สมเด็จฯ ท่านก็จะช่วยมากขึ้น คือว่าเป็นครูสอนเขา
ให้ขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าตรง บอกว่า
การสอนก็ดี การติดตามก็ดี ขอเป็นภาระของพระองค์
บางทีเราจะพูดสิ่งที่เราไม่เคยคิดไว้เลย
ถ้าพูดไปนั่นมันเหมาะสมสำหรับบุคคลผู้นั้นก็ต้องใช้แบบนั้นนะ
พอเริ่มก็ขออาราธนาท่าน ขอเป็นภาระของพระองค์ จะเป็นผลดีแก่ผู้ที่รับฝึกต่อไป

สำหรับการฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มอัตรา จะลองซ้อม ๆ ที่บ้านก็ได้
แต่เครื่องบูชาครูนี่ขาดไม่ได้นะ
มีดอกไม้ ๓ สี ธูป ๓ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๑ เล่ม สตางค์ ๑ สลึง
ต้องตั้งไว้ทุกครั้งที่ทำการภาวนา หายใจเข้า นะมะ หายใจออก พะธะ เฉย ๆ
โดยไม่ต้องการรู้การเห็นอะไร ทำเป็นสมาธิ ถ้ามันจะเต้นจะรำก็ปล่อยมันเลย
การเต้นนี่มันจะเริ่มต้นตั้งแต่อุปจารสมาธิ แต่บางคนก็ไม่เต้นเลย
พอถึงฌาน ๔ มันก็เลิกเต้น เพราะกำลังของจิตทรงตัว

จะสังเกตได้ถ้ามันจะมีความสว่าง คือ เห็นจุดข้างหน้าขาวโพลน เป็นทางไปไกล
เป็นทางขาวใหญ่
ถ้าเห็นข้างหน้าก็ลองใช้กำลังใจพุ่งจิตไปตามสายของทางนั้น
คิดว่าเราไปละ พอนึกว่าไปล่ะ ถ้ากำลังจิตเรามันก็ไป

พอมันออกไปแล้ว มันไม่ใช่ออกไปแบบความฝัน
มันจะออกไปแบบชนิดมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
เหมือนกับออกจากตุ่มหรือกระบอกหรือเหมือนกับถอดไส้หญ้าปล้องออกจากหญ้าปล้อง
ออกไปแล้ว ไปได้ชัดสว่างเหมือนกลางวัน มันจะเหลียวหน้าเหลียวหลังมาดูได้
มาดูไอ้โลกต่าง ๆ จะเห็นตัวเรานี่นั่งโด่อยู่ ดูแล้วก็เป็นคนสองคน

ต่อไปถ้าฉันสร้างที่ใหม่เสร็จ จะต้องพักการเดินทางออกต่างจังหวัด
จะลองเอาคนที่ได้แล้วนี่แหละ มาฝึกแบบเต็มอัตรา คนที่ได้แล้วนี่ไม่ยาก
ได้ใหม่หรือไม่ได้ไม่สำคัญ แต่ถ้าไม่เต็มแบบก็ยังดี ได้ผลเท่ากันนั่นแหละ
แต่แบบนี้กำลังสูงหน่อย"


(หลวงพ่อเริ่มฝึกให้แล้ว เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๒๘ ที่ศาลาสองไร่เป็นเวลา ๑ เดือน)

คัดลอกจากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

 

Create Date : 01 มีนาคม 2552
Last Update : 5 มีนาคม 2552 5:58:24 น.    

หลวงพ่อฤาษี ตอบปัญหาการฝึกมโนมยิทธิ สำหรับผู้เริ่มฝึกใหม่ๆ



ปัญหาของผู้เริ่มฝึกใหม่ๆ... หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ผู้ถาม:-
"บางคนเขาก็มาปรารภว่า มาครั้งแรกทำไมจึงฝึกไม่ได้...?"

หลวงพ่อ:-
"พวกที่ไม่ได้ มันยังตั้งอารมณ์ไม่ถูก เขามีสิทธิ์ได้ มาถึงปุ๊บเดียว จะให้มันได้
ความเข้าใจมันยังไม่ดี ที่เรียกว่า ยังไม่เข้าใจ
บางคนก็ใช้ตาดูบ้าง บางคนก็ใช้ฌานหนักเกินไป มันก็ไม่ถูกจุด
สูงเกินไปนิด ต่ำเกินไปนิด ก็ไม่ได้ ต้องพอดี ๆ คือว่า
ตอนจับทีแรกมันต้องอยู่แค่อารมณ์อุปจารสมาธิ เพราะอันนี้เป็นวิชชาสาม
พอจับภาพได้ปุ๊บ บังเกิดความมั่นใจ จิตเป็นฌาน"


ผู้ถาม:-
"ดิฉันก็เหมือนกันค่ะ เวลามีครูมาสอบถาม ว่าเห็นอะไรบ้างหรือยัง ก็ไม่เห็นอะไรทั้งนั้นเลย
ตอบก็ตอบไม่ได้ เพราะไม่เห็นอะไร ไม่เจออะไร ไม่ทราบว่าจะทำยังไงดี"


หลวงพ่อ:-
"อันนี้มันเป็นอย่างนี้โยม มันเป็นอารมณ์ที่ไม่ชินนะ
ทีนี้ที่เห็นนั้นเราไม่ใช้ตา มันเป็นกำลังของทิพจักขุญาณ
ทิพจักขุญาณเบื้องต้นมันมัวเต็มที แล้วเราก็เห็นว่าเราจะต้องเห็นทางตา

คำว่า ทิพจักขุญาณ แปลว่า มีความรู้คล้ายตาทิพย์
มันเกิดเฉพาะความรู้สึก ไม่ใช่ลูกตาเห็น


นั่นมันเป็นอันดับก่อนที่จะก้าวขึ้น
ถ้าตอนนี้เราจับอารมณ์นั้นได้ เมื่อเราจับได้แล้ว
ครูเขาสนับสนุนโดยการพิจารณาตัดขันธ์ ๕ บ้าง นึกถึงบารมีของพระพุทธเจ้าบ้าง
และทำความรู้สึกเข้าหาพระจุฬามณี ตอนนี้จิตมันจะเริ่มเป็นฌาน
ความรู้สึกที่ว่าเห็น มันจะมีความใสขึ้น ดีขึ้น ยิ่งกว่าเดิมหน่อยหนึ่ง หรือบางคนก็ดีมาก

ทีนี้ถ้าหากว่าความรู้สึกที่ว่าเห็น ที่เราเรียกว่า ทิพจักขุญาณ
จะดีมากดีน้อยขนาดไหน มันขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของจิตในเวลานั้น


ถ้าในเวลานั้นความรู้สึกของจิตมันล้างกิเลสไปได้มากเทียบเท่ากับพระสกิทาคามี
หรือพระอนาคามี เฉพาะในเวลานั้นนะ ไม่ได้หมายความว่าเป็นเสียจริง ๆ เลยนะ
คือ เวลานั้น จิตมันสะอาดเทียบเท่ากับพระสกิทาคามีหรือพระอนาคามี
ความรู้สึกที่เห็นมันชัดมาก การเคลื่อนไหวเร็วมาก ถ้าฝึกใหม่ ๆ ก็อยากเห็นชัดอย่างนี้ละ"


อีกคนหนึ่งอยากเห็นชัดเหมือนกัน ถามว่า
ผู้ถาม:- "ที่หนูทำอยู่เวลานี้ก็พอจะเห็นบ้างแต่ว่ายังไม่ชัด หนูอยากจะไปเห็นชัด ๆ ค่ะ
จะทำอย่างไรคะ...?


หลวงพ่อ:-
"ถ้าอยากไปก็แสดงว่าไม่อยากไป ถ้าอยากไปมันเป็นนิวรณ์ คืออุทธัจจะกุกกุจจะ
มันคอยตัด อย่าอยากไปนะ ให้ทำแบบสบาย ๆ เราพอใจในผลที่เราได้มาแล้วในตอนก่อน
จะได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ถ้ารักษาอารมณ์ให้สว่างอย่างนี้มีผล

อย่าลืมว่าอภิญญาจริง มันยังมีเวลาอีก ๑๙ ปี กำลังอภิญญาจึงจะเข้ามาถึง
ตอนนี้อภิญญาเล็ก แล้วก็พยายามฝึกไปเรื่อย ๆ นะ

ถ้าต้องการจะให้เห็นแจ่มใส ให้หมั่นจับภาพพระให้ใสเป็นประกายแก้วอยู่เสมอ
วันหนึ่งสักครั้งหนึ่ง ให้เป็นประจำ ก่อนหลับก็ได้ ถ้าทำอย่างนี้ละก็ ท่านบอกว่า
ถ้าถึงวาระอีก ๗ วันตาย ตอนนั้นจะพบพระหรือเทวดาเป็นประกายใสปลอดโปร่ง
และจิตใจจะจับอยู่ในภาพนั้น และวาระนั้นนั่นแหละ จิตใจจะตัดในที่สุด คือ
จิตจะตัดเข้าอรหัตผล ตายแล้วไปนิพพานทุกคน

ถ้าอยากเห็นชัดละก็ ตายแล้วไปถึงนิพพานชัดแจ๋วทุกคน"


ผู้ถาม:-
"หลวงพ่อคะ การนึกปั๊บเห็นปั๊บแต่เป็นภาพเดิม อย่างนี้เป็นสัญญาใช่ไหมคะ....?"

หลวงพ่อ:-
"ไม่ใช่ เป็นสัญญาไม่ได้ คือว่าคนที่เขาชำนาญเขาไม่นั่งป๋อหลอหรอก
อย่างฉันนึกปั๊บได้เลย บางทีไม่ทันจะนึกละ ไปแล้ว"


ผู้ถาม:- "ขึ้นไปถึงเลยหรือคะ..?"

หลวงพ่อ:-
"ไปถึงเลย คือ มันจะเป็นสัญญาไม่ได้ สัญญามันได้แต่นั่งนึกเอา สัญญาก็นั่งจำแต่ภาพ
เราเคยเห็นพระพุทธเจ้าในลักษณะไหน เราเคยเห็นวิมานของท่านในลักษณะไหนบ้าง
วิมานของเราในลักษณะไหนบ้าง เรานั่งนึก อันนี้เป็นสัญญา

พอเรารวบรวมกำลังใจปั๊บแล้วไป อันนี้เป็นอภิญญา มันไม่ใช่สัญญา"


ผู้ถาม:-
"หลวงพ่อคะ หนูนั่งทีไรเห็นไม่เต็มองค์ เห็นแค่เศียร เวลาขึ้นไปข้างบนเห็นวิมาน
มีหลังคาสูง ๆ แต่เข้าไม่ได้ค่ะ ทำยังไงหนูจะเข้าไปได้คะ......?"


หลวงพ่อ:-
"ตัดสินใจให้มันแน่นอน อารมณ์ไม่เด็ดขาดจริง ยังห่วงขันธ์ ๕ อยู่ ยังห่วงร่างกาย
ยังห่วงลูกยังห่วงฝาละมี(สามี) อะไรพวกนี้ ยังห่วงอย่างนี้เข้าไม่ได้หรอก

ถ้าก่อนที่จะขึ้นต้องตัดสินใจให้มันเด็ดขาด การเห็นภาพไม่ชัดมันบอกได้เลยว่า
เราตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่ต้องไปเปิดตำราที่ไหน นี่เป็นเครื่องวัด"


ผู้ถาม:-
"แต่ฝึกครั้งแรกขึ้นไปเห็นชัดมากค่ะ..."

หลวงพ่อ:-
"วันแรกเขาสอน เราไปตามเขา พอเขาทิ้งก็ชักห่วงหน้าห่วงหลัง พอออกไปหน่อย
เอ... ไอ้โอ๋ไปไหนหว่า อยู่กับใคร...ก็ยังถือว่าดี

ควรจะตัดสินใจให้มันเด็ดขาด ตอนเช้ามืดควรจะตัดสินใจไปเลยว่า
ชีวิตนี้มันทรงตัวอยู่ขนาดไหน ก็ช่างมันเถอะ ถ้าตายเมื่อไหร่ขอไปนิพพาน
เอาให้แน่นอน ถ้าตั้งอารมณ์ดีจริง ๆ ถ้าตั้งใจแบบนั้น ทีหลังเห็นเต็มองค์ไม่ยาก"


ผู้ถาม:-
"หลวงพ่อคะ เวลาฝึกมโนมยิทธิ บางวันก็อารมณ์ดี ขึ้นไปก็เห็นแจ่มใส แต่มันดีเป็นพักๆค่ะ"

หลวงพ่อ:-
"อารมณ์ดีเป็นพัก ๆ นี่ถูก คือว่าที่เป็นพัก ๆ เพราะว่าร่างกายมันยังเกาะขันธ์ ๕
ถ้าเหนื่อยเกินไป เพลียเกินไป อันนี้อารมณ์จะมัวได้

แล้วก็ประการที่ ๒
ถ้ามันป่วยขึ้นมา มันจะทำให้ประสาทสั่นคลอนนิดหนึ่งโดยที่เราไม่รู้ตัว อันนี้มัวได้

แล้วก็ประการที่ ๓ รวบรวมกำลังใจยังไม่เต็มที่ ก็ขึ้นเลย อันนี้มัวได้

การใช้กำลังอภิญญานี่เราจะถือความสว่างมากสว่างน้อยไม่สำคัญ
สำคัญว่ากำลังจิตของเราเข้าถึงจุดหมายปลายทางไหม เขาถือตัวนี้เป็นตัวสำคัญนะ

เพราะว่าเรายังมีขันธ์ ๕ อยู่ เราจะให้ทรงตัวอยู่เป็นปกติมันไม่ได้แน่
พระอรหันต์ยังไม่ได้เลย

บางคนก็มาบ่นให้ฟัง "ฝึกได้แล้วพอกลับไปบ้านก็มืดไปมัวไป"
ก็ต้องไปดูว่ามันมืดเพราะอะไร มืดเพราะศีลบกพร่องหรือเปล่า
ถ้าศีลบกพร่องเราเข้าพระจุฬามณีไม่ได้

ถ้าบอกว่ามืดเพราะสมาธิต่ำ ไม่ใช่ ถ้าสมาธิต่ำมันไม่แสดงอาการของการมืด
แต่การเคลื่อนของจิตมันจะช้าลง การมืดหรือสว่างมันอยู่ที่วิปัสสนาญาณ

ศีล เป็นภาคพื้น
สมาธิ เป็นกำลังเดินทาง
วิปัสสนาญาณ เป็นคบเพลิงสำหรับส่องทาง
ทั้ง ๓ อย่างนี้ต้องขนานกัน แต่ว่าบางทีศีลดี สมาธิดี วิปัสสนาญาณดี
แต่ว่าร่างกายไม่ดี อันนี้ก็มืดเหมือนกัน

แต่หลวงพ่อไม่งั้นนะ ถ้าร่างกายไม่ดียิ่งสว่าง เพราะว่าถ้าร่างกายไม่ดีจิตมันจะดีทันที
พอเริ่มป่วยนี่ จะป่วยมากน้อยก็ตาม จิตมันจะรวมตัวทันที
พร้อมใส่กระเป๋าเตรียมตัวเดินทางใช่ไหม..........

จำไว้นะ ไม่ใช่พอป่วยร้องอ๋อย ๆ คือว่า
ร่างกายมันจะคราง มันจะร้อง มันจะเจ็บ มันจะปวด มันเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย
ไม่ใช่ว่าถือธรรมดาแล้วร่างกายจะไม่เจ็บไม่ปวด อันนั้นไม่ถูก

แม้แต่พระอรหันต์ทุกองค์ท่านก็เจ็บ ท่านก็รู้ว่าร่างกายเจ็บ ร่างกายหนาว
ร่างกายร้อน ท่านก็รู้ ร่างกายป่วยไข้ไม่สบาย ท่านก็รู้
แต่ว่าท่านไม่ได้ทุกข์ จิตท่านไม่กังวล ท่านก็รักษาพยาบาล ท่านหิวท่านก็กิน
ท่านร้อนท่านก็หาเครื่องเย็น ท่านหนาวท่านก็หาเครื่องอุ่น หาได้แค่ไหนพอใจแค่นั้น
ถ้าหาไม่ได้ก็แค่นั้นแหละ แค่นี้เอง"


"เอาละ คงจะพอเข้าใจแล้วนะ ต่อไปนี้เป็น ปัญหาของผู้ฝึกได้แล้ว"

คัดลอกจากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

 

Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2552 5:28:20 น.    

หลวงพ่อฤาษี ตอบปัญหาการฝึกมโนมยิทธิ สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกมาก่อน


ปัญหาของผู้ไม่เคยฝึกมาก่อน... หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

หลวงพ่อ:-
"คำว่า มโนมยิทธิ แปลว่า มีฤทธิ์ทางใจ มโนมยิทธินี่เป็นการเตรียมอภิญญา
จะเรียกวิชชาสามตรงๆก็เข้มเกินไป จะเรียกอภิญญาก็ยังอ่อนอยู่
เป็นการเตรียมอภิญญา เตรียมเพื่อรับอภิญญาหก


วิชชาสามจริง ๆ ไปไม่ได้ แต่เห็นได้
นั่งอยู่ตรงนี้ สามารถเห็นเทวดา เห็นพรหม เห็นพระอริยะ สามารถคุยกันได้
นั่งอยู่ตรงนี้สามารถคุยกับเปรตได้ คุยกับอสุรกายได้ คุยกับพวกสัตว์นรกได้
แต่ก็นั่งอยู่ตรงนี้เอง


ทีนี้สำหรับมโนมยิทธินี่ก็เป็นอภิญญาทางใจส่วนหนึ่ง
ต้องถือว่าเป็นกึ่งหนึ่งของอภิญญา เพราะว่าสามารถเอาจิตไป เอากายในไป
ทว่าถ้าเป็นอภิญญาจริง ๆ เขายกตัวไปเลย จะไปสวรรค์ไปพรหมเขาเอาตัวไปเลย
นั่นต้องใช้กำลังเข้มแข็งกว่า สูงกว่า
แต่ว่ากันโดยผล มีผลเสมอกัน เพราะไปเห็นมาได้เหมือนกัน"


ผู้ถาม:-
"หลวงพ่อคะ ถ้าอย่างดิฉันต้องการฝึกบ้าง ต้องใช้เวลากี่วันคะ....?"

หลวงพ่อ:-
"ก็สุดแล้วแต่คุณจะทำได้ ถ้าคนทำได้เร็วไม่ถึงวันก็ได้
อันนี้จริง ๆ นะ ถ้าทำได้เร็วใช้กำลังใจถูกต้อง โดยเฉพาะถ้าเป็นผู้หญิงนี่จะได้เร็วมาก
เพราะพวกผู้หญิงนี่ไม่ค่อยสงสัย เพราะตัวสงสัยเป็นตัวนิวรณ์

ส่วนใหญ่จริง ๆ พวกผู้หญิงนี่มักจะเป็นได้วันแรก นี่พูดถึงส่วนใหญ่นะ
แต่พลาดมาวัน ๒ วันที่ ๓ ก็มี ใช้เวลาไม่มากหรอก เราไม่ต้องนับเดือน ไม่ต้องนับปีกัน

ถ้าคุณจะฝึก คุณต้องไปซ้อมกำลังใจเสียก่อน ถ้าซ้อมกำลังใจให้ทรงตัว มาวันแรกก็ได้
มันอยู่ที่ความเข้าใจ คือ ไม่ต้องทำอะไรมาก ทรงอารมณ์ไว้เฉย ๆ
หายใจเข้านึกว่า นะ มะ หายใจออกนึกว่า พะ ธะ
ไม่ต้องทำให้มันเครียดหรอก ให้มันชินเท่านั้นเอง

คำว่า ชิน หมายความว่า ถ้าให้เราภาวนาอย่างนี้เมื่อไร เราภาวนาได้
ไม่ต้องไปนั่งเครียดทั้งวันทั้งคืน ซ้อมให้ทรงตัวนะ"


ผู้ถาม:-
"หลวงพ่อคะ อย่างเรามีความศรัทธา จะฝึกมโนมยิทธิเรามีความจำเป็นไหมคะ
ที่เราจะต้องรู้รายละเอียดในความหมายของคำภาวนา นะ มะ พะ ธะ"


หลวงพ่อ:-
"ก็ไม่ต้องไปละ อยู่ที่เดิมน่ะ ถ้าฉลาดแบบนั้นไปไหนไม่ได้
เขาให้ภาวนาเพื่อเป็นกำลังของสมาธิเท่านั้น
เขาไม่ต้องใช้ปัญญา ปัญญาเขาใช้ส่วนอื่น ถ้าขืนฉลาดแบบนั้นก็อยู่ที่เดิม

การเจริญพระกรรมฐาน เขาต้องไปตามจุด ต้องเฉพาะกิจที่เขาจะสอนให้
แจกแจงนั่นต้องปฏิบัติในธาตุ ๔ เขาเรียกว่า จตุธาตุววัตถาน ๔ แต่อันนี้ไม่ใช่
เขาต้องการภาวนาเพื่อเป็นกำลังของจิต เพื่อให้จิตเป็นทิพย์
ชื่อเหมือนกัน แต่ใช้กิจต่างกัน

อย่างกับทัพพีเขาใช้คนหม้อข้าว เป็นทัพพีสำหรับหุงข้าว
ถ้าเขาไม่มีช้อน เอามาตักข้าวเข้าปาก นี่มันกลายเป็นช้อนไป ใช่ไหม.....

นี่ก็เหมือนกัน ต้องใช้เฉพาะกิจของเขา ถ้าเรื่อยเปื่อยไปก็พัง รับรองได้เลย
ถ้าเรื่อยเปื่อยไป นอกรีตนอกรอย อีกแสนชาติก็ไม่ได้


ต้องฉลาดพอดี ไม่ใช่ฉลาดเกินพอดี กิจอันนี้เขาทำเพื่ออะไร
ถ้าเราจะแจงเป็นธาตุ ๔ ก็ไม่ใช่ลักษณะนี้
นั่นต้องหวลเข้าไปหาสุกขวิปัสสโก ไม่ใช่ฉฬภิญโญ
หมวดแต่ละหมวดของกรรมฐาน ปฏิบัติไม่เหมือนกัน"


ผู้ถาม:-
"หลวงพ่อคะ บางคนเขาภาวนาว่า "พุทโธ" แต่ว่าทำไมเขาไปได้คะ....?"

หลวงพ่อ:-
"ถ้าเขาไปได้แล้ว อะไรก็ได้ ให้มันสตาร์ทติดเสียก่อน
ถ้าไปได้แล้วจริง ๆ ไม่ต้องภาวนา นึกปั๊บมันถึงเลย กำลังเขาพอ เข้าใจไหม.....

คือว่า คำภาวนาที่เราใช้กันหนัก เพราะเรายังไม่คล่อง
แบบเขียนหนังสือน่ะ อ่านหนังสือวันแรก สองวัน สามวัน เขียน ตัว ก.ไม่ได้
ถ้าเขียนคล่องแล้ว นึกเมื่อไรเขียนได้เลย ใครเขาพูด ก็เขียนได้เลยเหมือนกัน
ถ้าคล่องจริง ๆ ไม่ต้องภาวนา พอนึกปั๊บมันถึงทันที"


ผู้ถาม:-
"หลวงพ่อคะ บทสตาร์ทนี่ ต้อง "นะ มะ พะ ธะ" อย่างเดียวหรือคะ
"สัมมา อรหัง" ได้ไหมคะ...?"


หลวงพ่อ:-
"เอาแล้ว หาเรื่องตกร่องอีกแล้ว มันมีหลายสิบบท ไม่ใช่บทเดียว
แต่ว่าบทนี้เท่านั้น ขณะที่ไปอยู่จึงจะคุยกับคนข้าง ๆ ได้
นอกนั้นเขาไปเงียบ จบจุดแล้วจึงมาเล่าสู่กันฟัง

ฉันคิดว่า ถ้าไปกันเงียบๆ ชาวบ้านเขาจะหาว่าโกหก ฉันจะตัดตัวนี้
คือปัจจุบันเห็นแล้วคุยได้เลย ถามทางโน้นก็บอกทางนี้ได้ทันที เขาต้องการอย่างนี้

ฉันยังจำคำแนะนำของหลวงพ่อปานได้ เมื่อก่อนฉันจะบวช
ฉันบวชนี่ ฉันไม่ได้บวชตามประเพณีกับเขา บวชเพื่อพิสูจน์พระศาสนา
พระศาสนาว่า สวรรค์มีจริง นรกมีจริง ฉันจะไปเที่ยว


หลวงพ่อปานท่านบอกความต้องการของแกน้อยไป ข้าต้องการมากกว่านั้น
แต่ว่าแกบวชแล้ว แกต้องรับคำสอนอย่างคนโง่นะ


"อย่างคนโง่"ก็หมายความว่า ท่านบอกตรงนี้จุดไหนก็ไปแค่นั้นแหละ เดี๋ยวก็ถึง
อันนี้ถูกต้อง เพราะท่านรู้จักทาง ท่านก็นำตรง
ถ้าเราฉลาดเกินไป ก็เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาอีก

ฉันอยู่กับหลวงพ่อปานเดือนเดียว ฉันได้หมด เพราะฉันยอมโง่
อย่างลูกสาวของฉันนี่มันฉลาดมากเกินไป
อย่างนี้เขาเรียกว่า "ฉลาดหมาไม่กิน" ใช่หรือเปล่า........?"


ผู้ถาม:- "ใช่ค่ะ"
หลวงพ่อ:- "ถ้าหมากิน เอ็งหมดไปนานแล้ว"

หลวงพ่อพูดให้กำลังใจว่า:-
"ค่อย ๆ ทำไปนะ ไม่ต้องใช้เวลาให้มาก ไม่ต้องไปใช้เวลาที่สงัด
นั่งเล่นทำอะไรเล่นก็ตาม นึกอะไรก็ภาวนา
หายใจเข้า นึก "นะ มะ" หายใจออก นึกว่า "พะ ธะ" สองสามครั้งก็ได้
ถ้ามันฝืนขึ้นมาก็เลิกกัน ต้องการให้อารมณ์ชินอย่างเดียว
เวลาเขาฝึกจะได้ไม่แย่งกัน ให้แยกกันเสียให้เด็ดขาด

ยามปกติเราต้องการความสุข เราภาวนา "พุทโธ" ของเราไป
แต่บางขณะเช่นเวลานี้ ฉันจะเอา "นะ มะ พะ ธะ" ไม่ยอมให้ "พุทโธ" มาแย่ง
ไม่กี่วันหรอกอย่างมากก็ ๒-๓ วัน

ถ้าลองจนชินดีแล้ว เราต้องการภาวนา "นะ มะ พะ ธะ" ก็ให้อยู่แค่ "นะ มะ พะ ธะ"
พุทโธให้แยกไป ถ้าเราต้องการภาวนา "พุทโธ" ก็ "พุทโธ" ไปตามปกติ อันนี้ก็ใช้ได้

ค่อย ๆ ทำไปนะ อยู่ที่ความเข้าใจตัวเดียว ใครจะคุมหรือไม่คุมไม่สำคัญ
ต้องภาวนาถูกต้องตามแบบเขา ไม่งั้นพระพุทธเจ้าก็ไม่วางแบบไว้ซิ
ถ้าภาวนาอย่างไรก็ได้ พระพุทธเจ้าจะวางแบบไว้ทำไม สอนเสียอย่างเดียวก็พอใช่ไหม...."

"พุทโธ" น่ะเป็นสายของสุกขวิปัสสโกเขา
สายสุกขวิปัสสโก ไปไหนไม่ได้ ได้แต่ตัดกิเลส

สายเตวิชโชก็มีคำภาวนาตั้งหลายสิบแบบ
แต่ถ้า "นะ มะ พะ ธะ" เป็นการเตรียมเพื่ออภิญญา จึงไปได้

กรรมฐานไม่ใช่ว่าทำอย่างเดียว แบบจริง ๆ มี ๔๐ แบบ
ถ้าเราใช้อะไรก็ใช้แบบที่ถูกต้อง ไม่งั้นไปไม่ได้"


ผู้ถาม:-
"สมมุติว่าหนูฝึก "พุทโธ" หลวงพ่อจะฉุดหนูไปได้ไหมคะ.........?"

หลวงพ่อ:-
"ได้ ฉุดลงใต้ถุนไป
ไม่มีทาง จะฉุดได้ยังไง พระพุทธเจ้าท่านยังไม่ฉุดใคร
หลวงพ่อจะไปฉุดเอ็งเข้า ดีไม่ดีเขาจะมาตีเอาตาย
โทษหนักเสียด้วย โทษถึงประหารชีวิต
เรื่องอื่นยังพอทำเนา บรรเทาโทษได้ แต่ว่าเรื่องนี้ประหารชีวิตกันเลยนะ หนอยแน่........
ไม่ได้หรอก ไอ้หนู ต้องฝึกเอง
แล้วทำไมภาวนา "นะ มะ พะ ธะ" ไม่ได้.........?"


ผู้ถาม:- "รู้สึกว่ามันเหนื่อยคะ"
หลวงพ่อ:- "แล้วที่ด่าชาวบ้าน ทำไมทำได้ล่ะ..........?"

ผู้ถาม:- "หนูไม่เคยด่าใครคะ ครั้งเดียวไม่เคยค่ะ....."
หลวงพ่อ:- "น่ากลัวไปล่อหลายเที่ยว"

ผู้ถาม:- (หัวเราะ)
หลวงพ่อ:-
"ไอ้นี่ต้องคิดซิว่า "พุทโธ"เหมือนกับนั่งอยู่กับบ้าน
ถ้าเราจะไปอเมริกา เดินไปมันก็ไม่ไหว ก็ต้องขึ้นเครื่องบินไป
แบบ "นะ มะ พะ ธะ" เขาฝึกเพื่อหาเครื่องบินไป

การฝึกในพระพุทธศาสนา เขามีตั้ง ๔ ประเภท
ถ้าแบบใหญ่จริง ๆ มี ๔๐ แบบ แบบย่อยอีกนับพัน

อย่าง"นะ มะ พะ ธะ" เป็นส่วนหนึ่งของอภิญญา แต่ก็ยังไม่เข้าถึงอภิญญาจริง
ต้องถือว่าเตรียมเพื่ออภิญญา นี่เขามีจำกัดนะ
แต่ว่าการปฏิบัติแบบนี้เขาก็มีหลายสิบแบบนะ
ถ้าเป็นแบบเก่า คนข้าง ๆ ถามไม่ได้ ฉันก็ไม่อยากสอนใคร
ฝึกแบบนี้ ถ้าไปได้ คนข้าง ๆ สามารถถามได้ตลอดเวลา ไปถึงไหน ๆ เล่าได้ตลอดเวลา
ถ้านอกจากนี้ไปก็นั่งเงียบอยู่คนเดียว เลิกแล้วกลับมาจึงเล่าสู่กันฟัง
อย่างนี้ฉันว่าของเก่านั้นของดี แต่ว่าพวกที่เขามีความสงสัย ก็จะคิดว่าพวกนี้มาโกหก

จึงไปหาแบบนี้มา แบบนี้ก็ไม่ได้สร้างเอง เป็นของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน
คนข้าง ๆ สามารถถามได้เวลานี้ไปถึงไหน แล้วจะบอกได้ตลอดเวลา
หาอย่างนี้มา ๒๓ ปี กว่าจะพบตำรานี้ ไม่ใช่ค้นคว้าเองนะ
ทราบอยู่ว่าของพระพุทธเจ้าท่านมี

แต่ตำราที่เราฝึกเราไม่พบ กว่าจะพบก็สิ้นเวลาบวชไป ๒๓ ปี
แต่ว่าวิธีอื่นน่ะทำได้ ถ้าเพื่อส่วนตัวนี่ทำได้ตั้งแต่พรรษาต้น แต่ว่าเราจะรู้
เราก็ต้องรู้คนเดียว เลิกมาแล้วจึงมาเล่าสู่กันฟัง ทีนี้สำหรับคนรับฟังก็จะหาว่าโกหก

อย่างสมมุติว่า พ่อเขาตาย แม่เขาตาย เขาถามว่าพ่อแม่เขาอยู่ที่ไหน
ตามผีนี่ตามง่ายกว่าตามคน ต้องการจะพบใคร มันพบทันที
ถ้าเราจะเอาให้แน่นอน เมื่อพบแล้วก็ให้เขาแสดงตัว

เวลาที่เป็นมนุษย์รูปร่างเป็นอย่างไร แสดงให้ดูซิ เวลาป่วยยังไง ผอมหรืออ้วน
อาการป่วยที่คนพอจะรู้ได้ขอให้บอก พวกที่เขาถามเขารู้ว่าเคยป่วยแบบไหน
เขาอาจจะไม่รู้ทั้งหมดรู้จุดใดจุดหนึ่งนะ เขาจะบอกให้ฟัง

ถ้าถามถึงโรค มีอยู่หลายราย เขาบอกว่าที่หมอหรือพยาบาลบอกว่าตายด้วยโรคนั้น ๆ
จริง ๆ มันไม่ใช่ เขาตายอีกโรคหนึ่ง แต่พยาบาลเขาเข้าใจว่าโรคนั้น

นี่เราต้องถามอาการที่คนอื่นจะรู้ เขาทำท่าให้ดูเสร็จเรียบร้อย
แล้วก็บอกคนข้างๆว่าพบแล้ว เวลาที่มีชีวิตอยู่ รูปร่างเป็นอย่างนี้ ใช่ไหม......
และอาการที่จะตายจริง ๆ มีลักษณะแบบนี้ใช่ไหม.....
คนนี้สมัยที่มีชีวิตอยู่เป็นคนใจดี หรือชอบหัวเราะ หน้าบึ้งขึงจอ
อะไรก็ตาม ถามเขา เขาบอกตามความจริงทั้งหมด


คงเข้าใจแล้วนะ สำหรับท่านที่ยังมีความสงสัยในคำภาวนาและการฝึกแบบนี้
แต่ก็คงจะสงสัยอย่างอื่นอีก จึงขอนำปัญหาและคำตอบให้คลายสงสัยเสีย"


ผู้ถาม:-
"หลวงพ่อคะ ถ้าหากฝึกมโนมยิทธิสามารถขึ้นไปข้างบนได้แล้ว
จะหลงวกวนอยู่บนนั้นไหมคะ....?"


หลวงพ่อ:-
"แหม......อีหนูเอ๊ย อยากให้หลงจริง ๆ ถ้ามันไปติดอยู่วิมานใดวิมานหนึ่ง แหม...ดีจริง ๆ"

ผู้ถาม:- (หัวเราะ) "ไม่หลงใช่ไหมคะ.......?"
หลวงพ่อ:- "ไม่หลงหรอก"

ผู้ถาม:-
"แล้วที่ครูเขาแนะนำว่าไปที่วิมาน วิมานอยู่ที่ไหนคะ..........?"

หลวงพ่อ:-
"ถ้าเราไปถึงพระนิพพานได้ วิมานบนพระนิพพานก็ต้องมี
เมื่อไปถึงนิพพานได้เขาจะบอก ๒ จุด เพราะว่าครูเขาไม่มีเวลาสอนมาก
ถ้าเราขึ้นไปบนสวรรค์ ดูวิมานของเรามีไหม.....
ถ้าไม่มีก็ไปดูวิมานของเราที่พรหมมีไหม.....
ถ้าไม่มีก็เหลืออยู่แห่งเดียวที่นิพพาน แสดงว่าชาตินี้ตายแล้วไปนิพพานแน่

ถ้าหากว่าวิมานที่สวรรค์ยังมีอยู่ หรือยังมีอยู่ที่พรหมและวิมานที่นิพพานมีอยู่
แสดงว่าจิตเราจับวิปัสสนาญาณได้เล็กน้อย แต่มันหมองมันไม่แจ่มใส
แต่วิมานเราอยู่จุดที่แน่นอนอันนี้แจ่มใส


ถ้าวิปัสสนาญาณเราดีพอ จิตเราเข้าถึงโคตรภูญาณ วิมานข้างล่างนี่จะหายหมด
มันจะเหลือหลังเดียวข้างบน ถ้าเหลือหลังเดียวข้างบน ตายแล้วมันไม่มีที่อยู่
ต้องไปอยู่หลังนั่นแหละ

ถ้าพอถึงนิพพานแล้วยังถามว่าไปไหนอีก
ถ้าอารมณ์ใจยังพอใจในการเที่ยวก็แสดงว่ากิเลสยังหนาอยู่
ถ้าเที่ยวไป ๆ ไม่ช้ามันจะเบื่อเที่ยว จิตมันจะรักอารมณ์อยู่จุดหนึ่ง คือ
ขึ้นไปนิพพานมันก็ไม่อยากขึ้น มันอยากจะตัดขันธ์ ๕ สบาย ๆ อารมณ์จิตเป็นสุข

แต่ก็มีเกณฑ์บังคับว่า นิพพานต้องไปทุกวันเพื่อให้จิตมันจับเป็นเอกัคคตารมณ์
แปลว่า จิตมันเป็นหนึ่งเดียว ต้องการอย่างเดียวคือนิพพาน ให้มีความผูกพัน


แล้วไปนิพพานไปที่ไหน....?
นิพพานมี ๒ จุดที่เราจะไปก็คือ ที่ประทับของพระพุทธเจ้าและก็วิมานของเรา
ถ้าเราไม่เห็นพระพุทธเจ้า เรานึกถึงท่าน ท่านจะมาทันที
คือว่าจิตอย่าปล่อยพระพุทธเจ้า ให้จิตมันเกาะไว้เป็นอารมณ์ ทีนี้ตายแล้วก็มาที่นี่แหละ

เรื่องของชีวิตมันจะตายเมื่อไรก็ช่าง คือว่าอย่าไปคิดว่ามันจะอยู่อีก ๒ ปี
ตื่นขึ้นมา เราคิดว่าเราอาจจะตายวันนี้ มันถึงจะถูก
อันนี้เป็น มรณานุสสติกรรมฐาน ใช่ไหม......ถ้าวันนี้มันจะตายมันจะไปไหน
ตื่นขึ้นมาปั๊บ เราคิดว่าเราจะตายวันนี้ จิตพุ่งปรู๊ดขึ้นนิพพานเลย
ขึ้นไปแล้วสัก ๒-๓ นาทีก็ช่าง ให้อารมณ์มันสดชื่น พิจารณาขันธ์ ๕ เท่านั้นแหละ

ถ้าจิตตอนเช้าเราจับเป็นอารมณ์ไว้ แล้วกลางวันเราก็ไม่ได้นึกถึงนิพพาน
มัวนั่งพูดกับเพื่อนบ้าง ทะเลาะกับเพื่อนบ้าง ขัดคอกับเพื่อนบ้าง หลบหน้าเจ้าหนี้บ้าง
ตามเรื่องตามราวนะ บังเอิญตายวันนั้นมันก็ไปนิพพาน
เพราะตอนเช้าเราตั้งอารมณ์ไว้แล้วใช่ไหม.....

คืออารมณ์ตอนเช้า เวลาที่จิตมันสบายตั้งอารมณ์ไว้เลย ตั้งอารมณ์ไว้ก็อย่าตั้งไว้เฉย ๆ
ไปเลย ไปนั่งอยู่ข้างหน้าพระพุทธเจ้าให้จิตมันชื่นใจ
เวลานั่งข้างหน้าพระพุทธเจ้ามันสบายใจ ใช่ไหม........
ท่านสวย ท่านสว่าง ดูแล้วไม่อิ่มไม่เบื่อ อารมณ์มันก็มีความสุข
คิดว่าที่นี่เป็นที่ที่เราจะมาในเมื่อขันธ์ ๕ มันพัง ให้ทำแบบนี้นะ"


ผู้ถาม:-
"แล้วอย่างสมมุติว่า คนที่เขาฝึกได้แล้ว เขาไปได้เขาก็เห็นวิมานของเขา
แสดงว่าเขามีวิมานอยู่ ถ้าหากเราอยู่อย่างนี้ เราทำแต่ความดี เราจะมีวิมานไหมคะ......?"


หลวงพ่อ:- "เราก็มีบ้านอยู่"

ผู้ถาม:- "หนูอยากมีวิมานค่ะ"
หลวงพ่อ:- "ไปสร้างกุฏิสักหลังซิ"

ผู้ถาม:- "มีจริง ๆ หรือคะ?"

หลวงพ่อ:-
"วิมานน่ะ เขามีด้วยกันทุกคน ถ้าทำความดี
แต่ว่าเราจะสามารถไปเห็นวิมานของเราหรือไม่
อย่างการก่อสร้างวิหารทาน สร้างโบสถ์ สร้างกุฏิ สร้างส้วม สร้างศาลาอะไรก็ตามเถอะ
เราเอาเงินไปร่วมกับเขาด้วยความตั้งใจจริง วิมานจะปรากฏเลย
เราจะรู้หรือไม่รู้อยู่ที่การฝึกจิต อย่างที่เขาฝึก "นะ มะ พะ ธะ" กัน"


"เอาล่ะ สำหรับปัญหาผู้ยังไม่เคยฝึกก็มีเท่านี้ ต่อไปนี้เป็น ปัญหาของผู้เริ่มฝึกใหม่ ๆ"

คัดลอกจากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน


 

Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 5 มีนาคม 2552 5:55:36 น.    

การฝึกมโนมยิทธิ...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ๖(จบ)


การอุทิศส่วนกุศล

ก่อนออกจากที่ ก่อนเลิกจากกรรมฐานทุกครั้ง ท่านสาธุชนควรตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลทุกครั้ง
คำอุทิศส่วนกุศลตามแบบฉบับที่ หลวงพ่อฤาษี
ท่านผูกเป็น "คาถา" สำหรับสานุศิษย์ ผู้ฝึกวิชชามโนมยิทธิไว้แล้ว
ส่วนวรรคสุดท้ายผู้เขียนต่อเติมเข้าไป เพื่อสร้างกำลัง เสริมความคล่องตัวในปัจจุบัน

คำอุทิศส่วนกุศล

อิทัง ปุญญะ ผะลัง

ผลบุญใดที่ข้าพเจ้า(ทั้งหลาย) ได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้
ข้าพเจ้า(ทั้งหลาย) ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย
ที่เคยล่วงเกินมาแล้วแต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี
ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโมทนาในส่วนกุศลนี้
และจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้ตราบเข้าสู่พระนิพพาน

และข้าพเจ้า(ทั้งหลาย) ขออุทิศส่วนกุศลนี้
ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักษ์รักษาข้าพเจ้า
และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพญายมราช
ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพญายมราชจงโมทนาในส่วนกุศลนี้
ขอจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้า ในครั้งนี้ด้วยเถิด

และขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว
ที่เสวยสุขอยู่ก็ดี เสวยทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี
ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาในส่วนกุศลนี้
พึงได้รับประโยชน์ความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

ผลบุญใดที่ข้าพเจ้า(ทั้งหลาย) ได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้
ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้า(ทั้งหลาย) ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน
ในชาติปัจจุบันนี้เถิด

ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังมิได้ถึงซึ่งพระนิพพานเพียงใด
ขอคำว่าไม่มี จงอย่าปรากฏแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ


อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

ถ้าท่านใดจะอุทิศส่วนกุศล ให้ญาติ ให้มิตรสหาย คนใดเป็นการพิเศษ
เพื่อช่วยเหลือท่านผู้นั้นให้พ้นทุกข์ จะเป็นการบุญกุศลจาก สังฆทาน วิหารทาน
ธรรมทาน การปฏิบัติพระกรรมฐาน เป็นต้น

ท่านแนะนำว่า ให้อุทิศเจาะจงเฉพาะตัวเป็นภาษาไทย
(ไม่ต้องใช้บาลีเพราะบางผีอาจฟังไม่รู้เรื่องและบางทีนะ ผีรอแล้วรออีกก็ไม่ได้
อย่างเช่นบท "อิมินาฯ" เป็นต้น อุทิศให้ แต่เลยผีที่ขอไปเสียหมด)

ให้เอ่ยชื่อท่านผู้นั้น ให้มาโมทนาเลยทีเดียว

ถ้าเขามาโมทนาได้ ก็ได้ ถ้ามาไม่ได้ ก็ไม่ได้
แต่บุญที่เราอุทิศให้ไม่สูญหาย จะรอเขาอยู่ จนกว่าถึงวาระที่เขามารับได้

ที่มาไม่ได้แสดงว่า เขาต้องใช้กรรมที่เขาก่อขึ้นระหว่างการเป็นคนในมนุษยโลก
โบราณาจารย์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ถ้าจะทำบุญให้คนตาย
ต้องรีบทำให้ภายใน ๕ วัน ๗ วันมนุษย์ ถ้าเลยแล้วอาจจะไม่มีโอกาสได้รับ

สำหรับผู้ที่ประกอบกรรมหนัก จิตเป็นอกุศล ตนเองไม่ได้สร้างบุญบารมีใดๆไว้
ตายเมื่อใดต้องเกิดใหม่ในนรกทันที บุคคลประเภทนี้ ไม่มีเวลารอรับส่วนบุญจากใคร
ใครทำบุญอุทิศให้ ผู้ทำก็ได้เอง ๑๐๐ เปอร์เซนต์

ตัวอย่างคำกล่าวอุทิศส่วนกุศลเฉพาะ

"ด้วยบุญบารมีที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมา ตั้งแต่ต้นจนปัจจุบัน
อันจะมีผลประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าเพียงใด
ข้าพเจ้าขออุทิศให้แก่...(ชื่อ)... ขอเธอจงมาโมทนาและได้รับประโยชน์และความสุข
เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด”


เตือนสติ

เมื่อท่านได้มโนมยิทธิ และญาณ ๘ ประการแล้ว ท่านควรซักซ้อม ใช้ให้เป็นปกติทุกวัน
ท่านรวบรัดแนะนำ ข้อควรปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้

๑.ทุกญาณของการรู้ ให้ถามตรงต่อพระพุทธเจ้า
อย่าใช้กำลังของตัวเอง จะผิดพลาดได้ง่าย ต้องอาศัยบารมีของพระพุทธเจ้าทุกครั้ง
แม้พระอริยสาวกทั้งปวง ท่านก็ไม่ใช้กำลังของตนเอง


เพราะความผิดพลาดเบี่ยงเบนย่อมเกิดขึ้นได้
และการใช้กำลังใจตัวเอง อุปาทานจะหลอกหลอนเอาได้ง่าย

๒.ก่อนนอน และตอนตื่นนอน รวบรวมกำลังใจพุ่งไปนิพพานก่อน
เมื่อถึงนิพพานแล้ว ให้ตัดสินใจว่า ถ้าร่างกายนี้พังเมื่อไร ขอมาที่นี่แห่งเดียวทันที


เมื่อจิตเป็นสุขอยู่ที่พระนิพพานแล้ว กราบทูลถามพระพุทธเจ้า
เช่น ใครจะมาหาบ้างวันนี้ กิจการงานวันนี้เป็นอย่างไร ฯลฯ
สอบถามแล้วจดบันทึกไว้ตรวจสอบ วันไหนตรง ถูกต้องตามที่เรารู้ทุกอย่าง
ให้จำอารมณ์นั้นไว้ วันต่อไปอยากรู้อะไร ให้ใช้อารมณ์เดิมแบบนั้น จะถูกต้อง

จะทำหมอดู พยากรณ์ก็ได้ แต่ไม่ควรรับเงินตอบแทน จะทำให้เกิดความโลภ
และหลงในตนเอง อันจะปิดกั้นความดี กลายเป็นผลเสียดึงให้ลงนรกได้

๓.เมื่อรู้สภาวะตามความเป็นจริงของโลก และโลกธรรม
จงตั้งใจไว้ว่า โลกนี้มันเลวอย่างนี้
เพื่อนเราชมต่อหน้า ลับหลังนินทาว่าร้าย อย่าโกรธเขา ใครกลั่นแกล้ง เราไม่โกรธ
ตั้งจิตแผ่เมตตา ให้อภัยเขาไปเป็นอภัยทาน ทำจิตวางเฉย ถือว่า เป็นธรรมดาโลก


ฉะนั้น เราจะคบกับทุกคนได้ แต่ไม่ยอมรับนับถือเขา ถ้าเขาเลว
เรายอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์เท่านั้น

๔.การมีทิพจักขุญาณหรือมโนมยิทธิ มิได้ช่วยให้หนีนรกและอบายภูมิได้
ต้องทำใจท่านให้มีอารมณ์จิตเป็นพระอริยเจ้า จึงจะหนีนรกได้ถาวร


อารมณ์จิตของพระอริยเจ้าเบื้องต้น ที่ท่านแนะนำไว้ เพื่อการหนีอบายภูมิอย่างถาวร
ได้แก่

-ไม่ลืมว่า ชีวิตนี้ต้องตาย ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
-ไม่สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์
และยอมรับนับถือด้วยความจริงใจ
-ทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์สำหรับฆราวาส ส่วนภิกษุสามเณรก็ทรงศีลตามพระธรรมวินัย
-คิดไว้เสมอว่า การเกิดเป็นทุกข์ เป็นมนุษย์เทวดาพรหมเราไม่ต้องการ
เราต้องการเฉพาะพระนิพพานอย่างเดียว ตายเมื่อไรขอไปนิพพานทันที


๕.ต้องหมั่นฝึกซ้อม
วิชชามโนมยิทธิเป็นฌานโลกีย์ ถ้าไม่หมั่นปฏิบัติฝึกฝน ไม่ทรงอารมณ์ใจให้บริสุทธิ์
วิชชานี้จะหายไปจากผู้นั้น
และการรู้เห็น คล่องตัว ชัดเจนต้องมี ๓ ดี คือ สมาธิดี ศีลดี และวิปัสสนาญาณดี

๖.อย่าประมาท อย่าทะนงตนว่าดีกว่าเก่งกว่าใครเขา(หรือคิดว่าตนเองเลวกว่าเขา)
ถ้าคิดว่าเราดีเมื่อไร แสดงว่าจิตเราเลวเมื่อนั้น


นักปฏิบัติต้องกระทำเพื่อละ อย่าคอยจ้องจับผิดผู้อื่น สนใจเรื่องของตน
แม้ตนจะเข้าถึงความดี ระดับ "เปลือก สะเก็ด กระพี้ หรือแก่น" ก็ยังเป็นแค่ฌานโลกีย์
ยังไม่ดีพอ ต้องปฏิบัติให้ถึงขั้นโลกุตตระระดับพระอริยเจ้า จึงจะพอวางใจได้

ความดีระดับเปลือก ของพระศาสนา ข้าพเจ้าขอคัดลอกมาเป็นภาษาไทยง่ายๆ ดังนี้
๑.ไม่กังวล
๒.ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงให้คนอื่นทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นทำลายศีลแล้ว
๓.ระงับนิวรณ์ได้โดยพลัน เมื่อต้องการความเป็นทิพย์ของจิต
๔.จิตทรงพรหมวิหารเป็นปกติตลอดวัน

ความดีชั้นสะเก็ด ได้แก่
๑.ไม่สนใจในจริยาของคนอื่น ใครจะดี จะเลว เรื่องของเขา
๒.ไม่ยกตนข่มท่าน
๓.อย่าถือตัวเกินไป

ความดีชั้นกระพี้ ได้แก่ การระลึกชาติได้ มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

ความดีระดับแก่น ของพระศาสนา คือ การคล่องในจุตูปปาตญาณ


๗.ความละเอียดเรื่องการรู้เห็นของแต่ละคน อาจไม่เหมือนกัน
เพราะสภาพร่างกายของแต่ละภพภูมิต่างกัน
ดังแจกแจงไว้ ดังนี้

ร่างกายคนและสัตว์ หยาบกว่าหนากว่า ผี คือ อสุรกาย สัมภเวสี เปรต บางจำพวก
ถ้าผีไม่ต้องการให้คนเห็น คนก็จะเห็นไม่ได้ แต่พวกเขาเห็นคนได้

ผี มีร่างกายหยาบกว่า เทวดา ตั้งแต่ภุมเทวดาขึ้นไป
ถ้าเทวดาไม่อยากให้พวกเขาเห็น ผีก็เห็นท่านไม่ได้

เทวดา มีร่างกายหยาบกว่า พรหม ร่างกายพรหมละเอียดกว่า
ถ้าพรหมไม่ให้เห็น เทวดาก็เห็นพรหมไม่ได้

พระอริยเจ้าและพระพุทธเจ้า ที่เข้านิพพานไปแล้ว มีร่างกายบางมาก
ละเอียดมากกว่าพรหม ถ้าท่านไม่ต้องการให้เห็น แม้พรหมก็ไม่สามารถมองเห็นได้เลย

สำหรับลีลาในการปฏิบัติพระกรรมฐาน จะมีผลต่างกัน ดังนี้

ถ้าจิตสะอาดขั้นโลกีย์ชั้นต่ำ จะสามารถเห็นเทวดาได้ แต่จะไม่เห็นพรหม
ผู้ปฏิบัติมโนมยิทธิหรือมีอภิญญาระดับนี้จะไปสวรรค์ได้แต่ไปพรหมไม่ได้
ท่านที่ฝึกทิพจักขุญาณในหมวดวิชชาสามจะเห็นเทวดา แต่ไม่เห็นพรหม

ถ้าเจริญสมาธิจนจิตเป็นฌาน
ผู้ปฏิบัติได้ในหมวดมโนมยิทธิถึงขั้นนี้ ไปพรหมได้
ผู้ปฏิบัติหลักสูตรวิชชาสาม สามารถเห็นพรหม และพูดกับพรหมได้

ถ้าเจริญสมาธิ มีจิตสะอาดระดับพระโสดาบันขึ้นไป
ผู้ปฏิบัติตามหลักสูตรมโนมยิทธิจะเห็นและเข้าเขตพระนิพพานได้
นั่งนอนในวิมานของตนที่แดนพระนิพพานได้
ผู้ที่ปฏิบัติในหลักสูตรวิชชาสาม ที่เจริญทิพจักขุญาณ จะเห็นนิพพานได้

๘.สีของจิตและลักษณะอทิสสมานกาย ซึ่งผู้ฝึกซ้อมการใช้เจโตปริยญาณควรรู้ไว้
เพื่อประโยชน์ในการดู การสังเกตทั้งใจของตนเองหรือกายผู้อื่น

สีของจิต หรือ น้ำเลี้ยงของจิต นั้น ท่านจำแนกไว้โดยย่อ ดังนี้
จิตที่มีความดี เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตจะเป็น สีแดง
จิตที่ขณะนั้นมีความอาฆาตพยาบาท ความโกรธ หรือเป็นทุกข์ จิตจะเป็น สีดำ
จิตมีอารมณ์น้อมไปทางเชื่อง่าย มักขาดเหตุผล จิตจะเป็น สีขาว เหมือนดอกกรรณิการ์
จิตผู้ฉลาด ปฏิภาณดี ไม่มีกังวล จิตมีสีผ่องใส คล้ายหยดน้ำบนใบบัว

ลักษณะของจิตที่กล่าวข้างต้น เป็น ลักษณะจิตของปุถุชน

ลักษณะจิตของผู้ทรงฌานโลกีย์ นั้น ท่านกล่าวไว้ดังนี้
ผู้ทรงฌานที่ ๑ หรือปฐมฌาน
ลักษณะของจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วใสๆบางๆครอบไว้ภายนอก
ผู้ทรงฌานที่ ๒ หรือ ทุติยฌาน
ลักษณะจิตเหมือนแก้วเคลือบหนาลงไปครึ่งหนึ่งของดวงจิต
ผู้ที่ทรงฌานที่ ๓ หรือ ตติยฌาน
จิตท่านผู้นั้นจะเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็นแก่นในนั้นอยู่นิดหน่อย ไม่เต็มดวง
ผู้ทรงฌานที่ ๔ หรือ จตุตถฌาน
จิตของท่านจะเห็นเป็นแก้วใสทั้งดวง เหมือนดวงแก้วลอยอยู่ในอก

สำหรับ ลักษณะของจิตของพระอริยเจ้า นั้น
ย่อมแตกต่างไปจากลักษณะที่กล่าวข้างต้นทั้ง ๒ จำพวก
ท่านบ่งบอกไว้เป็น ๕ ลักษณะด้วยกันคือ
:-จิตของผู้ที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณ และเจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้างแล้ว
จิตจะมองเห็นเป็นประกายออกเล็กน้อย
:-จิตของท่านที่เป็นพระโสดาบัน
ดวงจิตจะมีประกายคลุมเข้ามาประมาณหนึ่งในสี่ของดวง
:-จิตของท่านที่เป็นพระสกิทาคามี
จิตจะมีประกายประมาณครึ่งหนึ่งของดวง อีกครึ่งหนึ่งนั้นยังเป็นแกนหนาอยู่
:-จิตของท่านที่เป็นพระอนาคามี
จิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวง
จะมีส่วนเหลือที่ไม่เป็นประกายอยู่อีกนิดหน่อยเป็นแกนราว ๑ ในสี่ของดวง

:-จิตของท่านที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วนั้น
จิตของท่านเป็นประกายคล้ายดาวประกายพรึก ระยิบระยับ
สว่างมากทั้งดวง ลอยอยู่ในอก

และลักษณะจิตที่เป็นดาวประกายพรึกแบบนี้แหละ
ที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ครู อาจารย์ ท่านแนะนำให้เราผู้เป็นนักปฏิบัติทุกคน
แสวงหามาครองครองเป็นของตนให้ได้เพื่อความพ้นทุกข์

อทิสสมานกาย หรือ กายใน ของคนก็มีสภาพคล้ายกับจิต
จะปรากฏตามบุญบารมีความดี ที่ตนเองได้สั่งสมเอาไว้

ซึ่งท่านแบ่งออกไว้เพื่อความเข้าใจเป็น ๕ ระดับ ต่อไปนี้

กายอบายภูมิ
ท่านบอกว่ามีลักษณะคล้ายคนขอทาน ร่างกายซูบซีด เศร้าหมอง อิดโรย
ถ้ากายในของใครเป็นไปในลักษณะนี้ ตายแล้วก็ต้องไปอบายภูมิ

กายมนุษย์
มีรูปร่างค่อนข้างผ่องใส ลักษณะเป็นมนุษย์สมบูรณ์แบบ
แต่ว่ากายมนุษย์นี้จะมีส่วนสัด ผิวพรรณ ความงามต่างๆกันไป
บุคคลที่มีกายแบบนี้ ตายแล้วจะเกิดเป็นมนุษย์อีก

กายทิพย์
คือ กายเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์ เป็นภุมเทวดา รุกขเทวดา หรือ อากาศเทวดา
ตามแต่จะเรียก จะมีรูปร่าง ความผ่องใส เครื่องประดับกายแพรวพราว สีสัน
และความงามต่างกัน ตามบุญบารมีรัศมีกำลังฤทธิ์
ท่านที่มีกายในกายแบบนี้ ตายแล้วจะไปเป็นเทวดาในสวรรค์เขตต่างๆกัน

กายพรหม
มีลักษณะคล้ายกายทิพย์ของเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสกว่า คล้ายแก้ว
เครื่องประดับเป็นสีทองล้วน แลดูเหลืองพราวไปหมดทั้งตัวรวมทั้งมงกุฎที่สวมใส่ด้วย
ผู้ที่มีกายลักษณะนี้จะเกิดเป็นพรหม

กายแก้ว หรือ ธรรมกาย
เป็นลักษณะกายของพระอรหันต์ ซึ่งบางท่านเรียกว่าเป็น วิสุทธิเทพ
เราจะเห็นเป็นประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหม ทั้งผิวกายและเครื่อง-
ประดับกายล้วนเป็นแก้วใส ประกายระยิบระยับทั้งหมด ดูตื่นใจสุขสบายตายิ่ง
ท่านที่เป็นเจ้าของอทิสสมานกาย ที่เป็นกายแก้วนี้ ตายแล้วไปนิพพานทันที

ข้อควรสังเกตมีอยู่ว่า
กายในระดับ ๑ ถึง ๔ นั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงไปได้
ตามบุญหรืออกุศลกรรมที่ตนทำต่อไปอีก จนกว่าจะตาย
และถ้าก่อนตาย กายในกายปรากฏให้เห็นเป็นแบบใด ผู้นั้นจะไปเกิดเป็นแบบนั้น

และการ ขอดู กายในกาย หรือการใช้เจโตปริยญาณนั้น
พึงระมัดระวัง อุปาทาน การประเมินล่วงหน้า
การขอดูกายในข้อ ๕ ของพระอรหันต์นั้น ยากอยู่
ต้องรอบคอบและระวังปฏิบัติให้ถูกวิธี และพิจารณาถึงการควรหรือไม่ อย่างไรด้วย


หลวงพ่อฤาษี ท่านย้ำเตือนอยู่เสมอว่า การรู้จักใช้เจโตปริยญาณนั้นมีประโยชน์มาก
โดยเฉพาะการดูให้ รู้อารมณ์จิตของตนเองสำคัญที่สุด
เพื่อจะได้แก้ไข สกัดอารมณ์ที่เป็นกิเลสอุปกิเลส ไม่ให้เข้ามาพัวพันกับจิต
ล้างสีทุกอย่างออกไป อย่าให้ปรากฏแก่จิต

อันดับแรก ให้เหลือเพียง สีใสคล้ายแก้วทั้งแท่ง และต่อไปเพื่อความสุขอันถาวร
ต้องให้ จิตเป็นประกายได้หนึ่งในสี่ของดวงเป็นอย่างน้อย
แล้วค่อยๆพัฒนาให้ จิตเป็นประกายพรึก ในที่สุด



ถึงตอนนี้ก็ใคร่ขอกล่าวซ้ำว่า
สิ่งสำคัญที่ครูอาจารย์ท่านกล่าวไว้สำหรับผู้ที่เรียนรู้ในหมวดวิชชา มโนมยิทธิ นั้น
ถ้ายังต้องหลับตาภาวนาเป็นนาน ก่อนการรู้เห็นใดๆ
จะต้องหมั่นฝึกซ้อมให้คล่อง ลืมตารู้ได้ เห็นได้ สัมผัสได้
ทุกขณะ ที่ปรารถนาจะรู้เห็น และอย่างถูกต้องด้วย จึงจะนับว่าใช้ได้

นอกจากนี้ การปฏิบัติพระกรรมฐานแบบนี้นั้น
"อย่างน้อยๆต้องทำให้ได้ถึงขั้นศึกษาธรรมะจากครูอาจารย์ที่ไม่มีขันธ์ ๕ ได้ด้วย"
ไม่ใช่คอยเกาะติดตำรา และกายของครูอาจารย์ เพราะการทำเช่นนั้นไม่ช่วยใครได้

นั่นหมายความว่า ต้องพากเพียร ทำทิพจักขุญาณให้เกิด ฝึกฝนจนคล่อง
สามารถพบเห็นพระพุทธเจ้า และพระอริยเจ้าทั้งหลายที่ละทิ้งขันธ์ ๕ ไปแล้วได้
และรับคำแนะนำสั่งสอนจากท่านเหล่านั้นที่มาสงเคราะห์ได้ด้วย


การปฏิบัติพระกรรมฐานในหมวดนี้ เป็นการ "ฝึกใจ" มิได้มุ่งฝึกกาย
ผู้ที่มีอิทธิบาท ๔ มีความพยายาม และศรัทธาจริง
ในวิชชาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ช้าหรือเร็วย่อมกระทำได้สำเร็จ

เวลาไม่เคยรอใคร ท่านจงกระทำเสียแต่เดี๋ยวนี้ เพื่อความไม่ประมาทเถิด

ขออาราธนาบารมีองค์สมเด็จพระบรมสุคตทุกๆพระองค์
นับตั้งแต่ องค์สมเด็จพระปฐมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธสิขีทศพล
หลวงปู่ปาน ครูอาจารย์ ท่านเจ้าของวิชชา และ หลวงพ่อฤาษี
ขออำนาจบุญบารมีทุกๆพระองค์
โปรดสงเคราะห์เหล่าสาธุชนพุทธบริษัท ผู้ตั้งใจปฏิบัติในหมวดนี้
ได้สมมโนเจตนาเทอญ.




...จบ...การฝึกมโนมยิทธิ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
โดย สุนิสา วงศ์ราม

 


การฝึกมโนมยิทธิ
        มโนมยิทธิเป็นส่วนหนึ่งของอภิญญา มีกล่าวถึงในวิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์ เมืองสะเทิม
มโนมยิทธิ หมายถึง มีฤทธิ์ทางใจ พระราชพรหมยานหรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้เรียนมาจากฆราวาสชื่อ อาจารย์สุข และได้นำมาฝึกสอน ลูกศิษย์ ผู้ที่ฝึกได้จึงต้องมีอัชฌาสัย ทางฉฬภิญโญเท่านั้น ผู้ที่ฝึกแล้ว ไม่ได้ จึงมีอยู่ การเริ่มต้น ควรไปฝึกที่วัดท่าซุง จ. อุทัยธานี หรือบ้านสายลม (ถนนพหลโยธินซอย 8 ) กรุงเทพ ฯ จะมีคณะครูคอยแนะนำ

การฝึกเบื้องต้น ผู้ที่จะฝึกอย่างน้อยขณะที่ฝึกต้อง

มีศีล 5 บริสุทธิ์
มีพรหมวิหารประจำใจเป็นปกติ
ต้องไม่มีนิวรณ์ 5
ต้องมีศรัทธา
ต้องมีอิทธิบาท 4

เมื่อพร้อมแล้ว สวดมนต์บูชาพระ สมาทานกรรมฐานแล้ว ทำจิตให้สบาย ละ วาง ขันธ์ทั้งหมด และภาระทางโลก ระลึกถึงครูบาอาจารย์ และพระพุทธองค์ ขอท่านโปรดสงเคราะห์ด้วย แล้วจึงเริ่มภาวนา หายใจเข้าว่า “นะมะ“ หายใจออกว่า “พะทะ” เวลาภาวนา ให้จิตจดจ่อต่อคำภาวนา เฉย ๆ และรู้ลมหายใจเข้าออกด้วย จนกว่าจิตสงบ กำหนดภาพนิมิต เช่นพระพุทธรูป เป็นต้น ให้ภาพชัดเจนแจ่มใส แล้วกำหนดจิตออกไปกราบท่าน คราวนี้อยากไปไหน ก็ขอท่านผู้ที่มาสงเคราะห์นั้นให้พาไป หรืออยากรู้อะไรก็กำหนดจิตถามได้ การรู้การเห็นจะถูกต้องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสะอาดของจิตของท่านเอง เมื่อทำได้แล้วให้หมั่นทำบ่อย ๆ จนถึงขั้น ลืมตา รู้ เห็น และไม่ต้องตั้งท่านั่งสมาธิ
มโนมยิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ที่สำเร็จได้ด้วยใจ มี2ความหมายที่ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าใจกันคือ

ความ หมายที่1คือ มโนมยิทธิ เป็นฤทธิ์ประเภทหนึ่ง เป็นหนึ่งในคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติธรรมสมาธิจนบรรลุคุณวิเศษจัดอยู่ในวิชชา 8ประการ และอภิญญา6 ดังที่คุณ noomania ได้กล่าวไว้ พระอริยะเจ้าผู้สำเร็จมโนมยิทธิชั้นสูงสามารถใช้ฤทธิ์ข้อนี้ทำการต่างๆได้ ดังใจตนปราถนา เช่นเหาะเหินเดินอากาศไปภพสวรรค์นรกเปรต ฯลฯ จนถึงสามารถตัดกิเลศไปนิพพานได้ในที่สุด

ควาหมายที่2คือ มโนมยิทธิ เป็นวิธีการเป็นแนวทางการฝึกฝนจิตให้เกิดสมาธิ ด้วยวิธิการทำใจให้จรดจดจ่อกับสิ่งๆหนึ่งที่ใจเรานึกให้สำเร็จในมโนของเรา แล้วใช้นิมิตหรือมโนนั้นจรดจดจ่อจนเกิดสมาธิ ตั้งแต่ขั้นเบื้องต้นจนถึงขั้นสูง พระผู้สำเร็จการฝึกมโนมยิทธินี้บางท่านก็สามารถฝึกให้สำเร็จใด้ดังความหมาย ที่1ก็มี
การฝึกมโนมยิทธิในขั้นต้นผู้ฝึกอาจจะนึกนิมิตรเป็นองค์พระ หรือนึกถึงพระสงครูบาอาจารย์บางท่าน จนเกิดสมาธิชัดใสแจ่มเรียกว่าปฏิภาคนิมิต จนบังเกิดฌาณสมาบัติชั้นสูง ในขั้นแรกสมาธิอาจเกิดภายนอกตัวแต่ในผลเบื้องปลายชั้นสูงแล้วก็ต้องนำสมาธิ นั้นมาเจริญวิปัสนาให้รู้เห็นความเป็นไปของชีวิต สังสารวัฏจนเกิดนิพพิทาญาณความเบื่อหน่ายในภพ และในที่สุดใจก็คลายมาหยุดนิ่งในกายของตน จนบรรลุเข้าถึงธรรมะที่มีอยู่ในตน บรรลุธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด

เพราะฉนั้นไม่ ว่าจะฝึกสมาธิแบบใดแนวใด ในที่สุดแล้วก็ต้องนำใจมาใว้ภายในกายเรา เข้าถึงธรรมมะที่มีอยู่แล้วในตัวเราอยู่นั่นเอง การฝึกสมาธิแนววิชชาธรรมกาย ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านค้นพบและนำมาสอนพวกเรา จึงเป็นวิธีการที่ตรง ลัด สั้น ง่าย ที่สุดแล้ว ไม่ต้องไปเสียเวลานำใจไปฝึกให้เสียเวลาไว้ที่อื่นอีกต่อไป
วิชชา ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ;
วิชชา ๓ คือ
๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่ได้ระลึกชาติได้
๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น;
วิชชา ๘ คือ
๑. วิปัสสนาญาณ ญาณในวิปัสสนา
๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ
๓. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
๔. ทิพพโสต หูทิพย์
๕. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้
๖. ปุพเพนิวาสานุสติ
๗. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ (=จุตูปปาตญาณ)
๘. อาสวักขยญาณ

ปริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม, นิมิตขั้นตะเตรียมหรือเริ่มเจริญสมถกรรมฐาน
ได้แก่ สิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือพุทธคุณที่นึกว่าอยู่ในใจเป็นต้น
(ข้อ ๑ ในนิมิต ๓)

กัมมัฏฐาน ๔๐ คือ
กสิณ ๑๐
อสุภะ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
พรหมวิหาร ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
จตุธาตุววัตถาน ๑
อรูป ๔

กสิณ วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ
มี ๑๐ อย่าง คือ
ภูตกสิณ ๔ :
๑. ปฐวี ดิน ๒. อาโป น้ำ ๓. เตโช ไฟ ๔. วาโย ลม
วรรณกสิณ ๔ :
๕. นีลํ สีเขียว ๖. ปีตํ สีเหลือง ๗. โลหิตํ สีแดง ๘. โอทาตํ สีขาว
และ ๙. อาโลโก แสงสว่าง ๑๐. อากาโส ที่ว่าง

อาโลกกสิณ กสิณคือแสงสว่าง, การเจริญสมถกรรมฐานตั้งใจเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์
คำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิสำหรับนักปฏิบัติใหม่
โดย พระคุณเจ้าหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง อุทัยธานี


จุดมุ่งหมายของการฝึกมโนมยิทธิ เพื่อให้นักปฏิบัติทุกท่าน พิสูจน์พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า นรก สวรรค์ พรหม นั้นมีจริงหรือไม่ พระนิพพานสูญจริงหรือและเป็นการปฏิบัติทางลัดให้เข้าสู่พระนิพพานได้โดยเร็ว ขึ้น ไม่ใช่ฝึกเพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อเป็นการโอ้อวดบุคคลอื่นหรือเพื่อไปเป็น หมอดูให้ชาวบ้าน จุดประสงค์ให้ทุกท่านตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน โดยเริ่มเป็นพระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ นักปฏิบัติทุกท่านควรศึกษา สังโยชน์ 10 และบารมี 10 ให้เข้าใจ และอารมณ์ของพระอริยเจ้าตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงปลาย ฉะนั้นนักปฏิบัติเมื่อได้แล้วควรฝึกฝนให้ชำนาญทุกอิริยาบถโดยกำหนดจิตของตน ไปเฝ้าอยู่เฉพาะพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระชินวรอยู่เป็นประจำ


การวางอารมณ์ ขณะเวลาปลอดเสียง


1. ตัดความกังวลห่วงใยใดๆ ทั้งหลายให้หมดสิ้น และตั้งจิตแผ่เมตตาไปในจักรวาลทั้งปวง ตั้งจิตไว้ว่า เราจะไม่เป็นศัตรูกับใคร มนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน

2. กำหนดรู้ลมหายใจ เข้า ออก พร้อมทั้งพิจารณาว่าเราเกิดมาเพื่อตายร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ร่างกายนี้เป็นของสกปรก ไม่เที่ยง เป็นปัจจัยของความทุกข์ทั้งหลายและเสื่อมสลายไปในที่สุด ดินแดนที่มีความสุขอมตะ คือ พระนิพพาน ให้จิตจับพระนิพานเป็นอารมณ์

3. เมื่อพิจารณาจิตสบายแล้ว ก็ใช้คำภาวนาว่า “นะ มะ พะ ธะ” พร้อมกับกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เวลาหายใจเข้าว่า “นะ มะ” เวลาหายใจออกว่า “พะ ธะ” ภาวนาแบบสบายๆ อย่าบังคับให้ช้าหรือเร็วเกินไป (เมื่อรู้สึกอึดอัดให้หายใจเข้าช้าๆ หายใจออกช้าๆ 3-4 ครั้ง ก็จะหายเอง)


เมื่อหมดเวลาปลอดเสียงแล้ว ถ้าครูเข้าไปให้คำแนะนำขอให้นักปฏิบัติหยุดภาวนา วางอารมณ์เบาๆ แบบสบายๆ อย่าปักอารมณ์ สมาธิให้แน่นจะเสียผล ตั้งใจฟังคำแนะนำ และปฏิบัติโดยพิจารณาตามไปด้วยทันที (ตั้งใจพิจารณาให้เห็นจริงด้วยปัญญา) เมื่อจิตสามารถเคลื่อนตัวได้แล้วการตอบคำถามให้ตอบตามความรู้สึกสัมผัสทาง จิตก่อน มิใช่ เอาตาไปเห็น หรือ เอาหูไปฟังเสียง ถ้าครูถามว่ามีความรู้สึกว่าเห็นอะไร

ความรู้สึกของจิตแรกว่าอย่างไรให้ ตอบอย่างนั้นทันที อย่าไปลังเลสงสัย ถ้ามีอารมณ์ไม่แน่ใจอารมณ์ลังเลสงสัยที่มาขวางอยู่ ท่านบอกว่าเป็นอารมณ์เลวที่กั้นความดี มาขวางอยู่ นักปฏิบัติควรศึกษาให้เข้าใจ และตัดอารมณ์สงสัยให้หมดไป

ขณะฝึกจิตมีสมาธิอารมณ์จิตย่อมเป็นทิพย์ เป็นการสัมผัสจริงไม่ใช่เกิดจากความนึกคิดของเราที่จะสร้างขึ้น ขณะฝึกตอบผิดหรือถูกยังไม่สำคัญ ขณะฝึกขอให้มีความมั่นใจในตนเองถือแบบปฏิบัติแบบโง่ๆ ไปก่อน ถ้าครูถามว่ารู้สึกเห็นเป็นสีอะไร ความรู้สึก ของจิตแรกบอกสีขาว เราก็ตอบว่าสีขาวทันที อย่าใช้อารมณ์ที่สองหรือคิดต่อจะเกิดอุปาทาน ข้อนี้ท่านนักปฏิบัติควรศึกษาให้เข้าใจ และควรระวังไว้ให้มากเริ่มต้นฝึกไปแบบมืดๆ แบบตาบอดคลำช้างไปก่อนเมื่อศีล สมาธิ ปัญญา สมบูรณ์ และชำนาญขึ้นก็สามารถจะสัมผัสความเป็นทิพย์ได้ชัดเจนเหมือนตาเห็น (สภาพเห็นของจิตมีวงจำกัดมาก ฉะนั้นจึงต้องขออาราธนาบารมีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสมอ)


ข้อควรปฏิบัติในเวลาปรกติ สำหรับท่านที่ปฏิบัติได้แล้วควรรักษาไว้ให้ดีขึ้นหรืออย่างน้อยก็ให้ทรงตัว โดยจำอารมณ์ตอนขณะฝึกได้ครั้งแรกๆ และท่านที่กำลังฝึกปฏิบัติอยู่ ควรสำรวจตนเองเสมอว่า เราบกพร่องในข้อไหนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา (สำหรับท่านที่มาปฏิบัติใหม่หัวข้อธรรมะบางข้ออาจยังไม่เข้าใจให้ศึกษาราย ละเอียดได้จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน) ควรระวังอารมณ์ของ
นิวรณ์ 5 ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสระหว่างเพศ ความโกรธความพยาบาท ความง่วง ความฟุ้งซ่าน อารมณ์สงสัยในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้ง 5 อย่างนี้


ขณะ ปฏิบัติให้ละโดยเด็ดขาด และในเวลาปกติระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน ควรกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก และใช้คำภาวนา “นะ มะ พะ ธะ” สลับกับการพิจารณาร่างกายให้จิตสะอาดแล้วไปกราบนมัสการพระพุทธเจ้าที่แดนพระ นิพพาน ทำเสมอๆ หัดทำให้คล่องทุกอิริยาบถได้ยิ่งดี เพราะหลวงพ่อท่านแนะนำว่า การที่เราจะเคลื่อนจิตไปได้นั้นต้องอาศัยกำลังของสมาธิ การที่เราจะเห็นภาพได้ชัดเจนต้องอาศัยวิปัสสนาญาณนักปฏิบัติทุกท่านที่ต้อง การให้ได้ผลดีต้องรักษา ศีล สมาธิ ปัญญา ให้ทรงตัวในระดับเดียวกันจึงจะได้ผลเต็มที่


พระคุณเจ้าหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
สรุปคำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิเต็มกำลัง

1. ทุกคนที่เคยฝึกครึ่งกำลังมาแล้ว ให้ภาวนาตามเดิม คือ นะ มะ พะ ธะ ควบกับลมหายใจเข้าออกก็ได้ ขณะภาวานาพนมมือที่อก

2. การฝึกแบบเต็มกำลังอาจจะมีการเต้นปึ้บปั้บ ถ้ายังเป็นฌาน 4 หยาบ ถ้าเป็นฌาน 4 ละเอียดจะไม่เต้น

3. การฝึกแบบนี้ยังไม่ทิ้งร่างกายตรง จิตใจยังมีอาการโยงกับประสาทตามเดิม ไม่ใช่หลุดไปแล้วทางร่างกายไม่รู้เลย

4
. ก่อนภาวนา ให้สวมคาถาที่เขียนภาษาขอมว่า นะโมพุทธายะ ขออาราธนาบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ขอให้พระองค์ทรงช่วยให้แสงสว่างชัดเจนแจ่มใส

5. ก่อนภาวนาให้ตัดสินใจว่า การเกิดเป็นมนุษย์เต็มไปด้วยความทุกข์ การทำมาหากินเต็มไปด้วยความเหนื่อยยากไม่สบาย วันเวลาผ่านไปมันก็พบกับความแก่ เมื่อแก่ขึ้นเราก็มีแต่ความทุกข์ ขณะที่ทรงตัวอยู่ก็มีความป่วยไข้ไม่สบายเป็นปกติ อาการป่วยไข้ไม่สบายมันก็ทุกข์

เมื่อความตายจะเข้ามาถึงมันก็ทุกข์ ร่างกายเลวๆ
อย่างนี้ไม่ควรจะมีอีก ขึ้นชื่อว่าชีวิตร่างกายนี้พังเมื่อไร ขึ้นชื่อว่าการเกิดเป็นคนไม่มีสำหรับเรา ถ้าต้องการเป็นเทวดา หรือพรหมก็ไม่ดีสำหรับเรา เพราะเป็นเทวดาหรือพรหมมีความสุขจริงแต่สุขไม่นาน หมดบุญวาสนาบารมีก็ต้องมาเกิดใหม่ จุดที่เราต้องการ คือ พระนิพพาน ทุกคนหวังนิพพานที่ไป

6. เวลา จะเคลื่อนออก คำภาวนาจะเร็วขึ้นๆ ตามลำดับ จิตจะไม่ยึดกับลมหายใจเข้าออก ต้องปล่อยไปอย่าไปดึงไว้ ถ้าคำภาวนาเร็วขึ้นอย่าไปเร่ง เดี๋ยวขาดใจตาย มันจะเร่งของมันเอง สำหรับท่านที่เคยฝึกมโนมยิทธิครึ่งกำลังได้สัมผัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็ ให้ยกจิตไปครึ่งกำลังแบบเดิมแล้วไปกราบแทบฝ่าพระบาทขององค์พระบรมไตรโลกนาถ ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าขอได้โปรดประทานอนุญาตให้ลูกมีจิตสะอาดสว่างสดใส มีจิตใจเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเต็มกำลัง 100% เพื่อจิตใจจะได้ใสสะอาดฉลาด มีสติปัญญาเต็มกำลัง สามารถตัดกิเลส ตัณหา อวิชชา อุปาทาน ให้หมดสิ้นเร็วไวเป็นผู้เข้าถึงอริยมรรค อริยผล ด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า

7. ถ้าเวลาจะออกจริงๆ บางคนเห็นแสงสว่างพุ่งลงมาจากข้างบน บางคนจะเห็นแสงสว่างพุ่งมาจากข้างล่าง บางคนเห็นแสงสว่างจ้าเฉยๆ ในอากาศ ตอนนี้ให้ตัดสินใจพุ่งไปตามแสงสว่าง เมื่อขึ้นไปแล้วจะเกิดอาการเวิ้งว้างให้นึกถึงพระพุทธเจ้าทันที หลังจากนั้นให้พระองค์พาไปจุฬามณีเจดีย์สถาน ไปบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์ และแดนพระนิพพาน

8. ก่อน จะทำจงอย่าคิดว่าเราอยากได้อย่างนั้น เราอยากได้อย่างนี้ เพราะมันเป็นนิวรณ์ตัวที่ 4 ถ้าขณะปฏิบัติได้รับความรู้สึก หรือเห็นภาพอะไรอย่าสงสัย มีอะไรเกิดขึ้นให้เชื่อว่านี้เป็นความจริง เมื่อไปได้แล้วสงสัยว่าได้หรือไม่ได้ ไอ้นี่ดีเราพัง อีกประการหนึ่งอย่ากลัวตาย เพราะถ้าตายขณะปฏิบัติพระกรรมฐาน อย่างเลวเราไปสวรรค์แน่ ถ้ามีจิตมั่นคงไปพรหมแน่ ถ้าจิตเกิดเบื่อร่างกาย เบื่อโลก ถ้าตายเวลานี้ไปนิพพานแน่ เพราะฉะนั้นอย่ากลัวตาย


โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
สอน ลูก หลาน ณ วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)

การฝึกมโนมยิทธิ

คำนำ โดย คณะผู้จัดทำ
คำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิ โดย หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร
การฝึกมโนมยิทธิ โดย หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร
การฝึกมโนมยิทธิ โดย พระอาจินต์ ธมมจิตโต
การท่องเที่ยวตามภพต่าง ๆ โดย สมพร บุญยเกียรติ
การฝึกญาณ ๘ โดย พรนุช คืนคงดี

ขอขอบพระคุณคุณ chaikrit sripaksa ที่ช่วยพิมพ์และส่งไฟล์มาให้
ขอโมทนาเป็นอย่างสูง

แนะนำครับ ใครที่อยากฝึกมโนยิทธิ ผมแนะนำสถานที่เปิดสอนครับ ทั้งในประเทศ

กรุงเทพฯ 

         - บ้านสายลม เลขที่ 9 ซอยสายลม 1 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. (02) 271-3868 , (02) 272-6759
         - วัดกระทุ่มเสือปลา มีพระอาจารย์องอาจ อาภาโร เจ้าอาวาส ซอยอ่อนนุช 67 เขตประเวศ กรุงเทพฯ โทร. (02) 328-7776 ฝึกทุกวันเสาร์ เวลา 19.00-21.30 น.


   อุทัยธานี 

         - วัดท่าซุง (จันทาราม) ต. น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี 61000 โทร. (056) 511-366 , 511-391 , 511-938 , 511-944


   เชียงใหม่ 

         - บ้านทิพย์ปฏิบัติธรรม เลขที่ 6 ถนนสันติรักษ์ ข้างวัดสันติธรรม ต. ช้างเผือก อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50300 โทร. (053) 219-831 โดย คุณแม่ เกษร สุทธจิต จันทร์ประภาพ จะมาอยู่ทุกปี ๆ ละ 3-6 เดือน (ช่วงเดือน มิถุนายน - พฤศจิกายน) ฝึกทุกวันเวลา 19.00-21.00 น. ยินดีฝึกตามวัดโรงเรียน สถาบันต่าง ๆ ที่มีผู้สนใจติดต่อ แล้วแต่จะเห็นสมควร


   ลำพูน 

         - พระมหาสิงห์ วิสุทโธ สำนักสงฆ์ถ้ำป่าไผ่ ถนนลี้ อ. ลี้ จ. ลำพูน 51110 โทร. (053) 536-137
         - พระอนันต์ อานันโท วัดพระธาตุ 5 ดวง ถนนลี้ อ. ลี้ จ.ลำพูน 51110 โทร. (053) 570-244
         - คุณภุชงค์ บุญยัง ป่าซาง จ. ลำพูน โทร. (053) 522-032


   พะเยา 

         คุณสุวัตร์ เลิศชยันตี บ้านแสงธรรมชาติ หมู่บ้านต๋อม ต.ต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา 50000 โทร.01-7967141


   นครราชสีมา 

         สำนักส่งเสริมปฏิบัติธรรม ศิษย์พระราชพรหมยาน (คุณแม่ชีประทุม โชติอนันต์) อ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา ฝึกทุก ๆ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 12.00-14.00 น. ในพระมหาวิหารโคตรเศรษฐี มีครูฝึกประจำ 2 ท่านคือ แม่ชีสมพรและอาจารย์ทิพมาศ สอบถามรายละเอียดจาก คุณอิ๊ด โทร. 01-9069140


   กาญจนบุรี 

         - บ้าน พอ.นายแพทย์ นพพร กลั่นสุภา บ้านหลังที่ 3 ซอย 3 ค่ายสุรสีห์ ถ. กาญจนบุรี-บ่อพลอย อ. เมือง จ. กาญจนบุรี โทร.(034) 589-233 ถึง 5 ต่อ 1295 ฝึกทุก ๆ ต้นเดือน


   สกลนคร 

         - พันตรีนายแพทย์ ฉัตรมงคล คนขยัน รพ. ค่ายจิตรศิวลา สกลนคร โทร. (042) 730-318 , (01) 863-5604
         - คุณสถาน เทพนานนท์ โทร. (042) 730-322
         - คุณทรงพล กุลวงศ์ 250 หมู่ 3 กกส้มโฮง ต.พระธาตุเชิงชุม อ. เมือง จ. สกลนคร 47000


   สระแก้ว 

         - บ้านคุณทิพยา วิลาวัลย์ บ้านเลขที่ 470 หมู่ 1 อ. ตาพระยา จ. สระแก้ว โทร.(037) 269-055 (ฝึกที่บ้านคุณชัย-คุณหัทยา พัฒนนิติศักดิ์ โทร. (037) 269-044 )


   สงขลา 

         - พระครูโสภณ จริยานุกุล วัดโพธ์ปฐมวาส ถนนไทร้บุรี ต.บ่อยาง อ. เมือง จ.สงขลา 90000 โทร. (074) 326-011
         - พระมหาอำนวย ฐานวโร เจ้าอาวาส วัดชนะสงคราม ต. ควนลัง อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา โทร. (074) 424-862 ฝึกทุกวัน ตั้งแต่เวลา 1 ทุ่ม
         - คุณปกรณ์ ชาติพันธ์ 33 ถนนรามัญ อ. เมือง จ. สงขลา โทร.(074) 04-732
         - บ้าน รอ.วิวัฒน์ เรืองมณี บ้านเลขที่ 12 ซอย 15 ถ. ราษฏร์อุทิศ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทร.(074) 424-862 ฝึกทุกวันที่มีคนมาติดต่อ
         - บ้าน คุณสมชาย ขวัญพิเซษฐ์สกุล (โกส้ม) บ้านเลขที่ 133/ 31 ถ. วิเชียรชม อ. เมือง จ. สงขลา โทร. (074) 312-859 ฝึกทุกวันศุกร์
         - คุณสุภิตา คานธี ร้านกฤษณา 126 ถ. เพชรคีรี ตลาดใหม่ จ. สงขลา 90000 โทร. (074) 317-250


   ประจวบคีรีขันธ์ 

         - วัดพุทธไชโย มีพระครูปลัดนิภัทร อคัคธัมโม เป็นเจ้าอาวาส ต. หนองแก อใหัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ โทร. (032) 513-519 ฝึกทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 3 ของเดือน เวลา 13.00 น.


   สระบุรี 

         - วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) พระวินัยธรวัชรชัย อินทวังโส เจ้าอาวาส อ. พระพุทธบาท จ. สระบุรี โทร. (037) 269-044


   พังงา 

         - พ.ต.ต. สันติรักษ์ สันติพูน สภ.อ. เมือง พังงา อ. เมือง จ.พังงา 82000 โทร. (01) 476-3880


   เพรชบูรณ์ 

         - อาจารย์สถาพร มงคลวัจน์ 78/5 ถนนพิทักษ์บำรุง อ.หล่มสัก จ. เพชรบูรณ์ 67120 โทร.(056) 709-114
         - คุณสิทธิชัย นุชัยเหล็ก หมู่บ้านบุญประคอง เขาค้อ เพชรบูรณ์ โทร. (01) 8236473


   ร้อยเอ็ด 

         - พระมหาสิงห์ สุทธจิตโต วัดป่าโนเขาหลวง บ้านจาน ต. ทุ่งเขาหลวง จ. ร้อยเอ็ด 45170 โทร.(01) 954-9839


   ฉะเชิงเทรา 

         - อาจารย์สมพงษ์ หลุนประยูร (บ้านก๋ง) ผู้บริหาร รร. ประสาทวิทยา 57 หมู่ 1 ต. เทพราช ปณช คลองสวน จ. ฉะเชิงเทรา โทร. (038) 595-201 , (01) 841-3932 ฝึกทุก ๆ วันพุธ


   สหรัฐอเมริกา 

         - เกษร สุทธจิต จันทร์ประภาพ 10 South 308 Birnam Trail Hinsdale , Illinois 605211 U.S.A โทร. (630) 920-8428


   เยอรมันและสวิสเซอร์แลนด์ 

         - Wat Thai Buddhistisches Zentrum NRNBERGRLAND e.v. Sie mensstr. 15 90459 Nurnberg Germang Tei. 0911/4328787 Handy 01-77-975-7718

ผลที่ได้จากมโนมยิทธิ ๔...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน


ผลที่ได้จากมโนมยิทธิ ๔

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายและบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร
สำหรับวันนี้ยังเป็นวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๗

ตอนนี้ก็เป็นหน้าที่ ๔ ของเรื่องประโยชน์ของการเจริญมโนมยิทธิ


ความจริงเวลานี้ คณะสงฆ์ได้ประกาศให้ทุกวัดเจริญสมาธิกรรมฐาน
จะเป็นสมถะวิปัสสนาก็ได้ เป็นการเจริญสมาธิ

แต่ความจริงผมก็ดีใจที่ผมไม่ต้องรอให้คณะสงฆ์ประกาศ ผมทำของผมมาแล้วเป็นสิบ ๆ ปี
หลังจากที่หลวงพ่อปานฝึกให้ผมได้บ้างเป็นแบบเป็ด ๆ
คือ ผมมีความรู้ในพระกรรมฐานแบบเป็ด และเป็ดก็ไม่ใช่เป็ดเทศ เป็นเป็ดไทย
บินไม่เก่ง เดินไม่เก่ง เตาะแตะ ๆ ไปตามเรื่องตามราวของผม
ผมก็อุตส่าห์นำประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผมได้จากมโนมยิทธิ
มาแนะนำบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร และก็บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท อุบาสก อุบาสิกา

ความจริงด้านวิชชาสาม หรือด้านมโนมยิทธิ ผมปลุกปล้ำมาเป็นสิบ ๆ ปี
ญาติโยมก็สนใจบ้างไม่สนใจบ้าง ผมก็ไม่ว่า ผมไม่เคยว่า ผมไม่เคยเบื่อ
และโดยเฉพาะสุกขวิปัสโก ญาติโยมสนใจมาก ผมก็เอา
ญาติโยมชอบอะไรผมก็ไปแบบนั้น

ที่ไหนญาติโยมต้องการสุกขวิปัสโก ผมก็แนะนำด้านสุกขวิปัสโก
ญาติโยมที่ไหนต้องการด้านเตวิชโช ผมก็แนะนำด้านเตวิชโช
ญาติโยมพวกไหนต้องการฉฬภิญโญ อันนี้ผมสอนไม่ได้
ผมสอนได้แต่มโนมยิทธิ แบบเป็ด ๆ เรียกว่าพอไปถึงสวรรค์นรกได้ด้วยกำลังของใจ
ไม่เอากายเนื้อไป เอากายในไป


ผมก็ดีใจ กว่าคณะสงฆ์จะแจ้งมานี่ ผมทำแล้ว แนะนำมาแล้วเกิน ๔๐ ปี ก็รวมความว่า
ผมก็ดีใจที่คณะสงฆ์ท่านเห็นชอบด้วย เพราะการเจริญพระกรรมฐานได้ประโยชน์ใหญ่จริงๆ
เดี๋ยวจะยกตัวอย่างให้ฟัง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ท่านมาสัมมนาพระสังฆาธิการที่วัดนี่
ผมก็บังเอิญได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆาธิการ คือเป็นเจ้าอาวาสแบบเป็ด ๆ อีกนั่นแหละ
ความจริงตำแหน่งนี้ผมโยนทิ้งมาทีหนึ่งแล้ว และตำแหน่งต่าง ๆ ที่พึงได้ผมโยนทิ้งหมด
ผมไม่เคยสนใจเพราะมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ แต่ตอนนี้เป็นการบังเอิญว่า
"วัดนี้ผมสร้าง ผมหนีไม่ได้ ถ้าวัดนี้ผมไม่ได้สร้างนะ ผมหนีไปแล้ว"


ความจริงวัดนี้ เดิมทีมันมีสภาพเป็นวัดร้าง ออกพรรษามีเจ้าอาวาสอยู่องค์เดียว
วัดก็มีแต่ทรุดโทรมมาตามลำดับ ไม่มีอะไรดีขึ้น มีแต่หายไป พระพุทธรูปก็หมดไป
ฝากุฏิดี ๆ ก็หมดไป ของดี ๆ มีไม่ได้ก็หมดไปทั้งนั้น ก็รวมความว่า จะถึงวาระร้างอยู่แล้ว
ผมก็โต๋เต๋ ๆ มาตามเรื่องตามราว แต่บังเอิญญาติโยมมาสนับสนุน

ทีแรกคิดว่าจะทำนิด ๆ หน่อย ๆ แล้วเปิดเข้าถ้ำเข้าป่าไปเลยดีกว่า ผมว่าอย่างนั้น
แต่ญาติโยมหลายท่านสนับสนุนเอาสตางค์มาให้ ผมก็ไปไม่ได้ ไปก็เป็นขโมยเงินเขาละซิ
ถ้าจะวางให้คนอื่นสร้างก็มีหวัง ไม่รู้จะวางให้ใคร
ดีไม่ดีไปวางให้โจรเข้าปล้นเงินบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ผมก็พลอยตกนรกไปด้วย


ทีแรกก็ตัดสินใจว่าทำแค่นั้นเสร็จก็จะไป ในเมื่อไปไม่ได้ก็สู้
คำว่าสู้นี่ไม่ใช่ไปสู้ไปตีกับเขา สู้กับกำลังศรัทธาของญาติโยมพุทธบริษัท เอาไงก็เอากัน
วัดนี้ที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้นี่อาศัยมโนมยิทธิช่วย อาศัยกรรมฐานช่วย อันนี้เป็นตัวอย่าง

และก็มีหลายวัดที่พระท่านมาฝึกได้ออกไป มีคนเขามาแจ้งให้ทราบว่า
พระองค์นั้นพระองค์นี้มาฝึกมโนมยิทธิจากหลวงพ่อแล้ว มาถึงวัดท่านรุ่งเรืองจริง ๆ
วัดของท่านสง่างาม คนเข้าช่วยเหลือในการก่อสร้างเพราะพระกรรมฐานเป็นปัจจัย


แหละบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร ผมว่าความสะอาดของจิตของพระพุทธเจ้าท่าน
พระพุทธเจ้าท่านไปไหนท่านไม่เคยอด พระพุทธเจ้ามีพระมากเท่าไร ก็มีที่พัก มีอาหารฉัน
เพราะจิตของท่านสะอาด พวกเราความสะอาดของจิตไม่เท่าพระพุทธเจ้า

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมก็ไม่สะอาดสะเอิด น่ากลัวจะลูบพอลื่น ๆ กระมั้ง
จิต คงจะไม่มีสภาพจิตแจ่มใสเป็นดาวประกายพรึก
ถ้าจิตเป็นดาวประกายพรึกนี่เป็นจิตของพระอรหันต์
ผมก็ไม่รู้จิตผม ผมไม่ค่อยสนใจ จิตใจของใครเวลานี้ผมไม่สนใจใครทั้งหมด


เมื่อก่อนนี้ผมก็แบบเดียวกับเลขานุการเอกสิงคโปร์ที่ประจำประเทศไทย
ลูกศิษย์พลเอกทวนทอง สุวรรณทัต นั่นแหละ
ปรากฏว่าเจอะใคร ได้ยินชื่อใครไม่ได้ ล่อปั๊บทันที ได้ยินชื่อปั๊บ
อันดับแรกใช้เจโตปริยญาณก่อน ดูจิตของคนนั้นมีสภาพเป็นอย่างไร ดูไปดูมา

อย่าลืมว่าในเวลานั้นผมก็เป็นเป็ดตัวเล็ก ๆ เวลานี้ตัวใหญ่ก็เป็นเป็ดไทย ไม่ใช่เป็ดเทศ
เป็นเป็ดตัวเล็ก ๆ ไปเจอะเอาพระองค์สำคัญเข้า พระองค์นี้สำคัญมากจริง ๆ
พอเขาบอกชื่อปั๊บผมก็จับจิตทันที
โอ้โฮ..องค์นี้ประวัติเบื้องหลัง ใช้อตีตังคสญาณยาวเหยียด
ยาวนี่ไม่ใช่เลวเหยียดนะ ดีเหยียด ตั้งแต่บวชมา ธุดงค์ตลอดมา
เวลาที่ใกล้พรรษาที่ไหนขออาศัยวัดจำพรรษา พอออกพรรษาแล้วก็เดินธุดงค์ต่อไป
และกำลังใจของท่านเวลานั้นท่านสูงมาก สูงกว่าผม


ความจริงเวลานั้นผมยังหนุ่มอยู่ และผมก็เป็นเป็ดที่เดินตัวเล็ก ๆ เดินเตาะแตะ ๆ
เดินก็จะชน จะล้ม ไปดูใจท่านเข้าปั๊บ ท่านปิดทันที มืดตื้อเลย อันนี้เป็นเครื่องวัด
ผมเชื่อมั่นเลยว่าพระองค์นี้ดีจริง ๆ ถ้าไม่ดีจริง ๆ ปิดไม่ทัน
อารมณ์ใจนี่ มันรู้กันง่าย ๆ เมื่อไร ใครเขานึกอะไรมานี่ใครจะรู้
นี่พอเรานึกปั๊บท่านปิดปุ๊บ หันมาเลย ยิ้ม ท่านพูดเรื่องอื่นอยู่ หันมาพูด
"คนเรามันก็แปลกนะ ไอ้คนอื่นเขาได้ก็คิดว่าตัวจะได้บ้าง มันไม่มีทางจะทำกันได้"


คำว่า ไม่มีทางทำกันได้ หมายความว่า รู้ไม่ได้แน่ ฉันจะปิด
เท่านี้ผมชื่นใจ ผมกราบได้ทันที กราบด้วยความสนิทใจว่าท่านเก่งจริง ๆ
อาการเก่งอย่างนี้ตามสันนิษฐานของผมว่า พระองค์นี้ต้องไม่ใช่อภิญญาหก
เข้าใจว่าจะเป็นปฏิสัมภิทาญาณ เพราะคุยกันอยู่แท้ ๆ คนตั้งเยอะ
เรานึกปั๊บปิดปั๊บทันทีแล้วหันมายิ้มเลย นี่เก่งจริง


ความจริงในประเทศไทยเราอย่างนี้มีเยอะ ในกรุงเทพ ฯ ก็มี
อย่าไปนึกว่า พระในกรุงเทพ ฯ ไม่ดีนะ มีดีนะเยอะเชียว จะไปชนพระดีตาย

แต่ความจริงพระดีท่านไม่โอ่โถงนะ เราไปคุยกับท่านแบบธรรมดา ๆ
ดีไม่ดีจะคิดว่าไอ้หลวงตากุ่ย ๆ องค์นี้ไม่มีความหมาย
ระวังให้ดีนะ เพราะพวกนี้ท่านไม่มีอะไรจะอวด

เพราะความจริงมหาเศรษฐีจะนำทรัพย์ไปอวดขอทาน มันก็ไม่ได้ประโยชน์
และขอทานแกจะมีอะไรมาเบ่ง
พระดี ๆ ก็เหมือนกับที่ผมเข้าไป ท่านก็ทำจ๋อง ๆ เพราะอะไรรู้ไหม
เพราะผมเป็นสภาพขอทาน ขอทาน คือ ความดีผมมีนิดเดียวกระจุ๋มกระจิ๋ม ๆ
ก็ไอ้เดินเปาะแปะ ๆ และจะไปชนกับพระที่มีความดีได้อย่างไร
ท่านก็เลยไม่รู้จะเอาอะไรมาอวด ท่านก็เลยเก็บเงียบทำเหมือนคนไม่มีอะไร
นี่เป็นความดีของท่าน เราดีไม่เท่าท่าน ท่านก็ถ่อมตัวลงมา เป็นความดีที่ควรบูชา


และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่บรรดาทางราชการมั้ง เห็นพระท่านว่านะ
พระท่านบอกว่าทางราชการขอให้พระอบรมศีลธรรม

แต่ความจริงเรื่องอบรมศีลธรรมนี่นิมนต์ผมไปไหนผมไม่ไป
และบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรหลายวัดบอกให้ไปพูดที่นั่นพูดที่นี่ อย่าให้บอกเลยครับ
ผมไม่ไปแน่นอน ถ้าขืนไปแล้วมันไม่ได้ประโยชน์ โทษก็เกิดกับผมด้วย
นั่นคือผมป่วยไข้ไม่สบาย แก่แล้ว เวลาจะพักผ่อนก็ไม่มี เวลาไปถึงที่ก็ให้นั่งแกร่วรอ
ถึงเวลาพูด พูดแล้วก็นั่งแกร่วอีก ไม่มีเวลาพักผ่อน อันนี้มันไม่ไหวจริง ๆ

และอีกประการหนึ่งการพูดไม่มีผล ผมเทศน์มาตั้ง ๒๐ ปี ไม่เคยมีญาติโยมเลิกสุรา
ไม่เคยดีขึ้นเลย ไปเทศน์ทีไรก็แค่นั้น ไปทีไรก็แค่นั้น ไป ๆ มา ๆ กลายเป็นรับจ้างเทศน์ไป
บางแห่งเขารู้สึกว่า ผมไปรับจ้างเขาเทศน์ ไปเทศน์เอาเงิน ผมก็เลยท้อใจไม่เกิดประโยชน์


ก็เลยมานั่งคิดใหม่ว่า ทำอย่างไรหนอจะสนองคุณองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
กลับมาใหม่ มาว่ากันเรื่องพระกรรมฐาน จึงมาพิจารณาด้านสุกขวิปัสสโก ผลน้อยอีก
ญาติโยมทำได้ ญาติโยมมักจะคุยกัน ว่านั่งนานเท่านั้น นั่งนานเท่านี้
อารมณ์แบบนั้นอารมณ์แบบนี้ไม่จริง และรักษาอารมณ์ได้ไม่จริง
ก็เลยคิดว่าจะสอน สองในวิชชาสาม และก็ มโนมยิทธิ

ที่ว่าสองในวิชชาสามเป็นฌานโลกีย์ เป็นสมาธิต่ำ ๆ ความจริงไม่ถึงฌานสอง
ในวิชชาสามนี่ขึ้นด้วยอุปจารสมาธิ ยังไม่ถึงฌานสมาบัติ
ก็ผมบอกแล้วนี่ว่าผมเป็นเป็ด(มันจะไออีกแล้ว) ไป ๆ มา ๆ ก็มาจับได้สองในวิชชาสาม
โยมเอาไม่ได้อีก หาวิธีการต่าง ๆ หลายอย่างหลายแบบ
ให้สร้างพระพุทธรูป เพ่งพระพุทธรูป ดูพระแก้ว ดูพระทอง ก็ไม่ไหวอีก ไปไม่รอด
ไปไม่รอดทำอย่างไร หันมาจับ มโนมยิทธิเถอะ

มโนมยิทธิตามกำลังที่ผมศึกษามา ยังไง ๆ โยมรับไม่ไหวแน่
เพราะต้องใช้กำลังมาก ใช้เวลามากไม่เหมาะกับบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท
และก็ไม่เหมาะกับพระที่บวชใหม่ ๆ ใช้เวลาน้อย ๆ
ในที่สุดก็มาหาทางให้ง่ายให้เร็วตามที่ฝึกอยู่เวลานี้กว่าจะค้นพบก็นาน


ทีนี้การฝึกมโนมยิทธิมีประโยชน์แบบไหน

มโนมยิทธินี่เป็นจุดบังคับจริง ๆ ถ้าญาติโยมพุทธบริษัทชายหญิงที่มาฝึกนี่
ผมก็ไม่มั่นใจว่าท่านจะรักษาได้ทุกคน มีบางรายให้ไปแล้วสูญ
ทำได้แล้วกลับไปบ้านไม่กล้าทำ เพราะไม่มีครูสอน

อันนี้เราก็ไม่ได้ติกัน เพราะอะไร
ความเข้มแข็งของจิตที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า "บารมีไม่เสมอกัน"
ท่านมีกำลังต่ำแค่นั้น เราจับโยนขึ้นไปที่สูงยอดไม้ ท่านก็หล่น

บางรายทำไปได้แล้ว ไปปล่อยให้เฝือ แล้วบอกไปที่บ้านมันไม่สว่างไสว
คือไม่สามารถจะทำได้ให้แจ่มใสเหมือนเมื่ออยู่วัด
อันนี้ก็ทราบได้ว่ากลับไปบ้านท่านไปทำศีลขาดตามเดิม
ท่านไม่ทรงความดีเหมือนที่ปฏิบัติอยู่ที่นี่
ปฏิบัติอยู่ที่นี่ท่านรักษาความดีไว้ได้ สภาพของจิตยังสดใส
อารมณ์ยังเป็นโลกียวิสัยนี่มันไม่ทรงตัว
แต่ว่าส่วนใหญ่ดีมาก เพราะอะไร เป็นกฎตายตัวของมโนมยิทธิที่ต้องทำ
มันก็ตรงกับที่คณะสงฆ์ขอร้องมา


มโนมยิทธิจริงๆ ที่จะให้ทรงตัว ฟังตามนี้นะ
ญาติโยมพุทธบริษัทก็ดี บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรที่นั่งฟังก็ดี คือว่าจะให้ทรงตัวจริง ๆ
ต้องเอาอุทุมพริกสูตรมาอ่านกันว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างไร ผมจะเล่าโดยย่อ ๆ


สำหรับด้านสะเก็ดพระพุทธเจ้าพูดไว้มาก ผมย่อเอา คือ
๑. เราไม่สนใจจริยาของใครเลย
๒. ไม่โอ้อวด
๓. ไม่ยกตนข่มท่าน
๔. ไม่ถือตัวเกินไป

เอาย่อ ๆ เท่านี้ ความดีขนาดนี้พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า สะเก็ด ยังไม่ใหญ่โต
เข้าไปเกาะสะเก็ดนิด ๆ ของพระพุทธศาสนา อันนี้ต้องสังเกต
ถ้าใครปฏิบัติไม่ได้อย่างนี้ก็เกาะสะเก็ดไม่ได้ ไม่ต้องไปดูต่อไปแล้ว
ญาติโยมที่รักษามโนมยิทธิไว้ได้ดี ท่านรักษาไว้ได้ดี


และอันดับที่สอง การเข้าถึงเปลือก พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
๑. เราต้องไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
๒. ไม่ยุยงให้บุคคลอื่นทำลายศีล
๓. ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว
ก็รวมความว่าเราจะรักษาศีลให้ครบถ้วนแจ่มใส

และหลังจากนั้น จิตมีความเข้มแข็งสามารถระงับนิวรณ์ได้ทันทีทันใดที่เราต้องการ
ไอ้นิวรณ์กับปฐมฌานเป็นศัตรูกัน
ถ้าขณะใดอารมณ์ของนิวรณ์นิดหนึ่งอย่างใดอย่างหนึ่งมีขึ้นในจิต
เวลานั้นกำลังของสมาธิจะสลายตัวทันที
เวลาใดที่จิตระงับจากนิวรณ์ นิวรณ์ไม่ฟู สงบ
เวลานั้น กำลังจิตเป็นสมาธิ เป็นปฐมฌานทันทีเหมือนกัน
โดยไม่ต้องภาวนา ไม่ต้องทำอะไรเลย
ถ้านิวรณ์ไม่ฟูขึ้น ปฐมฌานก็เข้ามา ถ้านิวรณ์มา ปฐมฌานก็ไป
แลกกันไปแลกกันมาอย่างนี้

และประการต่อไป อาการที่จะทรงตัวเมื่อมีความแจ่มใสของจิต จิตจะผ่องใส
ต้องการรู้ ต้องการเห็นอะไร เมื่อไร ได้ทันทีทันใด และก็มีสภาพไม่ผิด แจ่มใสด้วย
นั่นก็คือ พรหมวิหาร ๔

พรหมวิหาร ๔ คือ
๑. เมตตา ความรัก มีความรู้สึกเสมอว่าเราจะรักคนรักสัตว์เสมอด้วยตัวเรา
เราอยากจะฆ่าตัวเราไหม ไม่มีใครอยากฆ่า อยากจะขโมยของเราไปทิ้งไหม เราไม่มี
รวมความว่าเราจะรักเขาเป็นมิตรที่ดีสำหรับเขา
๒. ถ้ามีโอกาสเราจะเกื้อกูลเขาให้มีความสุขตามกำลังที่เราจะพึงทำ
๓. เราจะไม่อิจฉาริษยาใคร เมื่อบุคคลอื่นได้ดีพลอยยินดีด้วย
๔. ใครเพลี่ยงพล้ำเราไม่ซ้ำเติม เราวางเฉย


อารมณ์อย่างนี้บรรดาพุทธบริษัท
พรหมวิหาร ๔ นี่ถ้าประจำใจไว้เสมอ ศีลก็บริสุทธิ์ ทาน จาคะก็สมบูรณ์แบบ
และก็สมาธิก็ตั้งมั่น วิปัสสนาญาณคือปัญญาก็แจ่มใส เพราะอารมณ์ใจเยือกเย็น
เป็นกำลังใหญ่ ตัดโลภะ ความโลภ ตัดโทสะ ความโกรธ ตัดโมหะ ความหลง
จิตจะสะอาดอยู่ตลอดเวลา จิตมีความเยือกเย็น อารมณ์เป็นฌานตลอดเวลา
ต้องการจะรู้อะไรขึ้นมาระงับนิวรณ์เสียปั๊บเดียว มีความรู้สึกจิตแจ่มใสสะอาดทันที
ทำได้อย่างนี้ถือว่าเป็นฌานโลกีย์

ฌานโลกีย์จะมีความทรงตัว ไม่มีการเสื่อมคลาย ไม่มีการถอยหลัง
อันนี้ญาติโยมพุทธบริษัทได้ดีมาก เยอะ

รักษาอารมณ์ทั้งหมดนี้ พระพุทธเจ้าทรงเรียกเข้าถึงเปลือกที่พระองค์ทรงสอน
แต่ว่าเปลือกความดีที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททำได้เยอะจริง ๆ รักษาไว้ได้ดี
ทำให้โลก ทำให้ประเทศชาติมีความเยือกเย็น มีความสามัคคีกัน มีศรัทธาปสาทะดี


และต่อไป ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติได้ นี่เข้าถึงกระพี้
ถึงแม้จะเป็นการระลึกชาติแบบเป็ด ๆ เขาก็ทำกันได้
บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย บางท่านฟังแล้วจะหาว่าอวดอุตริมนุสธรรม
หาก็หาไปเถอะ แต่อย่าลืมคนเขาทำได้ เวลานี้ เวลาฝึกครูเขาฝึกกัน ผมไม่ได้ฝึกเอง
ผมเป็นแต่เพียงประธาน นอนเป็นประธานอยู่ที่นั่นบ้าง นอนเป็นประธานอยู่ที่กุฏิบ้าง
บางทีหายใจครอก ๆ ทำท่าจะตายบ้าง บางทีก็นั่งโงงเงง ๆ

อย่างเมื่อสองวันนี่ เมื่อวานกับวันนี้โงงเงงบอกไม่ถูก
วันที่ ๑๗ กับวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๗ มันจะทรงตัวไม่ไหว
วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ชาวสามพรานมา ๗๐ คนกว่า ลงรับไม่ได้
มันรับไม่ไหวจริง ๆ ทรงตัวไม่ได้
วันที่ ๑๘ ดีอยู่พักหนึ่ง ตอนเย็นชักจะไม่ไหวอีกเหมือนกัน
เวลานี้ก็เลยต้องนอนพูด สบาย พูดมันไปอย่างนี้
ถ้ามันจะตายระหว่างธรรมะก็ยอม อันนี้ประโยชน์ใหญ่


สำหรับ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติ ญาติโยมก็สามารถทำกันได้
อย่าลืมว่าครูเป็นเป็ด ลูกศิษย์คงจะไม่ใช่หงส์ แต่ดีไม่ดีลูกศิษย์อาจจะเป็นหงส์ก็ได้


อย่างท่าน โลลุทายี ท่านไม่เอาไหน แต่สามารถแนะนำให้พระทั้งหลายสามารถไปได้ดี
เขาไม่ได้เรียนมาจากท่าน เขาเรียนมาจากพระพุทธเจ้า
แต่ว่าบางรายท่านก็ทำเขาเปิดไปเหมือนกัน

สำหรับท่าน โลลุทายี ท่านไม่ใช่เป็ด ท่านเป็นท่าน
อย่างท่านจักขุบาลนี่ท่านเป็นวิสัยสุกขวิปัสสโก
แต่พระที่อยู่กับท่านได้ปฏิสัมภิทาญาณกันเป็นแถว
นี่จะถือว่าครูเป็นเป็ด แล้วลูกศิษย์จะเป็นเป็ดเสมอไปไม่ใช่
ครูเป็นเป็ด ลูกศิษย์อาจจะเป็นหงษ์ทองก็ได้


ฉะนั้นผมก็ในขั้น อักขาตาโร ตถาคตา
การประพฤติปฏิบัติเป็นหน้าที่ของบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและเพื่อนภิกษุสามเณร
ผมมีหน้าที่บอกเท่านั้นเอง ผู้รับฟังอาจจะทำได้ดีกว่าผู้บอกเยอะแยะไป ถมเถไป
เป็นอันว่ากระพี้ในพระพุทธศาสนา ญาติโยมก็สามารถทรงตัวได้


ต่อมาแก่น จุตูปปาตญาณ หรือ ทิพจักขุญาณ ท่านก็ทำกันได้ดีอีก
และต่อมา ปัจจุปันนังสญาณ อตีตังสญาณก็ดี ทำกันได้ดีมาก
ดีจนกระทั่งไปเจอะพระในนรก เป็นพระช้างสีดอซะด้วย และก็โลกันต์บ้าง อเวจีบ้าง
และก็ไปเจอะพระในปัจจุบันนี่ใกล้ ๆ ในสวรรค์บ้าง พรหมโลกบ้าง เลยพรหมไปบ้าง
ทำให้กำลังใจญาติโยมพุทธบริษัทมั่นคงในความดี และก็สลดหดหู่ท้อถอยในความชั่ว
อย่าลืมว่าทุกคนยังเป็นปุถุชน ยังไม่หนักแน่นนัก อาจจะพลาดได้
แต่พลาดน้อยดีกว่าพลาดเป็นปกติ

คำแนะนำที่ให้แนะนำไว้เป็นปกติก็คือ
ทุกคนจงอย่าลืมความตาย และตายแล้วไม่ใช่ตายสูญ
ตายสูญอีกศาสนาหนึ่งไม่รู้ศาสนาไหน
ได้ยินเสียงทางวิทยุบ้าง โทรทัศน์บ้าง หนังสือบ้าง "ตายแล้วสูญ"
ก็เป็นเรื่องของท่าน เราอย่าไปตำหนิท่าน เมื่อท่านจะสูญก็เป็นเรื่องของท่าน

พวกลูกศิษย์พระพุทธเจ้า "เราไม่สูญ"
เพราะว่า เขาได้อตีตังสญาณถอยหลัง ปุพเพนิวาสานุสสติญาณถอยหลัง
เขารู้เขาเคยเกิดมาแล้วตั้งหลายแสนวาระ หลายแสนอสงไขยกัป เขาก็ยังไม่สูญ


อนาคตังสญาณ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทเพื่อนภิกษุสามเณรสามารถพิสูจน์พระที่ใหญ่
ใหญ่โดยฐานะ ใหญ่กว่าตัวท่านเอง ฐานะสูงกว่า อันดับไหนก็ตามว่าจะไปทางไหนเขาทราบ
และปัจจุปันนังสญาณไปชนกันในนรกเลย และสามารถคุยกันได้ รู้ปฏิปทาความชั่ว
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ทำให้ทุกคนทราบ
และเกิดความกลัวว่าถ้าเราทำอย่างนั้นบ้าง ก็ต้องมีโทษอย่างนี้
อันนี้ก็ต้องเป็นอนาคตังสญาณ พิสูจน์ตัวเองว่าถ้าทำอย่างนั้นจะไปที่ไหน ขอทราบได้อีก


ตอนนี้บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร เป็นเหตุให้บรรดาพระก็ดี ฆราวาสก็ดี ที่เขามีความมั่นคง
เอาเฉพาะคนที่มั่นคงนะ ที่เลอะเทอะมาประเดี๋ยวไปน่ะ ไม่ได้เรื่องได้ราวอะไร
บางทีมาคืนเดียวไป ผมไม่ใช่พระพุทธเจ้า มาประเดี๋ยวดียวจะได้อะไร
และก็มาๆไปๆ ประเภทมาคืนเดียวนี่ผมไม่สนใจ ไม่สนใจเพราะท่านไม่เอาจริง
แต่ใช้เวลา ๖ - ๗ วัน มันเป็นของไม่หนัก ชีวิตของท่านทั้งชีวิตอยู่ไปอีกนาน
แต่เวลาว่าง ๕ - ๖ วันว่างไม่ได้ ผมก็ไม่สนใจ

ถ้าใครมาอยู่เพื่อปฏิบัติ ๓ - ๔ วัน ๕ - ๖ วัน ถึง ๗ วัน ผมสนใจเป็นพิเศษ
บางทีผมป่วยไข้ไม่สบาย ผมคลานต้วมเตี้ยม ๆ ไปให้กำลังใจ ลงไปสอนเองให้กำลังใจ
คนอย่างนี้ท่านดี นี่แหละบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร
และก็วัดหลายวัดที่ได้รับความรู้นี้ไป ทำให้วัดเจริญรุ่งเรือง
คนที่เขารู้เหตุรู้ผล รู้กฎของบุญ รู้ผลของบุญ รู้ผลของบาป
เขาก็ละความชั่วเข้ามาทำความดี วัดเป็นศูนย์กลางแห่งการทำความดี


เป็นอันว่าประโยชน์ของมโนมยิทธินี้ประโยชน์ใหญ่มาก
ทำให้คนมีความเข้าใจ ตั้งใจ ในเขตแดนของความสงบสุข
และก็ปลดเปลื้องความทุกข์ คือ ไม่ทำความทุกข์ให้เกิดแก่ผู้อื่น


เอาละบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนและเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย
สัญญาณบอกหมดเวลาปรากฏแล้ว ขอลาก่อน
สำหรับประโยชน์แห่งการเจริญมโนมยิทธิก็ยุติแต่เพียงเท่านี้

ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน



จบ...ผลที่ได้จากมโนมยิทธิ โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน



 

Create Date : 24 มกราคม 2552
Last Update : 24 มกราคม 2552 6:44:49 น.    

ผลที่ได้จากมโนมยิทธิ ๓...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน


ผลที่ได้จากมโนมยิทธิ ๓

บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลายและญาติโยมพุทธบริษัท
เวลานี้ที่พูดนี่ก็ยังเป็นวันที่ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๒๗

ที่บอกไว้ก็เพราะว่า จะได้ทราบว่าพูดตั้งแต่สมัยไหน
และต่อไปเสียงนี้ก็จะเป็นเสียงโบราณ ผมอาจจะตายเมื่อไรก็ได้
ถ้าตายไปเมื่อไรเสียงยังอยู่ และจะได้ทราบว่าพูดไว้ตั้งแต่เมื่อไร
ดีไม่ดีญาติโยมสมัยหลังท่านเอาไปเปิดให้ฟังจะหาว่าเป็นเสียงปลอม
ถ้าบอกไว้ คงไม่มีใครปลอม

วันนี้เราก็มาพูดกันถึงเรื่อง อนาคตังสญาณ
อนาคตังสญาณนี่ก็ไม่ใช่อะไรที่ไหน เป็นทิพจักขุญาณนั่นเอง
ก็รวมความว่าเราปฏิบัติในทิพจักขุญาณอย่างเดียวเป็นผลมาจากมโนมยิทธิ
เราก็รู้อนาคตได้

อนาคตังสญาณ คือ รู้เหตุการณ์ข้างหน้า รู้เรื่องของเรา
และรู้เรื่องของคนอื่น รู้เรื่องของสัตว์อื่น รู้เรื่องของสถานที่
และอยากจะทราบว่า (ถ้าเป็นคนไทยนะ) ประเทศไทยข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
จะหมดสภาพความเป็นไทยไหม ถ้าสงครามเกิดขึ้น(เวลานี้สงครามก็ล้อมรอบประเทศไทย)
อ่านหนังสือพิมพ์ ปรากฏว่าญวนยกทัพเข้ามาประชิดไล่เขมร แต่ติดเขตไทย
และทางด้านลาวก็เคลื่อนเข้ามาใกล้ คือกลางแม่น้ำโขง ทางด้านจังหวัดน่าน
เขาก็ชิดเข้ามา ทางด้านตะวันตกก็ไว้ใจไม่ได้
ทางด้านใต้ ตะวันตก ตะวันออกก็ไว้ใจไม่ได้ รวมความว่าในทะเลหลวงเราก็ไว้ใจไม่ได้


อยากจะรู้ว่า สถานที่รอบประเทศจะมีอะไรบ้าง
เราก็ใช้กำลังของมโนมยิทธิที่เราฝึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทิพจักขุญาณดูก็ได้
และดูอนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร จะวุ่นวายขนาดไหน
ด้วยอำนาจทิพจักขุญาณเราก็ทราบ เห็นสถานที่ตั้งได้ แต่มันไม่ชัดเจนนัก ทำให้ไม่แน่ใจ
ต้องไปให้มันถึงที่โดยใช้กำลังของมโนมยิทธิ ไปในที่ตั้งของเขาเลย
เขาตั้งกองทหารอยู่ที่ไหน มีอาวุธอะไรบ้าง และมีกำลังเท่าไร บางทีเห็นแล้วจะตกใจ
เพราะอาวุธของเขามากมายเหลือเกิน ของประเทศไทยเรามีไม่มากเท่าเขา
แต่กำลังคนไม่สำคัญ ความสามารถสำคัญ ความฉลาดสำคัญ ความสามัคคีสำคัญ
ที่เราจะทรงความเป็นไทยไว้ได้หรือไม่ได้เราทราบ
เราทราบถึงการปะทะระหว่างทหารไทยกับทหารข้าศึกว่ามีสภาพเป็นอย่างไร
จะสร้างความสบายใจให้ปรากฏ


การพูดอย่างนี้ ไม่ได้สอนธรรมะอย่างเดียว มันเป็นเรื่องประวัติของผมด้วย
แต่อย่าลืมนะครับ ไอ้เรื่องการทราบข้างหน้านี่ผมกลายเป็นคนบ้ามาหลายปี
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ผมก็พูดเรื่องน้ำมันในประเทศไทยว่า
"ในประเทศไทยมีน้ำมันมากมหาศาล" เวลานั้นกลิ่นคาวน้ำมันยังไม่ปรากฏ

แต่สิ่งที่ปรากฏตามเสียงผมพูดคือ มีเสียงย้อนเข้ามาถึงหูว่าผมบ้า ผมก็เลยนั่งนิ่ง ๆ
ใครจะว่าดี ใครจะว่าชั่ว เป็นเรื่องของท่านผู้นั้นจะออกความเห็น
เราไปทำลายความเห็นกันไม่ได้ เรามีสิทธิ์จะพูดตามที่เรารู้เราก็พูด
ท่านก็มีสิทธิ์ที่จะตำหนิจะด่าจะว่าเป็นเรื่องของท่าน ถ้าอาการอย่างนั้นปรากฏขึ้น
อย่าลืมนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

"นัตถิ โลเก อนินทิโต" คนที่ไม่ถูกนินทาเลยไม่มีในโลก
วัตถุต่าง ๆ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น หิน ปูน เป็นต้น ก็ยังถูกนินทา
แม้แต่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาเองก็ยังถูกนินทา
เขานินทายังไม่พอ เขายังด่าพระองค์ต่อหน้าอีกด้วย

ฉะนั้นทุกคนให้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา อย่าไปสะดุ้งอย่าสะเทือน
เราเกิดมาเพื่อชาวบ้านเขานินทา เราเกิดมาเพื่อชาวบ้านเขาติเตียน
เราเกิดมาเพื่อชาวบ้านเขาด่า เราก็ทำตามเรื่อง
เราอยากจะทำอะไรตามความรู้ของเรา เราก็ทำ
ท่านอยากจะด่าเราตามความรู้สึกของท่าน ท่านก็ด่า ให้เป็นเรื่องของท่านไป


ต่อไปนี้เราก็มาคุยกันถึงเรื่อง อนาคตังสญาณ
อนาคตังสญาณนี่มีประโยชน์มาก ได้รู้วิถีชีวิตของเราเองว่า ข้างหน้าเราจะเป็นอย่างไร
เวลาที่เรายังไม่ตายปีไหนจะมีสภาพเป็นอย่างไร ปีไหนจะป่วยไข้ไม่สบาย เป็นยังไง
จะมีความดี จะมีคนชม จะมีคนติเป็นยังไง ชีวิตเราจะรุ่งเรือง หรือจะซบเซาเป็นอย่างไร
เราต้องการรู้ รู้แล้วก็บันทึกไว้อย่าพูดไป รู้ไว้คนเดียว กาลเวลามันยังไม่ถึง
ทางที่ดีรู้ยาว ๆ และก็รู้ระยะสั้น ๆ ด้วย

คำว่ารู้ยาวๆ หมายความว่า รู้ข้างหน้าไกลออกไปหลายๆ ปีหรือตลอดชีวิต
และก็รู้สั้นๆ ก็วันสองวัน ห้าวันหกวัน เก้าวันสิบวัน
นี่สำคัญมาก เป็นเครื่องวัดระยะยาวที่เราเข้าใจ มีความรู้สึกว่ามันจะถูกต้องไหม
ถ้าระยะสั้นๆถูก ระยะยาวมันก็ถูก ถ้าระยะสั้นไม่ถูก ระยะยาวก็ไม่ถูก นี่ให้มีความรู้สึกตามนี้


และก็โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็รู้เรื่องของเราไป
ถ้าระยะสั้น ระยะยาวมันถูกหมด เราก็ดูอนาคตไกลแสนไกล
นั่นคือ ตายไปแล้วเราตายไปแล้วเราจะไปอยู่ที่ไหน ก็วัดกำลังใจของเราไว้ด้วย
ตายไปแล้ว จะไปสู่สวรรค์ หรืออยู่พรหมโลก หรือว่าไปนิพพาน
หรือว่าสถานที่ทั้งสามแห่งนี้ไม่เป็นที่พอใจเรา อาจจะเป็นมนุษย์
หรือว่าจะถอยหลังไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์นรก
ดูกฎของกรรมที่เราทำ มันจะให้ผลไปไหนอันนี้เราก็ทราบ

เมื่อเราทราบเรื่องของเราได้ เราก็ทราบเรื่องของคนอื่นได้
ว่าคนที่เราสัมผัสที่เราคบหาสมาคม เขาจะดีหรือเขาจะเลว
เวลานี้เขาดี เวลาข้างหน้าเขาเป็นอย่างไร


ไอ้ผมน่ะมันก็เป็นคนจัญไร เรารู้แล้วความจริงเราเฉย ๆ ไว้ดีกว่า
ความเมตตาเป็นปัจจัยให้เกิดความเร่าร้อนเหมือนกัน ถ้าเมตตาไม่ถูกทาง
และผมก็เคยผ่านมาแล้ว ให้ความเมตตาปราณี แต่ความดีไม่ปรากฏ
สิ่งที่สะท้อนย้อนกลับเข้ามา คือ เพื่อนเลวไม่ต้องการ พอเขาดีแล้วลืมเฉยอันนี้เยอะ
แต่ต่อไปความเร่าร้อนความทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจเกิดขึ้น
ความปรารถนาไม่สมหวังเกิดขึ้น ก็ขอย้อนถอยหลังกลับเข้ามาใหม่ ทีนี้ทำอย่างไร

ผมก็รับในฐานะที่ผมคิดว่า "ผมเป็นมิตรที่ดีของทุกคนและสัตว์ทุกประเภทในโลก"
ผมถือว่า ผมจะเป็นมิตรที่ดีตามกำลังใจที่ผมจะอดทนได้
แต่ว่าเมื่อการสงเคราะห์แบบนั้นก็เลิกกัน ถืออุเบกขา
ถ้ามาถามก็จะบอกว่า ไม่มีอะไรแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างวางหมด
ผมก็วางจริง ๆ ครับ วางหมด หมายความว่า ผมไม่ยุ่งกับเรื่องของใคร
ใครเขาจะดี เขาจะเลว เป็นยังไง เรื่องพยากรณ์ให้ไม่มีอีก
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะผมเข็ด


ทีนี้มาเรื่องอนาคตังสญาณของคนอื่น
คือบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่มีกำลังศรัทธาในพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
พระสงฆ์ท่านก็ดีมีหลายประเภท บางท่านก็อาจจะมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
บางท่านก็นั่งขรึมอะไรของท่าน แต่ละคนจริยาไม่เหมือนกัน
บางท่านก็มีความเมตตาปรานีโอภาพปราศรัยดี บางท่านก็เงียบ

เราก็ใช้อนาคตังสญาณดูว่า พระองค์นี้ถ้าตายจากความเป็นคน
จะเป็นเทวดา หรือจะเป็นพรหม หรือจะไปนิพพาน หรือว่าท่านไม่อยากไป
จะถอยหลังกลับไปโลกันตนรก อเวจีมหานรก หรือนรกขุมไหน
เป็นเปรต เป็นอสุรกายก็ได้ ใช้อนาคตังสญาณดู


ถ้าดูแล้ว เห็นแล้ว มีความเข้าใจแล้ว บันทึกไว้
วันหลังทำใจให้สบายลืมเรื่องเก่าเสียก่อน ลืมเรื่องที่บันทึกไว้แล้วก่อน
รวบรวมกำลังใจไปนิพพาน ถ้าจิตไปถึงที่นั่น มันเป็นอุเบกขาจริง ๆ ไม่ยุ่งกับอะไรทั้งหมด
จิตสะอาดมาก หลังจากนั้นก็ทิ้งเรื่องเก่า กราบทูลถามองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคว่า
คนนั้นต่อไปข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ชีวิตในความเป็นมนุษย์ ชีวิตเมื่อตายแล้ว
ทั้ง ๆ ที่เขายังไม่เป็นพระอรหันต์ในเวลานั้น
สมเด็จพระภควันต์ ก็สามารถบอกได้ ท่านบอกได้แน่

ก็มีคนหลายคนที่ท่าทางอีเหละเขะขะ ๆ ท่าทางมองกันแล้วไม่ค่อยดีนัก
แต่ความรู้สึกว่าเวลาข้างหน้าคนนี้จะดี แล้วเก็บความรู้สึกไว้
บางทีจะคิดว่าเราจะมีความเมตตาเกินไป แต่ว่าในที่สุดเขาก็ดีตามนั้น


นี่แหละบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่าน
ถ้าใช้อนาคตังสญาณ ทำบุญจะไม่ผิดบุญ จะไม่ต้องถูกเขาหลอกลวง ก็เคยพบมามาก
ระยะใกล้ ๆ ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายเอาเงินไปทอดกฐินบ้าง ผ้าป่าบ้าง
อันนี้ไม่ใช่ทั่วไปนะ อาตมาพบในสถานที่ใกล้จริง ๆ ของอาตมา
พอกฐินเข้ามา ผ้าป่าเข้ามา ก็มีเหล้าเต็มศาลา เลี้ยงเหล้าเอะอะโวยวาย
ได้รับกฐินผ้าป่าทีละห้าหมื่นหกหมื่นถึงแสนก็มี ผ้าป่าทั้งปีรับหลายครั้งคิดแล้วปีละเป็นแสน
แต่ว่าไม่มีอะไรปรากฏขึ้นมาเลย เงินหมด อย่างนี้ชื่อว่าเป็นการทำบุญผิด


ถ้าเราใช้อนาคตังสญาณหรือเจโตปริยญาณก็ได้

เจโตปริยญาณดูกำลังใจของบุคคลผู้รับผลทานจากเรา
ที่เราไปทำบุญ หรือถวายเป็นทาน ทอดกฐิน ผ้าป่า

แต่ว่าอนาคตตังสญาณ ดูข้างหน้านี่ เงินจำนวนนี้ถ้าเราไปถวายไว้เงินจะไปไหนบ้าง
เราก็จะทราบชัด ถ้ารู้ว่าเงินมันไปผิดทาง เราก็ไม่ให้เสียเลยก็หมดเรื่อง ไม่ทำ
และก่อนจะไปจองกฐิน ก่อนจะไปบุ๊คสถานที่ที่เราทำบุญ
เราก็ดูเสียก่อนว่า ควรทำหรือไม่ควรทำ
อันนี้จะมีประโยชน์แก่บรรดาท่านพุทธบริษัท จะไม่มีการสูญเสียอะไรทั้งหมด


แต่อย่าลืมนะ รักษากำลังใจตามที่กล่าวมา
ภาพพระพุทธรูปก็ดี ภาพพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี
พยายามทรง เวลาให้มันทรงตัว จับให้ชัดเจนแจ่มใสไว้
อย่าลืม ฝึกกำลังใจให้เห็นชัดทุกวัน ทุกเวลาที่เราต้องการ
ยามว่างเกิดขึ้นเมื่อไรใช้กำลังใจจับพระรูปพระโฉมทันที
หรือจับภาพพระพุทธรูปแก้วใสที่เราใช้เป็นนิมิตให้ติดตาติดใจไว้ตลอดเวลา
มาบอกว่าไม่มีเวลาจะทำ โถ...ไม่ต้องออกแรง ไม่ต้องใช้เวลามาก นึกเมื่อไรเห็นปั๊บทันที


ยามปกติของผม สมัยที่ผมฝึก ผมเห็นของผมได้ตลอดวันตลอดคืน เว้นไว้แต่หลับ
ถ้าเห็นภาพพระในอก เห็นภาพพระคลุมตัวผม ผมจะชื่นใจ จิตมีความสุข
และการภาวนานี่ ผมก็แปลกกว่าคนอื่นเขา อาจจะมีคนดีกว่าผมก็มาก นั่นคือ
เวลาเดินบิณฑบาต แทนที่ผมจะว่า พุทโธ สัมมาอรหัง เป็นต้น
ผมก็ล่อ อิติปิโส ทั้งบท ว่าทั้งบทนี่เราไม่ลืม ต้องพยายามนึกในใจเรา
เบา ๆ ช้า ๆ ให้เคลื่อนไปจนกว่าจะจบ
ตลอดเวลาที่เดินไปบิณฑบาตจนกว่าจะกลับ จนกว่าจะเลิกกลับมาถึงที่
นั่นแหละผมถึงจะเลิกภาวนาอิติปิโส ทำอย่างนี้จิตใจชุ่มชื่น มีอารมณ์ทรงตัว


เมื่อใช้บทยาว ๆ ภาวนา ธุระที่จะคุยมันก็คุยไม่ได้ ถ้าคุยแล้วภาวนาจะขาด
เราก็เลยไม่อยากจะคุย ไม่คุย จิตจะคุมอารมณ์
ผลต่าง ๆ ก็เกิดตามมาหมด ญาณต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น
และการจะใช้อารมณ์เข้าคุยกับเทวดาหรือพรหมหรือใครก็ตาม จะใช้เวลาได้แบบสบาย ๆ
นี่การนึกถึง อิติปิโส กว่าจะไปบิณฑบาตกลับมันไม่ใช่เวลาเล็กน้อย
นั่นหมายความว่า หัดทรงสมาธิทั้ง ๆ ที่มีงาน อันนี้มีความสำคัญมากนัก
เจริญสมาธิเฉพาะเวลาสงัดใช้ไม่ได้


ต่อไปเป็น ปัจจุปันนังสญาณ มีประโยชน์ในการที่เราจะรู้ว่า
ปัจจุบันใครอยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่ มีชีวิตอยู่ หรือว่าตายไปแล้ว
มีความสุข หรือว่ามีความทุกข์ ผลงานที่เราสั่งงานไว้ที่โน่นที่นี่
เขาทำดีตามที่เราสั่งไหม หรือว่ามีการบิดพริ้วเป็นประการใด อันนี้มีความจำเป็น
บรรดาท่านพุทธบริษัท จำเป็นจะต้องรู้และก็จำเป็นจะต้องทำเพื่อความเป็นสุขของเรา


ยถากรรมมุตาญาณ เป็นญาณเครื่องบอกให้รู้ว่า ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี
ความเสียหายก็ดี การได้กำไรก็ดี ที่ปรากฏขึ้นมาเวลานี้เป็นผลของความดีมาจากไหน
นั่นก็หมายความว่า ถ้าเรารวยขึ้นมามีลาภสักการะมาก ลาภเกิดจากผลของอะไร
ผลความดีในชาติปัจจุบันหรือผลความดีในชาติที่เป็นอดีต
ชาติในอดีต ชาติไหน เราทำอะไรไว้ ภาพนั้นจะปรากฏ
ถ้าผลงานมันขาดทุน เราก็ทราบอีกเหมือนกันว่า ขาดทุนเพราะกรรมอะไร
เราทำพลาดเพราะใช้ปัญญาน้อยไป ใช้ความละเอียดลออน้อยไป
หรือว่ากรรมอะไรที่เราเคยรบกวนเขาไว้ เข้ามาสั่งสม มาทำลาย มาสนองเรา

ความจริง ยถากรรมมุตาญาณมีประโยชน์
โดยเฉพาะเรื่องการป่วยไข้ไม่สบาย ยถากรรมมุตาญาณก็บอกเหมือนกัน

เราทราบว่าการป่วยไข้ไม่สบายนี้เราไม่ชอบ มันเสียเงิน เสียทอง เสียเวลา เสียทรัพย์สิน
เสียความสุข แม้เราไม่ชอบแต่เราก็ต้องดู อย่าไปนั่งบ่น อย่าไปนั่งว่า
ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่ากรรมเก่า ๆ หรือกรรมใหม่ที่เราทำไว้


อย่างในสมัยผมเป็นเด็ก ๆ ก็ไม่เด็กนักละ ผมบวชแล้วนะ
ก่อนที่ผมจะมีพรรษาครบ ๒๐ พรรษาอยู่ ๔ ปี เวลานั้นผมกำลังอาบน้ำอยู่ที่หน้าวัด
ผมทำงานทั้งวัน งานตั้งแต่เช้า เวลาผมหนุ่ม ๆ ผมทำงานยันกลางคืน
ญาติโยมมาหาก็รับแขก ญาติโยมกลับไปแล้วผมก็ทำงาน
ทำงานกลางวันไม่เสร็จ ผมก็ทำกลางคืน

เป็นอันว่า วันนั้นมันร้อนจัด ผมทำงานก่อนจะทำวัตรเย็น ผมไปอาบน้ำที่หน้าวัด
ลงไปแช่น้ำได้ประมาณ ๕ นาที ร่างกายมันเย็น จิตใจก็ชุ่มชื่น เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า
นับตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป จะต้องป่วย และต้องนอนที่โรงพยาบาล ๒ ปี
ไอ้การนอนโรงพยาบาลนี่ไม่ใช่อาการเพียบแปร้ ไม่ใช่เพียบ แต่ถ้าไม่เข้ามันเพียบ
เข้าไปแล้วมันก็สบาย ออกมาเมื่อไรอาการเพียบแปร้อีก อาการจะไม่ซ้ำกัน
แต่เข้าไปมันก็สบาย จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลจริง ๆ ๒ ปี
ในตอนต้น อาจจะเข้าบ้าง อาจจะออกบ้าง
และก็ต้องไปพักฟื้นอีก ๑ ปีใกล้ ๆ โรงพยาบาล ซึ่งหมอจะติดตามรักษาให้


ความรู้สึกเกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายมีความเย็น ก็เชื่อกำลังใจว่าความจริงอย่างนี้ต้องปรากฏ
แต่ว่าคนอย่างผม ไอ้นี่ผมก็ไม่ได้อวดนะ ผมไม่เคยไว้วางใจผมเลย
ความรู้สึกของผมไม่ไว้วางใจ ผมปล่อยเวลาทิ้งช่วงไปประมาณ ๑ อาทิตย์

วันหนึ่ง ตอนเช้ามืด ทำจิตตอนตี ๒ เป็นปกติ ผมก็ลุกขึ้นทำกรรมฐานของผม
บางคืนผมนอนชั่วโมงเดียว บางคืนก็ไม่ได้หลับนอน เช้าก็ทำงานต่อไป
ร่างกายในตอนนั้นมันดีมาก ร่างกายแข็งแรง กำลังก็ดี ไม่เหมือนเวลานี้
เวลานี้วันที่พูดนี่ก็ยังโยเย ๆ เดินก็งง นั่งก็งง นอนก็งง ไม่มีความสุข
ร่างกายไม่มีความสุข แต่ใจผมมีความสุข

ถ้าถามว่า พูดได้อย่างไร มันจะแปลกอะไร ผมนั่งไม่ไหว ผมก็นอนพูด
ใช้ไมโครโฟนนี่ เวลานี้ผมก็นอน ที่ฟังเสียงนี่ผมนอนพูด
ผมตั้งใจว่าขณะใดที่ผมอยู่ในระหว่างธรรมะ ถ้ามันตายเวลานั้นผมพอใจ


ผมปล่อยเวลาไว้ ๑ อาทิตย์จากการรู้ขณะอาบน้ำในวันนั้น
ต่อมาตอนเช้ามืดทำจิตสบาย ขึ้นไปกราบถามตรงพระพุทธเจ้า
ถามว่าความรู้สึกของผมที่ปรากฏนั้นมันจะตรงตามความเป็นจริงไหม
ท่านก็บอกว่าจริง งานการทุกอย่างต้องระมัดระวัง อย่าให้มันยาว
เพราะป่วยคราวนี้ ไม่มีโอกาสจะออกมาทำงานได้ต่อไปอีก ท่านก็บอกชัดว่า
"การป่วยคราวนี้ มันเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ตัดงานภายใน
และก็จะต้องแยก ยกตัวออกจากวัดไปอยู่ที่อื่น
เพราะการป่วยคราวนี้เป็นการช่วยให้ทางจิตดีขึ้น
ถ้าขืนอยู่ที่วัดกำลังใจจะไม่ดีขึ้นเลย ผลแห่งการตั้งใจมาก่อนเกิด จะไม่มีผล"

ผมก็ตกใจ ไอ้ผลการตั้งใจมาก่อนเกิด มันจะไม่มีผล
ผมก็ถามว่า "ไอ้ก่อนเกิด ผมตั้งใจอะไรไว้" ภาพนั้นก็บอกว่า
"ก่อนเกิดน่ะมาจากพรหม เดิมทีปรารถนาพุทธภูมิตลอดเวลา
และมาชาตินี้จะต้องบำเพ็ญบารมีใกล้เต็ม ถ้าใกล้เต็ม
ท่านก็บอกตรง ๆ ว่า มีอายุถึง ๖๐ ปี บารมีพุทธภูมิจะเต็ม และก็จะไปอยู่ชั้นดุสิต
แต่ว่าสิ่งที่ตกลงกันมาว่า จะมาลาพุทธภูมิ ลาพุทธภูมิลัดตัดทางไปเลย"


คำว่า "ตัดทางไปเลย" ผมก็ไม่ได้หมายความว่า ผมจะเป็นพระอรหันต์ หมายความว่า
ถ้าปรารถนาพุทธภูมิก็ช้านานมาก อยากจะลัดไปให้มันใกล้ทางซะ เป็นสาวกภูมิดีกว่า
ยังไง ๆ เราก็ต้องมุ่งพระนิพพานเหมือนกันหมด ท่านก็บอกว่า

"ถ้าพูดถึงกฎของกรรม จากการเป็นนักรบ มีการฆ่าเขาบ้าง มีการทำลายทรัพย์สินเขาบ้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎแห่งการฆ่าเขาหนักทั้งสิ้น ต้องมีเหตุให้ต้องนอนโรงพยาบาล
จริง ๆ ๒ ปี แต่ว่าไอ้การรบแต่ละครั้งก็ต้องประกอบด้วยความเมตตาปรานีเหมือนกัน
ถ้ายึดพื้นที่เขาได้ยึดคนได้ ก็ให้การเลี้ยงดูปูเสื่อทะนุถนอม ถ้าเขามีความทุกข์
ก็ช่วยให้เขามีความสุข เขาไม่มีกินก็ช่วยให้เขามีกิน ฉะนั้นขณะที่ไปนอนที่โรงพยาบาล
คนเก่า ๆ ที่เรารู้จักจะหาไม่ได้ จะมีสักคนสองคน ทุกคนจะไม่มองเราเลย"


รวมความว่าเขาปล่อยให้ตายดีกว่า เขาจะคิดอย่างนั้นหรือไม่ก็ไม่ทราบนะ นี่พูดเอาเอง
แต่ว่าได้รับความเมตตาปรานีจากคนใหม่ คนใหม่ให้การอุปถัมภ์ค้ำชูเป็นอย่างดียิ่ง
การเงิน ขณะที่เข้าโรงพยาบาลจะไม่มีติดตัว จะมีอย่างมากไม่เกิน ๒๐ บาท
ไอ้ ๒๐ บาทนี่มันเป็นเงินประจำกระเป๋า คือถ้าจะไม่มีขนาดไหนก็ตาม
จะเก็บไว้ ๒๐ บาทเป็นประจำ ถ้ามีมากกว่านั้นก็ทำบุญหมด มีความรู้สึกว่า
"ชีวิตของเราไม่มีความหมาย ตายแล้วเราเอาไปไม่ได้ ในเมื่อเราเอาไปไม่ได้
จะเก็บเอาไว้ทำไมให้มาก ทำให้มันเป็นประโยชน์แก่คนอื่น"
ก็เลยทำบุญก่อสร้าง เลี้ยงพระหมด แล้วก็ผลที่สุด ท่านก็บอกอีกว่า

"เราจะไม่เป็นไร เมื่อถูกเขาทอดทิ้งมาก ๆ ความเบื่อหน่ายก็เกิด
คนเก่าทอดทิ้ง คนใหม่เขาเลี้ยง อันนี้เป็นกฎของกรรมของการยึดประเทศชาติเขา
ทำให้คนเก่าเขามีความลำบาก แต่ว่าเมื่อเรายึดเมืองไหนได้เป็นเชลย
เราเลี้ยงเขาให้มีความสุข ฉะนั้นคนเก่า ๆ ที่เราเคยทะนุถนอมบำรุงมา
เขาจะหลีก เขาจะไม่มองเรา ไม่มีใครสงเคราะห์"


ความจริงบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย ผมก็ต้องนอนป่วยตามนั้นเป็นเวลา ๒ ปี
คนเก่าๆเป็นทายกเห็นหน้า ๒ คนเท่านั้นไปครั้งเดียว ไม่ได้เยี่ยมนะ ไปขอทรัพย์สินที่มีอยู่
ว่าขอผมเถอะ ผมก็เลยบอกว่า ของทั้งหมดที่มีอยู่ที่วัด เป็นของสงฆ์ ผมออกมาจากวัด
ผมไม่มีอำนาจอะไรเลย ผมคิดว่าเป็นของสงฆ์จริง ๆ ไม่ใช่เป็นเล่ห์เหลี่ยม

แล้วจากนั้นมาก็ไม่มีใครอีก แต่ว่าคนใหม่ที่ไม่เคยรู้จัก บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
อุ่นหนาฝาคั่งมาก เข้าไปนอนป่วยในที่นั้น พระที่มาป่วยก็ดี ฆราวาสก็ดี พลอยได้กินอาหาร
วันหนึ่งเต็มโต๊ะ โต๊ะใหญ่ ๆ เหลือแหล่ ข้าวของใช้ของกินบริบูรณ์ สมบูรณ์
นี่แหละเป็นผลจากการยึดชาติเขาได้ เราบำรุงเขา

บรรดาท่านพุทธบริษัท ยถากรรมมุตาญาณมีประโยชน์อย่างนี้

และวันนี้ก็หมดเวลาแล้ว สัญญาณหมดเวลาปรากฏก็ต้องขอลาก่อน
ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒน-มงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน

สวัสดี

ยังมีต่อ... ผลที่ได้จากมโนมยิทธิ ๔


 

Create Date : 20 มกราคม 2552
Last Update : 24 มกราคม 2552 9:03:43 น.    
 

ผลที่ได้จากมโนมยิทธิ ๒...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน


ผลที่ได้จากมโนมยิทธิ ๒

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย
สำหรับวันที่บันทึกนี่ก็ยังเป็นวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๗ ตามเดิม

คราวที่แล้วได้พูดถึง ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ซึ่งความจริงต้องทำให้คล่อง ทำให้ชิน
หากว่าท่านผู้ฟังหรือท่านผู้อ่านอยากทราบว่าทำอย่างไร
โปรดทราบว่าที่พูดนี่พูดกับคนที่เขาฝึกได้มาแล้ว
และวิธีการต่าง ๆ ครูบาอาจารย์เขาก็สอนมาแล้ว

ก่อนที่จะพูดอะไรทั้งหมด ก็ขอเตือนเรื่อง กำลังของสมาธิ
เวลาของสมาธิทรงให้ดีและมีสภาพแจ่มใส อย่าลืมว่า
"จงอย่ามีความห่วงใยอะไรทั้งหมด ขณะที่ทำสมาธิ กำลังใจของเราต้องดีตลอดวัน"

นั่นคือไม่ยกตนข่มท่าน ไม่สนใจ ไม่แส่ไปหาเรื่องในจริยาของบุคคลอื่น
ใครเขาดีเขาจะเลวช่างเขา เราเห็นเขาเลวมากก็คือเราเลวมากเอง
ถ้าเราเป็นคนดี ในโลกนี้ไม่มีใครเลว
ทุกคนอยู่ใต้อำนาจกฎของกรรม และก็ไม่ถือตัวเกินไป

อารมณ์อย่างนี้เป็นสะเก็ดความดีในพระพุทธศาสนา
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน อุทุมพริกสูตร


และก็การเข้าถึงเปลือกความดี คือ
๑. ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล
ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว
๒. สามารถระงับนิวรณ์ได้ทันทีทันใดที่ต้องการ
๓. จิตทรงพรหมวิหาร ๔
๔. และขอแถมอีกนิดหนึ่ง คือ ใจยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้า
ความดีของพระธรรม ความดีของพระอริยสงฆ์
มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้มันต้องตาย ถ้าตายเมื่อไรขอไปนิพพานเมื่อนั้น


เมื่อบรรดาท่านพุทธบริษัทและบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทุกท่าน
ทรงอารมณ์ได้อย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าการเกิดในอบายภูมิต่อไป ไม่มีแน่
จะเป็นการเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน
เหล่านี้ ไม่มีต่อไปอีก มีอย่างเดียว คือ มุ่งหน้าไปนิพพาน

และก็ถ้าหากว่าจะต้องเกิดใหม่ ก็มีการจำกัดเวลา
ถ้าความเข้มข้นของจิตมีอยู่ เกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียว เป็นพระอรหันต์ไปนิพพาน
ถ้ามีกำลังจิตอ่อนลงมา เป็นอย่างกลางก็เกิดอีก ๓ ชาติจากคนแล้วก็ไปนิพพาน
กำลังจิตย่อหย่อนไปมากหน่อยก็เกิดอีก ๗ ชาติไปนิพพาน


แต่ว่าถ้าทรงกำลังใจอย่างที่ว่ามาแล้วทุกคน
สาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วพึงทราบว่า
ถ้าตายจากคนไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม เมื่อพระศรีอาริย์มาตรัส
ฟังเทศน์จบเดียวอย่างน้อยเป็นพระโสดาบันหรือพระสกิทาคามี
ฟังเทศน์อีกครั้งสองครั้ง อย่างน้อยก็ไม่ช้านักได้เป็นพระอรหันต์
รวมความว่า ถ้าพบพระพุทธเจ้าคือพระศรีอาริย์ ไปนิพพานแน่

แต่ว่าทางที่ดี ขอทุกคนตัดสินใจไปนิพพานชาตินี้ดีกว่า
จะได้มีการรวบรัด ขยันหมั่นเพียรปฏิบัติด้านความดี
และก็ในที่สุด เราจะได้หรือไม่ได้ไม่สำคัญ ตั้งใจจะไปนี่ให้ตั้งใจจริง ๆ
มันก็ต้องไปกันแน่ ไปชาตินี้ไม่ได้ ชาติหน้าก็ไปได้แน่
เหมือนกับคนอยากรวย มีความขยันหมั่นเพียร ประกอบไปด้วยสติปัญญาพอควร


ถ้ามีอารมณ์ ๔ อย่างทรงตัว คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจในผลของการปฏิบัติ
๒. วิริยะ มีความเพียรต่อสู้อุปสรรคที่เข้ามาขัดขวาง
เราก็ถืออุปสรรคเป็นของธรรมดา ในการปฏิบัติงานทั้งหมด
๓. จิตตะ เอาใจจดจ่อสอดใส่ คือไม่ทิ้งอารมณ์ในด้านของความดีในข้อวัตรปฏิบัติ
๔. วิมังสา ใช้ปัญญาใคร่ครวญ

อารมณ์ ๔ อย่างนี่ทรงตัว ทำทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จหมด ทุกอย่างไม่เหลือ
จะเป็นฌานหรือญาณต่าง ๆ ทั้งหมดก็ดีไปหมด

(นี่ต้องขออภัยนะ อยู่ ๆ มันก็จะไอขึ้นมาเฉย ๆ นี่ความไม่แน่นอนของร่างกายเป็นอย่างนี้
จงอย่าคิดว่าร่างกายของเรามันดี เห็นความเลวของร่างกายผมไหม
และเสียงสอนมันก็จะใช้ไม่ได้ ความแก่เฒ่าเข้ามาครอบงำ)

ต่อไปนี้ก็มาพูดกันถึงเรื่อง อตีตังสญาณ คือญาณในอดีต

ญาณในอดีตนี่ก็เหมือนกัน ทำอย่างไรมันก็ไม่ยาก รู้แล้ว
ทางที่ดีนะครับ ให้ถามตรงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หรือว่าท่านผู้ใดมีเทวดาองค์ใดมีพระอริยเจ้าองค์ใดที่ท่านจะสงเคราะห์บอกให้
ให้ถามเฉพาะองค์นั้น อย่างเปะปะเอะอะโวยวายถามใครก็ได้
อันนี้ไม่ได้แน่นอน ต้องถามเฉพาะบุคคล

และเวลาจะเข้าถาม ทำจิตสะอาด วางเฉยเป็นกลาง ไม่ข้องแวะอารมณ์ใดทั้งหมด
ใครดีใครชั่ววางทิ้งเสียก่อน ทำใจเป็นกลางแล้วก็ถามท่าน อย่างนี้จะดี สะดวกมาก
เพราะว่าท่านที่จะรู้อะไรได้ทั้งหมดคือ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค
พวกเรายังเป็นโรคอุปทานอยู่ ดีไม่ดีความหลงใหลใฝ่ฝันในอุปาทานมันจะกินเรา


ก็รวมความว่าเราใช้กำลังใจยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ให้ขึ้นใจ
และการทรงรูปจับรูปพระพุทธรูปเป็นนิมิตอย่าทิ้ง ทำเป็นประจำทุกวัน
ต่อไปเราไม่มีพระพุทธรูป เดินทางไปไหนจับภาพส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วจำภาพนั้นไว้
เท่านี้บรรดาท่านพุทธบริษัท ทุกอย่างจะเพียบพร้อมบริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง


นี่เรามาพูดกันถึง อตีตังสญาณ คือญาณในอดีต
สำหรับญาณในอดีต นี่ก็หมายความว่า สิ่งล่วงมาแล้ว เราต้องการพบ
เราต้องเอาอนาคตังสญาณเข้าช่วยด้วย

ถ้าเราตั้งใจจะรู้ "ทำใจสบาย" คำว่า ใจสบายตามที่พูดมาแล้ว คือ
รักษาสะเก็ด รักษากระพี้ รักษาเปลือกของความดีในพระพุทธศาสนาไว้ให้ได้
ใจจะเป็นสุข ใช้อารมณ์ได้ทุกวันตลอดทุกวินาทีที่เราต้องการจะรู้


ตอนนี้เราต้องการจะรู้อดีต สมมุติว่า เราไปเจอะวิหารร้าง เมืองร้าง สถานที่ว่างเปล่า
เราก็อยากจะทราบว่าสถานที่นี้มีอะไรบ้าง มีใครที่มีความสำคัญเกิดในที่นี้บ้าง
สมัยนั้นรูปร่างหน้าตาของบ้านเมืองเป็นอย่างไร
ความสุข หรือความทุกข์ของบ้านเมืองเป็นอย่างไร
ถ้ายังไม่คล่อง อันดับแรกให้นึกถึงพระพุทธรูป คือภาพพระพุทธรูป หรือภาพพระพุทธเจ้า
จะนั่งจะนอนจะยืนจะเดินให้ทำเรื่อย ๆ ไป


ขอประทานอภัยครับ ผมจะเล่าถึงวิธีการที่ผมทำมาในกาลก่อน
ในกาลก่อนผมใช้วิธีการอย่างนี้ ผมจะเดินไปไหน ผมจะนอนที่ไหนก็ตาม
ถ้าว่างจากอารมณ์อื่นนิด ผมจะจับภาพพระพุทธเจ้า พระพุทธรูป อย่างใดอย่างหนึ่ง
ให้เห็นอยู่ในอกตลอดเวลา ผมเดินไปบิณฑบาต เดินไปธุระ
ไม่รู้ละ ผมใช้ของผมตลอดวัน และก็เป็นได้ตลอดวันจริง ๆ
ก่อนจะดูหนังสือผมต้องเห็นพระพุทธเจ้าก่อน ทำให้จิตสบาย
จะเดินไปไหน จะพูดกับใคร จะเข้าโรงเรียน จะสอนนักเรียน ผมเห็นภาพพระพุทธเจ้าตลอด
บางครั้งเห็นทั้งในอกและเห็นทั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคลุมตัวผม
ตั้งแต่ศีรษะลงมา คือ ท่านนั่งครอบผมเลย
และภาพอย่างนี้ถ้าคนอันธพาลเขาจะบอกว่า เอามาจากไหน เป็นภาพอุปาทาน
ก็ช่างเถอะ เราทำจิตสะอาด นึกว่าเป็นอย่างนั้น เห็นภาพอย่างนั้น จริงก็แล้วกัน
และผลใหญ่จะเกิดแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท นั่นคือ ต้องการรู้อะไรรู้ได้ทันที


สมมุติว่าถ้าเราอยากจะรู้จักสถานที่นี้ว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร
บ้านเมืองสวยสดงดงามขนาดไหน มีใครเป็นคนสำคัญ
สมัยนั้นมีความสุขความทุกข์เป็นประการใด
เราต้องการทราบ ภาพนั้นก็จะปรากฏกับเรา
เมื่อภาพปรากฏกับเรา เราก็เชื่อมั่นทันทีว่าภาพที่ปรากฏครั้งแรก นั่นของจริง

แต่ที่นี้เมื่อภาพปรากฏอย่างนั้นแล้ว อย่าเพิ่งไว้ใจตัวเองว่า
ภาพที่เห็นนั้นจะจริงหรือไม่จริง จะเป็นภาพลวงตาหรือเปล่า
ในเวลาเดียวกันเราก็ใช้อารมณ์แบบนี้ ของอะไรบ้างที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง
แม้จะเป็นโถแตก ๆ ชามแตก ๆ จะซุกอยู่ที่ไหน ฝังอยู่ที่ไหนซึ่งไม่ลึกนัก
พอจะคุ้ยเขี่ยได้ในสถานที่นี้มีไหม ถ้าภาพนั้นปรากฏขึ้นกับใจของเรา
และก็บอกสถานที่ว่าที่ตรงนั้นมีอย่างนั้น เดินไปจุดนั้นทันที ขุดคุ้ยดูของที่เราเห็นภาพ
มันมีจริงไหม ถ้ามีจริงนั่นแสดงว่า ภาพอตีตังสญาณของเราถูกต้องหมด
เวลานี้เราใช้ปัจจุปันนังสญาณดูว่าในปัจจุบันนี้มีอะไรบ้าง มีความสำคัญที่ไหน


อันนี้ต้องทำให้คล่อง ต้องทำเรื่อย ๆ และอย่าลืมว่าเรายังไม่ใช่พระอรหันต์
อาจจะผิดบ้าง อาจจะถูกบ้าง ไม่ต้องกลัว

แบบเราเรียนหนังสือ กว่าจะเขียนหนังสือเป็นตัวขึ้นมาได้ เราก็เขียนผิด ๆ ถูก ๆ
เขียนเป็นตัวบ้างไม่เป็นตัวบ้าง เขียนถูกบ้างผิดบ้าง
เมื่อทำบ่อย ๆ จนคล่องเรานึกจะเขียนอะไรก็เป็นไปไปตามใจเรานึก

อย่างคนที่เขายิงปืนแม่นก็เหมือนกัน ความจริงเขาไม่ได้แม่นมาจากท้องมารดา
ออกมาก็ยิงปืนแม่นได้ทันที ไม่ใช่อย่างนั้น
เขาต้องซักซ้อม ต้องใช้กระสุนมาก ๆ เป็นร้อยเป็นพันนัด
พอคล่องตัวยิงแม่นเหมือนจับวาง จึงปรากฏขึ้น ฉันใด


การฝึกฌานสมาบัติก็เหมือนกันกับที่พูดมาแล้วนี่ และผลที่สุดก็ต้องทำอย่างนี้แหละครับ
คือ ทำเหมือนคนบ้า ทำมันเรื่อย ๆ ไป เราบ้าเข้าไปหาความดี เราบ้าความดี
ทำลายบ้าชั่ว คือกิเลส ทำเรื่อยไป อย่างนี้จิตจะเพลิดเพลิน


อย่างประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่เขาเขียนไว้ ถ้าเราหยิบประวัติศาสตร์ขึ้นมาอ่าน
อ่านไปตามเขาเขียนก่อน หลังจากนั้นก็วางหนังสือ
จิตย้อนเข้ามาทบทวนสภาพเดิมว่า ตามประวัติศาสตร์ที่เขียนไว้น่ะ
ความจริงภาพจริงเป็นอย่างไร ดูความสุขความทุกข์ของคนเหมือนกับดูหนัง
ถ้าถอยหลังเข้าไป เขาจะมีความสุขแค่ไหน เขาจะมีความทุกข์แค่ไหน
ทำให้ชิน ทำให้คล่อง สำหรับความเป็นทิพย์ของจิตนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัท
องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ทรงตรัสว่า ต้องทำบ่อย ๆ
ความจริงทำให้คล่องทุก ๆ วันน่ะดี มันจะมีการคล่องตัว
หนัก ๆ เข้า ความเป็นทิพย์ปรากฏกับจิตเป็นประจำ


ถ้าความเป็นทิพย์ปรากฏกับจิตเป็นประจำและแม่นยำได้
นั่นก็คือ ต้องทรงกำลังความดีของจิต ตามที่กล่าวมาแล้วว่า
รักษาสะเก็ด รักษาเปลือก รักษากระพี้ รักษาแก่นความดีในพระพุทธศาสนาไว้


อาการต่าง ๆ ที่ต้องสัมผัสกับเรา บางทีไม่ต้องใช้กำลังสมาธิใด ๆ
พอมีอารมณ์สบายปุ๊บ สิ่งนั้นจะปรากฏทันที ถ้าภาพนั้นปรากฏให้เชื่อทันที
โดยที่เราไม่ได้นึกไว้ก่อนว่าเป็นของจริง แล้วสังเกตไว้จะเป็นความจริงหรือไม่จริง
บางครั้งถ้ากำลังใจยังต่ำ ยังเป็นทาสของนิวรณ์อยู่บ้าง
บางครั้งก็ถูกอารมณ์หลอนเหมือนกัน
ฉะนั้นต้องพยายามระงับนิวรณ์ไว้ทุกขณะจิตที่เราต้องการ
ถ้าเป็นพระนี่มีความจำเป็น อย่าให้นิวรณ์รบกวนเกินไป


เมื่อทำได้อย่างนี้ ญาณคือรู้ในอดีตหรือสิ่งที่ล่วงลับมาแล้ว มันจะไม่พลาด
มีความสนุกสนานมาก ใครเขาพูดอะไรก็ช่างเขาเถอะเราก็รับฟัง
พร้อมกันกับที่เรากำลังนั่งฟังเขาพูดนั่นแหละ ก็ใช้จิตทบทวนไปทันที
อย่างอดีตใกล้ปัจจุบันเขาบอกว่า เมื่อวานนี้ เมื่อกี้นี้ คนนั้นว่าอย่างนั้น
คนนั้นทำไอ้นี่ เราก็อย่าไปคัดค้านเขา
ตั้งใจอย่างเดียวว่า ถ้าสิ่งที่เขาพูด มันจริงหรือไม่จริง เราต้องการทราบ
พอต้องการทราบเท่านั้นทั้ง ๆ ที่ปากเราคุย จิตมันก็รู้ ภาพเหล่านั้นมันจะเกิดกับจิตทันที
และจะพบว่าวาจาที่เขาพูด เรื่องที่เขาเล่าให้ฟัง มันมีความจริงหรือไม่จริงเพียงใด
นี่เป็นประโยชน์ใหญ่มาก


บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนและบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร
เหตุการณ์ในอดีต รู้ได้ทั้งของคนของสัตว์ หรือของวัตถุ
ก็เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้เราไม่ติดในโลก ทั้งนี้เพราะอะไร

ใครที่ไหนที่มีความสุข ความทุกข์ มีอำนาจวาสนาบารมี ต่างคนต่างก็ตาย
คนทั้งหลายเหล่านั้นจำนวนก็ไม่น้อย สมัยนั้นเขาก็ตายกันหมด
ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่หามาด้วยความเหนื่อยยาก แต่รบราฆ่าฟันกัน แย่งทรัพย์สินกัน
แย่งสถานที่กันแย่งความเป็นใหญ่กัน ในที่สุดต่างคนต่างตายกันหมด

แล้วเราล่ะ จะมานั่งเมาสถานที่ นั่งเมาทรัพย์สิน นั่งเมาอำนาจวาสนา
แล้วมันจะดีตรงไหน ในที่สุดเราก็ตาย
นี่เป็นปัจจัยให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา หรือพรหม


ถ้าอยากจะทราบประวัติความเป็นมาของคน เห็นหน้าปั๊บ ได้ยินชื่อปั๊บ
ต้องการรู้อดีตจะรู้ได้ทันทีว่าอดีตของบุคคลผู้นี้

(คำว่าอดีตคือเวลาที่ผ่านมาแล้ว แม้แต่ ๑ วินาทีก็ถือว่าเป็นอดีต
ถอยหลังออกไปจะยาวจะสั้นไม่สำคัญ)

อยากรู้ว่าคนนี้เขามีจริยาเป็นอย่างไร มีนิสัยเป็นอย่างไร มีอารมณ์ใจเป็นอย่างไร
ถ้าต้องการรู้อารมณ์ใจก็รู้ได้ เพราะความเป็นทิพย์ของจิตที่เรียกว่า "เจโตปริยญาณ"
ความจริงไม่มีอะไรหรอกครับ "ความเป็นทิพย์ของจิตอย่างเดียวเรารู้หมด"
ใช้อย่างไหนเรียกอย่างนั้น

รู้จิตคนอื่นเรียก "เจโตปริยญาณ"
ต้องการถอยหลังชาติของเราเองเรียก "ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ"
รู้เรื่องในอดีตของคนอื่น ของสัตว์อื่นและของสถานที่เรียก "อตีตังสญาณ"
ความจริงก็ทิพจักขุญาณตัวเดียว ส่วนที่มีความสำคัญจริง ๆ
ต้องฝึกฝนในทิพยจักขุญาณให้มาก


นี่ผมก็เล่าประวัติของผม ไอ้ผมน่ะไม่ดีไม่เด่ละครับ
ก็มีความรู้เป็ด ๆ นี่แหละ เอามาคุยกับพวกท่าน
แต่ความจริงเป็ดนี่ก็ดีเหมือนกันนะ มันว่ายน้ำก็เป็น มันวิ่งก็ได้ มันบินได้ มันร้องได้
ถึงแม้ว่าจะทำไม่ดีเท่าไก่ ทำไม่ดีเท่าปลา แต่มันก็ยังทำได้บ้าง

อย่างพวกเรานี่ ที่เราฝึกมโนมยิทธิกัน ก็เป็นความรู้เป็ด ๆ ในพระพุทธศาสนา
ที่เขาคิดว่าวิเศษวิโสน่ะความจริงมันไม่ใช่ อันนี้เป็นความรู้เบื้องต้นในพระพุทธศาสนา
จริง ๆ ผมเองก็รู้สึกขอบคุณบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่ท่านสงเคราะห์ผม
สนับสนุนทุกอย่างจนกระทั่งมีความเข้าใจในพุทธศาสนาตามสมควร


อย่าลืมว่าอตีตังสญาณก็ดี ปุพเพนิวาสานุสสติญาณก็ดี ทิพจักขุญาณก็ดี
ญาณใด ๆ ก็ตาม คนต่างชาติเขาเก่ง

อย่างเลขานุการเอกของสถานทูตสิงคโปร์ ท่านพลเอกทวนทอง สุวรรณทัต
เป็นคนฝึกให้ คนนี้เก่งมาก ใครเดินผ่านหน้าแกไม่ได้
แกดูหมดว่าคนนี้มีสภาวะความจริงของจิตใจเป็นอย่างไร และการมาที่นี่มีอะไรบ้าง
เบื้องหลังที่ตาไม่เห็นแกเช็คหมด และแกก็ฝึกภรรยา ฝึกลูกของแกให้ทำได้
ทั้งบิดามารดาของแกที่สิงคโปร์แกก็ทำได้
มีคนเคยถามว่า "ก่อนจะเกิดเป็นชาวสิงคโปร์เขาเกิดที่ไหน?"
แกก้มหน้านิด ตอบกลับได้ทันทีเมื่อเงยหน้าขึ้นมา
แกบอกว่า "ก่อนที่จะไปเกิดที่นั่น เดิมทีแกเป็นลูกชาวนาของเมืองไทย เป็นคนไทย"

อย่างกับฝรั่งที่เดนเวอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ความจริงก็มีฝรั่งไปฝึกทั้ง ชิคาโก เดนเวอร์ แคลิฟอร์เนีย เขาเก่งทั้งหมด
แต่มีคนหนึ่งที่ผมชอบล้อแกเป็นผู้หญิงตัวใหญ่
คนนี้ถามอะไรปั๊บ ก้มหน้าปุ๊บ เงยหน้าปั๊บ ตอบทันที เป็นการระลึกชาติถอยหลัง
แกรู้แม้กระทั่งชื่อของตัวเอง ถ้าจะถามว่า แกโม้เรอะ ไม่ใช่
ผมถามสิ่งที่ผมรู้ และแกก็ตอบตรงกับที่ผมรู้ อันนี้มันเป็นเครื่องพิสูจน์เราควรจะภูมิใจ


ขอบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรและญาติโยมทั้งหลาย
เราเป็นพระไทยที่ประกาศตนเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วพวกเราก็พากันเย่อหยิ่งในใจว่า ประเทศไทยรักษาพระพุทธศาสนาได้ดีกว่าทุกประเทศ


ความจริงพระพุทธศาสนา ต่างประเทศเขาอาจจะมีเหมือนเรา
หรืออาจจะมีดีกว่าเราก็ได้ เราไม่รู้
ที่เราพูดว่าเรารักษาไว้ได้ดีกว่าทุกประเทศ อาจจะมีสภาพเป็นคางคกในกะลาครอบก็ได้
ที่เราไม่มองหน้าคนอื่นเขา ไม่ดูหน้าเขากับหน้าเรา ว่าใครมันแจ่มใสกว่าเรา
เวลานี้ชาวอเมริกาขาวกับชาวอเมริกันดำ และก็ชาวเยอรมัน
เจ๊กที่สิงคโปร์เขาทำกันได้ และก็คล่องตัว


แต่พวกเราที่เป็นภิกษุสามเณร หรือพระเณรนี่มีความสำคัญมาก
จงอย่าคิดว่าของเหล่านี้ยาก ถ้าคิดว่ายากก็แย่ ทั้งนี้เพราะอะไร
เพราะว่าญาติโยมพุทธบริษัททั้งผู้หญิง ผู้ชาย ทั้งเด็กผู้ใหญ่ มีความคล่องตัวมาก

นักเรียนนักศึกษาเขาได้กันมากและคล่องตัวดีด้วย
สภาพความเป็นทิพย์ของจิตเขามีสภาพแจ่มใส เพราะอะไร
เพราะว่าญาติโยมพุทธบริษัทมากท่านที่ทำได้

ท่านชอบเช็คพระตั้งแต่โลกันตนรกถึงนิพพาน
แต่ปรากฏว่าไปพบช้างสีดอของเมืองไทยในโลกันตนรกบ้าง ในอเวจีมหานรกบ้าง
ขุมอื่นมีน้อย และมีพระช้างเผือกที่อยู่สวรรค์บ้าง พรหมโลกบ้าง เลยพรหมบ้าง
ถ้าถามว่าเป็นพระสมัยไหน เขาไม่ดูสมัยไกลน่ะซี
เขาเล่นในสมัยใกล้ ๆ สมัยรัตนโกสินทร์นี่ก็ชอบชมกัน


โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยปัจจุบันนี่เขาพบกันมากมาย บางท่านก็เกิดความสลดใจบอกว่า
ความจริงท่านมีจริยาดีมาก เรียบร้อยดีทุกอย่าง สงบเสงี่ยมเรียบร้อย
เรียกว่าน่าเลื่อมใสน่าไหว้น่าบูชา แต่ว่าพอตายไปแล้วลงอเวจีบ้าง ลงโลกันต์บ้าง

เขาก็ใช้การทบทวนถาม เรียกขึ้นมาถามได้จากขุมนรก
ท่านผู้นั้นก็เล่าตามความเป็นจริงทุกอย่าง เอาเงินเข้าบ้านบ้าง เอาของเข้าบ้านบ้าง
ของที่ชาวบ้านเขาถวายมา บางท่านก็ทำตัวหมดสภาพความเป็นพระเลย
เป็นฆราวาสห่มผ้าเหลือง มีลูกมีเมียได้ ก็รวมความว่าท่านไม่ไหว้
เรื่องนี้บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลายต้องระมัดระวัง


มีญาติโยมมาจากจังหวัดสุพรรณบุรี อยู่แถวสระยายโสม
ครูถามถึงความต้องการพระที่ท่านควรจะบูชา อันนี้เขาดูถอยหลังไปได้ ยังไม่ตาย
เขาใช้ปัจจุบันนังสญาณกับอตีตังสญาณว่า
ปัจจุบันนี้ท่านประพฤติดีหรือประพฤติชั่ว ควรจะบูชาหรือไม่ควรบูชา
อตีตังสญาณถอยหลังไปอีกนิดหนึ่งท่านทำอะไรไว้ ควรบูชาหรือไม่ควรบูชา

ควรจริงความรู้นี้ก็ดี เป็นเหตุให้บรรดาญาติโยมทั้งหลายรู้จักพระองค์ไหนควรบูชา
พระองค์ไหนไม่ควรบูชา จะได้พยายามผ่อนปรน
ค่อย ๆ ดันให้พวกทำลายพระพุทธศาสนาให้สลายตัวไป
ที่ท่านปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาไม่หวังดีในการปฏิบัติ
หวังอย่างเดียวคือทรัพย์สินในการเลี้ยงชีพ
อันนี้เป็นการทำลายความดีของบรรดาท่านพุทธบริษัทและพระพุทธศาสนา


และก็อย่าลืมว่า ชาวต่างชาติเขามีความฉลาดมาก เขามีการคล่องตัวมาก
บรรดาพวกท่านทั้งหลายที่นั่งอยู่ที่นี่เป็นพระเราไม่ได้แข่งกับเขา
แต่ว่าในฐานะเราเป็นเจ้าของบ้าน ที่เราคุยกับเขาว่าเรามีพระพุทธศาสนา
เราต้องพยายามทำให้มีสภาพแจ่มใส


ความจริงเขาจะดีขนาดไหนเป็นเรื่องของเขา
เราทำให้ดีที่สุด อารมณ์ติดในชีวิตคิดว่า มันไม่ตาย เลิกคิด
ยอมรับนับถือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ให้ทรงตัว
พยายามทรงศีลให้บริสุทธิ์

จงอย่างคิดว่าอาบัติแสดงได้ ถ้าแสดงทีไรมันตกนรกทุกทีนะ
ขึ้นชื่อว่าความชั่วมันชั่วแล้วมันดีไม่ได้ ตั้งใจไว้โดยเฉพาะว่า เราบวชเพื่อนิพพาน

ตามพระบาลีว่า "นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คะเหต๎วา"
ซึ่งแปลเป็นใจความว่า "ข้าพเจ้าขอรับผ้ากาสาวพัสตร์มาเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน"
อย่างนี้จิตจะสดใสทุกวัน สมกับเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สำหรับระยะนี้ สัญญาณบอกหมดเวลาปรากฏแล้ว ขอลาก่อน
ขอความเป็นสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแด่เพื่อนภิกษุสามเณรและบรรดาญาติโยมผู้รับฟังทุกท่าน

สวัสดี

ยังมีต่อ... ผลที่ได้จากมโนมยิทธิ ๓


 

Create Date : 11 มกราคม 2552
Last Update : 20 มกราคม 2552 7:04:35 น.    
 

ผลที่ได้จากมโนมยิทธิ ๑...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน


ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย
วันนี้ตรงกับวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗ ที่บอกนี่หมายความถึงว่าเป็นวันที่ทำงาน
ที่คุยกันเมื่อวานนี้ เรื่องมาหยุดอยู่ตอนถึง ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ


สำหรับ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ นี่ความจริงมีประโยชน์มาก ช่วยในการตัดกิเลส
เพราะว่าคนเราส่วนมากเป็นผู้เมาในชีวิต ไม่ได้คิดว่าชีวิตนี้มันจะตาย


ถ้าใช้กำลังของปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือการระลึกชาติถอยหลังว่า
ชาติไหนเราเกิดเป็นอะไร มีทรัพย์สมบัติแบบไหน มีพ่อชื่ออะไร มีแม่ชื่ออะไร
ชีวิตของเราเป็นยังไง มีความสุขหรือความทุกข์
การเกิดแต่ละครั้ง บางครั้งเรามีชีวิตรุ่งเรืองมากในการเป็นมนุษย์
แต่บางคราวเราก็ทรุดโทรมมาก ต่ำต้อยน้อยวาสนา


แต่ก็มาเทียบเคียงกันว่า ชีวิตแห่งการรุ่งเรืองก็ดี การต่ำต้อยน้อยวาสนาก็ดี
มาดูทีซิว่า ชีวิตไหนพ้นจากความแก่ พ้นจากความป่วย
พ้นจากการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ พ้นจากความตายมีไหม
เป็นอันว่าดูไปแล้วเราก็จะเห็นได้ว่า ไม่พ้นจริง ๆ


แล้วก็ลองถอยหลังดูว่า มีชาติใดบ้างที่เราไปเสวยทุกขเวทนาในอบายภูมิ ๔
คือ เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน
แล้วก็ถอยหลังไปดูอีกว่า การที่เราเสวยทุกขเวทนาแบบนั้น
เราทำความชั่วอะไรไว้ และนรกแต่ละขุมเราไม่ได้ไปครั้งเดียว
การเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็เหมือนกัน เป็นกันหลายประเภท


ในเมื่อพิสูจน์แบบนี้ ความเมาในชีวิตมันก็ไม่มี จะมีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า
การเกิดเป็นมนุษย์นี่มันไม่ดี ถ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่
ความทุกข์แห่งการเป็นมนุษย์ก็มีมากอยู่แล้ว
แต่ว่าสิ่งที่เราจะแสวงหาจากความเป็นมนุษย์ นั่นก็คือ ความร่ำรวยในทรัพย์สิน
ความเป็นผู้มีอำนาจวาสนาบารมี แต่ในที่สุดเมื่อเราตายแล้วนำอะไรไปได้บ้าง


บางชาติเราเป็นมนุษย์ที่มีความรุ่งเรือง มีอำนาจวาสนาบารมีมาก
แต่ว่าพอตายจากความเป็นคน เราก็ไปเสวยทุกขเวทนาในนรก


บางชาติเราเต็มไปด้วยความทุกข์ยาก มีความยากจนเข็ญใจ ต่ำต้อยน้อยวาสนา
แต่อาศัยการเจียมตนเจียมใจ ประพฤติอยู่ในความดี
ตายจากความเป็นคน เราก็ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม


เราน่าจะมาพิจารณาดู การเกิดเป็นอะไรก็ตาม มันดีตรงไหนบ้าง
เป็นเทวดาหรือพรหมมีความสุข ทุกอย่างเป็นทิพย์
แต่ความสุขในการเป็นเทวดาหรือพรหม เราทรงอยู่ได้ตลอดไปไหม
ถ้าทรงได้ตลอดไป เราก็ไม่ต้องมาเกิดเป็นคนอีก
รวมความว่า การเป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี
เราก็เป็นกันคนละหลายชาติ อาจจะเป็นแสนๆชาติ


ถ้าเราจะวัดกันจริงๆแล้ว ผมว่าสุคติกับทุคติเราเสวยผลอย่างไหนมากกว่า
ถอยหลังไปจริงๆ จะเห็นว่าทุคติมากกว่าสุคติ
คือเกิดในอบายภูมิมากกว่าเกิดในสวรรค์หรือพรหม
เราเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานมากกว่าการเกิดเป็นมนุษย์
ตอนนี้เราก็จะรู้ถึงความไม่แน่นอนของชีวิต

ความจริงชีวิตน่ะเป็นของแน่นอนว่ามันไม่เที่ยง ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
"ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง"
สิ่งที่ไม่แน่นอน คือ อารมณ์ใจของเรา
อารมณ์ใจของเรามันเลว มันไม่ยอมรับนับถือความเป็นจริง


ก็เป็นอันว่า การใช้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณมีประโยชน์

สำหรับปุพเพนิวาสานุสสติญาณนี้ ขอบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหมดจงทำให้คล่อง
การทำให้คล่องนั้น ก็หมายความว่า ถ้าใช้อารมณ์ต้องการเมื่อไร รู้ได้ทันทีเมื่อนั้น
แต่ทั้งนี้เวลาฝึกต้องฝึกการทรงตัวของสมาธิ การทรงตัวหรือการตั้งเวลานี่มีความสำคัญ
ให้ใช้เวลาน้อย ๆ ในระยะเวลาแรก ๆ โดยจับนิมิตคือกสิณ ซึ่งเราจะใช้อะไรก็ได้


สมัยนี้ก็ใช้ง่าย ๆ เรามีพระพุทธปฏิมากร คือพระพุทธรูป เป็นประธานอยู่แล้ว
เป็นการแทนองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว


ถ้าเราต้องการความแจ่มใสของทิพจักขุญาณ อันนี้มีความสำคัญ
ให้ใช้พระพุทธรูปที่เป็นแก้วสีใส เพราะแก้วสีใสนี่เป็นได้ ๒ อย่าง
ถ้าเรามีความรู้สึกว่าขาว ก็เป็นโอทาตกสิณ
ถ้าเรามีความรู้สึกว่าใส เป็นอาโลกกสิณ
กสิณทั้งสองอย่างนี้เป็นพื้นฐานแห่งทิพจักขุญาณเหมือนกัน
เป็นปัจจัยให้เกิดทิพจักขุญาณและทำทิพจักขุญาณให้แจ่มใส

เวลาที่เราจะจับภาพพระพุทธรูป ก็จงอย่ายอมขาดทุน
นั่นก็หมายความว่า เราเอาทั้งกสิณ เอาทั้งภาพพระพุทธรูป
ถ้าเรามีความรู้สึกว่าท่านเป็นพระพุทธรูป หรือเป็นพระพุทธเจ้า
อันนี้เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน

ถ้าเห็นพระพุทธรูปเป็นแก้ว เราก็เข้าใจว่าขาวเป็นโอทาตกสิณ
ถ้ามีความรู้สึกว่าใสเป็นอาโลกสิณ
แต่จะเป็นกสิณอะไรน่ะไม่สำคัญ
สำคัญที่เราต้องจับรูปพระพุทธเจ้ากับความใสให้ปรากฏ


วิธีจับภาพพระพุทธเจ้ากับความใส อันนี้ขอแนะนำไว้หน่อยหนึ่ง
คือว่าอย่าหลงกายเกินไป จงอย่าบังคับกายว่าต้องนั่งแบบนี้ ต้องนั่งแบบนี้
ห้ามนอน ห้ามยืน ห้ามเดิน อันนี้ไม่ถูก เรื่องทางกายนี่ ต้องคิดว่าเรายังไม่ใช่พระอรหันต์

แต่ความจริงพระอรหันต์ท่านก็ต้องการความสุขของร่างกายเหมือนกัน
อย่าฝืนกาย ถ้าฝืนมันจะปวดเมื่อยขึ้นมา แล้วสมาธิจะไม่ทรงตัว
ถ้าเราทำอยู่ที่กุฏิของเราเอง หรือว่าทำที่บ้านของเราละก็
นั่งตามสบาย นอนตามสบาย จะนั่งก็ได้ จะนอนก็ได้ จะยืน จะเดินก็ได้
การนั่งจะนั่งในลักษณะไหนก็ได้ แต่โปรดอย่าเหยียดเท้าไปทางพระพุทธรูปก็แล้วกัน
จะนั่งเก้าอี้ก็ได้ นั่งห้อยขา เอนกายก็ได้ อันนี้ไม่เลือกวิธี
วิธีปฏิบัติ จงอย่าให้เครียด ถ้าเครียด ผลจะเสีย


หลังจากนั้นเอาตาดูพระพุทธรูป จำทั้งองค์
ไม่ต้องจำมาตั้งแต่เศียร หน้าผาก คอบ้าง อันนี้ไม่ต้องทำ ตามที่เขาอธิบายกัน
เคยได้ยินว่าให้จับส่วนบนมานิดหนึ่งก่อน ดูเกศ จับเกศได้เลย ลงมาถึงหน้าผาก
อันนี้ไม่จำเป็น องค์ท่านไม่กว้างเกินวงตาของเรา
แสงสว่างของวงตาของเรากว้างกว่าพระพุทธรูป
ฉะนั้นจับทีเดียวเต็มองค์เลย ลืมตาดูให้ชัด ตั้งใจจำภาพแล้วก็หลับตา
พร้อมกันนั้นก็ใช้คำภาวนา


คำภาวนา ว่าอย่างไรเป็นเรื่องของท่าน เพราะในที่นี้พูดเป็นกลาง ๆ
จะภาวนาว่า พุทโธ สัมมาอรหัง หรือ อิติสุคโต อะไรได้ทั้งหมด
หรือจะภาวนา นะโมพุทธายะ นะมะพะธะ
รู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย รู้คำภาวนาไปด้วยในตัวเสร็จ
และจิตก็จำภาพ เมื่อจับภาพได้ นึกถึงภาพให้มีความสว่างตามควร
ต่อมาถ้ารู้สึกว่าภาพเลือนไปจากใจก็ลืมตาดูใหม่
จำได้แล้วก็หลับตานึกถึงภาพพร้อมกับภาวนากับรู้ลมหายใจเข้าออก

ถ้าหลับ ๆ ลืม ๆ เข้าใจว่าทำได้แน่แล้ว ก็เข้าที่พัก เข้าที่นอนก็ได้ นอนแบบสบาย
จิตใจน้อมถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และนึกถึงภาพที่เราจำได้จนกว่าเราจะหลับไป
ที่ใช้คำว่า "จนกว่าจะหลับไป" นี่มีประโยชน์


แต่บังเอิญถ้าเกิดอารมณ์กลุ้ม มีอารมณ์ฟุ้งซ่านมากเกินไป
ทำไป ๆ ไม่นานนัก จับภาพได้ไม่ทรงตัว จิตมันฟุ้งซ่านจนคุมไม่อยู่
อย่าฝืน เลิกเสียเลย ถือว่าระยะนั้นเอาเท่านั้น

แต่ว่าถ้าเวลาไหนใจสบายก็นึกถึงภาพพระพุทธรูปที่เราต้องการ
จับภาพอย่างนี้ฝึกไว้ทุกวัน จะมีการทรงตัว
ถ้าจับภาพได้ชัดเจนตามกำลัง ครั้งหนึ่งสัก ๓ นาที หรือ ๕ นาที เป็นที่น่าพอใจ
และต่อ ๆ ไปนาน ๆ ก็อาจจะขยายเวลาไปถึงครึ่งชั่วโมง
ถ้าทรงอารมณ์ จับภาพได้ถึงครึ่งชั่วโมงจะเก่งมาก ถ้าจับพระพุทธปฏิมากรได้


ต่อไปนี้นึกถึงภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง
ขอภาพพระองค์มาปรากฏเฉพาะหน้าของเรา
ให้เห็นภาพขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชัดเจนแจ่มใส
เรียกว่าชัดเจนแจ่มใสตามกำลัง ยิ่งชัดแพรวพราวเท่าไรยิ่งดี
อย่าลืมว่า การเห็นพระพุทธรูปก็ดี การนึกถึงภาพพระพุทธเจ้าก็ดี
ชัดเจนขนาดไหน นั่นแสดงว่าจิตเราสะอาดขนาดนั้น
แล้วเวลาที่เราจะดูเทวดาหรือดูพรหม เราจะเห็นขนาดนั้น
เวลาที่ใช้กำลังของปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ดูภาพถอยหลังในชาติก่อน ๆ ของเรา
เราจะเห็นชัดเจนแจ่มใสเท่าภาพพระพุทธรูป หรือภาพพระพุทธเจ้าที่เราเห็น


ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านต้องทำอย่างนี้เป็นประจำ
ไม่ใช่มาฝึกวันสองวันก็บอกว่า "หลวงพ่อ ยังไม่ชัดเจนแจ่มใสเลย"
ที่ฝึกให้นี่เป็นการเริ่มต้นให้รู้จักการปฏิบัติ
การจะคล่องตัวหรือไม่คล่องตัว ความแจ่มใส ความเป็นทิพย์ จะดีหรือไม่ดี
ทุกคนต้องฝึกเอาเอง ไม่ใช่จะมาทำเป็นเด็กอ่อนอ้อนแบบนั้นอ้อนแบบนี้
อย่างนี้ไม่มีใครเขาคบ


ถ้ารวมความว่า คนที่ต้องการเกาะ ต้องการจูง ต้องการอุ้ม
ที่นี่ไม่มีใครเขาเอาใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาตมาไม่เอาใจใครเรื่องนี้
ถ้ากำลังใจไม่ดีพอ ก็จงอย่าทำ ที่ทำนี่ไม่ได้รับจ้าง ที่แนะนำนี่ไม่ได้รับจ้าง
แนะนำด้วยการสงเคราะห์ แต่บางคนก็อ้อนเกินไป อันนี้ใช้ไม่ได้


โปรดทราบถึงกำลังใจของอาตมาด้วยว่า อาตมาน่ะไม่ต้องการคนมีใจอ่อนแอแบบนั้น
เราต้องดูคนอื่น เขากินข้าว เราก็กินข้าว เขามีมือ ๆ ละ ๕ นิ้ว เราก็มีนิ้วมือ ๆ ละ ๕ นิ้ว
เขามีอาการ ๓๒ เราก็เช่นเดียวกับเขา ถ้าทำไม่ได้ก็จงรู้ตัวว่า เราเลวเกินไป
ความเลวมาจากไหน มาจากการย่อหย่อน ไม่ยอมต่อสู้กับกิเลส
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์ที่มัวมาจาก
๑. มีจิตกังวล
๒. ศีลไม่บริสุทธิ์
๓. นิวรณ์เข้าครอบงำจิต
๔. อารมณ์ขาดจากพรหมวิหาร ๔

ถ้าอารมณ์ทั้ง ๔ ประการนี้ยังมีอยู่ในใจก็แสดงว่าเราเลวเกินไป
ขอทุกท่านจงเข้าใจตามนี้นะ จงอย่าไปโทษใคร
อย่าไปโทษครู บางคนก็โทษครูสอนไม่เหมือนกันบ้าง
นั่นเป็นความเลวของตัวเราเอง ถ้าไปโทษเขามาก เราก็เลวมาก


พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
"อัตตนา โจทยัตตานัง" จงกล่าวโทษโจทย์ความผิดตนเองไว้เสมอ
"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" ตนแลย่อมเป็นที่พึ่งของตน
"โก หิ นาโถ ปโร สิยา" บุคคลอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
"อัตตนา หิ สุทันเตนะ" เมื่อเราฝึกฝนตนดีแล้วไซร้
"นาถัง ละภะติ ทุลละภัง" เราย่อมได้ที่พึ่งที่บุคคลอื่นได้โดยยาก

ฉะนั้นทุกคนจงทราบว่า เราเท่านั้นที่จะดีหรือไม่ดี เราต้องทำเอง
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "อักขาตาโร ตถาคตา" ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก

ฉะนั้นขอทุกคนที่ปฏิบัติ อย่าทำใจเหมือนเด็กอ่อน
ถ้าทำใจเหมือนเด็กอ่อน แทนที่จะให้รับความเมตตาปรานี
ขอประทานโทษ ขอพูดตามศัพท์ชาวบ้าน คือ
แทนที่จะมีความเมตตาปรานีกลับจะคลื่นไส้มากเกินไป
เพราะว่าการทำอะไรไม่จริงจัง อันนี้ไม่ต้องการ
ไม่ต้องการคบหาสมาคม กับบุคคลประเภทนั้นด้วย
เพราะว่าคนประเภทนี้มีอย่างเดียวคือ ถ่วงความดีของบุคคลอื่น


จงจำไว้ว่า จริยาที่เราจะต้องทรงใจ มีดังนี้
๑. ยามปกติ เราจะไม่สนใจในจริยาของบุคคลอื่น
ใครเขาจะดี ใครเขาจะเลว มันเรื่องของเขา
๒. อย่ายกตนข่มท่าน
๓. อย่าถือตัวเกินไป
นี่อย่างย่อ ความดีขนาดนี้เป็น "สะเก็ดความดีในพระพุทธศาสนา"


ถ้าจะดีถึงเปลือกก็คือ
๑. ไม่มีกังวล
๒. ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล
ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว
๓. ระงับนิวรณ์ได้โดยฉับพลัน เมื่อเราต้องการความเป็นทิพย์ของจิต
ขณะใดที่จิตต้องการสมาธิ ไอ้ความเป็นทิพย์นี่มาจากสมาธิ มีความตั้งใจ จิตสะอาด
ถ้าต้องการจิตไม่เป็นทุกข์ หรือต้องการสมาธิ ต้องระงับนิวรณ์ได้ทันทีทันใด
๔. จิตทรงพรหมวิหาร ๔ ตลอดเวลา คือเป็นปกติตลอดวัน


ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททำได้อย่างนี้ ฌานสมาบัติจะทรงตัว
คำว่าเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส กำลังใจไม่เสมอกัน สว่างบ้างมืดบ้างจะไม่มี
จะมีแต่คำว่าผ่องใสเรื่อยขึ้นไปตามลำดับ

ความดีขนาดนั้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
เป็นความดีขั้นเปลือกของความดีในพระพุทธศาสนา


เรื่องปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติได้
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเข้าถึงกระพี้ของพระพุทธศาสนา อย่างที่เราปฏิบัตินี่เข้าถึงกระพี้


ถ้าจุตูปปาตญาณที่ผ่านมาแล้ว เห็นคน ได้ยินชื่อคนหรือสัตว์
ทราบได้ทันทีว่าท่านผู้นี้ก่อนเกิดมาจากไหน
ได้ยินชื่อคนตาย ก็ทราบได้ทันทีว่าท่านผู้นี้ตายแล้วไปไหน
อันนี้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา แต่แก่นนี่ก็เป็นฌานโลกีย์ ยังไม่ดีพอ


เวลานี้เรามาพูดถึงกระพี้กัน มาว่ากันถึงการซักซ้อม ต้องทำให้คล่อง
เห็นคนที่เขามีความร่ำรวยมีความสุข แต่ความจริงคนเราไม่มีความสุข มีแต่ความทุกข์
แต่เราถือว่า ฐานะเขาดีก็แล้วกัน
เราก็ลองคิดว่าชาติไหนบ้างที่เราเคยมีฐานะอย่างนี้ พอนึกปั๊บให้ทราบทันที
เห็นภาพทันทีว่า อ๋อ ความร่ำรวยอย่างนี้เราก็มีเหมือนกัน
ถอยหลังไปดูตอนที่ร่ำรวยตลอดชีวิตนั้นเราเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
และทรัพย์สมบัติเหล่านั้นมันอยู่ที่ไหน
เห็นคนจน นึกถึงภาพ จับจิตทันทีว่า เอ๊...เราเคยจนแบบนี้ไหม ภาพนั้นจะปรากฏ
นึกถึงสุนัข เราเคยเกิดเป็นสุนัขบ้างไหม
เห็นอะไรนึกตามทุกที ให้มันได้ทันทีทันใด
ต้องซ้อมให้คล่อง เห็นปั๊บนึกปั๊บ เห็นปั๊บนึกปั๊บ


แต่ว่าอย่าลืมตอนเช้ามืด ตอนเช้ามืดเป็นเวลาที่มีความสำคัญมาก
เราตื่นจากนอน หายจากความเหน็ดเหนื่อย เพราะได้พักผ่อนจากการหลับ
ตื่นมาแล้วจิตสะอาด ตั้งใจนมัสการพระรัตนตรัยให้ดี และระงับนิวรณ์ทันทีทันใด
จิตไม่มีกังวล คือ บริสุทธิ์ อารมณ์ทรงพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วน ให้จิตเป็นสุข


หลังจากนั้นก็พิจารณาตามความเป็นจริงว่า
การเกิดมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
ความแก่เป็นสุขหรือเป็นทุกข์
ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
ความตายเป็นสุขหรือเป็นทุกข์

อันนี้ก็ไม่ต้องคิดมาก ถ้าต้องคิดมากก็ไม่ต้องทำความดี ไม่ต้องเจริญพระกรรมฐาน
เห็นแล้วว่ามันทุกข์ เมื่อความทุกข์มีอยู่ สภาพความเป็นจริงของความทุกข์ก็รู้
เราก็ตัดสินใจว่า


"ขึ้นชื่อว่าความเกิดอย่างนี้ มีร่างกายอย่างนี้
จะมีกับเราชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ชาติต่อไปไม่มีอีก"


หลังจากนั้นก็กำหนดจิตคิดว่า
การเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี จะไม่มีสำหรับเรา
เราจะไม่เป็นคนโลภโมโทสัน อยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลใด
โดยไม่ชอบธรรมมาเป็นของเรา
เราจะไม่คิดประทุษร้ายใคร จะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั่วไป
เราจะไม่หลงใหลใฝ่ฝันในร่างกาย คิดว่าร่างกายของใครดี เห็นความสกปรกของร่างกาย
เห็นความเสื่อมของร่างกาย เห็นการสลายตัวของร่างกาย
มีความเข้าใจว่าทุกข์ทั้งหลายที่มีขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยร่างกายเป็นเหตุ
ตัดสินใจว่าร่างกายเลว ๆ อย่างนี้ จะไม่มีสำหรับเราอีกต่อไป


หลังจากนั้นทำกำลังใจให้สะอาดตามสมควร ภาวนากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
จับภาพพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แจ่มใส
มุ่งไปนิพพานเลย ไปอยู่ที่นิพพาน จะไปอยู่ตรงไหนก็ได้
วิมานของเราก็ได้ วิมานของพระพุทธเจ้าก็ได้
ให้มันไปตามความพอใจ อยู่ให้ใจเป็นสุข
เมื่อใจเป็นสุขดีแล้ว เป็นการพิสูจน์ว่าชีวิตนี้มันจะมีสุขหรือทุกข์
ญาณหรือฌานที่เราได้ ความรู้ที่เราได้ จะตรงหรือไม่ตรง
ตอนนั้นกราบทูลถามตรงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


ทีแรก ๆ เอาน้อย ๆ คิดว่าวันนี้จากที่เราตื่นจนถึงกว่าจะหลับ
จะมีใครบ้างไหมที่ทำให้เรามีความสุข หรือทำให้เรามีความทุกข์
ถ้ามี คนนั้นรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แต่งตัวด้วยเครื่องแต่งตัวอะไร จดจำไว้
พอกลับลงมาก็บันทึกไว้ เขียนไว้กันลืม เขานุ่งผ้าสีอะไร ลักษณะแบบไหน ใส่เสื้ออะไร
และทำกำลังใจของเราให้สบายหรือไม่สบาย เพราะอะไรเป็นเหตุ
เขาจะมาพูดแบบไหน เขาจะมาทำแบบไหน พอรู้อย่างนี้แล้วเราก็ดู
วันทั้งวันมันถูกหรือไม่ถูก บางวันจะถูกทั้งหมด บางวันถูกบ้างไม่ถูกบ้าง


อันนี้ก็ต้องจำอารมณ์ว่า อารมณ์ของเราที่เรารู้ได้
ที่ถูกทั้งหมด เราทรงอารมณ์แบบไหนก่อนขึ้นไป
และเวลาที่มันถูกบ้างไม่ถูกบ้าง ทรงอารมณ์แบบไหน ก่อนที่จะขึ้น
และก่อนที่จะรู้จงทิ้งอารมณ์อื่นเสียให้หมด ทำจิตให้เป็นอุเบกขาให้สบาย ๆ
นี่ก็หมายความว่า ใครเขาว่า ใครดี ใครชั่ว เราไม่สนใจ สนใจอย่างเดียว คือ อารมณ์กลาง ๆ


อันนี้แหละบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรและบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนี้มีประโยชน์มาก ทำให้คล่อง
ถ้าทางที่ดีนะ พระก็ได้ ฆราวาสก็ได้ เราก็ฝึกการเป็นหมอดูตัวเอง
อย่างว่านี่แหละเราเป็นหมอดูตัวเองทุก ๆ วัน อย่างนี้อารมณ์จะชิน
และเวลาสบาย ๆ เราก็ทบทวนถอยหลังของเราไปตามเรื่อง


มองดูความไม่แน่นอนของชีวิต มองดูความไม่ทรงตัวของร่างกาย
มองดูการพลัดพรากจากทรัพย์สมบัติทั้งหลาย รวมถึงคนและสัตว์ที่ตายแล้ว
นิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่ายจะปรากฏ เมื่อนิพพิทาญาณปรากฏ อะไรจะเกิดขึ้น
นั่นคืออันดับแรก อารมณ์ของพระอนาคามีจะปรากฎ
มันก็จะเบื่อทุกอย่าง เบื่อความรัก เบื่อความโลภ เบื่อความโกรธ เบื่อความหลง
อารมณ์ใจก็จะเป็นสุข และก็จะมองเห็นนิพพานได้ชัด
กำลังปุพเพนิวาสานุสสติญาณนี่ช่วยตัดกิเลสทุกประเภทได้ทั้งหมด


และขอบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคตทุกท่านที่รับฟังว่า
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณที่เราจะพึงได้ คือการระลึกชาติ
ถึงแม้ว่ามันจะกระจุ๋มกระจิ๋ม ๆ ไม่แจ่มใสชัดเจนเท่าพระอริยเจ้า เราก็ควรจะพอใจ
พอใจว่าเราก็ไม่สงสัยเรื่องการตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย
จะไม่ต้องไปนั่งโพทนาบอกใครว่า ตายแล้วน่ะไม่เกิด ตายแล้วมีสภาพสูญ
หรือว่า ตายแล้วเกิดหรือไม่เกิดก็ช่าง แต่ใครเขามาถามก็จะไม่กล้าพูดถ้าไม่รู้จริง
เรามีความรู้อย่างนี้เรากล้าพูดทุกอย่าง เพราะทุกอย่างเราสัมผัสมา


ฉะนั้นข้อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือการปฏิบัติเข้าถึงกระพี้ความดีในพระพุทธศาสนา
ขอทุกท่านทำให้คล่อง และทรงตัวให้ดี
ฝึกการทรงสมาธิจากการจับภาพพระพุทธรูปที่เป็นแก้วใส
กำลังใจจะผ่องใส ความเป็นทิพย์จะสะอาด


เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัท สำหรับเทปสัญญาณบอกหมดเวลาแล้วขอลาก่อน
ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแด่บรรดาพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน

สวัสดี

ยังมีต่อ... ผลที่ได้จากมโนมยิทธิ ๒




แนะนำรับ ใครที่อยากฝึกมโนยิทธิ ผมแนะนำสถานที่เปิดสอนครับ ทั้งในประเทศ

กรุงเทพฯ 

         - บ้านสายลม เลขที่ 9 ซอยสายลม 1 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. (02) 271-3868 , (02) 272-6759
         - วัดกระทุ่มเสือปลา มีพระอาจารย์องอาจ อาภาโร เจ้าอาวาส ซอยอ่อนนุช 67 เขตประเวศ กรุงเทพฯ โทร. (02) 328-7776 ฝึกทุกวันเสาร์ เวลา 19.00-21.30 น.


   อุทัยธานี 

         - วัดท่าซุง (จันทาราม) ต. น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี 61000 โทร. (056) 511-366 , 511-391 , 511-938 , 511-944


   เชียงใหม่ 

         - บ้านทิพย์ปฏิบัติธรรม เลขที่ 6 ถนนสันติรักษ์ ข้างวัดสันติธรรม ต. ช้างเผือก อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50300 โทร. (053) 219-831 โดย คุณแม่ เกษร สุทธจิต จันทร์ประภาพ จะมาอยู่ทุกปี ๆ ละ 3-6 เดือน (ช่วงเดือน มิถุนายน - พฤศจิกายน) ฝึกทุกวันเวลา 19.00-21.00 น. ยินดีฝึกตามวัดโรงเรียน สถาบันต่าง ๆ ที่มีผู้สนใจติดต่อ แล้วแต่จะเห็นสมควร


   ลำพูน 

         - พระมหาสิงห์ วิสุทโธ สำนักสงฆ์ถ้ำป่าไผ่ ถนนลี้ อ. ลี้ จ. ลำพูน 51110 โทร. (053) 536-137
         - พระอนันต์ อานันโท วัดพระธาตุ 5 ดวง ถนนลี้ อ. ลี้ จ.ลำพูน 51110 โทร. (053) 570-244
         - คุณภุชงค์ บุญยัง ป่าซาง จ. ลำพูน โทร. (053) 522-032


   พะเยา 

         คุณสุวัตร์ เลิศชยันตี บ้านแสงธรรมชาติ หมู่บ้านต๋อม ต.ต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา 50000 โทร.01-7967141


   นครราชสีมา 

         สำนักส่งเสริมปฏิบัติธรรม ศิษย์พระราชพรหมยาน (คุณแม่ชีประทุม โชติอนันต์) อ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา ฝึกทุก ๆ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 12.00-14.00 น. ในพระมหาวิหารโคตรเศรษฐี มีครูฝึกประจำ 2 ท่านคือ แม่ชีสมพรและอาจารย์ทิพมาศ สอบถามรายละเอียดจาก คุณอิ๊ด โทร. 01-9069140


   กาญจนบุรี 

         - บ้าน พอ.นายแพทย์ นพพร กลั่นสุภา บ้านหลังที่ 3 ซอย 3 ค่ายสุรสีห์ ถ. กาญจนบุรี-บ่อพลอย อ. เมือง จ. กาญจนบุรี โทร.(034) 589-233 ถึง 5 ต่อ 1295 ฝึกทุก ๆ ต้นเดือน


   สกลนคร 

         - พันตรีนายแพทย์ ฉัตรมงคล คนขยัน รพ. ค่ายจิตรศิวลา สกลนคร โทร. (042) 730-318 , (01) 863-5604
         - คุณสถาน เทพนานนท์ โทร. (042) 730-322
         - คุณทรงพล กุลวงศ์ 250 หมู่ 3 กกส้มโฮง ต.พระธาตุเชิงชุม อ. เมือง จ. สกลนคร 47000


   สระแก้ว 

         - บ้านคุณทิพยา วิลาวัลย์ บ้านเลขที่ 470 หมู่ 1 อ. ตาพระยา จ. สระแก้ว โทร.(037) 269-055 (ฝึกที่บ้านคุณชัย-คุณหัทยา พัฒนนิติศักดิ์ โทร. (037) 269-044 )


   สงขลา 

         - พระครูโสภณ จริยานุกุล วัดโพธ์ปฐมวาส ถนนไทร้บุรี ต.บ่อยาง อ. เมือง จ.สงขลา 90000 โทร. (074) 326-011
         - พระมหาอำนวย ฐานวโร เจ้าอาวาส วัดชนะสงคราม ต. ควนลัง อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา โทร. (074) 424-862 ฝึกทุกวัน ตั้งแต่เวลา 1 ทุ่ม
         - คุณปกรณ์ ชาติพันธ์ 33 ถนนรามัญ อ. เมือง จ. สงขลา โทร.(074) 04-732
         - บ้าน รอ.วิวัฒน์ เรืองมณี บ้านเลขที่ 12 ซอย 15 ถ. ราษฏร์อุทิศ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทร.(074) 424-862 ฝึกทุกวันที่มีคนมาติดต่อ
         - บ้าน คุณสมชาย ขวัญพิเซษฐ์สกุล (โกส้ม) บ้านเลขที่ 133/ 31 ถ. วิเชียรชม อ. เมือง จ. สงขลา โทร. (074) 312-859 ฝึกทุกวันศุกร์
         - คุณสุภิตา คานธี ร้านกฤษณา 126 ถ. เพชรคีรี ตลาดใหม่ จ. สงขลา 90000 โทร. (074) 317-250


   ประจวบคีรีขันธ์ 

         - วัดพุทธไชโย มีพระครูปลัดนิภัทร อคัคธัมโม เป็นเจ้าอาวาส ต. หนองแก อใหัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ โทร. (032) 513-519 ฝึกทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 3 ของเดือน เวลา 13.00 น.


   สระบุรี 

         - วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) พระวินัยธรวัชรชัย อินทวังโส เจ้าอาวาส อ. พระพุทธบาท จ. สระบุรี โทร. (037) 269-044


   พังงา 

         - พ.ต.ต. สันติรักษ์ สันติพูน สภ.อ. เมือง พังงา อ. เมือง จ.พังงา 82000 โทร. (01) 476-3880


   เพรชบูรณ์ 

         - อาจารย์สถาพร มงคลวัจน์ 78/5 ถนนพิทักษ์บำรุง อ.หล่มสัก จ. เพชรบูรณ์ 67120 โทร.(056) 709-114
         - คุณสิทธิชัย นุชัยเหล็ก หมู่บ้านบุญประคอง เขาค้อ เพชรบูรณ์ โทร. (01) 8236473


   ร้อยเอ็ด 

         - พระมหาสิงห์ สุทธจิตโต วัดป่าโนเขาหลวง บ้านจาน ต. ทุ่งเขาหลวง จ. ร้อยเอ็ด 45170 โทร.(01) 954-9839


   ฉะเชิงเทรา 

         - อาจารย์สมพงษ์ หลุนประยูร (บ้านก๋ง) ผู้บริหาร รร. ประสาทวิทยา 57 หมู่ 1 ต. เทพราช ปณช คลองสวน จ. ฉะเชิงเทรา โทร. (038) 595-201 , (01) 841-3932 ฝึกทุก ๆ วันพุธ


   สหรัฐอเมริกา 

         - เกษร สุทธจิต จันทร์ประภาพ 10 South 308 Birnam Trail Hinsdale , Illinois 605211 U.S.A โทร. (630) 920-8428


   เยอรมันและสวิสเซอร์แลนด์ 

         - Wat Thai Buddhistisches Zentrum NRNBERGRLAND e.v. Sie mensstr. 15 90459 Nurnberg Germang Tei. 0911/4328787 Handy 01-77-975-7718


 
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden