ปาฏิโมกข์ (วินัยสงฆ์)
ปาฏิโมกข์ หรือ ปาติโมกข์ หมายถึง คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ 227 ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า สงฆ์ทำอุโบสถ
มีพุทธานุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ย่อได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
- ไม่มีภิกษุจำปาฏิโมกข์ได้จนจบ
- เกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่า อันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตรายทั้งสิบ คือ
- พระราชาเสด็จมา
- โจรมาปล้น
- ไฟไหม้
- น้ำหลากมา
- คนมามาก
- ผีเข้าภิกษุ
- สัตว์ร้ายเข้ามา
- งูร้ายเลื้อยเข้ามา
- ภิกษุอาพาธหนักจะถึงเสียชีวิต
- มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
โอวาทปาติโมกข์
เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น "ปาติโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ 20 พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3) หลังจากตรัสรู้แล้ว 9 เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ 4 เรียก "จาตุรงคสันนิบาต" คือ
- พระภิกษุสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
- พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือเป็นผู้ที่พระพุทธองค์ทรงประทานการบรรพชาอุปสมบทให้ทั้งสิ้น
- พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนแต่เป็นผู้ได้ อภิญญา 6 ทั้งสิ้น
- เป็นเวลาที่ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ คือตรงกับ วันเพ็ญเดือน 3
ซึ่งชาวพุทธรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวในวันมาฆบูชา
การแสดงโอวาทปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ 4 (จาตุรงคสันนิบาต) มีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ (
อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ตลอด 20 พรรษาแรก หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดง "อาณาปาติโมกข์" แทน)
คาถา โอวาทปาฏิโมกข์และคำแปล
คาถาต้นฉบับ |
คำแปล |
๏ ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
|
๏ ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
|
๏ สพฺพปาปสฺส อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ
|
๏ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1
การบำเพ็ญแต่ความดี 1
การทำจิตของตนให้ผ่องใส 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
|
๏ อนูปวาโท อนูปฆาโต
ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค
เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
|
๏ การไม่กล่าวร้าย 1 การไม่ทำร้าย 1
ความสำรวมในปาฏิโมกข์ 1
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร 1
ที่นั่งนอนอันสงัด 1
ความเพียรในอธิจิต 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
|
ความ หมายของโอวาทปาฏิโมกข์
โอวาทปาฏิโมกข์มักถูกกล่าวถึงในแง่หลักธรรม 3 อย่างเดียวว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง อาจสรุปใจความได้เป็นสามส่วน คือ หลักธรรม 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้
พระ พุทธพจน์คาถาแรก
- ทรงกล่าวถึงจุดมุ่งหมายหรืออุดมการณ์อันสูงสุดของบรรพชิตและพุทธบริษัท อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น อันอาจเรียกได้ว่า อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา ได้แก่
- ความอดทนอดกลั้น
- นิพพาน
- ความไม่เบียดเบียน
- ความสงบ
พระ พุทธพจน์คาถาที่สอง
- ทรงกล่าวถึง "วิธีการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธ บริษัททั้งปวงโดยย่อ" หรือ หลักธรรม 3 กล่าวกันเป็นเป็นการสรุปรวบยอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่พุทธ บริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่
- การไม่ทำบาปทั้งปวง
- การทำกุศลให้ถึงพร้อม
- การทำจิตใจให้บริสุทธิ์
- มีผู้อธิบายว่าทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา
พระ พุทธพจน์คาถาที่สาม
- ทรงกล่าวถึงหลักการปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระศาสนา หรือ วิธี การ 6 ได้แก่
- ไม่ว่าร้าย
- ไม่ทำร้าย
- สำรวมในปาติโมกข์ (ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยอันดี)
- รู้จักประมาณในอาหาร
- อยู่ในสถานที่สงบ
- เพียรฝึกฝนจิตใจให้สงบ