yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - ประวัติพระอริยสงฆ์
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  => ประวัติพระอริยสงฆ์
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง

ประวัติพระอริยสงฆ์

  1. หลวงปู่ กงมา จิรปุญโญ
  2. หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
  3. หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
  4. ประวัติหลวงพ่อชา
  5. หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
  6. พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
  7. หลวงปู่ลี ธมฺมธโร
  8. ประมวลภาพงานพระราชทานเพลิงศพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๒๑
  9. เมื่อหลวงปู่มั่นเตือนหลวงปู่ขาวยามเป็นไข้
  10. หลวงปู่เจี๊ยะ...พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง
  11. ประมวลภาพในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
  12. ประวัติพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล
  13. เก็บรูปมาฝาก พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
  14. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
  15. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธ
  16. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฎฺฐายี)
  17. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสะเกศ
  18. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร
  19. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น นภวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร
  20. หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
  21. หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต
  22. พระอาจารย์หลวง กตปุญโญ
  23. หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม
  24. หลวงปู่ศรี มหาวีโร
  25. พระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ
  26. หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต
  27. พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
  28. พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
  29. พระอาจารย์วิชัย เขมิโย
  30. หลวงพ่อเกษม เขมโก
  31. หลวงปู่คำดี ปภาโส (พระครูญาณทัสสี)
  32. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
  33. พระอาจารย์ฉลวย อชิโต
  34. หลวงปู่บุดดา ถาวโร
  35. หลวงปู่สาม อกิญฺจโน
  36. พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
  37. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)
  38. หลวงปู่กินรี จนฺทิโย
  39. พระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต
  40. พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย
  41. พระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต
  42. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
  43. หลวงปู่คำดี ปภาโส (พระครูญาณทัสสี)
  44. สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน)
  45. หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
  46. พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม
  47. หลวงปู่ขาว อนาลโย
  48. หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
  49. หลวงพ่ออุตตมะ
  50. หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
  51. หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ
  52. พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโณ
  53. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
  54. หลวงปู่ชอบ ฐานฺสโม
  55. พระอาจารย์คำพอง ติสฺโส
  56. พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
  57. จากบันทึกของหลวงพ่อ วิริยังค์ สิรินฺธโร
  58. บทความจากหนังสือพิมพ์ แอ็ดมันตัน เอ็กแซมมิเนอร์ กล่าวถึงหลวงพ่อ วิริยังค์
  59. หนังสือพิม เดอร์รีวิว ไนแอนการา กล่าวถึงหลวงพ่อวิริยังค์
  60. หนังสือพิมพ์ ฟอร์ด แมคเมอเรย์ ทูเดย์-ซิดตี้ กล่าวถึงหลวงพ่อวิริยังค์
  61. ธรรมโอสถ หลวงปู่ฝั้น
  62. พระพุทธวิถีนายก หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ
  63. หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
  64. ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย
  65. ท่านพุทธทาส
  66. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
  67. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตตโก
  68. หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส
  69. พระอาจารย์เจฟฟรี ฐานิสฺสโร
  70. พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)
  71. พาเที่ยวงานครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น
  72. หลวงปู่สรวง ออยเตียนสรูล บายตึ๊กเจีย พระอริยสงฆ์ผู้อยู่เหนือโลก 500 พรรษา ฯลฯ
  73. ประวัติ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา เทพเจ้าแห่งที่ราบสูง
  74. ประวัติ หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท
  75. หลวงปู่กงมาและหลวงพ่อวิริยังค์ผจญภัยในถ้ำวัวแดง
  76. เมื่อหลวงปู่กงมารับหลวงพ่อวิริยังค์เป็นศิษย์
  77. เมื่อหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ พาสามเณรวิริยังค์ออกฝึกธุดงค์
  78. สาเหตุแห่งการหันหน้าเข้าหาพระธรรมของหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
  79. หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนมให้หลวงพ่อวิริยังค์ ฟัง
  80. ประวัติ หลวงปู่ชื่น วัดตาอี จ.บุรีรัมย์
  81. งานประชุมเพลิงศพ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
  82. เรียบง่าย..แต่กินใจ หลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ
  83. โอวาทของพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร รวม ๔ พรรษา ปีพ.ศ. ๒๕๐๐
  84. การงาน หลักธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
  85. โวหารของท่านอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์หลุย (28 ตุลาคม พ.ศ. 2483)
  86. เอตทัคคะ
  87. เมตตาฌาณกับพระสุภูติเถระ



 คัดจากหนังสือ "อริยบุคคล" หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

 

 อารมณ์พระโสดาบัน

 

    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อแต่นี้ไปขอได้โปรดฟังคำแนะนำ อารมณ์ของพระโสดาบัน

    สำหรับวันนี้จะได้พูดถึงอารมณ์ของท่านที่ทรงความเป็นพระโสดาบัน ท่านทั้งหลายจะได้ทราบว่า คนที่เป็นพระโสดาบันแล้วมีอารมณ์เป็นอย่างไร ส่วนใหญ่คนทั้งหลายมักจะมีความรู้สึกว่า สิ่งทุกอย่างจะต้องตัดหมดนั้นเป็นความรู้สึกผิดของท่านผู้มีความคิดอย่างนั้น

    ความ จริงการเจริญพระสมณธรรมมีอารมณ์เป็นขั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่ททรงจิตเป็น คนที่เข้ามาเจริญพระกรรมฐาน หรือสมถภาวนา หรือวิปัสสนาญาณ และเริ่มเข้ามาเจริญแล้ว ทุกขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ สำ หรับอัปปนาสมาธินี้หมายถึงอารมณ์ฌานตั้งแต่ฌาน ที่ ๑ ถึงฌานที่ ๘ อารมณ์ประเภทนี้จะระงับได้เพียงนิวรณ์ ๕ ประการ แต่ก็เป็นการเพียงระงับเท่านั้นไม่ใช่ตัด ถ้ายังมีความประมาทจิตคิดชั่ว ฌานก็สลายตัว เป็นอันว่าผู้ทรงฌานโดยเฉพาะอย่างยิ่งฌานโลกีย์ ยังไม่มีความหมายในการเจริญสมณธรรมในพระพุทธศาสนา ถึงแม้ว่าท่านผู้นั้นจะได้มโนยิทธิก็ดี ได้อภิญญา ๕ ในอภิญญาหกก็ดี ได้ ๒ ในวิชชาสามก็ดี ก็ยังไม่มีความหมายในการตัดอบายภูมิ ท่านที่จะต้องอบายภูมิได้จริงๆ ก็คือตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป

    คำว่า "พระโสดาบัน" แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน

    ฉะนั้น พระโสดาบันก็ยังตัดอะไรไม่ได้หมด เป็นแต่เพียงว่ามีอารมณ์ชนะสังโยชน์ ๓ ประการเบื้องต้น แต่เพียงอย่างหยาบเท่านั้น อารมณ์ชนะสังโยชน์ ๓ ประการเบื้องต้นก็คือ

    ๑. สักกายทิฏฐิ ที่ มีความรู้สึกว่าสภาพร่างกายหรือว่าขันธ์ ๕ เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา เฉพาะอย่างยิ่งในด้านสักกายทิฏฐิ พระโสดาบันลดลงมาได้เพียงเล็กน้อย ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเราเป็นเรา เป็นของเราอยู่ แต่ทว่ามีอารมณ์ไม่ประมาท มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย ที่ท่านกล่าวว่าบรรดาพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ มีสมาธิเล็กน้อย และก็ปัญญาเล็กน้อย     คำ ว่ามีสมาธิเล็กน้อย คืออารมณ์สมาธิของท่านผู้เจริญฌานสมาบัติ มีอารมณ์ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ยังไม่ถึงฌาน ๔ ก็สามารถจะเป็นพระโสดาบันได้

    สำหรับ ที่ว่ามีปัญญาเล็กน้อย ก็เพราะว่ายังไม่สามารถจะตัดขันธ์ ๕ ได้เด็ดขาดด้วยกำลังของจิต ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา แต่ทว่าความรู้สึกของท่านมีความดีอยู่หน่อยหนึ่งว่าเราจะต้องตาย ยังไงๆ ก็ต้องตายแน่ เหมือนกับที่เปสการีมีอารมณ์คิดถึงคำสั่งสอนของสมเด็จพระธรรมสามิสร ที่ทรงตรัสว่า
    "ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง ท่านทั้งหลายจงอย่ามีความประมาทในการสร้างความดี" 

    นี่ ความรู้สึกของพระโสดาบันในด้านสักกายทิฏฐิ มีอยู่จุดนี้เข้าใจไว้ด้วย มีคนพูดกันว่าถ้าเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน จะต้องสามารถระงับทุกขเวทนาได้หมด ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ร้อน ไม่หนาว นี่ไม่ใช่ความจริง ร่างกายยังมีวิญญาณรู้การสัมผัสถึงแม้ว่าพระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดีก็ยังรู้สึก รู้สึกเจ็บ รู้สึกปวดเหมือนกัน

    นี้ว่ากันถึงอารมณ์ของพระโสดาบัน เมื่อจิตเข้าถึงพระโสดาบันแล้ว มีความไม่ประมาทในชีวิต มีความรู้สึกเสมอว่าเราจะต้องแก่ เราต้องตาย แล้วก็ขึ้นชื่อว่าความตายนี้ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่ใช่ว่าจะไปกำหนดอายุการตายว่าต้องตายเท่านั้นเท่านี้ จะต้องตายตั้งแต่ความ เป็นเด็ก หรือความเป็นหนุ่มเป็นสาว ความเป็นคนแก่ อาการที่จะตาย อาจจะด้วยโรคภัยไข้เจ็บ อาจจะตายด้วยอุบัติเหตุ หรือตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางคืน ตายดึก ตายหัวค่ำก็เอาแน่นอนไม่ได้

    ฉะนั้น พระโสดาบันจึงไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าถ้าเราจะตายก็เชิญ แต่ว่าเราจะตายอยู่กับความดี อารมณ์ของพระโสดาบันที่จะคัดค้านคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินศรีนั้นไม่มี คือว่าเป็นคนไม่สงสัยในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้เป็นอันดับที่ ๒ ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา พระโสดาบันตัดสังโยชน์ตัวที่ ๒ ได้ คือความสงสัย ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา ขึ้นชื่อ ว่าความสงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีในพระโสดาบัน เกิดขึ้นด้วยกำลังของปัญญา ที่พิจารณาหาความจริงว่า
    พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข

    และอันดับ ๓ สีลัพพตปรามาส พระโสดาบันย่อมทรงศีลบริสุทธิ์ตามฐานะของตัว คำว่าฐานะของตัวก็หมายความว่า ถ้าเป็นฆราวาสก็มีศีล ๕ เป็นปกติ มีศีล ๕ บริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา
ไม่ มีเจตนาในการทำลายศีล รักษาศีลบริสุทธิ์ ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้บุคคลอื่นทำลายศีล แล้วก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว เป็นอันว่าพระโสดาบันเป็นผู้มีความทรงอารมณ์อยู่ในศีลเป็นสำคัญ หนักหน่วงในเรื่องของศีล ยอมตัวตายดีกว่าศีลตาย
 

    ที่ กล่าวมานี้หมายความว่า สังโยชน์ ๓ ประการนี้ พระโสดาบันปฏิบัติมีจิตเข้าถึงตามนี้ นี่ก็ขอพูดกันไปว่าก่อนที่จะเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันจากโลกียะเป็นโลกุ ตตระ ตอนนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า "โคตรภูญาณ" ขณะเมื่ออารมณ์จิตของท่านผู้ปฏิบัติเข้าถึงโคตรภูญาณ

    คำว่า "โคตรภูญาณ" นี่ ก็หมายความว่า จิตของท่านผู้นั้น ยังอยู่ในช่วงระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ แต่ทว่าอารมณ์ตอนนี้จะไม่ขังอยู่นาน บางท่านจิตจะทรงอยู่เพียงแค่ชั่วโมงหนึ่ง หรือไม่ถึงชั่วโมง และบางท่านก็อยู่ถึงอาทิตย์สองอาทิตย์ถึงเป็นเดือนก็มี สุดแล้วแต่ความเข้มแข็งของจิต ในช่วงที่จิตเข้าถึงโคตรภูญาณ ท่านกล่าวว่า ในขณะนั้นอารมณ์จิตของนักปฏิบัติ จะมีความรักพระนิพพานอย่างยิ่ง คือมีความรู้สึกอยู่เสมอว่ามนุษยโลกก็ดี เทวดาก็ดี พรหมโลกก็ดี ไม่เป็นแดนแห่งความสุข ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์ มันก็ทุกข์ตลอดเวลา ถ้าเกิดเป็นเทวดาก็พักทุกข์ชั่วคราว หรือพรหมก็เช่นเดียวกัน ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีแล้วก็จะต้องจากเทวดา จากพรหมมาเกิดเป็นคนบ้างบางรายก็เกิดเป็นสัตว์นรกเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นอันว่าเขตทั้ง ๓ จุด ไม่มีความหมายสำหรับใจ จิตใจของท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงโคตรภูญาณใจมีความต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพานเป็นปกติ
    แต่ทว่าพอจิตพ้นจากโคตรภูญาณไปแล้ว ก้าวเข้าสู่ความเป็นพระโสดาบันเต็มที่ ที่เรียกว่า โสดาปัตติผล ตอนนี้อารมณ์จิตของท่านละเอียดขึ้นมานิดหนึ่ง นอกจากจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็มีความรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันเป็นของธรรมดา

    การ นินทาว่าร้ายที่จะปรากฏขึ้นกับบุคคลผู้ใดกล่าวถึงเรา จิตดวงนี้จะมีความรู้สึกว่า ธรรมดาของคนที่เกิดมาในโลกมันเป็นอย่างนี้ ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้น การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเกิดขึ้น มีความรู้สึกหนักไปในด้านของธรรมดา แต่ถ้าว่าธรรมดาของโสดาบัน ยังอ่อนกว่าของธรรมดาของพระอรหันต์มาก

    ฉะนั้น ท่านที่เข้าถึงความเป็นโสดาบัน จึงยังมีความรักในระหว่างเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง ทั้งนี้เพราะอะไร เพระว่าท่านกล่าวไว้แล้วว่า พระโสดาบันมีสมาธิเล็กน้อย และก็มีปัญญาเล็กน้อย หากว่า ท่านทั้งหลายจะถามว่า ถ้าคนยังมีความรักในเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีการอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลงก็ดูเหมือนว่าพระโสดาบันก็คือชาวบ้านธรรมดา

    แต่ ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ความรักในระหว่างเพศก็ดี ความอยากรวยก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดี ของพระโสดาบันอยู่ในขอบเขตของศีล เรารักในรูปโฉมโนมพรรณมีการแต่งงานกันได้ระหว่างสามีภรรยา ในตอนนั้นพระโสดาบันจะมีความซื่อสัตย์สุจริตกับสามีและภรรยาของตนเอง ยอมเคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน จะไม่นอกใจสามีและภรรยา ขึ้นชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร จะไม่มีสำหรับพระโสดาบัน จะทำให้ครอบครัวนั้นมีอารมณ์เป็นสุข

    และ ประการที่ ๒ พระโสดาบันยังมีความโกรธ ท่านโกรธจริง พูดเป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ ทำให้ไม่เป็นที่ถูกใจท่านก็โกรธ แต่ทว่าพระโสดาบันมีแต่อารมณ์โกรธ ไม่ประทุษร้ายให้เขามีการบาดเจ็บ และไม่ฆ่าคนหรือสัตว์ที่ทำให้ตนโกรธให้ถึงแก่ความตาย เป็นอันว่าความโกรธหรือความพยาบาทของท่าน อยู่ในขอบเขตของศีล จิตโกรธแต่ว่าไม่ทำร้าย คือแตกต่างจากคนธรรมดาตรงนี้

    สำหรับ ด้านความหลงของพระโสดาบัน ที่ขึ้นชื่อว่าหลงเพราะว่ายังมีความรักในเพศ ยังมีความอยากรวย เมื่อสักครู่นี้ข้ามคำว่าอยากรวยไป การอยากรวยของพระโสดาบัน คือต้องการความรวยในด้านสุจริตธรรมเท่านั้น เรียกว่าการทุจริตคิดร้ายคดโกงบุคคลอื่นใด ไม่มีในอารมณ์จิตของพระโสดาบัน ประกอบอาชีพด้วยความสุจริต เพราะอาศัยยังรักในความสวยสดงดงาม คือรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศยังมีอยู่ ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง เพราะว่ายังคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ยังมีของสวยของงาม การถือตัวถือตนแบบนี้ จึงเชื่อว่ายังมีความหลง แต่ความหลงของพระโสดาบันนั้น ไม่สามารถจะนำบุคคลผู้นั้น ในเวลาตายแล้วไปสู่อบายได้

    จุด นี้ ขอบรรดาท่านทั้งหลายผู้รับฟัง จงจำไว้ว่า ความจริงอารมณ์ของพระโสดาบันนั้นไม่แตกต่างกับชาวบ้านธรรมดาเท่าไรนัก ชาวบ้านธรรมดา ยังมีความรักในเพศ ยังมีสามีภรรยา แต่ทว่ายังมีการนอกใจสามี นอกใจภรรยา สำหรับพระโสดาบันไม่มี ชาวบ้านอยากรวยก็ยังมีการคบคิดกันคดโกง การโกงมีการยื้อแย่งฉกชิงวิ่งราวรูดทรัพย์ สำหรับพระโสดาบันนี่ ถ้าต้องการรวยก็รวยด้วยการสุจริต หากินด้วยความชอบธรรม ต่างกันตรงนี้

    พระ โสดาบันยังมีความหลง ตามที่กล่าวมาด้วยอาการที่ผ่านมาแล้ว แต่ทว่าพระโสดาบันก็ไม่ลืมคิดว่า เราจะต้องตาย เมื่อเราตายแล้ว เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ตอนนี้พระโสดาบันไม่เสียใจ ไม่เสียดาย ถือว่าถ้าตายเราจะมีความสุข นี่ขอท่านทั้งหลายจำอาการอารมณ์จิตที่เข้าถึงพระโสดาบันไว้ด้วย

    ตอนนี้จะขอพูดอีกนิดหนึ่งถึงอารมณ์ความจริงของพระโสดาบัน ที่เรียกกันว่า ..."องค์ของพระโสดาบัน"
    คำว่า "องค์" ก็ได้แก่ อารมณ์จิตที่ทรงไว้อย่างนั้นอย่างแนบแน่นสนิท นั่นก็คือ 
    ๑. พระโสดาบันมีความเคารพในพระพุทธเจ้าอย่างจริงใจ ไม่ คลายในความเคารพในพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะมีเหตุใดๆ เกิดขึ้น ใครจะมาจ้างให้รางวัลมากๆ ให้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ แม้แต่พูดเล่นพระโสดาบันก็ไม่พูด ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าท่านมีความเคารพในพระอริยสงฆ์อย่างจริงใจ แต่ทว่าระวังให้ดี ถ้าพระสงฆ์เลว พระโสดาบันไม่ใส่ข้าวให้กิน
    ตัวอย่าง ภิกษุโกสัมพ มี ความประพฤติชั่ว ตอนนั้นฆราวาสที่เป็นพระอริยเจ้านับหมื่น ไม่ยอมใส่ข้าวให้กิน เพราะถือว่าเป็นโจรปล้นพระพุทธศาสนา เป็นผู้ทำลายความดี ไม่ใช่ว่าเป็นพระอริยเจ้าแล้วละก็ จะเมตตาไปเสียทุกอย่าง ท่านเมตตาแต่คนดีหรือว่าบุคคลผู้ใดมีความประพฤติชั่ว แนะนำแล้วสามารถจะกลับตัวได้ พระโสดาบันก็เมตตา ถ้าเขาชั่วแนะนำแล้วไม่สามารถจะกลับตัวได้ พระโสดาบันก็ทรงอุเบกขา คือเฉยไม่สงเคราะห์ โปรดจำอารมณ์ตอนนี้ไว้ให้ดี
    ๒. ในประการต่อไป พระโสดาบันมีศีลบริสุทธิ์ ขอพูดย่อให้สั้น
เพราะองค์ของพระโสดาบันก็คือ
        ๑) มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
        ๒) มีความเคารพในพระธรรม
        ๓) มีความเคารพในพระอริยสงฆ์

    นี่จัดเป็นองค์ที่มี ๓ ประการ
        และสิ่งที่จะแถมขึ้นมาก็คือ
รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ทำทุกสิ่งทุกอย่างไม่หวังผลตอบแทน ไม่ หวังความดีมีชื่อเสียงในชาติปัจจุบัน มีความรู้สึกต้องการอยู่อย่างเดียวว่าเราทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพาน เท่านั้น อารมณ์จิตตอนนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทภิกษุ สามเณรทุกท่านต้องจำไว้ จงอย่าไปคิดว่าพระโสดาบันเลอเลิศไปถึงอารมณ์อรหันต์ โดยมากมักจะคิดว่าอารมณ์ของพระอรหันต์เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ก็เลยทำกันไม่ถึง นี่เป็นการคิดผิด ความจริงการเป็นพระโสดาบันเป็นง่าย มีอารมณ์ไม่หนักที่หนักจริงๆ ก็คือศีลอย่างเดียว

    ต่อนี้ไปขอพูดถึงอาการของพระโสดาบันที่จะพึงได้ พระโสดาบันจัดเป็น ๓ ขั้น คือ
    ๑. สัตตักขัตตุง สำหรับ ที่ท่านเป็นพระโสดาบันมีอารมณ์ยังอ่อน จะต้องเกิดและตายในระหว่างเทวดาหรือพรหมกับมนุษย์อีกอย่างละ ๗ ชาติ เป็นมนุษย์ชาติที่ ๗ และเข้าถึงความเป็นอรหัตผล
    ๒. ถ้ามีอารมณ์เข้มแข็งปานกลาง ที่เรียกกันว่า โกลังโกละ อย่างนี้จะทรงเป็นเทวดาหรือมนุษย์อีกอย่างละ ๓ ชาติครบเป็นมนุษย์ชาติที่ ๓ เป็นพระอรหันต์
    ๓. สำหรับพระโสดาบันที่มีอารมณ์เข้มแข็งเรียกว่า เอกพิช นั่นก็จะเกิดเป็นเทวดาอีกครั้งเดียว มาเกิดเป็นมนุษย์แล้วก็เป็นพระอรหันต์

    ที่ พูดตามนี้หมายความว่า ท่านผู้นั้นเมื่อเป็นพระโสดาบันแล้วเกิดใหม่ไม่ได้พบพระพุทธศาสนา จะต้องฝึกฝนตนเองอยู่เสมอทุกชาติ แต่ว่าความเป็นมิจฉาทิฏฐิในชาติต่อๆ ไป จะไม่มีแก่พระโสดาบัน เพราะ ว่าพระโสดาบันไม่มีสิทธิที่จะไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานจะเกิดได้แค่ช่วงแห่งความเป็นมนุษย์กับเทวดาหรือพรหมสลับ กันเท่านั้น
    เป็นอันว่าพระโสดาบันนี่ ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณาให้ดีแล้ว ก็จะมีความรู้สึกว่าเป็นของไม่ยาก

    หากว่าท่านจะถามว่า พระโสดาบันทั้งขั้นสัตตักขัตตุงโกลังโกละ และเอกพิชี มีอารมณ์ต่างกันอย่างไร?

    ก็จะขอตอบว่า พระโสดาบันขั้นสัตตักขัตตุง มี จริยาคล้ายชาวบ้านธรรมดามาก ยังมีอารมณ์รุนแรงในความรัก ยังมีอารมณ์รุนแรงในความโลภ ในความโกรธ ในความหลง แต่ทว่าเป็นผู้มั่นคงในศีล ไม่ละเมิด

    สำหรับพระโสดาบันขั้นโกลังโกละ ขั้น โกลังโกละนี้มีอารมณ์เยือกเย็นมาก หรือว่ามีความมั่นในคุณพระรัตนตรัยมีศีลมั่นคงมาก ความจริงเรื่องศีลนี่มั่นคงเหมือนกัน แต่ว่าจิตของท่านบอบบางในด้านความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความคำนึงถึงอารมณ์อย่างนี้มีอยู่แต่ก็น้อย ถ้ามีคู่ครองเขาจะโทษว่า กามคุณท่านจะลดหย่อนลงไป ความสนใจในเพศ ความสนใจในความโลภ อารมณ์แห่งความโกรธ อารมณ์ แห่งความหลงมันเบา กระทบไม่ค่อยจะมีความรู้สึก

    สำหรับพระโสดาบันขั้นเอกพิชี ใน ตอนนี้อารมณ์ของท่านผู้นั้น จะมีอารมณ์ธรรมดาอยู่มาก ขอท่านทั้งหลายโปรดอย่าลืมว่า พระอริยเจ้าจะเป็นฆราวาสก็ดี จะเป็นพระก็ดี จะเป็นเณรก็ดี จะเป็นคนมีจิตละเอียด ไม่ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และไม่ขัดคำสั่ง ไม่ฝ่าฝืนกฏระเบียบวินัย และกฎหมายอันนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ที่ท่านทั้งหลายจะพึงทราบ

    สำ หรับเอกพิชีนี่ ความจริงมีอาการจิตใจใกล้พระสกิทาคามี แต่ทว่าสิ่งที่จะระงับไว้ได้นั้น กดด้วยกำลังของศีล มีความรู้สึกว่าเราจะต้องประคับประคองศีลของเราให้แจ่มใสอยู่เสมอ มองดูความรักระหว่างเพศ หรือว่าความร่ำรวย หรือว่าความโกรธ หรือหลงในระหว่างเพศ หลงในสภาวะต่างๆ เห็นว่าเป็นของไร้สาระ มีอารมณ์เบาในความปรารถนาในสิ่งนั้นๆ แต่ทว่าก็ยังมีความปรารถนาอยู่

    เอา ละ บรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู เมื่อพูดมาถึงจุดนี้ วันนี้ก็คงไม่ได้อารมณ์แห่งการปฏิบัติ ในความเป็นพระโสดาบันท่านฟังกันมาแล้วสองคืน ผมเองมีความรู้สึกว่า ท่านทั้งหลายคงจะรู้สึกว่าง่ายสำหรับท่าน แต่ถ้าหากว่าเห็นว่าอารมณ์ของพระโสดาบันยากนี่ ถ้าเป็นพระหรือเป็นเณร ผมไม่ถือว่าพระว่าเณร ผมถือว่าเป็นเถน เถนในที่นี้หมายความว่ามี สระเอ นำหน้า มีถอถุง และนอหนู เขาแปลว่าหัวขโมย คือขโมยเอาเพศของพระอริยเจ้ามาหลอกลวงชาวบ้าน ตามปกติพระกับเณรนี่ต้องทรงศีลบริสุทธิ์อยู่แล้ว

    เอา ละ พูดไปเวลามันเกินไป ๑ นาที ก็ขอพอไว้แต่เพียงนี้ หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจ ต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น จะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม นั่งก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ นอนก็ได้ตามอัธยาศัยทรงกำลังควบคุมความเป็นพระโสดาบันของท่านไว้ จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สวัสดี

 

Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden