จิตใต้สำนึก Subconscious
ในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อวิชาจิตวิทยาแรกเริ่มมีฐานะเป็นศาสตร์ แยกตัวเป็นเอกเทศจากเป็นส่วนแทรกอยู่ในศาสตร์อื่น ๆ นั้น ในช่วงนั้นนักศึกษาค้นคว้ามุ่งหาความเข้าใจ จิตสำนึก เท่านั้น ฟรอยด์ เป็นผู้ริเริ่มให้ความสนใจกับ จิตไต้สำนึก เขาเปรียบ เทียบว่า จิตใจมนุษย์ มีสภาพคล้าย ภูเขาน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร มีส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นส่วนน้อย ยังมีส่วนอยู่ใต้ผิวน้ำ เป็นส่วนใหญ่ ภาวะจิต ระดับที่มี ความสำนึก ควบคุมอยู่เช่นเดียวกับ ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่เหนือผิวน้ำ ภาวะจิตระดับใต้สำนึก เหมือน ส่วนที่อยู่ใต้ผิวน้ำ เป็นที่สะสมองค์ประกอบของจิตไว้มากมาย ฟรอยด์อธิบายว่า จิตระดับใต้สำนึก นี้มี กลไกทางจิต หลายประเภท ด้วยกัน เช่น แรงจูงใจ, อารมณ์ที่ถูกเก็บกด, ความรู้สึกนึกคิด,ความฝัน, ความทรงจำ ฯลฯ พลังจิตใต้สำนึก มีอิทธิพลบ เหนือ จิตสำนึกกระตุ้น ให้ปฏิบัติพฤติกรรม ประจำวันทั่ว ๆ ไป, เป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมไร้เหตุผล และผิดปกติในลักษณะต่าง ๆ ฟรอยด์ได้ใช้เวลาศึกษา เรื่องจิตใต้สำนึก อยู่ถึง ๔๐ ปี ได้เขียนหนังสืออธิบายเรื่องนี้ไว้ยืดยาว ภาวะจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก แสดงประกอบด้วยภาพดังนี้
ภาวะสำนึกและจิตใต้สำนึก
รูป เปรียบเทียบจิตทั้งส่วนสำนึก และส่วนใต้สำนึก เหมือน ภูเขาน้ำแข็ง ลอยในมหาสมุทร ส่วนลอยเหนือน้ำต้อง แสงสว่างและอากาศ ปรากฏแก่ สายตาโลก คือ จิต หรือ พฤติกรรม ที่อยู่ในความควบคุมของ ความสำนึกตัว ส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ (ซึ่งปริมาณมากกว่า) อยู่ใน ความมืดกว่า ไม่ปรากฏแก่สายตาโลก คือ จิตใต้สำนึก อันเป็นภาคสะสม ประสบการณ์ในอดีตมากมาย ถูกบีบอัด เก็บกด หรือคอย เพื่อให้สม ปรารถนา เพื่อให้ได้ จังหวะเหมาะ สำหรับตอบสนองสิ่งเร้า อันยังไม่ได้ทำ หรือทำ ไม่ได้ในภาวะปกติ (เช่น กฎหมายห้าม, ประเพณีไม่ยอมรับ ว่าถูก, สังคมไม่นิยม ฯลฯ)
รูปซ้ายมือ เปรียบเหมือนเวลาอันเป็นปัจจุบันเท่านั้น และมีความเป็นปกติบุคคลย่อมรู้สึกสงบ สบาย มีสติ พลังจิตสำนึก ควบคุมพฤติกรรม ทั้งหลาย ให้เป็นไปตามที่เขาเห็นว่า ถูกต้อง,สมควร, ทำโดยเคารพกฎหมายและระเบียบของสังคม, รูปขวามือแสดงว่าเวลาลมฟ้าอากาศ แปรปรวน มหาสมุทรมีคลื่นจัด ภูเขาน้ำแข็งโครงเครง ส่วนที่เคยจมใต้น้ำ โผล่ขึ้นเหนือน้ำ ให้มองเห็นได้ เทียบได้กับยามบุคคล มีอารมณ์ขุ่นมัว เคร่งครัด ด้วยความโกรธ เกลียด อิจฉา พยาบาท กลัว ตื่นเต้น วิตก เจ็บป่วย ฯลฯ พลังจิตใต้สำนึกที่ไม่มีโอกาสได้แสดง พฤติกรรมออกมานั้น มักแปรรูปเป็นพฤติกรรมผิดปกติ รูปใดรูปหนึ่งก็ได้ เช่น รู้สึกกลัวตลอดเวลา กามวิปริตซึมเศร้าตลอดเวลาฯลฯ การช่วยเหลือบุคคล ที่มีพฤติกรรมผิดปกติประเภทนี้ จำเป็นจะต้องเข้าใจหยั่งรู้ถึง พลังจิตใต้สำนึก ที่เป็นต้นเหตุ จิตแพทย์สกุลฟรอยด์ อาจใช้วิธีการสะกดจิต หรือทำการบำบัดแบบ Free Association เพื่อให้คนไข้เปิดเผยพลังจิตใต้สำนึก ซึ่งเขาไม่เคยเล่า, ไม่เคยเปิดเผย, ไม่เคยแสดงออก หรือซึ่งเจ้าตัวเองก็อาจไม่ตระหนักรู้มาก่อน
อนึ่ง พลังจิตใต้สำนึกมีหลายระดับ บางอย่างอยู่ในระดับตื้น บางอย่างอยู่ในระดับลึก และยังแตกต่างกันในแง่พลังแรงเข้ม หรืออ่อน ของการขับดัน ด้วยจากข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้อธิบายหรือทำความเข้าใจได้ว่า คนแต่ละคนแตกต่างกัน ในรูปของ พลังจิตสำนึก และใต้สำนึก ฉะนั้น คนแต่ละคนจึงมีบุคลิกภาพไม่เหมือนกัน
รูปที่ ๓ พลังจิตสำนึกและใต้สำนึก กระตุ้นให้มนุษย์ประกอบพฤติกรรมต่าง ๆ นานา พฤติกรรมบางประเภทถูกกระตุ้นโดยจิตสำนึกอย่างเดียว (เครื่องหมาย ๑) และจิตใต้สำนึกปะปนกัน (เครื่องหมาย ๒) เช่น บางคราวเผลอพูด คิด ทำ แล้วมีสติระลึกได้ทันทีว่าควรหรือไม่ควร จึงเปลี่ยนคำพูด วิธีคิด การกระทำพฤติกรรมบางประเภทถูกกระตุ้นโดยจิตใต้สำนึกอย่างเดียว (เครื่องหมาย ๓) เช่น ความฝัน การพลั้งปาก การทำอะไรอย่างเผลอไผล ไม่รู้ตัว
พระพุทธศาสนาจำกัดความคำว่า จิต ไปในทางธาตุรู้หรือธาตุคิด ที่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบหรือคุณภาพต่าง ๆ ที่เรียกว่า เจตสิก กระบวนการนี้เกิดดับไปตามแต่ที่จิตจะเหนี่ยวสิ่งใดขึ้นมาจับไว้ จิตจึงเป็นความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ ในอภิธรรมกล่าวว่ามี 89 หรือ 121 คุณลักษณะ มีลักษณะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ตามการปรุงแต่งของเจตสิก ส่วนใหญ่ใช้คู่กับคำว่า ใจ แต่คำว่าใจเมื่อประสมกับคำอื่นมักจะบ่งถึงสภาพความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง มากกว่าจะเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดดับ ตัวอย่างเช่น เสียใจ บ่งสภาพความเศร้าโศก ดีใจบ่งสภาพความดียินดี ในที่นี้คำว่าใจจึงบอกถึงสภาพของสิ่งหนึ่ง ที่เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกมากกว่าจะเป็นกระบวนการของความคิด เหมือนอย่างคำว่า จิต ในทางพระพุทธศาสนาไม่ถือว่าจิตเป็นตัวตนที่แท้จริงแต่ถือว่าเป็นสิ่งที่ อาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดขึ้น ตามกฎแห่งอนัตตา(ทุกสิ่งไม่ตัวตนที่จริงแท้)คือไม่มีตัวตนอันเป็นแก่น เหมือนต้นไม้ย่อมอาศัยดิน ราก ใบ แสงแดด อากาศ กิ่ง ทำให้มีตัวตนที่เรียกว่าต้นไม้ขึ้น สรรพสิ่งดูเหมือนมีตัวตนเพราะอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น เมื่อแยกออกก็ว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย เช่นเดียวกับจิตอย่างไม่มีข้อยกเว้น จิตดำรงอยู่ได้ด้วยการอิงอาศัยกันของสิ่งที่เรียกว่าเจตสิกอันเป็นองค์ ประกอบของจิต ประกอบกันเป็นกระบวนการทำงานทั้ง7อย่างเรียกว่า
ธรรมธาตุ๗
ธรรมธาตุ 7 หมายถึง ระบบการทำงานของนามธาตุ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มโน จิต และ ภวังค์
องค์ ประกอบ
- จิต
- พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นอัสนีธาตุ จิตเกิดจากกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบของนามธาตุ มีลักษณะรับข้อมูลมาจาก เวทนาเจตสิก (เวทนาขันธ) สัญญาเจตสิก (สัญญาขันธ) นามธาตุเกิดจากการสั่นสะเทือน คือ ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น (ไตรลักษณ์) ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป (นิพพาน)
- มโน
- หมายถึง หมายถึงสิ่งที่ใจน้อมไป มาจาก นะมะ (ความนอบน้อม) เช่นเราเพ่งความสนใจไปที่ใดอาการที่ใจเราไปสนใจนั้นคือมโน มีลักษณะน้อมไป ยึดไว้ เคลื่อนย้าย มโนคือกฎอนิจจังแห่งธรรมนิยามของนามธาตุ เกิดจากการที่นามธาตุมีความสัมพันธ์ต่อรูปธาตุและเกิดจากกระบวนการภายในของ นามธาตุเอง คือการควบคุมไปในสิ่งใดสิ่งสิ่งหนึ่งที่จิตเหนี่ยวรั้งมาพิจารณา และเกิดการเปรี่ยนแปลงต่อสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง
- ภวังค์
- จิตใต้สำนึก เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน มีแต่สภาวะเกิดขึ้นจากกฎแห่งเหตุและผลของธรรมชาติอย่างละเอียด (หรือเรียกว่ากฎแห่งกรรม) อธิบายเช่นต้นไม้แต่ก่อนมีเพียงเมล็ดกิ่ง ก้าน ราก ดอก ผล ใบย่อมมีมาแต่ไหน เพราะในเมล็ดย่อมมีเพียงข้อมูล แล้วอาศัยอาศัยเพิ่มปริมาณสสารขึ้น อาศัยข้อมูลในเมล็ดทำให้มีลักษณะต่างๆ ถ้าเป็นสัตว์ก็คือ DNA ภวังค์ก็มีลักษณะเช่นนั้น คือเป็นข้อมูลของจิต ทำให้สัตว์มีลักษณะนิสัย สันดานแตกต่างกัน เมื่อจิตออกจากร่างภวังคะจะจดจำข้อมูลสร้างร่างจากจิตตะอันเป็นอัสนีธาตุ หรือธาตุพลังงานทำให้มีรูปร่างตามแต่ปัจจัยกำหนด ที่มักเรียกกันว่าผี ภวังค์คือ กฎวัฏฏตาแห่งพีชนิยามของนามธาตุ ทำให้เกิดวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิดขึ้น
- เวทนา
- หมายถึงธรรมชาติรับรู้อารมณ์ ทางกายคือ 1.สุขํ สุข 2.ทุกขํ ทุกข์ 3.อทุกขมสุขํ ไม่สุขไม่ทุกข์ ทางใจ 3คือ 1. โสมนัส สุขใจ 2.โทมนัส ทุกข์ใจ 3. อุเบกขา วางเฉย เวทนา คือกฎทุกขังแห่งธรรมนิยามของนามธาตุ คือการแปรปรวนผันผวนของนามธาตุ ทุกขเวทนาเพียงดังน้ำที่ถูกต้มให้เดือด
- สัญญา
- หมายถึง ความทรงจำมี6 คือ จักขุสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางตา (ภาพ) โสตสัญญา (เสียง) สิ่งที่ทรงจำทางหู ฆานะสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางจมูก (กลิ่น) ชิวหาสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางลิ้น (รสชาติ) กายสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางกาย (ประสาทสัมผัส) มนสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางใจ สัญญา คือกฎสมตาแห่ง พีชนิยามของนามธาตุ อย่างเช่น ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกิดจากการจดจำทุกขังและปรับสมดุลด้วยสมตา สัญญาก็เป็นดุจภูมิคุ้มกันของจิต ที่เกิดจากการจดจำทุกขังและปรับสมดุลด้วยสมตา
- สังขาร
- หมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่ง มี 3 คือ กายสังขาร (การบังคับร่างกาย) วจีสังขาร (ความคิดตรึก ตรอง) จิตตะสังขาร (อารมณ์ที่จรเข้ามาในใจ)1. กาย สังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งกายอัสสาสะ ลมหายใจเข้า ปัสสาสะ ลมหายใจออก)อัสนีธาตุของจิตตะ จะเชื่อมกับ อัสนีธาตุของกายสังขาร ที่เกิดขึ้นจากลมหายใจเข้าออกอันเป็นเหตุให้หทยวัตถุ (หัวใจ) เต้น เหมือนเขื่อนเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้จิตสามรถสั่งการให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ 2.วจีสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งวาจาหรือภาษานั้นคือ วิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง ) อันเรียกว่าความคิด ) 3.จิตตสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งจิต มี 2 คือเวทนา สัญญา)จิตตะเป็นปภัสสรคือบริสุทธิ์ว่างเปล่าราวกับอากาศไม่สว่างหรือมืด แต่เพราะ เวทนาและสัญญา ที่จรเข้ามาทำให้จิตมีอารมณ์เป็นไปตามเวทนาและสัญญานั้น เช่น เวลาหลับเราเมื่อย เวทนาก็เป็นอิริยาบถให้เราหายเมื่อย เราเดินเองโดยอัตตโนมัติเพราะร่างกายเราจดจำสัญญาในการเดินไว้ทำให้บางที่ เดินไปในที่เคยชิน และสัญญาที่เกิดจากวิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง) การตรึก คือการน้อมไปในการใช้สัญญา เช่น สิ่งนี้คือต้นไม้ ต้นไม้นี้ชื่อต้นไผ่ วิจารทำให้เกิดการเปรียบเทียบ เช่น คนนี้สวยกว่าคนนี้ ชีวิตเราสำคัญน้อยกว่าความรัก เงินสำคัญที่สุดเป็นต้น ทำให้เกิดจิตสังชารที่ทำให้ยึดมั่นและเกิดอารมณ์ต่างๆตามมามากมาย เช่นรัก โลภ โกรธตระหนี่ ริษยา อิจฉา อันเป็นเจตสิกต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต สังขารคือ กฎชีวิตาแห่งพีชนิยามของนามธาตุ ได้แก่นามธาตุชนิดต่างๆทั้ง50ชนิด ที่ทำมีหน้าที่ต่อกัน ทำงานเป็นกระบวนการ
- วิญญาณ
- หมายถึงการรับรู้ มี6คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ มโนสิ่งที่รับรู้ทางใจ มี 3 คือ รับรู้เวทนา รับรู้สัญญา รับรู้สังขาร วิญญาณคือกฎอนัตตาแห่งธรรมนิยามของ นามธาตุ ทำให้เกิดความว่างเพื่อเป็นทางผ่านเจตสิกทำให้เกิดการรับรู้ขึ้น
ที่กำเนิดขึ้นตามกลไกมหาปัฏฐาน(ปัจจัย๒๔)ที่เป็นไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาทโดยจะหมดเหตุ แห่งกระบวนการทางจิตเมื่อกำจัดอวิชชาสังโยชน์ จิตเหมือนรถยนต์การที่จะเป็นรถขี่ได้ ๑ คัน กลไกต่างๆย่อมต้องอยู่ในที่ๆเหมาะสม หรือเหมือนคอมพิวเตอร์ย่อมอาศัยโปรแกรมหลายๆโปรแกรมประกอบกันขึ้น มหาปัฏฐานเหมือนโปรแกรม(ยกขึ้นเป็นตัวอย่างเท่านั้น) เพียงแต่กระบวนการทางธรรมชาติย่อมใช้เวลาให้กฎแห่งเหตุผลทางธรรมชาติ(กฎ นิยาม)เกี่ยวเนื่องกัน สมบูรณ์ตามรูปแบบจิตเหมือนในคัมภีร์มหาปัฏฐานจนเหมาะสมที่จะเป็นกระบวนการ ทางจิตที่ซับซ้อนอันเป็นต้นกำเนิดของจิตอันเป็นบ่อเกิดให้มีการเวียนว่ายตาย เกิด
ความ อัศจรรย์ของจิตมนุษย์
ในจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงที่อุบัติขึ้นมาบนโลกใบนี้มีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่มีความสามารถพิเศษทางจิต กล่าวคือสามารถอบรมและพัฒนาจิตอันเป็นนามธรรมให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเอง ได้ และความสามารถในการพัฒนาคุณสมบัติอันพิเศษทางจิตนี้ยังช่วยให้มนุษย์สามารถ ค้นพบปัญญาแห่งความรู้แจ้งนานัปการ รวมถึงปัญญาแห่งการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป มนุษย์จึงถูกเรียกว่าเป็น "สัตว์ประเสริฐ"
ในขณะที่สัตว์โลกชนิดอื่นๆ ที่ต่ำกว่ามนุษย์ลงไปนั้นล้วนเป็นเพียงสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งมีเพียงอาการของสัญชาตญาณของการเป็นสัตว์โลกเท่านั้น จึงทำให้พวกมันไม่อาจเข้าใจในนามธรรม (พลังจิต) และไม่อาจพัฒนาสิ่งที่เป็นนามธรรมอันวิเศษนี้ได้ เฉกเช่นที่มนุษย์สามารถกระทำได้
ดังนั้นเรื่องของจิตและพลังที่เกิดจากจิตจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ อย่างมากสำหรับผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ทุกคน
สิ่งที่มีพลังอำนาจมากที่สุดในโลกธาตุและจักรวาลธาตุนี้ก็คือ "พลัง แห่งจิต" แม้กระทั่งไอน์สไตน์ผู้คนพบระเบิดปรมาณู อันมีพลังอำนาจในการทำลายล้างอย่างมหาศาล ยังกล่าวยอมรับว่าพลังที่มีอำนาจมากที่สุดโลกนั้นมิใช่พลังที่มีอานุภาพ อย่างไร้ขอบเขตไร้ขีดจำกัด เป็นพลังงานที่หาที่สุดมิได้ ...ด้วยเหตุนี้เองไอน์สไตน์จึงมีความสนใจในเรื่องของพลังจิต และกระบวนการอบรมจิตตามหลักการของพุทธศาสนา และเชือว่าศาสนาพุทธเท่านั้นที่จะสามารถ นำเขาค้นพบสัจธรรมความจริงแห่งชีวิตอันยิ่งใหญ่บนโลกใบนี้ได้
ธรรมชาติ ของจิตมนุษย์
มนุษย์ทุกคนต่างมีจิตอันเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้
ชีวิตดำเนินไปได้ แต่ทุกวันนี้มนุษย์กลับสามารถใช้พลังจิตของตนเองได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งถ้าเทียบเป็นสัดส่วนแล้ว มนุษย์สามารถใช้พลังจิตที่มีอยู่ในตัวได้ไม่ถึงห้าเปอร์เซ็นต์นั้น
มนุษย์กลับไม่อาจเข้าไปใช้งานพลังเหล่านั้นได้เลย ทั้งนี้เพราะจิตส่วนนี้เป็น
จิตไร้สำนึกที่อยู่ เหนืออำนาจการควบคุมทางกาย ร่างกายจึงไม่สามารถเข้าไปบังคับควบคุมพลังจิตเหล่านั้นได้ แต่จิตในส่วนนี้กลับเป็นจิตส่วนที่มีพลังมากที่สุด และสามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นไปของชีวิตเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ
บารมี 10
บารมี 10 หรือ ทศบารมี หรือ บารมี ๑๐ คือ กำลังใจที่ต้องทำให้เต็ม ไม่พร่อง มี ๑๐ อย่าง
- ทาน การให้โดยไม่หวังผล
- ศีล การรักษาศีลให้เป็นปกติ
- เนกขัมมะ การถือบวช
- ปัญญา ความรู้
- วิริยะ ความเพียร
- ขันติ ความอดทนอดกลั้น
- สัจจะ ความตั้งใจจริง เอาจริง จริงใจ
- อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ไม่เปลี่ยนแปลง
- เมตตา ความรักด้วยความปรานี
- อุเบกขา ความวางเฉย