มหาสติปัฏฐานสี่
ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย...
ทางนี้เป็นทางสายเอก เป็นที่ไปของบุคคลผู้เดียว
เพื่อความบริสุทธิ์หมดจด วิเศษยิ่ง ของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อที่ก้าวล่วงพ้นไปจากความโศก ความร่ำไร
เพื่อความดับทุกข์และโทมนัส คับแค้นใจ น้อยใจ
เพื่อที่จะบรรลุธรรม อันจะนำพาสัตว์ทั้งหลาย
ให้หลุดพ้นออกไปจากวัฏฏสงสาร
เพื่อที่จะกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
หนทางนี้คือ
มหาสติปัฏฐานสี่
มหาสติปัฏฐาน ๔ คืออะไรบ้าง
ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็น กายในกาย อยู่เนืองๆ
พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา อยู่เนืองๆ
พิจารณาเห็น จิตในจิต อยู่เนืองๆ
พิจารณาเห็น ธรรมในธรรม อยู่เนืองๆ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดความยินดียินร้ายในโลกให้พินาศ
อานิสงส์ของการเจริญมหาสติ ปัฏฐาน ๔
ผู้เจริญมหาสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ วัน... ๗ เดือน... ๗ ปี ย่อมหวังผล ๒ ประการ อันใดอันหนึ่ง คือ บรรลุพระอรหันต์ในปัจจุบันชาติ หรือ บรรลุเป็นพระอนาคามี ในปัจจุบันชาติ ถ้ายังมีความยึดมั่นเหลืออยู่
คำอธิบาย
กายนอก คือ มหาภูติรูปทั้ง ๔ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นรูปหยาบ
กายใน คือ ขันธ์ ๕ เกิด-ดับ เป็นรูปละเอียด ซ้อนอยู่ในกายอีกที ขณะเคลื่อนไหวร่างกาย หงายมือจะมีความรู้สึก วุ้บๆ อุ่นๆ ร้อนๆ เป็นสภาวธรรมเกิด-ดับ อยู่ภายใน
เวทนานอก เกิดจากการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อรับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทางกาย และความคิดนึก จะเกิดความรู้สึกพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง เฉยๆบ้าง
เวทนาใน คือ เห็นขันธ์ ๕ เกิด-ดับ ในความรู้สึกนั้นขณะกระทบ
จิตนอก คือ จิตที่ประกอบด้วยอารมณ์ราคะ โทสะ โมหะ หรืออื่นๆ
จิตใน คือ วิญญาณ เกิด-ดับ รับรู้อารมณ์อยู่ทุกขณะ
ธรรมนอก คือ ธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หรือแม้แต่ความคิดที่พิจารณาธรรม เป็นธรรมสมมุติ
ธรรมใน สภาวธรรมที่เกิดจากการที่เราดูจิต
ก่อน ที่กระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้ทุกคนอยู่ในความไม่ประมาท .. ทำไม ถึงให้อยู่ในความไม่ประมาท? เพราะที่สุดแล้ว แม้แต่ร่างกาย สังขารนี้ ก็เอาไปไม่ได้
พระพุทธเจ้าเห็นตามความเป็นจริงจากภายในออกภายนอก เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดนั้นไม่มีที่จักจบจักสิ้น ทุกคนล้วนเอาอะไรไปไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสสั่งสอนให้พุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ได้เจริญให้มาก ได้กระทำให้มาก ซึ่งมหาสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล สัทธรรมของพระองค์ ถึงจะได้ไม่เสื่อม ในเมื่อพระพุทธองค์จะทรงปรินิพพานไปแล้ว
มหา สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายอยู่เนืองๆ พิจารณาเห็น เวทนาใน เวทนาอยู่เนืองๆ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เนืองๆ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่เนืองๆ ให้มีอาตาปี คือ มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน สัมปชาโนคือสัมปชัญญะ สติมา ให้มีสติ เพื่อกำจัดอภิชฌา โทมนัส คือ ความยินดียินร้ายออกจากโลกให้พินาศ
พวกเราสังเกตดีๆ พระพุทธเจ้าที่สั่งสอนไว้ คือ ให้พุทธบริษัท ๔ คือพวกเรานั่นแหละ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ได้เจริญให้มาก ได้กระทำให้มาก ซึ่งมหาสติปัฏฐาน ๔
พวกเราต้องมีสามัคคี ปรองดอง จากจิตภายใน ที่พระพุทธเจ้า ได้สอนไว้ คือ มีดวงจิตเป็นที่เกาะจากภายใน พระพุทธเจ้าสอนให้เห็น ปรมัตถธรรม สอนให้ปฏิบัติ ปริยัติ เป็นสอง สังเกตดูดีๆนะ พระพุทธเจ้าสอนให้เห็น การเกิดดับ จากภายใน ให้เห็นใน มหาสติปัฏฐาน ๔ สังเกต ให้ดีๆนะ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ต้องมีภายใน เห็นการเกิดดับจากภายใน เมื่อเห็นการเกิดดับจากภายในออก ภายนอก พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้เข้าถึงปรมัตถธรรม
คราวนี้ พวกเรา คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เรามาเจริญพร้อมกัน เรามาปฏิบัติพร้อมกัน จะได้ถวายการปฏิบัตินี้ เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าอันสูงสุด เป็นธรรมอันสูงสุด เป็นสิ่งที่สูงสุด คือ การปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อเข้าสู่ดวงจิตภายใน เพื่อความดับทุกข์อันสิ้นเชิง เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขกับตนเอง กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย คือ มหาสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง
นี้พวกเรามา พร้อมกัน มาปฏิบัติพร้อมกัน... ค่อยๆแบมือที่หน้าตัก ใช้ลืมตาทำ จะได้เอาไป ใช้ประโยชน์กับปัจจุบันได้ บางคนนอนไม่หลับ มีความเครียด มีความกังวล เมื่อทุกคนปฏิบัติธรรมแล้ว จะเข้าสู่ความสงบ เพราะสุขอื่นเสมอด้วยความสงบเป็นไม่มี ที่เราจะปฏิบัติ ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงปัญญา ภายใน และทุกคนจะได้มีที่พึ่ง ที่เกาะอันแท้จริง
แบมือไว้ที่ หน้าตัก สูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนความรู้สึกมาที่กลางหน้าอกบริเวณลิ้นปี่ ค่อยๆเอามือ เข้ามาแตะไว้ที่กลางหน้าอกบริเวณลิ้นปี่ กลืนลมเข้าไป ผ่อนความรู้สึกลงไปข้างไน ผ่อนลงไปที่กลาง หน้าอกบริเวณลิ้นปี่ จะมีความรู้สึกเห็นการเกิดดับจากภายใน จะมีความรู้สึกคล้ายๆหัวใจเต้น คล้ายๆ ชีพจร จะมีความรู้สึกวุบๆ เบาๆบ้าง แรงๆบ้าง พระพุทธเจ้าเรียกสิ่งนี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน สังเกต ความรู้สึกกลางหน้าอกไว้นะ... จะมีความรู้สึกวุบๆ เมื่อเรารู้สึกไปเรื่อยๆ รู้สึกไปเนืองๆ สังเกตดู การปฏิบัติ..เราปฏิบัตินี่เป็น อกาลิโก ไม่เลือกกาลเวลา ไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งหนตำบลใด จะลืมตา หรือหลับตา ยืน เดิน นั่ง นอน กินข้าว อาบน้ำ เรียนหนังสือหรือทำอะไรก็ตาม เราสามารถรู้สึกไปภายในได้ตลอดนะ เมื่อรู้สึกไปเรื่อยๆ นี่คือ ที่พึ่งที่เกาะ ของตนเองตลอดไปและตลอดกาล
สังเกตความรู้สึกนะ กลางหน้าอก เมื่อเราเกาะความรู้สึกไปเรื่อยๆ เหมือนเราจะข้ามฟาก ไปที่แห่งหนึ่ง เราก็ต้องอาศัยเรือ เมื่ออาศัยเรือ เราล่องเรือไปเรื่อยๆ พายไปเรื่อยๆ พอถึงฝั่ง เรือนั้น ก็ทิ้งไว้ ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลายที่บวชมา จะต้องปฏิบัติ เพราะการปฏิบัตินี้สามารถทำให้ดวงจิต ของทุกคนหลุดพ้นได้ เป็นพระอรหันต์ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ถ้ามี สังโยชน์เหลืออยู่ คือ ยังเป็นฆราวาส ย่อมได้เป็นพระอนาคามี
แล้วที่สุด ทุกคนจะเห็นว่า เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ จะเห็นว่า ทุกคนเกิดมาเพื่อสร้างบารมี ไม่ได้ เกิดมาเพื่อโต ทำงาน มีครอบครัว แก่ แล้วก็ตาย ที่สุด ทุกคนเอาอะไรไปไม่ได้ จะต้องเห็นจากภายใน ออกภายนอก นี่เรียกว่าเป็นปรมัตถธรรม สังเกตไปตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน แล้วจิตที่เห็นการ เกิดดับภายใน เมื่อเรารู้สึกไปเนืองๆจะเห็นได้ว่า ภายในจะปล่อยวางได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่ใช่ใครเป็น ผู้ปล่อย ดวงจิตภายในจะเห็นแจ้งตามความเป็นจริง แล้วจะปล่อยวางได้ด้วยตัวของมันเอง เมื่อปล่อยวาง จิตภายในก็ไม่หมายมั่น เมื่อไม่หมายมั่น จิตก็ย่อมหลุดพ้น
สมาธิ ในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต แต่สมาธิในความหมายของการฝึกปฏิบัติ คือการทำใจให้นิ่ง ซึ่งต่างจากร่างกายที่ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง แต่จิตใจนั้นตรงกันข้าม คือจิตใจหวั่นไหวย่อมอ่อนแอ แต่หากหยุดนิ่งเฉยได้แล้วจะยิ่งมีพลัง เหมือนการรวมโฟกัสของแสงให้เป็นจุดเดียวกัน ย่อมมีพลังที่จะจุดไฟให้ติดได้
การ ทำสมาธิในพุทธศาสนา
การทำสมาธิ ตามหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ถึง 40 วิธี ทุกวิธีล้วนเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียว คือการทำให้จิตใจสงบแต่ที่วิธีการมีเยอะนั้น ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า สมถกรรมฐาน เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นฐานนิสัยของแต่ละคน โดยพระพุทธองค์ทรงแบ่งพื้นฐานนิสัยไว้ 6 ประเภท เรียกว่า จริต 6 อาทิเช่น คนที่มีราคะจริต คือหลงไหลในของสวยงามง่าย ควรพิจารณาความไม่งาม (อสุภะ) ความไม่เที่ยง- ความไม่แน่นอนในสังขารต่างๆ (อนิจจัง) เพื่อให้ใจไม่ติดในราคะได้ง่ายจะได้ทำสมาธิได้ง่าย เพราะเมื่อหลับตาทำสมาธิแล้ว ใจเราชอบอะไร คุ้นอะไร ก็จะมีภาพนั้นปรากฏขึ้นมาในใจ
การทำสมาธิ ไม่ต้องคอยให้ใจสงบ สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่ถ้าต้องการความต่อเนื่องยาวนาน และให้ได้ผลการปฏิบัติที่ดีนั้น มีหลักการเบื้องต้นและขั้นตอนดังนี้
- อาบน้ำ ให้เรียบร้อย เตรียมร่างกายให้สะอาด
- หามุมสงบ ไม่เสียงดัง ไม่อึกทึก ไม่มีการรบกวนจากภายนอกได้ง่าย มีอุณหภูมิพอดีๆ
- นั่งขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย หรือวางมือตามสะดวกที่อื่นๆ จะเป็นที่หน้าตักก็ได้
- หลับตาเบาๆ ให้ขนตาชนกัน แต่อย่าเม้มตา
- ขยับท่าทางให้รู้สึกว่าสบาย
- สังเกตตัวเองว่ามีการเกร็งไหม ถ้ายังมีให้ทำข้อ 5 ใหม่
- เมื่อสบายดีแล้ว ให้ภาวนาในใจ
- จะใช้คำบริกรรมว่า ว่า พุท เมื่อหายใจออกให้กำหนดว่า โธ ก็ได้ หรือจะใช้คำบริกรรมอื่นๆ เช่น สัมมา-อรหัง นะมะ-พะธะ ก็ได้เช่นกัน (วิธีการเหล่านี้ เป็นวิธีการของโบราณจารย์)
- จะใช้ความรู้สึกจับกับลมหายใจ หายใจเข้าสั้นก็รู้ หายใจออกสั้นก็รู้ หายใจเข้ายาวก็รู้ หายใจออกยาวก็รู้ โดยไม่ต้องใช้คำบริกรรมก็ได้
- ทำใจให้โล่ง โปร่ง เบา สบาย
- ในระหว่างการปฏิบัติธรรม จะมีเรื่องฟุ้งซ่านเข้ามาเป็นระยะ อย่าสนใจ เมื่อได้สติ ก็ทำข้อ 7 8 9 ใหม่
- เมื่อใจเริ่มสงบดีแล้ว จะมีความรู้สึกแปลกๆ ก็ให้ทำเฉยๆไปเรื่อยๆ
- บางทีคำภาวนาจะหายไป ก็ไม่เป็นไร ให้ทำใจเฉยๆไปเรื่อยๆ
- เมื่อใจนิ่งได้ระดับนึง จะเริ่มเห็นความสว่างจากภายใน เป็นการเห็นด้วยใจ ก็ให้ทำใจเฉยๆต่อไป
- ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หรือสงสัยอะไร ให้ทำใจเฉยๆอย่างเดียว
- หากมีข้อสงสัย หรือมีคำถาม หรือมีภาพ มีสิ่งผิดปกติ ให้ทำตามข้อ 14
ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ อย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง
การ เพ่งกสิณเพื่อการทำสมาธิภาวนา
แม้แนวทางในการปฏิบัติสมาธิภาวนาจะมีอยู่ด้วยกันหลายแนวทาง แต่การที่จิตจะเข้าสู่สมาธิได้นั้นจิตจำเป็นจะต้องมีเครื่องรู้ (อุบายกรรมฐาน) [1]เพื่อ ให้จิตใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าสู่สมาธิ ซึ่งอุบายกรรมฐานก็มีอยู่ด้วยกันทั้งหมดสี่สิบกองและอีกสี่อุบายวิธี แต่ละอุบายวิธี ตางมีความสำคัญและสามารถนำไปใช้ให้เกิดผลได้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าใครจะถูกจริตกับกรรมฐานกองใด และหากว่าใครมีจริตตรงกับกรรมฐานกองใด ก็จะสามารถนำกรรมฐานกองนั้นไปใช้อย่างได้ผล องค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้แจ้งในเรื่องการปฏิบัติสมาธิภาวนา และเรื่องการเข้าฌานทั้งรูปฌาณและอรูปฌานได้ทรงชี้แนะแนว ทางในการปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยการใช้อุบายกรรมฐานไว้ทั้งหมดสี่สิบกองด้วย กัน ซึ่งภายใต้กรรมฐานทั้งสี่สิบกองนั้นจะประกอบไปด้วยกรรมฐานที่เกี่ยวเนื่อง กับการเพ่งกสิณอยู่ถึงสิบกอง อีกทั้งการเพ่งกสิณยังเป็นกรรมฐานกองแรกๆ ของกรรมฐานทั้งหมด (เป็นอุบาย วิธีต้นๆ ในการปฏิบัติกรรมฐาน) นั้นย่อมแสดงให้เห็นถึงว่า การเพ่งกสิณจัดเป็นอุบายวิธีในการทำสมาธิที่มีดีอยู่ในตัวอย่างแน่นอน
สัมมา สมาธิ
สัมมาสมาธิ การ ฝึกสมาธิเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่า ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติย่อมต้องการที่จะฝึกหรือปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งนอกจากจะฝึกหรือปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว จำเป็นจะต้องทราบว่าวัตถุประสงค์ของการฝึกหรือปฏิบัติเพื่ออะไร ทั้งนี้การฝึกสมาธิในแนวทางที่ถูกต้องในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าสัมมาสมาธิ และสัมมาสมาธินั้น โดยความหมายทั่วไป หมายถึงการตั้งจิตมั่นชอบ ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงสัมมาสมาธิไว้หลายแห่ง โดยได้อธิบายความหมาย ตลอดจนลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ หลายแห่งดังนี้
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า ถึงปฐมฌานมีวิตกวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
จาก ความที่ยกนำมากล่าวนี้ แสดงว่าสัมมาสมาธิ จะมีความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน จนกระทั่งถึงจตุตถฌานแล้ว จะมีสภาวะที่ไม่สุข ไม่ทุกข์ และเป็นอุเบกขา จนมีสติบริสุทธิ์ นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎกยังกล่าวถึงลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ดังนี้
- ลักษณะของสัมมาสมาธิคือการที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน
- สัมมาสมาธิ มีความตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบเป็นลักษณะ
ส่วนในพระอภิธรรมปิฎก ได้กล่าวถึงลักษณะของจิตที่เป็นสัมมาสมาธิว่า
สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น.
จาก ลักษณะของสัมมาสมาธิที่กล่าวนี้ ในพระไตรปิฎกยังแสดงให้เห็นว่า สัมมาสมาธิมีคุณูปการแก่ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติ โดยเมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านและมีความตั้งมั่นแห่งจิตแล้ว ย่อมขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสได้ ดังความในพราหมณสูตรกล่าว ถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อีกตอนหนึ่งว่า
สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด. จากความข้างต้น แสดงให้ทราบว่า สัมมาสมาธิสามารถขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสและความฟุ้งซ่าน สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่เป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพานได้ ดังความในปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ กล่าวไว้ดังนี้
สัมมา สมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้โดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ
สรุปได้ว่า การจะฝึกสมาธินั้น บุคคลจะต้องยึดหลักการฝึกแบบสัมมาสมาธิ กล่าวคือ ฝึกเพื่อการทำให้ใจสงบ ระงับจากกาม ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และไม่ฟุ้งซ่าน จนกระทั่งจิตตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย ก็จะสามารถทำให้การฝึกและปฏิบัติของบุคคลนั้น ถูกต้อง ตรงต่อพระพุทธธรรมคำสอน จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมาย คือพระนิพพานได้ ทั้งนี้ การที่จะจิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตจะต้องไม่คิดหรือตรึกในสิ่งที่จะทำให้จิตเกิดราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งในพระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงลักษณะของจิตฟุ้งซ่านว่า จะมีลักษณะที่ซัดส่ายไปข้างนอก คือซัดส่ายไปในอารมณ์ คือกามคุณ ทำให้มีความพอใจในกามคุณ 5 อย่าง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งทำให้จิตระคนปนเจือไปด้วยความตรึกไปในกาม
วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้ปัญญาพิจารณาเป็นหลัก
วิปัสสนากรรมฐาน บำเพ็ญได้ โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่าสภาวธรรมเหล่านี้ ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งอบรมปัญญาเป็นหลักคู่กับ สมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งบริหารจิตเป็นหลัก ในคัมภีรทางพระศาสนาทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั่ว ๆ ไปมักจัดเอาวิปัสสนาเป็นแค่ สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เพราะในวิภังคปกรณ์พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างนั้น ทั้งนี้ก็ยังพอจะอนุโลมเอาวิปัสสนาว่าเป็นภาวนามยปัญญาได้อีกด้วย เพราะในฏีกาหลายที่ท่านก็อนุญาตไว้ให้ ซึ่งท่านคงอนุโลมเอาตามนัยยะพระสูตรอีกทีหนึ่ง และในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคท่านก็อนุโลมให้เพราะจัดเข้าได้ในภาวนามัยบุญ กิริยาวัตถุข้อ 10.
รายละเอียดวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือการเจริญปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ การปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ดังบรรยายไว้โดยละเอียดในมหาสติปัฏฐานสูตร ในพระไตรปิฎก
ระหว่างปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ 5 อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ ผู้ปฏิบัติอาจเกิดวิปัสสนูปกิเลส (คือ อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา 10 อย่าง) ชวนผู้ปฏิบัติให้เข้าใจผิด คิดว่าตนได้มรรคผลแล้ว คลาดออกนอกวิปัสสนาวิถีได้
ปฏิจสมุปบาท /ปะติดจะสะหฺมุบบาด/ เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน,การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้น
การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์หรือหัวข้อ 12 ดังนี้ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ
ลำดับ แห่งปฏิจสมุปบาทฝ่ายดับทุกข์
ความทุกข์ จะดับไปได้เพราะดับ ชาติ (การเกิดอัตตา"ตัวตน"คิดว่าตนเป็นอะไรอยู่)
ชาติ จะดับไปได้เพราะดับ ภพ (การมีภาระหน้าที่และภาวะทางใจ)
ภพ จะดับไปได้เพราะดับ อุปาทาน (ความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ)
อุปาทาน จะดับไปได้เพราะดับ ตัณหา (ความอยาก)
ตัณหา จะดับไปได้เพราะดับ เวทนา (ความรู้สึกในทางทุกข์หรือสุข)
เวทนา จะดับไปได้เพราะดับ ผัสสะ (การสัมผัสด้วยประสาทต่าง ๆ)
ผัสสะ จะดับไปได้เพราะดับ อายตนะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
อายตนะ จะดับไปได้เพราะดับ นามรูป (ร่างกายและจิตใจ)
นามรูป จะดับไปได้เพราะดับ วิญญาณ (การรับรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
วิญญาณ จะดับไปได้เพราะดับ สังขาร (การนึกคิดหรือการทำงานของสมองเพื่อปรุงแต่ง)
สังขาร จะดับไปได้เพราะดับ อวิชชา (ความโน้มเอียงไปคลุกเคล้ากิเลสด้วยความเขลา)
อารมณ์ ของวิปัสสนา
ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าและพระอรรถกถาจารย์ได้วางไว้ เราสามารถทราบอารมณ์ของวิปัสสนาได้ด้วยการไล่ตามวิถีจิตไปตามกฏเกณฑ์และตาม หลักฐาน ซึ่งจะพบว่ามีทั้งปรมัตถ์และบัญญัตติเป็นอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อคิดถึงวิปัสสนาภูมิ เช่น ธรรมะ 201 เป็นต้นตอนที่ทำวิปัสสนาอยู่ ก็มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์, แต่เมื่อนึกถึงพระพุทธพจน์ เช่น ชื่อของธรรมะ 201 หรือ อาการของขันธ์เช่น ไตรลักษณ์ หรือ อิริยาบถต่างๆ เป็นต้น เป็นเครื่องกำหนด วิปัสสนาก็จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์.
วิปัสสนาภูมิ ตามที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคนั้น ได้แก่ ธรรมมะ 201 เป็นต้น เช่น
วิปัสสนาภูมิที่ยกมานี้ ท่านเอามาจากพระไตรปิก เช่นจาก สติปัฏฐานสูตร (ม.มู.) สังยุตตนิกาย (สุตฺต.สํ.) วิภังคปกรณ์ (อภิ.วิ.) เป็นต้น. ที่ทราบได้ว่า วิสุทธิมรรคยกมาพอ เป็นตัวอย่าง เพราะท้ายของวิปัสสนาภูมิทั้ง 6 นี้ มี "อาทิ"ศัพท์ (แปลว่า เป็นต้น) อยู่ด้วย. ฉนั้น ในปรมัตถมัญชุสา วิสุทธิมรรคมหาฏี กา จึงอธิบายอาทิศัพท์ ว่า หมายถึงอาหาร 4 เป็นต้นด้วย และกล่าวต่อไปอีกว่า ให้ท่านผู้อ่านเทียบเคียงธรรมะหมวดอื่นๆ ตามนัยนี้ได้อีก.
ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฏีกานั้น จะไม่มีการจำกัดให้วิปัสสนามีแต่ปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เพราะในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาก็มีทั้งจุดที่ท่านแสดงให้วิปัสสนามีอารมณ์ เป็นปรมัตถ์และเป็นบัญญัติก็มี ส่วนมติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น" เป็นมติของอาจารย์ชาวพม่ารุ่นหลังซึ่งเชิญเข้ามาในสมัยของพระอาจารย์ อาจ อาสภมหาเถระ มีอาจารย์เตชิน และอาจารย์สัทธัมมโชติกะ เป็นต้น. ในฝ่ายไทยเมื่อตรวจสอบตามสายวัดป่า ก็พบว่า ไม่มีข้อบัญญัติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น"มาแต่เดิม.
การ เรียนวิปัสสนากรรมฐาน
การเรียนวิปัสสนากรรมฐานนั้น ต้องเรียนศีลและสมาธิจนปฏิบัติได้มาก่อน หรืออาจเรียนไปพร้อมกันก็ได้ ซึ่งอาจจัดช่วงของการเรียนตามมหาสติปัฏฐานสูตรอรรถกถาได้เป็น 2 ช่วงใหญ่ คือ
- ช่วงปริยัตติ
- อุคคหะ คือ การท่อง เพื่อทำให้จำวิปัสสนาภูมิ อันได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อาหาร เป็นต้นได้ โดยเลือกท่องเฉพาะส่วนที่สนใจก่อนก็ได้และต้องจำให้คล่องปากขึ้นใจพอที่จะ คิดได้เองโดยไม่ต้องเปิดหนังสือ.
- ปริปุจฉา คือ การหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ได้รายละเอียดของวิปัสสนาภูมินั้น ๆ เพิ่ม ซึ่งอาจจะสงสัย หรือ ติดขัดอยู่ โดยอาจจะเปิดหนังสือค้น หรือไปสอบถามจากอาจารย์ผู้เชียวชาญชำนาญในสาขานั้น ๆ ก็ได้.
- สวนะ คือ การฟัง หรือ อ่านคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก เพื่อทำความเข้าใจหลักธรรมะโดยรวม ให้สามารถมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจน.
- ธารณะ คือ การจำธรรมะ ตามที่ได้อุคคหะ ปริปุจฉา สวนะมาได้ เพื่อจะนำไปพิจารณาในช่วงปฏิบัติต่อไป.
- ช่วงปฏิบัติ
- สังวระ คือ การปฏิบัติศีล.
- สมาปัตติ คือ การปฏิบัติสมาธิให้ได้ อุปจาระหรืออัปปนา.
- สัมมสนะ คือ การปฏิบัติวิปัสสนา คือ พิจารณาปัจจัตตลักษณะและสามัญญลักษณะด้วยการคิด หน่วงเอาธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นมาแยกแยะหาความสัมพันธ์กันด้วยปัจจัต ลักษณะ และเพ่งไตรลักษณ์ ในธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นอีก ด้วยวิปัสสนาญาณซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า ธัมมนิชฌานัก ขันติญาณ. ในที่นี้ เฉพาะสัมมสนะนี้เท่านั้นที่เป็นช่วงปฏิบัติวิปัสสนา.
สถานที่สำหรับเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตามมหาสติปัฏฐานสูตรบรรยายไว้สามแห่ง คือ ป่า โคนต้นไม้ ที่ว่างเปล่า (สุญญาคาร เรือนว่าง) แต่พึงทราบว่า ตามกัมมัฏฐานคหณนิทเทส ในวิสุทธิมรรคนั้น เนื่อจากท่านกล่าวอุปสรรคของวิปัสสนาให้มีแค่อย่างเดียว คือ การฝึกทำฤทธิ์เดชมีการเหาะเหิรเดินอากาศเป็นต้น (ถ้าแค่ฌานนั้นไม่นับเพราะง่ายกว่าฤทธิ์มาก) ฉะนั้น วิปัสสนาจึงปฏิบัติได้ทุกที่ แต่ที่ๆเหมาะสมที่สุด และควรจะหาให้ได้ ก็คือ ป่า โคนไม้ เรือนว่าง ห่างไกลคน โล่ง ๆ นั่นเอง เพราะจะทำให้ศีลและสมาธิดีกว่ามากมายยิ่งนัก ปัญญาก็จะกล้าขึ้นได้ไวไปด้วยเช่นกัน.
นิวรณ์ (อ่านว่า นิ-วอน) แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความ ตั้งใจปฏิบัติไป
นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ
- กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
- พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปราถณาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
- ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
- อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
- วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆกลัว ไม่เต็มร้อย ไม่มั่นใจ
กรรมฐาน ที่เหมาะสมแก่นิวรณ์
- กามฉันทะ ให้ภาวนากายคตาสติ อสุภะ10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพื่อทำลายความอยากในกามเสีย
- พยาบาท ให้ภาวนาอัปมัญญาหรือพรหมวิหาร4 วรรณกสิน4 เพื่อเพิ่มความเมตตา
- ถีนมิทธะ ให้ภาวนาอนุสสติ 7คือพุทธานุสสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ อุปสมานุสสติ และอาโลกสัญญา(แสงสว่างเป็นอารมณ์ เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและความเพียร
- อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ภาวนากสิน 6 คือ ปฐวีกสิน อาโปกสิน วาโยกสิน เตโชกสิน อากาสกสิน อาโลกกสิน เพื่อเพิ่มกำลังสมาธิ
- วิจิกิจฉา ให้ภาวนาจตุตธาตุววัตถาน(พิจารณาธาตุ4) อานาปานสติมรณานุสสติ เพื่อละความสงสัย
ลักษณะ
- กามฉันทะ เหมือนน้ำที่ถูกสีย้อม
- พยาบาท เหมือนน้ำที่กำลังเดือด
- ถีนมิทธะ เหมือนน้ำในที่มืด
- อุทธัจจะกุกกุจจะ เหมือนน้ำกำลังแกว่ง
- วิจิกิจฉา เหมือนน้ำที่มีจอกแนลอยบังอยู่
บุคคลย่อมไม่อาจมองเห็นใต้น้ำได้สดวกฉันใด เมื่อจิตมีนิวรณ์บุคคลย่อมไม่อาจเห็นจิตตามจริงได้สดวกฉะนั้น
ศีล5ที่ สามารถควบคุมนิวรณ์
- พยาบาท ให้ควบคุมด้วย การไม่ฆ่าสัตว์
- อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
- กามฉันทะ ให้ควบคุมคุมด้วย การไม่ประพฤติผิดในกาม
- วิจิกิจฉา ให้ควบคุมด้วยการไม่พูดเท็จ
- ถีนมิทธะ ให้ควบคุมด้วย การไม่เสพสิ่งเสพติดอันเป็นเหตุให้ประมาท
องค์ ฌานที่เป็นปฏิปักข์ต่อนิวรณ์
- วิตก แก้ถีนมิทธะ
- วิจาร แก้วิจิกิจฉา
- ปีติ แก้พยาบาท
- สุข แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
- เอกัคคตา แก้กามฉันทะ
เมื่อจิตเป็นอัปปนาสมาธิจนเกิดองค์ฌานทั้ง5 ย่อมทำลายนิวรณ์ลงได้ ชั่วคราว คือในขณะอยู่ในฌาน
อาหาร ของนิวรณ์
ร่างกายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ทั้งห้า ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
อาหารของนิวรณ์ในที่นี้ หมายถึง ปัจจัยอันนำมาซึ่งผลคือ นิวรณ์ (ซึ่งอาหารของนิวรณ์ทั้งหมดนั้น ถ้าสังเกตดูจะพบว่ามี การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย หรือ อโยนิโสมนสิการเป็นองค์ประกอบด้วยเสมอ)
อาหาร ของกามฉันท์
สิ่งที่เป็นอาหารให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกามฉันท์ที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งสวยๆงามๆ (ศุภนิมิต) หรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้ พบสิ่งสวยๆงามๆ
อาหาร ของพยาบาท
สิ่งที่เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งที่ทำให้เกิดความขุ่นเคืองใจ ขัดใจ (ปฏิฆนิมิต)
อาหาร ของถีนมิทธะ
สิ่งที่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งเหล่านี้ คือ
- ความไม่ยินดี ในที่อันสงัด หรือในธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล
- ความเกียจคร้าน
- ความบิดกายด้วยอำนาจกิเลส (บิดร่างกาย เอียงไปมา รู้สึกไม่สบาย ด้วยอำนาจกิเลส)
- ความเมาอาหาร
- ความที่ใจหดหู่
กรรมฐาน ที่เหมาะสมแก่นิวรณ์
- กามฉันทะ ให้ภาวนากายคตาสติ อสุภะ10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพื่อทำลายความอยากในกามเสีย
- พยาบาท ให้ภาวนาอัปมัญญาหรือพรหมวิหาร4 วรรณกสิน4 เพื่อเพิ่มความเมตตา
- ถีนมิทธะ ให้ภาวนาอนุสสติ 7คือพุทธานุสสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ อุปสมานุสสติ และอาโลกสัญญา(แสงสว่างเป็นอารมณ์ เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและความเพียร
- อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ภาวนากสิน 6 คือ ปฐวีกสิน อาโปกสิน วาโยกสิน เตโชกสิน อากาสกสิน อาโลกกสิน เพื่อเพิ่มกำลังสมาธิ
- วิจิกิจฉา ให้ภาวนาจตุตธาตุววัตถาน(พิจารณาธาตุ4) อานาปานสติมรณานุสสติ เพื่อละความสงสัย
ลักษณะ
- กามฉันทะ เหมือนน้ำที่ถูกสีย้อม
- พยาบาท เหมือนน้ำที่กำลังเดือด
- ถีนมิทธะ เหมือนน้ำในที่มืด
- อุทธัจจะกุกกุจจะ เหมือนน้ำกำลังแกว่ง
- วิจิกิจฉา เหมือนน้ำที่มีจอกแนลอยบังอยู่
บุคคลย่อมไม่อาจมองเห็นใต้น้ำได้สดวกฉันใด เมื่อจิตมีนิวรณ์บุคคลย่อมไม่อาจเห็นจิตตามจริงได้สดวกฉะนั้น
ศีล5ที่ สามารถควบคุมนิวรณ์
- พยาบาท ให้ควบคุมด้วย การไม่ฆ่าสัตว์
- อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
- กามฉันทะ ให้ควบคุมคุมด้วย การไม่ประพฤติผิดในกาม
- วิจิกิจฉา ให้ควบคุมด้วยการไม่พูดเท็จ
- ถีนมิทธะ ให้ควบคุมด้วย การไม่เสพสิ่งเสพติดอันเป็นเหตุให้ประมาท
องค์ ฌานที่เป็นปฏิปักข์ต่อนิวรณ์
- วิตก แก้ถีนมิทธะ
- วิจาร แก้วิจิกิจฉา
- ปีติ แก้พยาบาท
- สุข แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
- เอกัคคตา แก้กามฉันทะ
เมื่อจิตเป็นอัปปนาสมาธิจนเกิดองค์ฌานทั้ง5 ย่อมทำลายนิวรณ์ลงได้ ชั่วคราว คือในขณะอยู่ในฌาน
อาหาร ของนิวรณ์
ร่างกายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ทั้งห้า ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
อาหารของนิวรณ์ในที่นี้ หมายถึง ปัจจัยอันนำมาซึ่งผลคือ นิวรณ์ (ซึ่งอาหารของนิวรณ์ทั้งหมดนั้น ถ้าสังเกตดูจะพบว่ามี การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย หรือ อโยนิโสมนสิการเป็นองค์ประกอบด้วยเสมอ)
อาหาร ของกามฉันท์
สิ่งที่เป็นอาหารให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกามฉันท์ที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งสวยๆงามๆ (ศุภนิมิต) หรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้ พบสิ่งสวยๆงามๆ
อาหาร ของพยาบาท
สิ่งที่เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งที่ทำให้เกิดความขุ่นเคืองใจ ขัดใจ (ปฏิฆนิมิต)
อาหาร ของถีนมิทธะ
สิ่งที่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งเหล่านี้ คือ
- ความไม่ยินดี ในที่อันสงัด หรือในธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล
- ความเกียจคร้าน
- ความบิดกายด้วยอำนาจกิเลส (บิดร่างกาย เอียงไปมา รู้สึกไม่สบาย ด้วยอำนาจกิเลส)
- ความเมาอาหาร
- ความที่ใจหดหู่
อาหาร ของอุทธัจจกุกกุจจะ
สิ่งที่เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย ในความไม่สงบใจ
เปรียบเสมือนกองไฟที่คุกร่น แม้ไม่เห็นเปลวไฟแล้ว เหลือแต่ถ่านดำๆ ก็ยังมีความร้อนออกมาอยู่ ให้คนที่นั่งผิงไฟรู้สึกร้อนได้
อาหาร ของวิจิกิจฉา
สิ่งที่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือวิจิกิจฉาที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
อาหาร ของอุทธัจจกุกกุจจะ
สิ่งที่เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย ในความไม่สงบใจ
เปรียบเสมือนกองไฟที่คุกร่น แม้ไม่เห็นเปลวไฟแล้ว เหลือแต่ถ่านดำๆ ก็ยังมีความร้อนออกมาอยู่ ให้คนที่นั่งผิงไฟรู้สึกร้อนได้
อาหาร ของวิจิกิจฉา
สิ่งที่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือวิจิกิจฉาที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย
ศรัทธา
ศรัทธา (สันสกฤต : ศฺรทฺธา) หรือ สัทธา (บาลี : สทฺธา) หมายถึงความเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล
ศรัทธา ๔
ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีสี่อย่าง คือ
- กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
- วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
- กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
- ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้
[แก้] ธรรมะ ที่เกี่ยวข้อง
ศรัทธา หรือ สัทธาเป็นองค์ประกอบในหลายๆหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่
(จะเห็นว่าส่วนใหญ่ จะขึ้นด้วยศรัทธา และมีปัญญากำกับอยู่ด้วย)
[แก้] สัทธา เจตสิก
ในคัมภีร์พระอภิธรรม มีการกล่าวถึงสัทธา ในลักษณะที่เป็นเจตสิก(คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า สัทธา เจตสิก มีลักษณะดังนี้ คือ
- มีความเชื่อในกุศลธรรม เป็นลักษณะ
- มีความเลื่อมใส เป็นกิจ
- มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล
- มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ เป็นเหตุใกล้
สัทธานี้จัดเป็นธรรมเบื้องต้น ในอันที่จะทำให้บุคคล ได้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญกุศลขึ้นมา และสัทธาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ ได้แก่ พระรัตนตรัย ผลของกรรม เป็นต้น สัทธานั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดความผ่องใส ไม่ขุ่นมัว สามารถดำเนินไปจนเข้าถึงปีติได้
เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา ได้แก่
- รูปปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม
- ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย
- โฆสฺปปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้ฟังเสียงอันไพเราะ
- ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้สดับฟังธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง
ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ
- โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)
- โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
- โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)
ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา
ประโยชน์ ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมีประโยชน์มาก คือ
- ทำคนให้ฉลาด เพราะจะรู้จักทั้งบัญญัติและปรมัตถ์เป็นอย่างดี ละเอียดรอบคอบขึ้นมาก.
- ทำคนให้มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
- ทำคนให้สนิทสนมกลมกลืนกัน กรุณาเอ็นดูสงสารกัน พลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
- ทำคนให้เว้นจากเบียดเบียนกัน เว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน
- ทำคนให้รู้จักตัวเอง และรู้จักปกครองตัวเอง
- ทำคนให้ว่านอนสอนง่าย ไม่มานะถือตัว ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
- ทำคนให้หันหน้าเข้าหากัน เพราะต่างฝ่ายต่างลดทิฏฐิมานะลง
- ทำคนให้หนักแน่นในกตัญญูกตเวทิตา
- ทำคนให้เป็นผู้ประเสริฐ เพราะเหตุว่า การปฏิบัติธรรมนี้ย่อมเป็นไปเพื่อคุณสมบัติเหล่านี้ คือ
- เพื่อละนิวรณ์ 5
- เพื่อละกามคุณ 5
- เพื่อหัดให้คนเป็นผู้รู้จักประหยัด
- เพื่อละอุปาทานขันธ์ 5
- เพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท
- เพื่อละคติ 4 คือ นรกภูมิ เปตติวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ และดิรัจฉานภูมิ เมื่อได้ญาณ 16 ในวิปัสสนากรรมฐานโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ชาติ(พระโสดาบันเกิดไม่ เกิน7ชาติเป็นอย่างมาก)ส่วนสมถกรรมฐานเมื่อได้ฌานที่ 1 ขึ้นไปก็อาจนำไปเกิดในพรหมโลกได้แต่ก็ยังคงเวียนว่ายมาเกิดในอบายถูมิ4ได้ อีกในชาติต่อๆไป ดังนั้น สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่การปฏิบัติที่ละ อบายภูมิ 4 ได้โดยเด็ดขาด
- เพื่อละความตระหนี่ 5 คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม
- เพื่อละสังโยชน์เบื้องบน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
- เพื่อละตะปูตรึงใจ 5 คือ สงสัยในพระพุทธ สงสัยในพระธรรม สงสัยในพระสงฆ์ สงสัยในสิกขา ความโกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์
- เพื่อละเครื่องผูกพันจิตใจ 5 คือ ไม่ปราศจากความชอบใจทะยานอยากในกาม ในรูป ความสุขในการกิน การนอน การรักษาศีลเพื่อเทพนิกาย
- เพื่อก้าวล่วงความโศกเศร้าเสียใจ (ทุกข์ทั้งหลาย) ดับทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน
- อานิสงส์อย่างสูงให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างกลางก็ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามี สกทาคามี โสดาบัน อย่างต่ำไปกว่านั้นที่เป็นสามัญ ก็เป็นผู้ที่มีคติเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ
- ชื่อว่า ได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิบัติบูชา
- ชื่อว่า เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า
- ชื่อว่า เป็นผู้ได้บำเพ็ญสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
- ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะมีสติอยู่กับรูปนามเสมอ ความไม่ประมาทนั้น คือ อยู่ไม่ปราศจากสตินั่นเอง
- ชื่อว่า ได้เป็นผู้ทรงธรรม
- ชื่อว่า ได้เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้อง
- ชื่อว่า ได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ทางสายกลาง
- ชื่อว่า ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง คือถึงด้วยอำนาจแห่งการปฏิบัติ คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ ภังคญาณ เป็นต้นไป จนถึง มรรคญาณ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ
การที่จะเข้าฌาณให้เร็วนั้น เรียกว่าให้เป็น วสี คือ
ความชำนาญ วิธีก็สูดลมหายใจยาวๆสบายๆผ่อน
ความรู้สึกไปที่กลางหน้าอกบริเวณลิ้นปี่และให้รู้สึก
ไปเรื่อยๆภายในก็จะสงบไปเรื่อยๆแม้แต่จะรู้สึกถึง
ความคิดอารมณ์ต่างๆมันก็ผ่านมาผ่านไป วิตก
วิจารณ์ก็ดับความคิดอารมณ์ต่างก็ดับไปเรื่อยๆไม่
ต้องไปหมายมั่นกับความคิดและอารมณ์ต่างๆ จิต
ภายในเมื่อมันเห็นความคิดและอารมณ์ต่างๆไม่เที่ยงมันก็ไม่ยึดมั่นด้วยตัว ของมันเองและมันก็จะปล่อยวาง
ด้วยตัวของมันเอง และมันจะสงบด้วยตัวของมันเอง
ใช้สูดลมสบายๆเข้าไปภายในกลางหน้าอกบริเวณลิ้น
คือฐานของ จิต ให้เป็นอัตโนมัติ และนักปฏบัติจะ
รู้ว่าจะสงบเร็วขึ้น นี่เรียกว่าเข้าฌาณเป็น วสี คือ
ความชำนาญ เจริญธรรม
เมื่อเข้าสู่ความนิ่งระดับที่ 1 จะเห็นแสงเป็นสีฟ้า
เมื่อเข้าสู่ความนิ่งระดับที่ 2 จะเห็นแสงเป็นสีครามน้ำทะเลสวยงามมาก ตรงนี้นิ่งกว่า
เมื่อเข้าสู่ความนิ่งระดับที่ 3 จะเห็นแสงเป็นน้ำเงิน ตรงนี้นิ่งมาก จนเข้าความสงบ
เมื่อเข้าสู่ความนิ่งระดับที่ 4 จะเห็นแสงเป็นสีเหลืองบางครั้งก็สีทอง ปัญญาจะเกิดขึ้นตรงนี้
เมื่อดูจิตไปเรื่อยๆ จะเห็นแสงสีม่วงสวยสุดๆ แล้วก้อสีขาว สุดท้ายเข้าสู่ความว่างแล้วก็ลงภวังค์
ถ้าลืมตาก็จะเห็นเป็นวงจากจิตตรงกลางทรวงอกบริเวณลิ้นปี่ขยายออกไปเรื่อยๆ จนเลยกายนอกประมาณ 2-10 เมตร อยู่ที่ระดับความนิ่งของจิต(ถ้าแผ่เมตตาจะขยายออกไปจนไม่มีประมาณ แต่สีจะ เปลี่ยนเป็นแสงธรรมเป็นเหมือนเม็ดทรายสีทองระยิบระยับ) ถ้าหลับตาจะเห็นจากด้านหน้าตรงกลางหน้าผากบ้าง ตรงจิตบ้างขยายไปเรื่อยๆ เช่นกัน แล้วระหว่างที่เดินผ่านสีต่างๆ (บางครั้งมีสีอื่นๆด้วย เช่น ชมพู เหลือง แดง เขียว) จะมีแสงระยิบระยับเหมือนคริสตัลสีขาวใสเป็นเม็ดเล็กๆ แทรกอยูในสีด้วย ตอนแรกๆ ชอบดูมากเพราะสวยจริงๆ และไปพอใจกับการเห็น แต่ตอนหลังดูจิตไปเรื่อยๆ จิตคลายความยึดมั่น เห็นก็เห็นอยู่ชัดกว่าเดิมด้วย แต่จิตปล่อยวางแล้วดังนั้นเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่อะไรอะไรกับสิ่งที่เห็น ที่สำคัญสามารถควบคุมการเห็นของตัวเองได้
ปฐมฌาน ฌานที่ ๑
ปฐมฌาน เป็นฌานที่หนึ่ง ในรูปฌาน ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
(พระธรรมปิฎก (ป.อ.อยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๘๑.)
วิตก มีลักษณะ การคิด การหมายรู้อารมณ์ ความเป็นผู้ตั้งมั่น การนึกตามและการปรารถนาที่ถูกต้อง แม้ปราศจากความเข้าใจ เปรียบได้กับการท่องจำบทสวดมนต์ เช่น ผู้ที่กำลังเจริญปถวีกสิณ ท่องคำว่า ปฐวี ๆ ๆๆ หรือ ดิน ๆๆ ๆ อยู่ตลอดในขณะที่คิดถึงด้วยความตั้งมั่น ขณะนั้น ชื่อว่า วิตก ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ปฏิบัติ
วิจาร มีลักษณะ การพิจารณา การไตร่ตรอง การผูกพันจิตไว้ในอารมณ์ โดยไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย ในอารมณ์ที่เกิดในระหว่างที่พิจารณาอยู่ นั้น ทำใจให้เป็นอุเบกขาในอารมณ์ ผู้เจริญปถวีกสิณ ใส่ใจอยู่ในอาการหลายอย่างที่จิตหยั่งเห็นในขณะที่เพ่งปถวีนิมิตอยู่ นี้เรียกว่าวิจารได้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติอยู่
เปรียบ เทียบความแตกต่าง ของวิตกกับวิจาร อุปมาเหมือนการตีระฆัง เสียงที่เกิดขึ้นครั้งแรก เปรียบได้กับวิตก เสียงสะท้อนที่เกิดตามมา เปรียบได้กับวิจาร อนึ่งเปรียบเหมือนความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับอารมณ์ของจิต (ธรรมารมณ์) ตอนเริ่มต้นเป็นวิตก ตอนที่เหลือเป็นวิจาร ความประสงค์ที่จะได้ฌานเป็นวิตก การรักษาฌานไว้เป็นวิจาร สภาพจิตที่หยาบเป็นวิตก สภาพจิตที่ละเอียด เป็นวิจาร ที่ใดมีวิตกที่นั่นมีวิจาร ที่ใดมีวิจาร ไม่จำเป็นต้องมีวิตก
(พระ อุปติสสเถระ, วิมุตติมรรค. หน้า ๘๖.)
ปีติ ในขณะที่จิตมีความอิ่มเอิบสบายอย่างเหลือเกิน ประกอบด้วยความเย็นสนิท นี้เรียกว่า “ปีติ” เกิดได้จากสาเหตุ ๖ ประการ คือ
๑. เกิดจากราคะ เพราะความชอบ ความหลงและความอิ่มใจที่เกิดจากกิเลส
๒. เกิดจากศรัทธา เพราะความอิ่มใจของบุคคลที่มีศรัทธาอย่างแรงกล้า ต่อสิ่งที่ตนเคารพ เชื่อถือ เช่น การได้เห็นพระพุทธเจ้า เป็นต้น
๓. เกิดจากความไม่ดื้อด้าน เพราะเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ต่อสิ่งต่าง ๆ จนเกิดความอิ่มอกอิ่มใจ
๔. เกิดจากวิเวก ได้แก่ความอิ่มใจของบุคคลผู้ได้ปฐมฌาน
๕. เกิดจากสมาธิ ได้แก่ความอิ่มใจของบุคคลผู้เข้าทุติยฌาน
๖. เกิดจากโพชฌงค์ ได้แก่ความอิ่มใจที่เกิดจากการดำเนินตามโลกุตรมรรคในทุติยฌาน
ปีติ ๕ แสดงถึงปริมาณของปีติที่เกิด ดังนี้
๑. ขุทท กาปีติ ปีติทำให้ขนชูชันเล็กน้อย แล้วก็หายไป
๒. ขณิ กาปีติ ปีติที่เกิดขึ้นชั่วขณะเหมือนฟ้าแลบแปลบปลาบ
๓. โอก กันติกาปีติ ปีติที่กระทบกายเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง คือ เกิดขึ้นแล้วก็หายไปเกิดขึ้นแล้วก็หายไปอยู่อย่างนั้น
๔. อฺพเพ งคาปีติ ปีติที่ซาบซ่านแผ่ไปทั่วร่างกาย เหมือนก้อนเมฆหนาทึบที่เต็มไป
๕. ผรณาปีติ ปิติที่ซาบซ่านแผ่ไปทั่วร่างกาย เหมือนก้อนเมฆหนาทึบที่เต็มไปด้วยฝน
ขุทท กาปีติและขณิกาปีติ สามารถเข้าถึงได้ด้วยศรัทธา โอกกัน ติกาปีติที่มีมากย่อมทำอุปจารสมาธิให้เกิดขึ้นได้ อุพเพ งคาปีติที่ยึดดวงกสิณทำให้เกิดกุศลและอกุศลได้ และขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้เพ่ง ส่วนผรณาปีติอันบุคคล ทำให้เกิดขึ้นในสภาวะแห่งอัปปนาสมาธิเท่านั้น
สุข การประสบกับสิ่งที่ชอบใจคือความสุข มีความสงบเยือกเย็นเป็นปทัฏฐาน
(พระอุปติสสเถระ, วิมุตติมรรค. หน้า ๘๖.)
สุข แปลว่า ความสุข หมายถึงความสำราญ ชื่นฉ่ำ คล่องใจ ปราศจากการบีบคั้นหรือรบกวนใด ๆ
(พระธรรมปิฎก(ป.อ .ปยุตโต) พุทธธรรม. หน้า ๘๗๓.
เอกัคคตา หมายถึง การที่จิตมีอารมณ์เดียว คือ จิตที่ยึดอยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยไม่คิดส่ายไปในอารมณ์อื่น ๆ เลย แม้ช่วงขณะจิต เช่น จิตอยู่กับปถวีนิมิต หรืออยู่กับลมหายใจ เป็นต้น เรียกจิต เช่นนั้นว่า จิต เตกัคคตา
ก็เมื่อองค์ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้นแล้วย่อมเชื่อว่า ปฐมฌาน ได้เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อสามารถทำปฐมฌานให้เกิดขึ้นได้ แล้ว อย่างเพิ่งรีบร้อนทำทุติยฌาน เพราะอาจจะทำให้ปฐมฌานนั้นเสื่อม และก็ไม่อาจทำทุติฌานให้เกิดได้อีกด้วย จะต้องสร้างความชำนาญในปฐมฌานที่ท่านเรียกว่า วสี ๕ ประการให้ ชำนาญเสียก่อน ดังนี้
๑. อาวัชชนวสี ความสามารถในการพิจารณาองค์ฌาน ด้วยมโนทวาราวัชชนจิต
๒. สม ปัชวสี ความสามารถในการเข้าฌาน
๓. อธิฏฐานวสี ความสามารถในการให้ฌานดำรงอยู่ตามกำหนด
๔. วุฏฐานวสี ความสามารถในการออกฌานตามกำหนด
๕. ปัจจเวกขณวสี ความสามารถในการพิจารณาองค์ฌานด้วยชวนจิต
เมื่อฝึกวสีทั้ง ๕ ประการในปฐมฌานดีแล้วจึงค่อยเริ่มการฝึกเข้าสู่ทุติยฌานต่อไป ดังนี้
ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
(พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. หน้า ๗๑.)
เธอบรรลุ ทุติยฌานซึ่งมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
(ที.ม. ๑๐/๔๐๒/๒๖๗ มหาจุฬาเตปิกํ ๒๕๐๐.)
จากคำอธิบายข้างต้นที่ปรากฏ อยู่ในพระไตรปิฎก ทุติยฌาน เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ วิตกและวิจาร ระงับไป คงเหลือแต่ปีติ สุข และเอกัคคตา
การเข้าทุติยฌาน
ทั้งก่อนและหลังอาหาร ทั้งปฐมยามและปัจฉิมยาม ภิกษุฝึกน้อมนึกการเข้า ความตั้งมั่นการออก และการพิจารณา ตามความปรารถนาของเธอ (ฝึกวสี ๕ ประการนั่นเอง) ถ้าเธอเข้าปฐมฌานและออกปฐมฌานบ่อย ๆ และได้รับความสะดวกในการบำเพ็ญปฐมฌาน เธอย่อมได้รับสุข และทำทุติยฌานให้เกิดขึ้นได้ และก้าวพ้นปฐมฌาน อนึ่ง ภิกษุนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า “ปฐมฌานนี้ ยังหยาบทุติยฌานละเอียด เธอมองเห็นโทษของปฐมฌานและอานิสงส์ของทุติฌาน เมื่อน้อมนึกอยู่อย่างนี้ย่อมเห็นโทษของปฐมฌานและอานิสงส์ของทุติยฌาน ในที่สุดก็จะเข้าสู่ทุติยฌานได้ตามความปรารถนา
(พระอุปติ สสเถระ วิมุตติมรรค, หน้า ๙๘-๙๙.)
ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
การ เข้าตติยฌาน
การเข้าคติยฌานก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกับการเข้าทุติยฌาน คือ เมื่อเข้าสู่ทุติยฌานได้แล้วก็ ทำวสี ให้เกิดขึ้นคล่องแคล่วแล้ว จิตก็จะยกขึ้นสู่ ตติยฌาน ได้เอง เมื่อปีติจางหายไปดังพระบาลีว่า
เธอ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
(ที.ม. ๑๐/๔๐๒/๒๖๗ มหาจุฬาเตปิกํ ๒๕๐๐.)
จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ (the Fourth Absorption ) มีองค์ฌานเดียว คือ เอกัคคตา
การเข้าจตุตถฌาน
การเข้าจตุตถ ฌานก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกับการเข้าตติยฌาน คือ เมื่อเข้าสู่ตติยฌานได้แล้วก็ทำวสีให้เกิดขึ้นจนคล่องแคล่วแล้ว จิตก็จะยกขึ้นสู่จตุตถฌานได้เองเพราะจิตที่ปฏิบัติไป ๆก็จะเห็นความหยาบกระด้างของฌานเก่าที่ได้อยู่ ใคร่จะได้ฌานที่ละเอียดประณีตยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็จะปล่อยอารมณ์ที่หยาบ (สุข) ไปจับอยู่ในอารมณ์ที่ประณีตยิ่งขึ้น (อุเบกขา) ผู้เข้าสู่จตุตตถฌานจะเป็นดังพระบาลีว่า
เธอบรรลุจตุตถ ฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัส และโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
(ที.ม. ๑๐/๔๐๒/๒๖๗ มหาจุฬาเตปิกํ ๒๕๐๐.)
ฌานทั้ง ๔ เรียกว่า รูปฌาน เพราะยังต้องอาศัยอารมณ์หยาบที่เป็นรูปธรรมเป็นเครื่องเพ่งเพื่อให้เกิด นิมิต โดยเริ่มตั้งแต่ ขณิกสมาธิ จนถึงอัปปนาสมาธิ
เมื่อ ผู้ปฏิบัติบรรลุฌาน ๔ และเกิดวสีในฌานเหล่านั้น พร้อมทั้งอนุโลม ปฏิบัติในฌานทั้ง ๔ จนเกิดความชำนาญ จิตก็อ่อนโยนควรแก่การงานทางจิต พร้อมที่จะนำจิตนั้นไปกระทำกิจต่าง ๆ เช่น ทำฌานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ จนถึงการเจริญ วิปัสสนาจนสามารถทำตนให้หลุดพ้นจากอาสวกิเลส บรรลุอรหัตตผล ซึ่งเป็นเป็นหมายอันสูงสุดในพระพุทธศาสนาได้
สำหรับการ เจริญกสิณนั้น จะขอกล่าวเฉพาะปถวีกสิณเท่านั้น ส่วนกสิณที่เหลือมีวิธีปฏิบัติคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันการจัดเตรียมอุปกรณ์เท่านั้น เมื่อเตรียมอุปกรณ์ในการเพ่งเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำมาใช้เป็นกสิณเพื่อเพ่งให้เกิดสมาธิได้เช่นเดียวกับปถวีกสิณ
นัตถิ ฌานัง อะปัญญัสสะ นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน
ตัมหิ ฌานัญจะ ปัญญัญจะ นิพพานะสันติเก
คำแปล
ฌานไม่เกิดกับคนไม่มีปัญญา ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนไม่มีฌาน
ผู้ใดมีฌานและปัญญา ผู้นั้นได้อยู่ใกล้นิพพาน
พราหมโณ ฌายี ตะปะติ
นักพรตผู้มีฌานจึงรุ่งเรือง มีตบะกล้าในหมู่สมณะ
ถ้า ท่านปฏิเสธฌาน ญาณจะเกิดได้อย่างไร
เพราะฌานเป็นเหตุ ญาณเป็นผล
นั่นคือสมถะเป็นเหตุ วิปัสสนาเป็นผล
เย ธัมมา เหตุปภวา เตสัง เหตุง ตถาคโต.
ผลทุกอย่างเกิดจากเหตุ เมื่อต้องการผลก็ต้องสร้างที่เหตุ
ถ้าค้นหาสาเหตุเจอ สถานการณ์ต่างๆ ก็แก้ไขได้
นอกจากนี้ วิธีการทำกรรมฐานในยุคปัจจุบัน แทบทุกแห่งล้วนแต่ปฏิเสธการได้ฌานทั้งนั้น สอนแต่เพียงให้ผู้ปฏิบัตินั่งใช้สติเฝ้าจับอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางอายตนะทั้ง 6 เป็นการไล่จับอารมณ์ไปตามอายตนะต่างๆ ที่รับรู้ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้เกิดฌานได้ เพราะฌานจะเกิดได้จิตจะต้องนิ่งอยู่ในใจอย่างเดียว พยายามตัดการรับรู้อารมณ์ภายนอกทั้งหมดทิ้ง จิตจะนิ่งอยู่กับอารมณ์ทางใจอย่างเดียว(เอกัคคตา - One Way) ฌานจึงจะเกิดได้
ถ้าหากว่าการใช้กรรมฐานซึ่งเป็นวิธีการฝึก จิตที่เป็นระบบตามหลักการของพระพุทธศาสนาจริง ๆ เรื่องของฌานสมาธิก็ไม่ได้เกินวิสัยของมนุษย์ที่จะทำได้
ใน ข้อนี้พวกเราในยุคหลังก็ควรท่องคติพจน์ของพระพุทธองค์ตอนที่ไปศึกษายังสำนัก อาจารย์สองท่านจนทำให้ได้ฌาน 8 ระดับไว้ในใจด้วย เผื่อจะเป็นกำลังใจในการลงมือปฏิบัติดู เพื่อให้เกิดฌานจริงๆ โดยพระพุทธองค์ตั้งคติประจำใจว่า
ท่านเป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์
ท่านมีความเพียร เราก็มีความเพียร
ดังนั้น ถ้าท่านทำได้ เราก็ต้องทำได้
ในคัมภีร์ทางพระพุทธ ศาสนาได้พูดถึงเรื่องฌานที่มีผลต่อการบรรลุธรรมและทำให้เกิดอานุภาพต่างๆ ไว้หลายอย่าง เพื่อความเข้าใจกระจ่างในเรื่องนี้ จะขอนำความหมายและผลที่ได้จากสมาธิมาอธิบายให้ฟัง ดังนี้
ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสถึงภิกษุผู้ได้ฌานแม้ได้เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ชั่วดีดนิ้วมือครั้งหนึ่งว่า การได้ฌานเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ขนาดนั้นก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ห่างไกลจากฌาน ที่จะทำได้ในกาลต่อไป ชื่อว่าได้ทำได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดา ได้ปฏิบัติตามโอวาทของพระศาสดาแล้ว ถ้าผู้นั้นเป็นพระภิกษุก็จะฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า นี้พูดถึงการปฏิบัติได้ชั่วเวลาสั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผู้ที่ทำได้นาน ๆ หรือทำได้มากกว่านี้
นอกจากนี้แล้ว พระพุทธองค์ยังตรัสต่อไปอีกว่า ฌานสมาธินี้สามารถที่จะทำให้สิ้นอา สวะกิเลสได้ ตั้งแต่ฌานขั้นแรกขึ้นไปก็สามารถปราบนิวรณ์ให้สงบระงับได้แล้ว แม้จะไม่หมดไปทีเดียวแต่ก็สามารถปราบได้เป็นคราวๆไป ไม่จำเป็นต้องพูดไปจนถึงฌานระดับที่สูงกว่านี้ ซึ่งแต่ละฌานล้วนมีหน้าที่ในการเผากิเลสเหมือนกันทั้งหมด
ใน ตอนหนึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่า เพียงแค่คนที่ทำฌาน 4 อย่างได้ คือ ตั้งแต่ขั้นแรกไปจนถึงขั้นที่ 4 อย่างใดอย่างหนึ่งนี้จนเกิดความชำนาญผู้นั้นจะไหลไปสู่นิพพาน(นิพพานนินโน) จะน้อมไปสู่นิพพาน(นิพพานโปโณ) และทำนิพพานให้เต็มบริบูรณ์ได้ (นิพพานปัพภาโร)
ในพระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกได้บรรยายคุณ ของพระพุทธเจ้าที่ทรงได้ปัญญาในการตรัสรู้ว่า เพราะสาเหตุมาจากการได้ฌานเหล่านี้เป็นฐานให้ ตั้งแต่ฌานที่ 1 ไปจนถึงฌานที่ 8 หรือจะพูดให้ถูกต้อง ก็เป็นเพราะผลมาจากฌานสมาธินี้เองที่ทรงทำให้มีปัญญาตรัสรู้ได้ ดังนั้น แสดงว่าฌานสมาธินี้มีผลต่อการบรรลุธรรมในทางพระพุทธศาสนาโดยตรง และที่สำคัญฌานยังเป็นข้อสำคัญของมรรคมีองค์ 8 ประการ ข้อสุดท้าย คือ สัมมา สมาธิ (สมาธิที่ประกอบด้วยฌาน) ถ้าขาดข้อนี้ มรรคก็คงเหลือแค่ มรรค 7 ไม่ครบองค์แห่งการตรัสรู้แน่นอน
ในพระพุทธพจน์บทหนึ่งได้พูดถึงฌานที่ทำให้เกิดปัญญาและปัญญาได้มาจากฌานว่า
นัตถิ ฌานัง อะปัญฺญัสสะ แปลว่า ฌานไม่มีกับคนที่ไม่มีปัญญา
นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน แปลว่า ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนที่ไม่มีฌานเหมือนกัน
และ พระพุทธองค์ก็ยังทรงย้ำสรุปต่อไปอีกว่า
ถ้าผู้ใดมีฌาน จนทำให้เกิดปัญญาหรือมีฌานและมีปัญญา ผู้นั้นจะได้อยู่ใกล้นิพพาน (นิพพานสันติเก) อย่างแน่นอน
การได้ฌานสมาธิที่เป็นผลมาจากการฝึกจิตเป็นระบบตามวิธีการสอนของพระ พุทธเจ้า ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ฝึกสามารถสำเร็จผลของการเป็นผู้ปฏิบัติธรรมได้ อย่างสมบูรณ์ ดังมีคราวหนึ่งในตอนเย็นวันพระ 15 ค่ำ พระอานนท์ได้ยืนมองพระอาทิตย์ที่กำลังจะตกดินที่มีรัศมีส่องประกายก่อนจะ ลับขอบฟ้าไปอย่างสวยงามมาก ท่านยืนมองไปจนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว
ครั้น หันกลับมามองไปยังทางทิศตะวันออกซึ่งพระจันทร์เต็มดวงกำลังโผล่ขึ้นพ้นขอบ ฟ้าขึ้นมาอีกฟากหนึ่ง พระจันทร์เต็มดวงในวันเพ็ญก็สวยงามไม่แพ้พระอาทิตย์กำลังจะตกดินเหมือนกัน ท่านพระอานนท์กำลังดื่มด่ำกับการมองพระอาทิตย์และพระจันทร์อยู่
แต่ เมื่อกลับหลังหันมามองพระพุทธเจ้าซึ่งนั่งอยู่ท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ภายใต้ แสงจันทร์อันนวลผ่อง แต่พระรัศมีของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายออกมากลับมีความสวยงามกว่าแสงพระ อาทิตย์และแสงดวงจันทร์ที่กำลังโผล่ขึ้นขอบฟ้ามาเสียอีก
พระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนี้แก่พระพุทธองค์ว่า แสงแห่งพระอาทิตย์ในเวลาจะตกดินและแสงพระจันทร์เต็มดวงที่ขึ้นสู่ขอบฟ้าใน ยามที่ปราศจากเมฆหมอก ยังสวยสู้พระรัศมีของพระพุทธเจ้าไม่ได้
พระ พุทธองค์ได้ทรงอธิบายถึงสิ่งที่รุ่งเรืองและงดงามในโลกนี้ 5 อย่าง คือ
พระ อาทิตย์ จะรุ่งเรืองในตอนกลางวัน
พระจันทร์จะรุ่งเรืองในตอนกลาง คืน
พระราชาจะรุ่งเรืองในขณะทรงเครื่องพระราชอิสริยยศ
เหล่า นักพรตผู้ที่จะรุ่งเรืองที่สุด ก็คือ ผู้มีฌาน
แต่ พระพุทธเจ้าจะรุ่งเรืองทั้งกลางวันทั้งกลางคืนเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด
จาก เรื่องฌานสมาธิที่พูดมานี้ แสดงว่าการมีฌานสมาธิไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจตามที่มีหลายคนเข้าใจ แต่เป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญควรยกย่องและควรเชื้อเชิญให้มีการนำไปฝึกปฏิบัติ กันมากๆ เพื่อผลแห่งการชิมรสพระสัทธรรมของพระพุทธองค์
การทำสมาธิด้วยวิธีการทางพระพุทธศาสนาที่สามารถทำฌานสมาธิให้เกิดได้นี้ ไม่ว่าจะเป็นกสิณชนิดใดก็ตาม สามารถทำฌานได้สูงสุดเหมือนกัน และเมื่อเราทำภาพนิมิตกสิณให้เด่นชัดขึ้นมาในใจได้ ภาพกสิณที่ผุดขึ้นมาในใจนั้นจะเด่นชัดยิ่งกว่าพระอาทิตย์กำลังจะตกดินหรือ กำลังโผล่พ้นขึ้นขอบฟ้าในยามเช้ามืดเสียอีก ในขณะที่เราเห็นภาพกสิณนิมิตเช่นนี้บ่อยๆ จิตจะสามารถหยุดนิ่งอยู่กับอารมณ์กสิณนั้นได้ และเมื่อเพ่งอยู่กับนิมิตกสิณนั้นนานๆ จิตเริ่มเป็นสมาธิมากขึ้น
ดัง นั้น ผลของสมาธิที่ได้จากฌาน จึงทำให้เกิดปัญญารู้เข้าใจความจริงขึ้นมาได้ เพราะอำนาจของฌานสมาธินี้เป็นผลทำให้เกิด ท่านจึงเรียกว่า ฌานเป็นเหตุ ญาณ(ความรู้)เป็นผล หรือสมถะ[b]เป็น[b] เหตุ วิปัสสนาเป็นผล
ทั้ง ฌานและปัญญา 2 สิ่งนี้จะต้องเกิดต่อเนื่องกันไปไม่ใช่แยกกันทำ
การปฏิบัติธรรมด้วยวิธีการปฏิเสธฌานสมาธิ จึงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดฌานได้ เพราะเมื่อปฏิเสธฌานที่เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาแล้ว ปัญญาที่หวังกันจึงเกิดขึ้นไม่ได้ และอีกอย่างหนึ่งเพราะความเข้าใจผิดของผู้ปฏิบัติเอง ที่มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดปัญญาโดยทั้งๆที่ไม่มีฐานรองรับจึงไม่อาจจะทำให้ สำเร็จได้ เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้คนจำนวนมากคิดว่า ฌานสมาธิเป็นเรื่องเกินเลยวิสัยไม่อาจทำได้ในยุคปัจจุบัน แต่ถ้าเรารู้ถึงหลักวิธีการและปฏิบัติตามวิธีที่พระพุทธเจ้าวางไว้ก็สามารถ ที่จะทำได้ เพราะว่าวิธีปฏิบัติหรือการบรรลุมรรคผล พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็น อกาลิโก แปลว่าไม่ขึ้นต่อยุคต่อสมัย สามารถปฏิบัติได้ตลอดทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ถ้าเราชาวพุทธรู้หลักการข้อนี้แล้ว การเดินตามรอยบาทของพระพุทธองค์ก็คงไม่ยากเท่าที่ควรนัก ขอเพียงอย่างพึงด่วนสรุปว่า เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เท่านั้นก็พอ
สิ่ง สำคัญของหลักการปฏิบัติ คือ เมื่อ เราดูจิตไปเรื่อยๆ ไม่ว่าสภาวธรรมใดเกิดขึ้นก็ให้เรารับรู้ คอยสังเกต แต่อย่าไปยินดียินร้าย หรือ เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะสภาวธรรม หรือองค์ฌานต่างๆเหล่านี้ก็มีความไม่เที่ยงอยู่ด้วยตัวของมันเอง ย่อม มีความแปรปรวน มีการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา หากนักปฏิบัติไปหลงยึดติดหรือติดใจ ยามใดที่สภาวธรรมนั้นๆไม่เกิด หรือ สภาวธรรมนั้นๆมีการแปรเปลี่ยนไป เราก็จะเป็นทุกข์
ส่วน กรรมฐานที่จะทำให้เกิดฌานนั้นก็มีมากมายแตกต่างกันไป บางคนเพ่ง กสิณ หรือ ภาพนิมิต บางคน เพ่งลมหายใจ บางคน เพ่งดูความคิด ฯลฯ ส่วนการฝึกจิตตามดูความรู้สึก เกิด-ดับ ที่กลางทรวงอกนี้ เป็น ลัก ขณูปนิชฌาน (หรือการเพ่งลักษณะ ความไม่เที่ยง เป็นอารมณ์ ซึ่งถือว่าเป็น วิปัสสนา หรือ เรียกอีกชื่อว่า อนิมิตตสมาธิ) ดังข้อมูลดังกล่าวนี้
2ฌาน (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ Meditation; Kontrolle; Prüfung - meditation; scrutiny; examination)
1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 Objekt-Prüfung Jhana) - object-scrutinizing Jhana)
2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล Merkmal-Prüfung Jhana - characteristic-examining Jhana)
วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
3 สมาธิ (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น — Konzentration concentration)
1. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ Konzentration auf die Leere — concentration on the void)
2. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ Konzentration auf die zeichenlose — concentration on the signless)
3. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ :Konzentration auf das Desireless oder Nicht-Sehnsucht concentration on the desireless or non-hankering)
ท่านทั้งหลายที่ปฏิบัติฌาณนั้น ต้องมีความเข้าใจในหลักธรรมเสียก่อน นั้นคืออริยสัจสี่มรรคมีองค์แปด แล้ว จึงมาวิปัสสนา วิปัสสนาคือการใช้ปัญญาในการใคร่ครวญในธรรม การหาหลักธรรมใดธรรมหนึ่งมาพิจารณาให้ถูกจริตตนก่อน แล้วพิจารณาในเข้าใจในธรรมนั้นอย่างลึกซึ้ง ถ้าท่านไม่เอาหลักธรรมมา ก่อน แล้วมานั้งสมาธิเพื่อเอาฌาณ จิตท่านจะเพี้ยนไป นั้นคือวิปัสสนูกิเลสสิบประการ
ถ้าท่านรอดวิปัสสนูกิเลสไปได้ ก็จะเข้าถึงฌาณได้ แต่ท่านต้องพึงมีสติอยู่เสมอ ถ้าหลงอยู่ในฌาณ จิตท่านก็จะเพี้ยนไปกลายเป็นมีอัตตามานะและทิฐิมานะ ท่านต้องมีครูอาจารย์ที่เข้าใจแนวทางปฏิบัติ
โดยความเห็นส่วนตัวข้าพเจ้านั้น คิดว่าคนที่ต้องการฝึกฌาณนั้น เพราะตัวเองมีความอยากเป็นที่ตั้ง โดยไม่รู้ตัวว่านี่คือความอยาก และเป็นความอยากอย่างละเอียด นี่และจึงทำให้ไม่เห็นเส้นทางสู่พระนิพพานได้เลย
ในการทำสมาธินั้น หัวใจหลักสำคัญก็คือ "ความตั้งมั่น" หรือ หากเป็นภาษาความรู้สึกในการปฏิบัติก็คือ "การใส่ใจ" ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราอ่านหนังสือ หากเรามีความใส่ใจในเนื้อหาที่เราอ่านเป็นอย่างดี ความตั้งมั่นก็จะเกิดขึ้น ความคิดที่จะแว็บออกไปคิดถึงเรื่องอื่นก็น้อยลง อารมณ์จิตเริ่มมีความเป็นหนึ่ง คือ มีแต่เนื้อหาในหนังสือที่เรากำลังอ่าน หากเรามีความเข้าใจในเนื้อหานั้นด้วยก็เท่ากับว่าเราได้ทั้ง สมาธิ และ ปัญญา ไปในขณะเดียวกัน
สำหรับการดูจิตโดยการดูความรู้สึกที่เกิดขึ้นที่กลางทรวงอกนี้ หลักการง่ายๆที่จะทำให้เราสามารถทำสมาธิได้ถึงฌานนั้น ขอให้ลองเปรียบเทียบกับการมอง เช่น เวลาที่เรามองอะไรสักอย่างภายนอกอย่างใส่ใจเป็นเวลานานๆ เราลองมองดูอะไรสักอย่างก็ได้ที่เบื้องหน้าเราแบบลองไม่กระพริบตา และไม่ให้คลาดสายตาไปจากสิ่งนั้นดู จะสังเกตได้ว่า สักพักความคิดของเราจะค่อยๆเบาบางลง ความรับรู้ความใส่ใจของเราที่มีต่อสิ่งที่เรากำลังมองอยู่นั้นจะค่อยๆเพิ่ม มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อถึงตรงจุดนี้ก็จะมีลักษณะที่แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ
1.เรามองสิ่งที่กำลังถูกเห็นนั้นเฉยๆแบบไม่ได้คิดอะไร
2.เรามองสิ่งที่กำลังถูกมองนั้นอยู่พร้อมกับใช้ปัญญาในการสังเกตถึง ลักษณะของสิ่งที่กำลังถูกเห็นนั้นไปด้วย (สังเกตว่าปัญญาในขณะนั้นจะต่างจากปัญญาที่ใช้ความคิดทั่วๆไป เพราะในขณะจิตที่เป็นสมาธิอยู่นั้นความคิดจะเริ่มเบาบางลงไปแล้ว ปัญญาที่ใช้ในการพิจารณาและสังเกตนี้จึงมีความละเอียดอ่อนกว่าความคิดที่ ขึ้นมาทั่วๆไป ซึ่งเราอาจเรียกปัญญาในขณะจิตที่เป็นสมาธินี้ว่า "ญาณ" ก็ได้)
ทีนี้ในการดูจิตที่กลางทรวงอกนี้เราลองใช้หลักการเดียวกับการมองสิ่ง ภายนอก โดยการใช้ "ตาใน" ในการมองกลับเข้ามาที่ความรู้สึกภายในบริเวณกลางทรวงอกแถวลิ้นปี่ เอาความรู้สึกมองเข้าไปที่นั้นให้ต่อเนื่องเหมือนกับการมองสิ่งภายนอกแบบไม่ กระพริบตาให้ต่อเนื่องแบบไม่ให้คลาดสายตา หากเป็นการมองแบบไม่กระพริบตาภายนอกนั้น เราอาจจะมีอาการเคืองตาได้ แต่สำหรับการใช้ตาในในการมองกลับเข้าข้างในนั้น เราใช้เป็นความรู้สึก หรือ หากเราหลับตาทำสมาธิอยู่เราก็จะไม่ต้องกังวลกับดวงตามากนัก
สังเกตดูว่ายามที่เราหยั่งความรู้สึก "ใส่ใจ" ไปที่ความรู้สึกกลางทรวงอกบริเวณลิ้นปี่ แบบให้ความรู้สึกปักคาไว้ที่ ณ จุดนั้นเลย ให้เราหยั่งความรู้สึกไปแบบสบายๆเหมือนเรามองดูอะไรสักอย่างแบบปกติ(เพียง แต่เรามองข้างในอยู่) เราก็จะเห็นถึงความรู้สึกที่กำลัง เกิด-ดับ อยู่ รวมทั้งลมหายใจที่กำลังหายใจอยู่ควบคู่กันไปด้วย เมื่อความต่อเนื่องในการใส่ใจความรู้สึกของเราต่อเนื่อง ตั้งมั่นและยาวนานขึ้น ความคิดต่างๆก็จะค่อยๆเบาบางลง ความรู้สึกสบาย ความสงบ ก็จะค่อยๆเข้ามาแทนที่
คำว่า "ฌาน" นั้น หากแปลตรงตัวก็แปลว่าการเพ่ง หรือการจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเป็นสมาธิ หากแปลตามภาษาสภาวะ ก็คือ อาการที่จิตใส่ใจถึงการปล่อยวางสภาวะที่หยาบไปสู่สภาวะที่ละเอียดขึ้นไป เรื่อยๆตามลำดับ
เมื่อนำมาเทียบเคียงกับสภาวะในการดูจิตที่กลางทรวงอกแล้ว เมื่อจิตเป็นสมาธิต่อเนื่อง ก็จะสังเกตเห็นถึงการปล่อยวางของจิตจากการใส่ใจสภาวะธรรมที่หยาบ เช่น ความคิดภายนอก ความรู้สึกทางร่างกาย ลมหายใจ ฯลฯ ไปสู่สภาวะธรรมที่ละเอียดอ่อนมากขึ้นไปตามลำดับ (ซึ่งหากเป็นในภาษาปริยัติก็จะมีกล่าวถึงองค์ประกอบของฌานในขั้นต่างๆไป)
ซึ่งตรงจุดนี้สำหรับในการปฏิบัติดูจิตแล้ว เราไม่จำเป็นต้องไปใส่ใจกับภาษามากนัก ขอให้เรารู้และเข้าใจเพียงว่าสภาวะจิตของเราในขณะนี้นั้นเป็นเช่นไร มีความคิดอยู่หรือไม่มีความคิดแล้ว จิตสงบแค่ไหน มีความรู้สึกอย่างไร ลมหายใจเป็นอย่างไรบ้าง ฯลฯ การที่เราใช้ญาณปัญญาในการสังเกตถึงสภาวะธรรมที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการดูจิต เห็นจิต และ กำลังทำความเข้าใจกับจิตของเรา โดยการมีทั้งสมาธิแล้วก็ปัญญา(ญาณ)ควบคู่กันไปด้วย
แต่ไม่ว่าจิตจะสงบจากการดูจิตมากแค่ไหน เราก็ต้องทำความเข้าใจและมีความเห็นเอาไว้ก่อนว่า สมาธิหรือสภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยงและไม่ควรยึดมั่น จะมีความคิดหรือไม่มีความคิด ความคิดมากหรือความคิดน้อย สงบมากสงบน้อย ที่สุดแล้วสภาวะเหล่านั้นก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไป เมื่อจิตเราถอนออกจากสมาธิ จิตก็จะเริ่มรับรู้อารมณ์ภายนอกและสิ่งต่างๆที่มีความหยาบมากขึ้น ไม่ว่าเราจะอยู่ในอารมณ์ไหน ในสภาวะธรรมที่หยาบหรือละเอียดอ่อน ก็ให้เราเพียงแค่มีสติตามระลึกรู้ดูความรู้สึกที่กลางทรวงอกนี้ไปเรื่อยๆ อะไรเกิดขึ้นก็รับรู้ สังเกต ทำความเข้าใจ แล้วก็ปล่อยวางไป เช่นนี้การปฏิบัติธรรมการดูจิตของเราก็จะก้าวหน้าไปได้เรื่อยๆโดยไม่ติด ขัด(หรือไม่ไปติดอยู่กับวิปัสสนูกิเลสใดๆ ซึ่งวิปัสสนูกิเลสนี้เป็นธรรมดาสำหรับนักปฏิบัติที่มีความเพียรมากๆทีอาจจะ เกิดขึ้นได้ แต่หากเราเข้าใจและไม่ไปยึดมั่นถือมั่นใดๆ แม้จะมีคุณธรรมหรือคุณวิเศษใดๆเกิดขึ้น จิตก็จะไม่ไปยึดติด และสามารถเจริญก้าวหน้าเดินตัวต่อไปได้)
แม้สภาวะธรรมทั้งหลายจะไม่ควรยึดมั่นถือมั่นก็จริง แต่การเข้าฌานให้จิตสามารถเข้าถึงสภาวะที่ละเอียดอ่อนภายในได้นั้นก็มี อานิสงส์อยู่มากมาย (อานิสงส์จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่ที่ความลึก ความตั้งมั่น และความแยบคายของญาณปัญญา ในสมาธิของแต่ละคน) แถมยังมีกำลังในการช่วยลดทอนหรือตัดรอนวิบากกรรมที่ไม่ดีต่างๆให้เบาบาง น้อยลง หรือ หมดลงไปได้ด้วย ดังนั้นหากมีเวลาว่าง เราก็ควรที่จะหาเวลานั่งสมาธิดูจิต และเพิ่มความใส่ใจทำจิตให้เข้าสู่สมาธิที่ลึกๆขึ้นไปตามลำดับอยู่บ่อยๆ หากเราทำมากๆเข้า เราก็จะสังเกตเห็นถึงอานิสงส์และสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นกับเราและรอบดัวของเรา ได้อย่างไม่น่าเชื่อเอง ขอเจริญพร.
ปล.สำหรับการดูจิตทำสมาธินั้น ขอให้สังเกตว่าความอยากในการทำสมาธินั้นเกิดมาจากความยึดติดในสัญญาความคิด หากเราไม่ได้คิดอะไรมาก เพียงแค่หยั่งความรู้สึก ใส่ใจเข้าไปที่ความรู้สึกที่กลางทรวงอกบริเวณลิ้นปี่ แล้วปล่อยให้จิตดำเนินตัวเข้าสู่สภาวะธรรมต่างๆไปของมันเอง เรามีหน้าที่เพียงดำเนินจิต วางจิตให้ถูกต้องเท่านั้น จิตก็จะสามารถเข้าสู่สมาธิตามลำดับขั้นต่างๆได้อย่างง่ายดาย และหากเราไม่ไปยึดมั่นถือมั่นกับสภาวะธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วยแล้ว เราก็จะเป็นผู้ที่ดำเนินหรือโคจรอยู่ในฌานแต่ไม่ติดในฌาน แม้ความคิดจะเข้าฌานก็ไม่มี(เพราะการเข้าสู่สภาวะฌานนั้นจิตดำเนินตัวไปของ เขาเอง)
เราก็จะเป็นผู้ที่มีวิหารธรรม มีฌานเป็นเครื่องอยู่อันผาสุข เพราะธรรมชาติของจิตนั้นหากเรายังไม่ตาย(แม้แต่พระอรหันต์เอง) ก็ยังต้องมีการรับรู้อารมณ์ต่างๆอยู่ ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะเลือกอยู่ในอารมณ์ใด สภาวะใด เหมือนกับคนที่เลือกเสื้อผ้าในการใส่ ไม่ว่าจะเลือกใส่เสื้อผ้าตัวใดก็มีญาณปัญญารู้ว่าเสื้อผ้าก็เป็นเพียงแค่ เสื้อผ้าเท่านั้นไม่ใช่ตัวเรา หรือ เหมือนกับการเลือกทานอาหาร แม้ว่าเราทานอะไรเข้าไปก็อิ่มเหมือนกัน แต่หากคนมีปัญญาก็ย่อมที่จะเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกจริต ถูกกับสภาวะธาตุขันธุ์ของร่างกาย หรือ เรียกง่ายๆว่า "ถูกโรค" นั่นเอง ขอเจริญพร.
ว่าการนั่งสมาธิให้ได้ฌานนั้น นอกจากได้ความสงบแล้วยังจะได้อะไรอีกในระดับสูง ๆ ขึ้นไป
ใน แต่ละองค์ฌานนั้นจะมีสิ่งที่สามารถละนิวรณ์ให้สงบลงได้ ตามขั้นของฌานที่นักปฏิบัติเข้าได้ (ในที่นี้ขอเอ่ยถึง เฉพาะ สัมมาสมาธิ หรือ ฌาน 1-4)
ฌาน 1 วิตก ละ ถีนมิทธะ , วิจาร ละ วิจิกิจฉา
ฌาน 2 ปีติสุข ละ พยาบาท
ฌาน 3 สมาธิ ละ ความฟุ้งซ่าน
ฌาน 4 อุเบกขา ละ กามฉันทะ
การ ที่นักปฏิบัติจะสามารถเข้าองค์ฌานในแต่ละฌานได้นั้น จำเป็นที่จิตจะต้องสามารถละนิวรณ์ในแต่ละตัวลงได้เสียก่อน มิเช่นนั้นจิตก็จะไม่เข้าสู่องค์ฌานในแต่ละขั้นนั้นๆ ดังนั้น สัมมาสมาธิในฌาน1-4 นี้ จึงเป็นสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญาในการละกิเลสไปในตัว เพียงแต่ตรงจุดๆนี้จะเป็นจุดที่เป็นเหมือนทางเชื่อมที่แบ่งเป็นสองทาง ขึ้นอยู่ที่สภาวะจิตของนักปฏิบัติแต่ละท่านว่า จะน้อมจิตไปสมาธิโดยใช้ปัญญาที่เกิดขึ้นแต่เพียงเพื่อให้จิตเข้าสู่ความสงบ หรือเข้าสู่องค์ฌานอย่างเดียว หรือ จะสามารถใช้ปัญญาในการพิจารณาคุณและโทษเหตุเกิดและเหตุดับของกิเลสต่างๆควบ คู่กันไปด้วยจนกระทั่งจิตรวมเป็นสมาธิเข้าสู่องค์ฌาน
หาก เป็นแบบแรก ก็จะเรียกจิตที่หลุดพ้นจากนิวรณ์และกิเลสต่างๆ(ชั่วคราว)ว่าเจโตวิมุตติ ซึ่งองค์ฌานเช่นนี้จะไม่ได้ตัดกิเลสให้ขาดหมดจดออกไปจากจิต แต่แม้ว่าจะไม่ได้ตัดกิเลสให้ขาดไป แต่การเจริญฌานบ่อยๆจะเป็นการเสริมสร้างอินทรีย์ของนักปฏิบัติให้มีความแก่ กล้ามากขึ้น ทำให้รู้สึกหรือรับรู้ได้ว่า กิเลสต่างๆนั้นเบาบางลง และเราสามารถควบคุมจิต มีสติ และ สัมปชัญญะ ได้ดีขึ้น
ส่วน แบบที่สองคือ นักปฏิบัติที่เข้าสมาธิ เข้าสู่องค์ฌาน โดยการใช้ปัญญาพิจารณาเห็นถึงคุณโทษ เหตุเกิด และ เหตุดับของกิเลสต่างๆประกอบกันไปด้วย(ซึ่งตรงจุดนี้อาจจะมีความแยบคายแตก ต่างกันไปตามจริตและอินทรีย์ของแต่ละบุคคล) เมื่อจิตเข้าสู่องค์ฌานในแต่ละฌาน ด้วยกำลังของจิตที่เป็นสมาธิ ควบคู่ไปกับญาณปัญญาที่เกิดขึ้น ก็จะทำให้ในขณะที่จิตเลื่อนขั้นไปสู่ฌานต่างๆนั้น นิวรณ์และกิเลสสังโยชน์ต่างๆ ก็จะถูกประหัตประหารถูกขจัดให้หมดไปโดยเด็ดขาด ด้วยกำลังของทั้งสมาธิและญาณปัญญาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ตรงนี้เราเรียกการหลุดพ้นจากกิเลสแบบนี้ว่า "ปัญญาวิมุตติ" เป็นการหลุดพ้นที่กิเลสจะไม่กลับมาเกิดขึ้นอีก
ว่าสาเหตุที่จิตไม่เป็นสมาธินั้น มีได้ 2 กรณีคือ
1.เกิดจากนิวรณ์ 5 เช่น ความพอใจ ไม่พอใจ ความหดหู่ ฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความลังเลความสงสัย อารมณ์ต่างๆเหล่านี้จะทำให้จิตรวมลงเป็นสมาธิกับกรรมฐานที่เรากำหนดได้ยาก (แบบนี้ควรแก้ไขปรับปรุง)
2.โดยตัวสมาธิเองนั้นก็มีความไม่เที่ยงอยู่ด้วยตัวเองอยู่แล้ว เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง สมาธิที่เกิดขึ้นก็จะถึงความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา (หากเป็นเพราะเหตุนี้เพียงแค่กำหนดรู้และยอมรับตามความเป็นจริงเท่านั้น)
หลักการปฏิบัตินั้นให้เรากำหนดจิตอยู่กับกรรมฐานที่เรากำหนดไปเรื่อยๆ จะสงบบ้างไม่สงบบ้าง ก็ให้ตามรู้ตามเห็น และใช้การสังเกต ใช้ปัญญาค่อยๆพิจารณาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขจิตของตนไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจิตจะเป็นสมาธิหรือไม่เป็นสมาธิ การวางเฉยในสภาวะและอารมณ์ที่เกิดขึ้น จะทำให้จิต(ในจิต) ตั้งมั่น นั่นคือสมาธิที่แท้จริงเป็นตัว "สัมมาสมาธิ" ขอเจริญพร
มันขึ้นอยู่ที่การกำหนดขอบเขตของ "สติ" ของเราว่าจะแผ่ขยายการระลึกรู้ของเราไปที่ส่วนใดบ้าง ยกตัวอย่างเช่น นักกีฬาฟุตบอล หากมีสติจดจ่ออยู่กับ ลูกฟุตบอลและขาของตนเอง ก็อาจจะรับรู้ได้(ดี)แค่เฉพาะการวิ่ง การเลี้ยงลูก แม้อาจจะรับรู้เหตุการณ์ต่างๆในสนามอยู่บ้างก็ไม่ดีเท่ากับ การที่นักกีฬาฟุตบอลแผ่ขยายสติการรับรู้ ทั้งที่ร่างกายตนเอง การเคลื่อนไหว ลูกฟุตบอล รวมไปถึง นักกีฬาคนอื่นทั้งที่อยู่ในฝั่งเดียวกัน หรือ คนละฝั่ง ขอบเขตของสติที่แตกต่างกันนี้ก็จะทำให้ข้อมูลการรับรู้ในสิ่งต่างๆแตกต่าง กันด้วย (ส่วนใครจะสามารถรับรู้เก็บเกี่ยวข้อมูลหรือวิเคราะห์เกมการเล่นออกมาได้ดี หรือไม่นั้น อันนี้ก็ขึ้นอยู่ที่ระดับปัญญาและความชำนาญหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆของ แต่ละบุคคล)
ส่วนการดูลมหายใจนั้น กลางทรวงอกแถวลิ้นปี่ ถือว่าเป็นฐานฐานหนึ่งของลมหายใจเท่านั้น บางคนอาจจะถนัดดูที่สะดือหรือที่ท้อง บางคนก็อาจจะอยู่ที่ปลายจมูก หรือ บางคนก็อาจจะมีสติรู้สึกตัวทั่วพร้อม เวลาสังเกตลมหายใจเข้า ออก ก็สังเกตลมที่กระจายเข้าไปยังร่างกายทุกๆส่วนก็ได้ ฯลฯ ขึ้นอยู่ที่การฝึกฝน ความถนัด ของนักปฏิบัติแต่ละคน ก็ต้องลองฝึกฝนและลองปรับหาความเหมาะสมสำหรับตนเองดูล่ะนะ เพราะทฤษฎีนั้นเป็นเหมือนกับแผนที่หรือแนวทาง ส่วนการปฏิบัตินั้นคือประสบการณ์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว แม้ว่าประสบการณ์จะไม่หนีไปจากทฤษฎี คนเราเชื่อทฤษฎีหรือมีแนวทางอย่างไรก็จะปฏิบัติไปตามนั้น แต่ความหมายความ ลึกซึ้งจากประสบการณ์จะมีมากกว่าทฤษฎีเยอะ ดังนั้น นอกจากทฤษฎีที่ดีและถูกต้องแล้ว(ทฤษฎีก็สำคัญนะไม่ใช่ไม่สำคัญ) ในส่วนของการปฏิบัติก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน(อาจจะสำคัญมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลขึ้นมาได้จริง)
ดังเช่น ช่างแกะสลัก ก่อนจะลงมือแกะสลักหินสักก้อน หรือ ไม้สักชิ้น ก็ต้องมีความรู้ มีทฤษฎี ในเรื่องเกี่ยวกับการแกะสลักเป็นอย่างดีเสียก่อน ว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ใด ใช้อย่างไร ลงแรงหนักเบาแค่ไหน เพราะหากขาดความรู้หรือทฤษฎีที่ถูกต้องแล้ว เกิดทำผิดพลาด หินหรือไม้ ที่นำมาแกะสลักนั้น ก็อาจจะต้องเสียเปล่าไปทั้งชิ้นเลยก็ได้ แต่แม้ว่าจะรู้ทฤษฎีดีเพียงใดก็ตาม ในยามที่ลงมือปฏิบัติ คือ ลงมือแกะสลักหินหรือไม้จริงๆแล้ว ไอ้คำว่า หนัก เบา การวางมุมต่างๆของอุปกรณ์ การขัดถู การรักษาสภาพของหินและไม้ให้เหมาะสมกับการแกะสลัก ฯลฯ อันนี้ทฤษฎีไม่สามารถให้รายละเอียดได้ ต้องขึ้นอยู่ที่การลงมือฝึกฝนและลงมือกระทำดูเองว่า น้ำหนักที่เหมาะสมในการลงมือแกะสลักในแต่ละครั้ง ความพอดีอยู่ที่ใด หากออกแรงมากไป วัตถุดิบก็อาจเสียหาย แต่หากออกแรงน้อยไป ก็จะไม่ได้รูปทรงตามที่ต้องการ ซึ่งส่วนนี้ต้องอาศัยหลักการทางพระพุทธศาสนาในเรื่อง อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) มาเป็นสิ่งช่วยเหลือและเกื้อหนุนผลักดัน การแกะสลักนี้ก็อุปมาเหมือนกับการปฏิบัติธรรมนั่นแหละนะ ขอเจริญพร.
วิธีการ "ดูจิต"
จิตที่ฝึกดีแล้ว ..ย่อมนำความสุขมาให้ |
1. การค้นพบจิต
|
|
หงายมือทั้ง 2 ข้าง วางบนหัวเข่า
สูดลมหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ ผ่อนลมหายใจออกเบาๆ ลงไปตรงกลางทรวงอก บริเวณลิ้นปี่
นิ่ง.. และสังเกตสักครู่หนึ่ง จะมีความรู้สึกเหมือนชีพจรเต้นอยู่ ตึ้บๆ วึ้บๆ (เกิด-ดับ) บางครั้ง รู้สึกแน่นๆ เหมือนเหนื่อยๆ หรือ รู้สึกว่างๆ อยู่ภายใน ก็ให้สังเกตความรู้สึกไว้ตรงนี้ด้วยอาการที่ผ่อนคลาย
|
2. เรียนรู้การรับ-ส่งกระแสเพื่อแผ่เมตตา
|
|
รับ-ส่ง กระแส
... ให้ส่งกระแสซึ่งกันและกัน โดย ฝ่ายรับยกมือค้างไว้ ฝ่ายส่งขยับมือ เข้า-ออกส่งกระแสเข้าไป แล้วให้ผู้รับ บอกความรู้สึกของกระแสที่รับได้ จากนั้นผู้รับเปลี่ยนเป็นผู้ส่ง แล้วให้ บอกความรู้สึกซึ่งกันและกัน
|
|
เปลี่ยน รูปแบบการส่ง..
โดย ฝ่ายรับหงายฝ่ามือขึ้น ไม่ต้อง เคลื่อนไหว ฝ่ายส่งคว่ำมือลง ผู้ส่ง น้อมส่งกระแสเมตตา พูดเข้าไปที่ จิตว่า ให้มีความสุข แล้วน้อมกระแส ไปที่มือทั้ง 2 ข้าง นิ่งสักครู่เพื่อสังเกต ความรู้สึกที่ส่งไป แล้วบอกความรู้สึก ซึ่งกันและกัน เช่น สบาย สงบ .. จากนั้นขยับมือขึ้น-ลงช้าๆ จะมีความรู้สึกเช่น อุ่นๆ ร้อนๆ เหมือนแรงดึงดูด หนักๆเวลาขยับมือเข้าใกล้ เบาๆ เมื่อยกมือ ออกห่างฯลฯ ฝ่ายรับเปลี่ยนเป็นฝ่ายส่ง ให้ส่งกระแสซึ่งกันและกัน
... ให้สังเกตว่า ดูข้างนอก..เห็นมือเคลื่อน แต่ สิ่งที่รับได้ คือกระแสคลื่นความรู้สึก ไม่มีผู้ชายหรือผู้หญิงในความรู้สึกนั้น เป็นอนัตตา ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน แต่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ดังนั้นการรับส่งกระแส นอกจากจะได้เรียนรู้กระแสพลังแห่งเมตตา ก็จะได้มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริงด้วย
|
3.กระแสที่เรียนรู้ .. สูการแผ่เมตตา
|
|
การแผ่เมตตาอย่างสั้นๆ.. จากจิต นึกถึงใคร
แผ่เมตตาไป "ให้ มีความสุข"
การแผ่เมตตาไม่มีประมาณ
จากจิต น้อมบุญกุศลที่เราได้ทำแล้วในบัดนี้ แผ่ไปให้พ่อ-แม่ ครูบาอาจารย์ ญาติสนิท มิตรที่รัก แผ่เมตตาให้ในหลวงของพวกเรา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ บรรพบุรุษที่รักษาผืนแผ่นดินนี้ไว้ ผู้มีพระคุณทุกท่าน เทวดาทั้งสิบทิศ เจ้ากรรมนายเวร สัตว์นรก เปรต อสูรกาย สรรพสัตว์ทั้งหลายอันไม่มีประมาณ ให้ร่วมอนุโมทนาสาธุการ...
ท่านที่มีทุกข์ ขอให้พ้นทุกข์ สุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่งขึ้น...
|
|
จากจิต.. แผ่พลังความรัก ความปรารถนาดีออกไปรอบๆสถานที่ รอบๆจังหวัด รอบๆประเทศ ออกไปทั่วโลก จักรวาลอันกว้างใหญ่ แผ่ไปไม่มีประมาณ กว้างขวาง ไร้ขอบเขต " ให้ทุกท่านมีความสุข" นิ่งสักครู่หนึ่ง...
|
|
เมื่อ ต้องการออกจากการแผ่เมตตา อย่ารีบลืมตา ให้ตั้งจิตภายในว่า "กลับ" แล้วสูดลมหายใจเข้าช้าๆ ผ่อนความรู้สึกลงมาที่จิต ... ที่มือ... ลงมาที่ขา สัก 2-3 ครั้ง แล้วค่อยๆลืมตา |
4. ดวงจิตผ่องใส ได้ตลอดทั้งวัน
|
|
ไม่ว่า จะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ทุกการเคลื่อนไหว ให้สังเกตความรู้สึกที่จิต เห็นการเกิด-ดับภายในไปตลอดเวลา ศีล-สมาธิ-ปัญญา จึงเดินไปพร้อมกัน |
5. ทางสายกลาง..ทางดับทุกข์
|
|
จิต..ดำเนิน อยู่บนทางสายกลาง เห็นทุกข์ และดับทุกข์ได้ เพราะมีปัญญาเห็นความจริงว่า .. ทุกข์ที่เกิดขึ้น มีความดับไปเป็น ธรรมดา จิตกับความคิดแยกจากกัน จิตจึง ผ่องใส เป็นอิสระจาก ความคิดดีและไม่ดี ความคิดไม่ดี ละทิ้งไป ความคิดดีนำมาใช้ แต่ไม่ยึดมั่นว่าความคิดทั้งหลายเป็นเราเป็นของ เรา จิตจึงหลุด พ้นจากความทุกข์ พบความสุขที่แท้จริงตลอดไป |