yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - 119 พระเจ้าทำนายฝัน
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง
มหาสุบินชาดก..พระพุทธเจ้าทรงทำนายฝัน

9 ก.ค. 2548

    ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร  ได้ตรัสพระธรรมเทศนาเรื่อง พุทธทำนายเกี่ยวกับพระสุบินของพระเจ้า ปเสนทิโกศล ความดังนี้

    ผู้เล่าซึ่งฟังจากพระธรรมเทศนา เล่าว่า คืนหนึ่งตอนใกล้รุ่ง (ปัจฉิมยาม) พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบิน (ฝัน) ถึง ๑๖ เรื่อง  ทรงตกพระทัยตื่น แล้วทรงนอนวิตกจนถึงเช้าว่าเรื่องที่ฝันจะเป็นนิมิตร้ายๆอะไรแก่พระองค์บ้าง หรือเปล่า  พอตอนเช้าเมื่อบรรดาพราหมณ์ปุโรหิตมาเข้าเฝ้า ทูลถามว่าทรงบรรทมหลับสบายหรือไม่ ทรงตอบว่า จะทรงมีความสุขได้อย่างไร เมื่อคืนนั้นทรงฝันร้าย แล้วก็ทรงหวาดกลัวเป็นอันมาก พวกปุโรหิตก็ทูลขอให้ทรงเล่าให้ฟัง จะได้ทำนายถวายว่าเป็นประการใดบ้าง

    พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงเล่าให้ฟัง พอได้ฟังพวกพราหมณ์ก็พากันสลัดมือเป็นการใหญ่ จึงทรงถามว่า นี่จะสลัดมือกันไปทำไม พวกพราหมณ์ก็ทูลตอบว่า ที่ทรงฝันนั้นเป็นเรื่องร้ายมาก และจะส่งผลร้ายอย่างใดอย่างหนึ่งในสามประการดังต่อไปนี้คือ ประการแรกจะมีอันตรายแก่ราชสมบัติ หรือไม่ก็จะมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน หรือไม่ก็จะมีอันตรายถึงแก่พระชนม์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เลยทรงถามว่า จะแก้ไขอะไรได้บ้างหรือเปล่า พวกพราหมณ์ทูลว่า นิมิตนี้ร้ายกาจนัก ความจริงไม่มีทางแก้ไขแล้ว มีแต่พวกข้าพระองค์ก็พอจะแก้ไขได้อยู่ ซึ่งถ้าพวกหม่อมฉันนี่แก้ไขไม่ได้แล้ว ก็ถือว่าเรียนมาเสียประโยชน์นัก

    รับสั่งถามต่อไปว่า เอ้า.. ถ้างั้นจะต้องทำอย่างไรกัน พวกพราหมณ์กราบทูลว่า พวกตนนี่จะต้องทำพิธีบูชายัญด้วยวัตถุอย่างละ ๔ ทุกอย่าง พระเจ้าข้า พระราชาสะดุ้ง แต่ก็ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นชีวิตข้าอยู่ในมืออาจารย์ทั้งหลายแล้วนะ จงรีบๆทำความสวัสดีให้เกิดแก่เราเถิด พวกพราหมณ์นี่พอได้ฟังรับสั่งไฟเขียวอย่างนั้นแล้วก็ร่าเริงกันทั่วหน้า ดีดลูกคิดรางแก้วเห็นลาภสักการะจากพิธีบูชายัญที่ว่านี้ลอยมาลิบๆทีเดียว ต่างพากันกราบทูลปลอบว่า อย่าได้ทรงวิตกเลย แล้วก็พากันออกวังไปจัดทำหลุมบูชายัญที่นอกพระนคร เที่ยวจับฝูงสัตว์สี่เท้ามามากมาย  เอามามัดไว้ที่หลักสำหรับจะบูชายัญ บรรดานกที่มีสองเท้าก็ยังโดน เสร็จแล้วก็เที่ยวเล็งโน่นเล็งนี่ทั่วไปหมด

    ครั้งนั้น พระนางมัลลิกามเหสีพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทราบเรื่องเข้า จึงกราบทูลถามว่า  พวกพราหมณ์นี่เตร่ไปเตร่มาเรื่องอะไรกัน พระราชาตรัสตอบว่า เทวีมัวแต่เพลินสุขสบายอยู่ ไม่รู้หรอกว่ากำลังจะมีภัยจ่อคอแล้ว พระนางก็ทูลถามต่อว่า เกิดเรื่องอะไรขึ้น พระราชาจึงทรงเล่าให้ฟัง พระนางมัลลิกาจึงทรงย้อนถามว่า ก็ผู้ที่เป็นยอดแห่งพราหมณ์ในโลก รวมทั้งเทวโลกนี่ ทูลกระหม่อมทรงถามหรือยัง พระราชาทรงงง ใครกันที่เป็นยอดพราหมณ์ที่ว่านั้น พระมเหสีจึงกราบทูลว่า ทูลกระหม่อมไม่ทรงรู้จักมหาพราหมณ์โคดม ตถาคตผู้หมดกิเลส บริสุทธิ์แล้ว เป็นสัพพัญญู  เป็นบุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งในเทวโลกหรอกหรือเพคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คงจะทรงทราบในพระสุบินแน่นอน ทูลเชิญเสด็จไปถามเถิด

    พระราชาจึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าตามคำแนะนำของพระมเหษี พระศาสดาตรัสถามว่า มหาบพิตรเสด็จมาเรื่องอะไร ทรงกราบทูลเล่าเรื่องทั้งหมดถวาย ตั้งแต่ความฝันไปจนถึงการที่พราหมณ์กำลังจัดเตรียมบูชายัญฝูงสัตว์จำนวนมาก ที่เสด็จฯมาก็เพื่อขอฟังพุทธทำนายดูบ้าง พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งว่าจะทรงทำนายให้ ให้ทรงเล่ารายละเอียดตามที่ฝันนั้นเถิด  พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงเล่าความฝันของพระองค์ถวาย แต่เนื่องจากมีถึง ๑๖ เรื่อง จึงทรงวางหัวข้อไว้ก่อนดังนี้

    ๑ โคอุสภราชทั้งหลาย  ๒ ต้นไม้ทั้งหลาย  ๓ แม่โคทั้งหลาย  ๔ โคทั้งหลาย  ๕ ม้า  ๖ถาดทอง  ๗ สุนัขจิ้งจอก  ๘ หม้อน้ำ  ๙ สระโบกขรณี  ๑๐ข้าวไม่สุก  ๑๑ แก่นจันทน์  ๑๒ น้ำเต้าจม  ๑๓ ศิลาลอย  ๑๔ เขียดขยอกงู  ๑๕ หงส์ทองล้อมกา  ๑๖ เสือกลัวแพะ 

   สุบินเรื่องที่ ๑   โคอุสภราชทั้งหลาย  

    เมื่อทรงวางหัวข้อแล้ว จึงทูลเล่ารายละเอียดว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นสุบินข้อ ๑ อย่างนี้ก่อนว่า โค เพศผู้สีเหมือนดอกอัญชัน ๔ ตัว ต่างคิดว่าจักชนกัน พากันวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวงจากทิศทั้ง ๔  เมื่อมหาชนประชุมกันคิดว่า พวกเราจักดูโคชนกัน ต่างแสดงท่าทางจะชนกัน บันลือเสียงคำรามลั่น แล้วไม่ชนกัน ต่างถอยออกไป หม่อมฉันเห็นสุบินนี้เป็นปฐม อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า

    มหาบพิตร ผลของสุบินข้อนี้ จักไม่มีในชั่วรัชกาลของมหาบพิตร  ในชั่วศาสนาของตถาคต 

    แต่ในอนาคต เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อม ในรัชกาลของพระราชาผู้กำพร้า ผู้มิได้ครองราชย์โดยธรรม และในกาลของหมู่มนุษย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อกุศลธรรมลดน้อยถอยลง อกุศลธรรมหนาแน่นขึ้น

    ในกาลที่โลกเสื่อม ฝนจักแล้ง และตีนเมฆจักขาด ข้าวกล้าจักแห้ง ทุพภิกขภัย (ภัยจากการขาดแคลนอาหาร ) จักเกิด เมฆทั้งหลายตั้งขึ้นจากทิศทั้ง ๔ เหมือนจะย้อยเม็ด พอพวกผู้หญิงรีบเก็บข้าวเปลือกเป็นต้นที่เอาออกผึ่งแดดไว้เขาภายในร่ม เพราะกลัวจะเปียก เมื่อพวกผู้ชายต่างถือจอบถือตะกร้าพากันออกไป เพื่อจะก่อคันกั้นน้ำ ก็ตั้งเค้าจะตกครางกระหึ่ม ฟ้าแลบแล้วก็ไม่ตกเลย ลอยหายไป เหมือนโคตั้งท่าจะชนแล้วไม่ชนกันฉะนั้น

    นี้เป็นผลของสุบินนั้น แต่ไม่มีอันตรายใดๆแก่มหาบพิตรเพราะเรื่องนั้นเป็นปัจจัย มหาบพิตรเห็นสุบินนี้ปรารภอนาคต ฝ่ายพวกพราหมณ์อาศัยการเลี้ยงชีวิตของตน จึงทำนายดังนี้ พระบรมศาสดาครั้นตรัสบอกผลแห่งสุบินด้วยประการฉะนี้แล้ว ตรัสว่าจงตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๒ เถิดมหาบพิตร

     สุบินเรื่องที่ ๒   ต้นไม้ทั้งหลาย   

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นสุบินข้อที่ ๒ อย่างนี้ว่า ต้นไม้เล็กๆและกอไผ่ แทรกแผ่นดินพอถึงคืบหนึ่งบ้าง ศอกหนึ่งบ้าง เพียงแค่นี้ก็ผลิ ดอกออกผลไปตามๆ กัน นี้เป็นสุบินข้อที่ ๒ ที่หม่อมฉันได้เห็น อะไรเป็นผลของสุบินนี้พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในกาลที่โลกเสื่อม เวลามนุษย์มีอายุน้อย ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายในอนาคตจักมีราคะกล้า กุมารีมีวัยยังไม่สมบูรณ์จักสมสู่กะบุรุษอื่น เป็นหญิงมีระดูมีครรภ์พากันจำเริญด้วยบุตรและธิดา ความที่กุมารีเหล่านั้นมีระดูเปรียบเหมือนต้นไม้เล็กๆมีดอก กุมารีเหล่านั้นจำเริญด้วยบุตรและธิดาก็เหมือนต้นไม้เล็กๆมีผล

   ภัยแม้นิมิตนี้เป็นเหตุไม่มีแก่มหาบพิตรดอก จงตรัสเล่าข้อที่ ๓ ต่อไปเถิด มหาบพิตร

    สุบินเรื่องที่ ๓   แม่โคทั้งหลาย 

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นแม่โคใหญ่ ๆ พากันดื่มนมของฝูงลูกโคที่เพิ่งเกิดในวันนั้น นี้เป็นสุบินข้อที่ ๓ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนั้น พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร แม้ผลของสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน จักมีผลในเวลาที่มนุษย์ทั้งหลาย พากันละทิ้งเชษฐาปจายิกกรรม คือ ความเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เพราะในอนาคตฝูงสัตว์จักมิได้ตั้งไว้ซึ่งความยำเกรงในมารดาบิดา หรือ ในแม่ยายพ่อตา ต่างแสวงหาทรัพย์สินด้วยตนเองทั้งนั้น เมื่อปรารถนา จะให้ของกินของใช้แก่คนแก่ก็ให้ ไม่ปรารถนาจะให้ก็ไม่ให้ คนแก่พากันหมดที่พึ่ง หาเลี้ยงตนเองก็ไม่ได้ ต้องง้อพวกเด็กๆเลี้ยงชีพเป็นเหมือนแม่โคใหญ่พากันดื่มนมลูกโคที่เกิดในวัน นั้น 

    แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุก็ไม่มีแก่มหาบพิตร ตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๔ ต่อไปเถิดมหาบพิตร

    สุบินเรื่องที่ ๔   โคทั้งหลาย  

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม ฉันเห็นฝูงชน ไม่เทียมโคใหญ่ๆที่เคยพาแอกไป  ซึ่งสมบูรณ์ด้วยร่างกายและเรี่ยวแรง เข้าในระเบียบแห่งแอก กลับไปเทียมโครุ่นๆ ที่กำลังฝึกเข้าในแอก โครุ่นๆ เหล่านั้นไม่อาจพาแอกไปได้ ก็พากันสลัดแอกยืนเฉยเสีย  เกวียนทั้งหลายก็ไปไม่ได้ นี้เป็นสุบินข้อที่ ๔ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลของสุบินแม้ข้อนี้ ก็จักมีในรัชสมัยของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า

   
ใน ภายหน้า พระราชาผู้มีบุญน้อย มิได้ดำรงในธรรม จักไม่พระราชทานยศแก่มหาอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิต ฉลาดในประเพณี สามารถที่จะยังสรรพกิจให้ลุล่วงไปได้ จักไม่ทรงแต่งตั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่ ผู้เป็นบัณฑิตฉลาดในโวหารไว้ในที่วินิจฉัยคดีในโรงศาล แต่พระราชทานยศแก่คนหนุ่มๆ ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้วนั้น แต่งตั้งบุคคลเช่นนั้นไว้ในตำแหน่งผู้วินิจฉัยอรรถคดี 

    คน หนุ่มพวกนั้น ไม่รู้ทั่วถึงราชกิจ และการอันควรไม่ควร ไม่อาจดำรงยศนั้นไว้ได้ ทั้งไม่อาจจัดทำราชกิจให้ลุล่วงไปได้  เมื่อไม่อาจ ก็จักพากันทิ้งธุระการงานเสีย ฝ่ายอำมาตย์ที่เป็นบัณฑิตเป็นผู้ใหญ่ เมื่อไม่ได้ยศ ถึงจะสามารถที่จะให้กิจทั้งหลายลุล่วงไป ก็จักพากันกล่าวว่า พวกเราต้องการอะไรด้วยเรื่องเหล่านี้ พวกเรากลายเป็นคนภายนอกไปแล้ว พวกเด็กหนุ่มเขาเป็นพวกอยู่วงใน เขาคงรู้ดีแล้วไม่รักษาการงานที่เกิดขึ้น
 
    เมื่อเป็นเช่นนี้ความเสื่อมเท่านั้นจักมีแก่พระราชาเหล่านั้น ด้วยประการทั้งปวง เป็นเสมือนเวลาที่คนจับโครุ่นๆ กำลังฝึก ยังไม่สามารถจะพาแอกไปได้เทียมไว้ในแอก และเป็นเวลาที่ไม่จับเอาโคใหญ่ ๆ ผู้เคยพาแอกไปได้มาเทียมแอกฉะนั้น
แม้

    ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุก็ย่อมไม่มีแกมหาบพิตร เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๕ เถิดมหาบพิตร

     สุบินเรื่องที่ ๕   ม้า  

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นม้าตัวหนึ่ง มีปากสองข้าง  ฝูงชนพากันให้หญ้าที่ปากทั้งสองข้างของมัน มันเคี้ยวกินด้วยปากทั้งสองข้าง นี้เป็นสุบินที่ ๕ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลของสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ดำรงในธรรมในอนาคตเหมือนกัน
ด้วยว่า

    ในกาลภายหน้าพวกพระราชาโง่เขลา ไม่ดำรงธรรม จักทรงแต่งตั้งมนุษย์โลเลไม่ประกอบด้วยธรรมไว้ในตำแหน่งวินิจฉัยคดี คนเหล่านั้นเป็นพาล ไม่เอื้อเฟื้อในบาปบุญ พากันนั่งในโรงศาลเมื่อให้คำตัดสิน ก็จักรับสินบนจากมือของคู่คดีทั้งสองฝ่ายมากิน เป็นเหมือนม้ากินหญ้าด้วยปากทั้งสองฉะนั้น 

   
ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตรดอก เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๖ เถิดมหาบพิตร

   สุบินเรื่องที่ ๖   ถาดทอง  

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม ฉันเห็นมหาชนขัดถูถาดทองราคาตั้งแสนกระษาปณ์ แล้วพากันนำให้หมาจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่งด้วยคำว่า เชิญท่านเยี่ยวใส่ในถาดทองนี้เถิด หมาจิ้งจอกแก่นั้น ก็ถ่ายปัสสาวะใส่ในถาดทองนั้น นี้เป็นสุบินที่ ๖ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลของสุบินนี้ก็จักมีในอนาคตเหมือนกันด้วยว่า 

   
ใน กาลภายหน้า พวกพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ทรงรังเกียจกุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเสีย แล้วไม่พระราชทานยศให้ จักพระราชทานให้แก่คนที่ไม่มีสกุลเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้สกุลใหญ่ ๆ จักพากันตกยาก สกุลเลวๆจักพากันเป็นใหญ่ ก็เมื่อพวกมีสกุลเหล่านั้น ไม่อาจเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ จักคิดว่าเราต้องอาศัยพวกเหล่านี้เลี้ยงชีวิตสืบไป แล้วก็พากันยกธิดาให้แก่ผู้ไม่มีสกุล การอยู่ร่วมกับคนพวกไม่มีสกุลของกุลธิดาเหล่านั้นก็จักเป็นเช่นเดียวกับถาด ทองรองเยี่ยวหมาจิ้งจอก

   
ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๗ เถิดมหาบพิตร

    สุบินเรื่องที่ ๗ สุนัขจิ้งจอก 

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ บุรุษ ผู้หนึ่งฟั่นเชือกแล้วหย่อนไปที่ใกล้เท้า แม่หมาจิ้งจอกโซตัวหนึ่ง นอนอยู่ใต้ตั่งที่บุรุษนั่งกัดกินเชือกนั้น เขาไม่ได้รู้เลยทีเดียว นี้เป็นสุบินข้อที่ ๗ ของหม่อมฉันอะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า 

    ในกาลภายหน้า หมู่สตรีจักพากันเหลาะแหละโลเลในบุรุษ ลุ่มหลงในสุราเอาแต่แต่งตัว ชอบเที่ยวเตร่ตามถนนหนทาง เห็นแก่อามิส เป็นหญิงทุศีล มีความประพฤติชั่วช้า  พวกนางจักกลุ้มรุมกันแย่งเอาทรัพย์ที่สามีทำงานมีกสิกรรมและโครักชกรรม เป็นต้น สั่งสมไว้ด้วยยาก ลำบากลำเค็ญเอาไปซื้อสุราดื่มกับชายชู้ ซื้อดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้มาแต่งตน คอยสอดส่องมองหาชู้ โดยส่วนบนของบ้านที่มิดชิดบ้าง โดยที่ซึ่งลับตาบ้าง แม้ข้าวเปลือกที่เตรียมไว้สำหรับหว่านในวันรุ่งขึ้น ก็เอาไปซ้อมจัดทำเป็นข้าวต้ม ข้าวสวย และของเคี้ยวเป็นต้น มากินกัน เป็นเหมือนนางหมาจิ้งจอกโซ ที่นอนใต้ตั่งคอยกัดกินเชือกที่เขาฟั่นแล้ว หย่อนลงไว้ใกล้ๆ เท้าฉะนั้น 

    ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๘ เถิดมหาบพิตร

    สุบินเรื่องที่ ๘   หม้อน้ำ 

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม ฉันได้เห็นตุ่มน้ำเต็มเปี่ยมลูกใหญ่ใบหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ประตูวัง ล้อมด้วยตุ่มเป็นอันมาก วรรณะทั้ง ๔ เอาหม้อตักน้ำมาจากทิศทั้ง ๔ และทิศน้อยทั้งหลาย เอามาใส่ลงตุ่มที่เต็มแล้วนั่นแหละ น้ำก็เต็มแล้วเต็มอีก จนไหลล้นไป แม้คนเหล่านั้นก็ยังเทน้ำลงในตุ่มนั้นอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่มีผู้ที่จะเหลียวแลดูตุ่มที่ว่างๆ เลย 
นี้เป็นสุบินข้อที่ ๘ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า

   มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า

    ในกาลภายหน้าโลกจักเสื่อม แว่นแคว้นจักหมดความหมาย พระราชาทั้งหลายจักตกยาก เป็นกำพร้า องค์ใดเป็นใหญ่ องค์นั้นจักมีพระราชทรัพย์เพียงแสนกระษาปณ์ในท้องพระคลัง พระราชาเหล่านั้นตกยากถึงอย่างนี้ จักเกณฑ์ให้ชาวชนบททุกคน ทำการเพาะปลูกให้แก่ตน พวกมนุษย์ถูกเบียดเบียนต้องละทิ้งการงานของตน พากันเพาะปลูก ปุพพันพืช ( อาหาร มีข้าวสาลี เป็นต้น ) และอปรันพืช ( ของว่างหลังอาหาร มี ถั่ว งา เป็นต้น ) ให้แก่พระราชาทั้งหลายเท่านั้น ต้องช่วยกันเฝ้าช่วยกันเก็บเกี่ยว ช่วยกันนวด ช่วยกันขน ช่วยกันเคี่ยว น้ำอ้อย เป็นต้น และช่วยกันทำสวนดอกไม้ สวนผลไม้ พากันขนปุพพันพืช เป็นต้น ที่เสร็จแล้วในที่นั้นๆมาบรรจุไว้ในยุ้งฉางของพระราชาเท่านั้น แม้ผู้ที่จะมองดูยุ้งฉางเปล่าๆในเรือนทั้งหลายของตนจักไม่มีเลย จักเป็นเช่นกับการเติมน้ำใส่ตุ่มที่เต็มแล้ว ไม่เหลียวแลตุ่มเปล่าๆ บ้างเลยนั่นแล  

   ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุจะยังไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๙ เถิดมหาบพิตร

    สุบินเรื่องที่ ๙ สระโบกขรณี  

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม ฉันได้เห็นโบกขรณีสระหนึ่ง ดารดาษไปด้วยปทุม ๕ สี ลึก มีท่าขึ้นลงรอบด้าน ฝูงสัตว์สองเท้า สี่เท้า พากันลงดื่มน้ำในสระนั้นโดยรอบ น้ำที่อยู่ในที่ลึกกลางสระนั้นขุ่นมัว ในที่ซึ่งสัตว์สองเท้าสี่เท้าพากันย่ำเหยียบ กลับใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ นี้เป็น สุบินข้อที่ ๙ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้จักมีในอนาคตเหมือนกัน
ด้วยว่า

    ในกาลภายหน้าพระราชาทั้งหลาย จักไม่ตั้งอยู่ในธรรม ลุอคติด้วยอำนาจความพอใจเป็นต้น เสวยราชสมบัติจักไม่ประทานการวินิจฉัยอรรถคดีโดยธรรม มีพระหฤทัยมุ่งแต่สินบน โลเลในทรัพย์
 
    ขึ้นชื่อว่าคุณธรรมคือ ความอดทน ความเมตตา และความเอ็นดูของพระราชาเหล่านั้น จักไม่มีในหมู่ชาวแว่นแคว้น จักเป็นผู้กักขฬะ หยาบคาย คอยแต่เบียดเบียนหมู่มนุษย์ เหมือนหีบอ้อยด้วยหีบยนต์ จักกำหนดให้ส่วยต่างๆ บังเกิดขึ้นเก็บเอาทรัพย์ พวกมนุษย์ถูกรีดส่วยอากรหนักเข้า ไม่สามารถจะให้อะไรได้พากันทิ้งคามนิคม เป็นต้นเสีย อพยพไปสู่ปลายแดนตั้งหลักฐาน ณ ที่นั้น ชนบทศูนย์กลางจักว่างเปล่า ชนบทชายแดนจักเป็นปึกแผ่นแน่นหนาเหมือนน้ำกลางสระโบกขรณีขุ่น น้ำที่ฝั่งรอบๆใส ฉันใด ก็ฉันนั้น

    ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๐ เถิดมหาบพิตร

    สุบินเรื่องที่ ๑๐ ข้าวไม่สุก 

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า พระองค์ได้เห็นข้าวสุก ที่คนหุงในหม้อใบเดียวกันแท้ๆ แต่หาสุกทั่วกันไม่ เป็นเหมือนผู้หุงตรวจดูแล้วว่า ไม่สุก เลยแยกกันไว้เป็น ๓ อย่าง คือ ข้าวหนึ่งแฉะ ข้าวหนึ่งดิบ ข้าวหนึ่งสุกดี  นี้เป็นสุบินที่ ๑๐ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นเหตุผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?

    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า

    ในกาลภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ดำรงในธรรม เมื่อพระราชาเหล่านั้นไม่ดำรงในธรรมแล้ว ข้าราชการก็ดี พราหมณ์และคฤหบดีก็ดี ชาวนิคมชาวชนบทก็ดี รวมถึงมนุษย์ทั้งหมด นับแต่สมณะและพราหมณ์จักพากันไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้เทวดาทั้งหลายก็จักไม่ทรงธรรม

    ในรัชกาลแห่งอธัมมิกราชทั้งหลาย ลมทั้งหลายจักพัดไม่สม่ำเสมอ พัดแรงจัดทำให้วิมานในอากาศของเทวดาสั่นสะเทือน เมื่อวิมานเหล่านั้นถูกลมพัดสั่นสะเทือน ฝูงเทวดาก็พากันโกรธ แล้วจักไม่ให้ฝนตก ถึงจะตก ก็จะไม่ตกกระหน่ำทั่วแว่นแคว้น มิฉะนั้น จักไม่ตกให้เป็นอุปการะแก่การใด การหว่านในที่ทั้งปวงจักไม่ตกกระหน่ำทั่วถึง แม้ในชนบท แม้ในบ้าน แม้ในตระพังแห่งหนึ่งทั่วถึง แม้ในสระลูกหนึ่งเหมือนกันกับในแคว้นฉะนั้น
 
    เมื่อตกตอนเหนือของตระพัง ก็จักไม่ตกในตอนใต้ เมื่อตกในตอนใต้ จักไม่ตกในตอนเหนือ ข้าวกล้าในตอนหนึ่งจักเสียเพราะฝนชุก เมื่อฝนไม่ตกในส่วนหนึ่ง ข้าวกล้าจักสมบูรณ์ ข้าวกล้าที่หว่านแล้วในขอบขันธสีมาของพระราชาพระองค์เดียวกัน จักเป็น ๓ สถาน ด้วยประการฉะนี้ เหมือนข้าวสุกในหม้อเดียวมีผลเป็น ๓ อย่าง

    ฉะนั้น ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุจะยังไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๑ ต่อไปเถิด มหาบพิตร

    สุบินเรื่องที่ ๑๑  แก่นจันทน์  

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นคนทั้งหลายเอาแก่นจันทน์มีราคาตั้งแสนกษาปณ์ ขายแลกกับเปรียงเน่า นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๑ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้เล่าพระเจ้าข้า ?

    มหาบพิตรแม้ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต ในเมื่อศาสนาของตถาคตเสื่อมโทรมนั่นแล ด้วยว่า

    ในกาลภายหน้า พวกภิกษุอลัชชีเห็นแต่ปัจจัยจักมีมาก พวกเหล่านี้จักพากันแสดงธรรมเทศนาที่ตถาคตกล่าวติเตียนความละโมบในปัจจัยไว้ แก่ชนเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ มีจีวร เป็นต้น จักไม่สามารถแสดงให้พ้นจากปัจจัยทั้งหลาย แล้วตั้งอยู่ในฝ่ายธรรมนำสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ มุ่งตรงสู่พระนิพพาน ชนทั้งหลายก็จะฟังความสมบูรณ์แห่งบทและพยัญชนะ และ สำเนียงอันไพเราะอย่างเดียวเท่านั้น แล้วจักถวายเอง และยังชนเหล่าอื่นให้ถวายซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวร เป็นต้น อันมีค่ามาก 
  
   ภิกษุทั้งหลายอีกบางพวก จักพากันนั่งในที่ต่างๆ มีท้องถนน สี่แยก และประตูวัง เป็นต้น แล้วแสดงธรรมแลกรูปิยะ มีเหรียญกษาปณ์ครึ่งกษาปณ์ เหรียญบาท เหรียญมาสก เป็นต้น โดยประการฉะนี้ ก็เป็นเอาธรรมที่ตถาคตแสดงไว้มีมูลค่าควรแก่พระนิพพานไปแสดงแลกปัจจัย ๔ และรูปิยะมีเหรียญกษาปณ์และเหรียญครึ่งกษาปณ์ เป็นต้น  จักเป็นเหมือนผู้คนเอาแก่นจันทน์มีราคาตั้งแสนไปขายแลกเปรียงเน่าฉะนั้น

     ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสสุบินที่ ๑๒ ต่อไปเถิดมหาบพิตร

   สุบินเรื่องที่ ๑๒  น้ำเต้าจม  

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นกะโหลกน้ำเต้าจมน้ำได้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า ?

    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตกาล 

    เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อม ในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ด้วยว่าในครั้งนั้นพระราชาทั้งหลาย จักไม่พระราชทานยศแก่กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ จักพระราชทานแก่ผู้ไม่มีสกุลเท่านั้น พวกนั้นจักเป็นใหญ่ อีกฝ่ายหนึ่งจักยากจน ถ้อยคำของพวกไม่มีสกุลดุจกะโหลกน้ำเต้า ดูประหนึ่งหยั่งรากลงแน่นในที่เฉพาะพระพักตร์พระราชาก็ดี ที่ประตูวังก็ดี ที่ประชุม อำมาตย์ก็ดี ที่โรงศาลก็ดี จักเป็นคำไม่โยกโคลง มีหลักฐานแน่นหนาดี 

    แม้ในสังฆสันนิบาต ( ที่ประชุมสงฆ์ ) เล่า ในกิจกรรมที่สงฆ์พึงทำและคณะพึงทำก็ดี ทั้งในสถานที่ดำเนินอธิกรณ์เกี่ยวกับบาตร จีวร และบริเวณ เป็นต้นก็ดี ถ้อยคำของคนชั่วทุศีลเท่านั้น จักเป็นคำนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ มิใช่ถ้อยคำของภิกษุผู้ลัชชี เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือนกาลเป็นที่จมลงแห่งกะโหลกน้ำเต้า แม้ด้วยประการทั้งปวง

    ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นต้นเหตุก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๓ เถิดมหาบพิตร

    สุบินเรื่องที่  ๑๓ ศิลาลอย  

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นศิลาแท่งทึบใหญ่ขนาดเรือนยอดลอยน้ำเหมือนดังเรือ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า ?

    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในกาลเช่นนั้นเหมือนกัน ด้วยว่า

    ในครั้งนั้น พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลาย จักพระราชทานยศแก่คนไม่มีสกุล พวกนั้นจักเป็นใหญ่ พวกมีสกุลจักตกยาก ใครๆจักไม่ทำความเคารพในพวกมีสกุลนั้น จักกระทำความเคารพในพวกที่เป็นใหญ่ฝ่ายเดียว ถ้อยคำของกุลบุตรผู้ฉลาดในการวินิจฉัย ผู้หนักแน่นเช่นกับศิลาทึบ จักไม่หยั่งลงดำรงมั่นในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระราชา หรือในที่ประชุมอำมาตย์ หรือในโรงศาล เมื่อพวกนั้นกำลังกล่าว พวกนอกนี้จักคอยเยาะเย้ยว่า พวกนี้พูดทำไม

   แม้ในที่ประชุมภิกษุ พวกภิกษุก็จักไม่เห็นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ผู้ควรทำความเคารพว่าเป็นสำคัญ ในฐานะต่างๆดังกล่าวมาแล้ว ทั้งถ้อยคำของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้น ก็จักไม่หนักแน่นมั่นคง จักเป็นเหมือนเวลาเป็นที่เลื่อนลอยแห่งศิลาทั้งหลายฉะนั้น

    ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๔ เถิด มหาบพิตร

    สุบินเรื่องที่ ๑๔ เขียดขยอกงู  

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นฝูงเขียดตัวเล็กๆ ขนาดดอกมะซาง วิ่งไล่กวดงูเห่าตัวใหญ่ๆ  กัดเนื้อขาดเหมือนตัดก้านบัวแล้วกลืนกิน นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๔ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า ?

    มหาบพิตร ผลแห่งแม้สุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคต ในเมื่อโลกเสื่อมโทรมดุจกัน ด้วยว่า

    ในครั้งนั้น พวกมนุษย์จะมีราคะจริตแรงกล้าชาติชั่ว ปล่อยตัวปล่อยใจ ตามอำนาจของกิเลสจักต้องเป็นไปในอำนาจแห่งภรรยา เด็กๆของตน ผู้คนมีทาสและกรรมกร เป็นต้นก็ดี สัตว์พาหนะมีโคกระบือ เป็นต้นก็ดี เงินทองก็ดี บรรดามีในเรือนทุกอย่างจักต้องอยู่ในครอบครองของพวกนางทั้งนั้น เมื่อพวกสามีถามถึงเงินทองโน้นๆว่าอยู่ที่ไหน หรือ ถามถึงจำนวนสิ่งของว่ามีที่ไหนก็ดี พวกนางจักพากันตอบว่า มันจะอยู่ที่ไหนๆก็ช่างเถิด กงการอะไรที่ท่านจะตรวจตราเล่า ท่านเกิดอยากรู้สิ่งที่มีอยู่และไม่มีอยู่ในเรือนของเราละหรือ แล้วจักด่าด้วยประการต่างๆ ทิ่มตำเอาด้วยหอกคือปาก กดไว้ในอำนาจดังทาสและคนรับใช้ ดำรงความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของตนไว้สืบไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือนเวลาที่ฝูงเขียดขนาดดอกมะซาง พากันขยอกกินฝูงงูเห่า ซึ่งมีพิษแล่นเร็วฉะนั้น

    ภัยนี้มีสุบินนี้เป็นเหตุก็จักไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสบอกนิมิตข้อที่ ๑๕ เถิด

    สุบินเรื่องที่ ๑๕   หงส์ทองล้อมกา  

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม ฉันได้เห็นฝูงพญาหงษ์ทอง  ที่ได้นามว่าทอง เพราะมีขนเป็นสีทอง พากันแวดล้อมกา ผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ เที่ยวหากินตามบ้าน อะไรเป็นผลแห่งพระสุบินนี้ พระเจ้าข้า ?

    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต ในรัชกาลของพระราชาผู้ทุรพลนั่นแหละ ด้วยว่าในภายหน้า

    พระราชาทั้งหลายจักไม่ฉลาดในศิลปะ มีหัสดีศิลปะ เป็นต้น ไม่แกล้วกล้าในการยุทธ ท้าวเธอจักไม่พระราชทานความเป็นใหญ่ให้แก่พวกกุลบุตรที่มีชาติเสมอกัน ผู้รังเกียจความวิบัติแห่งราชสมบัติของพระองค์อยู่ จักพระราชทานแก่พวกพนักงานเครื่องสรงและพวกกัลบก เป็นต้น ซึ่งอยู่ใกล้บาทมูลของพระองค์ พวกกุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติและโคตร เมื่อไม่ได้ที่พึ่งในราชสกุล มีชาติและโคตรทรามผู้ดำรงอิสริยยศ จักเป็นเหมือนฝูงพญาหงษ์ทองแวดล้อมเป็นบริวารกา

    ฉะนั้น
ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๖ ต่อไปเถิด มหาบพิตร

    สุบินเรื่องที่ ๑๖ เสือกลัวแพะ   

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใน กาลก่อนๆเสือเหลือง พากันกัดกินฝูงแกะ แต่หม่อมฉันได้เห็นฝูงแกะพากันไล่กวดฝูงเสือเหลือง กัดกินอยู่มุ่มม่ำๆ ทีนั้นเสืออื่นๆ คือ เสือดาว เสือโคร่ง เห็นฝูงแกะอยู่ห่างๆ ก็สะดุ้งกลัวถึงความสยดสยองพากันวิ่งหนีหลบเข้าพุ่มไม้และป่ารก ซุกซ่อนเพราะกลัวฝูงแกะ หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า ?

    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลแห่งพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า

   ในครั้งนั้น พวกไม่มีสกุลจักเป็นราชวัลลภ เป็นใหญ่เป็นโต พวกคนมีสกุลจักอับเฉาตกยาก ราชวัลลภเหล่านั้นพากันยังพระราชาให้ทรงเชื่อถือถ้อยคำของตน มีกำลังในสถานที่ราชการ มีโรงศาลเป็นต้น ก็พากันรุกเอาที่ดินไร่นาเรือกสวนเป็นต้น อันตกทอดสืบมาของพวกมีสกุลทั้งหลายว่า ที่เหล่านี้เป็นของพวกเรา เมื่อพวกผู้มีสกุลเหล่านั้นโต้เถียงว่า ไม่ใช่ของพวกท่าน เป็นของพวกเราแล้วพากันมาฟ้องร้องยังโรงศาลเป็นต้น พวกราชวัลลภก็พากันบอกให้เฆี่ยนตีด้วยหวายเป็นต้น จับคอไสออกไป พร้อมกับข่มขู่คุกคามว่า พ่อเจ้าไม่รู้ประมาณตน มาหาเรื่องกับพวกเรา เดี๋ยวจักไปทูลพระราชา ให้ลงพระราชอาญาต่างๆ มีตัดตีน ตัดมือ เป็นต้น พวกผู้มีสกุลกลัวเกรงพวกราชวัลลภ ต่างก็ยินยอมให้ที่ทางที่เป็นของตนว่า ที่ทางเหล่านี้ถ้าเป็นของท่านก็เชิญครอบครองเถิด แล้วพากันกลับบ้านเรือนของตน นอนหวาดผวาไปตามๆกัน 

    แม้ภิกษุผู้ชั่วช้าทั้งหลายเล่า ก็จักพากันเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักตามชอบใจ พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้นไม่ได้พำนัก ก็พากันเข้าป่าแอบแฝงอยู่ในที่รกๆ ข้อที่กุลบุตรผู้มีชาติสกุลทั้งหลาย และภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักทั้งหลาย ถูกคนชาติชั่ว และถูกภิกษุผู้ลามกทั้งหลาย เข้าไปประทุษร้ายอย่างนี้ จักเป็นเหมือนกาลที่พวกเสือดาว และเสือโคร่งทั้งหลาย พากันหลบหนีและกลัวฝูงแกะฉะนั้น

    ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร

   พระโพธิสัตว์ทำนายพระสุบินพระเจ้าพรหมทัต  

    จากนั้นพระพุทธเจ้าตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ที่ทรงฝันนั้นเป็นเรื่องในอนาคตทั้งนั้น แต่พวกพราหมณ์มิได้ทำนายด้วยความจงรักภักดี มิได้ทำนายตามที่ถูกที่ควร แต่ทำนายไปเพราะอาศัยการเลี้ยงชีพ

    ตรัสต่อไปว่า และที่ทรงฝันแบบนี้ก็เคยมีพระราชาฝันมาก่อนแล้ว และพวกพราหมณ์ ก็ถือเอาสุบินเหล่านี้ นับเข้าในยอดยัญพิธีอย่างนี้เหมือนกัน แต่มีบัณฑิตกราบทูลให้ถามพระโพธิ์สัตว์ ซึ่งท่านก็ทำนายเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทูลอาราธนา ให้ทรงเล่ารายละเอียดให้ฟัง พระพุทธเจ้าจึงทรงเล่าความโดยสรุปว่า

   ในอดีตกาลนานมาก ในสมัยที่พระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์กำเนิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ เจริญวัยแล้วบวชเป็นฤาษี บำเพ็ญเพียรจนได้อภิญญา และได้ประลองฌานอยู่ในหิมวันตประเทศ ตอนนั้น ณ พระนครพาราณสี พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นพระสุบินแบบพระเจ้าปเสนทิโกศลเหมือนกัน จึงมีพระราชดำรัสถามพวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ก็แนะนำให้บูชายัญอย่างนี้เหมือนกัน

   แต่บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น ท่านปุโรหิตมีศิษย์เป็นบัณฑิตฉลาดมาก มาณพน้อยนั้นถามอาจารย์ว่า คัมภีร์พระเวทที่ทั้ง ๓ ท่านให้ผมเรียนจนจบแล้วทั้ง ๓ คัมภีร์นั้น ข้อที่ว่า การฆ่าคนหนึ่งแล้วทำให้เกิดความสวัสดีแก่อีกคนหนึ่ง ไม่มีเลยมิใช่หรือ ขอรับ ?
       
   ท่านอาจารย์ตอบว่า พ่อคุณ ด้วยอุบายเรื่องบูชายัญนี้ จะทำให้เราได้ทรัพย์จำนวนมากส่วนเจ้านี่ท่าทางอยากจะรักษาพระราชทรัพย์ กระมัง ? มาณพฟังแล้วจึงกล่าวว่า อาจารย์ครับ ถ้าเช่นนั้น พวกท่านก็ทำงานของพวกท่านไปเถิด กระผมจะทำอะไรในสำนักของพวกท่านได้ ว่าแล้วก็เดินเรื่อยไปจนถึงพระราชอุทยาน
     
    ในวันนั้นเองพระบรมโพธิสัตว์รู้เรื่องเพราะมีอภิญญา ก็คิดว่า วันนี้จะไปเมืองมนุษย์ ไปช่วยคนสักหน่อย  คิดแล้วจึงเหาะมาทางอากาศ มาลงที่อุทยาน แล้วนั่งเหนือแท่นศิลาอันเป็นมงคล ดูงดงามราวกับรูปที่หล่อด้วยทอง  มาณพมาเห็นเข้า ก็เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ท่านจึงถามว่า เป็นอย่างไรเล่าหนอพ่อมาณพ พระราชายังจะเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ ?
    
    มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระราชาก็ทรงดำรงธรรมดีอยู่หรอก แต่ว่าพวกพราหมณ์กำลังชักจูงพระองค์ให้ไปผิดทาง พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสบอกแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ก็แนะนำให้ต้องบูชายัญ แล้วรีบเตรียมการทันที แล้วก็ขอร้องให้พระโพธิสัตว์ช่วยแนะนำทางที่ถูกให้พระราชา
    
    พระโพธิ์สัตว์จึงกล่าวว่า พ่อมาณพ เราเองก็ไม่รู้จักพระราชา พระราชาเล่าก็มิได้ทรงรู้จักเรา ถ้าพระองค์เสร็จมาถาม ณ ที่นี้ เราถึงจะบอกแก่พระองค์ได้ มาณพจึงกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจักนำพระองค์เสด็จมาเอง ขอพระคุณเจ้าได้โปรดนั่งรอสักครู่หนึ่ง นะขอรับ แล้วก็รีบไปสู่เฝ้าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า มีดาบสผู้เที่ยวไปในอากาศได้องค์หนึ่งลงมาในอุทยานของพระองค์ กล่าวว่า จักทำนายผลของพระสุบินที่พระองค์ทรงเห็น กำลังรอพระองค์อยู่

    พระราชาทรงสดับคำของมาณพนั้น ก็รีบเสด็จไปพระอุทยานพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมากทันที ทรงไหว้พระดาบสพระ โพธิสัตว์แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง มีพระดำรัสถามเรื่องที่ทรงสุบิน ซึ่งเหมือนกับพระเจ้าปเสนทิโกศลทุกอย่าง พระโพธิสัตว์ก็ทำนายผลแห่งสุบินเหล่านั้นแบบเดียวกับที่พระศาสดาทรง ทำนาย      
     
    อรรถาธิบายในครั้งนั้นมีความโดยย่อดังนี้ คือ    

    ดูก่อนมหาบพิตร ผลแห่งพระสุบินเหล่านั้น มีดังนี้ การบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าพระสุบินเหล่านั้นดำเนินไปผิดหลักเกณฑ์ เป็นไปอย่างผิดตรงกันข้าม ความเสื่อมจากความจริง เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ผลแห่งสุบินเหล่านี้จักมีในช่วงเวลาที่โลกถึงจุดเสื่อม คือ

    “ ในกาลที่ ต่างถือเอาข้อที่ มิใช่เหตุว่าเป็นเหตุ
    ในกาลที่ ทิ้งเหตุเสียว่า มิใช่เหตุ
    ในกาลที่ ถือเอาที่ไม่จริง ว่าเป็นจริง
    ในการที่ ละทิ้งข้อที่จริงเสีย ว่าไม่เป็นจริง
    ใ
นกาลที่ พวกอลัชชีมีมากขึ้น และ ในกาลที่ พวกลัชชีลดน้อยถอยลง  ยังไม่มีในยุคนี้
       
    หมายความว่า ผลของพระสุบินเหล่านี้ยังไม่มีในรัชกาลของมหาบพิตร หรือ ในศาสนาของตถาคตนี้ ในยุคนี้ เพราะเหตุนั้นการบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าผลแห่งพระสุบินเหล่านี้จึงเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน เลิกการบูชายัญนั้นเสียเถิด ภัยหรือความสะดุ้งอันมีพระสุบินนี้เป็นเหตุ ยังไม่มีแก่มหาบพิตร
  
    พระมหาบุตรทำให้พระราชาเบาพระทัย ช่วยมหาชนจากการถูกจองจำแล้ว ก็กลับเหาะขึ้นอากาศ ถวายโอวาทแด่พระราชา ชักจูงให้ดำรงมั่นในศีล ๕ แล้วถวายพระพรว่า ตั้งแต่บัดนี้ต่อไปมหาบพิตรอย่าได้ร่วมคิดกับพราหมณ์บูชายัญ ที่มีชื่อว่า ปสุฆาตยัญ (ยัญฆ่าสัตว์) อีกต่อไป ครั้นแสดงธรรมแล้วกลับไปที่อยู่ของตนทางอากาศนั่นแล ฝ่ายพระราชาตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรงทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม

    พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเลิกบูชายัญ ด้วยพระพุทธดำรัสว่า เพราะภัยที่จะเกิดจากพระสุบินนั้นยังไม่มีแก่มหาบพิตรดอก มหาบพิตรจงสั่งให้เลิกยัญเสีย พระราชทานชีวิตทานแก่มหาชน
   แล้วทรงสื่ออนุสนธิประชุมชาดก ว่าพระราชาในครั้งนั้นได้มาเป็นพระอานนท์ในครั้งนี้ มาณพได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนพระดาบสได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล ก็แลครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย ยกบททั้ง ๓ มีอสุภาเป็นอาทิ ขึ้นสู่อรรถกถากล่าวบททั้ง ๕ มี ลาวูนิ เป็นอาทิ ยกขึ้นสู่บาลีเอกนิบาตด้วยประการฉะนี้.

  ข้อมูล 
»    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก เอกกนิบาตชาดก วรุณวรรค มหาสุบินชาดก
 
เรื่องที่เกี่ยวข้อง  » พุทธทำนายฉบับร้อยกรอง

  ความเห็นส่วนตัวที่ได้รับหลังจากการอ่านพุทธทำนาย 

    ผู้เขียนเองลองนึกๆดูหลังจากที่ได้อ่านพุทธทำนายแล้ว โดยส่วนตัวนึกไปถึงภาพการเคลื่อนของโลกหลัง จากพุทธกาลมา คือ มีการเปลี่ยนแปลงที่มีเนื้อหาตามพุทธทำนายที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในภาพรวมของโลกเรา ไม่ว่าจะเป็นการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อต่างๆ

    เราเห็นการไหลเลื่อนจากยุคราชาธิปไตย เราเห็นกษัตริย์ที่ดี กับ กษัตริย์ที่เหลิงลมในอำนาจ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การปฏิวัติ กบฏต่างๆมากมาย จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ยุคล่าอาณานิคม เกิดแนวคิดเรื่อง สังคมนิยม ทุนนิยม คอมมิวนิสต์ ประชาธิปไตย เผด็จการ ยุคสงครามเย็น สงครามโลก ไปจนถึงสงครามในประเทศตะวันออกกลาง ฯลฯ มาจนถึงยุคโลกาภิวัฒน์ โลกแห่งทุนนิยมเต็มรูปแบบ ที่มาควบคู่กับเทคโนโลยีโดยเฉพาะสงครามข้อมูลข่าวสาร

    การเคลื่อนของปรากฏการณ์สำคัญส่ง ผลต่อวิถีชีวิตของคน วิธีคิด องค์ความรู้ต่างๆโดยตรง การเคลื่อนของสิ่งต่างๆเหล่านี้นับวันจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ตามพุทธดำรัสในตอนท้ายซึ่งสรุปไว้อย่างครอบคลุมและชัดเจนว่า
 
    ในกาลที่ ต่างถือเอาข้อที่ มิใช่เหตุว่าเป็นเหตุ
    ในกาลที่ ทิ้งเหตุเสียว่า มิใช่เหตุ
    ในกาลที่ ถือเอาที่ไม่จริง ว่าเป็นจริง
    ในการที่ ละทิ้งข้อที่จริงเสีย ว่าไม่เป็นจริง
    ในกาลที่ พวกอลัชชีมีมากขึ้น และ ในกาลที่ พวกลัชชีลดน้อยถอยลง

    แม้ว่าในยุคนี้จะยังไปไม่ถึงสภาวะดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็พอมองเห็นเค้าลางดังกล่าวในบางส่วน จากหลายๆปรากฏการณ์

    การเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ 

    เราจะพบวลีว่า พระราชาผู้มิได้ครองราชย์โดยธรรม และในกาลของหมู่มนุษย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ปรากฏอยู่หลายแห่งในพุทธทำนายนี้ ส่วนตัวตีความไปถึง ผู้ปกครองในระบอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์ นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดี  หรือผู้เผด็จการ ซึ่งถ้าผู้นำหรือผู้ปกครองเหล่านี้ ไม่เป็นนักปกครองที่ดี ไม่มีคุณธรรมก็ล้วนแต่ส่งผลถึงความหายนะต่างๆตามมาเสมอ

    รวมถึงพลเมืองทุกระดับชั้นทุกสาขาอาชีพ ทุกชาติ เมื่อถึงจุดที่องค์ความรู้ที่แท้เคลื่อนไป ย่อมนำพาทุกข์มาสู่ตน หรือที่หนักกว่านั้นคือ แม้ทุกข์ก็ไม่รู้ว่านั่นคือทุกข์ การไม้รู้ทุกข์ยิ่งยากจะมองเห็นเหตุแห่งทุกข์ และยิ่งเป็นไปไม่ได้ถ้าจะหาหนทางดับทุกข์ได้อย่างถูกต้อง

    การเคลื่อนของกลไกทางเศรษฐกิจ มีผลต่อการเคลื่อนของค่านิยม การใช้ชีวิต การมองโลก การผลิตและการบริโภค การเคลื่อนเหล่านี้ล้วนกระทบต่อความปกติ หรือ ธรรมชาติ หรือ ความเป็นจริง ทั้งภายในและที่แวดล้อมตัวมนุษย์ ผลักดันให้การเคลื่อนดำเนินไปเรื่อยๆเพื่อให้ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

    การเคลื่อนของความรู้ที่แท้ในหลายๆด้าน เมื่อเดินทางจนถึงจุดเสื่อมสุด หรือ จุดที่ไม่อาจจะเคลื่อนต่อไปได้ ภัยธรรมชาติ ภัยจากการขาดแคลนอาหารจะบังเกิดไปทั่ว  (พระสุบินที่๑) และสิ่งนั้นอาจจะเป็นปลายทางหรือบทที่สุดของการเคลื่อนทั้งมวลก็อาจเป็นได้

    นึกถึงคำพูดของฝรั่งคนหนึ่งที่เขายกย่องกันว่าเป็นอัลเบิร์ต ไอนไสตน์ยุคปัจจุบัน เขาว่าไว้ถ้าจำไม่ผิดนะ เขาว่ามนุษย์จะสูญพันธ์ แต่คงอีกหลายร้อยปีมั้ง ถ้าจริงก็อย่าได้บังเอิญไปเกิดช่วงนั้นแล้วกัน ลำบากตาย

    โลกจักเสื่อม แว่นแคว้นจักหมดความหมาย วลีนี้น่าคิด นึกถึงช่วงล่าอาณานิคม ช่วงสงครามโลก ยุคสงครามเย็น สังคมนิยม ทุนนิยม คอมมิวนิสต์ คล้ายๆกันกับพระสุบินที่ ๘  คอมมิวนิสต์นี่ทำเท่าไหร่เป็นของรัฐ ทุนนิยมนี่ทำเท่าไหร่ผลประโยชน์หลักไปอยู่ที่นายทุน ยิ่งตุ่มใหญ่ทุนมากก็ยิ่งมีคนเอาน้ำไปเติมมาก ทั้งในรูปของการขยายกิจการ ในรูปของการบริโภค ก็ยิ่งได้ผลกำไรมาก อย่างนี้ เป็นต้น  คนจนคนรวยจะยิ่งมีช่องว่างห่างออกไปเรื่อยๆ

    การบังคับบัญชา การบริหารอะไรต่างๆนับวันจะยึดมั่นกับดีกรีต่างๆ และคนก็อายุน้อยลง ประสบการณ์ซึ่งมาพร้อมกับอายุได้รับการยอมรับน้อยลง เราเห็นการฉ้อราษฎร์บังหลวง การรีดส่วย การแต่งตั้งที่ไม่เป็นธรรมในทุกระบอบการปกครอง (พระสุบินที่๔ ๕ ๙ ๑๒ ๑๕)

    เมื่อการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจเคลื่อนไป การศึกษาซึ่งเป็นกระบวนการสร้างองค์ความรู้ที่แท้ ก็เคลื่อนไปด้วย  การ เปลี่ยนแปลงนั้นเป็นธรรมดาของโลก แต่การเปลี่ยนแปลงที่เคลื่อนไปสู่ความขัดแย้งกับสภาวะทางธรรมชาติที่เป็น ปกติ  ความไม่ปกติจึงเกิดขึ้น การเคลื่อนไปเหล่านั้นกลับมิได้แก้ที่เหตุอันเป็นปัจจัยของปัญหาอย่างแท้ จริง ความเสื่อมย่อมกระเทือนไปทั่วองคาพยพ และต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ไปตามการเคลื่อนของธรรมชาติที่รับผลกระทบจากการเคลื่อนทั้งหมดโดยตรง

    สรุปแล้ว เพราะมนุษย์และธรรมชาติไม่อาจแยกจากกัน ต่างก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกัน การเคลื่อนของการดำรงอยู่ทั้งมวลของมนุษย์จึงกระทบต่อการเคลื่อนของธรรมชาติ เช่นกัน และการเคลื่อนของธรรมชาติก็ย้อนกลับมาสู่การเคลื่อนของมนุษย์เป็นวัฎจักรที่ ไม่รู้จบ

  สังคม 

   จากพระสุบินที่ ๒ จะเห็นว่าเด็กหญิงจะมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น อันนี้เราพอมองเห็นเค้าแล้วในยุคนี้ ตกเขียวเด็กเป็นโสเภณีเด็ก ล่อลวง ฉุด ข่มขืนเด็ก รวมไปถึงเด็กที่อยากรู้อยากลอง เคลื่อนตามแฟชั่นและความเชื่อแบบใหม่ที่เคลื่อนเข้ามา เสพกามกันตั้งแต่ยังไม่มีประจำเดือน หน้าอกยังโตไม่เต็มที่ก็มี พวกที่มีประจำเดือนแล้ว ก็อาจพลาดพลั้งตั้งครรภ์ ตามมาด้วยการคลอดแล้วทิ้ง คลอดแล้วเลี้ยงดูไม่เป็น ทำแท้ง

   จากพระสุบินที่ ๓ มองไปถึงว่าระยะหลังแนวคิดแบบตะวันตกสมัยใหม่เคลื่อนกระจายไปทั่ว และเคลื่อนตัวเข้าแทนที่ ความเชื่อเกี่ยวกับการอ่อนน้อมถ่อมตน การถืออาวุโส การเคารพผู้หลักผู้ใหญ่  พ่อแม่สามารถจะขอโทษลูกตัวเองได้ หรือต้องขอโทษในบางกรณี อันนี้เป็นการเคลื่อนอย่างหนึ่งเหมือนกันในความเห็นส่วนตัว

    พ่อแม่บางส่วนระยะหลังให้ลูกทำมาหากินตั้งแต่เล็ก ขายลูกเป็นขอทาน ขายลูกเป็นโสเภณี ให้ลูกขายพวงมาลัยตามสี่แยก เด็กแบเบาะทำมาหากินได้ด้วยการถ่ายโฆษณา ไล่อายุขึ้นไปถึงเป็นนักร้องนักแสดง การพึ่งพาพ่อแม่ลดน้อยถอยลงไปตามลำดับ  บางคนแยกไปอยู่คอนโดฯ ในต่างประเทศก็เห็นแบบนี้ไม่น้อย

    ผู้หญิงจะมีบทบาทมากขึ้น ขณะเดียวกันจะหมกมุ่นในกามมากขึ้น ใช้กายอันเป็นเครื่องเย้ายวนทางเพศมากขึ้น  จะเห็นว่าศีลข้อที่สามมีการเคลื่อนมากพอๆกับศีลข้ออื่นๆ เช่น การพูดปดทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ และทางแห่งอบายภูมิอีกมากมาย เช่น การพนัน การปั่นหุ้น กลายเป็นทางที่ยอมรับได้ สิ่งที่ก่อให้เกิดความไม่ปกติเหล่านี้ กลับภาพเป็นความปกติ และ จะเคลื่อนต่อไปเรื่อยๆ

    สภาพการเคลื่อนของสังคม เมื่อผสานกับการเคลื่อนของการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจทำให้ความเชื่อต่างๆ"เคลื่อน"ไปด้วย น้ำเต้าจึงถอยจม แท่งศิลาจึงลอยได้  เพราะความเชื่อเป็นจุดเริ่มของความคิด และความคิดเป็นแรงขับเคลื่อนของการกระทำ

  พระพุทธศาสนา 

    การเคลื่อนจะบังเกิดแม้แต่กับพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ คำสอนเพื่อความหลุดพ้น จะถูกบิดเบือน หรือ ถูกมองข้าม ธรรมเทศนาเพื่อการหลุดพ้นจะเคลื่อนไป แต่ธรรมเทศนาเพื่ออามิสปัจจัยต่างๆจะเคลื่อนมาแทน พระสงฆ์ที่ปฏิบัติชอบเพื่อการหลุดพ้นจะไม่ได้รับความสำคัญ แต่พระสงฆ์ที่พูดจาดี เขียนเก่ง ใช้ภาษาสละสลวย จะได้รับการยอมรับ ธรรมเทศนาจะถูกนำมาแลกค่ากับทรัพย์สินเงินทอง อย่างนี้เป็นต้น

    การเคลื่อนของพระพุทธศาสนา กับ การเคลื่อนของการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจจึงล้วนสัมพันธ์กัน

    สรุปแล้วทั้งหมดทำให้คิดว่า เป็นการเคลื่อนของวัฎจักรที่มีเหตุปัจจัย บุคคลที่มีวาสนาได้คิดและเข้าใจการเคลื่อนเหล่านั้น และ เร่งรีบปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นจากการเคลื่อน ที่กำลังดำเนินอยู่และจะเข้มข้นขึ้นในภายหน้า จึงนับว่าโชคดีอยู่มากทีเดียว.

    หมายเหตุ    บทความช่วงท้ายข้างต้นไม่ใช่การตีความพุทธทำนาย แต่เป็นความคิดต่อยอดออกไปส่วนตัว เมื่ออ่านพุทธทำนายเท่านั้น ถ้าจะมีความผิดพลาดใดๆก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้
 
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden