yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - 96 พุทธศาสนสุภาษิต
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง
                                        พุทธศาสนสุภาษิต

พุทธศาสนสุภาษิต มีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเนื้อความสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้ผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักธรรมประจำใจ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ ในแนวทางที่ถูกที่ควร ตรงทาง อันจะนำไปสู่ความสุข ความเจริญงอกงามในชีวิตของตน แล้วยังเป็นการเสริมสร้างสันติสุข ในสังคมโลกอีกด้วย

   อัตตวรรค - หมวดตน

• ตนทำบาปเองย่อมเศร้าหมองเอง
• จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น

   อัปปมาทวรรค - หมวดไม่ประมาท

• ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อันประเสริฐสุด
• ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
• ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
• คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้งคนนั้น เหมือนม้า   ฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น

   กัมมวรรค - หมวดกรรม

• กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคคติ
• ความดี อันคนดีทำง่าย
• ความดี อันคนชั่วทำยาก
• ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี
• ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
• สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้
• ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
• ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า
• บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
• ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า
• เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
• ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ)หักไม้กุ่ม ฉะนั้น
• ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ ฉะนั้น
• สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข

   กิเลสวรรค - หมวดกิเลส

• บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้ว ย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม
• ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา
ความร่าเริง การเล่น และเมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย
• พราหมณ์ พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ
ปลายหวาน เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
• โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น
• บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) ทุกข์ทั้งหลาย
ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
• โลกถูกความอยากผูกพันไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก
เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้
• ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ ฉะนั้น
• โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในความทุกข์
• ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
• ผู้ใดไม่กังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้น
เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้

  โกธวรรค - หมวดโกรธ

• ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
• ความโกรธก่อความพินาศ
• ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น
• ความโกรธทำจิตให้กำเริบ
• ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข

ความ โกรธ คือ ความกราดเกรี้ยว ขุ่นมัว ฉุนเฉียว ที่เกิดขึ้นแก่จิต เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วหน้าตาทมึงตึง ย่อมจะเป็นคนดุร้าย ทำความพินาศให้แก่ตนเอง และผู้อื่น ทำให้เสื่อมลาภ ยศ และทรัพย์สิน ดังนั้น จงตัดมันเสียด้วยการเจริญขันติธรรม และเมตตาธรรม จึงจะอยู่เป็นสุข หน้าตาผ่องใส เป็นที่รักและเคารพของผู้อื่น เจริญยศ เจริญลาภ และทรัพย์สมบัติ ได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

• ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย
• คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
• ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
• ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
• ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้
• พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ

   ขันติวรรค - หมวดอดทน

• ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน
• ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น
ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะ เลาะกันได้
• ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
และผู้มีขันติ ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง
• ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญเพราะขันติเท่านั้น
• ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร
ขันติเป็นกำลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้
• ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่จะประเสริฐล้วนก็ดี ขันติและโสรัจจะก็ดี
จะเป็นผู้เย็นสนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้าง (ด้วยน้ำ)
• เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้
(เพราะ) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังนั้น ย่อมสงบระงับ

   จิตตวรรค - หมวดจิต

• จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้
• จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
• ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก
• พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน
• ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
• โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน
ส่วนจิตตั้งไว้ผิด พึงทำให้เขาเสียหายยิ่งกว่านั้น
• มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้
ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น
• ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด
บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น
• โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป
สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว
• ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่
ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา

  ชยวรรค - หมวดชนะ

• ผู้ชนะย่อมก่อเวร
• การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง
• รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
• ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
• ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
• ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี
• พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ

   ทานวรรค - หมวดทาน

• เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อยย่อมไม่มี
• การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ
• คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
• ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
• ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
• ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข
• ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
• เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศ บุญอันเลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และ กำลังอันเลิศ ก็เจริญ
• ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ ในภพที่ตนเกิด
• ให้ทานเป็นต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้ เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย
• ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ
• ผู้ให้ข้าวชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณ
ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ
• ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ แต่ให้ทานในคนที่ควรให้ เมื่อประสบปัญหา ย่อมได้พบผู้ช่วยเหลือ

   ทุกขวรรค - หมวดทุกข์

• สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
• ความจน เป็นทุกข์ในโลก
• การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก
• คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์
• ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
• ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
• การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์
• การพบเห็นสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
• ธัมมวรรค - หมวดธรรม
• ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม
• ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้
• ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
• ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ
• ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป
• พึงประพฤติธรรมให้สุจริต
• เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้
• ชนใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้นจักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก
• ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์
ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม ๓ อย่าง
• จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง
จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง)พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว
• ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีความเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
• เรา (ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย
นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง

   ปัญญาวรรค - หมวดปัญญา

• ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
• ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐ สุด
• คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
• คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่น

   ปาปวรรค - หมวดบาป

• ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน
• แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด
คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วยบาปฉันนั้น
• ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้
ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น
• ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อยมีทรัพย์มาก
เว้นหนทางที่มีภัย และเหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น

   ปุญญวรรค - หมวดบุญ

• บุญอันโจรนำไปไม่ได้
• บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต
• ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
• บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า
• ผู้ทำบุญแล้วย่อมยินดีในโลกนี้
ตายแล้วย่อมยินดีชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง
เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติย่อมยินดียิ่งขึ้น
• ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
• ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อยจักไม่มีมาถึง
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด
ผู้มีปัญญาสั่งสมบูญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น

   ปุคคลวรรค - หมวดบุคคล

• ชื่อว่าบัณฑิต ย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล
• บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง
• บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
• ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
• คนฉลาดย่อมละบาป
• คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ
• ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ
• สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์
• สัตบุรุษมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
• กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหอมทวนลมได้
• คนซึ่งรู้สึกตนว่าโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง
• อสัตบุรุษย่อมไปนรก
• ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
• ผู้เคารพย่อมมีผู้เคารพตอบ
• ผู้ไหว้ย่อมได้รับไหว้ตอบ
• ผู้กินคนเดียวไม่ได้ความสุข
• คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
• คนแข็งกระด้างก็มีเวร
• มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร
• มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์(ของบุตร)
• สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี
• บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟัง เป็นผู้ประเสริฐ
• บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
• ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้
• เมื่อเขาขอโทษ ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง โกรธจัด ไม่ยอมรับ ผู้นั้นชื่อว่า หมกเวรไว้
• ผู้ที่มีมารดาบิดาเลี้ยงมาได้โดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดา ย่อมเข้าถึงนรก
• ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ
เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
• ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน
แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น
• ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ด้วยกรรมดี
ผู้นั้นย่อมยังโลกให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆ
• บุคคลนั่งหรือนอน (อาศัย) ที่ร่มเงาต้นไม้ใด
ไม่ควรรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม
• ผู้ใดย่อมเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม
บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์

   มัจจุวรรค - หมวดมฤตยู

• ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด
• ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
• ทั้งคนมีคนจน ล้วนมีแต่ความตายเป็นเบื้องหน้า
• ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด
ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
• ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโค ไปสู่ที่หากินด้วยพลองฉันใด
ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปฉันนั้น
• ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด
สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น
• กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำความสุขมาให้

   มิตตวรรค - หมวดมิตร

• มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน
• สหายเป็นมิตรของผู้มีความต้องการเกิดขึ้นเนือง ๆ
• ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง
• ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวแท้
• ภรรยาเป็นเพื่อนสนิท
• ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล
• ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา

   วาจาวรรค - หมวดวาจา

• เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ
• วาจาเช่นเดียวกับใจ
• คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
• คนโกรธมีวาจาหยาบ
• ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ
• ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
• ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นย่อมเก็บโทษด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษนั้น

   วิริยวรรค - หมวดความเพียร

• คนขยันย่อมไม่พร่าประโยชน์ชั่วตามกาล
• คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
• ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย
• คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ยิ่งเสื่อม
• ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่า
• ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย
และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย
แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี
• ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว
ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก

   สีลวรรค - หมวดศีล

• ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา
• ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน
• ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
• ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
• ศีลเป็นสะพานอันสำคัญ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า
ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐสุด เพราะศีล (มีกลิ่น)ขจรไปทั่วทุกทิศ

   สุขวรรค - หมวดสุข

• ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง
• ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก
• ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบไม่มี
• นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
• จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล
• ผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข
• ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนำสุขมาให้

  เสวนาวรรค - หมวดคบหา

• เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา
• เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักกันก็มักหน่าย
• คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้น
• อยู่ร่วมกับคนพาลนำทุกข์มาให้เสมอไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู
• ผู้คบคนเลวย่อมเลวลง
• สมาคมกับคนพาลนำทุกข์มาให้
• สมาคมกับสัตบุรุษนำสุขมาให้
• ผู้ไม่คบคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว
• ควรระแวงในศัตรู
• แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
• ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป
• ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
• คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้
แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น
• คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา
แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น
• บัณฑิตพึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก
มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ
• บุคคลควรคบผู้เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นผู้ไม่เลื่อมใส
ควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้เลื่อมใส เหมือนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำฉะนั้น

   ปกิณณกวรรค - หมวดเบ็ดเตล็ด

• ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
• ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
• กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
• โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
• ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก
• ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
• ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
• เมื่อรากยังมั่นคงไม่มีอันตราย ต้นไม้แม้ถูกตัด แล้วย่อมงอกได้อีกฉันใด
เมื่อตัณหานุสัยยังไม่ถูกกำจัดแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดร่ำไปฉันนั้น
• การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
 
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden