|
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - จิตประภัสสร
|
|
|
โดยหลวงพ่อโพธินันทะ บรรยายธรรม
ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง
AM เสียงสามยอด เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2546 เวลา 8.30-9.00น.
จิตประภัสสร
คือธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต
ชีวิตของเราเหมือนน้ำตกที่ไหลมาแล้วก็ถูกชะง่อนหิน, ถูกลมพัดปลิวกระจายแตกเป็นหยดเล็กหยดน้อย, ถูกแบ่งแยกออกจากกัน เหมือนกับชีวิตของเราที่แบ่งแยกออกจากความเป็นหนึ่งเดียว หรือความเป็นองค์รวมกับธรรมชาติ
ก็ทำให้เราพบกับความทุกข์ยากในชีวิตต่างๆมากมาย เมื่อเราไม่ตระหนักรู้ถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาลหรือความเป็นหนึ่ง เดียวกับสรรพสิ่ง หรือน้ำไม่ตระหนักรู้ในความเป็นหนึ่งเดียวกับแม่น้ำได้ ก็จะมีความกลัวเป็นพื้นฐานของชีวิตจิตใจ แต่น้ำก็ยังเป็นน้ำอยู่เสมอ
ไม่ว่ามันจะถูกแบ่งแยกออกเป็นหยดเป็นฟอง ฉันใดชีวิตของเราและความตายก็เป็นสิ่งเดียวกัน ชีวิตของเราแม้ถูกแบ่งแยกออกมา ก็ยังเป็นสิ่งเดียวกับสัจจะ
ถ้าเราได้ตระหนักรู้ความจริงอันนี้ เราก็จะไม่มีความกลัวอีกต่อไป แต่เพราะเราติดยึดอยู่กับความรู้สึกของเราเอง ในการดำรงชีวิตอยู่อย่างแบ่งแยกหรืออย่างปัจเจก,เราจึงกลัวตาย,กลัวความสิ้น สุด.เมื่อเราได้กลับคืนสู่ความเป็นธรรมชาติเดิมแท้ของเราหรือเป็นหนึ่งเดียว กับสรรพสิ่ง,
เราก็จะพบกับสภาวะที่เรียกว่า นิพพานหรือสุญญตาหรือความว่างนั่นเอง นั่นแหละเราจึงพูดว่าเราได้พบพระนิพพาน เมื่อเราตายก็คือความตายของความรู้สึกที่มีตัวเราแบ่งแยกจากสิ่งต่างๆ เราไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเรา,
ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน นี่แหละคือความตาย ตายจากความรู้สึกว่ามีตัวเรา เมื่อนั้นเราก็จะสัมผัสกับความว่าง ว่างจากการที่เรารับรู้สิ่งทั้งปวงอย่าง ไม่อาจให้ค่าว่ามันมีอยู่หรือมันไม่มีอยู่ นี่คือพุทธปรัชญาหรือแนวความเห็นของพระพุทธองค์
เราจะต้องมีความเพียรที่ถูกต้อง ประเด็นที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติคือเราจะต้องมีความเพียร ที่ไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเรา หรือความเพียรที่อยู่บนฐานของปรีชาญาณ, บนฐานของมิติที่อยู่เหนือโลกหรือบนฐานของมิติของความจริงหรือในสัจจะ ในทิศทางที่ถูกต้องนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น
แต่ถ้าเรามีความเพียรเพื่อหวังในผลสำเร็จ มีตัวเราทำความเพียรในผลสำเร็จบางอย่างที่เราหวังไว้ ซึ่งโดยปกติเราจะทำอะไร ที่ต้องการผลสำเร็จในชีวิตประจำวันของเราในกิจการต่างๆ ที่เราทำ ที่มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง
เราต้องการความสำเร็จในกิจการนั้น เมื่อเราได้, เรามี, เราก็ยึดถือหรือสำคัญมั่นหมายในผลของกิจกรรมนั้น. จากการมุ่งผลสำเร็จไปสู่การไม่ยึดติดใน
ผลสำเร็จด้วยความเพียรที่อยู่บนฐานของสัจจะ หรือบนฐานของความว่าง มันก็จะเป็นความเพียรที่ถูกต้อง เป็นความเพียรที่เรียกว่า วิริยะบารมีหรือเป็นสัมมาวายามะ เป็นความเพียรที่สมบูรณ์คือความเพียรที่อยู่บนฐานของสัมมาทิฐิ ผลที่ได้ก็จะไม่ทำให้เราเกิดความยึดถือในผลงานหรือในความสำเร็จนั้น
การปฏิบัติในชีวิตประจำวันในกิจการต่างๆ เขาเปรียบไว้เหมือนกับกบ กบมันนั่งสมาธิเหมือนกัน มันนั่งเฉยลืมตาแป๋ว มันไม่ได้คิดว่ามันกำลังนั่งสมาธิหรือกำลังทำอะไร แต่นั่นคือการดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันของมันด้วยความสงบ เมื่อมีแมลงผ่านมา มันก็แลบลิ้นแปล๊บไปเอาแมลงมากิน และมันก็นั่งนิ่งเฉย ถ้าเราสามารถทำได้อย่างกบ
ในชีวิตประจำวันที่เราจะต้องทำกิจการงาน. แต่เราไม่ได้ทำอย่างนั้นในการปฏิบัติ เราคิดว่าเราทำอะไรที่เป็นสิ่งที่พิเศษหรือเพื่อจะได้อะไร,
เพื่อจะได้ความสงบ เมื่อเรานั่งสมาธิหรือเราเดินจงกรม เราคิดว่าเรากำลังทำสิ่งสำคัญ,สิ่งที่พิเศษและก็หวังผลที่จะได้รับความ สำเร็จหรือเกิดสติ,เกิดปัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง นี่คือเราทำด้วยความหวัง ทำด้วยความรู้สึกว่ามีตัวเราทำ.
ไม่เหมือนกับกบที่มันนั่งนิ่งลืมตาแป๋ว มันนั่งด้วยความตื่นตัว เมื่อมีแมลงที่เป็นอาหารของมันผ่านมา มันก็สามารถจะไปจับแมลงนั้นมากินได้
แต่เราทำด้วยความรู้สึกว่า มีตัวเราเป็นผู้ทำ ทำด้วยความต้องการ, ทำแล้วหวังผล ความเพียรที่เราทำอย่างนั้นมันจึงไม่ใช่ความเพียรที่ถูกต้อง มันจึงไม่สามารถทำให้จิตของเราตั้งมั่นหรือเป็นสมาธิได้ ในชีวิตประจำวัน ในการงานหรือกิจกรรมที่เราจะต้องทำถ้าเราเป็นหนึ่งเดียวกับการงาน นั่นแหละคือการปฏิบัติ สมาธิก็จะเกิดในชีวิตประจำวันที่เราจะต้องทำกิจการงาน
ไม่ว่าเราจะทำอะไรอยู่ นั่นแหละคือการฝึกสมาธิ เมื่อเราเป็นเรา ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็เป็นสมาธิ นั่นก็คือทำโดยไม่มีตัวเรา ทำโดยไม่มีผู้ทำ
ถ้าเราทำโดยไม่มีตัวเราทำ หรือมีความเพียรโดยไม่มีผู้เพียร การงานกับเราก็เป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นคือการปฏิบัติ นั่นคือการทำให้เกิดจิตเป็นสมาธิ เพราะทุกคนที่ดำเนินชีวิตแล้วมีปัญหาเพราะว่ามีตัวเราแยกจากสรรพสิ่ง,แยกจาก ธรรมชาติที่เรารับรู้ทางตา, ทางหู,ทางจมูก,ทางลิ้น,ทางกาย มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง ตัวเรานั่นแหละคือปัญหา เจ้าปัญหาก็คือตัวเรานั่นเอง.
ถ้ามันไม่แบ่งแยก.ปัญหาก็ไม่มี ไม่ว่างานจะลำบากยากเข็ญสักเพียงใดก็ตาม.ถ้าไม่มีตัวเรา ก็จะไม่มีปัญหาอีกต่อไป หรืออย่างเช่นเรามีความปวดมีเวทนาเช่นปวดฟัน, ปวดขา,อะไรก็แล้วแต่ ถ้ามันมีตัวเราแยกจากความปวด,มีตัวเราเป็นผู้ปวด, มีตัวเราเจ็บ,เราก็จะต้องมีความอดทน,
มีตัวเราเป็นผู้อดทน นั่นปัญหาก็เกิดขึ้น ถ้าเวทนานั้นมันคือตัวเราหรือเป็นหนึ่งเดียวกับเรา.
ปัญหาก็จะหมดไป ตัวตนที่จะต้องอดทนก็หมดไป เมื่อเธอเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง หรือเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งแวดล้อมปัญหาต่างๆก็จะไม่มีอีกต่อไป การมีชีวิตอยู่จริงๆแล้วนี่ก็คือการอยู่กับปัญหาหรือเป็นหนึ่งเดียวกับปัญหา ในการแก้ปัญหาก็คือการเป็นหนึ่งเดียวกับปัญหา แล้วปัญหาก็จะหมดไป.
ที่มันเป็นปัญหาเพราะว่ามีตัวเรา
ที่เราดำเนินชีวิตอยู่ทุกวันนี้ หรือปัญหาต่างๆของมนุษย์ของสังคมทั่วโลกเวลานี้ เพราะทุกคนดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกว่าตัวเราเป็นศูนย์กลาง,ดำเนินชีวิต อย่างปัจเจก,
ดำเนินชีวิตที่มีตัวเราแบ่งแยกกับสรรพสิ่ง ทุกคนจึงมีปัญหา เมื่อรวมกันมากขึ้นเป็นสังคมๆก็มีปัญหา. วิธีแก้ปัญหาก็คือทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกับปัญหา ปัญหาก็จะหมดไป เหมือนอย่างอาตมาบอกว่า เมื่อเกวียนมันไม่วิ่งแล้วเราจะตีอะไร จะตีเกวียน จะตีโค หรือจะตีเรา นี่ปัญหาเกิดขึ้นแล้ว เพราะมันมีการแบ่งแยก มีตัวเราแบ่งแยกจากเกวียน,แบ่งแยกจากโค แต่ถ้าเมื่อใด เรา โค เกวียน มีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน ปัญหาก็จะหมดไป เรารู้ว่าเกวียนมันไม่วิ่ง เราก็จะตีโค ไม่ตีเกวียนหรือไม่ตีตัวเรา นี่คือเราทำด้วยสติปัญญาที่เราไม่สามารถจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งหรือ สิ่งต่างๆได้
ปัญหาก็เกิดขึ้นมากมายซับซ้อน แต่เมื่อใดก็ตามถ้าเราเข้าถึงสัจจะหรือรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งได้ ปัญหาก็จะหมดไป เมื่อการแบ่งแยกไม่เกิด,ปัญหาก็ไม่เกิด.
ถ้าเราเป็นเรา เกวียน, โค, ตัวเรา ก็จะไม่ต่างกัน เราก็รู้ว่าจะตีอะไร เพราะฉะนั้นการปฏิบัติแบบนี้ก็คือเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง เราจะต้องดำเนินในทุกขณะอย่างต่อเนื่องด้วยความเพียรที่ถูกต้อง,ด้วยความ เพียรที่เป็นวิริยะบารมีหรือสัมมาวายามะ เป็นความเพียรที่แท้ สมาธิก็จะเป็นสัมมาสมาธิ,สติก็จะเป็นสัมมาสติ ทั้งสมาธิทั้งสติทั้งคำพูดทั้งการกระทำก็จะถูกต้อง เมื่อเธอเป็นเธอ กินก็จงกิน
แต่เวลานี้เราไม่ได้กินด้วยความรู้สึกว่าเรากินจริงๆ เรากินอยู่ก็จริง แต่ว่าในขณะที่เรากินนี่เราคิดไปถึงเรื่องอื่น, คิดไปถึงสิ่งอื่น เราเลยไม่รู้ว่าที่เรากินมีรสชาติอย่างไร เพราะว่าเราไปคิดเรื่องอื่น จิตใจไปอยู่กับสิ่งอื่น เลยไม่รู้ว่าสิ่งที่เรากำลังรับรู้ที่ประสาทของลิ้นมันมีรสอย่างไร
เพราะฉะนั้นเมื่อเราเป็นเรา เราจะเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงหรือตามที่มันเป็นการปฏิบัติก็อยู่ตรง นั้นแหละ การปฏิบัติก็เหมือนกับกบนั่งสมาธิ
การปฏิบัติก็อยู่ในกิจวัตรประจำวันที่เราจะต้องกระทำการงาน,ถ้าเราเป็นหนึ่ง เดียวกับการงานนั่นแหละการปฏิบัติก็อยู่ที่นั่น เราก็จะรู้แจ้งแทงตลอด แทงตลอดไปถึงสัจจะพื้นฐาน
หรือสัจจะที่อยู่เบื้องหลังของข้อเท็จจริง,เบื้องหลังของสรรพสิ่ง เราก็จะบรรลุความเป็นพุทธะหรือเป็นหนึ่งเดียวกับพระพุทธองค์ ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้อื่น นี่คือการฝึกสมาธิที่เรียกว่าสัมมาสมาธิ
มี ม้าอยู่4ชนิด ตัวที่แย่ที่สุดก็คือตัวที่4
เจ้าม้าตัวแรกเป็นม้าชั้นเลิศเพียงเจ้าของกระตุ้นที่สีข้างมันก็รู้แล้วว่าจะทำอะไร
เจ้าม้าตัวที่2 รองลงมาพอยกแส้ยังไม่ทันได้ตีเจ้าม้าตัวที่ 2 ก็รู้ว่าเจ้าของต้องการอะไร
ม้าตัวที่ 3 นี้ต้องตีมันจึงจะทำตามความประสงค์ของเจ้าของ
เจ้าม้าตัวที่แย่ที่สุดก็คือตัวที่ 4 ตีก็แล้ว ทำอย่างไรก็แล้ว ฝึกไม่ได้เลย.
เราลองพิจารณาถึงพระพุทธองค์ดูซิว่าพระพุทธองค์จะมีความรู้สึกเช่นไรต่อม้า ตัวที่ 4 นี้ พระพุทธองค์น่าจะทรงสนพระทัยเจ้าตัวที่แย่ที่สุดมากกว่า ด้วยว่าพระองค์มีพระมหากรุณา พระองค์ก็จะช่วยม้าตัวที่ 4 ฝึกม้าตัวที่ 4 ด้วยความกรุณาจนม้าตัวที่ 4 เป็นม้าชั้นเลิศได้
หากเราสามารถจะกำหนดจิตใจของเราอย่างพระองค์ ไม่ว่าขบวนการความคิดหรือปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเปรียบเหมือนม้าตัวที่ 4 มันเป็นม้าที่แย่ที่สุด เราก็จะพบกับคุณค่าของม้าตัวที่แย่ที่สุด
หรือพบคุณค่าของจิตใจที่มีแต่ปัญหาของเรา เราก็จะเห็นคุณค่าของปัญหาต่างๆเหล่านั้น,เปรียบเหมือนม้าตัวที่แย่ที่จะทำ ให้เราได้พบกับภาวะที่มันไม่สมบูรณ์
มันจะทำให้เราได้พบกับรากฐานที่มั่นคงของจิตใจ และจิตของเราก็จะตื่นอยู่เสมอเหมือนกับวัชชพืชที่มันทำให้ต้นไม้เจริญงอกงาม ถ้าเรารู้จักใช้มัน แต่ถ้าเราไปตำหนิมัน ไปให้ค่า ตัดสินลงความเห็นว่ามันไม่ดี,
ไปทำลายมัน นี่เราไม่รู้จักใช้มัน ไม่รู้จักทำมันให้เป็นประโยชน์ เราก็จะไม่เห็นคุณค่าของมัน จิตใจที่วุ่นวายหาความสงบไม่ได้ของเรานี่แหละเปรียบเหมือนม้าตัวที่ 4 มันจะทำให้เราได้เห็นคุณค่าและทำให้จิตใจของเราเข้าถึงรากฐานของความมั่นคง ทำให้จิตของเราตื่นอยู่เสมอ
ถ้าเรารู้จักใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส ซึ่งมันไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ ถ้ามันเกิดขึ้นมามันก็ย่อมมีเหตุมีปัจจัย เราก็นำสิ่งนั้นมาเรียนรู้ มันก็ทำให้เราเห็นคุณค่าและมันจะทำให้เรามีจิตที่งอกงามขึ้น เหมือนกับเมฆที่อยู่บนท้องฟ้า เราคิดว่าเมฆมันจะบังดวงจันทร์ เราตำหนิมัน เราว่ามันไม่ดี,
ไม่อยากให้มันมี แต่เมฆนั่นแหละจะทำให้เราเห็นดวงจันทร์ที่มีความกลม เห็นดวงจันทร์มันกลมได้ก็เพราะเมฆ บางคนบอกว่าการปฏิบัตินี่ยาก มันยากเหลือเกิน
การปฏิบัติแบบนี้ อยู่ๆเราจะมาทำแบบนี้ เราลงความเห็นว่ามันยาก สิ่งที่ยากนี่แหละ เราจะพบกับคุณค่าอันสูงสุดของมัน
บางทีม้าตัวที่ดีที่สุดอาจจะเป็นม้าที่แย่ที่สุดก็ได้ ม้าตัวที่แย่ที่สุดอาจเป็นม้าตัวที่ดีที่สุดก็ได้ จิตใจของเราที่ไม่สงบนี่แหละ เราจะพบคุณค่าและทำให้เราได้มีความก้าวหน้าทางจิตใจ เปรียบเหมือนม้าที่เราได้ฝึกแล้ว
แล้วดีที่สุด ความผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่า ถ้าเราใช้เป็นมัน ก็เป็นประโยชน์ ผู้ที่จะดำรงอยู่ในสัจจะได้อย่างต่อเนื่องนั้นได้ มันจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่เวลาในจิตใจ ไม่ใช่ Psychological Time แต่เราต้องใช้เวลา Chronological Time เวลาภายนอกที่เราแบ่งแยกเป็นเดือน เป็นปีอันยาวนาน เพื่อที่จะเรียนรู้ความผิดพลาดต่างๆซ้ำแล้วซ้ำเล่าที่เราดำเนินชีวิตอยู่นี่ เพื่อการศึกษาเรียนรู้ความผิดพลาดต่างๆ
จนกระทั่งเราจะเข้าใจมันได้ ขณะที่เรานั่งสมาธิ เรารู้ไหมว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด อะไรคือสิ่งที่เป็นความจริงที่สุดสำหรับเราในขณะที่เรานั่งสมาธิ
ปัญหาคือตัวเรา หรือการนั่งสมาธิ ถ้าเราสามารถจะเป็นเราได้ เราก็ย่อมจะพบกับความจริงสูงสุดที่เรียกว่าปรมัตถธรรมหรือสัจจะนั่นเอง
ที่เรียกว่าปรมัตถธรรมหรือสัจจะนั่น เอง นี่คือสิ่งที่เราจะซาบซึ้งในการนั่งสมาธิหรือในการปฏิบัติ การศึกษาพระพุทธศาสนา ก็คือการศึกษาขบวนการของความคิดของตัวเรานี่แหละ ซึ่งทุกสิ่งที่มันออกมาจากการพูดหรือการทำทางกายกรรม มันจะต้องออกมาจากความคิดก่อน เมื่อเราได้เริ่มศึกษาเรียนรู้ตนเอง เราก็จะเริ่มศึกษาเรียนรู้จากต้นกำเนิดของพฤติกรรมทางวาจาหรือทางกายของเรา
นั่นคือเรียนรู้ขบวนการของความคิดหรือเรียนรู้ขบวนการของจิตใจของเราเพื่อที่จะเข้าใจ
เมื่อเราเข้าใจแล้ว ขบวนการความคิดมันก็หายไป
ใจของเราก็จะเป็นอิสระจากอารมณ์ต่างๆที่ทำให้เกิดความคิดเหล่านั้น อิสระจากอวิชชา, อิสระจากความต้องการ หรือตัณหา, อิสระจากความยึดถือ หรืออุปาทาน ที่ทำให้เกิดของคู่ต่างๆ การปฏิบัติก็เพื่อให้เกิดปรีชาญาณหรือญาณทัศนะ เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงหรือตามที่มันเป็นหรือมันเป็นของมันเช่นนั้น เอง
เมื่อเราเกิดความเข้าใจ โดยเฉพาะจิตใจของเรา การปล่อยวางอุปาทานหรือเครื่องผูกพันต่างๆมันก็จะปล่อยวางความยึดถือ จนในที่สุดจิตใจของเราก็เป็นอิสระจากอารมณ์ทั้งปวง อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย อารมณ์ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่มันมากระทบทางตาก็คือรูปต่างๆ,สิ่งที่มากระทบ ทางหูก็คือเสียง, ทางจมูกก็คือกลิ่น, ทางลิ้นก็คือรส,
สิ่งต่างๆที่มากระทบทางกาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หรือความรู้สึกนึกคิด ความจำต่างๆที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง นี่จิตของเรายังไม่เป็นอิสระ
ถ้าจิตของเราเป็นอิสระ พอรับรู้อารมณ์ต่างๆทางทวารต่างๆ ใจเราจะนิ่งเฉยมั่นคง นี่คือสมาธิแล้วเราก็จะเห็นสิ่งต่างๆ มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง นี่เรียกว่า จิตใจของเราเป็นอิสระแล้ว,
หลุดพ้นแล้วเสียจากการเป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ,ปัญหาต่างๆที่มันเกิดขึ้น เพราะมันมีตัวเรา เมื่อตัวเราไม่มี, ปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องหรือดำเนินชีวิตพรหมจรรย์ก็คือ การดำเนินชีวิตอย่างเป็นอิสระจากอารมณ์ต่างๆ ในขณะเดียวกันเราก็มีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำอะไรก็ได้โดยที่เราไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์ ธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ ความเป็นอิสระหมายถึงจิตใจที่ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ
ที่ตกเป็นทาสก็คือเมื่อเรารับรู้แล้วเราจะมีความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ ชอบ ไม่ชอบ เกิดความรู้สึกอยากได้คือความโลภ เกิดความรู้สึกปฏิฆะคือความโกรธ นี่เรายังตกเป็นทาสของอารมณ์ แต่ถ้าเราเป็นอิสระไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ก็คือเมื่อเรารับรู้แล้วใจของเรา ไม่เอาสิ่งนั้นมาปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกบวก ความรู้สึกลบ, ให้เกิดความรู้สึกที่เป็นของคู่ๆขึ้นมา นี่คือเราเป็นอิสระจากอารมณ์ต่างๆที่มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น
ทางกาย ทางใจ, จิตที่มีอิสรภาพก็จะมีคุณภาพ ซึ่งจะแสดงออกเป็นบุคคลิกภาพของความเป็นมนุษย์ที่แท้ ที่ตื่นขึ้นแล้วจากการเห็นโลกในทัศนะใหม่ ในทัศนะที่ผิดไปจากเดิม,
แต่ก่อนนี้เราเห็นสิ่งต่างๆเป็นของคู่ๆ จากขบวนการของการลงความเห็น แต่ในทัศนะใหม่ที่เราเข้าถึงสัจจะแล้ว หรือมีอิสรภาพแล้วนี่ เราจะเห็น สิ่งต่างๆ มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง มันเป็นตามที่มันเป็น เราก็จะรู้ถึงสิ่งต่างๆตามที่มันเป็นหรือตามความเป็นจริง สิ่งต่างๆหรือความจริงเขาแสดงตัวอยู่ตลอดเวลา สัจจะหรือ ความจริงแสดงตัวอยู่ตลอดเวลา
แต่จิตใจของเราไม่สงบจากขบวนการของความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เราจึงไม่สามารถจะสัมผัสกับสัจจะที่มันแสดงตัวของมันเองอยู่ตลอดเวลาได้
แม้เราจะไม่รู้,สัจจะก็ทำงานของเขาอยู่ ถ้าเราไม่รู้เราก็เป็นปุถุชน ถ้าเรารู้เราเข้าถึงสัจจะเราก็เป็นอริยชน ในการปฏิบัติที่แย่ ที่เลว,ก็คือการปล่อยปละละเลย หรือตรงกันข้าม การปฏิบัติที่เราบังคับควบคุมกำหนดจดจ้องไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความต้อง การ นี่คือการปฏิบัติที่แย่ ผลก็จะไม่เกิด สมาธิก็จะไม่เกิด
ปัญญาก็จะไม่เกิด เราต้องปฏิบัติอย่างใส่ใจ,ไม่ใช่ปฏิบัติอย่างตั้งใจ เราจะต้องมีพลังของความใส่ใจ ใส่ใจรู้ทั่วพร้อมในตัวเราให้มันต่อเนื่อง เราจะพบกับความสงบที่แท้จริง, ความสงบที่สมบูรณ์เหมือนกับปล่อยโคไปกินหญ้าตามทุ่ง นานๆเราก็ขึ้นต้นไม้ดูโคสักที,หรือเหมือนโคแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้ามีลูกน้อยตัว หนึ่งวิ่งเล่นไปมา แม่โคเล็มหญ้าไปด้วยก็ชำเลืองดูลูกไปด้วย นี่คือการปฏิบัติในแนวทางสายกลาง
หรือเหมือนกับที่พระพุทธองค์หลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เดินทางไปพบกับปัญจวัคคีย์แสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ใจความก็คือชี้ให้เห็นทางสายกลาง สมณะทางสุดโต่งทั้งสองไม่ควรเดิน ให้เดินทางสายกลาง,และท่านอัญญาโกณฑัญญะก็ได้บรรลุธรรมคือได้เห็นทาง สายกลาง,
ได้เข้าถึงสัจจะ,ได้เห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น,ได้เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพ สิ่ง นี่คือทางสายกลาง หรือเหมือนกับที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติและตอบเทวดาที่มาถามว่าพระองค์ ปฏิบัติอย่างไรจึงข้ามโอฆะสงสารได้ในโอฆะสูตร พระองค์ก็ตอบว่าเราปฏิบัติในขณะที่เรายืน เราเดิน เรานั่ง เรานอน ในอิริยาบททั้ง 4 นี่เราปฏิบัติอย่างไม่พักไม่เพียร
ถ้าจิตของเรายังอยู่ในระดับจิตสามัญสำนึก เราก็จะไม่เข้าใจ เอ๊ะไม่พัก ก็ปฏิบัติทั้งวันทั้งคืน อ้าวบอกว่าไม่เพียร,ไม่เพียรคือไม่ต้องทำอะไร,เราเลยไม่เข้าใจพระสูตรนี้ พักเพียรเป็นของคู่ ถ้าเราพักเราก็จมอยู่ ถ้าเราเพียรเราก็ลอย ปฏิบัติอย่างไม่พักไม่เพียรไม่จมไม่ลอย ปฏิบัติอย่างไร
พักเพียรเป็นของคู่ จมลอยเป็นของคู่ ไม่ มีจมไม่มีลอยไม่มีพักไม่มีเพียร คือในขณะที่พระองค์ยืน เดิน นั่น นอน ไม่มีของคู่คืออยู่เหนือของคู่ จิตของพระองค์อยู่เหนือของคู่ก็คือจิตว่าง จิตที่เข้าถึงสัจจะสูงสุด จิตที่เข้าถึงจิตที่ประภัสสร.
จิตที่เข้าถึงทางสายกลาง จิตที่ออกไปพ้นแล้วจากสังสารวัฏฏ์ จิตที่พ้นไปแล้วจากความรู้สึกว่ามีตัวเราเป็นศูนย์กลาง นั่นแหละคือการปฏิบัติของพระพุทธองค์ 2,500 ปีผ่านไปแล้ว “สิ่ง”หรือ “สัจจะ”ก็ยังดำรงอยู่ ที่พระองค์ตรัสว่า โยธัมมังปัสสติ โสมังปัสสติ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต นั่นแหละถ้าเราเข้าถึงทางสายกลางหรือสัมผัสได้กับทางสายกลาง นี่เราได้เห็นธรรมแล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว เราได้พบพระพุทธองค์แล้ว เป็นหนึ่งเดียวกับพระพุทธองค์แล้ว
แม้ชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น เรียกว่าเราได้ดวงตาเห็นธรรม เราได้เห็นทางที่จะดำเนินไปแล้ว,เห็นทางของการปฏิบัติแล้ว
ถ้าเมื่อใดก็ตาม ถ้าเราหล่นมาจากทางสายกลาง, ทางที่ไปพ้นจากของคู่, เราก็ตกไปอยู่บนทางสายคู่ที่เราเคยชินมันมาตั้งแต่เราเริ่มจำความได้ เดี๋ยวนี้เราอายุเท่าไรแล้ว เราอยู่กับทางสายคู่ เราอยู่กับการให้ค่าตัดสินลงความเห็นที่เป็นของคู่ๆนั่นคือเราดำเนินชีวิต อยู่บนฐานของจิตที่เป็นเหตุผลหรือเป็นทวิภาวะ ด้วยการสังเกต ด้วยการเรียนรู้ศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ นี่แหละจะทำให้เราตื่นขึ้นแล้วอยู่เหนือพ้นโลกมายา,พ้นไปจากโลกของของคู่ จิตของเราก็จะพัฒนาไปสู่มิติที่เรียกว่าจิตเหนือสำนึกหรือจิตเหนือโลก
หรือโลกุตตรจิต นั่นก็คือสภาวะจิตที่ไม่มีของคู่นั่นเอง ไม่มีกาลเวลา ไม่มีอดีต ไม่มีปัจจุบัน ไม่มีอนาคต นี่คือจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ
ถ้าเรายังหาทางสายกลางหรือสภาวะที่พ้นไปจากความรู้สึกว่ามีตัวเรา,พ้นไปจาก การรับรู้อย่างแบ่งแยก มีสิ่งที่ถูกรู้,มีผู้รู้ไม่ได้แล้วละก้อ เราก็ยังตกไปอยู่ในมิติของจิตสามัญสำนึก ที่เปรียบไว้เหมือนเขาวงกต เรายังไม่ออกจากเขาวงกต เรายังหลุดพ้นไปจากสังสารวัฏฏ์,เรายังหลุดไปจากโลกของคู่ไม่ได้ เราก็ไม่สามารถจะสัมผัสกับความจริงแท้ที่เรียกว่าอมตธรรมได้เลย อมตธรรมเท่านั้นที่จะทำลายอุปาทานเครื่องพันธนาการที่ร้อยรัดจิตใจมนุษย์ให้ หลุดพ้นออกไปได้
สัจจะที่เป็นฐานของปรีชาญาณจะทำลายความรู้สึกว่ามีตัวเรา จะทำลายความเห็นต่างๆที่ผิดไปจากความเป็นจริงหรือความเห็นที่วิปลาส ทิฐิวิปลาสต่างๆ เข้าไปสัมผัสกับความจริงแท้ ความจริงที่เราสามารถจะรับรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ด้วยธรรมชาติรู้ของปรีชาญาณที่เห็นในความเป็นเช่นนั้นเองของสรรพสิ่ง ในแต่ละขณะของการดำรงชีวิตอยู่ของเรา นี่คือเป้าหมายของการปฏิบัติ หากเรายังไม่สามารถจะเข้าใจประเด็นของการปฏิบัติ
การปฏิบัติของเราก็จะไม่กว้าหน้า การปฏิบัติของเราก็ไม่สามารถจะเข้าถึงความเป็นอิสรภาพ, เข้าถึงความเป็นเอกภาพ,เข้าถึงสมบูรณภาพได้เลย.
ประเด็นที่อาตมาพยายามชี้แนะให้ญาติโยมเป็นจุดเริ่มต้นก็คือเราต้องเข้าถึงจิตที่ประภัสสร ของ เราก่อน สัมผัสถึงจิตที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งอะไรของเราก่อน เห็นความบริสุทธิ์หรือเห็นความปกติของจิต จิตบริสุทธิ์ของเรานั่นแหละจะสัมผัสหรือเป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะสูงสุด ปรีชาญาณที่เกิดจากจิตที่ประภัสสรหรือจิตที่เป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะสูงสุดนั่น แหละจะทำให้เรารู้หรือสัมผัสหรือตระหนักรู้,หยั่งรู้สิ่งต่างๆที่เราสามารถ จะรับรู้ได้ตามที่มันเป็นจริง หากเรายังใช้ปัญญาในระดับเหตุผลแล้วเรายังเห็นสิ่งต่างๆเป็นของคู่ คือเห็นมันเกิดเห็นมันดับ เห็นมันเที่ยงเห็นมันไม่เที่ยง นี่เป็นพวกอัตถิกวาทะ - นัตถิกทิฐิ หรือสัสตทิฎฐิ-อุจเฉททิฐิ ซึ่งมีอยู่ในสมัยพุทธกาล
แต่ในทัศนะของพระพุทธองค์ ท่านไม่อาจกล่าวได้ว่าสิ่งทั้งปวงหรือสรรพสิ่งไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่หรือไม่มีอยู่
นั่นคือความสุดโต่งทั้ง 2 ในทัศนะของพระพุทธองค์ท่านกล่าวเป็นกลางๆว่าถ้าสิ่งนี้มี,มันต้องมีเหตุมี ปัจจัย เพราะอวิชชาทำให้เกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงทำให้เกิดวิญญาณ ถ้าไม่มีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะไม่มีอวิชชาจึงไม่มีสังขาร เพราะไม่มีสังขารจึงไม่มีวิญญาณ นี่ธรรมที่เป็นกลางในทัศนะของพุทธปรัชญา ถ้าเราสามารถจะเข้าถึงด้วยประสบการณ์ที่ใจของเราสามารถจะสัมผัสได้ เราก็จะซาบซึ้งกับความหมายของชีวิตและความตายว่ามันเป็นสิ่งเดียวกัน
เราก็จะไม่กลัวตายอีกต่อไป เราจะพบความสุขที่แท้จริงที่เรียกว่าความสุขนิรันดร, ความสุขที่ไม่ต้องอิงอาศัยปัจจัยภายนอก,ความสุขที่ไม่ต้องอิงอาศัยวัตถุภาย นอก แต่เป็นความสุขที่เกิดจากใจที่มีความรักความเมตตา ความสุขที่เกิดจากปิติ ที่เกิดจากเราได้รวมกับสรรพสิ่ง หรือกลับคืนไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง เหมือนน้ำตกที่มันกลับคืนไปสู่อ้อมอกของแม่น้ำ เรากลับคืนไปสู่ธรรมชาติ จาคะสละความรู้สึกว่ามีตัวเรา ไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับความเป็นทั้งหมดหรือสรรพสิ่งอันกว้างใหญ่ไพศาล อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด เราก็จะเข้าใจชีวิต,เข้าใจโลก,เข้าใจจักรวาล, เข้าใจธรรมชาติ, เข้าใจความหมายของการดำรงชีวิตอย่างพรหมจรรย์ นี่คือแนวทางการศึกษาการเรียนรู้ที่พระพุทธองค์ทรงวางหลักการไว้หรือให้คำ ตอบแก่ชาวโลกว่า
ถ้าเราจะดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขแล้ว ให้ดำเนินชีวิตในทัศนะที่เห็นโลกตามความเป็นจริง คือเห็นโลกมันเป็นเช่นนั้นเองหรือตามที่มันเป็น ไม่ใช่เห็นโลกเป็นของคู่ๆ ไม่เห็นโลกสุดโต่งไปในส่วนที่เห็นว่ามันมีอยู่หรือไม่มีอยู่ ถ้าเราเห็นโลกแล้ว เราไม่อาจกล่าวได้ว่ามันมีอยู่หรือมันไม่มีอยู่ นี่แหละคือทัศนะของพระพุทธองค์ที่เราได้เข้าถึงความจริงสูงสุด หรือได้ไปเป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะ
นี่คือเป้าหมายของการปฏิบัติ ก็จะทำให้เราเกิดบุคคลิกภาพหรือพฤติกรรมในการแสดงของสัจจะในความเป็นหนึ่ง เดียวหรือที่เรียกว่าวิถีพุทธรรม จากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่ง จากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่ง นั่นคือเราไปพ้นเวลา ไปพ้นอดีต ไปพ้นปัจจุบัน ไปพ้นอนาคต
แต่เราเคลื่อนไหวจากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่งด้วยความสมบูรณ์ ด้วยความเป็นเอกภาพของความเป็นองค์รวม ของสรรพสิ่งในแต่ละขณะ ถ้าเราสามารถที่จะรักษาจิตใจของเราให้สงบนิ่ง เห็นความสงบ เห็นความนิ่งอยู่ที่ก้นบึ้งของจิตใจของเราได้ตลอดเวลา
เราก็จะพบกับความมหัศจรรย์ของชีวิต, พบกับความเร้นลับของชีวิตในอีกมิติหนึ่งซึ่งต่างไปจากมิติที่เราเคยดำเนิน ชีวิตอยู่บนทางสายคู่ อยู่บนมิติของเหตุผลบนมิติของความรู้สึกว่ามีตัวเรา
การปฏิบัติเราจะต้องบรรลุผ่านความรู้สึกว่ามีตัวเราไปสู่อีกมิติหนึ่งที่ เป็นมิติของความจริงแท้ ซึ่งเราจะสามารถสัมผัสได้ที่กายยาววาหนาคืบของเรา เป็นสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้ คำสอนของพระพุทธองค์มีอยู่ในทุกขณะ, มีอยู่ในทุกอิริยาบท เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้จริงๆจากความจริงที่มันแสดงตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นความจริงที่เกิดจากเหตุปัจจัยหรือความจริงที่ไม่มีเหตุไม่มี ปัจจัย
ความจริงทั้งสองทำงานร่วมกัน เป็นความจริงหนึ่งเดียวหรือเป็นสัจจะหนึ่งเดียว ให้สัมผัสได้ด้วยการตระหนักรู้ของเรา นั่นแหละคือเป้าหมายของการเข้าใจตัวเรา,เข้าใจธรรมชาติ และเราก็มีวิถีของการดำเนินชีวิตอีกทัศนะหนึ่งซึ่งไม่มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง
กิจการงานต่างๆก็จะเป็นการงานที่แท้จริง, เป็นศักดิ์ศรีของการงาน,เป็นคุณค่าหรือคุณภาพของการดำรงชีวิตอยู่เป็นมนุษย์ ที่แท้จริง,เป็นมนุษย์ที่ตื่นแล้วจากการหลับใหล, เป็นมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงแล้วจากทัศนะหรือโลกที่คับแคบเหมือนในกระเปาะไข่ ออกมาสู่โลกภายนอก,ออกมาสู่มิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของธรรมชาติรู้ที่เรียก ว่าปรีชาญาณในทุกขณะ เราจะต้องมีความเพียรอย่างถูกต้อง มีความเพียรที่อยู่บนฐานของปัญญาญาณ มีความเพียรอย่างต่อเนื่องที่อยู่บนฐานของสัมมาทิฐิคือการเห็นจิตที่มันสงบ นิ่งอยู่ตลอดเวลา
ใช้ความเพียรอย่างต่อเนื่องด้วยศรัทธา ด้วยวิริยะ ด้วยความอดทนที่ไม่มีตัวเราเป็นผู้อดทน แล้วเราก็จะเข้าถึงขันติบารมี วิริยะบารมี นี่คือสิ่งที่เราต้องตั้งปณิธานว่าในชีวิตนี้หรือในอัตภาพนี้ เราจะต้อง เป็นหนึ่งเดียวกับความจริง เป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะหรือดำรงอยู่ในสัจจะให้ได้
เป็นสาระของชีวิตที่เราต้องเพียรปฏิบัติให้มันได้ในทุกขณะหรือในทุกอิริยาบท หรือในกิจวัตร ในกิจกรรมการงานประจำวันในชีวิตของเรา
การปฏิบัติก็จะไม่ใช่การปฏิบัติอีกต่อไป ก็จะเป็นการดำเนินชีวิตอยู่ในองค์รวม ไม่ว่าเราจะพูด เราจะคิด เราจะทำการงานประกอบอาชีพ มีความเพียร มีสติ มีสมาธิ สมังคีหรือรวมเป็นหนึ่งเดียวกันในกระจก อยู่ในสัมมาทิฐิ อยู่ในความว่าง เราก็จะได้พบความหมายแท้จริงหรือสาระที่แท้จริงของการที่เราเกิดมาเป็น มนุษย์
ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ทันโตเสฐโฐ มนุสเสสุ ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ฝึกตนดีแล้วประเสริฐที่สุด ถ้าเรายังไม่ได้ฝึกตนเลยเราก็ยังไม่พัฒนาศักยภาพของเราเลย เราก็ไม่อาจจะพูดได้ว่าเราเป็นมนุษย์ประเสริฐได้ ถ้าเราได้ฝึกฝนในแนวทางที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางไว้คือทางสายกลาง เราก็จะพบสิ่งเหล่านี้ ที่อาตมาพูดมาทั้งหมดนี้ก็พูดมาจากประสบการณ์ของการปฏิบัติ, ประสบการณ์ในแต่ละขณะที่กำลังสัมผัสอยู่ในความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพ สิ่งที่รับรู้ได้หรือตระหนักรู้ได้ในขณะที่พูด
ในขณะที่เคลื่อนไหว ด้วยจิตใจที่สงบนิ่งอยู่ก้นบึ้งของจิตใจ เพราะฉะนั้นเป้าหมายคือสาระของชีวิตที่เป็นเป้าหมายของเราที่ว่าความเห็นถูก ต้องก็คือเป้าหมาย ตรงนี้แหละ เราจะต้องมีเป้าหมาย ตรงนี้มันจึงจะเป็นความเห็นที่ถูกต้อง เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน การปฏิบัติของเราก็ชัดเจน มันก็จะรู้ได้จากการปฏิบัติแต่ละขณะนำไปสู่เป้าหมายนั้นไหม แม้ในชั่วขณะหนึ่งของความสมบูรณ์ก็ตาม
นำธรรมะเกี่ยวกับการปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา
มาชี้แนะให้ญาติโยมที่สนใจในการปฏิบัติ
นั่นคือทางสายกลางที่อาตมา
พยายามชี้แนะแนวทางของการเริ่มต้น
การปฏิบัติคือหาให้พบ”ทางสายกลาง”
แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา
ในจักรวาลนี้มีความจริงอยู่ 2 อย่างนั่นคือ
- ความจริงที่มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่ง
เราเรียกว่าสังขตธรรม ธรรมที่มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่ง
สิ่งเหล่านี้ตั้งอยู่, เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป คือมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ตกอยู่ในลักษณะที่เรียกว่าไตรลักษณ์คืออนิจจัง คือไม่เที่ยง,
ทุกขังทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ อนัตตาคือไม่อาจกล่าวได้ว่ามีตัวตนหรือไม่มีตัวตน
นี่คือความจริง, แต่ยังไม่ใช่ความจริงแท้,
- ความจริงที่แท้ ความจริงขั้นสุดท้าย
หรือความจริงสูงสุดที่เรียกว่าอมตธรรม
หรือสัจจะขั้นอันติมะ เป็นความจริงที่อยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง
ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่มีจุดเริ่มต้น,
เกิดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้
จะไปสิ้นสุดเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ไม่มีจุดสิ้นสุด เป็นอมตะ
สัมผัสได้ด้วยจิตใจ ที่บริสุทธิ์เท่านั้น
ไม่สามารถจะสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่สามารถจะรู้ได้หรือตระหนักรู้ได้ด้วยจิตใจที่สงบ,
จิตใจที่ประภัสสรเท่านั้นนี่คือความจริงทั้ง 2 ที่เรียกว่า อสังขตธรรมกับสังขตธรรม
พูดโดยโวหารโลกดูเหมือนมี 2 อย่าง แต่ถ้าเราเข้าถึงความจริง เข้าถึงสัจจะสูงสุดแล้ว
เราจะเห็นว่าสัจจะทั้ง 2 ทำงานร่วมกันเป็นสัจจะหนึ่งเดียว
สังขตะคืออสังขตะ หรือปรากฎการณ์
ก็คืออาการหรือพฤติของอสังขตธรรมหรือความว่างนั่นเอง
ที่อาตมาเคยเปรียบเหมือนคลื่นกับน้ำ
น้ำก็คืออสังขตธรรม คลื่นก็คือสังขตธรรม คลื่นเป็นอาการของน้ำ ถ้าไม่มีน้ำก็ไม่มีคลื่น
ถ้าไม่มีสัจจะสูงสุด,ไม่มีอสังขตธรรม ก็ไม่มีสังขตธรรม ไม่มีความว่างก็ไม่มีปรากฏการณ์
เพราะฉะนั้นในการปฏิบัตินี่เราก็ไม่ควรไปเน้นด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ
ความเป็นหนึ่งเดียวมันก็มีคุณค่า แต่ความหลากหลายมันก็เป็นความงามเช่นกัน
ในความเข้าใจเช่นนี้ เข้าใจว่ามันมี 2 นี่มันก็จะเกิดช่องว่างระหว่างหนึ่งเดียว
และหลากหลายแต่ความเป็นหนึ่งเดียว
หรือสัจจะสูงสุดนี่และความหลากหลาย มันเป็นสิ่งเดียวกัน
ดังนั้นเราควรจะชื่นชมกับความหลากหลายประสบการณ์ในความเป็นหนึ่งเดียวนี่เอง.
ที่เราเน้นในการงานในชีวิตประจำวันให้เป็น การภาวนา
เราจะต้องกำจัดช่องว่าง หรือไม่ให้มันมีช่องว่างระหว่างเรากับสรรพสิ่ง
แล้วเราจะพบความงาม ความเร้นลับของชีวิตเรา
การฝึกสมาธิภาวนาและการทำงานในชีวิตประจำวันมันเป็นสิ่งเดียวกัน
เราเรียกว่าสมาธิภาวนาว่าเป็นกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่แท้ในชีวิตประจำวันของเรา
และเรียกกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราว่าเป็นการปฏิบัติหรือการภาวนาที่แท้ด้วย
ดังนั้นในกิจกรรมหรือการเคลื่อนไหวนี่มันต้องมีความสงบหรือความนิ่ง
และในความสงบหรือความนิ่ง มันก็จะอยู่ในกิจกรรมด้วย
ทั้งความสงบและความนิ่งมันก็ไม่ต่างกัน
ความสงบก็คือความนิ่ง ความสงบก็คือกิจกรรม
เหมือนกับเหรียญ 2 ด้านที่ร่วมทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน
ดังนั้นจึงไม่มีความแตกต่างระหว่างของคู่,
ไม่มีความแตกต่างระหว่างสัจจะทั้ง 2
เมื่อเราเข้าถึงสัจจะแล้วนี่เราก็จะเห็นว่าถูกก็คือผิด
คนฉลาดก็คือคนโง่ คนโง่คือ คนฉลาด สูงก็คือต่ำ ดำก็คือขาว
กิเลสก็คือพุทธะ คือเราจะเห็นว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง มันไม่มีความแตกต่าง
แต่มันก็ไม่ได้เหมือนกัน คือสภาวจิตที่เราไปพ้นมิติของจิตสามัญสำนึก
เราจะไม่เน้นที่ด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ เราจะไม่เน้นหนึ่ง, เราจะไม่เน้นความสงบ,
เราจะไม่เน้นความหลากหลายหรือเราจะไม่เน้นในความเป็นทั้งหมด
สิ่งที่เราเน้นก็คือการรู้จักสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น
หรือมันเป็นของมันเช่นนั้นเอง
แต่เราควรจะเข้าใจชีวิตในลักษณะนี้
ชีวิตของเราก็จะไม่มีปัญหา
นั่นก็คือวิถีชีวิตที่ไม่มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง,
วิถีชีวิตของพุทธธรรมหรือวิถีของพุทธธรรม
ชีวิตที่มีปัญหาเพราะว่าเราไปยึดติดที่ด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
เราต้องยอมรับสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น นี่ก็คือการมองสิ่งต่างๆของเรา
และก็เป็นวิธีที่เราจะต้องดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ด้วยประสบการณ์เช่นนี้
อยู่นอกเหนือความคิดหรืออยู่เหนือความคิดระดับจิตสามัญสำนึก
ในโลกของความคิดนี่ย่อมมีความแตกต่าง,มีการแบ่งแยก,
เป็นทาสของเวลา มีอดีต มีปัจจุบัน มีอนาคต มีความแตกต่าง มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง
ในระหว่างความเป็นหนึ่งและความหลากหลาย
เราก็จะไม่ไปติดอยู่ในข้างใดข้างหนึ่ง
เมื่อเรามีปัญหาทางอารมณ์ขึ้นมา แต่มันไม่ใช่ปัญหาจริงๆ
มันถูกสร้างขึ้นจากเหตุจากปัจจัย
จากความคิดที่เกิดจากอวิชชา
หรือทัศนะที่เราเอาตัวเราเป็นศูนย์กลาง
เนื่องจากเราไปให้ความสำคัญด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
นั่นก็คือการยึดติดนั่นเอง ปัญหาก็เกิดขึ้นมากมาย
ฉะนั้นโดยแก่นสารแก่นสาระ
ความสุขก็คือความทุกข์ นี่คือความเข้าใจที่แท้
การถ่ายทอดธรรมะที่มาจากพระพุทธองค์มาถึงเรา
นี่แหละคือประเด็นที่อาตมาพยายามชี้แนะว่าการปฏิบัติการภาวนานี่
เราจะต้องพัฒนาศักยภาพจิตของเราให้อยู่เหนือจิตสามัญสำนึกให้ได้
ในจุดเริ่มต้น ทางสายกลางนี่เป็นสภาวะที่เราได้พัฒนา
หรือได้ยกจิตของเราสู่จิตเหนือสำนึกแล้ว มันจึงไม่มีของคู่
เมื่อเรายกจิตเหนือสำนึกขึ้นไปสู่กับความเป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะสูงสุด
หรือเรียกว่าโลกุตตรจิต
ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำเราไปสู่การปล่อย การวาง
การละเครื่องพันธนาการต่างๆที่เราเคยดำเนินชีวิตมาด้วยอวิชชาจนเกิดความเคยชิน
หรือเกิดอนุสัยในการที่จะมองโลกในทัศนะที่ผิดไปจากความเป็นจริง
หรือในทัศนะที่เป็นเหตุเป็นผล,
ในทัศนะที่เป็นของคู่ จึงกล่าวได้ว่ามนุษย์ปุถุชนเรานี่ตกเป็นทาสของคู่,
ตกเป็นทาสของเวลา, ตกเป็นทาสของเงื่อนไขต่างๆ นั่นก็คือความยึดถือนั่นเอง
เราก็จะต้องหาทางซึ่งเป็นตามธรรมชาติ
หาทางที่จะพัฒนาจิตของเราให้พ้นไปจากของคู่,
พ้นไปจากการรับรู้อย่างแบ่งแยก.
นี่แหละอุบายต่างๆ รูปแบบใดๆก็ตาม.
เป้าหมายของอุบายนั้นก็เพื่อที่จะไปรับรู้
หรือพัฒนาจิตขึ้นไปอยู่ในระดับจิตเหนือสำนึก
แล้วการรับรู้ก็จะไม่แบ่งแยกอีกต่อไป,
จะไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ จะไม่มีผู้รู้
ตราบใดที่เรายังรับรู้อย่างแบ่งแยก,
มีรูปมีนาม, มีสิ่งที่ถูกรู้,
มีผู้รู้ มิติของจิตนั้นก็ยังเป็นมิติของจิตสามัญสำนึกนั่นเอง
ซึ่งในมิติของจิตสามัญสำนึกนี่
ภูมิปัญญาของมันมีขอบเขตจำกัด
ปัญญาไม่สามารถจะสัมผัสกับสัจจะสูงสุดได้
ปัญญาที่เกิดจากสัจจะสูงสุดหรือเกิดจากจิตที่บริสุทธิ์นี่
มันเป็นปัญญาที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
แต่ปัญญาในระดับจิตสามัญสำนึก
ที่มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง มันมีขอบเขตจำกัด
มันรู้เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทางทวารใดทวารหนึ่ง
เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติจะต้องเข้าใจตรงนี้ด้วย
และแยกให้ออกว่าปัญญาชนิดไหนที่เราจะต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดขึ้น
หลักการสังเกตง่ายๆเมื่อเกิดปัญญาที่ไม่มีขอบเขตจำกัดนี่
ความรู้สึกว่ามีตัวเรามันจะหายไป,
มันจะไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเรา การรับรู้ก็จะไม่แบ่งแยก
เราจะรับรู้เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งรอบๆตัวเรา
นี่คือการปฏิบัติที่เราสามารถจะค้นพบจุดเริ่มต้นหรือทางสายกลาง
ก่อนที่จะมีอะไรปรากฏขึ้นในความสงบหรือในจิตที่ว่างของเรานี่
เราจะไม่รู้ถึงความสงบ เมื่อจิตของเราว่าง,
เราไม่ค่อยรู้หรอกว่ามันมีความสงบหรือไม่สงบ,
ต่อเมื่อมีสิ่งใดปรากฏขึ้นมา เราก็จะรู้จักความสงบ
นั่นคือเมื่อมีอารมณ์ใดกระทบ
แต่ก่อนเราเคยหวั่นไหว เดี๋ยวนี้เราเฉยได้ เราเป็นปกติได้,
นี่แหละเราจะรู้จักความสงบ ที่อาตมาเคยเปรียบเทียบว่า เมฆมีไว้เพื่อดวงจันทร์
เราจะรู้ว่าดวงจันทร์มันกลมหรือไม่กลมต่อเมื่อมันมีเมฆมาบดบัง
ถ้าไม่มีเมฆมาบดบัง เราก็จะไม่เห็นความกลมของดวงจันทร์ได้
ฉันใดสัจจะสูงสุดนี่เราไม่อาจจะสังเกตเห็นได้ในสภาวะตัวของมันอย่างโดดๆ
ต่อเมื่อมีอารมณ์ต่างๆมากระทบหรือปรากฏการณ์ต่างๆมากระทบ.
เราก็จะเห็นสัจจะสูงสุด เห็นความสงบหรือความไม่เปลี่ยนแปลงของสัจจะสูงสุดได้ชัดเจน
เพราะฉะนั้นเมื่อมีบางอย่างเกิดขึ้นท่ามกลางความเป็นปกติหรือท่ามกลางความสงบ
เราก็จะพบความสงบอย่างชัดเจน เขาจึงกล่าวว่า
เมฆมีไว้เพื่อดวงจันทร์ ลมมีไว้เพื่อดอกไม้ นี่เป็นสุภาษิตญี่ปุ่น
เรามองเมฆที่มันบังดวงจันทร์ มันบังบางส่วนไว้ เราจึงสามารถเห็นความกลมของดวงจันทร์
จะเห็นความงามของสัจจะสูงสุดแสดงตัวของมันเองและกลายเป็นปรากฏการณ์,
ทั้ง 2 ทำงานร่วมกันเป็นความจริงหรือเป็นสัจจะหนึ่งเดียว
ดังนั้นเราก็จะพบคุณค่าของสัจจะสูงสุดในชีวิตประจำวันของเรา มากกว่า
เราจะพบในขณะที่เรานั่งสมาธิ หากเราไม่เข้าใจประเด็นการปฏิบัติหรือการภาวนาแล้วละก้อ
การปฏิบัติของเราก็จะไม่ก้าวหน้า
ในชีวิตประจำวันของเรามันจึงมีแต่วัชชพืช มีแต่เมฆ มีแต่แมกไม้
เราไม่เห็นดวงจันทร์ เราก็ไม่เห็นคุณค่าของวัชชพืช
แต่ถ้าเราเห็นเมฆเห็นดวงจันทร์ เห็นความกลมของดวงจันทร์ เห็นแมกไม้ที่มันบังสิ่งต่างๆไว้
นั่นแหละที่จะทำให้เรามีปัญหาคือเราเน้นหรือตระหนักไปเพียงด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
ทำให้เกิดมีปัญหาที่เราดำเนินชีวิตผ่านมาสำหรับชาวพุทธที่แท้จริงแล้วนี่
วัชชพืชที่คนทั่วไปเห็นว่ามันไร้ค่า
แต่ถ้าเราเข้าใจประเด็น เห็นสัจจะสูงสุด,เห็นความสงบ
เราก็จะรู้จักว่าวัชชพืชนี่มันคือขุมทรัพย์ ถ้าเรามีทัศนคติเช่นนี้ เราถือคติเช่นนี้อยู่ในใจ
ไม่ว่าเราจะทำอะไรในการดำเนินชีวิตของเราก็คือศิลปะที่แท้จริง
นั่นก็คือเมื่อมีอุปสรรคใดๆผ่านเข้ามาในชีวิต
หรือที่เราเปรียบเหมือนวัชชพืช เราก็ศึกษาเรียนรู้มัน
เรียนรู้มันด้วยสติปัญญาที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
อุปสรรคต่างๆก็จะเป็นวัชชพืชที่เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้เจริญงอกงาม
อุปสรรคต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
ถ้าเราสามารถจะเรียนรู้มันได้
นี่แหละคือการดำเนินชีวิตที่เป็นศิลปะที่แท้จริง
ถ้าเราใช้อุปสรรคนั้นในการเรียนรู้ ก็จะทำให้เรารู้ว่า
เราจะผ่านอุปสรรคไปด้วยจิตใจที่เป็นปกติ
หรือจิตที่ก้าวหน้าที่เกิดจากการปฏิบัติจริงไหม
หรือมันยังผ่านไม่ได้ทำให้เราเกิดปัญหาหรือมีปัญหาตกอยู่ในความทุกข์อยู่
นั่นก็จะเป็นเครื่องวัดที่เราปฏิบัติมาแล้ว ยังมีสิ่งที่บกพร่อง
เราก็จะต้องมีความเพียร มีความพยายามให้มากขึ้นไปกว่าเดิมอีก
อุปสรรคก็จะเป็นประโยชน์,ไม่ใช่อุปสรรคเป็นโทษต่อชีวิตของเราที่ทำให้เราทุกข์
ถ้าเรามองอุปสรรคให้เหมือนวัชชพืชที่จะสามารถบำรุงต้นไม้ได้
อุปสรรคก็จะเป็นเครื่องบำรุง ทำให้การปฏิบัติของเราก้าวหน้าขึ้น
ฉะนั้นเมื่อปฏิบัติหรือนั่งสมาธิ เราก็ควรนั่งเฉย ๆ นั่งเพื่อนั่ง นั่งด้วยความสงบของจิตใจ
นั่งหรือเดินจงกรมนี่ก็เพื่อให้ธรรมชาติที่แท้
ธรรมชาติที่บริสุทธิ์หรือจิตที่ประภัสสร แสดงตัวของมันออกมา
โดยที่เราไม่ต้องไปกำหนดอะไรทั้งสิ้นตั้งตัวให้ตรง รักษาสภาวจิตที่ยังไม่ถูกปรุงแต่ง
หรือจิตที่ประภัสสรนั่นแหละให้มันแสดงตัวของมันออกมา โดยไม่ได้คาดหวังหรือโดยไม่มีความต้องการ
แต่ให้เป็นไปตามธรรมชาติ ให้มันเป็นเองในความเป็นธรรมชาติของมัน
กายและใจก็เกิดความสมดุล,
เกิดความพอดี, เกิดความสมบูรณ์
นั่นก็คือการแสดงธรรมชาติที่แท้ของเราออกมานั่นเอง,
เราจึงต้องมีความพยายามที่ถูกต้อง หรือที่เรียกว่าสัมมาวายามะ ความพยายามที่ถูกต้อง
หรือความเพียรที่ถูกต้อง ก็คือความเพียรที่อยู่บนฐานของจิตที่ประภัสสร
ความเพียรที่อยู่บนฐานสัมมาทิฐิ คือปัญญาที่ไม่มีขอบเขตจำกัดนี่แหละ
แล้วเราก็ต้องทำให้มันต่อเนื่องที่อยู่บนฐานของจิตที่บริสุทธิ์
เมื่อใดก็ตามที่เราพบปัญหาหรือพบอุปสรรคของชีวิต
ที่ทำให้เราเกิดความทุกข์ความวิตกกังวล
ก็จะทำให้เราเกิดปัญญา
ถ้าเราสามารถจะนำอุปสรรค
หรือปัญหาเหล่านั้นมาเป็นสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้มัน
เมื่อเราเข้าใจมันก็จะทำให้เรารู้แจ้งแทงตลอด
ถึงอุปสรรคที่มันไม่ได้เป็นสิ่งถาวรอะไร
มันเปลี่ยนแปลงอยู่ มันเคลื่อนไหวอยู่
และเราก็เห็นสภาวะที่อยู่เบื้องหลังของปรากฏการณ์
นั่นก็คือความสงบของจิตใจ ความตั้งมั่นของจิตใจที่บริสุทธิ์
แต่ว่าทั่วไปนี่มันเป็นเรื่องยากที่เราจะเห็นอย่างนั้น
แต่ถ้าเรามีความเพียร มีความตั้งใจ เข้าใจประเด็น
การปฏิบัติของเราก็จะก้าวหน้า แต่เราก็จะต้องมีประสบการณ์
แม้มันจะเป็นความยากสักปานใดก็ตาม
เราจะต้องมีประสบการณ์นั้น คือนำปัญหามาเป็นสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้เพื่อผ่านไป
อุปสรรคต่างๆ มันเป็นเพียง เบื้องบนเขาส่งมาทดสอบความก้าวหน้าของเรา
ว่าเราจะผ่านอุปสรรคนั้นด้วยจิตใจที่ก้าวหน้า หรือจิตใจที่ไม่ก้าวหน้า.
แม้จิตใจของเราจะไม่ก้าวหน้า เรายังมีปัญหาที่ทำให้เราทุกข์
แต่ก็ยังมีประโยชน์ที่เราได้รู้ว่าการปฏิบัติของเราจะต้องมีความเพียรเพิ่มขึ้นอีก
เราจะต้องมีมานะพยายามและทำให้ต่อเนื่องมากกว่าเดิม
นั่นคือเราใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสเราจะต้องมีประสบการณ์นี้
ไม่งั้นมันจะผ่านอุปสรรคต่างๆไปไม่ได้
เมื่อเราสามารถจะมีประสบการณ์นี่บ่อยขึ้น
เราก็จะชนะมัน เราก็จะพบกับความปีติ,
ความสุขของชีวิตที่เป็นอมตะ ที่เป็นนิรันดร
เราจะสามารถปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นได้
ก็ด้วยการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเข้าใจแบบนี้
ถ้าเราพยายามเข้าถึงบางอย่างโดยไม่มีความเข้าใจในแบบนี้ การปฏิบัติก็จะไม่ก้าวหน้า
แต่ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องในแนวทางของการปฏิบัติ ไม่ว่าเราจะทำอะไร กิจกรรมนั้น
การงานนั้น ก็จะตั้งอยู่บนฐานของธรรมชาติที่แท้จริง
ที่เป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง โดยเฉพาะธรรมชาติที่แท้จริงของเรา
แล้วความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นทีละน้อยๆ เราก็จะมีความปีติ
ความรื่นรมย์กับชีวิตในแต่ละขณะๆ ที่เราได้พบขุมทรัพย์ที่แท้จริงของชีวิต นั่นคืออริยทรัพย์
ซึ่งไม่สามารถจะถูกขโมยหรือถูกทำลายได้ด้วยไฟ
การฝึกฝน นั่งสมาธิ หรือแม้กระทั่งการเดินจงกรมนี่
ก็เพื่อที่จะให้ธรรมชาติที่แท้จริงของเรานี่ มันเผยตัวออกมาให้เราได้เห็น
หรือมันแสดงตัวให้เราได้สัมผัส ทุกคนมีธรรมชาติที่แท้คือสัจจะสูงสุดอยู่แล้ว
ไม่ว่าเราจะเห็นหรือไม่เห็น สิ่งนั้นก็มีอยู่แล้ว อยู่ก้นบึ้งของเหตุผล,
อยู่ก้นบึ้งของของคู่, อยู่ก้นบึ้งของชีวิตที่เราดำเนินมาด้วยอวิชชา
แต่ถ้าเมื่อใดก็ตาม อวิชชาหายไป
ปัญญาญาณเกิดขึ้น ขบวนการความคิด
ที่เกิดจากอวิชชาคือตัณหา อุปาทานหายไป
ธรรมที่แท้ก็จะเผยตัวของมันออกมาตามธรรมชาติของมัน
ซึ่งมันก็แสดงตัวของมันอยู่ตลอดเวลา
แต่ในมิติของจิตสำนึกที่เราดำเนินอยู่ในกระเปาะไข่
มันไม่สามารถที่จะเห็นสิ่งที่อยู่นอกกระเปาะไข่ได้
แต่เมื่อเราออกมาเสียจากกระเปาะไข่
เราก็จะเห็นโลกหรือเห็นจักรวาลในอีกมิติหนึ่ง
ถ้าเราไม่รู้จักธรรมชาติที่แท้ของเราแล้วละก้อ
เราจะไม่มีความรู้สึกกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งได้
เราย่อมไม่สามารถที่จะซาบซึ้งกับการงานในชีวิตประจำวัน
เราย่อมไม่สามารถที่จะซาบซึ้งกับผลพวงแห่งความเพียร
หรือความบากบั่นในชีวิตของเราได้ แต่ถ้าเราสามารถจะสัมผัสได้
เราก็จะเกิดความปีติจากความบากบั่น จากความเพียรที่เราได้มุ่งมั่น
เราสามารถจะเห็นได้แล้วก็จะเกิดปีติทำให้เราเกิดกำลังใจ
การค้นพบความหมายที่แท้จริงหรือประเด็นที่แท้จริงของการปฏิบัติ
จะพบความหมายที่แท้จริงของความเพียรได้
นั่นก็คือการค้นพบธรรมชาติเดิมแท้ของความพยายาม,
ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั่นเอง
เราอย่าเพิ่งไปใส่ใจกับผลของความเพียรหรือผลของการปฏิบัติ
อย่าเพิ่งไปคาดหวังว่ามันจะต้องได้เมื่อนั่นเมื่อนี่
แต่เราควรจะใส่ใจไปกับผลของความเพียร
ในแต่ละขณะที่มันแสดงธรรมชาติที่แท้ของมันออกมา
ในกิจการต่างๆ ในกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันของเรา
ความเพียรหรือความมุ่งมั่นที่เราได้กระทำ ผลเกิดขึ้นในขณะนั้น,
ผลเกิดขึ้นตามธรรมชาติของมัน
เราก็จะต้องเข้าใจและรู้จักต้นกำเนิดที่แท้จริง
หรือธรรมชาติที่แท้ของมันก่อนที่เราจะสามารถเห็นผลของมันได้
นี่คือความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่ถ้าเราไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง
การปฏิบัติของเราก็เลอะเลือน ที่อาตมาเคยใช้
คือไม่สามารถจะเห็นความก้าวหน้าของจิตใจได้
ความปีติความรื่นรมย์ก็ไม่เกิดขึ้น
เมื่อใดก็ตามถ้าเราสามารถจะเห็นน้อยบ้างมากบ้าง
ชนะบ้างแพ้บ้างต่ออุปสรรคต่าง ๆ
แม้จะแพ้ก็นำอุปสรรคมาเป็นสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้
เป็นสิ่งที่เราจะต้องเข้าใจมัน
นั่นแหละเราจะเกิดความซาบซึ้งเราจะเกิดปีติในความเพียรของเรา
ผลที่จะตามมาจากการปฏิบัติก็คือ
ในขณะที่มันกำลังแสดงตัวของมันออกมานั่นเอง
ถ้าความเพียรของเราไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานธรรมชาติที่แท้จริง
ความเพียรนั้นก็ไม่ใช่ความเพียรที่บริสุทธิ์
หรือความเพียรที่แท้จริงหรือความเพียรที่ชอบ
ไม่ใช่สัมมาวายามะ สัมมาวายามะมัน
จะต้องตั้งอยู่บนฐานของจิตที่บริสุทธิ์ของเรา
ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน
หรือการถือศีลก็ตามที่เป็นบารมีที่จะนำไปสู่ฟากโน้น
หรือนำไปสู่การพ้นทุกข์แล้วละก้อ
มันจะต้องตั้งอยู่บนฐานของจิตที่บริสุทธิ์
หรือฐานของปัญญาที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
ปัญญาที่เกิดจากจิตที่บริสุทธิ์
ปัญญาที่เกิดจากจิตพุทธะนั่นแหละที่จะนำเราไปสู่ฟากโน้น
หรือนำเราไปสู่ความหมดทุกข์ได้
ถ้ามันไม่ตั้งอยู่บนฐานของจิตที่บริสุทธิ์ หรือที่
อาตมาใช้คำว่าประเด็นแล้วละก้อ
มันก็จะไม่ใช่ทานที่เป็นบารมี ไม่ใช่ทานที่แท้จริง
เป็นทานที่เราให้ด้วยความรู้สึกที่มีตัวเรา
จึงย่อมมีความคาดหวังบางอย่าง แม้กระทั่งศีลก็ตาม
ศีลที่ไม่ตั้งอยู่บนจิตที่ประภัสสร
ศีลนั้นก็ไม่ทำให้เกิดสมาธิ จะไม่ทำให้เกิดปัญญา
ดังนั้นศีลที่แท้จริงหรือทานที่แท้จริงที่เป็นบารมี
มันจะต้องอยู่บนฐานของสัจจะสูงสุด
หรือบนฐานที่จิตประภัสสรของเรา เราอาศัยสิ่งนี้เป็นฐาน
ไม่ว่าเราจะทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นความเพียร
เราจะต้องทำให้ต่อเนื่องอยู่บนฐานนี้
และเราก็จะได้ชื่นชมกับผลของความเหนื่อยยากของเราในทุกขณะ
วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า เราจะปฏิบัติ
หรือมีความเพียรอยู่บนฐานของจิตที่บริสุทธิ์นี่
วิธีนี้เราก็จะมีความพอใจกับทุกสิ่งที่เป็นกิจการงานของเรา
ดังนั้นการฝึกฝน การบำเพ็ญเพียร การภาวนาหรือการนั่งสมาธิก็ดี
การเดินจงกรมก็ดี ด้วยความเพียรด้วยการฝึกปฏิบัติ
มันก็จะดำเนินอยู่บนหนทางอันบริสุทธิ์ของชีวิต
พ้นไปจากความคิดที่คาดหวังพ้นไปจากความคิดที่มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง
การฝึกฝนจึงหมายถึงการรักษาธรรมชาติเดิมของเรา
หรือรักษาจิตที่ประภัสสรของเราไว้อย่างที่มันเป็น
ไม่จำเป็นที่เราจะต้องไปหาคำตอบทางสมองหรือทางเหตุผลว่า
ธรรมชาติเดิมแท้ที่บริสุทธิ์น่ะมันคืออะไร
ไม่ต้องไปให้ความหมายมัน
เพราะสิ่งนั้นมันอยู่เหนือความเข้าใจด้วยเหตุผล
เหนือความเข้าใจด้วยความคิด
เราเพียงแต่นั่ง เราเพียงแต่เดิน เพียงแต่ฝึกฝน เพียงแต่ภาวนาเท่านั้น
นี่ก็คือการปฏิบัติธรรมในวิถีทางของเรา
เมื่อทุกคนเข้าใจวิถีของการฝึกฝนดีแล้ว
เราก็จะมีความเพียร เมื่อเราได้มีการสนทนาพอเข้าใจ
เราก็จะแยกย้ายกันไปทำความเพียร ทำความเพียรที่บ้าน
ทำความเพียรที่ที่ทำงาน ทำความเพียรเมื่ออยู่กับกิจกรรมต่าง ๆ ทุกคนจะต้องทำงานทำการ
ทุกคนจะต้องมีกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เมื่อเรามีความเข้าใจ เราก็ถือว่าการงานนั่นแหละคือการปฏิบัติ
มันก็จะทำให้เราสามารถปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่องไปบนธรรมชาติที่บริสุทธิ์ของเรา
แล้วเราก็จะมีความปีติ มีความเพลิดเพลินกับการงานที่เราทำ เพลิดเพลินกับวิถีทางที่แท้ของชีวิตของเรา
แม้เราจะไม่มีเงินมากมาย จะไม่มีลาภ ยศ ตำแหน่ง ไม่มีใครสรรเสริญ
แต่วิถีชีวิตที่เราพากเพียรอยู่บนฐานของธรรมชาติที่แท้
ก็จะทำให้เรามีความสุข เป็นความสุขที่ไม่ได้อาศัยลาภ ยศ สรรเสริญ ที่ไม่ได้อาศัยอามิสต่าง ๆ
นี่ก็เป็นความสุขที่เรียกในพุทธศาสนาว่านิรามิสสสุข สุขที่ไม่ต้องอาศัยวัตถุ
แต่เป็นสุขที่เกิดจากการดำเนินชีวิตของเราที่ดำเนินหรือดำรงชีวิตอยู่ในสัจจะ
ดำรงชีวิตร่วมอยู่กับพระองค์ ดำรงชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพระพุทธองค์
นี่เป็นสิ่งที่ผิดปกติสำหรับชาวโลกทั่วไปที่ได้ยินได้ฟัง
โดยปกติเรามักจะให้ความสำคัญกับการปฏิบัติในอิริยาบทใดอิริยาบทหนึ่ง
เช่นนั่งสมาธิ นั่งกันเป็นชั่วโมง ๆ หรือเดินจงกรม เดินจนทางเป็นร่อง
นี่คือเราให้ความสำคัญกับอิริยาทใดอิริยาบทหนึ่ง
หรือเน้นความเข้าใจพุทธศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ
แล้วก็คิดว่านี่แหละคือพุทธศาสนา
นี่แหละที่ทำให้เราจะต้องมีกัลยาณมิตรหรือมีคุรุที่จะชี้แนะ
ที่จะทำให้เราไม่ยึดติดกับความเข้าใจในรูปแบบ
หรือความเข้าใจในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่งของสัจจะ
หรือแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ หรือนิกายใดนิกายหนึ่งโดยเฉพาะ
เราจะต้องไปพ้นการแบ่งแยก เราจะต้องไปพ้นนิกาย
ชาวพุทธที่แท้จะต้องไปพ้นนิกายหรืออาจารย์ใดอาจารย์หนึ่งโดยเฉพาะ
จะต้องไม่ติดคำสอนของอาจารย์
แต่จะนำคำสอนของอาจารย์นั้นมาเพื่อที่จะพัฒนาจิตใจของเรา
เราเคารพอาจารย์ แต่เราไม่ติด เราไม่ยึดถืออาจารย์
ถ้าเรายึดถือมันก็จะกลายเป็นกรอบที่ครอบงำจิตใจของเราลงไปอีกชั้นหนึ่ง
ไม่ว่านิกายก็ดี หรือไม่ว่าชื่อของศาสนาก็ดี
ถ้าเราสามารถจะเข้าใจและไปพ้นความยึดติด
เราก็จะกลับคืนไปเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ไปเป็นธุลีหนึ่งของความเป็นเองของธรรมชาติ
นี่คือการสละหรือจาคะทุกสิ่งที่เป็นเครื่องพันธนาการ
เมื่อเราสามารถจาคะทุกสิ่งของเครื่องพันธนาการได้แล้ว
เราก็จะกลับไปสู่บ้านเดิมของเราก็คือความเป็นธรรมชาติ
ความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งนั่นเอง
พุทธศาสนาก็เป็นเพียงข้อมูลที่จะชี้แนะ
เป็นคำสอนที่จะชี้แนะเพื่อจะเข้าถึงความเป็นธรรมชาติ
หรือเข้าถึงสัจจธรรม ซึ่งครอบคลุมความจริงทั้งหลาย
หรือครอบคลุมสรรพสิ่งทั้งหลายหรือพูดง่ายๆว่า
สรรพสิ่งทั้งหลายหรือความหลากหลายของปรากฏการณ์
มันดำรงอยู่ในสัจจะสูงสุด มันดำรงอยู่ในความว่างหรือสุญญตา
การฝึกสมาธิหรือการภาวนา มันก็จะดำรงอยู่ในความจริงสูงสุดนั้นด้วย
ความจริงสูงสุดมันครอบคลุมกิจกรรมอันหลากหลายของชีวิตของเรา
ดังนั้นเราจึงไม่ได้เน้นที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ
แต่เราจะเข้าใจในส่วนของความเป็นทั้งหมดของชีวิตเราในแต่ละขณะๆ
ซึ่งเราเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์หรือความจริงที่มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่ง
ที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เราจะตระหนักรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง
หรือกระแสน้ำที่ไหลโดยไม่มีช่องว่างที่จะให้เราพูดได้ว่ามันเกิด มันดับ
แต่มันเป็นกระแสที่ต่อเนื่อง จิตซึ่งเราสามารถจะสัมผัสได้
เมื่อจิตใจของเราเข้าถึงความว่างซึ่งลึกซึ้งพอ เราสามารถจะสัมผัสการเคลื่อนไหว
การเปลี่ยนแปลงของเรากับสรรพสิ่งที่เป็นหนึ่งเดียวกันได้แล้ว
พร้อมกันนั้นเราก็สามารถจะสัมผัสได้ถึงต้นกำเนิดของการเปลี่ยนแปลงนั้น
นั่นคือความสงบหรือความว่างนั่นเอง นี่คือวิถีชีวิตของพุทธะ
วิถีชีวิตของการดำเนินชีวิตพรหมจรรย์ หากเราได้เข้าถึง เราก็จะพบกับความรื่นรมย์ ความปีติ
ความอิ่มเอิบของชีวิตในแต่ละขณะที่เราสามารถจะชื่นชมกับชีวิตที่แท้จริงของเราได้
ทางสายกลาง
<!--Main--> ก่อนอื่นเรามาเข้าใจโครงสร้างพุทธศาสนาก่อน พระสูตรที่สำคัญที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาที่หลวงพ่อชี้แนะมีอยู่ประมาณ 3-4 พระสูตร
อริยสัจจ์ 4 เป็นพระสูตรที่สำคัญยิ่ง ถ้าถามว่าเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้อะไร ทุกคนบอกได้ทันทีว่าตรัสรู้อริยสัจจ์ 4 คือความจริงอันประเสริฐ 4 อย่าง
ที่จริงตลอดชีวิตของพระองค์สอนอยู่ 2 เรื่อง เรื่องทุกข์กับเรื่องดับทุกข์
เหมือนสมัยหนึ่งที่อยู่ในป่าสีเสียด
พระองค์ทรงหยิบใบไม้มากำมือหนึ่งถามสาวกว่าใบไม้ในกำมือกับใบไม้ทั้งป่าอันไหนมากกว่ากัน
สาวกตอบว่าใบไม้ทั้งป่ามากกว่าพระเจ้าข้า
ใช่แล้วเหมือนสิ่งที่เรานำมาสอนพวกเธอเหมือนใบไม้ในกำมือ แต่สิ่งที่เราตรัสรู้เหมือนใบไม้ทั้งป่า
ใบไม้ในกำมือคืออริยสัจจ์ 4 นั่นเอง คือเรื่องทุกข์กับเรื่องดับทุกข์ ขยายออกไป ทุกข์เกิดจากอะไร นั่นคืออริยสัจจ์ข้อที่ 2 วิธีดับทุกข์จะดับอย่างไรนั้นอริยสัจจ์ข้อที่ 4 แล้วเข้าถึงสภาวะที่ไม่มีทุกข์ นั่นคือ นิโรธ นี่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
ไม่ว่านิกายไหนไม่ว่าเถรวาท ไม่ว่ามหายาน หรือวัชรยาน อริยสัจจ์ 4 เป็นพระสูตรที่สำคัญ เพราะว่าอริยสัจจ์ 4 มีอยู่ในตัวของคนทุกคน ทุกคนมีความทุกข์ มีปัญหาของชีวิต เหตุเกิดทุกข์ ส่วนมากเราไม่รู้ว่ามันเกิดจากอะไร
ข้อที่ 3 สภาวะของนิโรธ หรือสัจจะสูงสุดมันมีอยู่แล้ว บางคนคิดว่ามันเป็นผลจากการปฏิบัติ ที่จริงสภาวะนี้มันเป็นสัจจะที่มีอยู่เป็นพื้นฐานของสรรพสิ่งอยู่แล้ว ความสำคัญอยู่ที่วิธีปฏิบัติแต่ก็มีหลักอยู่ถ้าใครเข้าใจหลักในการปฏิบัติก็ จะดับทุกข์ได้ แต่คนรุ่นหลังเอาหลักการปฏิบัติของครูอาจารย์ชั้นหลังมาปฏิบัติ ไม่ได้เอามาจากพระไตรปิฎก ซึ่งเราจะเห็นว่าสมัยพระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรให้ปัญจวัคคีย์ฟัง ท่านก็ชี้ทางสายกลาง หรือทางสายเอก ถ้าขยายออกไปก็คือ ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ขยายให้ละเอียด ก็คือ อริมรรค มีองค์แปด นี่คือ อริยสัจจ์ข้อที่ 4 คือทางหรือมรรค วิธีดับทุกข์นั่นเองนี่เป็นพระสูตรที่สำคัญที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนา
เราต้องเข้าใจหลักการของพระพุทธศาสนา คำสอนของพระพุทธเจ้ามีมากมายเหลือเกิน 84,000 พระธรรมขันธ์ ในเมืองไทยเรานี่มีพระไตรปิฎก 45 เล่มใหญ่ๆ เราไม่สามารถจะศึกษาคำสอนของพระพุทธองค์ได้ทั้งหมดที่พระองค์สอนทุกคนที่ จริงเราเข้าใจเพียงบางพระสูตรก็สามารถจะเข้าถึงสัจจะหรือความจริงได้ พ้นทุกข์ได้เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจว่า หลักคำสอนพระพุทธศาสนาคืออะไร คำสอนของพระพุทธองค์ย่อลงมาเหลือ 3 เป็นหลักการของพระพุทธศาสนา
นั่นคือ สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง คือข้อ1 ละบาป ละการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วยการถือศีล ศีล 5 ,ศีล 8,และ ศีล 10 ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดโกหก ไม่ดื่ม ไม่เสพเครื่องดองของเมาต่างๆ นี่ขั้นต้นหลักการของพระพุทธศาสนา สูงขึ้นมาก็ทำดีทำบุญ
กุสะลัสสูปะสัมปะทา คือข้อ 2 ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยกำลังกายกำลังทรัพย์ ให้อภัย ให้ธรรมะ นี่เป็นส่วนของความดี 2 ส่วนนี้ ยังพ้นทุกข์ไม่ได้
เพราะฉะนั้นหลักการข้อที่ 3 คือการทำจิตให้บริสุทธิ์ ตรงนี้เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ทำจิตให้ขาวรอบ สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
ตรงนี้คือสิ่งที่หลวงพ่อชี้แนะในส่วนของการปฏิบัติข้อ 3 มันจะเกิดผลได้ก็เนื่องมาจากการปฏิบัติหรือฝึกฝน ข้อ 1 ข้อ 2 เราทำกันอยู่แล้ว แต่ยังพ้นทุกข์ไม่ได้ต้องปฏิบัติด้วย
พระพุทธศาสนานี่ถ้าไม่มีการปฏิบัติแล้วไม่อยู่ในรูปของศาสนาเลย อยู่ในรูปของศรัทธา ศาสนาอื่นเขาใช้ศรัทธา ศรัทธาในพระเจ้า พระพรหม พระอัลเลาะห์ ต่างๆ ทำตามคำสอนหรือคำบัญญัติของศาสดาแค่นั้นเอง แต่พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา
ไม่มีใครทำให้เราทุกข์นอกจากตัวเราเองเพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงชี้แนะแนวทางให้ทุกคนปฏิบัติที่เรียกว่าสิกขา
เราต้องเข้าใจว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา ซึ่งมีปัญญา 3 ชนิด ในพุทธศาสนา
ปัญญาขั้นต้นคือปัญญาจากการฟัง หรือการรับรู้หรือประสบการณ์ที่ผ่านมาที่เรารับรู้จากประสาทสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
ปัญญาระดับที่ 2 คือ เอาความจำต่างๆ ประสบการณ์ต่างๆ ที่เราผ่านมานั่นแหละนำมาคิด พิจารณาใคร่ครวญเป็นปัญญาในระดับความคิดเรียกว่า จินตมยปัญญา ปัญญาระดับเหตุผล
ปัญญา 2 ระดับนี้ ยังแก้ปัญหาชีวิตไม่ได้ ต้องใช้ปัญญาอีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากใจที่ว่างเรียกว่า
ภาวนามยปัญญา ปัญญานี้เกิดจากใจที่สงบที่ว่างเท่านั้น
ทำยังไงเราจึงจะรักษาสภาวะจิตให้มันว่างขณะที่เรายืน เดิน นั่ง นอน ไม่ใช่ตอนเรานั่งหลับตาแล้วทำจิตให้สงบ อันนั้นไม่มีปัญญาไม่ได้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันด้วย
ว่างของพระพุทธศาสนาหรือสงบของพุทธศาสนานี่ต้องว่างหรือสงบจากการรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เห็น ได้ยินแล้วจิตใจไม่ปรุงแต่งนี่คือความสงบที่แท้จริงเพื่อที่จะเป็นฐานให้ เกิดปัญญาญาณ นี่คือปัญญาของพุทธศาสนาคือภาวนามยปัญญา หรือปรีชาญาณ
ในหลักการปฏิบัติมันจะต้องพัฒนาหรือทำให้ปรีชาญาณ ที่เกิดจากจิตที่บริสุทธิ์ได้มีโอกาสทำงาน จิตของเรานี่บริสุทธิ์อยู่ส่วนมาก ปกติใจของเราบริสุทธิ์แต่มีสิ่งเร้าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือความจำต่างๆ มากระทบกับการรับรู้ภายในมันทำให้ใจของเราปกติไม่ได้ เราก็เกิดความรู้สึกพอใจไม่พอใจ ชอบ - ไม่ชอบ เกิดความต้องการนำไปสู่การกระทำต่างๆ แล้วก็ยึดถือในสิ่งที่เราได้เราเป็นเรามี
ในการดำเนินชีวิตมันก็ดำเนินชีวิตไปตามอริยสัจข้อที่ 2 ของปุถุชนทั่วไป
หลักการ 3 หลักที่หลวงพ่อชี้แนะก็คือ ละชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ นี่อันหนึ่ง ปัญญา 3 ระดับ สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา และอริยสัจจ์ 4
3 พระสูตรนี้ ที่หลวงพ่อพูดให้ฟังกว้างๆ ส่วนใครจะไปศึกษาให้ละเอียดอย่างไรนั่นก็อีกเรื่องหนึ่งเพียงรู้หรือเข้าใจ เพียง 3 พระสูตรนี้ อาศัย 3 พระสูตรนี้ หรือเข้าใจโดยละเอียดก็ดับทุกข์ได้แล้ว อย่างอริยสัจจ์ 4
กิจที่เราต้องทำต่ออริยสัจจ์ 4 หรือที่เรียกว่า ปริวัฏฏ์ 3 อาการ 12 มีสัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ
สัจจญาณก็คือ เห็นความจริง หรือความจริงของแต่ละสัจจะ ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ของอริยสัจจ์ 4
ข้อ 2 ก็คือกิจที่เราจะต้องทำต่ออริยสัจจ์ 4
ข้อ 1 ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ กำหนดรู้ก็คือ การสังเกตหรือดูมันทุกข์อยู่ที่ไหน ทุกข์อยู่ที่ใจใช่ไหม
ข้อ 2 เหตุให้เกิดทุกข์จะต้องละ เหตุให้เกิดทุกข์ก็คือ ขบวนการความคิดต่างๆ นี่เอง
ข้อ 3 นิโรธ จะต้องทำให้แจ้ง ก็คือสภาวะที่ไม่มีทุกข์จะต้องเห็นให้ชัดเลย
ข้อ 4 ก็คือการปฏิบัติทำให้มากๆ ด้วยการกำหนดรู้หรือสังเกตดูมัน เข้าใจมัน ดูเรียนรู้ สังเกต ก็คือการศึกษาในพุทธศาสนา (สิกขา)
พอเราสังเกตเราจะเกิดความเข้าใจขึ้น อ้ออย่างนี้เองความโกรธ อย่างนี้ความโลภ อย่างนี้ความวิตกกังวล ความกลัวต่างๆ ด้วยการสังเกตสภาพของจิตสำนึกทีนี้เราจะเอาอะไรมาสังเกต ตัวสังเกตได้ก็คือปัญญาญาณ
จุดเริ่มต้นเราจะต้องพัฒนาปัญญาญาณก่อนแล้วปัญญาตัวนี้ไม่ใช่ปัญญาในระดับความคิดไม่ใช่ปัญญาในระดับจินตะ เป็นปัญญาที่เกิดจากความสงบ
จุดเริ่มต้นเราพัฒนาให้มีปัญญาที่เกิดจากใจที่สงบก่อนทำอย่างไรขบวนความคิดจะสงบนี่เราใช้หลักการของอริยสัจจ์ข้อ 4
ทีนี้เราลองมาดูพระสูตรต่างๆ ในพระไตรปิฎกที่เป็นเรื่องของการปฏิบัติที่ชี้แนะแนวทางการปฏิบัติไว้ อย่างพาหิยะเป็นพ่อค้าทางเรือขนสินค้าจากเมืองหนึ่งไปสู่เมืองหนึ่งพอดี เที่ยวนั้นไปโดนพายุเรือแตกข้าวของก็จมน้ำกลาสีลูกเรือตายไป เหลือพาหิยะคนเดียวว่ายน้ำตะเกียกตะกายไม่มีเสื้อผ้าเลยมาขึ้นที่ท่าหนึ่ง
คนที่นั่นก็นึกว่าพาหิยะบรรลุธรรมแล้วเพราะสมัยนั้นมีลัทธิหนึ่งของ นิครนห์นาตะบุตร เวลาบรรลุธรรมแล้วนี่ เขาจะไม่นุ่งผ้าเรียกว่าลัทธิเซน เดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่ของท่านมหาวีระ พาหิยะไม่มีเสื้อผ้าเหลือเขา ก็นึกว่าพาหิยะบรรลุธรรม ก็เอาอาหารมาบำรุง
พอดีเพื่อนพาหิยะมาเจอเข้าก็บอกว่าพาหิยะอย่าหลงตัวเองเลย เอ็งไม่รู้อะไรหรอก ถ้าเอ็งอยากจะรู้ว่าชาวบ้านเขาว่าเอ็งอะไรให้เดินทางไปหาสมณโคดม
พาหิยะสงสัยอยู่ก็เลยเดินทางไปหาสมณโคดมอีกเมืองหนึ่งพอดีไปถึง
สมณโคดมกำลังจะออกบิณฑบาตก็ขอร้องให้สมณโคดมแสดงธรรมให้ฟัง
สมณโคดมบอกว่าเดี๋ยวก่อนให้เรากลับจากบิณฑบาตก่อน
พาหิยะไม่ยอมขอร้องสมณโคดม 2-3 ครั้ง
พระพุทธเจ้าอดรนทนไม่ได้ก็เลยบอกว่าเอาอย่างนี้พาหิยะ เธอจงเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน ทุกทวารถ้าเธอรับรู้ได้อย่างนี้ ตัวเธอก็ไม่มี นี่คือที่สุดแห่งทุกข์
พาหิยะได้ยินแค่นี้ก็บรรลุธรรม ขอบวช พอดีไปหาจีวรโดนวัวขวิดตาย
พระพุทธเจ้าเพียงบอกว่าเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน เห็นสักแต่ว่าเห็นจะไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเราเห็น คือไม่มีอัตตาตัวตน
ก่อนที่จะนำไปสู่การปฏิบัติหลวงพ่ออยากพูดเรื่องอริยสัจจ์ข้อที่ 2 คือเหตุให้เกิดทุกข์เราไม่ค่อยรู้ เราคิดว่าคนนี้คนนั้นทำให้เราทุกข์ แต่ทุกข์จริงๆ เกิดจาก ขบวนการความคิด ของตัวเราที่เกิดจากอวิชชา อวิชชา คือความไม่มีปัญญาเห็นความจริงที่จะรับรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย นี่เราไม่เคยเห็นความจริงเลย
มีสมมติบัญญัติเป็นสมมติสำหรับสื่อสารของสังคมมนุษย์โดยเฉพาะ เราเลยไม่เห็นความจริงเลย เราเห็นแต่ชื่อของมันแล้วเราก็เอาสิ่งที่เห็นมาสรุป ในการสรุปหรือในการลงความเห็นรวบยอดของเรา เราลงความเห็นที่ขัดแย้งกันเป็นคู่ๆ เราจะลงความเห็น มันใหญ่ตรงข้ามกับเล็ก ใกล้ตรงข้ามกับไกล ร้อนตรงข้ามกับเย็น อ่อนตรงข้ามกับแข็ง ถูกตรงข้ามกับผิด สวยตรงข้ามกับน่าเกลียด ไม่ว่าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
เรารับรู้เป็นของคู่ๆ จากขบวนการความคิดหรือการลงความเห็นเป็น ทวิภาวะ นี่มนุษย์ทุกคนตกเป็นทาสของทวิภาวะขบวนการความคิดนี่เป็นพื้นฐานของทวิภาวะ ความคิดจึงนำไปสู่ปัญหาต่างๆ
มีเด็กหนุ่มคนหนึ่ง อาจารย์สอนว่าความคิดของเราเหมือนเถาไม้เลื้อย มันชอบเลื้อยพันต้นไม้ใหญ่
เด็กหนุ่มคนนี้ก็สนใจ และถามอาจารย์ ถ้าเถาไม้เลื้อยมันแห้งเหี่ยวตาย ถ้าต้นไม้มันล้มตายคือหมายความว่าถ้าเราไม่คิดอยู่บนฐานทวิภาวะมันจะคิด อย่างไร
อาจารย์องค์นั้นเป็นอาจารย์มหายานไม่ใช่เถรวาท ถ้าเป็นเถรวาทก็อธิบาย แต่อาจารย์มหายานจะไม่ตอบด้วยการอธิบาย เขาบอกว่าภาษาที่ใช้อธิบายทำให้ผู้รับ ได้รับสิ่งที่เป็นของปลอมมากกว่า เขาเลยตอบด้วยสภาวะจริง
อาจารย์กำลังโบกปูนอยู่ก็เลยทิ้งที่โบกปูนทิ้งเกียงแล้วหัวร่อขึ้นกุฏิไป
อธิบายได้ความว่าถ้าไม่คิดอยู่บนฐานของทวิภาวะนี่เราจะคิดอย่างนี้ ถ้าจิตเรายังอยู่ในระนาบของจิตสามัญสำนึกธรรมดาในระดับเหตุผลเราจะไม่เข้าใจ ตรงนี้เลย
เด็กหนุ่มคนนี้ก็ไม่เข้าใจ
อาจารย์ตอบด้วยสภาวะไม่เข้าใจเลยไปเล่าให้อีกอาจารย์หนึ่งฟังอาจารย์องค์นั้นไม่ได้ให้รายละเอียดหรืออธิบายอะไรพอถามเสร็จ
อาจารย์องค์นั้นก็บอกว่าเธอจะทำให้อาจารย์องค์นั้นหัวร่ออีกแล้วพูดแค่นี้
เด็กหนุ่มคนนั้นก็บรรลุธรรมก็เข้าใจเรื่องตลอดที่พระอาจารย์ทิ้งที่โบกปูน แล้วเดินหัวร่อขึ้นกุฏิไปโดยไม่อธิบายอย่างเถระวาท เพราะฉะนั้นเหตุให้เกิดทุกข์เราดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกที่มีตัวเรา คือเกิดจากอวิชชาพอเรารับรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มันจะมีบัญญัติมีสมมติที่เราจำไว้แล้ว ก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้สิ่งที่ถูกรู้มีอย่างเดียวไม่ได้ก็มีผู้รู้ด้วยก็มีความ รู้สึกว่าฉันเห็นแก้ว ฉันเห็นคนนั้น ฉันเห็นคนนี้ ชื่อต่างๆ มีการรับรู้อย่างแบ่งแยก เราดำเนินชีวิตด้วยอวิชชา เราจะรับรู้ทางทวารต่าง ๆ อย่างแบ่งแยก มีสิ่งที่ถูกรู้ คือบัญญัติต่าง ๆ สมมติต่าง ๆ และก็มีผู้รู้ ผู้รู้นี้จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ
ผู้รู้ก็คืออัตตาหรือตัวตน ฉันหรือเรานี่แหละ ตรงนี้ขบวนการความคิดก็ดำเนินต่อไป ให้ค่าตัดสินลงความเห็นว่า สวยเหลือเกิน ขวดนี้อะไรต่าง ๆ ราคาเท่าไรซื้อมาจากไหน คือการปรุงแต่ง ให้ค่าตัดสินลงความเห็นเป็นคู่ ๆ ทำให้เกิดความรู้สึก 2 อย่าง คือ พอใจ - ไม่พอใจ พอใจก็อยากจะได้เข้ามา ไม่พอใจก็ไม่อยากให้มันเกิด อยากทำลายมันไป ก็เป็นความโลภกับความโกรธ เกิดความต้องการ เราก็ทำทางกายกรรม วจีกรรมขึ้นมา แล้วเราก็ยึดติดหรือสำคัญมั่นหมายในสิ่งที่เราได้ เราเป็น เรามี นี่คือเป็นภพหนึ่งเป็นชาติหนึ่งของความรู้สึกว่ามีตัวเราหรือตัวกู ไม่ว่าจะเกิด จะแก่ เจ็บตาย ไม่ว่าจะอะไรมีตัวเราเป็นศูนย์กลาง เราแก่ เราเจ็บ เราตายพลัดพราก
พระพุทธเจ้าก็เลยสรุปว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ว่าโดยย่อ อุปาทานใน ขันธ์ 5 ก็คือการดำเนินชีวิต พอมีสิ่งมากระทบตาเห็น พอมีสิ่งมากระทบ หูได้ยิน สิ่งต่าง ๆ อายตนะข้างนอก ข้างใน กระทบกันเกิดตัวรู้ขึ้นมา 3 สิ่งนี้เรียกว่าผัสสะ เกิดเวทนาความรู้สึกพอใจไม่พอใจ เกิดตัณหาความต้องการ เกิดอุปาทานเกิดภพ ภพคือภาวะหนึ่งของความรู้สึกว่ามีตัวเรา ผลก็คือจะเกิด แก่ ตายมีตัวเรา
พระพุทธเจ้าสรุปว่า เพราะอุปาทานนี้เองทำให้เกิดความทุกข์ เกิดความรู้สึกว่ามีตัวเรา
อุปาทานคือการสำคัญมั่นหมายหรือการยึดถือนั่นแหละ เพราะความยึดถือจึงมีตัวเราเข้ามา
สรุปง่ายๆ ว่าเพราะมีความรู้สึกว่ามีตัวเรา จึงมีทุกข์ เราไปตลาดเจอคนทะเลาะกันเราเฉย ๆ พอเขาเอ่ยชื่อเราเท่านั้น ทุกข์เลย เห็นสุนัขของคนอื่นโดนรถทับตาย เราก็เฉย ๆ แต่พอมันเห็นหมาเรานี่ใจเราเป็นอย่างไร นี่ทุกข์ทันทีเลย มันมีเราของเราขึ้นมามันเลยทุกข์ ความรู้สึกว่ามีตัวเราคือ ปัญหาของมนุษย์
สรุปสั้น ๆ ก็คือตัวเรานี่แหละทำอย่างไร เราจะดำเนินชีวิตโดยไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเราได้ นี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์พยายามปลุกเราให้ตื่นขึ้นมองโลกในอีกทัศนะหนึ่งที่ ไม่มีตัวตนดำเนินชีวิต
ถ้าเราทำได้นั่นคือ การดำเนินชีวิตพรหมจรรย์ หรือดำเนินชีวิตด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 ตัวสำคัญของการดำเนินชีวิตก็คือปัญญาหรือสัมมาทิฎฐิ
แต่ก่อนเราไม่มีปัญญาคือ อวิชชาเห็นโลกผิดจากความเป็นจริง ถ้าเรามีปัญญาไปแทนอวิชชา เราจะเห็นสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง เรียกว่า ตถตา เช่นนั้นเองไม่มีสูงต่ำ อ้วนผอม ชื่อของมันก็ไม่มี แต่เพราะขบวนการความคิดของเราทำให้เราเห็นโลกผิด ซึ่งเกิดจากสัญญาความจำต่าง ๆ สัญญาที่เราจำมาสมมติต่าง ๆ ที่เราเรียกว่า สัญญาวิปลาส มาทำงานร่วมกับจิตที่บริสุทธิ์ประภัสสร จิตเลยวิปลาสไปด้วยทำให้ความเห็นหรือทิฏฐิต่าง ๆ วิปลาสไป จึงเห็นเป็นของคู่ ๆ ไปหมด เห็นทุกข์เป็นสุข เห็นไม่มีตัวตนเป็นมีตัวตนต่าง ๆ ของคู่เหล่านี้คือ ความสุดโต่งทั้ง 2
หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้แล้ว ทรงพักผ่อนอยู่ 7 สัปดาห์เดินทางไปพบปัญจวัคคีย์แสดงธัมมจักกัปปวตตนสูตร
มี 2 นัยยะด้วยกัน คือ สมณะทางสุดโต่งทั้ง 2 ไม่ควรเดิน ควรเดินทางสายกลาง
ทางสุดโต่งคือที่เรากำลังดำเนินชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เราเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นของคู่ ๆ นี่ไม่ใช่ทาง ให้เดินทางสายกลาง ท่านโกณฑัณยะได้ดวงตาเห็นธรรม เพราะได้เห็นทางสายกลาง ทางสายกลางจึงไม่มีอัตตาไม่มีตัวตน ไม่มีผู้เห็น
ท่านโปถิระสอนลูกศิษย์บรรลุเป็นอรหันต์หลายรูป แต่ตัวเองยังไม่ได้บรรลุอะไรเลย ไปเฝ้าพระพุทธองค์
พระองค์ก็ทัก มาแล้วหรือท่านตุฐโฉโปถิระใบลานเปล่า คือมีความรู้มากมายแต่เหมือนไม่มีอะไร กลับก็ไปลา
พระพุทธองค์ก็ทักอีกกลับแล้วหรือท่านโปถิระใบลานเปล่า
ท่านโปถิระก็นึกรู้ กลับมาสำนักก็มาให้ลูกศิษย์ที่บรรลุธรรมแล้วช่วยสอน ลูกศิษย์ก็ไม่อยากสอน มาถึงลูกศิษย์องค์สุดท้ายที่เป็นเณรแต่บรรลุอรหันต์แล้ว
เณรสงสารอาจารย์ก็เลยบอกไปว่าต้องมีสัญญาก่อนนะอาจารย์ ผมสั่งอะไรอาจารย์ต้องทำตาม
ท่านโปถิระก็บอกว่าลูกเณรสั่งมาหลวงพ่อจะทำตาม เณรก็สั่งให้อาจารย์ลุยน้ำไปเพื่อไถ่ถอนความรู้สึกว่าเป็นครูอาจารย์ไถ่ถอน มานะต่าง ๆ พอสมควร ก็เรียกอาจารย์ขึ้นมาให้ปริศนาธรรม
มีจอมปลวกอยู่ จอมปลวกหนึ่งมีรู 6 รู และมีตัวเหี้ยวิ่งเข้าออก 6 รูนี้ ทำอย่างไรจึงจะจับเหี้ยได้
ท่านโปถิระเป็นคนฉลาด จอมปลวกก็คือ ร่างกายเรานี่เหละมี 6 ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหี้ยก็คือความโลภ ความโกรธ เดี๋ยวเข้ามาทางตา ทางหู มีอะไรมากระทบทางตา เดี๋ยวมีความโลภ ความโกรธ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มันไม่เข้า 5 ทาง มันก็เอาความจำต่าง ๆ ทำอย่างไรจึงจะจับเหี้ยได้ ไปเฝ้าทางตา เดี๋ยวมันเข้าทางหู ไปเฝ้าทางหูเดี๋ยวมันเข้าทางกาย ทางจมูก ทางลิ้น เฝ้าไม่ได้
ท่านโปถิระก็ไปเฝ้าอยู่ที่ใจ เพราะมันจะเข้าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มันก็มาปรากฎอยู่ที่ใจ พอใจไม่พอใจเป็นความโลภ ความโกรธอยู่ที่ใจเท่านั้น ตอนหลังท่านโปถิระได้บรรลุเป็นอรหันต์รูปหนึ่ง
จุดเริ่มต้นของท่านก็คือเฝ้าอยู่ที่ใจ เฝ้าอยู่ทวารที่ 6 คือใจ พาหิยะเห็นสักแต่ว่าเห็น เห็นโดยไม่มีความคิดเห็นเฉย ๆ ไม่มีตัวตนผู้เห็น
เทวดาองค์หนึ่งไปทูลถามพระพุทธองค์ว่าพระองค์ปฏิบัติอย่างไรถึงข้ามโอฆะสงสารได้
พระพุทธองค์ก็บอกว่าเราปฏิบัติในขณะที่เรายื่น เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบท ทั้ง 4 อย่าง ไม่พักไม่เพียร
ไม่พักทำอย่างไร นั่งสมาธิตลอดคืน เดินจงกรมทั้งคืน
แล้วบอกไม่เพียรอีก ไม่เพียรก็อยู่เฉย ๆ เลยไม่เข้าใจ
พักเพียรเป็นของคู่ ปฏิบัติอย่างไม่พักไม่เพียรคือ ไม่มีของคู่ ก็คือสภาวะจิตที่ไม่มีความคิดเลย ของคู่เกิดจากความคิดเกิดจากอวิชชาที่เราให้ค่าตัดสินลงความเห็นไม่มีพักไม่ มีเพียรไม่มีของคู่ก็คือ สภาวะจิตที่ว่าง ไม่มีความคิดเลย ตรงนั้นแหละคือทางสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา ฉะนั้นเราก็สามารถจะทำได้อย่างพระพุทธองค์ เดิน ยืน นั่ง นอน ทำอย่างไรใจเราจะไม่คิด ถ้าใจเราไม่คิดแล้วมองดูแล้วฟังเสียงนี่ก็เหมือนพาหิยะบรรลุธรรม
อันนี้มีในพระสูตรพระไตรปิฏก เล่มที่ 15 เรื่องโอฆะสูตร
ของมหายานก็มี อิคิวซังไปเยี่ยมอาจารย์ที่กำลังป่วยใกล้ตาย อิคิวซังบรรลุอรหันต์แล้ว แต่อาจารย์ของอิคิวซังยังไม่รู้จักทางเลยยังไม่เห็นทาง
พอดีไปเยี่ยมอาจารย์ ก็บอกอาจารย์ให้ผมบอกทางให้ไหม
อาจารย์บอกว่าไม่ต้อง ข้ามาคนเดียวก็จะไปคนเดียว
อิกคิวซังได้ยินอย่างนั้นก็บอกอาจารย์ว่า ถ้ายังมีมามีไป มันไม่ใช่ทางนะ
มา-ไป เป็นของคู่ใช่ไหมไม่ใช่ทาง นี่ของมหายาน แต่ของเถรวาทเรา พระพุทธเจ้าปฏิบัติอย่าง ไม่พัก-ไม่เพียร เห็นไหมมันเหมือนกันได้พอดี
อาจารย์ของอิกคิวซังได้ยินแค่นั้นแหละบรรลุธรรมและมรณะภาพไปเลย “ทาง” จะต้องไม่มีของคู่ ทางสายกลางจะต้องไม่มีของคู่
อีกเรื่องหนึ่ง คือ นางกุณฑลเกสีโต้วาทีกับพระสารีบุตร นางถามปัญหาต่าง ๆ พระสารีบุตรตอบได้หมด
พระสารีบุตรถามบ้างว่า น้องนางอะไรคือ ความเป็นหนึ่ง
"เอกัง นามิกิง" เอกังก็เอกหรือหนึ่ง นามก็คือชื่อ อะไรได้ชื่อว่าหนึ่ง
นางกุณฑลไม่รู้จักหนึ่ง หนึ่งในพุทธศาสนาก็คือ เอกายนะมรรคโค หรือมัชฌิมาปฏิปทาคือ สิ่งเดียวกัน ทางสายเอกหรือ สภาวะของความเป็นหนึ่ง
นางกุณฑลแพ้ก็เลยเข้ามาบวชในพุทธศาสนา ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง
ของมหายานก็มีสิ่งเดียวกันนี้
ท่านโพธิสัตว์มัญชูศรีถามท่านวิมลเกียรติว่า ท่านรู้จักไหม อะไรคือสิ่งที่ไม่ใช่ของคู่
ท่านวิมลเกียรตินิ่งไม่ตอบ
กล่าวกันว่า การนิ่งของท่านเสียงดังยิ่งกว่าฟ้าร้อง
คือท่านวิมลเกียรติไม่รู้จะอธิบายอย่างไรกับสภาวะจิตที่ไม่มีความคิด นั้นก็คือทางสายกลาง เอกายนมัคโค สภาวะตรงนั้นคือสภาวะที่ไม่มีของคู่ รับรู้อย่างไม่แบ่งแยก (เป็นหนึ่ง – เป็นเอกภาพ) มันลงกันได้พอดีกับของมหายานและเถรวาทที่ในส่วนของการปฏิบัติ
โมฆราชไปถามพระพุทธเจ้าว่าทำอย่างไรมัจจุราชจึงจะตามหาตัวเราไม่เจอ
พระพุทธเจ้าบอกว่าเธอจงมีสติสัมปชัญญะมีสติปัญญาถอนความรู้สึกว่ามีตัวตนออก เสียเมื่อนั้นเธอก็จะไม่ตายถ้าไม่มีตัวเรามันก็ไม่มีใครตายถ้าไม่มีตัวเรา ไม่มีอัตตาไม่มีตัวตนก็ไม่มีเกิดไม่มีตายนั่นคือเข้าถึงสภาวะสัจจะสูงสุด
จุดเริ่มต้นของหลวงพ่อก็คือทำอย่างไรใจของเราถึงจะสัมผัสกับความจริงสูงสุด ได้ ในโลกนี้มีความจริง 2 อย่างที่เรียกว่า สังขตธรรม กับ อสังขตธรรม สังขตธรรมก็ธรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากเหตุจากปัจจัย คือสิ่งต่างๆ ที่เราเห็นทางตาที่เราเห็นทุกสิ่งเกิดขึ้นจากเหตุจากปัจจัยตกอยู่ใน ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ไม่มีส่วนไหนที่เราจะให้ค่าตัดสินว่าเป็นตัวตน มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนนี่คืออนัตตา เสียงทางหู กลิ่นทางจมูก รสอาหารทางลิ้น สิ่งที่มากระทบทางกาย ความรู้สึกนึกคิดในจิตใจ ขบวนการเหล่านี้คือสังขตธรรม เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
และความจริงอีกชนิดหนึ่งรู้ไม่ได้ด้วยประสาทสัมผัสไม่มีอะไรปรุงแต่งแต่เรา ไม่เห็นมันตรงนี้แหละคือปัญหาเราไม่สามารถเห็นสภาวะนี้จึงมีความรู้สึกว่ามี ตัวเรา
ท่านอังคาร กัลยาณพงษ์ แต่งเอาไว้ว่า
"อนิจจาน่าเสียดายฉันทำชีวิตหายไปครึ่งหนึ่ง ส่วนที่หายช่างลึกซึ้งมีบุปผาลดามาลย์"
ที่หายก็คือความจริงสูงสุดที่เราไม่เห็น เราคิดว่าสิ่งที่เรารับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นความจริง แต่มันไม่ใช่ความจริงแท้เป็นความจริงเพียงขณะเดียวเท่านั้นเอง ขณะนั้นผ่านไปก็ไม่ใช่ความจริงแล้วเพราะมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเหมือน กระแสน้ำที่ไหลไปตลอดเวลาความจริงแท้ไม่เปลี่ยนแปลงอยู่อย่างไรก็อยู่อย่าง นั้น นั่นคือ สูญญตา ความว่าง หรือ อสังขตธรรมนั่นเอง เป็นสัจจะสูงสุด
จุดเริ่มต้นเราจะต้องสัมผัสกับสิ่งนี้ สัจจะสูงสุดมีปัญญาที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
หลักการพุทธศาสนาที่เรียกว่า การทำจิตให้บริสุทธิ์ คือ เมื่อเราได้สัมผัสกับสัจจะสูงสุดจิตของเราจะบริสุทธิ์ ความรู้สึกว่าตัวเราไม่มี อยู่เหนือของคู่เป็นสัจจะที่อยู่เหนือโลก โลกเป็นของคู่แต่สภาวะที่เรียกว่า อมตธรรม มันอยู่เหนือ เรียกว่า โลกุตตรธรรม หรือธรรมที่อยู่เหนือโลกถ้าเราเห็น หรือใจของเราสัมผัสกับสิ่งนี้จะไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเราจะไปพ้นเวลา ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคตไปพ้นของคู่ ไปพ้นวัฎฎสงสาร เมื่อไม่มีตัวเราแล้ววัฎฎสงสารก็ไม่มี นั่นคือสัจจะสูงสุด คือนิพพาน คือ นิโรธะ หรืออนัตตา หรือสุญญตา ถ้าใครเห็นสิ่งนี้เพียงชั่วขณะ หรือชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น เรียกว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม หรือเห็นทางสายกลาง
ฉะนั้นเราต้องรู้จักทางสายกลางเพื่อไปสู่เป้าหมายการดำเนินชีวิตพรหมจรรย์ ที่ไม่มีตัวเราเป็นศูนย์กลางเหมือนอย่างเก่าด้วยปัญญาที่เกิดจากสัจจะสูงสุด เป็นตัวนำ ไม่ว่า จะคิดสัมมาสังกัปปะ พูดสัมมาวาจา การทำงานสัมมากัมมันตะ อาชีพสัมมาอาชีวะ ต่างๆ สมังคีเป็นหนึ่งเดียวกับตัวปัญญาญาณ ที่เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็น ถ้ามีตัวเราจะหาความสุขแท้จริงไม่ได้ เพราะใจมันคับแคบ เห็นแก่ตัว
ถ้าไม่มีตัวเราขบวนการความคิดก็ไปอีกแนวหนึ่งเป็นไปเพื่อผู้อื่น เป็นความคิดที่สร้างสรรค์แก่สังคม และตัวเราก็มีความสุขมีใจอิ่มเอิบเบิกบานคือความสุขที่ไม่ต้องอาศัยวัตถุ เรียกว่า นิพพานัง ปรมังสุขัง สุขเกิดจากใจที่สงบเย็น
ตัวปฏิบัติที่พระพุทธองค์ปฏิบัติข้ามโอฆะสงสารได้ เราก็ทำได้ ก็ยืน เดิน นั่ง นอน รักษาสภาวะจิตที่มันว่าง จากการให้ค่าตัดสินลงความเห็นที่เป็นคู่ ๆ และทำอย่างไรใจมันจะว่างได้ ในหลักของไตรสิกขา สิกขาแปลว่าศึกษา ศึกษาคือการเรียนรู้ แต่เวลานี้การศึกษาของเราเป็นแค่การเรียนรู้เพื่อสะสมเท่านั้นเองแต่สิกขา หรือศึกษาทางพุทธศาสนา รู้ปริยัติแล้วปฏิบัติด้วยการสังเกต,เรียนรู้เพื่อความเข้าใจ เรียกว่าสิกขา
ถ้าไม่มีสิกขาจะไม่เป็นพุทธศาสนาเลย เพราะมันไม่มีปัญญาญาณวิธีที่จะทำให้จิตของเราว่างจากขบวนการความคิดมันมี ความลับอันหนึ่งซึ่งคนไม่ค่อยรู้จักขบวนการความคิดมันจะหยุดไปได้ด้วยตัวของ มันเอง ถ้าเราสังเกตมัน หรือดูมันแต่เวลา เราปฏิบัติทั่วๆ ไป เราบังคับให้ใจเราไปอยู่กับลูกแก้วบ้าง ไปอยู่กับลมหายใจบ้างไปอยู่กับลมกระทบ คือบังคับให้ใจเราไปอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังคับนาน ๆ เข้าก็อยู่เหมือนกันไม่ไปไหน แต่ไม่มีปัญญาสงบแต่ความสงบอย่างนั้นไม่เป็นฐานให้เกิดปัญญาญาณที่จะเห็น สิ่งต่าง ๆ ตามที่มันเป็น
เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าไปปฏิบัติกับ 2 อาจารย์ อาฬารดาบส อุทกดาบส ได้ฌาณสมาบัติ 7 สมาบัติ 8 แต่ไม่มีปัญญา
พระพุทธเจ้าไม่ทรงพอใจเลย แสวงหาเรื่อยไป จนกระทั่งถึงที่สุดที่ไม่ต้องแสวงหาอีกแล้ว คือท่านพบทางสายกลาง พบปัญญาที่ไม่มีขอบเขตจำกัด อ้อนี่เองที่จะทำให้เราไม่ตาย ไม่แก่ เพราะก่อนที่ท่านจะออกบวช ท่านออกไปเที่ยวนอกเมืองพบ เทวทูต 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เจอสมณะ เอทำอย่างไร เราจึงจะไม่แก่นะ เราจะช่วยคนอื่นได้อย่างไร ทำอย่างไร เราจะไม่ตาย เราจะไม่เจ็บนะ หลังจากพระองค์ได้ตรัสรู้ เออเราไม่ตายแล้วก็มันไม่มีตัวเรา ก็ไม่ตาย ไม่แก่ ไม่เจ็บแล้วปัญหามันอยู่ที่ว่าตัวเรานี่แหละ
ตัวเราจะมีความสุขหรือมีความทุกข์ ถ้าไม่มีตัวเราดำเนินชีวิตนี่คือ เป้าหมายของพุทธศาสนา เราจะต้องทำลายตัวเราซึ่งมันเกิดจากอุปาทาน ตัวเรานี่แหละคือ ต้นเหง้าของกิเลสต่าง ๆ ไม่ว่าเป็นความโลภ ความโกรธ ถ้าไม่มีตัวเรา ความโลภ ความโกรธพวกนี้ไม่มีหรอก
หลวงพ่อไปคุยกับท่านพระธรรมปิฎก ตัวเรานี่ไม่มีนะหลวงพ่อ มันเป็นขบวนการความคิดชั่วขณะเท่านั้นเองที่เป็นตัวเรา จริง ๆ แล้วไม่มี เมื่อไม่มีตัวเราจะทำลายตัวเราได้อย่างไร เขาบอกว่าการจะทำลายตัวเราได้ ก็คือทำลายเหตุทำให้เกิดตัวเรา เหตุให้เกิดตัวเรา คือ อวิชชา คือ ไม่มีปัญญาเห็นความจริงนั่นเอง ฉะนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำลายอวิชชาก็คือ ตัวปัญญาที่เกิดจากใจที่สงบ ทำอย่างไรใจจึงจะสงบ ใจมันจะสงบลงไปด้วยตัวของมันเอง ไม่ต้องไปบังคับให้ไปอยู่กับลูกแก้ว หรือลมหายใจอะไรต่าง ๆ การกระทำอย่างนั้น มันมีสิ่งที่ถูกรู้มีผู้รู้ แม้จะสงบแต่ก็ยังมีอัตตาอยู่จิตยังไม่ว่าง มันจึงไม่มีปัญญา จิตมันจะต้องว่างหรือบริสุทธิ์จริง ๆ จากขบวนการความคิด
ปัญญาที่แท้จริงที่ไม่มีขอบเขตจำกัดจึงจะเกิดขึ้น ปัญญาไม่มีขอบเขตจำกัดมันมีอยู่แล้ว จิตที่สงบ จิตที่ประภัสสรก็มีอยู่ เราไม่ได้โกรธใครทั้งวันไม่ได้รักใครทั้งวันแต่เราไม่เคยสังเกตจิตใจของเรา เท่านั้นเอง
จิตที่บริสุทธิ์หรือประภัสสรนี่แหละมันรักษาชีวิตเราอยู่ ถ้าเราคิดทั้งวัน 3 วันเท่านั้น โน่นบ้านสมเด็จ ฉะนั้นเราไม่เคยสังเกตใจของเราเลย พูดง่าย ๆ บางคนเกิดมาไม่เคยรู้จักใจตัวเองเลย ฉะนั้น จุ
ดเริ่มต้นที่หลวงพ่อเล่าพระสูตรต่าง ๆ มันเริ่มที่ใจ พออาจารย์รุ่นหลังเริ่มข้างนอก ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ไปรู้ที่เท้า รู้ข้างนอก รู้ที่ลมหายใจ แม้ลมหายใจก็เป็นข้างนอก มีสิ่งที่ถูกรู้มีผู้รู้ ที่เท้า ที่ลูกแก้ว ยกมือข้างนอกทั้งนั้น
พระสูตรที่หลวงพ่อยกมานี้ เขาเริ่มที่ใจพระโปถิระก็เริ่มเฝ้าที่ใจ ยิ่งอนุตตรธรรมนี้ เขาเฝ้าที่ธรรมญาณตรงจิตที่ว่างตรงนั้นคือ ญาณหรือปัญญาที่ไม่มีขอบเขตจำกัด เขาเฝ้าอยู่เขาเรียกว่า "ธรรมญาณ" นี่ของอนุตตรธรรม
อนุตตรธรรมก็มาจากท่านเว่ยหล่าง แต่มาทางสายฆราวาสท่านไป่อี้ฉาน พวกนี้มาถึงเมืองไทยเราเหมือนกัน ฉะนั้นวิธีปฏิบัติของหลวงพ่อ ก็คือ ยืน เดิน นั่ง นอน สังเกตใจตัวเองขบวนการความคิด หยุดนิดหนึ่ง มันว่าง ตามปกติมันว่างอยู่แล้วแต่เราไม่เคยสังเกตเลย
ลองสังเกตดูสิ นั่งตัวตรงๆ หายใจยาวสัก 3 ครั้งขณะที่หายใจยาวสังเกตสิว่าใจมันคิดอะไรไหมลืมตาก็ได้หลับตาก็ได้คิดไหม ยังไม่รู้จักความคิดเลยบางคนบอกว่าได้ยิน ได้ยินไม่ใช่ความคิดนี่ยังไม่ใช่ความคิดคือมันเอาสิ่งที่ได้ยินสิ่งที่เห็น เอามาคิดนั่นคือความคิด
แต่ที่มันเป็นความลับคือพอเราตั้งใจสังเกตความคิด ความคิดก็ไม่มีแล้วเราจะเห็นใจมันว่างแต่ใหม่ๆ ว่างเดี๋ยวเดียวใจที่มันว่างตรงนั้นเราสังเกตสิเอาใหม่ไม่ต้องหายใจเข้าลอง สังเกตคิดไหมเห็นใจที่มันเฉยๆ ว่างๆ ไหม ไม่มีความคิดเลยเห็นไหม
เอาใหม่ไหนลองสังเกตจริงๆ สิถามว่าใจมันอยู่ที่ไหนใจมันไม่มีที่อยู่ตัวใจจริงคือความว่าง ความวิเศษของมันก็คือสามารถรับรู้และคิดได้พอใจได้ รู้สึกได้ สบายใจได้ ทุกข์ได้ นี่คือใจตัวจริงๆ ของมันตัวที่ยังไม่มีพวกนี้มันว่างใจจริงๆ มันบริสุทธิ์ ตัวบริสุทธิ์เขาเรียกว่าจิต มันคือความว่างมันสามารถจะสัมผัสกับสัจจะสูงสุด
สัจจะสูงสุดก็คืออสังขตธรรม หรือสุญญตานั่นแหละถ้าเราเห็นสภาวะนี้มันจะสัมผัสกับสัจจะสูงสุด
จิตที่บริสุทธิ์ของเราที่ยังไม่มีอะไรไปปรุงแต่งเขาเรียกว่า จิตประภัสสร ตรงนี้มันคือความว่าง
จิตเดิมของเรา พอเราสังเกตความคิดมันหายไป จิตเดิมของเราจะเผยตัวให้เห็นสภาวะนี้ลองสังเกตใหม่เห็นไหมใจเฉยๆ ขณะที่ใจว่างมีความรู้สึกว่ามีตัวเราไหม ไม่มี ของคู่มีไหม ไม่มี แล้วลองมาดู ลองฟังเสียงเราสามารถทำได้ในทุกอริยาบท ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน พอนึกขึ้นได้สังเกตใจเรา เห็นมันว่างใหม่ๆ ว่างเดี๋ยวหนึ่ง
อย่าไปบังคับให้มันว่างนาน พอเห็นมันว่างรู้สึกสบายพอแล้วแค่นั้นแหละยิ่งทำบ่อยๆ มันก็ยิ่งทำให้มันมีพลังมาก ขึ้นทุกครั้งที่เราดูมันมันจะสะสมพลังในตัวของมันเองโดยที่เราไม่รู้สึกตัว เลย ทำให้เรานึกได้บ่อยขึ้น พอนึกได้บ่อยขึ้นเราก็ดูมันบ่อยขึ้นนั่นคือมันมีพลังแล้ว ตอนหลังมันจะหยุดนานขึ้น
นี่คนเราจะท้อตรงนี้ตรงที่ว่าทำแล้วไม่เห็นมันหยุดนานสักทีเราต้องเข้าใจว่า ที่เราสะสมมาตั้งแต่เริ่มจำความได้หรือคิดเป็นนี่เราเริ่มสะสมความเคยชิน เรื่องของทวิภาวะ หรือของคู่พวกนี้มาตลอดเวลาเพราะมันเคยชินเราเคยชินกับขบวนการความคิดระดับ เหตุผลเคยชินกับความคิดระดับทวิภาวะ เราไม่รู้สึกตัว เราต้องมาเปลี่ยนความเคยชินใหม่ความเคยชินคือทำอย่างไรเราจะเห็นเฉยๆ ได้ยินเฉยๆ ฉะนั้นเราก็ต้องเริ่มเฝ้าที่ใจก่อน
เริ่มเห็นมันว่างก่อนตรงนี้จะต้องเป็นฐานของการปฏิบัติ และจะต้องเห็นตลอดเวลา ในขณะที่เราเห็นตรงที่จิตมันว่าง ตัวเราไม่มี นี่มันได้ทำลายหรือละอุปาทานไปแล้วนี่เราจะดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกที่ไม่ มีตัวเราอย่างนี้ ต่อไปมันมีกำลังแล้ว ใจตัวที่มันว่างนี้ธรรมชาติรู้ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด มันจะหยั่งลงสู่จิตใจเรา ตอนหลังเราไม่ต้องดู เรารู้ว่าใจมันนิ่งเฉย ไม่ต้องสังเกต เหมือนอย่างตอนแรกเข้าถึงความเป็นธรรมชาติ ตัวรู้ตัวนี้จะแผ่ขยายออกมารับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พร้อม รู้ในความเป็นทั้งหมดของชีวิตเรา
แต่จิตสำนึกในระดับธรรมดาหรือปัญญาในระดับจิตสำนึกที่เราดำเนินชีวิตที่มี ความรู้สึกว่ามีตัวเรา ในระดับเหตุผลนี้มันมีขอบเขตจำกัด คือ มันรู้ได้ทีละทาง เช่นตั้งใจจะดูรู้ได้ทางตา ทางอื่นไม่รู้ ตั้งใจจะฟังรู้ได้ทางหู ทางอื่นไม่รู้ นั่นคือปัญญาในระดับจิตสำนึกมีขอบเขตจำกัด
รู้ได้ทีละทางมีขอบเขตจำกัดของมัน นั่นคือ ระดับปัญญาของจิตสำนึก แต่ปัญญาในระดับจิตเหนือสำนึกหรือปัญญาที่เกิดจากจิตที่ว่าง เกิดจากสัจจะสูงสุดนี้ไม่มีขอบเขตจำกัดเลย มันจะรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รู้ในความเป็นทั้งหมดที่ประสาทของเราสามารถจะรับรู้ได้
ปัญญามันต่างกัน ปัญญานี้เรียกว่า ปรีชาญาณ หรือ ญาณะ หรือ ญาณทัศนะ ปัญญานี้รู้โดยไม่ต้องคิดเรียกว่าหยั่งรู้ ตระหนักรู้ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Wisdom ก็ได้ Intelligent ก็ได้ Instuition
แต่ปัญญาระดับเหตุผลเรียกว่า Intelecual ปัญญาระดับการฟังขั้นแรกเรียกว่า Knowledge เราก็ต้องฝึก สังเกตใจแล้วมันว่าง จนกระทั่งมันมีพลังมันก็จะหยุดนาน ตัวรู้ก็จะหยั่งลงก้นบึ้งของจิตใจตัวรู้จะมาอยู่ที่ใจของเราตลอดเวลา
แล้วมันจะรับรู้เฉยๆ จะเห็นเฉยๆ ได้ยินเฉยๆ ได้โดยไม่ต้องพะวงกับตัวใจเลยเพราะมันนิ่งสงบอยู่ก้นบึ้งแล้วเราจะต้องเห็น ตรงนี้อยู่เป็นฐานอยู่ตลอดเวลา เมื่อเรามีฐานตรงนี้ ฐานที่ใจมันว่างนิ่งสงบการรับรู้มันก็ไม่มีการแบ่งแยก ไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ไม่มีผู้รู้นี่คือการดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกที่ไม่มี ตัวเรา
ขบวนการความคิดต่างๆ ก็สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ที่มันสัมมาเพราะมันมีตัวปัญญาญาณ หรือสัมมาทิฏฐิเป็นฐาน เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็นไม่เป็นของคู่แล้ว นี่เราก็จะดำเนินชีวิตไปอีกทัศนะหนึ่ง ทุกข์ไม่มีแล้วตอนนี้ ไม่มีทุกข์แล้ว จนกว่าเราจะทำสมบูรณ์นั่นแหละคือทุกข์น้อยลงจนกระทั่งสมบูรณ์เรียกว่า พระอรหันต์
เราไม่ต้องทำจนถึงสมบูรณ์หรอกแค่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นเราใช้ปัญญาที่เห็นความ จริงแล้วแก้ปัญหา เราก็จะทุกข์น้อยลง ไม่มีปัญญาญาณนี้ จึงมีปัญหา ใช้ปัญญาในระดับเหตุผล เวลานี้เราแก้ปัญหาด้วยปัญญาระดับเหตุผล พอมีปัญหาขึ้นมาเราโทษคนนั้นคนนี้
อะไรต่างๆ ทำให้เราทุกข์เราก็จะไปปัญหาที่คนอื่น แต่จริงๆ มันต้องแก้ที่ตัวเรา แก้ที่ขบวนการความคิดหรือความอยากจะให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ที่เราตัดสินว่ามันถูกมันดีมันอะไร พอไม่มีขบวนความคิดพวกนี้ปัญญาที่แท้จริงที่ไม่มีขอบเขตจำกัดก็เกิด รู้ว่าปัญหาเหล่านี้เราจะแก้อย่างไร ปัญญาของสัตตบุรุษก็คือรู้จักเหตุรู้จักผลรู้จักตนรู้จักประมาณรู้จัก กาลบริษัทบุคคล
ปัญญาญาณนี้จะแสดงออกแก้ปัญหาต่างๆ ปัญหาก็ลดน้อยลง ฉะนั้นตัวปฏิบัติจริงๆ คือ การพัฒนาให้จิตประภัสสร หรือจิตเดิมของเราที่มีปัญญาอย่างไม่มีขอบเขตจำกัดได้แสดงตัวของมันออก มาแสดงธรรมชาติแท้จริงออกมาทำงาน
จิตใจที่เรียกว่าขันธ์ 5 หรือนาม มันคืออาการของจิตที่บริสุทธิ์อาการของจิตที่แท้
จิตที่แท้จริงๆ คือความว่าง อาการเช่นความรู้สึกขบวนการความคิดต่างๆ ก็ดี นี่เป็นอาการ
เปรียบเหมือนคลื่นกับน้ำ อาการเหมือนคลื่นคือปรากฏการณ์ต่างๆ หรือสังขตธรรมเหมือนกับคลื่นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
แต่น้ำคือต้นกำเหนิดของคลื่นจะมีคลื่นได้ก็ต้องมีน้ำ
จะมีปรากฎการณ์ได้ต้องมีความว่าง
แต่เราไม่เคยเห็นตัวจริงของมันเลย
คนโบราณสอนว่าเห็น
เสื้อไม่เห็นผ้า เห็นตุ๊กตาไม่เห็นยาง
นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ
หนอนไม่เห็นคูต คนอยู่ในโลกไม่รู้จักโลก
ปัญหาต่างๆ ก็เกิดมากมายเพราะเราดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกว่ามีตัวเราทุกคนแข่งขันแย่งกันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ความเอื้ออาทรคุณธรรมหายไปคนสมัยก่อนมีความเอื้ออาทรต่อกันเพราะความเห็นแก่ ตัวของเขาน้อย เขาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติดินฟ้าอากาศตามฤดูกาล คนรุ่นใหม่น่าสงสารมากอยู่กับความตื่นเต้น กับการรับรู้ทางประสาทสัมผัสถ้าไม่มีความตื่นเต้นเขาจะเหงา ฟุตบอล หนัง เดี๋ยวนี้สร้างจนกระทั่งจิตใจของเราไม่ปกติเลย ดูแล้วมันตื่นเต้นมากมันพยายามให้ตื่นเต้นเพื่อจะจูงใจให้คนเข้าไปติดอยู่ กับตรงนั้น ผิดกับสมัยก่อนเป็นหนังชีวิต ใจคนมันอยู่เฉยไม่ได้มันต้องไปเกาะกับอะไรที่ตื่นเต้นจึงจะอยู่ได้
วิธีปฏิบัติในแนวทางของหลวงพ่อ ทำได้ทุกขณะ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน จนกระทั่งมันมีพลัง ตอนหลังเหมือนไม่ได้ทำ
เหมือนอย่างที่อาจารย์พุทธทาสพูดว่า กิจวัตรการงานของเรานั่นแหละคือ วิถีพุทธธรรม คือการปฏิบัติธรรม
แต่ก่อนปุถุชนดูหนังเห็นแต่ภาพที่เคลื่อนไหวสนุกสนานบนจอ หรือโทรทัศน์ก่อนมันจะมีภาพเคลื่อนไหว ก่อนจะฉายหนังจอมันว่างขาวสะอาด จอที่ขาวสะอาดเหมือนใจเราที่ไม่มีความคิดเลย ตรงนี้แหละเป็นฐานให้เกิดความคิดต่างๆ หรือขบวนการปรุงแต่งต่างๆ
หนังจะมีได้มันจะต้องมีจอสีขาวก่อนถ้าไม่มีจอสีขาวก็มีไม่ได้ ถ้าไม่มีน้ำมีคลื่นไม่ได้ ฉะนั้นคลื่นคืออาการของน้ำภาพที่ไหลไปบนจอนั่นแหละมันมีได้จากจอที่มันว่าง ฉะนั้นนักปฏิบัติเราจะต้องเห็นจอสีขาวเป็นฐานอยู่ที่ใจของเราตลอดเวลาเลย และเห็นการเคลื่อนไหวของขบวนการความคิดต่างๆ หรือโลกของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไหลไป มี 2 อย่างคือความจริงที่กำลังเปลี่ยนแปลง กับ ความจริงที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง คือจอสีขาวนั่นเอง
ฉะนั้นเราจะต้องเห็นจอสีขาวที่ก้นบึ้งจิตใจของเราตลอดเวลา คือใจที่สงบนิ่ง
อีกส่วนหนึ่ง สังขตธรรม ที่เราต้องพูดต้องคิดต้องทำต้องอะไรในกิจวัตรประจำวันนั่นคือ การเคลื่อนไหวสิ่งที่เคลื่อนไหว อยู่ในความไม่เคลื่อนไหว
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่ในความไม่เปลี่ยนแปลง หรือจอสีขาวนั่นเอง ปุถุชนจะไม่เห็นจอสีขาว ถ้าไม่ใช่นักปฏิบัติจะไม่เห็นจอสีขาว จะไม่เห็นใจที่สงบนิ่งก็เห็นอยู่กับภาพที่เคลื่อนไหว มีความสุข ความทุกข์อยู่แค่นั้นเอง
จุดเริ่มต้นที่ฟังหลวงพ่อมาสำคัญที่สุดเมื่อเราหันมามองที่ใจ เราเห็นไหม ใจที่มันเฉยๆ ว่างๆ
ถ้าทำได้ตรงนี้นี่คือจุดเริ่มต้นของการเดินทาง จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติมันอยู่ตรงนี้ เมื่อเราทำตรงนี้เรานึกขึ้นมาตอนไหนตอนเดิน ยืน นั่ง นอน
ทำอะไรอยู่นึกขึ้นมาเราก็สังเกตใจเราเหมือนแม่โคกำลังเล็มหญ้าอยู่ มีลูกน้อยอยู่ตัวหนึ่งชำเลืองดูลูกไปด้วย ลูกวิ่งเล่นแล้ววิ่งมากินนม
ในพระไตรปิฎกอุปมาเหมือนโคแม่ลูกอ่อนกำลังเล็มหญ้า เหมือนเรากำลังทำการงานอยู่สังเกตจิตใจไปด้วย พอเราสังเกตใจมันจะว่างนิดหนึ่งตอนหลังเราไม่ต้องสังเกตแล้วจะเห็นมันนิ่ง เฉยแนวทางของการปฏิบัติด้วยการสังเกตนั่นแหละจะทำให้ใจของเราเป็นหนึ่งเดียว กับสัจจะสูงสุดหรืออมตธรรม
อมตธรรมนี่ ถ้าใจของเราสัมผัสได้ก็จะทำให้ไม่มีตัวเรา จะพ้นไปจากเวลา ไม่มีอดีต อนาคต จะไปพ้นของคู่นี่คือแดนที่บริสุทธิ์ แดนพุทธภูมิ ที่เราเห็น เราได้ยิน ถ้าใจเราว่างได้นี่คือแดน พุทธภูมิ
เราจะเห็นความมหัศจรรย์ของชีวิต ธรรมชาติที่สร้างมาเพื่ออะไรเป้าหมายของการสร้างให้เราเป็นคนเพื่ออะไร เราดำเนินชีวิตต้องมีเป้าหมาย เป้าหมายที่แท้ของชีวิตจริงๆ คือ เป้าหมายของการดำเนินชีวิตด้วยธรรมชาติรู้ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดโดยไม่มีตัว เรานั่นคือเข้าถึงธรรมจิตนั่นคือเข้าถึงสิ่งสูงสุด
หรือเรียกอีกชื่อว่า จิตจักรวาล เป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาลถ้าไม่มีตัวตน ตัวเราที่เกิดจากความคิด เราลองสังเกตดูสิพอเราก็ไม่มี ความคิดตัวเราไม่มีเห็นสภาวะที่ไม่มีตัวเราให้ได้ อดีตมีไหม? อนาคตมีไหม? ของคู่มีไหม? นี่คือ ดินแดนที่บริสุทธิ์ หรือสุขาวดี
ตรงนี้หรือพุทธเกษตรอยู่ตรงนี้ พระเจ้าก็อยู่ตรงนี้แหละ พระเจ้าสร้างทุกสิ่ง ทุกสิ่งเกิดจากความว่างสัจจะสูงสุดเป็นสิ่งเดียวกันคือสุญญตานั่นแหละ พระพรหม พระอัลเลาะห์ คือสิ่งนี้ทั้งนั้นแหละ คือสัจจะสูงสุดนี่แหละ คือ อสังขตธรรม แต่เราไม่เห็น เราคิดว่าสิ่งที่เรารับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มันคือความจริง แต่มันไม่ใช่ความจริงแท้สมัยพระพุทธเจ้าเขาเรียกว่า มายา ภาพลวงตามันเป็นภาพลวงตา
ถ้าเราเข้าถึงสัจจะสูงสุดหรือความว่างตรงนี้เราจะรู้สึกว่าเรากับสรรพสิ่งจะรวมลงเป็นหนึ่งเดียวกันนี่คือหนึ่งที่หลวงพ่อเขียนไว้ว่า
“ เอกภาพคือความหลากหลาย ความวุ่นวายคือความสงบ”
เมื่อใจเราว่างเราจะมีความรู้สึกว่าเรากับสรรพสิ่งเป็นหนึ่ง นี่คือความเป็นเอกภาพ ขณะนั้นใจเราจะเป็นอิสระแม้กระทั่งการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ไม่เอาสิ่งนั้นมาปรุงแต่งเลย ไม่มีของคู่เลย พอใจไม่พอใจไม่มีเลย นี่แหละ คือ ความเป็นเอกภาพ และความเป็นอิสระภาพที่แท้จริง !
ลูกหลานของหลวงปู่จะมีความเห็นแก่ตัวไม่ได้มีทิฐิถือตัวถือตน มียศมีศักดิ์
หยิ่งยโสไม่ได้ เพราะถ้ายังมีสิ่งเหล่านั้นอยู่ เขาจะเข้าถึงสัจธรรม คุณธรรม
ศีลธรรมและจริยธรรมไม่ได้ คนคับแคบ เย่อหยิ่ง จองหอง ยโส รอวันตาย
อย่างเดียว กลิ่นอายและรสชาติถ้อยคำของผู้มีความจริงใจ จะผิดกับกลิ่น
อายของผู้ไม่จริงใจ มีแต่มารยา วิชาการ ผิดกันราวกับฟ้าและเหว ขอเพียง
พวกท่านมีความจริงใจ มีความเป็นธรรมชาติ ท่านจะได้เป็นพระโพธิสัตว์
เป็นลูกหลานของชาวศากยะ ดูอย่างพระพุทธเจ้าเป็นที่รักของเทวดาพรหม
มาร เปรต และอสุรกาย ทรงยิ่งใหญ่ในหัวใจของทุกคนและของตัวเอง ดังนั้น
จงให้เขาก่อนแล้วจะได้รับ
ตราแห่งจิตหนึ่งเดียว
ไปพ้นโลกจะไม่มีสิ่งเป็นคู่, สรรพสิ่งเป็นอยู่มิใช่สอง, พ้นแตกต่างพ้นเหมือนจากเคยมอง, เราจึงต้องเร่งทำประจำวัน” นั่นก็คือภาวะจิตที่ไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรา คือภาวะที่อยู่เหนือโลก ภาวะที่อยู่เหนือของคู่ จะเป็นเครื่องนำทาง หรือเป็นวิถีของการปฏิบัติ นี่คือ”หนทาง” ที่ประเสริฐที่สุดทำให้เกิดการลดละปล่อยวางความยึดถือต่างๆ ที่เรายึดถือมา เราก็จะตื่นขึ้น นี่คือจิตใจที่ตื่น ที่เบิกบานจากการเห็นแจ้งในสิ่งหรือในธรรมที่ทำให้เกิดโพธิ์ นั่นก็คือไม่ว่าจะเป็นสติ ธรรมวิจยะ ในองค์โพธิ์ปักษ์ขิยะธรรม ก็จะเกิดขึ้น ทำให้เราได้ประจักษ์แจ้งกับความจริง
และเราสามารถที่จะตั้งมั่นอยู่ในธรรมนั้นอย่างมั่นคงได้ นี่คือความเป็นไปเองจากการที่เราได้สังเกตมันบ่อยๆ ได้ฝึกฝนหรือที่เรียกว่าปฏิบัติภาวนา คือการพัฒนาจากจิตสามัญสำนึกไปสู่จิตเหนือสำนึก ไปสู่จิตที่ไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรา ไปสู่จิตที่ตื่นขึ้น เพราะว่าหัวใจของพุทธศาสนา หัวใจของธรรมทั้งหลายไม่ใช่มาจากผู้อื่น ไม่ใช่การรู้จากผู้อื่น โลภะก็ดี โทสะก็ดี โมหะก็ดี มันจะเป็นเครื่องวัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติ เรายังมีความรู้สึกพอใจไม่พอใจอยู่ไหม, เรามีตัวรู้อยู่ตลอดเวลาไหม, วันๆ เรามีตัวรู้เห็นจิตใจมันว่างบ่อยครั้งไหม นี่แหละคือสิ่งจะบอกเราว่าการปฏิบัติของเราก้าวหน้าไประดับใด เราเท่านั้นจะเป็นผู้รู้, เราเท่านั้นจะเป็นผู้เห็น
การปฏิบัติเพื่อปล่อยวาง มันจะค่อยเป็นค่อยไปเหมือนในพระไตรปิฎก พูดถึงการจับด้ามมีดมันจะค่อยๆ สึกไปโดยที่เราไม่รู้สึกเลย จนกระทั่งเราใช้มีดนั้นไปนาน 10 ปี 20 ปี เราจะเห็นด้ามมีดเป็นรอยนิ้วมือของเรา นั่นคือไม้มันสึก การปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน มันจะค่อยเป็นค่อยไปตามธรรมชาติจะพัฒนาไปตามธรรมชาติ ตามวิถีทางของมัน ในอีกวิถีทางหนึ่ง แม้การดำเนินชีวิตในมิติของจิตสามัญสำนึก ก็เป็นวิถีทางของธรรมชาติฝ่ายอวิชา ฝ่ายของโมหะ ที่เป็นไปเพื่อให้เกิดตัณหา เกิดอุปาทาน เกิดการยึดติด เกิดความทุกข์ นี่ก็เป็นวิถีของธรรมชาติฝ่ายอวิชาเช่นกัน
เมื่อเราสามารถจะพัฒนาปรีชาญาณ หรือวิชชาก็จะพัฒนาไปตามวิถีของธรรมชาติที่เป็นไปเองในฝ่ายของวิชชา ในฝ่ายของธรรมชาติรู้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด กิเลสตัณหาต่างๆ ที่เรายึดถือไว้มันก็จะค่อยๆ หมดไปเอง เราจะต้องนึกถึงปัจฉิมโอวาทของพระพุทะองค์ไว้ตลอดเวลา เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง พระองค์ให้เรายังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ตระหนักรู้ในสรรพสิ่ง มันเปลี่ยนแปลง ร่างกายเราก็เปลี่ยนแปลง วันหนึ่งมันจะต้องแตกสลายไป เรามีอายุเราเปรียบเทียบกับจักรวาล หรือโลกเป็นเศษหนึ่งส่วนล้านๆ น้อยมากชีวิตของคนเรานี่ แม้จะเทียบได้ร้อยปีก็ตามสั้นมากเหมือนน้ำค้างที่อยู่บนยอดหญ้าพอได้รับแสง ไออุ่น หรือความร้อนจากดวงอาทิตย์น้ำค้างบนยอดหญ้าก็ระเหยไป ชีวิตของเราจึงสั้นมาก
หากเราได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ, ของตัวเรา เราก็จะไม่ประมาทในการที่จะฝึกฝนอบรม เรียนรู้ เพื่อที่จะให้เป็นประโยชน์ตน และก็เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น การปฏิบัติจึงมีความสำคัญ และเห็นประโยชน์ตรงที่เราสามารถจะเข้าถึง “ทางสายกลาง”ได้ “ ทางสายกลาง” คือกุญแจที่เปิดเผยความเร้นลับของธรรมชาติที่แท้ของเรา ความสำคัญผิดหรือความไม่รู้ในสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงที่เราดำเนินชีวิตมาแล้วๆ นี่เราจะต้องใช้ปัญญาญาณหรือปรีชาญาณมาแก้ไข,มาเรียนรู้เพื่อให้เกิดความ เข้าใจ
การฝึกฝนภาวนาต้องเริ่มต้นด้วยการใส่ใจต่อการสังเกตขบวนการของความคิด หรืออารมณ์ต่างๆ ด้วยจิตใจที่เป็นอิสระจน ทำให้เราเกิดความเข้าใจ แล้วความคิดมันจะสงบไปเอง ลดน้อยไปเอง ความใส่ใจในการสังเกตจะเป็นไปเพื่อการกำจัดกิเลส กำจัดความคิด เห็นสภาวะที่ปราศจากความคิด จากการสังเกตจะช่วยให้เราได้สัมผัสกับ”บางสิ่ง” ซึ่งไม่สามารถจะอธิบายให้ใครรู้ได้ด้วยภาษา, แต่ก่อนเราไม่รู้สิ่งนี้ทั้งๆ ที่มีอยู่มันเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง, เราไม่รู้ไม่เห็นเลย ต่อเมื่อเราได้มาศึกษาพุทธศาสนาแม้จะมีความรู้มากมาย ะ แต่ก็ยังไม่รู้สิ่งนี้เพราะว่ายังไม่ได้ปฏิบัติ
บางคนมีความรู้มากมายพูดได้เก่งเอาความรู้ไปสอนแต่จริงๆ แล้วยังไม่เห็นสิ่งนี้เลย ยังไม่เห็นเนื้อหาสาระของความรู้นั้นเลย คำสอนของพระพุทธองค์มากมาย 84000 พระธรรมขันธ์ มารวมลงที่ทำให้จิตของเราตื่นเข้าถึงสัจจะขั้นอัลติมะด้วยการเห็นธรรมชาติ ที่แท้ของเรา แล้วเราก็จะเกิดความเข้าใจชีวิตและดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ดำเนินชีวิตอย่างไม่มีทุกข์ มันมี “บางสิ่ง” ที่เราไม่รู้มาก่อนทั้งๆ ที่มีอยู่แล้วมันเป็นเป้าหมายของการปฏิบัติ จุดเริ่มต้นของทางสายกลางสัมผัสได้กับสิ่งนี้ นั่นคือสูญญตา หรืออนัตตา จุดเริ่มต้นเราเข้าถึงอนัตตาที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ที่จะทำลายความยึดถือต่างๆ, ความผูกพันต่างๆ, ที่ทำให้เราทุกข์, ที่ทำให้เรามีปัญหา, จุดเริ่มต้นเราจะเห็นสิ่งนี้
ในการปฏิบัติก็คือให้ธรรมชาติของสิ่งนี้แสดงออกมา ผลของการปฏิบัติก็คือไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำ ทำกิจการงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันจะต้องมีสิ่งนี้คือสูญญตาหรือนิโรธะ ทำงานร่วม หรือแสดงออกมาร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา เราลองสังเกตตัวเราสิสำหรับผู้ที่ปฏิบัติมานานแล้ว, เห็นธรรมชาติที่แท้หรือความว่าง หรือสูญญตามันแสดงออกร่วมกับกิจการงาน ในทุกอริยาบถของเรา ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน คิด พูด ทำ เห็นสิ่งนี้ด้วยไหม
ถ้าเราเห็นสิ่งนี้แม้จะชั่วเล็กน้อยนี่ก็ถือว่าเราปฏิบัติมาตรงเป้าหมายแล้ว และมันก็จะพัฒนาตัวของมันเองแสดงออกยาวนาน และแผ่ขยายการรับรู้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด นี่คือเป้าหมายของการปฏิบัติ จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติเราจะต้องเห็นสิ่งนี้เป็นพื้นฐาน,หากเราไม่เห็น สิ่งนี้แสดงออก,นี่เราปฏิบัติอย่างผิดเป้าหมาย,ผลของการปฏิบัติจะไม่เกิด, ธรรมชาติของปรีชาญาณจะไม่เกิด, ผลที่เป็นสัมมาสมาธิจะไม่เกิด, การทำลายหรือการปล่อยวางอุปาทานต่างๆ ที่เรายึดถือมาจะไม่เกิดขึ้นเลย
“ทางสายกลาง” จึงเป็นกุญแจสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของการจะปล่อยวาง ของการพัฒนาปรีชาญาณให้เกิดขึ้น จนเกิดความเข้าใจ,การแสดงออก หรือพฤติกรรมที่มีตัณหาอุปาทานเป็นพื้นฐาน, เราเข้าใจมากขึ้นๆ การลดละก็จะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว การแสดงออกของปรีชาญาณเป็นสิ่งที่เราปรารถนา การปฏิบัติไม่ว่าจะนั่งสมาธิ เดินจงกรมก็เพื่อให้ธรรมชาติที่แท้แสดงตัวของมันออกมา แต่ถ้ามันไม่แสดงก็เพราะอวิชามันบัง ขบวนการความคิดมันบัง เมื่อความคิดมันหยุดไป ธรรมชาติที่แท้ก็แสดงตัวของมันออกมาควบคู่กับกิจการงานในชีวิตประจำวันของ เรา
อาจารย์สององค์พบกัน
อาจารย์องค์หนึ่งก็ถามอีกองค์หนึ่งว่า : ท่านกำลังทำอะไรอยู่
อาจารย์อีกองค์ก็บอกว่า : กำลังต้มน้ำร้อน,
มีคนๆ หนึ่งเขาอยากจะกินน้ำร้อน, กำลังต้มน้ำร้อนให้เขา
อาจารย์อีกองค์ถามว่า : ทำไมไม่ให้เขาทำเองล่ะ
อาจารย์องค์นั้นก็ตอบว่า : ก็นี่ไงเขากำลังทำอยู่ เขากำลังต้มน้ำร้อนอยู่,
นัยยะ ของอาจารย์ที่ตอบว่า เขากำลังทำอยู่นี่ นั่นก็คือธรรมชาติที่แท้แสดงออกร่วมกับกิจที่อาจารย์องค์นั้นกำลังต้มน้ำ ร้อนอยู่ พอเข้าใจได้ไหม
การปฏิบัติของเราจะวักผลมันได้ก็ด้วยการแสดงออกของธรรมชาติที่แท้ นี่แหละเป้าหมายสูงสุดมันแสดงออกนานไหม, บ่อยไหม, พระอรหันต์เห็นสิ่งนี้ตลอดเวลา เราเห็นมันได้มากน้อยแค่ไหนวันๆ ,มันแสดงออกควบคู่กับกิจการงานของเรามากน้อยแค่ไหนนี่เป็นตัววัด, หากจิตใจของเรายังไม่มั่นคง คือสัมมาสมาธิยังไม่มั่นคง ยังไม่ลึกซึ้งพอ ยังไม่หยั่งฐานลงสู่ก้นบึ้งของจิตใจ,ธรรมชาติที่แท้มันก็ไม่แสดงออกควบคู่ กับกิจการงานของเรา
สัมมาสมาธิเป็นฐาน เป็นบาทของการแสดงออกของธรรมชาติที่แท้ หรือสูญญตา หรือความว่าง สัมมาสมาธิเกิดขึ้นได้เพราะนิวรณ์ต่างๆ, หรือกิเลสอย่างกลางมันลดน้อยลงไป, ก็เนื่องมาจากการเรียนรู้อย่างใส่ใจ,สังเกตมันบ่อยๆ, ดูมันบ่อยๆ ทุ่มเทการปฏิบัติ ทุ่มเทการใส่ใจ ไม่ว่าจะทำกิจการงานใดๆ ก็อยู่กับการใส่ใจกับสิ่งนี้ นี่ไม่ได้หมายความว่าเราหยุดกิจการงานต่างๆ อยู่ที่วัด 7 วัน 15 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติ ในทัศนะของอาตมาการปฏิบัติก็คือการสังเกต การเรียนรู้ในขณะที่ทำกิจการงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราอยู่กับบ้านนี่แหละ จิตใจของเราเป็นยังไงในขณะที่อยู่กับลูก กับหลาน กับพี่ กับน้อง จิตใจเรามันรู้สึกยังไง เฝ้าสังเกตมันนี่คือตัวการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน, เราไม่จำเป็นต้องไปอยู่วัด หรือเข้าป่า เมื่อเราจับประเด็นของการปฏิบัติได้ เราก็สามารถปฏิบัติได้ในทุกขณะ
การงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันคือการปฏิบัติธรรมเหมือนดั่งท่านอาจารย์พุทธทาสท่านว่า เอ๊ะจะปฏิบัติได้ยังไงเราเคยปฏิบัติด้วยการไม่ทำอะไรเลย,นั่งเฉยๆ แล้วก็หลับตา,เราคิดว่านั่นคือการปฏิบัติ ท่านอาจารย์พุทธทาส บอกว่าการงานในชีวิตประจำวันนี่แหละคือการปฏิบัติ,เราจะรู้ว่าในขณะนั้นเรา ปฏิบัติอยู่รึเปล่า,เราก็สังเกตดูสิว่างานกับเราเป็นหนึ่งเดียวกันไหมถ้ามัน เป็นหนึ่งเดียวกันแสดงว่าใจของเรามันว่าง เมื่อจิตใจว่างจากความคิดจะมีธรรมชาติรู้พร้อม ทำให้เรากับสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ถ้าใจเราไม่ว่าง, เราไม่ได้เห็นจิตใจของเรา,มันจะมีการแบ่งแยกตามความเคยชินที่เราสะสมมา,มี สิ่งที่ถูกรู้,มีผู้รู้ มีตัวเรา หรืออัตตาตัวตนเป็นศูนย์กลางของการดำเนินชีวิตอย่างแบ่งแยกจากสิ่งต่างๆ ที่เรารับรู้,ไม่ว่าทางตา, ทางหู,ทางจมูก, ทางลิ้น, ทางกาย, แม้ความรู้สึกนึกคิดมันก็แยกกับความรู้สึกว่ามีตัวเรา
ความรู้สึกว่ามีตัวเรานี่แหละคือปัญหาต่างๆ ของชีวิต ของชาวโลก,หากเราไม่ได้หันเข้ามาสังเกตจิตใจอาตมาว่าการปฏิบัติล้มเหลว ล้มเหลวจริงๆ ด้วย,เพราะเราไม่สามารถทำให้ขบวนการความคิดมันหยุดไปโดยธรรมชาติของมันได้ หากเราบังคับให้มันหยุด,มีแต่ทำให้จิตของเราขาดความสมดุลย์ หรือจิตของเราจะเสียมากขึ้น ถ้ามันติดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่เรากำหนดอยู่บ่อยๆ ยากที่จะปล่อยวาง, ยากที่จะละ, เพราะมันเกิดความเคยชินเสียแล้ว ฉะนั้นเรามาสร้างความเคยชินชนิดใหม่ เรามาฝึกความเคยชินชนิดใหม่ดีกว่า คือเคยชินในการเห็นเฉยๆ ,ได้ยินเฉยๆ, ที่เรียกว่าเห็นสักแต่ว่าเห็น, ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน, ฝึกความเคยชินในการรับรู้โดยไม่ตัดสิน, รับรู้เฉยๆ เราต้องเคยชินอยู่กับการเห็นจิตใจของเราที่มันว่าง นี่เป็นประเด็นที่สำคัญมาก
สำหรับนักปฏิบัติจะต้องเกิดความเคยชินในการที่จะเห็นจิตใจที่มันว่าง ทุกครั้งที่เราสังเกตใจจะว่างชั่วขณะหนึ่ง เห็นสภาวะนี้ให้มันชัด นิโรธะ ต้องทำให้แจ้ง นี่คือกิจที่เราจะต้องมีต่ออริยสัจข้อที่สาม นิโรธะ จะต้องทำให้แจ้ง คือเห็นมันให้ชัดเลย สภาวะจิตที่มันไม่มีความคิดนี่เห็นมันให้ชัดเลย และก็ตระหนักรู้ต่อไปว่าในภาวะของจิตที่ไม่มีความคิด มันไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรา และไม่มีตัวเรา นี่คืออนัตตา นี่คือภาวะจิตที่อยู่เหนือ นี่คือจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ ทำอย่างนี้ให้เกิดความเคยชิน ในการที่จะเห็นมัน รู้มัน และไม่ว่าเราจะมอง จะฟัง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มันก็จะเกิดความเคยชินในการที่จะรับรู้เฉยๆ รับรู้อย่างไม่เปรียบเทียบ รับรู้โดยไม่ให้ค่าตัดสิน ลงความเห็น, เห็นสักแต่ว่าเห็น, ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน
เราก็สัมผัสได้กับธรรมชาติที่แท้ หรือความจริงที่มันแสดงออกร่วมกับการเห็นการได้ยิน เมื่อมันมั่นคง จากฐานของสัมมาสมาธิ ความว่างที่เป็นฐานของธรรมชาติรู้ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด มันจะแผ่ขยายครอบคลุมโอบอุ้มทุกสิ่งไว้ ไม่ว่าเราจะเห็น จะได้ยิน ความว่างมันก็อยู่ที่นั่น ความว่างมันแสดงออก ควบคู่กับวิญญาณต่างๆ คือโสตวิญญาณ ฆานะวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
ธรรมชาติที่แท้ซึ่งมีอยู่ตลอดเวลานี่เป็นอมตะมันจะแสดงออกร่วมกับกิจการงาน ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา แต่ก่อนมันไม่สามารถแสดงออกได้ เพราะอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เพราะขบวนการความคิดมันบัง ต่อเมื่อขบวนการความคิดมันน้อยลงไปๆ เราก็จะเห็นสิ่งนี้มันแสดงออก ต่อไปแม้เราจะคิด จะพูด จะทำการงานเราต้องใช้ความคิด เราต้องพูด เราต้องทำกิจการงานในชีวิตประจำวันไปจนตาย เมื่อเราก็จะเห็นความว่างนี้ด้วย นี่เป็นความมหัศจรรย์จากการปฏิบัติ ที่เริ่มต้นด้วย “ทางสายกลาง” ขบวนความคิดหยุดไป เกิดความเคยชินในการที่จะเห็นความว่างเป็นฐานอยู่เสมอ
ต่อไปเราจะเห็นวิถีธรรมของการกระทำต่างๆ ไม่ว่าจะคิด จะพูดที่มีการเปลี่ยนแปลง,มันมีฐานของมันคือความว่าง, ความว่างแสดงออกควบคู่กับการเปลี่ยนแปลง, ความไม่เปลี่ยนแปลงแสดงออกควบคู่กับความเปลี่ยนแปลง, ถ้าเราจะพูดโดยภาษาของพระพุทธศาสนานี่ก็คือวิปัสสนาญาณ, คือการรู้แจ้งเห็นจริง สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง, นั่นก็คือสังขตธรรม ที่เกิดขึ้นจากเหตุจากปัจจัยมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา, กับสิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย, ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุดเป็นอมตะ
แต่ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นสองสิ่ง ภาษาเหมือนกับมีสองสิ่ง แต่จริงๆแล้วมันเป็นสิ่งเดียวกัน นี่เราก็เข้าใจไม่ได้ด้วยภาษาเขาจึงเปรียบเทียบเหมือนกับคลื่นกับน้ำ มันเป็นสองสิ่งรึเปล่า คลื่นแยกออกไป น้ำแยกออกไปรึเปล่า คลื่นก็คือน้ำ น้ำก็คือคลื่น ถ้าไม่มีน้ำ คลื่นก็มีไม่ได้ ถ้าไม่มีความว่างหรือไม่มีธรรมชาติที่แท้, ปรากฏการณ์ต่างๆ แม้กระทั่งตัวเราก็มีไม่ได้
เมื่อเราปฏิบัติแล้วจนเกิดสัมมาสมาธิ เราจะตระหนักถึงสิ่งนี้ ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องไปพบในชาติหน้าหรือชาติไหน ในอัตตภาพนี้แหละ ถ้าเราทุ่มเทให้กับการปฏิบัติอย่างจริงใจ และจริงจัง ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอนทำกิจการงานสิ่งใดอยู่ ใส่ใจอยู่กับจิตใจของเรา ใส่ใจอยู่กับขบวนการของความคิด แล้วปรีชาญาณมันก็จะเกิด เมื่อปรีชาญาณเกิด เราก็จะเข้าใจ เราจะสัมผัสได้กับความจริงของชีวิต สัมผัสได้กับความจริงของโลก ความจริงของจักรวาล โดยที่เราไม่ต้องไปรู้จากตำหรับ ตำรา จากคำอธิบายของผู้ใดเลย
ปรีชาญาณจะทำให้เรารู้,เข้าใจโลก เข้าใจชีวิต เข้าใจจักรวาล และก็รู้ด้วยว่าเราควรจะทำอย่างไร มันควรจะเป็นอย่างไร จึงจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น เมื่อเราสามารถเข้าถึงความจริงที่แท้แสดงออกในชีวิตประจำวัน ความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ต่อสรรพสิ่ง ต่อสรรพสัตว์ ก็จะเกิดขึ้นในจิตใจของเรา,นี่คือศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องกับสังคม, ศาสนาไม่ได้แยกต่างหากจากสังคม คนที่ปฏิบัติศาสนาไม่ใช่คนเห็นแก่ตัว ศาสนาเป็นพื้นฐานของสังคม ที่จะไปช่วยสังคมให้เกิดความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความเกื้อกูลต่อกัน หากทุกคนที่นับถือศาสนาต่างๆ เข้าถึงหัวใจของศาสนาของตน นั่นคือศาสนาคริสต์เข้าถึงพระเจ้าของตน ศาสนาอิสลามเข้าถึงพระอัลเลาะห์ของตน ศาสนาพราหมเข้าถึงพระพรหมของตน ศาสนาพุทธเข้าถึงพุทธะภาวะเข้าถึงพระพุทธเจ้าของตน
อาตมาเชื่อแน่ว่าชนในชาติที่ต่างศาสนาจะเป็น UNITY จะเป็นหนึ่งเดียวกัน ความเป็นหนึ่งเดียวกันจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาของสังคมของชาติได้ ทำให้เราแก้ปัญหาความยุ่งยากต่างๆ ของชนในชาติได้,ศาสนาจึงเป็นพื้นฐาน หรือเป็นหัวใจของการดำเนินชีวิต เป็นหัวใจของสังคม การปฏิบัติในแนวทางของ”ทางสายกลาง” เท่านั้นที่จะนำเราไปสู่การลดละปล่อยวางความยึดถือต่างๆ หรือความสำคัญผิดต่างๆ ที่เกิดจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่เราได้สะสมมา
ทำให้เกิดการปล่อยวาง สร้างสัมมาสมาธิ สร้างจิตที่มั่นคงอยู่ในความบริสุทธิ์ อยู่บนศีล อยู่บนความเป็นปกติของจิต หรือความเป็นธรรมชาติ และปรีชาญาณ หรือปัญญาญาณที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติที่แท้ ของแต่ละบุคคลก็จะเผยตัวของมันออกมา ทำหน้าที่ให้เราได้ดำเนินชีวิตอย่างไม่มีทุกข์ หรือมีทุกข์น้อยลง สิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความทุกข์ ในขณะการปฏิบัติ หรือในขณะการฝึกฝนเราจะเห็นว่ามันมีคุณค่า เป็นบทเรียนที่เราจะต้องเรียนรู้และก็ผ่านมันไป สรรพสิ่งเกิดขึ้นจากเหตุจากปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ หรือความสุขก็ดี เราจะต้องทำความเข้าใจมัน เราจะต้องเรียนรู้มัน,แล้วเกิดความเข้าใจ,เมื่อเราเข้าใจแล้ว,ความยึดถือ ต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นอีก หรือแม้จะเกิดก็เกิดขึ้นน้อย
การเรียนรู้เท่านั้นที่จะทำให้เราเกิดความเข้าใจ แล้วเกิดการลดละปล่อยวางความยึดติดทั้งปวง สิกขาในพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะทำให้เกิดปรีชาญาณ เกิดปัญญาญาณเข้าใจสิ่งต่างๆ ของโลก ของชีวิต ของจักรวาลได้,เนื่องจากกิเลส ตัณหา ต่างๆ รวมทั้งกามคุณด้วย มันเกิดจากความคิด หรือความดำริที่ประกอบไปด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของความคิด และก็ตัดกระแสของความคิดนั้นเสียด้วยสติ ด้วยปัญญาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้นการภาวนาหรือการปฏิบัติจึงเป็นหัวใจของการศึกษาในพุทธศาสนา การศึกษาในพุทธศาสนาจึงเน้นไปที่การปฏิบัติมากกว่าการร่ำเรียนเพื่อที่จะ สะสมความรู้ต่างๆ ,ซึ่งบางทีก็ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงธรรมะ ต่อการเข้าถึงสัจจะ
การปฏิบัติจึงมุ่งที่การบรรลุธรรม หรือได้ดวงตาเห็นธรรม ซึ่งมีวิธีการมากมายในพุทธศาสนาในขั้นอุบาย ในขั้นของจิตสามัญสำนึก มีอุบายมากมายที่จะทำให้ไปพ้นจิตสามัญสำนึก บางทีอาจารย์เขาใช้ภาษาที่ผกผันที่ยอกย้อนปลดเปลื้องให้ออกจากความหลงผิด, ให้ตื่นขึ้นต่อสัจจะ ให้ตื่นขึ้นต่อการรับรู้ความจริง, หลุดออจากความเชื่อ, ความยึดถือในเรื่องราวต่างๆ ดังนั้นการปฏิบัติจึงเป็นเรื่องของการบำเพ็ญเพียรทางจิตเท่านั้น ซึ่งหากใครจับประเด็นของการบำเพ็ญเพียรไม่ถูกก็จะพลาดจากสาระทำให้เสียเวลา
ผู้ที่พบ”ทางสายกลาง” ก็คือผู้ที่ได้ดวงตาเห็นธรรม หรือพบวิถีของการปฏิบัติธรรม,พุทธศาสนาก็คือชีวิต คำสอนต่างๆ ที่พระองค์ทรงชี้แนะก็คือสอนให้เรารู้จักชีวิตที่แท้จริง เป็นวิถีของการดำเนินชีวิตที่แท้จริง การเข้าใจพุทธศาสนาก็คือการเข้าใจชีวิตของเรานั่นเอง ปรัชญาที่ครู อาจารย์พูดกันมากก็คือ “เมื่อหิวก็กิน เมื่อง่วงก็นอน” นี่ถ้าใครฟังด้วยจิตสามัญสำนึกโดยปราศจากปรีชาญาณเป็นพื้นฐานของจิตใจแล้ว เราจะเข้าใจไม่ได้เลย ซึ่งน่าสนใจมาก ดูเป็นของง่ายๆ แต่ว่าทำได้ยากมาก,ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันคงจะเป็นเช่นนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ พระพุทธองค์มุ่งหมายให้เราเข้าใจชีวิตในทัศนะที่ถูกต้อง และใช้ชีวิตที่เรียบง่ายธรรมดาๆ หรือดำเนินชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียงดังที่ในหลวงทรงแนะนำประชาชนของพระองค์
ดังนั้นหากเราสนใจอยากรู้ชีวิตคืออะไร เป้าหมายของชีวิตคืออะไร เราต้องใส่ใจใคร่รู้อย่างต่อเนื่องอย่างแท้จริง,แล้วในที่สุดเราก็เห็นโทษ ของความแปรปรวนของสรรพสิ่ง ความไม่เที่ยงจีรัง ยั่งยืนของสรรพสิ่ง,แล้วการแสวงหาก็จะเริ่มต้นขึ้น อีกสิ่งหนึ่งก็คือแรงจูงใจ,ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการศึกษาหากขาดการตระหนักรู้ ในคุณค่าของการเป็นมนุษย์ที่แท้,หรือเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แล้ว,แรงจูงใจก็ไม่อาจจะเกิดขึ้น ความศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ก็ไม่มี, เนื่องจากเราจะต้องมีความใส่ใจต่อการปฏบัติเมื่อเราจับประเด็น ได้อย่างตรงจุด, ตรงเป้าหมายของชีวิต, จุดหมาย หรือเป้าหมายก็อยู่เพียงแค่เอื้อมเท่านั้นเอง
เหมือนดั่งที่พระอานนท์ได้ถามพระสารีบุตรว่า : ธัมมานุธรรมะปฏิบัตินี่ต้องทำนานไหม
พระสารีบุตร ตอบว่า : ไม่นานเลย แต่พวกเราปฏิบัติมา 5 ปี 10 ปี ยังไม่ไปไหนเลย แต่ท่านบอกไม่นานเลย น่าคิดไหม
เราพบว่าพุทธศาสนาก็คือวิถีของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องของเรานั่นเอง ดำเนินชีวิตที่ร่วมประสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งอย่างเป็นเอกภาพ อย่างเป็นอิสระภาพ และเราก็พบชีวิตบูรณาการด้วยปัญญาญาณของเราเอง แน่นอนในระยะแรกๆ ของการศึกษาพุทธศาสนาอาจจะไม่ทำให้ปัญหาทุกอย่างมันสิ้นสุดลงอย่างรวดเร็ว แต่ปัญญาญาณจากการฝึกฝนของเราก็จะช่วยให้เราค่อยๆ เข้าใจชีวิตมากขึ้น, เข้าใจชีวิตในมุมกว้างรวมทั้งสังคม และส่วนบุคคลได้ลึกซึ้งขึ้น
ก็จะทำให้ปัญหาส่วนบุคคล ปัญหาของตัวเราค่อยๆ ลดลง หรือค่อยๆ สิ้นสุดลง เมื่อเรายังมีความเห็นว่าสิ่งต่างๆ ที่เรารับรู้ไม่ว่าจะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ยังเป็นของคู่อยู่ก็ให้เราตระหนักว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้นไปจากใยเหนียว ของอุปาทาน,ความยึดถือทำให้เกิดเงื่อนไขต่อจิตใจ,เราสามารถปฏิบัติได้ในทุกๆ โอกาส ในทุกๆ แห่ง ในทุกๆ กิจการงาน,หากเราเข้าใจประเด็นของการปฏิบัติรับรู้สิ่งต่างๆอย่างปราศจาก ปัญญาระดับเหตุผล ปราศจากการให้ค่าตัดสินลงความเห็น, เมื่อนั้นเราย่อมไปพ้นเงื่อนไข และจะเห็นสรรพสิ่งว่าง,เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็นจริง หรือมันเป็นของมันเช่นนั้นเอง การปฏิบัติเป็นการประจักษ์แจ้งความจริง การที่เราจะเข้าใจ หรือเห็นมันได้ ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของเรา อยู่บนทางสายกลางรึเปล่า
พระพุทธองค์จึงเน้นเรื่องการปฏิบัติ และค้นหาทางให้พบ การประจักษ์แจ้งความจริงเป็นภาวะที่มีความกลมกลืน มีความสมบูรณ์ระหว่างเรากับสรรพสิ่ง ระหว่างเรากับสิ่งที่เรารับรู้มีความประสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นภาวะที่เราตระหนักรู้ หรือหยั่งรู้สภาพความเป็นจริงอย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่ภาวะที่เราตัดขาดออกจากโลก ไม่ใช่ภาวะที่เราแยกออกมาจากสิ่งต่างๆ ,เป็นสิ่งที่สำคัญมาก, สำหรับการปฏิบัติ,หากขาดสิ่งนี้ หรือไม่เข้าใจในสิ่งนี้ หรือรับรู้ไม่ได้ในสิ่งนี้ การปฏิบัติก็ล้มเหลว เป็นการเรียนรู้สภาพความเป็นจริงของสรรพสิ่งอย่างปราศจากการบิดเบือน,นั่นก็ คือไม่มีของคู่, ของคู่อันเกิดจากการลงความเห็น,เป็นการเห็นตรงๆ, สักว่าเห็น, สักว่าได้ยิน, สักว่ารับรู้
หากเราสามารถจับประเด็นนี้ได้และก็ฝึกฝนจากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปีรับรู้โดยไม่ให้ค่าตัดสินลงความเห็นต่อทุกประสาทสัมผัส รับรู้โดยไม่เปรียบเทียบจนกว่ามันจะเกิดความเคยชิน เมื่อเกิดความเคยชินเราก็จะใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ หรือมีอาจารย์บางองค์พูดว่าปฏิบัติจนเราเห็นภูเขาเป็นภูเขา เห็นแม่น้ำเป็นแม่น้ำ ตอนเริ่มปฏิบัติเราจะเห็นภูเขาไม่ใช่ภูเขา เห็นแม่น้ำไม่ใช่แม่น้ำ แต่เมื่อเรารู้แจ้งอย่างสมบูรณ์แล้ว แม่น้ำก็กลับเป็นแม่น้ำ ภูเขาก็กลับเป็นภูเขา ที่พูดอย่างนี้เราต้องประจักษ์แจ้งความจริงด้วยปรีชาญาณ,จากการปฏิบัติของ เรา ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าจุดเริ่มต้นเราพบ”ทาง” แล้วหรือยัง เราไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเราเป็นศูนย์กลางแล้วหรือยัง, เราไปพ้นชื่อ พ้นบัญญัติต่างๆหรือยัง, เหมือนอย่างเขาบอกว่าภูเขาไม่ใช่ภูเขา แต่ก่อนเราเห็นภูเขาเราก็เรียกภูเขา คำว่าภูเขาเป็นชื่อที่สมมุติที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา
จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติก็คือไปพ้นชื่อ, เมื่อเราไปพ้นชื่อ, เห็นสิ่งต่างๆเฉยๆ ชื่อไม่มีนี่คือความหมายภูเขาไม่ใช่ภูเขา เราต้องไปพ้นชื่อพ้นบัญญัติที่ไปตั้งให้มัน ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มากมาย,เรียกว่าสรรพสิ่งเกิดขึ้นจากความคิด ถ้าเรายังไปไม่พ้นบัญญัติหรือชื่อนั่นก็คือเรายังดำเนินชีวิตอยู่ในมิติของ จิตสามัญสำนึก มีสิ่งที่ถูก,รู้ มีผู้รู้ สิ่งถูกรู้ก็คือสัญญาความจำชื่อต่างๆ แม่น้ำ ภูเขา,ขบวนความคิดสร้างความรู้สึกว่ามีตัวเราเป็นผู้เห็น,ผู้ได้ยินทางหูก็ มีการรับรู้อย่างแบ่งแยก
ตราบใดที่เรายังรับรู้อย่างแบ่งแยกนั่นก็คือเรายังไปไม่พ้นชื่อ ไปไม่พ้นบัญญัติก็ยังอยู่ในมิติที่มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง ในมิติที่ไม่มีปัญญาที่จะเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงได้ ปัญญาในระดับเหตุผลนี้มันจะเห็นสิ่งต่างๆ เป็นของคู่, เป็นทวิภาวะ,สูง-ต่ำ,ดำ-ขาว ฯลฯ นี่คือปัญญาในระดับเหตุผลที่เกิดจากความคิดเกิดการเปรียบเทียบ เกิดจากการที่เราไปให้ค่าตัดสิน แล้วสรุปรวบยอด ลงความเห็น นี่คือปัญญาในมิติของจิตสามัญสำนึกที่รับรู้อย่างแบ่งแยกมีรูป- มีนาม, มีสิ่งถูกรู้,มีผู้รู้,มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง,ปัญญาได้แค่ระดับเหตุผล, ระดับของคู่เท่านั้นเอง
จุดเริ่มต้นเราจะต้องไปพ้นชื่อพ้นบัญญัติ นั่นคือเห็นแม่น้ำเห็นภูเขา ไม่ใช่แม่น้ำ ไม่ใช่ภูเขา นั่นคือเห็นเฉยๆ ได้ยินเฉยๆ เห็นสักแต่ว่าเห็นได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน รับรู้สักแต่ว่ารับรู้เมื่อเราไปพ้นการรับรู้อย่างแบ่งแยก ไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ไม่มีผู้รู้ เราจะมีความรู้สึกว่าเรากับสรรพสิ่งที่เรารับรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดในจิตใจเรานี่เป็นหนึ่งเดียวกัน
ไม่มีสิ่งที่ถูกรู้- ไม่มีผู้รู้, ไม่แบ่งแยก, เราจะตระหนักรู้ถึงความไม่แบ่งแยก, หรือความเป็นหนึ่ง “เอกังภาวะ” รับรู้ในความเป็นหนึ่ง สภาวะตรงนี้ก็คือ”ทางสายกลาง”ซึ่งไปพ้นของคู่ ทางสายกลาง คือภาวะจิตที่อยู่เหนือโลก นั่นก็คือโลกุตระจิต เหนือกาลเวลา ไม่มีอดีต ไม่มีปัจจุบัน ไม่มีอนาคต ไม่มีของคู่ ไม่มีตัวเรา ของเรา นี่คือทางสายกลาง, ซึ่งเราจะเข้าถึงได้,เราต้องหันเข้ามามองจิตใจของเรา หันเข้ามาสังเกตขบวนของความคิด แล้วขบวนความคิดมันจะหยุดลงด้วยตัวของมันเอง
สภาวะที่ขบวนของความคิดมันหยุดไปมันเป็นการทำลาย หรือมันเป็นการยกระดับจิตสามัญสำนึกไปสู่จิตเหนือสำนึก นั่นก็คือไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรา ไปพ้นความรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ เป็นของเรา ไปพ้นกาลเวลา ไปพ้นของคู่ ที่พระพุทธองค์ทรงอุปมา อุปไมย การปฏิบัติเหมือนโคแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้าแล้วชำเลืองดูลูกน้อยไปด้วยนั่นก็คือ สิ่งที่อาตมาบอกว่าให้สังเกตจิตใจของเราในขณะที่ทำกิจการงานต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หรือในอริยาบถต่างๆ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน เมื่อเราได้หันเข้ามามองภายใน หรือมองจิตใจ,มองขบวนความคิดของเราแล้วละก้อ, เราจะพบว่าขบวนความคิดมันหยุดไป, ใหม่ๆ ก็ชั่วขณะหนึ่ง, เราต้องสังเกตให้ชัดสภาวะจิตที่ไม่มีความคิด นี่มันเป็นอย่างไร, เราต้องสัมผัสด้วยปัญญาญาณของเรา
ในขณะที่ไม่มีความคิดหรือจิตไม่ได้ปรุงแต่ง,ไม่ได้คิดอะไรเลย,แล้วเรารับรู้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มันรับรู้อย่างไร, เราสังเกตดูสิ มันมีสิ่งถูกรู้มีผู้รู้ไหม,เราก็จะเห็นความแตกต่างของ สภาวะจิตที่ไม่มีสิ่งที่ถูกรู้- ไม่มีผู้รู้,เป็นอย่างไร สภาวะที่ไม่มีอดีต, ไม่มีปัจจุบัน, ไม่มีอนาคต, ไม่มีของคู่เป็นอย่างไร นี่คือจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ เราสามารถปฏิบัติได้ในทุกอริยาบถ ถ้าเราพบว่าทุกครั้งที่เราสังเกตแล้วความคิดมันหายไป นั่นก็คือเราจับประเด็นการปฏิบัติได่แล้ว
ที่พระพุทธองค์ทรงตอบเทวดาว่า พระพุทธองค์ปฏิบัติในทุกอริยาบถไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอนอย่างไม่พัก-ไม่เพียร, ถ้าพักก็จม, ถ้าเพียรก็ลอย, ไม่จม-ไม่ลอย เราก็จะเข้าใจพระสูตรนี้ พัก-เพียร, จม-ลอย เป็นของคู่,ในขณะที่เรายืน เดิน นั่ง นอน แล้วสังเกตจิตใจเห็นจิตว่างจากความคิด สภาวะตรงนั้นแหละไม่มีของคู่,นี่คือแนวทางการปฏิบัติในระยะเริ่มต้น,ต่อไปก็ จะเกิดความเคยชิน,เข้าถึงความเป็นเอง ไม่ต้องสังเกตมันก็เห็นความสงบนิ่งของจิตใจบ่อยขึ้นๆเรื่อยๆ
เมื่อเกิดความเคยชินแล้วไม่ว่าจะทำอะไรต่ออะไรอยู่ ในอริยาบถใดก็ตาม ยืน เดิน นั่ง นอน ทำอะไรอยู่ในชีวิตประจำวัน เราก็จะเห็นความว่าง ความสงบนิ่งของจิตใจไปด้วย ความว่างตรงนี้คือสัจจะที่สูงสุด, สัจจะขั้นอัลติมะหรืออมตะธรรม,นี่คือสูญญตา, ถ้าเราเข้าถึงสูญญตา เป็นหนึ่งเดียวกับสูญญตา ตัวเราไม่มี, ของคู่ไม่มี สภาวะตรงนี้มีปรีชาญาณ หรือปัญญาชนิดหนึ่งที่เป็นธรรมชาติรู้ อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด มันจะแสดงออกต่อเมื่อจิตของเราตั้งมั่นแล้ว เป็นสัมมาสมาธิแล้ว
ปรีชาญาณจะแผ่ขยายธรรมชาติรู้ของมันออกมารับรู้สิ่งต่างๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย พร้อมอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด เราจะสัมผัสกับสิ่งนี้ได้เราจะต้องทุ่มเทการปฏิบัติให้มันต่อเนื่อง, ด้วยฐานของการปฏิบัติที่ไม่มีตัวเรา, เราต้องหาวิถีของการรับรู้อย่างไม่มีตัวเราเป็นฐานของการปฏิบัติ นักปฏิบัติทุกคนจะต้องหาวิถีตรงนี้ ถึงมันผิดก็เป็นครูเรา มันจะปรับฐานของตัวมันเองจนเราสามารถที่จะค้นพบความพอดีของการรับรู้อย่าง ไม่มีตัวเรา จากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่งได้เอง
สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คืออย่าพึ่งไปเบื่อ อย่าพึ่งไปท้อแท้ การเบื่อ การท้อแท้ทำให้ขาดแรงจูงใจ ทำให้ขาดความเพียร ทำให้ขาดฉันทะ มันแสดงถึงการปฏิบัติของเราที่ปฏิบัติผิด มันท้อแท้ มันเบื่อเพราะมันไม่สมหวัง เพราะมันไม่ได้อย่างที่เราตั้งใจ นี่เราทำด้วยความหวัง ปฏิบัติอย่างมีความหวัง หรือคาดหวังไว้ว่าเราจะได้, จะเป็น, จะมี, ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญมากของการปฏิบัติ เราจะต้องปฏิบัติที่อยู่บนฐานของความรู้สึกที่ไม่มีตัวเรา เมื่อไม่มีตัวเรา แล้วมันจะมีความคาดหวังได้ยังไง เราก็ต้องหาวิถีของการรับรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวเรา ในความรู้สึกที่ไม่มีของคู่ ในความรู้สึกที่ไปพ้นกาลเวลา จากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่ง,นี่ก็ต้องใช้เวลา
ที่อาตมาบอกว่าการปฏิบัติต้องทุ่มเท ทั้งแรงกาย แรงใจ และใส่ใจตลอดชีวิต ไม่ใช่วันสองวัน, เดือนสองเดือน, ปีสองปี, จนเรามีความรู้สึกว่าไม่ใช่การปฏิบัติ มันเป็นตัวชีวิตจริงๆ ของเราเลย เราจะรู้อะไรอีกสิ่งหนึ่งเพิ่มขึ้นมา,แต่ก่อนนี้เราไม่รู้สิ่งนี้, เราไม่เคยเห็นสัจจะขั้นอัลติมะ, เราไม่เคยเห็นความว่าง, ว่างอย่างยิ่งนี่แหละคือ
นิพพาน “นิพพาน๐ ปรม๐ สูญญ๐” นี่คือนิพพาน หรือบรมธรรม อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนานั่นเอง เป็นอุดมคติสูงสุดของชาวพุทธเรา ถ้าเราสามารถพัฒนาจนเราเห็นสัจจะขั้นอัลติมะได้ หรือความว่างเป็นพื้นฐานของจิตใจ, เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต เป็นพื้นฐานของขันธ์ 5, เป็นพื้นฐานของความเปลี่ยนแปลง นั่นแหละคือเป้าหมายสูงสุด,นั่นแหละคือการดำเนินชีวิตที่แท้จริง,หรือการ ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง
เราเข้าถึงสัมมาสมาธิเนื่องมาจากการสังเกตการเรียนรู้ของเรา การสังเกตหรือดูมัน เฝ้าติดตามมัน,เหมือนดั่งที่ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ หรือท่านโพธิ์ธรรม ท่านบอกว่า ถ้าอยากเห็นปลาต้องเฝ้ามองน้ำ, ถ้าไม่มองน้ำก็ไม่เห็นปลา อยากจะดำเนินชีวิตด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 หรือเป็นพุทธะ เป็นอริยะชน เราก็ต้องเฝ้ามองจิตใจ ในการมองจิตใจนั่นแหละเป็นการปฏิบัติอย่างมีศิลปะ อย่างมีคุณค่าอย่างยิ่ง ซึ่งไม่มีวิธีการของศาสดาองค์ใดที่ได้ชี้แนะไว้เหมือนในหลักการ และวิธีการของพุทธศาสนา
เมื่อเราได้ทุ่มเททั้งกำลังกายกำลังใจ ใส่ใจมันให้ได้ในทุกอริยบถโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากๆ, มันมีเวลาอีกไม่มากนัก สำหรับการที่เราจะได้สัมผัสกับความจริงแท้ หรือความจริงของโลก ของจักรวาล ของชีวิตก็ตาม เราจะต้องใส่ใจหรือทุ่มเทอย่างจริงๆจังๆ ไม่มีงานใดอีกแล้วที่สำคัญ ไปกว่างานหรือกิจกรรมนี้,เราเคยผ่านชีวิตมามากมาย เคยผ่านการได้, การเสีย, การมี, การเป็น, การสูญเสียอะไรต่างๆ มามากมาย, สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมันไม่ใช่สิ่งจีรังยั่งยืนเลย,ไม่ว่าความสุขต่างๆ ที่เราเคยได้รับมา,หรือความทุกข์ก็ตาม, มันไม่ใช่สิ่งที่มีสาระเป็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์เลย มีสิ่งนี้แหละที่เป็นสาระยิ่งของชีวิต
เราจะต้องทุ่มเทพัฒนาจิตวิญญาณให้สูงสุด เท่าที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้, หรืออริยชนรุ่นก่อนได้พัฒนาเป็นแนวทางไว้ เมื่อเราสามารถจะจับประเด็นของการปฏิบัติได้แล้ว,อาตมาเชื่อแน่ว่าจะต้อง ก้าวหน้า, แต่ค่อยเป็นค่อยไป ในพระไตรปิฏกเขาเปรียบไว้เหมือนการจับด้ามมีด,จับไปบ่อยๆ, จากวันเป็นเดือน, จากเดือนเป็นปี, 5 ปี, 10 ปี,หรือตลอดชีวิตเรา,จะเห็นว่าด้ามมีดมันสึกไปเป็นรอยนิ้วมือเราเลย, เนื่องมาจากเราใช้มันบ่อย, การปฏิบัติก็เหมือนกัน,มันค่อยเป็นค่อยไป เราไม่รู้สึกเลยว่ามันก้าวหน้าไปแค่ไหน,เราจะรู้ก็ต่อเมื่อมีอารมณ์ต่างๆ มากระทบแล้วจิตของเรามั่นคงขึ้น, ไม่หวั่นไหวเลย หรือหวั่นไหวก็น้อย, หรือขณะหวั่นไหวเราเห็นมัน
นี่คือความก้าวหน้าของการปฏิบัติ หรือปฏิเวธ หรือผลของการปฏิบัติ เราไม่ได้มุ่งผล,ความสำคัญอยู่ที่ทุกขณะของการเรียนรู้, ที่เราสัมผัสถึงความจริงแท้แต่ละขณะ ผลก็อยู่ตรงนั้น,ความอิ่มเอิบ เบิกบาน ความร่าเริง ปิติ ในความมหัศจรรย์ของการดำเนินชีวิต ของการยืนอยู่บนโลก ของการรับรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ในความรู้สึกที่กลมกลืนประสานเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง,มีความสด, ความใหม่ในทุกขณะ,ความสุขมันอยู่ตรงนี้, ความสุขไม่ได้อยู่อีก 2 ปีข้างหน้า, 10 ข้างหน้า, ความสุขและความปิติ,เบิกบาน, ร่าเริงมันอยู่ทุกขณะที่เราเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง
เป็นความมหัศจรรย์ยิ่งอีกด้านหนึ่งของชีวิตเรา ซึ่งน้อยคนที่จะสัมผัสได้ ถ้าเรายังไม่พบทางสายกลางก็ไม่มีทางที่มันจะพัฒนาให้ปรีชาญาณเกิดขึ้นได้ เมื่อปรีชาญาณเกิดขึ้นไม่ได้ ก็ไม่สามารถจะทำลายความยึดถือที่เราสะสมมาที่มันแสดงออกอย่างหยาบทางกาย ทางวาจา อย่างกลางนิวรณ์ 5 ต่างๆ อย่างละเอียด ขั้นอนุสัย,ซึ่งปัญญาระดับเหตุผล ไม่สามารถจะทำลายความยึดถือ, อุปาทานต่างๆ ได้,ปรีชาญาณ หรือปัญญาญาณที่เกิดขึ้นจากจิตเหนือสำนึกเท่านั้น ถึงจะทำลายกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เรายึดถือมาได้
เมื่อเรายังไม่พบ”ทาง” ก็คือเรายังไปไม่พ้นมิติที่มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง การปฏิบัติไม่ว่าจะกี่ปีก็ตามก็ไม่สามารถเข้าถึงสัจจะได้เพราะเราขาดความ เข้าใจในจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ, ความเข้าใจที่จะปฏิบัติไม่มี, ไม่เข้าใจหลักการ ไม่เข้าใจวิธีการ โดยเฉพาะวิธีการ, ผลมันก็เกิดไม่ได้ ปฏิเวธมันก็เกิดไม่ได้ เมื่อผลเกิดไม่ได้เราก็ไม่สามารถที่จะใช้ในชีวิตประจำวันได้ เราจะเห็นว่าการศึกษาในพุทธศาสนายากเหลือเกินต้องรอไปอีกไม่รู้กี่สิบ กี่แสนชาติ นั่นเป็นโลกของจินตนาการ เป็นโลกของความคิด โลกของความจริงอยู่ที่ขณะนี้ ในอัตตภาพนี้ ถ้าเรามีความเข้าใจถูกต้องเป็นพื้นฐานในเบื้องต้นแล้ว ปฏิบัติตามหลักการ ตามวิธีการของพระพุทธองค์ ที่ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎกไม่ว่าจะเป็นมัชฌิมาปฏิปทา,หลักของไตรสิกขา, หรืออริยมรรคมีองค์ 8 ก็ตามแล้วเห็นสภาวะนั้นจริงๆ, ปฏิบัติอยู่บนฐานของ”หนทาง”จริงๆ อาตมาเชื่อแน่ว่าต้องบังเกิดผล และสามารถแสดงออกร่วมกับกิจการงานในชีวิตประจำวันของเรา นี่คือเป้าหมายของการบำเพ็ญภาวนา
รังสรรค์แห่งจิต
<!--Main--> รังสรรค์แห่งจิต
“สรรพชีวิตมาพบจบที่นี่ ซึ่งเป็นที่กำเนิดสิ่งต่างๆ เป็นจุดต้นและจุดสุดท้ายคือปลายทาง ทั้งสองอย่างอยู่ร่วมที่เดียวกัน”
การเรียนรู้มิติจิตสามัญสำนึก หรือพฤติกรรมที่เรากำลังแสดงออกด้วยปรีชาญาณ ไม่ใช่ด้วยปัญญาระดับเหตุผล หรือไม่ใช่เรียนรู้เฉพาะความจริงที่เกิดจากเหตุจากปัจจัยหรือปรากฏการณ์ แล้วเราก็แบ่งว่ามันเป็นกาย มันเป็นใจ มันเป็นรูป มันเป็นนาม ด้วยความคิด ด้วยปัญญาระดับเหตุผลว่ามันเที่ยง- มันไม่เที่ยง มันทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ มันเกิด- มันดับ มันจึงไม่มีตัวตน ถ้าเราพิจารณาด้วยปัญญาระดับเหตุผล อาตมามั่นใจว่าเราไม่สามารถจะเข้าใจความจริงได้ และก็ไม่สามารถเข้าถึงสัจจะที่แท้จริงได้
เราไม่สามารถที่จะเข้าถึงความเป็นอนัตตาที่เป็นหลักการสูงสุดของพุทธศาสนา ได้ อนัตตาไม่ใช่ ไม่มีตัวตน อนัตตาคือภาวะจิตที่อยู่เหนือความมี และความไม่มี นี่คือหลักการสูงสุดของพุทธศาสนาที่เรียกว่าอนัตตา
เมื่อเราเข้าถึงอนัตตา เข้าถึงสัจจะแล้วประสาทการรับรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือรับรู้ด้วยวิญญาณต่างๆ มันก็จะเป็นการรับรู้ที่เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็นจริง เราจะเห็นสิ่งต่างๆ เฉยๆ รับรู้ด้วยวิญญาณเฉยๆ ปราศจากการปรุงแต่ง
ปราศจากการนำสัญญาที่เรียกว่าสัญญาวิปลาสมาเปรียบเทียบ เราก็จะเห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็นหรือตามความเป็นจริง เราก็จะเข้าใจเรื่องเหตุผลด้วยการเรียนรู้มัน หรือด้วยการสิกขามัน
ปรีชาญาณเป็นปัญญาที่จะทำให้เราเกิดความเข้าใจในปัญหาต่างๆ โดยหลักการจึงนำไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปสู่ทางที่จะทำให้เราสามารถลุถึงสัจจะธรรมได้, ด้วยการเรียนรู้,เกิดความเข้าใจขบวนการความคิดและการแสดงออก
หรือตอบสนองต่อความยึดถือต่างๆ, แล้วเราจะพบเงื่อนไขต่างๆ ที่มันกำหนดชีวิตเรา,ทำให้เราดำเนินชีวิตอย่างบิดเบือนความจริง และเข้าใจอิทธิพล, ของอารมณ์ต่างๆ ที่สร้างความรู้สึกว่ามีตัวเรา, สร้างตัวตน, สร้างเราให้เกิดความสำคัญผิดและเห็นว่ามันเป็นภัยนี่น่ากลัวต่อชีวิตของเรา จริงๆ
ด้วยการตระหนักรู้ความจริงนี้, อิสระภาพจากการเรียนรู้ที่แท้จริงจะเกิดขึ้น,การเรียนรู้อย่างถูกต้อง ก็คือการสังเกต, การดู, เฝ้าติดตามมัน,อยู่บนฐานของจิตเหนือสำนึก หรืออยู่บนฐานของ ”ทางสายกลาง” ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญของการปฏิบัติ,
ถ้าเราขาดการเรียนรู้ที่แท้จริง ขาดการเรียนรู้ที่อยู่บนฐานของปรีชาญาณ, อยู่บนฐานของสัจจะแล้ว,เราก็ไม่มีทางที่จะเข้าใจชีวิต, เราไม่มีทางที่จะเข้าใจโลก, ไม่มีทางที่จะเข้าใจจักรวาล, ในทัศนะที่แท้จริงได้เลย
การศึกษาโดยวิธีการนี้มันไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อสะสมความรู้ต่างๆ, แต่เป็นขบวนการศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ, แล้วก็ละวาง ความสำคัญผิดต่างๆ, ทำให้เราเห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็น ด้วยการตระหนักรู้ของปรีชาญาณ,ด้วยการตระหนักรู้ในความเป็นทั้งหมดของชีวิต เราในแต่ละขณะ,ได้ ความเข้าใจไม่ได้เกิดขึ้นด้วยการวิเคราะห์แยกแยะออกเป็นชิ้นเป็นส่วน ความเข้าใจซึ่งจะนำไปสู่ปัญญาญาณจะเกิดขึ้นได้เมื่อจิตของเราสงบเงียบ เมื่อจิตของเราเข้าถึงความว่างอย่างแท้จริง, เมื่อจิตของเราเข้าถึงความประภัสสร แล้วความเป็นมนุษย์ที่แท้ก็จะปรากฏขึ้น
พุทธศาสนามีปรัชญาอยู่ในตัวของมันมากมาย,มีคุณค่าของธรรมชาติรู้อยู่ในตัว ของมันเองมากมาย, มันไม่ใช่ปัญญาในความหมายมากมายทั่วๆไปที่นักศึกษาเข้าใจ,คนที่ศึกษาพุทธ ศาสนาจะต้องเอาจริงเอาจัง,
เป็นคนเอาจริงเอาจัง เป็นคนจริงใจเห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตใจ,ว่ามันเป็นสาระที่แท้จริงของชีวิต, นักปฏิบัติจะต้องเห็นคุณค่าของการภาวนา,ไม่ติดอยู่ในภาษาคำพูด หรือคำสอนต่างๆ ,คำสอนต่างๆ ที่เราจดจำมา, แม้เราจะรู้มากมายอย่างไร,เราก็ไม่มีทางที่จะเข้าถึงความจริงได้, เป้าหมายของพุทธศาสนา,ก็คือการปฏิบัติเพื่อละ, เพื่อวาง, เพื่อปล่อยความยึดถือต่างๆ,เพื่อเข้าถึงธรรมชาติที่สูงสุดที่เรียกว่า”บรม ธรรม”
นั่นก็คือสัจจะขั้นอัลติมะอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของเรา,ที่มันจะต้องแสดงตัว ออกมาร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา,ร่วมกับการคิด ร่วมกับการพูด ร่วมกับการกระทำต่างๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ, โดยธรรมชาติของความจริงมันมีอยู่แล้ว, มันเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์อยู่แล้ว, แต่เราไม่เห็นมัน,ผู้ที่ไม่เห็นมันก็คือปุถุชน ผู้ที่ได้เห็นมัน,แล้วมันแสดงออกนี่คืออริยะชน
เราจะต้องเข้ากระแสของอริยะชน, เข้ากระแสที่เราจะไปพ้นจากข้าศึก, ไปพ้นจากปัญหาต่างๆ ของมนุษย์เรา, บรมธรรมจึงเป็นอุดมคติของชาวพุทธ อุดมธรรมก็คือธรรมชาติที่สูงสุด, ประการแรกของนักปฏิบัติก็คือค้นหาทางให้มันเจอ, เมื่อค้นพบทางแล้วก็เริ่มเดินทาง อาตมานำทางหรือวิถีทางของการปฏิบัติมาแนะนำด้วยหลักการของไตรสิกขาหรือ มัชฌิมาปฏิปทาเป็นแนวทางการปฏิบัติคือ
พอเรานึกขึ้นมาได้ในอริยาบถใด,ไม่ว่าจะยืน, เดิน, นั่ง, นอน, นึกขึ้นมาได้ตอนไหนก็สังเกตจิตใจของเรา, เมื่อสังเกตแล้วเราก็จะพบว่าใจของเรามันว่างจากความคิดชั่วขณะหนึ่ง, ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ นี่เป็นการเริ่มต้นของการเดินทางแล้ว แต่ถ้ายังไม่เห็น, ยังไม่สามารถสัมผัสได้กับสภาวะจิตที่ประภัสสรที่ว่างจากความคิดก็ยังไม่สา มาารถพบ”ทาง” เราก็ยังไม่สามารถจะเดินทางได้ ไม่สามารถเคลื่อนธรรมจักร หรือเคลื่อนวงล้อของธรรมจักรไปได้
เมื่อเราเห็น”ทาง” ทางก็คือภาวะจิตที่ไปพ้นของคู่ เราก็จะเริ่มเดินทาง ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจปัญหาของเราก่อน ปัญหาของสังคมว่าการดำเนินชีวิตอย่างนี้มันมีปัญหา, ถึงแม้จะมีความสุขก็ชั่วขณะ ความยินดี, พอใจชั่วขณะ แต่เรามีปัญหามีความทุกข์มากกว่ามีความสุข,การดำเนินชีวิตอย่างนี้มีปัญหา เราแสวงหาทางออกได้เราก็เริ่มเดินทาง,อย่างต่อเนื่องนั่นก็คือการปฏิบัติ ภาวนาคือ การบำเพ็ญเพียรทางจิตทำให้มันต่อเนื่องไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน,ใส่ใจมัน, เรียนรู้มัน, เข้าใจมัน, การปฏิบัติของเราก็จะก้าวหน้า, มันจะก้าวหน้าหรือมันจะไม่ก้าวหน้า ไม่สามารถให้คนอื่นมาทำนายได้ว่าเราได้ญาณโน้นญาณนี้
แต่ตัวเรานี่แหละจะรู้ตัวเอง เราอยู่เหนืออารมณ์ได้บ้างหรือยัง เราตกเป็นทาสของอารมณ์ใดบ้าง อารมณ์ที่มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายโดยเฉพาะทางหู กับทางตาสำคัญมากเราชนะมันได้บ้างไหม,เราปฏิบัติมาแล้ว,เราอยู่เหนืออารมณ์ ต่างๆ ได้บ้างไหม หรือเราตกเป็นทาสของมัน,จิตใจของเรายังหวั่นไหว,แล้วรู้มันนี่ก็ถือว่าการ ปฏิบัติของเราก้าวหน้าแล้วแต่ก่อนเราไม่รู้เลย, ตีเขาไปแล้ว, ว่าเขาไปแล้ว ทะเลาะกันยังไม่รู้ตัว,แต่ถ้าเมื่อจิตใจของเราเกิดความขุ่นมัวเกิดความ รู้สึกไม่สบายใจขึ้นมาครั้งใดแล้วเรารู้มัน, เห็นมัน, ดูมันด้วยความเข้าใจในภาวะที่มันกำลังเป็นอยู่, นี่คือการปฏิบัติ ไม่ต้องไปให้ค่าตัดสินลงความเห็น,ว่ามันถูก-ว่ามันผิด,มันดี-มันไม่ดี, กุศล-อกุศล ไม่ต้องไปลงความเห็น, ไม่ต้องไปมีความคิดซ้อนกับภาวะที่มันเป็นอยู่,เพียงสังเกตมันเฉยๆ, ดูมันเฉยๆ, เรียนรู้มัน,นี่คือการศึกษา(สิกขา)ในพุทธศาสนา
เมื่อเราเข้าใจประเด็น, จับประเด็นนี้ได้,การปฏิบัติของเราก็ก้าวหน้า,สิ่งที่เราทำให้เราก้าวหน้า คือจิตใจของเรามันเย็นขึ้น, กระทบอารมณ์แล้วความหวั่นไหวมีน้อยลง, พอใจ-ไม่พอใจน้อยลง, นี่คือแนวทางการปฏิบัติที่เราเริ่มต้น
ด้วย”ทางสายกลาง” แล้วเราก็จะมีประสบการณ์,
ประสบการณ์ที่เรารับรู้อารมณ์ต่างๆ พอใจ-ไม่พอใจ,มันยังมีอยู่หรือไม่มีอยู่, เข้าถึงจิตที่มันสงบเงียบ เข้าถึงจิตที่มันว่างจากของคู่ต่างๆ, เกิดความปิติ เกิดความเบิกบาน ร่าเริง เห็นความสดใหม่ของชีวิตในแต่ละขณะ
ประสบการณ์ตรงนี้คือสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้มัน, เข้าใจมัน, มันเป็นประสบการณ์จริงๆ ของชีวิตเรา,มันเป็นตัวชีวิตจริงๆ ของเรา, แล้วเราจะมีความรู้สึกว่าการปฏิบัติในทัศนะนี้หรือแนวทางนี้มันไม่ใช่การ ปฏิบัติแต่มันเป็นวิถีธรรมชาติของชีวิตเราจริงๆ ที่เราจะต้องรู้อีกสิ่งหนึ่งเพิ่มเข้ามา,รู้สิ่งที่มันมีอยู่แล้ว,นั่นก็คือ สัจจะขั้นอัลติมะ, ปัญหาของมนุษย์ก็คือไม่มีปัญญาญาณ หรือไม่มีปรีชาญาณที่จะเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง, ปรีชาญาณมันเกิดเมื่อเราสามารถพบ”ทางสายกลาง”แล้ว
“ทางสายกลาง”มันคือภาวะที่อยู่เหนือโลก เป็นภาวะที่เราเข้าถึงสัจจะ หรือเข้าถึงความจริง ที่แท้ที่สูงสุดแล้วเราเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติที่แท้, หรือเป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะสูงสุดนี้ นั่นก็คืออสังขตธรรม ปรีชาญาณหรือปัญญาญาณมันเกิดเมื่อจิตใจที่เข้าถึงสัจจะสูงสุดนี่แหละ,
ปรีชาญาณไม่ได้เกิดจากความคิด, ไม่ได้เกิดจากการใคร่ครวญ, ไม่ได้เกิดจากการพิจารณาด้วยขบวนการของความคิด, แต่ปรีชาญาณมันเกิดจากจิตใจที่ว่าง, จิตใจที่สงบ, จิตใจที่ประภัสสรเป็นหนึ่งเดียว เป็นเนื้อหาเดียวกับธรรมชาติที่แท้หรือสัจจะที่สูงสุด,นั่นก็คืออสังขตธรรม
ถ้าเรายังไม่พบ”ทางสายกลาง” เราไม่มีทางที่จะพัฒนาปรีชาญาณตัวนี้ให้มันปรากฏขึ้นได้ เมื่อปรีชาญาณปรากฏขึ้นไม่ได้เราก็ไม่สามารถที่จะใช้ปัญญาหรือใช้ปรีชาญาณไป เรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ, ที่เกิดจากความคิดที่สนองตอบต่ออวิชชา ตัณหา อุปาทานได้,
เราไม่สามารถที่ใช้ปัญญาระดับเหตุผลไปเรียนรู้ขบวนการความคิดได้, ปัญญาระดับเหตุผลมันก็คือความคิด ขบวนการความคิดไปเรียนรู้ความคิดเป็นไปไม่ได้, จุดเริ่มต้นเราจะต้องพัฒนาปัญญาที่เกิดจากใจที่มันว่าง, ใจที่มันเข้าถึงสัจจะสูงสุด, และนำปัญญาตัวนี้ไปเรียนรู้ขบวนการความคิดที่มันแสดงออก เป็นพฤติกรรมทางกาย ทางวาจา ทางจิตใจ(ความคิด ความรู้สึกต่างๆ)
เราจะต้องเรียนรู้ขบวนการความคิด หรือความรู้สึกต่างๆ ในจิตใจของเรา, ปัญหาของมนุษย์มันอยู่ที่มนุษย์ไม่มีปัญญาเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง, แล้วเราก็มอบความไว้วางใจนี้จากการสรุปของการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย, แล้วเราก็ลงความเห็นเป็นคู่ๆ, สรุปการรับรู้นั้นด้วยขบวนการความคิด ด้วยข้อสรุปที่ขัดแย้งกัน สูง-ต่ำ,ดำ-ขาว นั่นคือความจริงที่มนุษย์ทั่วโลกสำคัญผิดคิดว่า ข้อสรุปของเราเองคือความจริง ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นตรงนี้, เกิดขึ้นจากมนุษย์ไม่มีปัญญาเห็นความจริง, แล้วก็มาสรุปการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสที่ขัดแย้งกันเป็นคู่ๆ, นี่คือความจริงของโลกในทัศนะของปุถุชนทั่วไปทั้งโลก และดำเนินชีวิตบนความรู้ที่ไม่จริงนี่แหละ,
บนความรู้ที่เราลงความเห็นที่ขัดแย้งกันเป็นคู่ๆ,ในขบวนการความคิดมันมีความ รู้สึกว่ามีตัวตน, มีตัวเรา,ที่แบ่งแยกจากสรรพสิ่ง, มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง, เมื่อมันมีตัวเราแบ่งแยกจากสรรพสิ่ง แล้วเราพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ, เบียดเบียนทำลายธรรมชาติ, ทำลายสิ่งแวดล้อมโดยที่เราไม่รู้ค่า, นั่นแหละคือการทำลายตัวเราเอง, และมันจึงสร้างปัญหาซับซ้อนยิ่งขึ้นตามวันเวลาตามจำนวนประชากรที่มันมากขึ้น จนก่อวิกฤตไปทั่วโลก
เวลานี้จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดใหม่ เปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคนจากการดำเนินชีวิตในระดับจิตสามัญสำนึก คือดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกว่ามีตัวเรา,เปลี่ยนเป็น ดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวเราแบ่งแยกจากสิ่งต่างๆ, ถ้าเราสามารถค้นพบแนวทางของการดำเนินชีวิตอย่างนี้ได้ ก็จะมีความรู้สึกว่าเรากับสรรพสิ่งรอบๆตัวเราประสานกลมกลืน สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกัน, เป็นเอกภาพเดียวกัน “ทางสายกลาง”นั่นแหละจะให้คำตอบในการดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัว เราเป็นศูนย์กลาง
เพราะว่าสภาวะจิตที่ประภัสสรของเรา ที่เป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะ มันไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรา, ไปพ้นปัญญาระดับเหตุผล, ไปพ้นของคู่, ไปพ้นกาลเวลา, ไม่มีอดีต, ไม่มีปัจจุบัน, ไม่มีอนาคต, นี่คือภาวะของจุดเริ่มต้นที่พระพุทธองค์ทรงชี้, เราตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้ทาง” อักขาตาโร ตถากตา “ เราเป็นเพียงผู้ชี้ทาง นี่คือทางสายกลาง, ที่ท่านอัญญาโกญธัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัส สมณะ ทางสุดโต่งทั้งสองไม่ควรเดิน ให้เดินทางสายกลาง, เมื่อใดก็ตามถ้าเราใช้วิธีการในหลักของไตรสิกขา,คือศึกษาเรียนรู้ตัวเอง, เรียนรู้ขบวนการของความคิด
เมื่อนั้นเราก็จะพบ”ทางสายกลาง” เหมือนกับที่พระพุทธองค์ได้ทรงอุปมาอุปไมยการปฏิบัติในแนวทางของไตรสิกขา (อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา) เปรียบเหมือนโคแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้าแล้วชำเลืองดูลูกน้อย,
เราต้องทำกิจการงานต่างๆ ในชีวิตประจำวัน, ชำเลืองดูจิตใจไปด้วยทำงานไปด้วยเมื่อนึกขึ้นมาได้, แต่ถ้าเรานึกขึ้นมาไม่ได้ก็ไม่ได้ดู, ถ้าเรานึกขึ้นมาได้ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็ชำเลืองดูจิตใจ สังเกตจิตใจเบาๆ, แล้วเราก็พบว่าขบวนการความคิดมันหยุดลงด้วยตัวของมันเอง, เราก็จะสัมผัสได้กับจิตที่มันว่างจากความคิดชั่วขณะหนึ่ง,
เราต้องสังเกตให้ชัดเลยว่าสภาวะจิตที่มันว่างจากความคิดมันมีลักษณะอย่างไร
เราเท่านั้นที่ทราบซึ้งหรือตระหนักรู้ถึงภาวะนั้นได้ อาตมาไม่สามารถที่จะอธิบายถึงสภาวะนี้ได้ ผู้ปฏิบัติเท่านั้นจะสามารถที่จะสัมผัสได้, เมื่อเราสังเกต, เราจะมีความรู้สึกเฉยๆ, ตาก็เห็น หูก็ได้ยิน แต่เราจะเห็นจิตของเรามันว่างจากการให้ค่าตัดสินลงความเห็น แนวทางการปฏิบัติในหลักของไตรสิกขา คือศึกษาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดปรีชาญาณ,นี่มันเป็นวิธีการปฏิบัติในหลัก การณ์ของพระพุทธองค์ ซึ่งไม่ใช่อุบาย แต่มันเป็นตัวการปฏิบัติจริงๆ เพื่อที่จะเรียนรู้ตัวเอง เพื่อที่จะเข้าใจตัวเอง,ที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมไม่ว่ากายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม,
ขบวนการความคิดต่างๆ ของแต่ละคนในทุกวันนี้, เราแสดงออกด้วยความสำคัญผิด เราไปยึดถือว่าสิ่งที่เราลงความเห็นที่เป็นคู่ๆ ว่ามันคือความจริง, แล้วดำเนินชีวิตบนความรู้ที่ไม่จริง,โดยมีตัวเราแบ่งแยกกับสรรพสิ่ง, เกิดตัณหา, เกิดอุปาทาน, เกิดภพ, เกิดชาติ,ของความรู้สึกว่ามีตัวเรา, แล้วปัญหาต่างๆ ก็เกิดขึ้น,มีความสุขบ้าง มีความทุกข์บ้าง เราก็ดิ้นรนแสวงหาจนตลอดชีวิต, หัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง
นี่คือขบวนการความคิดที่แสดงออกเป็นพฤติกรรมของเราแต่ละคน เราต้องเรียนรู้ขบวนการความคิดนี้ด้วยการสังเกตมัน เฝ้าดูมัน และเข้าใจมันนี่คือแนวทางการปฏิบัติในหลักของไตรสิกขาหรือทางสายกลาง เมื่อเราพบภาวะจิตที่เป็นกลาง หรือทางสายกลางนี่คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางเราก็เดินทาง,นึกขึ้นมาได้ตอน ไหนเราก็สังเกตมันเรียนรู้มันนี่คือแนวทางของการภาวนาซึ่งเป็นเรื่องของจิต ใจโดยเฉพาะ,
เป็นเรื่องของจิตใจล้วนๆ เป็นเรื่องของการบำเพ็ญเพียรทางจิตล้วนๆ เราจึงปฏิบัติได้ในทุกอริยาบถ เพียงแต่เฝ้าดูจิตใจ เพียงแต่เราย้อนเข้ามาดูจิตใจ,ก็จะทำให้ผู้สังเกตเข้าถึงโพธิ,
เข้าถึงการประจักษ์แจ้งความจริงหรือสัจจะหรือธรรมชาติที่สมบูรณ์ได้, ประการแรกของนักปฏิบัติก็คือค้นหา”ทางสายกลาง” ให้ได้ก่อน
แล้วก็เริ่มเดินทาง,ผู้ที่เริ่มเดินทางเท่านั้นแหละจึงจะมีประสบการณ์, ประสบการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกันประสบการณ์เท่านั้นที่จะทำให้เราเข้าใจ ชีวิต, เข้าใจโลก, เข้าใจจักรวาล, เข้าใจจริงๆ ด้วยปรีชาญาณของเรา,
การปฏิบัติด้วยการสังเกตจิตใจ ด้วยการสังเกตขบวนการความคิดจะพบว่าความคิดมันยิ่งน้อยลงๆ,เมื่อเริ่มต้น สังเกตเราจะพบว่ามันว่างชั่วขณะแล้วเราก็ได้พบกับสัจจะขั้นอัลติมะในขณะที่ ไม่มีความคิดนั่นเอง
จากการสังเกตมันบ่อยๆ จะทำให้เรารู้ถึงตัวสภาวะจิตที่มันว่างเหมือนกับที่เราเห็นครั้งแรก เห็นความว่างเป็นพื้นฐานของจิตใจเราเลยมันก็จะฝังรากลึกหรือหยั่งลงสู่ก้น บึ้งของใจเรา, ทำให้เรารู้ภาวะก้นบึ้งของจิตใจว่ามันสงบนิ่ง,ว่างเป็นพื้นฐาน,สภาวะจิตที่ มันสงบนิ่ง,ว่าง,
เป็นพื้นฐานนี้มันจะมีธรรมชาติรู้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด,เจ้าธรรมชาติรู้มัน จะแผ่ขยายมารู้การเคลื่อนไหวในร่างกายเราที่เรียกว่ารู้พร้อม,เห็นความว่าง ด้วยเห็นความสงบนิ่งของจิตใจด้วย, และเห็นการเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ ของร่างกายนี่มันเป็นความมหัศจรรย์,ยิ่งต่อไปเจ้าธรรมชาติรู้มันจะแผ่ขยาย การรับรู้ออกไปรับรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ พร้อมกับการเคลื่อนไหวต่างๆ ในร่างกายเราเรียกว่ารู้ในความเป็นทั้งหมด
ทำให้เรามีความรู้สึกว่าเรากับสรรพสิ่งไม่แบ่งแยกกัน, เป็นเอกภาพเดียวกัน,จิตเป็นอิสระ,เราจะมีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวหรือ เป็นเอกภาพกับสรรพสิ่ง,แล้วเจ้าธรรมชาติรู้มันจะรู้ถึงความว่างของตัวมันเอง ด้วยมันจะรู้ถึงความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เรากับสรรพสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลง ที่เรากับสรรพสิ่งเป็นเอกภาพเดียวกันที่กำลังเปลี่ยนแปลงนั่นก็คือธรรมชาติ รู้ โดยความคิดมันจะรู้สองสิ่งคือรู้สิ่งหนึ่งที่มันไม่เปลี่ยนแปลงคือความว่าง, และรู้อีกสิ่งหนึ่งที่มันเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะนั่น ก็คือรู้ด้วยปรีชาญาณ หรือสัมมาทิฐิ,
มันรู้สังขตธรรม กับอสังขตธรรมทำงานร่วมกันเป็นสัจจะหนึ่งเดียว,โดยภาวะจริงๆ มันไม่ได้แบ่งแยก,เมื่อเราเห็นความเปลี่ยนแปลง เราก็เห็นความว่าง, เมื่อเราเห็นความว่างเราก็เห็นความเปลี่ยนแปลง,
จากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่ง,ด้วยนี่คือวิปัสนาญาณ,นี่คือภาวะของธรรมชาติรู้ ที่รู้ในความเป็นทั้งหมดของชีวิตเรา, จากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่ง,นี่คือการรู้ความจริงส่วนการเข้าใจชีวิตในมิติของ จิตสามัญสำนึกเรารู้เพียงส่วนเสี้ยวของชีวิตเรา, เช่นเราตั้งใจจะดูมันจะรู้เฉพาะทางตา, ตั้งใจจะฟังมันจะรู้เฉพาะทางหู, มีขอบเขตจำกัดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, ทวารใด ทวารหนึ่ง,นี่เรามีชีวิตที่คับแคบ,
มีชีวิตที่มีขอบเขตจำกัด, จิตใจคับแคบ,เราจึงมีความรู้สึกกลัว,เราขาดความอบอุ่น, ขาดความปลอดภัย, ขาดความมั่นคงในจิตใจ, เราจึงแสวงหาอย่างไม่รู้จบสิ้น, เราจึงมีความต้องการทะเยอทะยาน อยากได้ อยากเป็น อยากมี เท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอ, เท่าไหร่ก็ไม่รู้สิ้นสุด, นี่คือการดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกที่มีตัวเราเป็นจุดศูนน์กลางในมิติของ จิตสามัญสำนึก
แต่เมื่อเราได้เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งความกลัวมันก็หายไป, ความมั่นคงความปลอดภัยต่างๆ กลับคืนมาสู่จิตใจ,เราจะมีความอบอุ่น, เบิกบาน, ร่าเริงจากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่ง,นี่คือการเริ่มต้นของการปฏิบัติ เมื่อเราสังเกตเรียนรู้,เข้าใจจนกระทั่งไม่ต้องสังเกต,
มันจะเป็นประสบการณ์ของแต่ละคนที่จะเรียนรู้ตัวเอง,ที่จะเข้าใจตัวเอง,ว่า เรามีความยึดถือเรามีอุปาทานมากน้อยขนาดไหน,เราจะเรียนรู้ตัวเองแล้วเราจะ รู้จักตัวเอง,ความเข้าใจจะเพิ่มมากขึ้น,การเรียนรู้อย่างนี้เป็นการเรียนรู้ เพื่อปล่อยวาง, เพื่อละความยึดถือต่างๆ, ผลของการปฏิบัติก็คือการปล่อยวาง, เมื่อมันปล่อยวางมากขึ้นจิตใจของเราเป็นอิสระมากขึ้น เราก็ดำรงอยู่ในสัจจะ
เราก็อยู่ในสัจจะที่เป็นธรรมชาติที่แท้,มีอยู่เป็นอนันตะ,หรือมีอยู่เป็น อมตะ, เป็นธรรมชาติที่แท้ของแต่ละบุคคลของแต่ละสรรพสิ่ง,มีอยู่แล้วไม่ว่าพระ พุทธองค์จะเกิดหรือไม่เกิด, สิ่งนี้ก็ตั้งมั่นอยู่แล้ว,
มีอยู่แล้ว บางคนบอกว่าในโลกนี้หรือในจักรวาลนี้มันมีความจริงอยู่สองอย่างคือรูปกับนาม แล้วก็ไปพิจารณาว่ารูปมันไม่เที่ยง นามมันไม่เที่ยง มันเกิด-มันดับ มันจึงไม่มีตัวตน,สรุปเลยว่ามันเป็นอนัตตาซึ่งมันเป็นเพียงปัญญาระดับเหตุผล , ระดับความคิด, แต่เมื่อเราเป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะขั้นอัลติมะเราจะสัมผัสได้กับอนัตตา, อนัตตาคือภาวะจิตที่อยู่เหนือความมี และความไม่มี, อยู่เหนือของคู่, อยู่เหนือเกิด- เหนือดับ,เหนือดี-เหนือชั่ว,เหนือมีตัวตน-เหนือไม่มีตัวตน
นั่นแหละคือสภาวะของอนัตตารู้ได้ด้วยปัญญาญาณ เมื่อจิตของเราเข้าถึงสัจจะ หรือเข้าถึง ”ทางสายกลาง” เราสัมผัสได้กับสภาวะของอนัตตา,เมื่อพัฒนาจิตของเรามั่นคงขึ้น,อุปาทานอย่าง หยาบ อย่างกลางได้ลดน้อยลงไปพอสมควรเราก็เริ่มสัมผัสกับสัมมาสมาธิ,คือจิตที่มัน ตั้งมั่นอยู่ในความบริสุทธิ์,
ขณะที่เราเห็น เราได้ยินเรารับรู้ทางทวารต่างๆ, จิตไม่ปรุงแต่งเลยรับรู้เฉยๆ, รับรู้โดยไม่ต้องผ่านขบวนการความคิด, ไม่ต้องผ่านขบวนการของความจำ, รับรู้ตรงๆ, นี่แหละที่พาหิยะ บรรลุธรรมเพียงแต่พระพุทธองค์ได้ตรัสว่าพาหิยะเธอจงเห็นสักแต่ว่าเห็น,ได้ ยินสักแต่ว่าได้ยิน มันเห็นเฉยๆ ได้ยินเฉยๆ สัญญาความจำต่างๆ ขณะนั้นไม่ได้ถูกปรุงแต่งเลยไม่ได้เอาสัญญาความจำต่างๆ มาปรุงแต่งเราก็เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็น
คือมันเป็นของมันเช่นนั้นเอง, สิ่งต่างๆ มันไม่ได้เป็นคู่ๆ, หรือทวิภาวะปัญญาระดับเหตุผลมันเกิดจากความคิด,ถ้าไม่มีความคิดเราก็จะเห็น สิ่งต่างๆ โดยไม่ได้ผ่านม่านของความคิดนี่แหละคือการเห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็น, ตามความเป็นจริง, เป็นยังไงตามความเป็นจริงก็เห็นมันว่าง, ว่างจากของคู่, ว่างจากความรู้สึกว่ามีตัวเรา, ว่างจากของเรา, ว่างจากเวลา, ว่างในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรเลย, ตาไม่ได้เห็นอะไรเลย, หูไม่ได้ยินอะไรเลย, ไม่ใช่ว่างแบบนั้น, ไม่ใช่ว่างที่ตรงข้ามกับไม่ว่าง
ในมิติของจิตสามัญสำนึก, แต่ว่างตรงนี้มาจากสูญญตา, ว่างจากความรู้สึกว่ามี-ไม่มีตัวเรา, ว่างจากของเรา ว่างจากการที่จะไปให้ค่าตัดสินลงความเห็นที่เรารับรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ว่ามันมีหรือมันไม่มี, มันสูงหรือมันต่ำ,มันดำหรือมันขาว ฯลฯ
มันไปพ้นการให้ค่าตัดสินลงความเห็น, เราก็จะเห็นมันเฉยๆ ได้ยินเฉยๆ รับรู้เฉยๆ, ปรีชาญาณก็เกิดขึ้นทำหน้าที่, เราจะไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ อย่างไร,ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำ หลังจากที่เรารับรู้ความจริงอย่างนี้แล้ว,มันก็จะเป็นการคิดที่อยู่บนฐานของ ปรีชาญาณ เป็นการพูดที่อยู่บนฐานของปรีชาญาณ, เป็นการทำงานที่อยู่บนฐานของปรีชาญาณ, เป็นความเพียรที่อยู่บนฐานของปรีชาญาณ สติ,สมาธิ ก็อยู่บนฐานของปรีชาญาณ, นี่คือการดำเนินชีวิตด้วยอริยมรรคมีองค์แปด
เราจะต้องคิดจะต้องทำกิจการงานจนกระทั่งตาย,ต้องใช้ภาษา,ใช้ความรู้ที่เราจด จำมาเมื่อเรามีจิตใจที่เข้าถึงสัจจะเป็นพื้นฐานแล้ว,ความยึดถือต่างๆ, หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่เราเคยยึดถือไว้มันจะปล่อยวาง ไม่ว่าจะพูด จะคิด จะทำงาน ประกอบอาชีพการงานก็สัมมา,นี่คือการดำเนินชีวิตด้วยอริยมรรคมีองค์แปดที่พระ พุทธองค์พยายามปลุกเราให้ตื่นขึ้นดำเนินชีวิตอย่างนี้,โดยไม่มีความรู้สึก ว่ามีตัวเราเป็นศูนย์กลาง,เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง
นี่แหละคือการรังสรรค์ของจิต, ของขบวนการความคิดต่างๆ, การกระทำต่างๆ จึงไม่ได้เป็นไปเพื่อตัวเองแต่เป็นไปเพื่อผู้อื่น, เป็นประโยชน์ต่อสังคม,นี่คือความคิดที่สร้างสรรค์การกระทำก็เป็นการกระทำที่ สร้างสรรค์
เพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่น นี่คือแนวทางของการปฏิบัติที่เราเริ่มด้วยทางสายกลาง, ในโลกของความจริงเรากับสรรพสิ่งมันมีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน,แต่ใน โลกของความคิดในมิติของจิตสามัญสำนึก,เราดำเนินชีวิตด้วยความเคยชิน,เราอยู่ ในโลกของการแบ่งแยก,เราอยู่ในโลกของความแตกต่าง,เราเห็นสิ่งต่างๆทางตาแตก ต่างจากเสียงทางหู, เสียงทางหูแตกต่างจากกลิ่น ฯลฯ
นี่เราอยู่ในโลกของความคิดเราเคยชินกับการดำเนินชีวิตอย่างนี้มาเป็นสิบๆปี, เราจะปล่อยวางสิ่งสำคัญผิดที่เราเคยชินกับมัน, เราไม่สามารถจะทำได้ในเร็ววัน,เราจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยๆ ไม่ต่ำกว่า 10 ปี 15 ปี 20 ปี, แต่เราก็ไม่ควรคิดถึงเวลา, เราไม่ควรคิดถึงว่าเราจะได้หรือเราจะเป็น, เราจะมีอะไร, แต่เรารู้การดำเนินชีวิตที่แท้จริงจากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่ง เท่านั้นก็พอการปฏิบัติของเราจะต้องไม่มีการคาดหวังว่าจะได้, เราจะเป็น, เราจะมีอะไร,มันเป็นเรื่องของความเข้าใจชีวิตเราที่แท้จริงว่ามันดำเนิน ชีวิตอย่างไรในแต่ละขณะ
การเรียนรู้คือหัวใจหรือสิกขาคือหัวใจของพุทธศาสนา การภาวนา,สิกขา,การเรียนรู้,การสังเกต,การเฝ้ามองมันก็ดีนี่คือแนวทางการ ปฏิบัติที่พระพุทธองค์ได้ทรงชี้แนะไว้,
มันไม่ใช่อุบายแต่มันเป็นศิลปะของการปฏิบัติ, ของการภาวนา, ของการบำเพ็ญเพียรทางจิต,มันเป็นศิลปะยิ่งกว่าการวาดรูปสวยๆ ยิ่งกว่าศิลปะสาขาใด สาขาหนึ่ง,มันเป็นความมหัศจรรย์อย่างยิ่งของการดำเนินชีวิตในแต่ละขณะ,ที่ เรารับรู้ในความเป็นทั้งหมด, เรากับสรรพสิ่งมันเป็นองค์รวม
ถ้าเราปฏิบัติบน”ทางสายกลาง” จนเข้าถึงสมาหิโต หรือสัมมาสมาธิได้แล้ว ปรีชาญาณจะแผ่ขยายการรับรู้เรากับสรรพสิ่งร่วมเป็นสายธารแห่งชีวิต ร่วมสายใยแห่งจิตใจที่เชื่อมโยงถึงกัน, จะด้วยอานุภาพหรือจะด้วยอะไรก็แล้วแต่, ในทางศาสนาคือรู้ด้วยปรีชาญาณ ที่ประสานเชื่อมสัมพันธ์สรรพสิ่งเป็นเอกภาพเดียวกัน, เกี่ยวเนื่องเป็นเนื้อในของทุกๆสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปด้วยกันอย่างไม่ หยุดนิ่ง, กำลังเปลี่ยนแปลงไปด้วยกันอย่างเป็นอมตะ, และเราก็ไม่สามารถที่จะไปแบ่งแยกมันออกจากกันได้นี่คือโลกของความจริง
แต่ในโลกของความคิดทุกสิ่งมันแบ่งแยกกัน,มันแตกต่างกันมีตัวเราที่แบ่งแยก จากสรรพสิ่ง, แต่ถ้าเราได้พบทางสายกลางเราจะมองโลกในอีกทัศนะหนึ่ง,เราจะเห็นสรรพสิ่งนี้ มันว่าง, เรากับสรรพสิ่งนี้เป็นหนึ่งเดียวกัน, เราจะเห็นว่าเราคือความว่าง, สรรพสิ่งก็คือความว่าง ว่างในที่นี้ก็คือว่างจากการที่เราไปลงความเห็นว่ามีหรือมันไม่มี, ลงความเห็นว่ามันสูง- ว่ามันต่ำ,
นี่คือความมหัศจรรย์ของปรีชาญาณที่ตระหนักรู้ได้ทุกคน ถ้าเห็นทางสายกลางแล้วรู้ได้, รู้เหมือนกันอย่างนี้,
ตระหนักรู้ถึงสรรพสิ่งว่ามันว่าง
ที่มันเป็นคู่ๆ เพราะมันมีความคิดไปสรุปลงความเห็นสังคมที่ดำเนินชีวิตอยู่ของแต่ละบุคคล, ที่รวมกันด้วยความเห็นที่ผิด, ด้วยความสำคัญผิดจึงไม่สามารถดำรงอยู่อย่างมีความสุขที่แท้จริงในโลกของความ รู้ที่ไม่จริงหรือบนพื้นฐานที่สำคัญผิดและไม่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพ สิ่งจึงทำให้เกิดปัญหา แต่สรรพสิ่งมันสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน ถ้าเราไม่สามารถจะเห็นอย่างนี้ได้ สังคมไม่สามารถตระหนักรู้ในสิ่งนี้ได้สังคมนั้นก็จะมีแต่ความสำคัญผิดเป็น สังคมที่มีแต่การแบ่งแยก, ปัญหารุนแรงต่างๆ, ทั่วโลกเวลานี้ศาสนาช่วยไม่ได้เลย,ทุกชาติไม่ว่าจะเป็นยุโรป,เอเซียต่างมี ศาสนา, ต่างนับถือศาสนา,แต่ทำไมมันมีความรุนแรง,มีการรบราฆ่าฟันกันทั่วทุกมุมโลก
นี่แสดงได้ว่ามนุษย์ที่รวมกันเป็นสังคม,เข้าไม่ถึงศาสนา,เข้าไม่ถึงหัวใจของ ศาสนาของตนเอง ศาสนาช่วยสังคมไม่ได้เลย, ศาสนาช่วยให้มนุษย์อยู่อย่างมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันไม่ได้เลย,ถ้าเรา เข้าไม่ถึงหัวใจของแต่ละศาสนาเราจะมีการแบ่งแยกเผ่าพันธ์,แบ่งแยกเชื้อชาติ, แบ่งแยกศาสนา,อยู่ในโลกของความแบ่งแยก,มันก็เกิดความขัดแย้ง,เกิดความรุนแรง ต่างๆ, แต่ถ้าเราไปพ้นโลกของการแบ่งแยก ไปพ้นการรับรู้อย่างแบ่งแยก,เรากับสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกันพราหมวิหารก็จะ เกิดขึ้น,ความเมตตากรุณาเกื้อกูลกันและกันก็เกิดขึ้น,สังคมก็จะมีความสุข สงบ สันติ
แต่ถ้าเข้าไม่ถึงหัวใจของศาสนาก็ มีแต่ความขัดแย้ง, มีแต่ความรุนแรง,เบียดเบียนเอาชนะซึ่งกันและกัน, สุดท้ายก็หายนะทั้งคู่, ทั้งผู้ชนะและผู้แพ้,หายนะก็มาสู่มวลมนุษย์ทั้งผู้ชนะและผู้แพ้,โลกมันปรับ ตัวมัน,เกิดแผ่นดินไหวเกิดน้ำท่วมอะไรต่างๆ,มันมาจากมนุษย์ไปเบียดเบียนโลก, ไปเบียดเบียนระบบนิเวศน์ต่างๆ วิกฤตต่างๆ ที่โลกกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้ มันมาจากความเห็นแก่ตัว มันมาจากการดำเนินชีวิตที่ผิดของเรา ของแต่ละคน,ที่ดำเนินชีวิตอย่างมีตัวเราเป็นศูนย์กลาง, มีแต่ความเห็นแก่ตัว,ต้องการเอาชนะกัน,ต้องการมีให้มันมากที่สุดเท่าที่จะ มากได้, ไม่ได้เกื้อกูล,ไม่ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเลย ขาดความรักขาดความเมตตา, ขาดการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพราะเราเข้าไม่ถึงหัวใจของศาสนา เรากับสรรพสิ่งไม่สัมพันธ์เป็นสิ่งเดียวกัน
ทางรอดของมวลมนุษย์ชาติมีทางเดียว คือการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดใหม่ อย่างถอนรากถอนโคน เปลี่ยนแปลงจิตใจระดับจิตสามัญสำนึกมาดำเนินชีวิตในระดับจิตเหนือสำนึก ดำเนินชีวิตที่เรากับสัจจะเรากับสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน,วิถีทางพระ พุทธองค์ก็ทรงชี้แนะไว้แล้ว,ในวันอาสาฬหบูชา คือ “ทางสายกลาง” จะเป็นกุญแจที่สำคัญที่จะนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ไม่มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง ,มองโลกในอีกทัศนะหนึ่ง,เห็นโลกตามความเป็นจริง,หรือตามที่มันเป็น, ไปพ้นปัญญาระดับเหตุผล, แต่เราก็ต้องอาศัยขบวนการความคิดที่เกิดจากตัณหาอุปาทานที่เรายังยึดถืออยู่ ,ต้องอาศัยการดำเนินชีวิตอย่างแบ่งแยกหรือรูปนามเป็นสิ่งที่เราจะเรียนรู้ มัน,เข้าใจมัน
ไม่ใช่ปฏิบัติด้วยวิธีการที่ทำให้เกิดการแบ่งแยก, แต่เป็นการปฏิบัติที่นำไปสู่การรับรู้ที่พ้นไปจากการแบ่งแยก,นั่นก็คืออาศัย รูปนาม, อาศัยรับรู้ขบวนการความคิดต่างๆ, เหล่านั้นแหละเป็นส่วนที่เราจะต้องเรียนรู้มัน,สังเกตมัน,ดูมัน,เข้าใจมันจน ผ่านพ้นตัวตน ผ่านพ้นเหตุผล ผ่านพ้นกาลเวลา
เข้าถึงธรรมจิต เข้าถึงจิตวิญาณระดับธรรมชาติ เข้าถึงธรรมปัญญา เข้าถึงปัญญาที่มันมีอยู่แล้วที่เรียกว่าปรีชาญาณหรือปัญญาญาณดำเนินชีวิต สู่วิถีองค์รวมหรือวิถีบูรณาการของชีวิต, สู่ความเป็นอิสระของจิตใจที่แท้จริง, นี่คือผลจากการปฏิบัติที่เราเริ่มต้นด้วย “ทางสายกลาง”
ถ้าจะถามว่าอะไรคือสัมพันธภาพที่จะทำให้เรารู้สรรพสิ่งในความเป็นองค์รวม, ที่จะทำให้เราเข้าใจสัมพันธภาพของสรรพสิ่งอย่างไม่แบ่งแยก, ไม่มีอะไรเลยนอกจากปรีชาญาณ, ถ้าเข้าถึงสัจจะขั้นอัลติมะได้, หรือรู้วิธีที่จะค้นพบ “ทางสายกลาง” ได้,
เรากับสัจจะเป็นหนึ่งเดียวกัน, เราก็จะสัมผัสกับปรีชาญาณที่จะทำให้เราตระหนักรู้ถึงสัมพันธภาพ, เรากับสรรพสิ่งนี้ไม่ได้แบ่งแยกกัน, เรากับสรรพสิ่งนี้สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างเป็นองค์รวม การที่เราจะเข้าถึงสัจจะได้,เราจะต้องเข้าใจอย่างแท้ เข้าใจอย่างซาบซึ้งก่อน, ว่าการดำเนินชีวิตในมิติของจิตสามัญสำนึกมันมีปัญหา
และปัญหาของมันเป็นอย่างไรนี่ก็คือเราจะต้องรู้โทษของมันว่าเราดำเนินชีวิต ด้วยความรู้สึกว่ามีตัวเราเป็นศูนย์กลางที่เกิดจากจิตที่มันไม่มีปัญญาหรือ
อวิชชาทำให้เกิดตัณหา ในขณะที่เรารับรู้อย่างแบ่งแยกมีสิ่งที่ถูกรู้มีผู้รู้, แล้วเราก็สรุป, เปรียบเทียบ, ให้ค่าตัดสิน, ลงความเห็น, ว่ามันสูง-มันต่ำ,มันดำ-มันขาว ก็เกิดความรู้สึกพอใจไม่พอใจ, พอใจก็อยากได้เข้ามา, ไม่พอใจก็อยากไม่ให้มันเกิด,อยากที่จะทำลาย, นั่นคือเกิดความต้องการ, เมื่อมีความต้องการ, ได้มาเราก็มีความสุขชั่วขณะหนึ่ง, ไม่ได้เราก็มีความทุกข์, ก็เกิดความยึดถือในสิ่งที่เราได้, เราเป็น, เรามี,อุปาทานเกิดขึ้น เกิดภพ เกิดชาติหรือสภาวะจิตในขบวนการความคิดอย่างนั้นมีความรู้สึกว่ามีตัวเราเป็น ผู้เสวยผล (วิบาก)
การดำเนินชีวิตอย่างนี้มันเป็นโทษ, มันเป็นภัย, ทำให้ปัญหาเกิดขึ้นกับเรามากมาย,แม้จะมีความสุขชั่วขณะ,แต่มีความทุกข์มาก มาย, หรือมีความทุกข์มากกว่า,
การดำเนินชีวิตอย่างนี้,มันคือการดำเนินชีวิตที่มีตัวเราเป็นศูนย์กลาง, เริ่มต้นเราต้องเห็นภาวะของจิตที่มันไปพ้นมิตินี้ก่อน, ทางสายกลางจะเป็นคำตอบ, เราจะเห็นภาวะที่ไม่ใช่ภาวะพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรา, มันพ้นของคู่,ที่เราเคยสรุปลงความเห็น, มันพ้นอดีต ปัจจุบัน อนาคต, มันพ้นกาลเวลา, นี่คือจุดเริ่มต้น,ถ้าเราค้นพบสภาวะตรงนี้ได้แล้ว,เชื่อได้เลยว่าเราจะมี ประสบการณ์ของการเข้าใจชีวิตของประสบการณ์มาจากการเข้าถึงสัจจะที่แท้, เข้าถึงธรรมชาติที่แท้, เกิดปรีชาญาณ, และปรีชาญาณนี่แหละทำให้เราเกิดความเข้าใจ,เข้าใจตัวเรา, เข้าใจชีวิตของเรา, เข้าใจการดำเนินชีวิตอย่างไรจึงจะไม่มีปัญหา, จึงไม่มีความทุกข์
นี่คือแนวทางการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะ,ในวันอาสาฬหบูชาหลังจากที่ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้อยู่เจ็ดสัปดาห์, ก็เดินทางมาพบปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สมณทางสุดโต่งทั้งสองไม่ควรเดิน, ให้เดิน”ทางสายกลาง” แล้วท่านอัญญาโกณทัญญะก็ได้บรรลุธรรมอาตมาเชื่อแน่ว่าท่านจะต้องเข้าถึง ประสบการณ์ของการเข้าใจตัวเอง, เข้าถึงประสบการณ์ของการพัฒนาจิตจากระดับจิตสามัญสำนึกไปสู่จิตเหนือสำนึก, สัมผัสกับสัจจะสูงสุดได้,ใจเป็นอิสระ ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยปัญญาระดับเหตุผล, ปัญญาเหตุผลที่เราใช้อยู่ในชิวิตประจำวันด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส, แล้วเปรียบเทียบ,ลงความเห็นที่ขัดแย้งกันเป็นคู่ๆ, ไม่สามารถเข้าถึงสัจจะได้
จะต้องไปพ้นปัญญาระดับเหตุผล,ไปพ้นของคู่, ไปพ้นขบวนการของความรู้ต่างๆ, ใจเป็นอิสระ,ถึงจะเข้าถึงสัจจะที่เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งได้ถ้าเราสามารถเข้า ถึงสัจจะหรือธรรมชาติที่แท้ที่ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุด, ไม่เกิด-ไม่ดับ เข้าถึงภาวะนี้ได้, นี่แหละคือจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ,หรือของการเดินทางที่เรียกว่า “ทางสายกลาง” ไม่ใช่เราไปคิดเอาด้วยปัญญาระดับเหตุผลจึงจะเข้าถึงได้, ซึ่งปัญญาระดับความคิดที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันในมิติของจิตสามัญสำนึก มันทำให้เกิดปัญหาต่างๆ, มันทำให้เกิดความขัดแย้ง, ซึ่งเราพยายามหนีมันในทุกวิถีทาง, ในชีวิตธรรมดาของเรานี่ด้วยการใช้ความบันเทิง, ด้วยการใช้ศาสนาหรือปรัชญาหรือทฤษฎีต่างๆ มากมายเราหมกมุ่นอยู่กับความรู้ต่างๆ, ศึกษามัน 5 ปี 10 ปี
บางคนศึกษาธรรมะ เรียนธรรมะ 10 กว่าปีมีความรู้มากมายผลสุดท้ายก็เลยไปติดความรู้,หยุดความรู้ไม่ได้,
ไม่สามารถจะหยุดความรู้ได้, ความรู้นี่แหละมันบังธรรมชาติที่แท้, หรือมันบังสัจจะ, เราไม่สามารถจะหยุดมันได้มันก็เป็นอุปสรรคต่อการที่เราจะเข้าถึงความจริงที่ แท้,หรือสัจจะเราไม่สามารถที่จะค้นพบวิถีทางของการปฏิบัติที่เรียกว่าทาง สายกลางได้เลย,ถ้าใจของเรามันไม่เป็นอิสระ, ทำอย่างไรใจของเราถึงจะเป็นอิสระ,
เราจะต้องวางความรู้ต่างๆ ที่เราสะสมมาก่อนการศึกษาในทางพุทธศาสนาที่เรียกว่าสิกขามันไม่ใช่เรียนรู้ เพื่อสะสมแล้วเอามาเปรียบเทียบลงความเห็น
สิกขา,ในทางพุทธศาสนาเป็นการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจ,หรือเกิดปัญญา ญาณ, และปัญญาญาณนี้มันจะทำการปลดปล่อยเครื่องพันธนาการต่างๆ, ปลดปล่อยความยึดถือต่างๆ,
ปัญหาต่างๆ ที่เราพยายามวิ่งหนีมันด้วยการเข้าหาศาสนาก็คือด้วยการไปศึกษาจิตวิทยาหรือ ปรัชญาต่างๆ มากมาย,มันไม่สามารถที่จะทำให้เราเข้าถึงสัจจะได้, เราจะต้องหยุดขบวนการความรู้นี้ก่อน, หากจะถามว่าเจ้าปัญหาต่างๆ หรือความขัดแย้งมันจะสิ้นสุดลงได้หรือไม่,หากเราไม่รู้จักวิธีพัฒนาจิตใจก็ ไม่มีทางที่ขบวนความคิดต่างๆ จะสิ้นสุดได้เราจะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิดอย่างถอนรากถอนโคน,อย่างสิ้นเชิง,
จากการดำเนินชีวิตในมิติจิตสามัญสำนึก เราจะต้องเปลี่ยนแปลงหรือไปพ้นวิถีของการรับรู้อย่างแบ่งแยกมีสิ่งที่ถูกรู้ -มีผู้รู้ไปสู่ความขัดแย้ง, นำไปสู่เวทนา, ความรู้สึกพอใจ-ไม่พอใจ เกิดความต้องการเกิดอุปาทาน เกิดภพ เกิดชาติ ของความรู้สึกว่ามีตัวเรา, เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง,เป็นสัตว์นรกบ้าง, เป็นเปรต, เป็นอสูรกาย, เป็นมนุษย์, เป็นเทวดา, นี่คือขบวนการความคิดในมิติสามัญสำที่นำไปสู่ปัญหาต่างๆ
ถ้าเราไม่สามารถจะหยุดขบวนการของปัญหาต่างๆ หรือขบวนการของความคิด, หรือความรู้ต่างๆ ได้, ชีวิตของเรามันก็ไร้สาระเหมือนกับใบลานเปล่า, ที่พระพุทธองค์ทรงเรียก ท่านโปถิระว่าใบลานเปล่า เราจะดำเนินชีวิตอย่างมีความหมายน้อยมาก, เป็นชีวิตที่ไร้สาระ, ไร้แก่นสาร, พระพุทธเจ้าทรงเรียกท่านโปถิระที่มีความรู้มากมาย, สั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาได้เป็นพระอรหันต์หลายรูป แต่ตัวท่านยังไม่ได้บรรลุธรรม, ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงทัก “มาแล้วรึท่านโปถิระใบลานเปล่า ” จะกลับก็ทักอีก”กลับแล้วรึท่านโปถิระในลานเปล่า” ใบลานเปล่าหมายถึงไม่มีอะไรเลย, ในสมองมีแต่อากาศ, ที่เขาเรียกว่าหัวลูกโป่ง หัวลูกโป่งมันไม่มีมันสมอง คือ ไม่มีปัญญา
เมื่อเราสามารถที่จะรู้จักวิธีการ, ด้วยการเรียนรู้,ด้วยการสังเกต โดยการหันเข้ามามองจิตใจ,แม้กระทั่งเด็กๆก็สามารถจะเห็นได้, เราเป็นผู้ใหญ่มันยากอะไรนักหนา, เพียงแต่เราหันเข้ามาสังเกตจิตใจเราก็จะพบว่าความคิดมันหยุดไปชั่วขณะหนึ่ง, เห็นได้ครั้งหนึ่ง ก็ทำครั้งที่สองได้, ก็ทำครั้งที่สาม จนกระทั่งเราสามารถที่จะเห็นมันได้,สัมผัสมันได้เห็นสภาวะที่มันว่างจากความ คิด, ถ้าเราลืมตา,มันก็เห็นสิ่งต่างๆ, หูเราก็ได้ยินเสียงต่างๆ ถ้าเราสังเกตจิตใจมันว่างในขณะนั้น, มันก็จะเห็นเฉยๆ, ได้ยินเฉยๆ
เราก็จะเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์, ที่ตรัสกับท่านพาหิยะ, “พาหิยะเธอจงเห็นสักแต่ว่าเห็น, ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน”, พาหิยะบรรลุธรรมด้วยการเห็นด้วยจิตใจที่มันว่าง, ด้วยการได้ยินด้วยจิตใจที่ว่าง,จากความคิด, การรับรู้ในขณะนั้นมันจะเป็นการรับรู้อย่างไม่แบ่งแยก, ไม่มีสิ่งที่ถูกรู้- ไม่มีผู้รู้, ไปพ้นสัญญาวิปลาสต่างๆ,แต่ถ้าเรายังรับรู้อย่างแบ่งแยก ยังไปไม่พ้นชื่อ, พ้นบัญญัติมันก็จะนำไปสู่ปัญญาระดับเหตุผล, คือเห็นเกิด – เห็นดับ,เห็นเที่ยง-เห็นไม่เที่ยง, แล้วเราก็สรุปนี่คืออนัตตา คือมันไม่มีตัวตน,
อนัตตาเป็นหลักธรรมสูงสุดของพุทธศาสนา มันไม่ง่ายขนาดนั้นหรอก อนัตตาไม่ใช่เข้าถึงด้วยความคิด, คิดว่ามันไม่เที่ยง, มันไม่มีตัวตน, มันเกิด- มันดับ แล้วก็สรุปมันไม่มีตัวตน ในพระพุทธศาสนาถ้าหลักการสูงสุดมันง่ายขนาดนั้น ทุกคนก็จะสามารถเป็นพระอรหันต์กันหมด, แต่อนัตตาเป็นเรื่องของการตระหนักรู้,ไม่ใช่คิดเอา, เป็นเรื่องของการหยั่งรู้, ตระหนักรู้ก็คือรู้ด้วยจิตที่มันว่าง,เขาเรียกว่า การหยั่งรู้หรือการตระหนักรู้
อิสรภาพแห่งจิต
<!--Main-->
“การเป็นคน นั้นเป็นได้ไม่ยากเข็ญ แต่ถ้าเป็นอย่างที่เป็นนั้นยากหลาย คือผู้เป็นสักว่าพูดไม่ง่ายดาย จิตมุ่งหมายบรมธรรมล้ำเลิศคน ” การที่เราจะได้พบกับความลึกซึ้งกับธรรมชาติรู้ตัวนั้น ธรรมชาติได้แผ่ขยายแล้ว เราถึงจะเริ่มรู้จักมัน ทำให้เรารู้สึกปิติ เกิดความร่าเริง เบิกบาน มันก็มาจากการที่เราได้สังเกต แล้วใจมันว่างนานขึ้นจน เป็นอธิศีล อธิจิต เราเรียกว่าสัมมาสมาธิ ความสงบที่เป็นฐานของจิตใจทำให้เกิดปัญญาญาณ ทำให้เกิดปรีชาญาณ นำไปสู่การแสดงออกของปรีชาญาณ หรือปัญญาญาณ เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เป็นการแสดงออกของธรรมชาติรู้ ที่เกิดจากความว่างของจิตใจแสดงออกในทุกอริยบถในทุกกิจการงาน หากเราตระหนักรู้ถึงความรู้สึกตัวทั่วพร้อมนี้ เราก็จะใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า อย่างมีชีวิต ชีวา การที่เราฝึกอย่างนี้มันจะทำให้ฌาณ ก็คือความสงบของจิตใจ ที่มีพุทธพจน์บทหนึ่งว่า นัตถิปัญญา อฌายิโน นัตถิฌานัง อปัญญัสสะ ไม่มีปัญญา ไม่มีฌาณ ไม่มีฌาณไม่มีปัญญา ฌาณตัวนี้คือความสงบของจิตใจ หรือ เจตโส เอโกทิภาวัง มันเป็นความสงบของสัมมาสมาธิ ไม่ใช่โลกิยะฌาณที่เราไปกำหนดรู้ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วใจมันสงบนิ่ง ฌาณอย่างนั้นไม่มีปัญญา นั่นคือโลกิยะฌาณ
แต่ฌาณที่เป็นฐานให้เกิดปัญญา คือฌาณที่เป็นสัมมาสมาธิ จึงทำให้เกิดปัญญาญาณได้ถ้าใครมีฌาณ และมีปัญญาด้วย ผู้นั้นก็เข้าใกล้พระนิพพาน การขจัดความคิดปรุงแต่งนี่เป็นสิ่งที่สำคัญ สติสามารถจะเป็นเครื่องกั้นขบวนการความคิดต่างๆ หรือจิตที่มันไหลไปตามอารมณ์ต่างๆ เหมือนอย่างพราหมอชิตะ ไปถามพระพุทธองค์ว่า : อะไรจะเป็นเครื่องกั้นจิตใจที่ไหลไปตามอารมณ์ต่างๆ และอะไรเป็นเครื่องละจิตใจที่มีความยินดี-พอใจกับอารมณ์ต่างๆ พระพุทธเจ้าก็ทรงตอบว่า " สติ จะเป็นเครื่องกั้น ปัญญาจะเป็นเครื่องละ "
ขณะที่เราสังเกตจิตใจแล้วความคิดหายไปขณะนั้นเรามี สติ แปลว่า ระลึกได้ ปัญญาแปลว่า รู้ สติและปัญญาทำหน้าที่คู่กัน ปัญญามีหลายระดับ ระดับจิตสามัญสำนึก ก็รู้เฉพาะที่ใดที่หนึ่งอย่างมีขอบเขตจำกัด ถ้าเป็นปัญญาระดับปัญญาญาณก็จะรู้พร้อมในความเป็นทั้งหมด หรือความเป็นองค์รวม สติจะเป็นเครื่องกั้น จิตใจที่มันไหลไปตามอารมณ์ ก็คือปรุงแต่งไม่ได้ “ปัญญาจะเป็นตัวละ”
พระพุทธเจ้าตอบ อชิตะว่า จิตที่ไหลไปตามอารมณ์ต่างๆ หรืออารมณ์ทั้งปวงที่มันเข้ามาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย นั้นเราสามารถจะหยุดยั้งได้ด้วยสติ เมื่อมีสติก็มีปัญญา การเข้าถึงตัวประสบการณ์ของการรู้แจ้งความจริง หรือสัจจะขั้นอัลติมะนั้นไว้ เมื่อเรารู้แจ้งความจริงอันนั้นได้ก็ จะมีการแสดงออก ควบคู่กับกิจกรรมต่างๆ กับการงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันเรา ในการดำเนินชีวิตของเรา ต้องคิด ต้องพูด ต้องทำ ประกอบอาชีพ การงาน
เมื่อใจของเรามั่นคงหรือที่เรียกว่าสัมมาสมาธิ เราจะเห็นธรรมชาติที่ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุด หรือธรรมชาติที่แท้มันแสดงตัวมันออกมา ขณะที่เราเห็นมันความรู้สึกว่า “ตัวเรา” ก็ไม่มี ถ้าเราพูด เราคิด เราทำ ไม่เห็นความว่างตัวนี้ด้วย เราไม่มีตัวรู้ความว่าง หรือสัจจะตัวนี้ด้วย
ทุกขบวนการความคิดจะมี”ตัวเรา” ถ้าเราเห็นสัจจะ ตัวสัจจะมันแสดงออกควบคู่กับการดำเนินชีวิตของเรา แสดงว่าจิตใจของเราเป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะสมาธิมั่นคง เราจึงเห็นธรรมชาติที่แท้หรือสัจจะหรือความว่างแสดงตัวออก การปฏิบัติก็คือการทำให้ธรรมชาติที่แท้มันแสดงตัวออกมา ไม่ว่าจะเดิน ยืน นั่ง นอน ทำกิจการงานต่างๆ นี่เราถือเป็นการภาวนาในทุกขณะ จิตใจก็เริ่มมั่นคงขึ้น แข็งแรงขึ้น ตั้งมั่นขึ้น ยิ่งตั้งมั่นมากเท่าใด ธรรมชาติรู้ก็ยิ่งแสดงตัวออกมากเท่านั้น
ธรรมชาติรู้ตัวนี้มันเกิดจากความว่าง มันก็ยิ่งแสดงตัวของมันออกมาร่วมกับกิจการงานมากขึ้น ยิ่งเรามีความมั่นคงมากขึ้น มันก็สามารถแสดงตัวออกมาได้ยาวนานขึ้น จนกระทั่งถึงที่สุดนั่นก็คือตลอดเวลาที่เรียกว่าพระอรหันต์ พระอรหันต์ท่านเห็น รู้สัจจะขั้นอัลติมะอยู่ตลอดเวลา ธรรมชาติที่แท้แสดงออกร่วมกับขันธ์ห้าต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าแสดงออกได้ 75 % นี่คือพระอนาคามี ถ้า 50 % ละความโลภ ความโกรธได้บ้าง นี่คือพระสกิทาคามี หรือแสดงออกได้ 25 % นี่คือพระโสดาบัน
แสดงออกบ้าง ไม่แสดงออกบ้างนี่ก็ถือว่าเราเริ่มเดินทางเข้าสู่กระแสของพระนิพพาน กระแสของอริยบุคคล เลื่อนระดับจากปุถุชนที่ไม่เคยเห็นความว่างของจิตใจเลย เมื่อใดก็ตามถ้าเรารู้จักวิธีการที่จะพัฒนาจิตวิญญาณของเรา พัฒนาอย่างถูกหลักการณ์ ถูกวิธีการ ผลมันย่อมเกิดขึ้น ในขณะที่ปฏิบัติเราจะเห็น ขณะที่เราเห็นความว่างจิตใจของเรามันหยุดนิ่งนานขึ้น นั่นก็คือ ผลมันอยู่ตรงนั้นมรรคก็อยู่ตรงนั้น “ทาง” ก็คือสภาจิตที่เรากำลังดำเนินอยู่บนความรู้สึกที่ไม่มีตัวเรา ดำเนินอยู่บนความรู้สึกที่รับรู้ในความเป็นเอกภาพ หรือความเป็นทั้งหมด ผลมันก็อยู่ตรงนั้น
เมื่อเราเริ่มจับประเด็นได้เข้าถึง”ทางสายกลาง” ผลมันเกิดแล้ว เมื่อเห็นทางสายกลาง แต่ก่อนเราไม่เห็นเลย เมื่อเราเริ่มปฏิบัติมาหรือปฏิบัติที่ไหนมา 5 ปี 10 ปี ยังไม่เห็น”ทางสายกลาง”เลย ผลก็ไม่เกิดเลย มรรคก็ไม่เกิด ผลก็ยังไม่เห็น เมื่อใดก็ตามถ้าเราเริ่มสัมผัสได้กับจิตใจที่บริสุทธิ์ หรือที่ปภัสสรของเราจากการที่เราได้หันเข้ามาสังเกตแล้วเราก็พบว่าขบวนการ ความคิดมันหยุดไปชั่วขณะ เราเห็นภาวะของจิตว่าง ขณะนั้นไม่มีของคู่ ไม่มีความรู้สึกว่ามี”ตัวเรา” ไปพ้นกาลเวลา ไม่มีอดีต ปัจจุบัน อนาคต มรรคเกิดแล้ว ผลก็เกิดตรงนั้นแหละ เมื่อเราเห็นทาง เราก็เริ่มเดินทาง พระพุทธเจ้าเป็นแต่เพียงผู้ชี้ทาง อักขา ตาโร ตถาคตา เราเป็นเพียงผู้ชี้ทาง “ทางสายกลาง " นี่แหละ
หลังจากที่ท่านได้ตรัสรู้เมื่อวันวิสาขบูชา ทรงพักผ่อนอยู่ 7 สัปดาห์ และเดินทางไปพบปัญจวัคคีย์ที่ป่า อิสิปะตะนะมฤคทายวัน ทรงแสดงธรรมจักรกัปวรรตนสูตรใจความสำคัญก็คือ สมณทางสุดโต่งทั้งสองไม่ควรเดิน ให้เดินทางสายกลาง ถ้าเรายังไม่รู้จักทางสุดโต่งทั้งสอง เราก็จะไม่รู้จักทางสายกลาง ทางสุดโต่งทั้งสองก็คือทางของความคิดปรุงแต่งที่ไปทาง รักตรงข้ามกับชัง อัตตนิโยค กามสุขัลนิโยค คือความสุดโต่งทั้งสองก็คือปัญญาระดับเหตุผลนั่นเอง
ปัญญาระดับเหตุผล ที่ใช้ความคิด ที่เราลงความเห็นที่ขัดแย้งกันเป็นคู่ๆ คือความสุดโต่งทั้งสอง การปฏิบัติถ้าเรายังใช้ปัญญาระดับเหตุผล เห็นมันเกิด-เห็นมันดับ,เห็นมันมีตัวตน-เห็นมันไม่มีตัวตน นี่มันเป็นความสุดโต่งทั้งสอง หลายคนไม่เข้าใจยังใช้ปัญญาระดับความสุดโต่งทั้งสองอยู่ ไม่ใช่ “ทางสายกลาง” ทางสายกลางเป็นภาวะที่อยู่เหนือความสุดโต่งทั้งสอง เป็นโลกุตระจิต ไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเราและไม่มีตัวเรา ไปพ้นการรับรู้อย่างแบ่งแยก ไม่มีรูป- ไม่มีนาม, ไม่มีสิ่งที่ถูกรู้- ไม่มีผู้รับรู้, เมื่อมันไปพ้นรูป-พ้นนามแล้ว ปรีชาญาณก็เกิด ปรีชาญาณจะไปพิจารณาอะไรที่เป็นรูปเป็นนาม ปรีชาญาณเกิด ต่อเมื่อไปพ้นรูปพ้นนามแล้ว
ปรีชาญาณก็จะตระหนักรู้ไปที่การรับรู้ของประสาทสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ในความเป็นเช่นนั้นเอง ของปรากฏการณ์ต่างๆ นี่คือแนวทางการปฏิบัติที่เข้าถึง “ทางสายกลาง” และพัฒนาจนเกิด อธิศีล จะกำจัดกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง (นิวรณ์ต่างๆ ) จนเป็น อธิจิต เข้าถึงสัมมาสมาธิ ก็จะเป็นพื้นฐานให้เกิดปรีชาญาณ
ทำลายความยึดถือต่างๆ และความสำคัญผิดต่างๆ จนเห็นความจริงจากจุดเริ่มต้นจนกระทั่งพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น นี่คือแนวทางการปฏิบัติ “ทางสายกลาง” ที่อาตมาพยายามนำเสนอ แม้อาตมาจะพูดอธิบายให้ละเอียดยังไง ถ้าเรายังไม่เห็นสภาวะทางสายกลาง หรือภาวะของจิตที่อยู่เหนือของคู่ได้ เราก็จะไม่มีความเข้าใจอย่างซาบซึ้ง จนกว่าเราจะหันเข้ามาสังเกตจิตใจ หรือความคิดของตนเองแล้วเราก็จะพบ “ทางสายกลาง” และเกิดความเข้าใจอย่างซาบซึ้ง
ความเข้าใจด้วยเหตุผลนี่ไม่ซาบซึ้ง มันยังไม่เห็นสภาวะต่อเมื่อเราได้เห็นสภาวะ “ทางสายกลาง” อ๋ออย่างนี้เองสภาวะของจิตที่อยู่เหนือโลก อย่างนี้เองน้ะสภาวะจิตที่ไม่มีตัวเราที่อยู่เหนือของคู่ เหนือมี-เหนือไม่มี อย่างนี้เรียกว่าอนัตตา อย่างนี้เรียกว่าสูญญตา นี่คือการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เข้าถึงความจริงด้วยปัญญาญาณได้ด้วยตัวเองเราก็เกิดความมั่นใจ เกิดศรัทธาในคำสอนของพระศาสดา หรือองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงวางหลักการไว้ วางวิธีการไว้ พระองค์เป็นเพียงผู้ชี้ทางเมื่อเห็นทางสายกลาง เราก็เดินทาง เราต้องสร้างแรงจูงใจ สร้างฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ใช้ความเพียร ความอดทนอย่างต่อเนื่องด้วยจึงจะเกิดมรรค เกิดผล
แม้ความเพียร และความอดทน ก็จะต้องเป็นความเพียร เป็นความอดทน ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกว่า มีตัวเราเป็นผู้อดทน เป็นผู้พากเพียร ด้วยสัมปทาสี่ มันเป็นความเพียรหรือสัมมาวายามะ เป็นความเพียรที่อยู่บนฐานของความว่าง อยู่บนฐานของสัจจะขั้นอัลติมะ อยู่บนฐานที่ไม่มีตัวเรา หรืออยู่บนฐานของ “ทางสายกลาง” แม้ขันติก็เหมือนกัน ขันติก็ต้องไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเราเป็นผู้อดทน ขันติในมิติของจิตสามัญสำนึก มันมีตัวเรา เช่นใครว่า ใครด่า เจ้านายด่าเรา,พ่อแม่ว่าเรา มีตัวเราเป็นผู้อดทน ในมิติของจิตเหนือสำนึก หรือ “ทางสายกลาง” จะไม่มีตัวเราเป็นผู้อดทน
เมื่อเราเข้าถึงได้แล้วมันไม่มีตัวเรา ต้องอดทน เราจะต้องมีความเพียรอยู่บนทางสายกลาง นี่แหละเป็นบารมี ไม่ว่าจะเป็น ทานบารมี,ศีลบารมี,ปัญญาบารมี,วิริยะบารมี,ขันติบารมี มันจะต้องอยู่บนพื้นฐานของจิตเหนือสำนึก จิตที่ไม่มีตัวเราจิตที่ไปพ้นของคู่ สิ่งต่างๆ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดความสำเร็จนี่มันมีมากมายเมื่อเราเข้าถึงด้วยตัวเอง แล้ว เราจะรู้ด้วยตัวเองจะใช้ขันติ ใช้ความเพียร ใช้ความต่อเนื่องของการปฏิบัติ ให้ความจริงจัง จริงใจ อย่างมุ่งมั่น นี่คือสิ่งที่ทำให้เราเกิดความสำเร็จ ในงานกรรมฐาน
ซึ่งเป็นศิลปะอย่างยิ่ง การกระทำสิ่งต่างๆในทางโลกหรือวิชาต่างๆ เช่น วาดเขียน หรืองานศิลปะใดๆคง ไม่มีศิลปะใด ที่มีความงดงามเท่ากับศิลปะของการดำเนินชีวิตที่อยู่บนฐานของ “ทางสายกลาง “ที่เรียกว่าการปฏิบัติภาวนาซึ่งไม่มีศิลปะใดที่จะเทียบเท่า มันเป็นความวิเศษ เป็นความมหัศจรรย์มันเป็นความยิ่งใหญ่ของสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ และก็ชี้ทางไว้แล้วเราจะเข้าใจความหมายของความเป็นมนุษย์จริงแท้
เราจะเข้าใจความหมายของชีวิตที่แท้จริง เข้าใจเป้าหมายของชีวิต ถ้าเราพัฒนาจนจิตวิญาณของเราเข้าสู่ระดับจิตวิญญาณสากล หรือจิตเหนือสำนึกแล้ว เราจะเข้าใจชีวิต เข้าใจโลก เข้าใจจักรวาล เข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ด้วยจิตใจที่เอื้ออาทร, เกื้อกูล, มีพราหมวิหาร ที่เป็นอัปมัญญา เราจะเข้าถึงสิ่งนี้ได้มันก็เนื่องมาจาก หรือเราได้พัฒนามาจากที่เราจับประเด็นเริ่มต้นได้ก็คือ "ทางสายกลาง" นั่นเอง
หากใครยังไม่พบทางสายกลาง ใครยังไปไม่พ้นปัญญาระดับเหตุผล ใครยังไปไม่พ้นจิตสามัญสำนึก ก็ไม่สามารถจะพัฒนาจิตวิญญาณไปสู่โลกุตระจิต หรือจิตเหนือสำนึกได้การที่เราจะเข้าถึงความจริง สัมผัสได้กับสัจจะที่แท้ หรือความจริงที่แท้ ไม่ใช่เรื่องของการแบ่งแยกหรือแยกย่อย ไม่ใช่เรื่องของการแบ่งแยกจิตออกเป็นร้อยๆดวง ไม่ใช่เรื่องของการซอยสับให้ละเอียด รู้ลงไปถึงระดับปรมณู ระดับอนุภาค ชีวิตเราไม่ใช่เอาอนุภาค หรืออะตอม มากองรวมกัน แต่ความจริงชีวิตที่แท้จริง เราจะรู้ได้ในความเป็นองค์รวมด้วยปัญญาญาณ
เราจะเข้าถึงความจริง หรือเข้าถึงสัจจะได้ด้วยปรีชาญาณ ปรีชาญาณหรือญาณทัศนะมันจะรู้อย่างไม่แบ่งแยก จะรู้ในความเป็นทั้งหมด หรือรู้ในความเป็นองค์รวม เราถึงจะเข้าถึงความจริงของชีวิต, ความจริงของโลก, ความจริงของจักรวาลได้ แต่ถ้าเราแบ่งแยก ซอยให้ละเอียดเป็นร้อยๆชิ้น พันๆชิ้น แยกลงไปจนเล็กที่สุด จนกระทั่งถึงปรมณูถึงอะตอม ถึงอนุภาคก็ตามเราก็ยังไม่สามารถเข้าใจชีวิต, หรือเข้าถึงความจริงได้
วิทยาศาสตร์ทางกายภาพ จึงล้มเหลว ไม่สามารถค้นหาความจริงของชีวิตได้เดี๋ยวนี้ วิทยาศาสตร์ทางด้านกายภาพ เข้าถึงแควนตั้ม เข้าถึงสูญญตา เข้าถึงทฤษฎีสัมพันธภาพ วิทยาศาสตร์เริ่มเปลี่ยนไปเข้าถึงสูญญตา เข้ามาพบกับศาสนา นั่นก็คือสูญญตา หรือความว่าง วิทยาศาสตร์ทางด้าน ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับกัน ไม่ใช่เพียงทางด้านร่างกายด้านเดียว
จากการรับรู้อย่างแบ่งแยกด้วยปัญญาระดับความคิดหรือจินตมยปัญญาไม่สามารถจะ เห็นความจริงได้ แต่เราจะเข้าถึงความจริงหรือเข้าถึงสัจจะเข้าใจชีวิตได้ เราจะต้องพัฒนาปรีชาญาณ หรือญาณทัศนะ หรือภาวนามยปัญญาให้เกิดขึ้น ปัญญาที่เกิดจากธรรมชาติที่แท้มันจะสัมผัสได้กับความจริงทำให้เราเข้าใจ ชีวิตได้ การปฏิบัติที่เริ่มต้นด้วย “ทางสายกลาง” มันจึงเป็นกุญแจที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความเข้าใจชีวิต, เข้าใจโลก, เข้าใจจักรวาล ได้อย่างแท้จริง
ทำให้เราดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้อง กลมกลืน เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ ไม่เอาชนะธรรมชาติ อยู่อย่างสันติสุข อยู่อย่างเกื้อกูล กับสรรพสิ่ง กับธรรมชาติ นี่คือแนวทางการปฏิบัติ ในหลักการ ในวิธีการที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ ในอริยะสัจข้อที่ 4 นั่นก็คือมรรค หรือ “ทางสายกลาง”
หรือไตรสิกขา หรืออริยมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง หากเรามีความเข้าใจและจับประเด็นได้การพัฒนาย่อมเกิดขึ้น การพัฒนาจิตวิญญาณจากระดับจิตสามัญสำนึก ที่มีตัวเราเป็นศูยน์กลางเป็นจุดเริ่มต้นผ่านปัญญาระดับเหตุผล ผ่านกาล เวลา ผ่านความรู้สึกว่ามีตัวเรา ผ่านของคู่ต่างๆ ก็จะเข้าถึงปัญญาญาณหรือจิตเหนือสำนึก, จิตที่เข้าถึงโลกุตระจิต จิตที่อยู่เหนือโลก เข้าถึงภาวะที่ไม่ใช่ภาวะ, เข้าถึงมิติของจิตที่สัมผัสได้กับความจริงแท้, เราจึงจะเกิดความเข้าใจ การดำเนินชีวิตของเราจึงจะไม่มีความทุกข์ปัญหาต่างๆของมนุษย์ เพราะไม่รู้ความจริงอันนี้ เพราะไม่มีปัญญาญาณ ไม่มีปรีชาญาณ ที่จะเห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น, ตามความเป็นจริง
ปัญหาต่างๆ ก็เลยเกิดขึ้นมากมาย การปฏิบัติเป้าหมายของพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณหรือพัฒนาปรีชาญาณให้มัน เกิดขึ้นรับรู้สิ่งต่างๆตามความเป็นจริงเข้าใจชีวิตของเรา การเพ่งเพียรพิจารณายิ่งลึก ก็ยิ่งเป็นการปลุกธาตุรู้ให้ตื่นขึ้นการเพ่งพิจารณาไม่ได้หมายความไปเพ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไปกำหนดจดจ้องที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง แต่มันเป็นการตระหนักรู้ในความเป็นองค์รวมเป็นการตระหนักรู้ในความเป็นองค์ รวม ในความเป็นอิสระของจิต ในขณะนั้นเราก็จะพบความเป็นอิสระภาพ ความเป็นเอกภาพ ความสัมพันธภาพระหว่างเรากับสรรพสิ่ง ที่เรารับรู้ไม่ว่าจะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เป็นองค์รวมของความเป็นทั้งหมด
มันจะมีทั้งความเป็นอิสระ มันมีทั้งความเป็นหนึ่ง หรือไม่แบ่งแยก มีทั้งความสัมพันธ์ กับสรรพสิ่ง มีทั้งความเป็นเสรีภาพ รวมลงในภาวะจิตที่ไปพ้นสังสารวัฏ สมาธิภาวนาที่แท้จริงสามารถที่จะน้อมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ ในทุกกิจการงาน ถ้าเราพัฒนาที่เริ่มต้นด้วย ”ทางสายกลาง” นั่นคือเมื่อใดก็ตามที่เราหันเข้ามามองจิตใจ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน หรือในขณะที่ทำกิจการงาน ถ้าเราสังเกตจิตใจขบวนการความคิดมันจะหยุดลง ใหม่ๆก็หยุดชั่วครู่ ขณะที่ใจของเราว่างจากความคิด การรับรู้ทางทวารต่างๆ จะไปพ้นการรับรู้อย่างแบ่งแยก,พ้นรูป พ้นนาม
สภาวะตรงนี้คือจุดเริ่มต้นของจิตที่มันไปพ้นมิติของจิตสามัญสำนึก ไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรา ไปพ้นปัญญาระดับเหตุผลหรือของคู่ไปพ้นกาลเวลา เราต้องเริ่มต้นด้วยสภาวะจิตอย่างนี้ด้วยการหันเข้ามามองจิตใจ ด้วยการหันเข้ามาสังเกต หันเข้ามาดูมันเฉยๆ สังเกตมัน เรียนรู้มันจนเข้าใจมันปัญญาที่จะทำให้เราเข้าใจที่แท้จริงก็คือปัญญาที่ เกิดจากจิตใจที่มันว่าง ในขณะนั้นแหละเราเรียกว่าปัญญาณหรือปรีชาญาณ, อาตมาชอบใช้คำว่าปรีชาญาณ,ในพระไตรปิฎกใช้คำว่า ภาวนามยปัญญา มันยาวไปอาตมาก็เลยใช้ปรีชาญาณ หรือปัญญาญาณจะทำให้เราเกิดความเข้าใจ, เข้าใจถึงความจริงขณะที่เรารับรู้ทางทวารต่างๆ ในขณะที่จิตมันว่าง, ของคู่ก็ไม่มี, ตัวเราก็ไม่มี, เวลาก็ไม่มีเราก็จะเห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น นี่แหละความจริง
จุดเริ่มต้นเราต้องสัมผัสได้กับภาวะจิตที่มันว่าง หรือจิตที่ประภัสสร หรือสัมผัสได้กับสัจจะขั้นอัลติมะ ธรรมชาติที่แท้ที่ไม่มีจุดเริ่มต้นไม่มีจุดสิ้นสุด เป็นธรรมชาติที่เป็นพื้นฐานของทุกสรรพสิ่ง โดยเฉพาะตัวเราจุดเริ่มต้นเราจะต้องเห็นสิ่งนี้ก่อนและปัญญาที่เกิดจากสิ่ง นี้แหละมันจะแผ่ขยายการรับรู้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด เท่าที่กำลังหรือสมาธิที่มันมั่นคง “ทางสายกลาง” ที่เราเริ่มมันจะพัฒนาตัวมันเอง ด้วยการทำลายกิเลสอย่างหยาบ
ที่แสดงออกมาทางวาจา ทางกาย ทำลายกิเลสอย่างกลาง ที่เรียกว่านิวรณ์ต่างๆ นั่นแหละ, ที่เราสังเกตมัน ดูมันจะเข้าใจมัน, มันก็จะลด ละ ปล่อย วาง ความคิดก็น้อยลง, จิตก็ว่างมากขึ้น ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์อะไรมากระทบก็เฉยได้ ไม่ปรุงแต่งเลยนี่คือสัมมาสมาธิมีวิธีเดียวที่เราจะพัฒนาสัมมาสมาธิ, ไม่ใช่ไปกำหนดรู้ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วสงบไปเห็นนิมิตต่างๆ เห็นพระพุทธรูป เห็นจุฬามณี อะไรต่างๆ นั่นมันข้อมูลต่างๆที่เราสะสมไว้ในจิตใต้สำนึก สมาธิอย่างนั้นเขาเรียกมิจฉาสมาธิ คือความสงบที่ไม่ได้เป็นบาทฐานให้เกิดปัญญาญาณที่จะเห็นความจริง
ซึ่งพระพุทธองค์เคยกระทำมาแล้ว เคยปฏิบัติมาแล้ว กับสองอาจารย์ อารามดาบถ กับอุทกดาบถ ได้ฌาณ ได้สมาบัติเจ็ด สมาบัติแปด สงบมาก เกวียนห้าร้อยเล่ม ผ่านไม่ได้ยินเสียงเลย แม้กระนั้นปัญญาของสองอาจารย์ก็ไม่สามารถทำให้พระองค์ประจักษ์แจ้ง ถึงความจริงได้ พระองค์จึงจากสองอาจารย์มาแสวงหาด้วยตัวเอง แล้วพระองค์ก็พบ”ทางสายกลาง” พบ “สัมมาสมาธิ” ทางสายกลางมันพัฒนาไปสู่สัมมาสมาธิเมื่อเราเข้าถึงสัมมาสมาธิ นั่นคือเข้าถึงความเป็นเองจะรู้อยู่ที่ก้นบึ้งของจิตใจเรามันว่าง มันปกติ มันเฉย กระทบอะไรก็เฉย รับรู้พร้อมในความเป็นทั้งหมดเพราะมันเป็นฐานของปรีชาญาณ
ยิ่งมั่นคงมากเท่าไหร่ปรีชาญาณก็จะแผ่ขยายธรรมชาติรู้ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด แผ่ขยายครอบคลุมทุกสิ่ง ครอบคลุมปรากฏการณ์ทุกสิ่ง ครอบคลุมสังขตธรรมทุกสิ่ง อะไรเกิดขึ้นกับจิตใจมันจะรู้มันจะเห็นเมื่อรู้เห็นมันก็หยุดไป สลายไปเราจะนำปัญญาตัวนี้คือ ปรีชาญาณมาใช้ในชีวิตประจำวันของเราจนกระทั่งเราตาย สัมมาสมาธิเมื่อเป็นแล้วมันจะไม่ถอยหลัง ถอยเข้า ถอยออก มันยิ่งมั่นคงขึ้น เหมือนในพระไตรปิฎกที่ท่านเปรียบไว้เหมือนเดินลงทะเล ลงมหาสมุทรยิ่งลุ่มลึกขึ้น ลุ่มลึกขึ้น นั่นคือสัมมาสมาธิมันไม่ถอยหลังและเป็นพื้นฐานให้ปรีชาญาณแผ่ขยายการรับรู้ พร้อม,ก็จะนำไปสู่ปัญญาญาณ และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา เราจะต้องคิด ต้องพูด เราจะต้องทำ กิจการงาน มีสติ มีความเพียรนี่ก็คือการดำเนินชีวิต ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด ที่มีสัมมาทิฏฐิ
หรือปรีชาญาณเป็นฐานของจิตใจ ที่เกิดจากสัมมาสมาธินั่นเอง เราจะเข้าถึงสิ่งนี้ได้จุดเริ่มต้นก็คือ”ทางสายกลาง” หรือภาวะจิตที่เป็นกลางๆ, มันเป็นกุญแจที่สำคัญ, หากเราไปกำหนดรู้ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไปจำแนกว่าเป็นรูป-เป็นนาม, เห็นมันเที่ยง-เห็นมันไม่เที่ยง,เห็นมันเกิด-เห็นมันดับ นี่คือปัญญาระดับความคิด หรือปัญญาระดับเหตุผล เราดำเนินชีวิต ด้วยปัญญาระดับเหตุผลอยู่แล้ว
ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาระดับเหตุผลนี่แหละ,ถึงมีปัญหา เพราะความสำคัญมั่นหมายต่อความเห็นที่ผิดทำให้เราคิดว่านี่คือความจริง แต่มันไม่ใช่ความจริง,มันเป็นภาพลวงตาที่เกิดจากความคิด
แต่ปุถุชนทั่วไปคิดว่านี่คือความจริง, ปัญหาต่างๆจึงเกิดขึ้นมากมาย, เพราะเราเอาความรู้ที่ไม่จริงไปบริหาร,ไปจัดการชีวิตของเรา, เมื่อสังคมอยู่บนฐานของความรู้ที่ไม่จริงปัญหาต่างๆก็เกิดขึ้น การศึกษาที่แท้จริงจะต้องทำให้เราเข้าใจชีวิต, ทำให้เราเข้าใจโลกดำเนินชีวิตอยู่ในโลกอย่างไม่มีความทุกข์ หรือมีก็น้อยที่สุด หากเราดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวเรา ไปพ้นกาลเวลา ไปพ้นสังสารวัฏ ไปพ้นปัญญาระดับเหตุผล ปัญหาต่างๆก็จะไม่เกิดขึ้น ปัญญาหรือปรีชาญาณตัวนี้เป็นปัญญาญาณ หรือเป็นปัญญาของสัตบุรุษ ที่รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ, กาล บริษัท หมู่กลุ่มบุคคลนี่คือปัญญาของผู้รู้ ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา, ไม่ว่าจะเป็นการคิดการพูด การทำ ก็จะเป็นการพูดที่สมบูรณ์ การคิดที่สมบูรณ์ การกระทำที่สมบูรณ์นั่นคือมัน PERFECT มันสมบูรณ์ หรือมันชอบ
นี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์พยายามปลุกเราให้ตื่นขึ้น,ดำเนินชีวิตที่ไม่มีคำ ว่าตัวเรา,เห็นโลกในทัศนะตามความเป็นจริงหรือตามที่มันเป็นจริง หรือตามที่มันเป็น, พระองค์ได้อุปมา-อุปไมยไว้แล้วการปฏิบัติเหมือนโคแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้าแล้ว ชำเลืองดูลูกน้อยด้วย, เหมือนกับเราต้องทำกิจการงานในชีวิตประจำวันแล้วชำเลืองดูจิตใจไปด้วย จนกระทั่งเข้าถึงความเป็นเองไม่ต้องชำเลืองมันรู้เลยว่าใจสงบนิ่งทำอะไรอยู่ ก็เห็นจิตที่มันว่างไปด้วย,ทำอะไรอยู่ก็เห็นความสงบนิ่งไปด้วย นั่นคือเห็นสัจจะขั้นอัลติมะไปด้วย สัจจะขั้นอัลติมะ ก็คือ สูญญตา หรือความว่างนั่นเอง
แล้วมันจะแสดงออกควบคู่กับกิจการงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนไหว หรือการกระทำต่างๆ นี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงวางวิธีการไว้ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา หรือหลักของไตรสิกขาในพระไตรปิฏกเล่มที่12, หากเราได้สัมผัสกับจิตที่ยังไม่ถูกปรุงแต่ง หรือ ประภัสสร มิทังจิตัง ของเรานั่นเอง จิตที่ประภัสสรมันเป็นเนื้อหา หรือเป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะขั้นอัลติมะ, สัจจะที่สูงสุดที่เป็นพื้นฐานของสรรพสิ่ง, ไม่มีจุดเริ่มต้น, ไม่มีจุดสิ้นสุด, ไม่มีเกิด – ไม่มีดับ อยู่เหนือของคู่เราก็สามารถจะพัฒนาหรือวิวัฒนาการจิตวิญญาณระดับจิตสามัญ สำนึก จิตของปุถุชน ผ่านเหตุผล ผ่านกาลเวลา ผ่านตัวตนไปสู่จิตเหนือสำนึก หรือโลกุตรจิต นำปรีชาญาณมาใช้ร่วมกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเรา
ถ้าสามารถนำปัญญาตัวนี้มาใช้ในกิจการงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราได้,เราก็จะเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆซึ่งมันอาศัย ซึ่งกันและกัน อยู่คนทั่วๆไป หรือปุถุชนเวลากินอาหารก็ไม่รู้รสอาหารที่กินไป, คิดไปเรื่องโน้น เรื่องนี้ เลยไม่รู้รสที่กำลังกินว่ามันมีรสอย่างไร,อาบน้ำก็ไม่รู้สภาวะที่ร่างกายถูก น้ำรดอยู่ ไม่รู้สึกเย็น ไม่รู้สึกร้อน อาบไปอย่างนั้นแหละ นี่เพราะเราขาดสติปัญญาญาณ,ทุกสิ่งที่เรารู้ทางประสาทสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทั่วไปเราคิดว่ามันมี มันเป็นอยู่จริงๆ, สิ่งที่เราเห็นทางตา ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิทยุ โทรทัศน์ นาฬิกา ต่างๆ ที่อยู่ต่อหน้าเรา เย็น ร้อน นี่เราคิดว่ามันมี มันเป็นอยู่จริงๆ
ความมีอยู่และความไม่มีอยู่เกิดจากความคิด, ถ้าเราคิดมันก็มีหรือมันไม่มี,เพราะฉะนั้นความมีอยู่ ความไม่มีอยู่ มันก็เกิดจากความคิดในระดับเหตุผล, เห็นมันเกิด-เห็นมันดับ,เห็นมันสูง-เห็นมันต่ำก็เกิดความรู้สึกพอใจ-ไม่พอใจ ,ชอบ-ไม่ชอบ ขึ้นมาเป็นเพราะเราขาดปัญญาที่จะเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ก็คือขาดปรีชาญาณ เราไม่ได้รู้ด้วยปรีชาญาณ แต่เรารู้ด้วยปัญญาระดับเหตุผล เรารู้ด้วยประสาทสัมผัสตา หู จมูก ลิ้น กาย เรารู้ด้วยจักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฯลฯ แล้วก็นำสัญญาความจำมาปรุงแต่ง ก็คือสังขาร เกิดความเห็นที่ขัดแย้งกันเป็นคู่ๆ นี่คือมิจฉาทิฏฐิ
นี่คือขบวนการของขันธ์ 5 มันจึงเกิดของคู่ขึ้นมา มันจึงเกิดปัญญาระดับเหตุผลขึ้นมา แต่ถ้าเรารู้ด้วยปรีชาญาณ, รู้ด้วยใจที่สงบ, ใจที่ว่าง, วิญญาณต่างๆ ที่เรารับรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เมื่อมันอยู่บนฐานของความว่าง อยู่บนฐานของปรีชาญาณ วิญญาณต่างๆ เหล่านั้นก็จะรวมลงในปรีชาญาณ,อาตมาเคยพูดบ่อยๆ ว่า จ้องมองมิอาจเห็น, สดับฟังมิอาจได้ยิน, ไขว่คว้ามิอาจจับต้อง, สิ่งนั้นก็คือสัจจะขั้นอัลติมะมันรู้ได้ด้วยใจที่ว่าง ใจที่สงบ เมื่อพื้นฐานของจิตใจเราพัฒนาจนมีปรีชาญาณเป็นพื้นฐาน
การรับรู้ทางประสาทสัมผัส สิ่งต่างๆ ที่เราเห็นไม่ว่าทางตา ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็ไม่มีของคู่จึง ไม่อาจจะกล่าวว่ามันมีอยู่ หรือไม่มีอยู่, มันไปพ้นความมีอยู่ และความไม่มีอยู่, นี่คือรู้ด้วยปรีชาญาณรู้ด้วยใจที่ว่างซึ่งเป็นฐานของปรีชาญาณ, นั่นก็คือเข้าถึงสัจจะขั้นอัลติมะ และปรีชาญาณก็จะทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ร่วมกันประสาทสัมผัสจึงไม่อาจจะกล่าวได้ว่ามีหรือไม่มี, ไม่อาจจะกล่าวได้ว่ามันถูกหรือมันผิด,มันสูงหรือมันต่ำ นี่คือปรีชาญาณ ที่มันรู้สิ่งต่างๆ นั่น,ก็คือรู้ว่าสรรพสิ่งว่าง, ว่างตัวนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่มี, แต่มันอยู่เหนือความมี และความไม่มี, นี่คือความว่าง นี่คือสูญญตา
ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ สรรพสิ่งคือความว่าง นี่คือความจริง ความยึดถือต่างๆ ที่เราสำคัญมั่นหมายหรือสำคัญผิดมันก็จะละคลายลง,ที่เราลงความเห็นว่ามันมี -ไม่มี ,ว่ามันสูง-ต่ำ มันจะละ จะวาง จะปล่อยด้วยปรีชาญาณ,จะไปพ้นของคู่ ไปพ้นเกิด- พ้นดับ,พ้นการไป-การมา โดยเนื้อแท้นี่คือสภาพของความจริง หรือความเป็นเช่นนั้นเอง ที่เราเริ่มต้นด้วย”ทางสายกลาง”มันจะพัฒนาไปด้วยตัวของมันเองแล้วเห็นสิ่ง ต่างๆ ตามความเป็นจริง,หรือตามที่มันเป็น, มันเป็นเช่นนั้นเอง
อย่างนี้ด้วยใจที่มันว่าง รู้ด้วยปรีชาญาณ ตระหนักรู้ในความเป็นองค์รวม,ทั้งการรับรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายรวมลงในความเป็นหนึ่งคือไม่แบ่งแยก รับรู้ในความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งด้วยปรีชาญาณ,จิตของเรายิ่งดื่มด่ำล้ำลึก มากเท่าไร ธรรมชาติรู้ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดก็จะแผ่ขยายรับรู้พร้อม แผ่ขยายอย่างไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยปรีชาญาณที่เราพัฒนาขึ้นจนเป็นสัมมาสมาธิ จากอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เมื่อใดก็ตามถ้าเราตระหนักรู้ได้ถึงสรรพสิ่งว่ามันว่างหรือสูญญตาเราก็เห็น สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ตามที่มันเป็น, การละ การปล่อย การวางก็จะเกิดขึ้นจิตใจของเราก็จะเป็นอิสระมากขึ้น
ยิ่งเรามีประสบการณ์มากขึ้น ดำเนินชีวิตอยู่บนประสบการณ์ของสัจจะ ประสบการณ์ของพุทธะมากเท่าใด การปล่อยวางก็ย่อมมากขึ้นเท่านั้น เราจะยิ่งเห็นสิ่งต่างๆ มันว่าง จากความรู้สึกว่ามีตัวเรา ว่างจากของคู่เห็นความเป็นเช่นนั้นเอง นี่คือหัวใจของพุทธศาสนา ดำรงอยู่ในสูญญตา แม้พระพุทธองค์ก็ทรงพักอยู่ในสูญญตวิหาร ที่ทรงถามพระสารีบุตรว่า “สารีบุตรเธอดำรงจิตอยู่อย่างไร” ข้าพระองค์ดำรงจิตอยู่ในสูญญตวิหารพระเจ้าข้า พระพุทธองค์ทรงรับรอง,แม้เราเองก็ดำรงอยู่ในสูญญตวิหารเช่นกัน คือดำรงจิตอยู่ในความว่าง ว่างจากของคู่ ว่างจากตัวเรา ว่างจากกาลเวลา เห็นสิ่งต่างๆ มันเป็นเช่นนั้นเอง
ไม่อาจจะกล่าวได้ว่ามันมีหรือมันไม่มี, ถ้าเราไปลงความเห็นว่ามันเกิด-มันดับ ,มันมีตัวตน-ไม่มีตัวตนนี่มันเป็นเพียงปัญญาระดับความคิด, ปรีชาญาณมันไม่ได้เกิดจากความคิด มันเป็นการตระหนักรู้พร้อมในความเป็นทั้งหมดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ตระหนักรู้ในความเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) เมื่อใดก็ตามถ้าเราสัมผัสตรงนี้ได้นั่นคือจิตเราเจริญมากแล้วเป้าหมายอยู่ แค่เอื้อมเท่านั้นเอง
พระสารีบุตรตอบพระอานนท์ ที่ถามว่าธรรมานุธรรมปฏิบัติ ปฏิบัตินานไหม?
พระสารีบุตรตอบว่าไม่นานเลย
ปฏิบัติไปเถอะจนกระทั่งตลอดชีวิตนั่นแหละ จนกระทั่งมีความรู้สึกว่ามันไม่ใช่การปฏิบัติ มันเป็นการดำเนินชีวิตที่แท้จริงของเรา ร่วมกับธรรมชาติที่แท้ ซึ่งแต่ก่อนเราไม่เห็นความว่างหรือสูญญตา หรืออสังขตธรรม,มันแสดงออกร่วมกับกิจการงานเลย ที่มันแสดงออกได้เพราะมันไม่มีอุปาทานหรืออุปาทานมันน้อยลงไป ขบวนการความคิดที่มีตัวตน, มีเวลามันละวางไป ธรรมชาติที่แท้คือความว่างมันก็แสดงออกควบคู่กับกิจการงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา
วิปัสสนาญาณจึงกล่าวว่าเห็นความเคลื่อนไหวในความไม่เคลื่อนไหว, เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตใจจิต เห็นธรรมในธรรม นั่นก็คือตัวรู้หรือธรรมชาติรู้ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของปรีชาญาณที่เกิดจาก สัจจะขั้นอัลติมะหรือจากความว่าง ที่ใจของเราเข้าถึง มันรู้สองสิ่ง, รู้ตัวมันด้วย ที่มันเกิดมาจากสูญญตา, มาจากสัจจะขั้นอัลติมะ,และก็รู้ปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงจากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่ง เป็นการเคลื่อนไหว รู้ความเปลี่ยนแปลงในความไม่เปลี่ยนแปลงนี่คือวิปัสนาญาณ, ญาณหรือธรรมชาติรู้การทำงานของสัจจะทั้งสองทำงานร่วมกันเป็นสัจจะหนึ่งเดียว ทำงานร่วมกันเป็นความจริงหนึ่งเดียว
เหมือนคลื่นกับน้ำ,เหมือนเหรียญที่มี 2 ด้าน, หัว – ก้อย, เวลาเราเห็นเหรียญเราไม่ได้บอกว่าเราเห็นทางด้านหัวหรือด้านก้อย เราเห็นเหรียญ 1 เหรียญ, เราไปเที่ยวทะเล เราสังเกตดูคลื่นกับน้ำมันไม่ได้แยกจากกันเลย คลื่นมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คลื่นก็คืออาการของน้ำ,ธาตุแท้ของคลื่นก็คือน้ำ, ธาตุแท้ของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เรารับรู้ได้ทางประสาทสัมผัส ก็คือสูญญตาหรือความว่าง หรืออสังขตธรรมนั่นเอง นี่ถ้าเราตระหนักรู้ได้อย่างนี้จากชั่วขณะมันจะยิ่งพัฒนาขึ้น
เมื่อจิตเราว่างมากขึ้น ธรรมชาติรู้แสดงออกมากขึ้นเราก็จะตระหนักรู้ได้ด้วยตัวของเราเองทุกคนมี ปรีชาญาณอยู่แล้วด้วยกันทุกคน แต่ขบวนการความคิดที่เกิดจากอวิชชาเกิดจากตัณหา เกิดจากอุปาทานที่เรายึดถือไว้มันบังเราเลยไม่เห็นสิ่งนี้,เมื่อเรารู้จัก หรือเข้าใจหลักการณ์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางไว้,เข้าใจวิธีการ, หรือวิธีปฏิบัติมันก็จะพัฒนาได้ก้าวหน้าขึ้น, แต่ถ้าเราไม่รู้หลักการณ์ ไม่รู้วิธีการปฏิบัติ,ยังไงก็ไม่เกิดผล,ไปติดอยู่ที่อุบาย,ไปติดอยู่ที่การ กำหนดรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งสงบนิ่งหลับหู หลับตา แล้วมันจะไปเห็นความจริงทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ได้อย่างไรมันสงบอยู่ในภวังค์ เมื่อไปเห็นความจริงมันจะลด จะละ จะปล่อยวางได้อย่างไร
อุปาทานต่างๆ มันจะปล่อย มันจะวาง ได้ยังไงถ้าเราไม่เห็นความจริง นี่ก็ไม่มีความเข้าใจกัน อาตมาพยายามนำเสนอการปฏิบัติที่เป็นไปได้ในชีวิตประจำวันของเรา, ในทุกขณะ,ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน, ปฏิบัติอย่างพระพุทธองค์เลย, ปฏิบัติอย่างไม่พัก -ไม่เพียร , ไม่จม-ไม่ลอย ปฏิบัติอย่างไม่มีของคู่ในจิตใจของเรา ลองสังเกตดูชิทำได้ไหม, ยืน เดิน นั่ง นอน ลองสังเกตจิตใจตัวเองดูชิ เห็นได้ไหมว่า มันไม่มีความคิดเลยในขณะที่เราสังเกตมัน นั่นแหละคือสภาวะที่ไม่มีพัก-ไม่มีเพียร,ไม่มีจม-ไม่มีลอย,ไม่มีถูก-ไม่มี ผิด ไม่มีของคู่ๆ, ถ้าเราเห็นสภาวะนี้ได้,เราก็สามารถจะทำได้ในทุกกิจการงาน ในทุกอริยบถ
ทุกครั้งที่เราสังเกตเราก็จะเห็นมันว่าง, ไปพ้นของคู่, นี่คือ “ทางสายกลาง” ทำอย่างนี้บ่อยๆ อย่าไปนึกเบื่อมัน ทำไปแล้วมันจะพัฒนาตัวมันเองจนกระทั่งไม่ต้องนึกที่จะไปจดจ้อง ต้องการจะไปดูมัน รู้มันเองทำอะไรอยู่มันก็รู้เองขณะที่พูด,ทำกิจการงาน,เห็นความว่าง,เราเห็น ได้สักครั้งเราก็จะเกิดกำลังใจ, มันจะพัฒนาตัวมันเอง มันพัฒนาจริงๆ เราจะต้องมีความจริงใจ จริงจัง ต่อการใส่ใจมัน กฤษณมูลติ ท่านบอกว่าเราจะต้องใช้พลังของการใส่ใจอย่างมหาศาล, อาตมาก็เข้าใจว่าจะต้องใส่ใจจริงๆ ต่อการดำเนินชีวิตจากขณะหนึ่ง ไปสู่ขณะหนึ่งด้วยการเฝ้าสังเกต, หรือดำเนินไปสู่ฐานของ “ทางสายกลาง” ทุกย่างก้าว ของการปฏิบัติ,การภาวนา,มันจะต้องอยู่บนฐานของจิตใจที่มีความรู้สึกว่าไม่มี ตัวเรา อยู่บนฐานของจิตเหนือสำนึก,บนทางสายกลาง
เข้าถึงบารมีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ที่เรียกว่าทานบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยะบารมี ปัญญาบารมี,มันจะต้องอยู่บนฐานของจิตเหนือสำนึกหรือโลกุตรจิตหรือทางสายกลาง ,หากเราเข้าใจ ตระหนักรู้ด้วยปัญญาญาณของเราจริงๆ สภาวะนี้เองคือฐานของการปฏิบัติเราก็มุ่งเพียรทำให้มันจริงๆ จังๆ ลองดูชิว่ามันจะเกิดผลได้ไหม มันจะมีผลบ้างไหม,เราผ่านการได้,การเสีย มามากแล้วในชีวิตของเรา,มีอีกสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องพัฒนาไปให้ถึงเป้าหมาย ให้ได้,นั่นคือการพัฒนาจิตใจจนเข้าถึงจิตวิญญาณสากล หรือจิตสากล
ถ้าเราเข้าใจด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องไปฟังใครพูด โดยไม่ต้องไปอ่านหนังสือ ฟังอาตมาหรือฟังใครอธิบายแต่ตระหนักรู้ด้วยตัวเองอยู่ทุกขณะได้,เราก็จะเห็น ว่าปัญหาต่างๆ หรือความทุกข์ต่างๆ มันลดน้อยลง,ความขัดแย้งต่างๆ, น้อยลง ความสุขมันก็มากขึ้น,จิตใจเราก็อิ่มเอิบ เบิกบาน ร่าเริง อยู่กับความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง มีความรัก ความเมตตา มีความเกื้อกูล เอื้ออาทร ต่อสรรพสิ่งไม่ว่าหมู หมา กา ไก่ เห็นอะไรก็รู้สึกสดชื่น เบิกบาน ร่าเริง อิ่มเอิบ นี่คือความสุขที่แท้จริง ที่ไม่ได้อาศัยวัตถุ ไม่ได้อาศัยสิ่งต่างๆ ที่เป็นวัตถุเลย มันเกิดจากจิตใจของเราที่มีความเป็นอิสระ จิตใจที่เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง
ธรรมทั้งปวงคือความว่างนี่คือลักษณะของมันเป็นลักษณะที่เราสามารถเห็นได้ ด้วยปรีชาญาณของเราหรืออย่างที่พระพุทธองค์ตรัสว่า สัพเพธัมมาอนัตตา ธรรมทั้งปวงไม่ว่าอสังขตธรรมและสังขตธรรมมันว่าง, อนัตตาคือสภาวะที่ไม่อาจจะกล่าวได้ว่ามันมีหรือมันไม่มี, อย่าไปแปล อนัตตาว่าไม่มี, อนัตตาไม่ใช่ไม่มีตัวตน, ไม่มีตัวตนคือนิรัตตา, ตรงข้ามกับอัตตา อนัตตาอยู่เหนือความมี เหนืออัตตา เหนือนิรัตตา เหนือความไม่มี สัพเพธัมมาอนัตตา คือเห็นด้วยปัญญาญาณว่าธรรมทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นความว่าง
(อสังขตธรรม) หรือปรากฏการณ์ (สังขตธรรม) มันเปลี่ยนแปลงจากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่ง,ไม่อาจจะกล่าวได้ว่ามันมีหรือมัน ไม่มี, ลองไปดูในพระไตรปิฎฏกเล่มที่ 34,35 เรื่องความสุดโต่งทั้งสอง เราก็จะเกิดความเข้าใจ, อ๋อสภาวะที่เรารับรู้ด้วยใจที่มันว่าง(ขณะนั้นความคิดไม่มีเลย) แล้วของคู่จะมีได้ยังไง,ความมีอยู่และความไม่มีอยู่ มันจะมีได้ยังไง ถ้ามันยังมีอยู่ –ไม่มีอยู่,ยังมีเกิด-มีดับขณะนั้นมันก็คิดเอา,มันเกิดจากความคิด,การเห็น สิ่งต่างๆเป็นคู่ๆ มันเกิดจากความคิด, ถ้ามันไม่คิดรับรู้ด้วยใจที่ว่างไม่ว่าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย การรู้ด้วยจักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฯลฯ มันจะรวมลงในธรรมชาติรู้ที่เรียกว่าปรีชาญาณ หรือใจที่มันว่าง,มันจะตระหนักรู้ ในความว่างของสรรพสิ่งนี่คือการตระหนักรู้ได้ด้วยปรีชาญาณ หรือปัญญาญาณ
และตระหนักรู้ในความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง,แต่ก่อนนี้เรารับรู้อย่าง แบ่งแยก มีสิ่งถูกรู้มีผู้รู้,คือชื่อต่างๆ บัญญัติต่างๆ ที่เราไปสมมุติไปตั้งชื่อมัน,ลองสังเกตให้ชัดชิว่าการรับรู้หรือการตระหนัก รู้ในความเป็นหนึ่งตระหนักรู้ในการไม่แบ่งแยก,เห็นให้มันชัดเลย,ขณะใจว่าง, แล้วเราเห็น เราได้ยินอย่างไร มันไปพ้นชื่อไหม นี่คือการรับรู้ในความเป็นหนึ่ง,ถ้ามันสามารถรับรู้ได้,ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย โดยที่เราไม่ได้ไปตั้งใจกำหนดจดจ้องที่ทวารหนึ่ง ทวารใดเห็นใจมันว่างอยู่แล้วธรรมชาติแผ่ขยายรับรู้พร้อม,นี่คือการรับรู้ใน ความเป็นองค์รวม,หรือในความเป็นทั้งหมด,นี่คือความสมบูรณ์ของชีวิตเรา เรารู้ได้ด้วยปรีชาญาณ รับรู้ในความเป็นทั้งหมดจากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่งปราศจากตัวเราเป็นผู้รับ รู้ ไปพ้นกาลเวลา
แต่ถ้าเราดำเนินชีวิต ด้วยความรู้สึกว่ามีตัวเรา ในมิติของจิตสามัญสำนึก เราไม่สามารถจะรู้ในความเป็นทั้งหมดของชีวิตราได้, เราจะรู้ได้ทีละทวาร, เช่น เราตั้งใจจะดู มันก็รู้ได้เฉพาะทางตา, ตั้งใจจะฟังก็รู้ได้เฉพาะทางหู, นี่คือปัญญาที่มีขอบเขตจำกัด, เรื่องใดเรื่องหนึ่ง, ทวารใดทวารหนึ่ง,อย่างมีขอบเขตจำกัด นี่คือปัญญาในระดับเหตุผล, หรือปัญญาของปุถุชน, รู้ได้ทีละทาง, เราจะต้องรู้ด้วยตัวเอง สัมผัสได้ด้วยตัวเอง ปรากฏการณ์สิ่งต่างๆ, ที่แวดล้อมเราอยู่ มันจะเป็นหนึ่งเดียวกับเรา เมื่อเราตระหนักรู้ด้วยปรีชาญาณ
ธรรมชาติที่แท้ (สัจจะขั้นอัลติมะ) มันก็แสดงออกอย่างเหมาะสมต่อสถานะการณ์ต่างๆ ในชีวิตของเรา,มันจะแสดงออกร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ของเรา เพียงแต่เราตามรักษาจิต เฝ้าสังเกตมัน ดูมัน เรียนรู้มัน (จิตตัง รักเขถเมธาวี) ปราชญ์ย่อมตามรักษาจิตของตน ซึ่งเห็นได้ยาก จิตของเรามันเห็นได้ยาก ละเอียด ประณีต ปรากฏการณ์ที่เป็นสิ่งแวดล้อมมันก็ว่างไปด้วย เมื่อใจของเราว่าง,สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเราอยู่นี่มันก็ว่างไปด้วย, ถ้าจิตมันเกิด รูปมันก็เกิด ถ้านามมันเกิด รูปมันก็เกิด จิตดับ รูปก็ดับ งานอะไรก็ตามถ้าเราไม่คิดมันก็จะไม่มีของคู่, การกระทำนั้นก็เป็นการกระทำที่แท้จริง, งานนั้นๆก็เป็นงานที่แท้จริง
หากเราไม่รู้จักการฝึกฝน, ไม่รู้จักการภาวนาในทัศนะนี้ เราก็ยังจับสาระของการปฏิบัติ จับประเด็นของการปฏิบัติไม่ได้, การงานต่างๆที่เรากระทำอยู่ด้วยความรู้สึกว่ามีตัวเราเป็นผู้กระทำ,มันก็จะ ไปปกปิดการงานที่มีคุณภาพ, ความจริงแท้ที่เป็นธรรมชาติพื้นฐานของสรรพสิ่งหรือสัจจะขั้นอัลติมะ, เราไม่สามารถจะไปอธิบายมันได้ด้วยภาษา, ด้วยคำพูด,แต่ที่อาตมาพยายามชี้แนะเป็นเพียง จุดเริ่มต้น,ก็เพื่อจะให้เราเข้าถึงประสบการณ์ตรงต่อสัจจะด้วยตัวเอง เมื่อรู้จุดเริ่มต้น เราก็สามารถสัมผัสได้ด้วยตัวเอง, สิ่งที่อาตมาพูดก็พูดจากการตระหนักรู้ของตัวเอง,
เมื่อเราสังเกตจิตใจมันว่างเข้าถึงสภาวะที่เรียกว่ามัชฌิมา หรือ “ทางสายกลาง” หรือศีลแล้วมันก็จะพัฒนาตัวมันเอง จนกระทั่งเกิดปรีชาญาณเห็นความเป็นทั้งหมดของชีวิตเราในแต่ละขณะ, ความว่าง หรือสูญญตา หรืออนัตตา หรือสัจจะขั้นอัลติมะก็ดี เราเพียงแต่พูด,ถ้าเราไม่เห็นมันก็เข้าใจมันไม่ได้, เมื่อใดที่เราสังเกต, เห็นใจมันว่าง,ลองสังเกตให้ชัดชิ, ขณะที่ใจมันว่างมันรับรู้ทางทวารต่างๆอย่างไร
นิโรธะ ต้องทำให้แจ้ง, คือเห็นมันให้ชัด อ้อสภาวะอย่างนี้เองคือนิโรธะ, ไม่มีสุข- ไม่มีทุกข์,ไม่มีเกิด-ไม่มีดับ ไปพ้นของคู่ไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรา, ไปพ้นกาล เวลา,รู้ด้วยตัวเองสัมผัสได้ด้วยตัวเอง แล้วเราก็จะรู้ว่ามันก้าวหน้า, หรือมันไม่ก้าวหน้า, แน่นอนความยึดถือต่างๆ ของเรายังมีอยู่อารมณ์ต่างๆ ความพอใจ-ไม่พอใจยังมีอยู่ มันก็เป็นธรรมดา ทุกคนก็มีอย่างนั้น,แต่เมื่อเราได้ศึกษาเรียนรู้ ได้ปฏิบัติเราก็จะเห็นมัน, แต่ก่อนมันเกิดจนกระทั่งแสดงออกมาทางกาย วาจาแล้วเราก็ยังไม่รู้มันเลย, แต่ทีนี้พอมันเกิดพอใจ-ไม่พอใจ ขุ่นเคืองใจเรารู้มัน, นี่ก็เจริญขึ้นแล้ว, จนกระทั่งมันเกิดก็เห็น,มันก็ยิ่งเจริญขึ้นจนกระทั่งใครว่า ใครด่า เราเฉยได้ ไม่มีปฏิฆะเลย, นี่ก็เป็นการพัฒนาจิตใจ, ก้าวหน้ามากแล้ว
ทำอย่างนี้บ่อยๆ, การปฏิบัติเหมือนเป็นเรื่องซ้ำซาก, แต่ทุกขณะที่เราสัมผัสได้ ภาวะจิตที่มันว่างมันทำให้เราเบิกบาน อิ่มเอิบ ร่าเริง ความท้อแท้ความเบื่อหน่ายก็ไม่มี, ถ้าเราสัมผัสไม่ได้มันก็มีขบวนการความคิดซับซ้อนขึ้นมาเกิดความเบื่อหน่าย, เกิดความท้อแท้,เราก็ดู ก็เรียนรู้ ความท้อแท้นั่นแหละ, สังเกตมัน,เรียนรู้มัน,ทุกสิ่งเกิดขั้นมาเพื่อให้เราเรียนรู้, หรือปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมาเพื่อให้เราแก้ไขเพื่อให้เราได้เข้าใจมัน, ไม่มีวิธีอื่นใดเลยที่ทำให้จิตใจมันว่างโดยธรรมชาติของมันหรือไม่มีวิธีใด เลยที่จะทำให้มันละ มันปล่อย มันวางนอกจากการสังเกต การเรียนรู้ ที่เรียกว่าสิกขา ในหลักของไตรสิกขาในข้อที่สี่ ของอริยสัจสี่
รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก
พระคติธรรม
พื้นแผ่นดิน แม่น้ำ ภูเขา ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ คนเรามีปัญญาถมทำให้เป็นถนน ขุดให้เป็นแม่น้ำ ลำคลอง ทำสะพานข้ามแม่น้ำใหญ่ สร้างทำนบกั้นน้ำ ฉันใด ความขรุขระของชีวิตเพราะกรรมเก่าก็ฉันนั้น เหมือนความขรุขระของแผ่นดินตามธรรมชาติ คนเราสามารถประกอบกรรมปัจจุบัน ปรับปรุงสกัดกั้นกรรมเก่าเหมือนอย่างสร้างทำนบกั้นน้ำ เป็นต้น เพราะคนเรามีปัญญา
อันที่จริง ทั้งความสุข ทั้งความทุกข์ เป็นอุทกภัยเหมือนกัน ถ้ามีสิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของใจดีแล้วก็ไม่เดือนร้อน การทำใจก็คือ การให้เป็นเกาะที่พึ่งของใจนี่เอง คนมีบุญก็คือ คนมีเกาะของใจดีที่ได้สร้างสมมาแล้ว และกำลังสร้างสมอยู่
ผู้ที่ทำกรรมดีอยู่มากเสมอ ๆ จึงไม่ต้องกลัวกรรมชั่วในอดีต...หากจะมี กุศลของตนก็จะชูช่วยให้มีความสุขความเจริญสืบไป และถ้าได้แผ่เมตตาจิตอยู่เนือง ๆ ก็จะระงับคู่เวรอดีตได้อีกด้วย ระงับได้ตลอดถึงปัจจุบัน
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สารบัญ
1. พระผู้มีเมตตาท่วมท้นพระหฤทัย
2. รสแห่งความเมตตาชุ่มเย็นยิ่งนัก
3. อันความกรุณา มหัศจรรย์ยิ่งนัก
4. พรหมวิหารธรรม (อุเบกขาธรรม)
5. เครื่องปิดกั้นความประภัสสรแห่งจิต
6. อานุภาพแห่งความดี
7. แสงแห่งปัญญา มีอานุภาพใหญ่ยิ่ง
8. ธรรมทานที่บริสุทธิ์ แท้จริง
1. พระผู้มีเมตตาท่วมท้นพระหฤทัย
พระผู้มีเมตตาแผ่ไพศาลทั่วทุกสารทิศ
อันความเมตตามีอยู่ในผุ้ใด หรือผู้ใดเป็นผู้มีเมตตา เมตตานั้นจะไม่มีขอบเขตเฉพาะในผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของตนเท่านั้น แม้ผู้อื่นเมตตาแท้จริงก็จะแผ่ไปครอบคลุมถึงได้ ดังที่น่าจะมีเมตตาที่แท้จริงเกิดขึ้นกับคนเป็นจำนวนมาก เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่จิตใจตนเอง
เมื่อเมตตาเกิดขึ้น กรุณาจะตามมาพร้อมกัน
ในกรณีที่ได้รู้ได้เห็นเรื่องราวของผู้ควรได้รับความเมตตากรุณาทั้งหลาย เช่นเรื่องของเด็กขาดอาหาร ที่มีร่างกายซูบผอมเห็นแต่กระดูก ความเมตตาที่มีอยู่แม้เพียงในบรรดาผู้เป็นที่รักที่ชอบพอ ก็ขยายออกไปได้ถึงเด็กผู้เคราะห์ร้ายน่าเมตตาเหล่านั้น นั่นเพราะเมตตามีอยู่จริงในจิตใจ อาจจะอย่างไม่กว้างขวางนัก ในระยะเวลาหนึ่ง หรือจะอาจจะในเมื่อยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นให้ความเมตตาแผ่ออกไป เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นให้เมตตากระเทือน เมตตาก็จะแผ่ออกไปทันทีอย่างอัตโนมัติ มีผลให้กรุณาตามมาพร้อมกัน กรุณาว่าจะช่วยอย่างไรดีหนอ จะช่วยอย่างไรดี
สำหรับผู้ไม่มีเมตตาอยู่ในจิตใจ ย่อมไม่หวั่นไหวแม้ได้รู้ได้เห็นเรื่องราวของผู้ควรได้รับความเมตตากรุณา แม้นักหนามากมายเพียงไร นี้ก็น่าจะนำมาส่องให้เห็นจิตใจคนได้ ว่ามีความเมตตาเพียงไรหรือไม่
พระเมตตาของพระพุทธองค์ ลึกซึ้งจริงพระหฤทัย
เมตตาที่แท้จริงในใจนั้นสั่งสมให้มากขึ้นได้ แผ่ขยายให้กว้างใหญ่ได้ จนถึงไพศาลไปทั้งโลกได้
พระพุทธองค์ทรงเป็นพยานยืนยันความจริงนี้แล้ว ทรงอบรมพระเมตตามาหลายกัปปัลป์ จนได้ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า เป็นความจริงที่พึงยอมรับ คือ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ได้เป็นสมเด็จพระบรมศาสดา ตั้งพระพุทธศาสนาขึ้นได้ เพราะพระเมตตาพระกรุณาเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดจริง ๆ
พระเมตตากรุณาของพระพุทธองค์ เป็นความรู้สึกลึกซึ้งจริงพระหฤทัย ไม่มีอะไรอื่นอาจลบล้างให้บางเบาได้ ความเหนื่อยยากลำบากตรากตรำพระวรกาย แม้มากมายหนักหนาก็ไม่ทำให้ทรงเปลี่ยนพระหฤทัยกลับคืนสู่ความพรั่งพร้อมที่ รออยู่
ทรงมุ่งมั่นแสวงหาทางช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ โดยมิทรงพ่ายแพ้ให้แก่อำนาจเย้ายวนใด ๆ ทั้งสิ้น พระมหากรุณาชนะได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
เหตุแห่งความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า เป็นเหตุแห่งความสำเร็จยิ่งใหญ่ที่สุด เหนือความสำเร็จใด ๆ ที่เคยมีมา ไม่ว่าความสำเร็จของใครทั้งนั้น กรุณาของผู้ใดก็ตามย่อมให้ความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน ตามควรแก่ความกรุณานั้น ๆ
จึงพึงเห็นความสำคัญของความกรุณาให้ยิ่ง ปลูกฝังให้มั่นคงในจิตใจตน ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ว่าความเมตตากรุณามิได้ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นเท่านั้น แต่จะให้ประโยชน์แก่ตนด้วย และตนจะได้รับก่อนใครทั้งหมด
พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้าไม่เคยขาดสาย ไม่เคยว่างเว้น พระมหากรุณานำให้เสด็จออกทรงพระผนวช และเมื่อทรงพระผนวชแล้ว ก็ทรงยอมทุกข์ยากบากบั่นจนถึงที่สุดทุกวิถีทาง ทรงทำทุกอย่างแม้แทบจะทรงรักษาพระชนม์ชีพไว้ไม่ได้ เพียงด้วยทรงหวังว่าแต่ละวิธีนั้น อาจจะเป็นทางนำไปสู่ความพ้นทุกข์ของสัตว์โลก พระมหากรุณาบัญชาพระหฤทัยอยู่ทุกเวลา ให้ทรงพากเพียงทำทุกวิถีทาง ที่ทรงหวังว่าจะเป็นเหตุให้ทรงยังความไม่มีทุกข์ให้เกิดได้
พระผู้มีเมตตาท่วมท้นพระหฤทัย
พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า ปรากฏชัดเจนจนบังเกิดเป็นผลสำเร็จยิ่งใหญ่ เริ่มด้วยที่ทรงเห็น คือ ทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย ตามมาด้วยทรงคิดอันประกอบด้วยพระเมตตา คือ ทรงคิดถึงสัตว์โลกทั้งปวงที่มิได้ทอดพระเนตรเห็น
แต่ด้วยพระเมตตาทรงคิดถึงได้ ทรงคิดถึงได้ดังทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ทรมานนั้นจริง ดังมาปรากฏเบื้องพระพักตร์เช่นเดียวกับคนแก่ คนเจ็บ คนตาย ที่ได้ทอดพระเนตรนั้น ที่เกิดความคิดอันประกอบพร้อมด้วยพระเมตตา คือ พระมหากรุณาทรงปรารถนายิ่งนักที่จะช่วยเขาเหล่านั้น จะต้องทรงช่วยให้ได้ ทรงมุ่งมั่นเช่นนี้
ผู้มีปัญญา มีจิตใจละเอียดอ่อน เมื่อมาระลึกถึงพระพุทธองค์ตามความเห็นจริง เห็นถนัดชัดเจนยิ่งพระหฤทัยอันเต็มเปี่ยมด้วยพระมหากรุณา ย่อมปิติตื้นตันและภาคภูมิใจเป็นล้นพ้นที่ได้มารู้จักพระองค์ แม้เพียงจากพระพุทธประวัติ แม้เพียงจากพระธรรมคำสอน แม้ไม่มีวาสนาได้เห็นพระพักตร์ได้สดับพระสุรเสียง ทรงปลอบโยนอบรมให้ผู้มีชีวิตขื่นขมระทมทุกข์ได้ผ่อนคลาย ให้ได้เห็นแสงสว่างส่องทางระหว่างวนเวียนระหกระเหินอยู่ในสังสารวัฏ
ผู้ปรารถนามงคลแก่จิตใจ
พึงระลึกถึงพระเมตตาของพระพุทธองค์
การระลึกถึงพระพุทธองค์เช่นนี้ เป็นพุทธานุสติที่จักเป็นคุณสูงยิ่งแก่จิตใจ ความสุขพ้นคำพรรณนาใดจักเกิดมี จึงเป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกหรือผู่ปรารถนาความเป็นมงคลแก่จิตใจ พึงพยายามให้ได้เป็นสมบัติวิเศษแห่งตนทุกคน
พระเมตตาของพระพุทธองค์ สุดพรรณนาได้
อันภาษาสำหรับทุกคนไม่เหมือนกัน อย่างหนึ่งอาจเป็นความประทับใจอย่างลึกซึ้งสำหรับคนหนึ่งหรือหมู่คณะหนึ่ง แต่ไม่เป็นสำหรับอีกคนหนึ่งหรืออีกหมู่คณะหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่มุ่งในสิ่งเดียวกันและในความหมายเดียวกัน
ดังนั้นเมื่อนึกถึงพระพุทธองค์จึงคงต้องมีการนึกที่ไม่เหมือนกัน ใช้การบรรยายความรู้สึกนึกคิดที่ไม่เหมือนกัน
บางคนใช้ว่า...พระพุทธองค์สูงส่งนัก
บางคนใช้ว่า...พระพุทธองค์น่ารัก
บางคนใช้ว่า...พระพุทธองค์ดี ไม่มีใครเทียบได้
บางคนใช้ว่า...รักพระพุทธองค์ที่สุด
บางคนใช้ว่า...คิดถึงพระพุทธองค์ทุกลมหายใจเข้าออก
บางคนใช้ว่า...พระพุทธองค์ทรงฉลาดที่สุดในโลก ฉลาดกว่ามนุษย์และฉลาดกว่าเทวดาด้วย
บางคนใช้ว่า...จะหาใครรักเรารักโลกเท่าพระพุทธองค์ไม่มีแล้ว
คำพรรณนาความรู้สึกของมนุษย์นั้นมีมากมาย มากกว่าที่นำมายกเป็นตัวอย่างหลายเท่านัก ฉะนั้นไม่ควรคำนึงถึงคำที่ต่างคนต่างนำมาใช้ และโต้เถียงให้บาดหมางกัน เพียงให้เกิดความซาบซึ้งจับใจจริงเท่านั้นเป็นอันถูกต้อง เป็นอันยังประโยชน์ให้เกิดได้ ทั้งแก่ตนเอง และอาจจะแผ่ไกลไปถึงผู้ที่มีความเข้าใจในถ้อยคำที่นำมาใช้ตรงกัน พึงเห็นความสำคัญให้ถูกต้อง จึงจะไม่เป็นโทษ จึงจะสำเร็จประโยชน์ในการเทิดทูนพระพุทธศาสนา
พระเมตตากรุณาจักให้ผลจริง
ตราบเท่าที่ยังไม่พากันละเลยทอดทิ้งคำสอน
อันการระลึกถึงพระมหากรุณาของพระพุทธองค์นั้น ไม่ว่าจะหยิบยกเรื่องใดขึ้นมาก็ตาม แม้ใช้ความประณีตละเอียดอ่อนแห่งจิตใจในการคิดนึก ย่อมได้ความรู้สึกจริงใจ ว่าทุกเรื่องแสดงแจ้งชัดถึงพระมหากรุณา การทรงสละพระสถานภาพที่สูงสุด ลงสู่ความเป็นผู้ขอที่ยากแค้นแสนเข็ญ นี้ก็เป็นพระมหากรุณาที่ยิ่งคิดไปก็ยิ่งเป็นหนี้พระมหากรุณา ที่ยังพอจะหาความสุขกันได้บ้างในท่ามกลางความทุกข์ทั้งโลกนี้ ก็มิใช่เพราะอะไรอื่น เพราะพระมหากรุณาของพระพุทธองค์แท้ ๆ ที่ทรงมุ่งให้เกิดประโยชน์ให้ความเกื้อกูล และให้ความสุขแก่โลก จึงทรงมุ่งมั่นแสวงทางจนทรงพบและทรงแสดงไว้ ให้สัตว์โลกที่กรรมชั่วไม่หนักจนเกินไปพากันได้รับอยู่ ได้เป็นสุขแจ่มใสอยู่
พึงนึกไว้ให้เสมอในพระมหากรุณานี้ ที่เป็นจริง ให้ผลแล้วจริงและจะให้ผลจริงตลอดไป ตราบเท่าที่ยังไม่พากันละเลยทอดทิ้งคำสอนของพระพุทธองค์
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จออกจากเวียงวังใหม่ ๆ นั้น ยังทรงติดอยู่กับความพรั่งพร้อมงดงาม พระกระยาหารทีทรงขอได้ด้วยการออกรับบาตรนั้น มิได้เป็นอาหารที่ได้รับการตกแต่งมาอย่างประณีตในภาชนะงดงามเช่นที่ทรงเคยใน ปราสาทราชวัง แต่กลับเป็นอาหารที่ปนเปกันมาในภาชนะเดียว นึกภาพก็คงเข้าใจด้วยกันทุกคน ว่าเป็นสิ่งน่ารังเกียจเพียงไร สำหรับท่านผู้เคยอยู่ในเครื่องแวดล้อมสูงส่งที่สุดเช่นพระพุทธองค์
ทรงเสียสละตนเองเพียงชาวโลกทั้งมวล
ในพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อทอดพระเนตรเห็นลักษณะของอาหารที่ทรงเตรียมจะเสวย ประทับเปิดออกแล้ว ตั้งพระหฤทัยจะเสวยแล้ว แต่ก็เสวยไม่ได้ แม้จะให้ได้ความเข้าใจความรู้สึกของพระพุทธองค์ก็ให้ทดลองด้วยตนเองได้
ไม่ถึงกับต้องหาของจริงมาเตรียมรับประทานก็ได้ เพียงนึกภาพอะไรต่อมิอะไรที่ปนเปกันอยู่ในจานอาหาร พร้อมทั้งสี กลิ่น และรูปร่างของอาหารเหล่านั้นที่ทรงได้มาจากคนยากคนจนทั้งสิ้น ก็คงได้ความรู้สึกในอาหารนั้นเพียงพอจะทำให้เข้ถึงพระหฤทัยของพระพุทธองค์ น่าจะซาบซึ้งในพระมหากรุณาที่ทรงยอมเสียสละถึงเพียงนั้น เพื่อผู้ที่มิใช่พระญาติพระวงศ์ แต่เพื่อโลกเพื่อเราทั้งหลาย
ทรงมุ่งมั่นประทานความพ้นทุกข์แก่สัตว์โลก
เมื่อเสด็จอยู่ในเวียงวัง พระพุทธองค์ทรงพร้อมพรั่งด้วยความสุดวกสบาย ริ้นทั้งหลายมิได้ไต่ไรทั้งหลายมิได้ตอม ทรงอยู่ในความทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเพียงอยู่ในสวรรค์วิมาน แต่เมื่อทรงมุ่งมั่นจะประทานความพ้นทุกข์ให้แก่สัตว์โลกทั้งหลายก็ทรงย่อม ลำบากตรากตรำพระวรกายไม่ย่อท้อ เป็นไปเช่นที่เรียกว่า นอนกลายดินกินกลางทราบ ที่นอนหมองมุ่งมิได้มี
ผู้รับทราบเรื่องนี้เพียงผ่าน ๆ ไปย่อมไม่ได้รับความซาบซึ้ง ย่อมไม่เข้าถึงพระหฤทัยว่ายิ่งใหญ่นักหนา ควรแก่ความเทิดทูนบูชาเหนือผู้ใดอื่น ทรงเสียสละยิ่งใหญ่เพื่อให้เรามีความทุกข์น้อยลงได้ และไม่มีความทุกข์หลงเหลืออยู่อีกเลยก็ได้ ทรงทำสำเร็จแล้ว มีผู้โดยเสด็จพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงแล้วเป็นจำนวนไม่น้อย ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ สืบมาจนทุกวันนี้ที่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมยังมีอยู่ ได้เป็นผู้ไกลกิเลสน้อยบ้าง มากบ้าง จนถึงสิ้นเชิงบ้าง
นึกถึงพระมหากรุณาให้ลึกซึ้งเถิด อย่าปล่อยให้ผ่านไปอย่างหยาบ ๆ เลย จะน่าเสียดายความสูญเสียของตนเองนัก เพราะเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่เหลือเกิน
ความเสียสละอันทรงอานุภาพยิ่งใหญ่
แม้พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปเกือบสามพันปีแล้ว ความเสียสละอันสูงส่งของพระพุทธองค์ยังทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ ผู้ไม่มือบอดจนเกินไป ย่อมไม่ปฏิเสธคำสอนของพระพุทธองค์ ว่าเป็นธรรมสำคัญยิ่งสำหรับทุกชีวิต รับสั่งอย่างไรอย่างนั้นมีความสำคัญลุ่มลึกจริง เพียงแต่ว่าปัญญาของผู้ใดจะเจาะแทงเข้าไปลึกหรือตื้นเพียงใด เมื่อได้มาพบพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว จึงพึงตั้งใจอบรมปัญญาเพื่อให้สามารถเข้าใจได้ลึกซึ้ง จนถึงสามารถปฏิบัติได้ผลสูงขึ้นเป็นลำดับ ได้พ้นความทุกข์ที่มีเต็มไปทุกแห่งหนได้เป็นลำดับ จนถึงไม่ต้องพบทุกข์อีกเลย
ผู้ที่ช่วยตนเองได้นั้น ย่อมช่วยผู้อื่นไปพร้อมด้วย
การพยายามช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ ด้วยการปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ทรงสอน นับได้ว่าเป็นการกรุณาตนเอง และเป็นการกรุณาผู้อื่นอีกด้วย
พระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาต่อสัตว์โลก จึงได้ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้มีกรุณาต่อตนเอง ต้องพากเพียงพยายามปฏิบัติตามที่ทรงสอนให้จริงจัง จึงจะประสบความสำเร็จ ช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ได้
ผู้ที่ช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ได้นั้น ย่อมสามารถช่วยผู้อื่นไปพร้อมกันด้วย ให้ผู้อื่นได้พลอยมีส่วนแห่งความร่มเย็นเป็นสุขด้วย เพราะผู้ไม่มีทุกข์เพียงไร คือ ผู้ไกลจากกิเลสเพียงนั้น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไกลจากใจเพียงนั้น
อันผู้มีความโลภ ความโกรธ ความหลงบางเบา คือ ผู้ให้โทษผู้อื่นบางเบาด้วย นั่นก็คือ ไม่มีความร้อนของกิเลสแผดเผาจิตใจตนเองให้ร้อน ความร้อนนั้นเข้าใกล้ผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นร้อนแน่ ไม่ร้อนแต่เพียงตัวเองเท่านั้น
ผู้นำทางสัตว์โลกให้พ้นจากความร้อนของกิเลส
พระพุทธองค์ก่อนแต่จะทรงเป็นผู้ไกลความร้อนของกิเลสแล้วอย่างสิ้นเชิง ได้ทรงพยายามทุกวิถีทาง เพื่อนำพระองค์เองให้ไกลจากความร้อน เมื่อทรงบรรลุจุดมุ่งหมายอันสูงสุดแล้ว ด้วยพระมหากรุณาที่ตั้งไว้แต่ต้น จึงทรงเริ่มแสดงทางที่ทรงพระดำเนินผ่านแล้วนั้น เพื่อให้สัตว์โลกทั้งหลายได้ดำเนินตาม ได้ไกลพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองของใจ เครื่องนำความทุกข์ความร้อนให้เกิดทุกเวลาไปไม่หยุดยั้ง
ทางที่ทรงแสดงเพื่อความพ้นทุกข์ เป็นทางที่เดินยากนักสำหรับคนทั้งหลาย แม้พระพุทธองค์กว่าจะทรงค้นพบได้ก็ทรงลำบากนักหนา ทรงทราบอยู่ว่าจะต้องทรงลำบากเหนื่อยยากต่อไปอีกเป็นอันมาก หาจะทรงนำธรรมที่ทรงตรัสรู้ออกอบรมสั่งสอนอันพระองค์เองนั้นไม่ว่าจะทรงสอน หรือไม่สอน ก็พ้นแล้วแน่นอน จากความทุกข์ความร้อนของความต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปไม่จบสิ้น
แต่แม้จะทรงประจักษ์พระหฤทัยดีถึงความเหนื่อยยากยิ่งนักที่จะทรงแสดงสอน แต่พระมหากรุณาท่วมท้นก็ทำให้ทรงพร้อมที่จะทรงเหนื่อยยาก ผู้เป็นมารดาบิดา แม้ปรารถนาจะให้เข้าถึงพระหฤทัยเพียงสมควร ก็พึงนึกถึงความเหนื่อยยากทั้งกายใจของตนเอง ที่ต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนบุตรธิดาผู้เป็นที่รักดัง ชีวิต
ความกรุณาของผู้เป็นมารดาบิดาต่อบุตรธิดานั้น คนทั้งหลายไม่เข้าใจชัดแจ้ง นอกจากจะพยายามเข้าใจให้เต็มที่ พระมหากรุณาของพระพุทธองค์ต่อสัตว์โลกทั้งปวงก็เช่นกัน ยากที่คนทั้งนั้นจะเข้าใจได้ เพราะมหัศจรรย์ยิ่งใหญ่นัก ผู้มีปัญญาจึงรักที่จะใคร่ครวญมิได้ว่างเว้น จนเป็นที่ประจักษ์ซาบซึ้งถึงในพระมหากรุณา
พระเมตตา พระกรุณมิได้ว่างเว้น
แม้วาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพของพระองค์
พระพุทธองค์ทรงยิ่งด้วยพระมหากรุณาจริง ตลอดพระชนมชีพ พระมหากรุณาปรากฏมิได้ว่างเว้น ที่เป็นพระมหากรุณาครั้งสุดท้ายก่อนแต่จะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น ทรงแสดงต่อนายจุนทะผู้ถวายอาหารอันเป็นพิษ ซึ่งแน่นอนนายจุนทะหาได้รู้ไม่ แต่พระพุทธองค์ทรงทราบ เมื่อทรงรับประเคนและทรงตักสุกรมัททวะอาหารจานนั้นแล้ว ทรงสั่งนายจุนทะมิได้ประเคนพระรูปอื่นต่อไป ให้นำไปฝังเสีย ทรงลงพระโลหิตเพราะเสวยอาหารนั้น และเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ขณะเสด็จพุทธดำเนินต่อไปไม่ไหวแล้ว ทรงนึกถึงนายจุนทะว่าจะต้องเศร้าเสียใจยิ่งนัก เมื่อได้ทราบว่าพระพุทธองค์เสวยอาหารเป็นพิษของเขาก่อนนิพพาน ผู้คนทั้งหลายที่ทราบก็จะพากันกล่าวโทษนายจุนทะ พระมหากรุณาทำให้ไม่ทรงนิ่งนอนพระหฤทัยได้ รับสั่งบอกพระอานนท์ให้ไปปลอบนายจุนทะไม่ให้เสียใจ โดยรับสั่งว่าผู้ถวายอาหารมื้อสุดท้าย ได้กุศลเสมอกับผู้ถวายอาหารมื้อก่อนที่จะทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ญาณ เรื่องนี้อย่าสักแต่เพียงว่ารับรู้แล้วปล่อยให้ผ่านหูผ่านใจเฉย ๆ แต่ควรคิดให้เกิดคุณแก่จิตใจ
ผู้รำลึกถึงพระเมตตากรุณาของพระพุทธองค์
ย่อมได้รับความรู้สึกอันเป็นคุณยิ่งนั้นด้วยตนเอง
การคิดถึงคุณงามความดีของใดก็ตาม เป็นคุณแก่จิตใจผู้คิดอยู่แล้ว แต่การคิดถึงพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า ยิ่งเป็นคุณแก่ผู้คิดอย่างประมาณมิได้ ผู้ซาบซึ้งอยู่ในพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า ย่อมได้รับความรู้สึกอันเป็นคุณยิ่งนั้นด้วยตนเอง ความดีนานาประการจักเกิดแก่ตนได้ด้วยอานุภาพแห่งความซาบซึ้งในพระมหากรุณา คุณ ผู้ยังไม่ได้รับด้วยตนเอง ถึงพยายามเป็นผู้รับให้ได้ การจะทบทวนคิดให้ตระหนักชัดในพระมหากรุณาของพระพุทธองค์ มิใช่สิ่งสุดวิสัย และก็ไม่ยากนัก ไม่ถึงกับจนจะน่าท้อแท้ และแม้เริ่มใส่ใจให้จริงจังในเรื่องนี้ ก็จะได้รับความชื่นใจอบอุ่นใจเป็นลำดับ ที่เป็นผู้มีบุญได้มาพบพระพุทธศาสนา ได้มาพบพระพุทธเจ้า
2. รสแห่งความเมตตาชุ่มเย็นยิ่งนำ
พุทธศาสนิก พึงอบรมเมตตาให้ยิ่ง
พุทธศาสนิกผู้นับถือพระพุทธศาสนา แม้ไม่สนใจที่จะอบรมเมตตาให้อย่างยิ่ง ก็เหมือนไม่สนใจในความสงบเย็นเป็นสุขของตนเอง ไม่สนใจที่จะปฏิบัติตนเป็นผู้มีปัญญา ทั้ง ๆ ที่ย่อมรู้ว่าผู้มีปัญญานั้น เป็นที่ยกย่องสรรเสริญทุกที่ทุกกาลเวลา
การอบรมเมตตาต้องใช้ความคิดเป็นกำลังสำคัญ คิดให้ใจอ่อนละมุนเพียงไรก็ทำได้ เช่นเดียวกับคิดให้ใจเร่าร้อนราวกับน้ำเดือดก็ทำได้ นั่นก็คือคิดให้เมตตาก็ได้ คิดให้โกรธแค้นเกลียดชังก็ได้ ท่านจึงสอนให้ระวังความคิด ให้ใช้ความคิด ให้ถูกให้ชอบ ให้มีเมตตายิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น
อุบายในการใช้ความคิดเพื่ออบรมเมตตา
หลาย ๆ คน ใช้วิธีหลาย ๆ วิธี ในการอบรมเมตตา เช่น ครูอาจารย์บางคน เมื่อมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย จะทำความรู้สึกต่อลูกศิษย์เหล่านั้นเหมือนที่เป็นความรู้สึกต่อบุตรธิดาของ ตน เมื่อแรกเริ่มเป็นครูอาจารย์ใหม่ ๆ เริ่มอบรมความคิดนี้ใหม่ ๆ ก็ย่อมไม่เป็นจริงจังเท่าไรนัก บุตรธิดาของตนก็ยังไม่เหมือนนักเรียนลูกศิษย์ นักเรียนก็ยังเป็นนักเรียน ลูกก็ยังเป็นลูก ที่มีความพิเศษแตกต่างกัน ความรักความห่วงใย ความเอื้ออาทรสอนสั่งไม่เสมอกัน
แต่ครั้นเป็นครูอาจารย์นานปีเข้า และไม่เปลี่ยนใจที่จะมองลูกศิษย์ให้เหมือนเป็นลูกตน ความรู้สึกก็มีความกลมกลืนลึกซึ้งขึ้นเป็นลำดับ จนใกล้จะเห็นลูกศิษย์เป็นลูกตนได้จริง ๆ ความรู้สึกนั้นแน่นอน เป็นความเมตตา เพราะความรู้สึกของมารดาบิดดาต่อบุตรธิดาไม่ใช่อะไรอื่น แต่เป็นเมตตาอันบริสุทธิ์แท้จริง เมตตาที่มีต่อเฉพาะบุตรธิดาตน ย่อมคับแคบกว่าเมตตาที่แผ่ครอบคลุมไปถึงบุตรธิดาผู้อื่น หรือลูกศิษย์ลูกหาของตนนั่นเอง การอบรมเมตตาจึงทำด้วยวิธีพยายามคิดดังกล่าวได้
ครูอาจารย์...อบรมเมตตาได้ด้วยการพยายามคิดว่า ลูกศิษย์ทุกคน คือ บุตรธิดาที่รักของตน
นักเรียน...ก็อบรมเมตตาได้ด้วยการพยายามคิดว่าครูอาจารย์คือมารดาบิดาที่มีความรัก ความห่วงใยตน หวังดีต่อตนอย่างจริงใจ
การอบรมเมตตาก็เช่นเดียวกับการทำอะไร ๆ หลายอย่าง จะให้บังเกิดผลก็จะต้องทำเสมอ ทำติดต่อกันเป็นนิตย์ แล้วก็จะบังเกิดผลจริง
เมตตาที่บริสุทธิ์ แท้จริง นำชัยชนะมาสู่ตนได้
เด็กหญิงน่ารักอายุ 2 ขวบคนหนึ่ง อบรมเมตตาให้เพื่อนรุ่นราวคราวกัน และควรจะเป็นการอบรมจิตใจผู้ใหญ่ที่ได้รู้ได้ยินด้วย คือ วันหนึ่งเมื่อเพื่อนตัวน้อย ๆ เท่ากัน จะบี้มดที่กำลังเดินอยู่กับพื้น เด็กหญิงห้ามทันที มีเหตุผลจากใจจริง ที่จับใจผู้ใหญ่ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง “อย่าทำ! เดี๋ยวแม่มดกลับมาไม่เห็นลูกมด”
แม้ใครทั้งหลายที่กำลังคิดจะทำลายชีวิตสัตว์น้อยสัตว์ใหญ่ หรือกระทั่งชีวิตมนุษย์ ก็น่าจะนำเสียงห้ามของเด็กหญิงน้อย ๆ ดังกล่าว มาเตือนตนเองบ้าง “อย่าทำ! เดี๋ยวแม่ปลาหาลูกปลาไม่พบ” หรือ “อย่าทำ! เดี๋ยวลูกยุงร้องไห้ คิดถึงแม่ยุง” หรือ “อย่าทำ! เดี๋ยวลูกนกไม่มีแม่นก” หรือ อย่าทำ! เดี๋ยวไม่มีใครเลี้ยงลูกเขา” เตือนตนเองด้วยจริงใจ ให้รู้สึกจริงจังดังที่คิด หรือที่เปล่งวาจา ก็ย่อมเป็นการอบรมเมตตาอีกวิธีหนึ่งที่ง่ายและน่าทำเสมอ ๆ
เมตตานั้นไม่จำเป็นที่ผู้ใหญ่จะเป็นฝ่ายสอนเด็กเสมอไป แม้เด็กก็สอนผู้ใหญ่ได้ ทั้ง ๆ ที่เด็กไม่ได้รู้ว่ากำลังเป็นผู้สอน และเด็กก็ไม่รู้ว่าความคิดของตนเกิดแต่เมตตาที่บริสุทธิ์แท้จริง
เมื่อมีใจพร้อม ก็ยอมรับคำเตือนใจให้เมตตาได้
สำหรับผู้ใหญ่ที่ใจพร้อมจะรับคำเตือนใจให้เมตตา ย่อมรับแม้เป็นคำเตือนของเด็กปฏิบัติให้เกิดผลทันที เช่น รายที่เคยเล่าว่าครั้งหนึ่งชอบยินนกตกปลามาก เดี๋ยวนี้เลิกแล้ว เลิกตั้งแต่วันหนึ่งถือปืนไปเที่ยวยิงนกกับลูกชายน้อย ๆ พอยิงนกตกลงตัวหนึ่ง ก็สั่งให้ลูกชายไปเก็บ คิดว่าลูกชายคงจะตื่นเต้นดีใจตามประสาเด็ก ที่เห็นนกซึ่งกำลังบินอยู่กลางอากาศร่วงลงดิน แต่ลูกชายกลับมีสีหน้าพิศวงสงสัย และถามเขาซื่อ ๆ ว่า “นกตัวนี้มันทำอะไรพ่อหรือ พ่อจึงยินมัน”
คำถามที่ซื่อแสนซื่อของเด็กชายเล็ก ๆ ที่ถือร่างไร้ชีวิตของตนอยู่ในมือ ทำให้ตั้งแต่วันนั้นมาเขาไม่เคยยิงนกตกปลาอีกเลย นกปลาเหล่านั้นมันทำอะไรให้ นี่คือคำถามที่จะนำไปสู่ความเมตตาได้แน่นอน
ใจที่เมตตาเป็นนิตย์ มีผลงดงามแก่จิตใจอย่างยิ่ง
เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงทำลายชีวิตเสียมากมาย คงไม่มีใครที่ได้รู้ได้เห็นจะไม่สลดสังเวช ความรู้สึกนั้นคือ เมตตา และกรุณากันเกิดพร้อมกันขณะนั้น ทุกคนปรารถนาจะช่วย เพื่อให้ผู้ประสบเคราะห์กรรมเหล่านั้น ให้พ้นจากความทุกข์ทรมานความรู้สึกนั้น ในขณะนั้น น่าจะเป็นความรู้สึกที่งดงามอย่างยิ่ง จากใจจริงอย่างยิ่ง เป็นเมตตาที่แท้จริงอย่างยิ่ง เป็นความรู้สึกที่แม้เกิดขึ้นในจิตใจของทุกคนต่อเพื่อนร่วมทุกข์ทั้งหลาย ให้สม่ำเสมอเป็นนิตย์ จักเป็นการอบรมใจให้มีเมตตา ที่มีผลงดงามแก่จิตใจตน
ภัยอันน่าสะพรึงกลัวอาจเกิดได้ทุกเมื่อ แก่ผู้ใดชีวิตใดก็ได้ แก่เราแก่เขาก็เช่นกัน ทุกชีวิตจึงควรได้รับความรู้สึกสลดสังเวชจากทุกคน ทุกเวลา ไม่ใช่เมื่อเกิดเหตุน่าสยดสยองขึ้นแล้ว จึงจะสงสาร จึงจะสลดสังเวช อย่างนั้นช้าเกินไป
ความเย็นแห่งความเมตตา ดับความร้อนของโลกได้
ทุกชีวิต ทุกเวลา ตกอยู่ในสภาพที่ควรได้รับเมตตา จึงควรพากันเมตตาให้กว้างขวาง ให้ทุกเวลานาที จะเป็นการถูกต้อง เป็นการอบรมเมตตา เพื่อให้ตนเองนั่นแหละเป็นสุข ก่อนใครทั้งหมด
เมื่อเกิดแล้ว ทุกชีวิตมีทุกข์ติดมาพร้อมแล้ว น่าสงสารทุกชีวิตเราก็น่าสงสาร เขาก็น่าสงสาร น่าสงสารทุกเวลานาที พึงนึกถึงความจริงนี้ และมีเมตตาต่อทุกชีวิต ทุกเวลาเถิด ความร้อนจะคลายได้ด้วยอำนาจของความเย็นแห่งเมตตา ทั้งความร้อนของเขา ความร้อนของเรา และความร้อนของโลก
ความจริงที่ทุกชีวิตไม่ควรประมาท
ไม่ใช่เป็นการสอนให้หัดคิดในแง่ร้าย ที่กล่าวว่าทุกชีวิตตกอยู่ในอันตรายที่น่าสยดสยองทุกเวลานาที อะไรจะเกิดแก่ใครก็ได้ เมื่อใดก็ได้ ร้ายแรงเพียงใดก็ได้ แต่เป็นการบอกความจริงที่ควรไม่ประมาท
เหตุการณ์ร้ายแรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น น่าสยดสยองนักหนานั้น ก็หาได้รู้กันล่วงหน้าไม่ว่าจะเกิดเมื่อนั้นเมื่อนี้ เกิดที่นั่นที่นี่ เกิดกับคนนั้นคนนี้ เมื่อเห็นเช่นนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า ก็น่าจะเชื่อได้ว่าทุกชีวิตอยู่ในอันตรายที่น่าสะพรึงกลัวที่สุด เมตตากันไว้ทุกเวลาก็น่าจะถูกต้อง เป็นการอบรมเมตตาที่งดงามนัก เป็นคุณนักแก่ตนเอง และแก่โลก
ผู้ที่นั่งไปในรถ โดยเฉพาะที่ผู้ขับเร็วมาก ๆ เคยเล่าว่าหัวใจจะหยุดเพราะความกลัว ขณะเดียวกันใจก็คอยแต่คิดว่าคงไม่รอดแน่ ๆ แหลกแน่ ๆ พังแน่ ๆ นั่นก็แสดงความรู้สึกที่เป็นธรรมะ ไม่ประมาทว่าชีวิตจะเที่ยง เมื่อมีความหวาดกลัวขณะนั่งอยู่ในรถดังกล่าว จะเป็นความไม่ถูกต้องถ้าเพียงแต่กลัว แล้วก็ใจหายใจคว่ำไม่เป็นสุข ทั้งบางทียังจะคิดไม่ดีต่าง ๆ นานา ต่อผู้ขับอีกด้วย
ที่ถูกนั้น เมื่อนึกถึงความไม่เที่ยงของชีวิต เห็นความน่ากลัวอย่างยิ่ง และกลัวนักหนา ก็อย่าหยุดเพียงนั้น ให้นึกถึงชีวิตอื่น ๆ ทั้งหลาย ทุกชีวิตกลัวตายด้วยกันทั้งนั้น การไม่เบียดเบียนกันมีเมตตาต่อกันจึงสมควรที่สุด
ไม่ว่าเราหรือเขา ต่างก็ล้วนต้องการความเมตตา
เมื่อเกิดความกลัวอันตรายนักหนา เป็นต้นขณะนั่งรถที่คนขับแบบไม่รู้จักความตาย เราก็อยากขอให้เขาเห็นใจเรา ที่เรากลัวอย่าขับรถให้น่ากลัวถึงเพียงนั้น ถ้าคนขับยังใจดี ฟังเสียงขอร้องของเราบ้าง เราก็จะสบายใจขึ้น ถ้าเป็นคนขับรถที่ไม่ยอมฟังเสียงเราเลย ไม่เห็นใจเลยว่าเรากลัว เราก็จะต้องแทบหัวใจหยุดเต้นต่อไปนาน
ผู้ตกอยู่ในความทุกข์ ทุกคนต้องการผู้เห็นใจ ต้องการผู้เมตตาเช่นเดียวกับที่ผู้นั่งรถเร็ว ๆ ต้องการให้คนขับรู้จักคิดถึงใจบ้าง เห็นใจบ้าง ที่ต้องทุกข์ทรมานใจเพราะความกลัวนั้นนักหนาไม่ปรารถนาให้เป็นเช่นนั้นต่อไป
ทุกคนต้องการความเมตตาทั้งนั้น เราก็ต้องการ เขาก็ต้องการ เราจึงไม่ควรจะเป็นผู้รับฝ่ายเดียว ควรเป็นผู้ให้ด้วย และควรให้อย่างเสมอ คือ มีเมตตาให้เสมอ ให้ไม่มีขอบเขต
โลกเย็นเพราะเมตตายิ่ง
โลกเย็นเพราะเมตตายิ่ง โลกร้อนเพราะเมตตาหย่อน นี้เป็นความจริงที่ควรยอมรับ และควรแก้ไข
อันการแก้นั้นก็ไม่ต้องไปแก้ผู้อื่น ต้องแก้ที่ตัวเอง แก้ตัวเองให้ยิ่งด้วยเมตตา หรือให้เมตตายิ่งขึ้นนั่นเอง
เมื่อลูกหลานออกมาเห็นโลกเป็นครั้งแรก สิ่งที่มารดาบิดาปู่ย่าตายายควรนึกถึงนั้น คือ ความน่าสงสารอย่างยิ่งของทารกน้อย ชีวิตแห่งความทุกข์ของเขาเริ่มจริงแล้ว
ทุกชีวิตจริง ๆ ไม่ว่าเด็กคนไหน ไม่ว่าลูกใครหลานใคร เมื่อมาสู่โลกเมื่อไร เข้าสู่เงื้อมมือของความทุกข์เมื่อนั้น เช่นนี้แล้วจะไม่น่าเมตตาได้อย่าไร
เมื่อมีเมตตาต่อผู้ใดอย่างจริงใจ ก็แน่นอนที่จะต้องคิดพูดทำทุกอย่างตามกำลังความสามารถ เพื่อช่วยให้สบายใจ ช่วยให้สบายกาย ช่วยให้หายร้อน ช่วยให้หายทุกข์
มีเมตตาที่จริงใจเพียงอย่างเดียว จะเป็นเหตุให้เกิดผลงานมากมาย เป็นคุณทั้งแก่ผู้รับและผู้ให้
ทุกคนสนิทใจ ยินดี อบอุ่น ที่จะได้เข้าใกล้สนทนาวิสาสะกับผู้ที่มีเมตตา แต่ทุกคนจะไม่สบายใจนัก แม้จะต้องอยู่ร่วมสมาคมกับผู้ไม่เมตตา
เมตตาเป็นความสำคัญแก่ทุกจิตใจ
นึกถึงใจตนเอง แล้วก็นึกถึงใจคนอื่น จะไม่แตกต่างกันในเรื่องนี้ แม้ว่าจะแตกต่างกันในเรื่องอื่น นั่นก็คือเครื่องรับรองว่าเมตตาเป็นความสำคัญแก่ทุกจิตใจ ผู้ไม่เมตตายังชอบผู้มีเมตตา ดังนั้นเพื่อทำตนให้เป็นที่ชื่นชอบของใครทั้งหลาย ก็พึงอบรมเมตตาให้อย่างยิ่ง
ผู้มีเมตตา...สัตว์ก็รู้ พึงสังเกตได้เวลาผู้มีเมตตาไปที่ไหน หมาแมวก็จะไม่เป็นศัตรู ไม่ขู่ ไม่กัด แม้ว่าจะไม่เคยพบเห็นมาก่อน สัตว์ก็ตาม เด็กไร้เดียงสาก็ตาม เป็นที่ยอมรับว่ามีใจสะอาด ไม่มีอคติย้อมความรู้สึกให้ผิดไปจากความจริง
ความไม่มีเมตตา เป็นภัยอย่างยิ่งต่อตนเอง
ผู้มีเมตตาต่อสัตว์...สัตว์รู้ สัตว์จะไม่ระแวงภัย ผู้ไม่มีเมตตาต่อสัตว์...สัตว์ก็รู้ สัตว์ก็จะระแวงภัย
ภัยจากสัตว์นั้นอาจจะไม่น่าต้องเกรง ภัยจากหมาแมวเป็นภัยเล็กน้อยนัก แต่ภัยจากความไม่มีเมตตาของตนเองนั้น เป็นภัยที่ยิ่งใหญ่ต่อตนเอง ยิ่งกว่าต่อผู้อื่น สัตว์อื่น เพียงแต่ไม่เห็นกันให้ถูกตามความจริงเท่านั้น
รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก
ใจที่แล้งเมตตา น่าจะเปรียบได้ดังทะเลาทราย ไม่มีความชุ่มชื่นให้แก่สายตาหรือจิตใจผู้ใดเลย
ผู้ไม่เคยรู้รสของเมตตาในใจตน ก็ไม่แตกต่างกับทะเลทรายที่ไม่รู้สึกในความแห้งแล้งร้อนระอุ เป็นที่รังเกียจหวั่นเกรงของผู้คนทั้งหลายสัตว์ทั้งปวง
ถ้าไม่เคยรู้รสของเมตตามาก่อน ว่าให้ความชุ่มชื่นแก่จิตใจเพียงไร ก็พึงลองให้จริงจัง ก่อนอื่นก็ลองนึกเมตตาที่เคยได้รับจากผู้อื่น แม้สักครั้งเดียว ในยามที่ปรารถนาความช่วยเหลือจากใครสักคนเป็นที่สุด ยิ่งเป็นในยามคับขันมากเพียงใด จะยิ่งเห็นความชุ่มชื่นของเมตตาที่ได้รับจากผู้เข้ามาช่วยเหลือเมตตาให้พ้น ความคับขันเพียงนั้น
สำหรับผู้ที่ปรารถนาจะสัมผัสรสของความเมตตา ก็อาจจะเริ่มได้ด้วยการย้อนนึกถึงความชื่นใจ โล่งใจ ที่เคยรู้สึกแทนผู้มีมือแห่งเมตตามาช่วยให้พ้นความคับขันแต่ละครั้ง แต่ละเรื่อง เช่น กรณีผู้ถูกตึกถล่มทับที่รอดได้ เป็นต้น
เมตตาที่แท้ มีคุณกว้างขวางนัก หาขอบเขตมิได้
เมตตามิได้มีคุณแก่ผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ นอกจากว่าจะมิได้เป็นเมตตาที่แท้ คือ นอกจากจะเป็นความรักความลำเอียง เพื่อผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของตนเท่านั้น
เมตตามีคุณกว้างขวางนัก หาขอบเขตมิได้ ทุกคนมีสิทธิจะแผ่เมตตาให้ทุกคนทุกชีวิตได้ และทุกคนมีสิทธิรับเมตตาจากทุกคนได้
เมตตาที่แท้จริง ไม่มีขอบเขต คือ ไม่เลือกผู้รับ ไม่เลือกของเราขอบเขา ไม่เลือกชาติ ศาสนา และไม่เลือกมิตรศัตรู อย่างไรก็ตาม เมตตาในใจเท่านั้นที่ไม่มีขอบเขตได้
ความเมตตาไม่แท้ ทำให้เกิดโทษได้
การแสดงออกต้องอยู่ในขอบเขต ความถูกต้อง ความเหมาะ ความควร จึงจะเป็นเมตตาแท้ เพราะจะไม่เกิดโทษ ถ้าการแสดงเมตตาไม่อยู่ในขอบเขตความถูกต้อง จะเป็นเมตตาไม่แท้ จะเกิดโทษได้ ทั้งแก่ผู้รับและผู้ให้
มารดาบิดาที่รักลูกตนไม่กล้าขัดใจเมื่อลูกจะทำผิด หรือไม่กล้าดุว่าทำโทษเมื่อลูกทำผิด เช่นนี้ไม่ใช่มีเมตตาต่อลูก แม้จะไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นความไม่เมตตา แต่เมื่อคิดให้ลึกลงไปแล้ว ผู้ใดก็ตาม ไม่ช่วยชี้ให้ผู้ผิดรู้ตัว ทั้งยังส่งเสริมด้วยการชื่นชมทั้งรูว่าผิด เช่นนั้นเป็นการแสดงความไม่เมตตา
ผู้มีกัลยาฯมิตร คือ มีมิตรดี หมายความว่ามีมิตรที่ไม่ตามใจให้ทำความผิดร้ายความไม่ดีต่าง ๆ มีมิตรคอยตักเตือนเมื่อทำผิดทำมิชอบ มีมิตรที่มีปัญญาสามารถช่วยแก้ไขป้องกันให้คิดผิดพูดผิด ผู้ใดทำตัวเป็นกัลยาณมิตรของใคร ๆ ได้ ผู้นั้นคือ ผู้ให้เมตตาต่อใคร ๆ นั้น
คุณของเมตตา คือ ความเย็น
คุณของเมตตา คือ ความเย็น เมตตามีที่ใด ความเย็นมีที่นั้น ผู้มีเมตตาเป็นผู้มีความเย็นสำหรับเผื่อแผ่ และผู้ยอมรับเมตตาก็จักได้รับความเย็นไว้ด้วย
ผู้มีเมตตาหรือผู้ให้เมตตาเป็นผู้เย็น เพราะไม่มุ่งร้ายผู้ใด มุ่งแต่ดี มีแต่ปรารถนาให้เป็นสุข เมื่อความไม่มุ่งร้ายมีอยู่ ความไม่ร้อนก็ย่อมมีอยู่เป็นธรรมดา
ความปรารถนาด้วยจริงใจให้ผู้อื่นเป็นสุข ก็เท่ากับปรารถนาให้ตัวเองเป็นสุข จะให้ผลเป็นคุณแก่ตนเองก่อน เช่นเดียวกับการมุ่งร้ายต่อผู้อื่น ก็จะให้ผลเป็นโทษแก่ตนเองก่อน จึงควรมีสติรู้ตัวว่า มีความมุ่งร้ายหรือปรารถนาดีให้ผู้อื่นมีสุขอย่างไร
ถ้ารู้สึกว่ามีความไม่ปรารถนาดีเกิดขึ้นในใจ ก็ให้พยายามทำความรู้ตัวว่า ความร้อนรนในใจขณะนั้นหาได้เกิดจากผู้อื่นไม่ แต่เกิดจากใจตนเอง และให้พยายามเชื่อว่า แม้ทำความรู้สึกไม่ปรารถนาดีให้ลดน้อยลงได้...ก็จะทำความร้อนภายในใจลดน้อย ลงได้ด้วย ทำความปรารถนาไม่ดีหมดสิ้นได้...ก็จะทำความร้อนใจที่เกิดแต่เหตุนี้ให้หมด สิ้นได้ด้วย ความปรารถนาไม่ดีจึงเป็นโทษแก่ตนเองก่อนแก่ผู้อื่น
เมตตาเป็นเครื่องทำลายความมุ่งร้าย
เมตตาเป็นเครื่องทำลายความมุ่งร้ายหรือความพยาบาทได้อย่างแน่นอน เมตตาจึงเป็นเหตุแห่งความสุขที่เห็นได้ชัด เป็นเหตุที่ควรสร้างให้มีขึ้น เพื่อทำความทุกข์ให้ลดน้อยถึงหมดสิ้นไป
การพยายามมองคนในแง่ดี ในแง่ที่น่าเห็นอกเห็นใจ พยายามหาเหตุผลมาลบล้างความผิดพลาดบกพร่องของคนทั้งหลาย และการพยายามคิดว่าคนทุกคนเหมือนกัน เป็นธาตุดินน้ำไฟลมอากาศด้วยกัน ไม่ควรจะถือเราเป็นเขา และเมื่อไม่ถือเป็นเราเป็นเขาแล้ว ก็ย่อมไม่มีการมุ่งร้ายต่อกันเป็นธรรมดา ความปรารถนาดีต่อกันย่อมมีได้ง่าย และนั่นแหละเป็นทางนำมาซึ่งความลดน้อยของความทุกข์
การพยายามคิดให้เห็นความน่าสงสาร น่าเห็นใจของทุกชีวิตที่ต้องประสบพบผ่านทุกวันเวลา คือ การอบรมเมตตา ไม่ว่าใครจะเป็นอย่างไรก็ตาม เรารู้ไม่รู้อย่างไรก็ตาม เมื่อใครนั้นผ่านเข้ามาในสายตาของเรา ให้ปรุงคิดเอาเอง ว่าเขาอาจจะกำลังมีทุกข์แสนสาหัส แม่พ่อลูกหลานอาจจะกำลังเจ็บหนัก เขาอาจจะกำลังขาดแคลนเงินจนไม่มีจะซื้อข้าวปลาอาหาร เขาอาจจะอย่างนั้นอาจจะอย่างนี้ ที่น่าสงสารน่าเห็นใจทั้งนั้น คิดเอาเองให้จริงจังจนสงสารเขา จนอยากจะช่วยเขา จะสลดสังเวชเห็นความเกิดเป็นความทุกข์ พยายามคิดเอาเองเช่นนี้ทุกวันทุกเวลา แล้วเมตตาจะซาบซึ้งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับใจยิ่งขึ้นเป็นลำดับ
เมตตามากขึ้นเพียงไร ใจจะอ่อนละมุนเพียงนั้น
เมตตามากขึ้นเพียงไร ใจจะอ่อนละมุนจนตัวเองรู้สึกได้เพียงนั้นของแข็งกระด้างมือเมื่อสัมผัสถูก ต้อง กับของอ่อนนุ่มละมุนมือให้ความรู้สึกที่ประณีตนุ่มนวลแตกต่างกันเพียงไร ความแตกต่างของใจที่อบรมเมตตาแล้ว กับใจที่ยังไม่เคยอบรมเมตตาเลย นั้นยิ่งกว่าอย่างประมาณมิได้
เครื่องน้อมนำความรักจากผู้อื่น
ไม่มีผู้ใดปรารถนาจะให้ตนเป็นที่รังเกียจเกลียดชังของใคร ๆ ทั้งนั้น ควรจะกล่าวไม่ผิดว่า ทุกคนไม่มียกเว้นล้วนยินดีจะได้รู้สึกว่าตนเป็นที่รัก แต่อาจไม่ค่อยได้คิดนักว่า เครื่องน้อมนำมาซึ่งความรักความจริงใจจากผู้อื่นทั้งหลายนั้น คือ เมตตามาก ๆ จริง ๆ จากใจตนเอง
เหตุสำคัญที่สุดที่จะอบรมเมตตาได้สำเร็จ คือ ต้องเชื่อด้วยจริงใจเสียก่อนว่า เมตตามีผลวิเศษสุด พระพุทธศาสนาที่ประเสริฐเลิศล้ำไม่มีเสมอเหมือน ก็เกิดขึ้นได้ด้วยมีเมตตาเป็นพื้นฐาน มีปัญญาเป็นยอด คือ เกิดด้วยพระเมตตา และพระปัญญาของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ปัญญาจำเป็นอย่างยิ่งต่อการอบรมเมตตา
สำหรับบางคน ที่เทิดทูนบูชาสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นชีวิตจิตใจ แม้จะมีสติปัญญาเพียงน้อยนิดไม่อาจดำเนินไปตามทางที่ทรงแสดงประทานไว้ให้ บรรลุถึงจุดหมายปลายทางได้ แต่ก็มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา
ในกรณีเช่นนี้การอบรมปัญญาย่อมพากเพียรทำ เมื่อระลึกอยู่ถึงความจริงที่ว่าสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นทรง มีเมตตาหาผู้เสมอเหมือนไม่ได้
ผู้เป็นพุทธศาสนิก แม้ไม่พยายามดำเนินรอยพระพุทธบาทในเรื่องนี้ ในทางแห่งเมตตานี้ หาสมควรเป็นศิษย์ของพระองค์ท่านไม่
การอบรมเมตตา...ไม่พ้นวิสัย หากตั้งใจจริง
ผู้เทิดทูนสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจริง ความรู้สึกที่อาจตำหนิตนได้ว่า ไม่สมควรเป็นศิษย์พระองค์ท่านนั้นจะรุนแรงแก่จิตใจ จะเห็นความไม่มีค่าของตนอย่างมากมายจนถึงจะทนความรู้สึกนั้นไม่ได้ ผลก็คือย่อมจะมุ่งมั่นทำสิ่งที่พึงทำได้ตามรอยพระพุทธบาท และการอบรมเมตตานั้น น่าจะเป็นการทำที่ทำได้ไม่พ้นวิสัยของทุกคนไป แม้ตั้งใจจริงที่จะทำ
ข้อแนะนำเพื่ออบรมเมตตา
สำหรับผู้เทิดทูนสมเด็จพระบรมศาสดาด้วยจิตใจจริง มีความภาคภูมิใจจริงที่ได้เกิดมาในพระพุทธศาสนา ได้เป็นศิษย์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้อแนะนำเพื่ออบรมเมตตาก็คือ พึงนึกถึงความจริงที่ควรเป็นที่ภาคภูมิใจของผู้นับถือพระพุทธศาสนาทั้งหลาย คือ ทรงมีพระมหากรุณา มีพระเมตตาใหญ่ยิ่ง เป็นที่ประจักษ์ชัดจริงแล้วแก่โลก ส่วนที่เป็นความเย็นท่ามกลางความร้อนระอุของโลก เกิดแต่พระมหากรุณา พระเมตตา แม้ไม่ใส่ใจอบรมเมตตาตามที่ทรงพร่ำอบรมสั่งสอนก็หาสมควรเป็นลูกศิษย์พระผู้ เลิศล้ำสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราไม่ เตือนตนเองเช่นนี้ให้สม่ำเสมอจะไม่อาจละเลยไม่แยแสการอบรมเมตตา แต่จะมีกำลังใจปฏิบัติอบรมเมตตาอย่างภาคภูมิใจเป็นสุขใจตลอดไป
3. อันความกรุณา มหัศจรรย์ยิ่งนัก
ความซื่อตรงต่อหน้าที่เป็นคุณวุฒิสำคัญยิ่ง
ทุกคนมีหน้าที่ คือ มีกิจที่จะต้องทำ มีกิจที่ควรทำ ไม่มีผู้ใดเลยที่ไม่มีหน้าที่ ทุกคนจึงพึงรู้จักหน้าที่ของตน และทำหน้าที่ของตนให้เต็มสติปัญญาความสามารถ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับหน้าที่ไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้....
“ความรู้สึกและความซื่อตรงต่อหน้าที่นี้ เป็นคุณวุฒิอันสำคัญของคนทั้งปวง ไม่ว่าผู้ที่มีบรรดาศักดิ์สูงต่ำเพียงใด หรือว่าจะเป็นคนรับราชการฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน หรือประกอบการอย่างใด ๆ ถ้าคนทั้งหลายมีความรู้สึกและซื่อตรงต่ำหน้าที่ของตน ๆ แล้ว ก็อาจให้เกิดความพร้อมเพรียงเป็นกำลังช่วยกันประกอบกิจการทั้งปวงให้สำเร็จ ลุล่วงไป ได้ประโยชน์แก่ตนเองและเกิดประโยชน์แก่บ้านเมืองของตนได้ดังประสงค์”
พุทธศาสนิกชนพึงทำหน้าที่ให้เต็มสติปัญญา
หน้าที่ของพุทธศาสนิกชนผู้นับถือพระพุทธศาสนา คือ ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ปฏิบัติผิดพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และเทิดทูนประกาศพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนไพศาลสืบไป
ความศรัทธา นำให้เกิดการปฏิบัติตาม
ศรัทธาความเชื่อ ความเลื่อมใสเป็นมูลสำคัญที่สุด ที่จะนำให้ปฏิบัติตามผู้ใดผู้หนึ่งก็ตาม การจะปฏิบัติตามพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าเพียงใดหรือไม่ ก็ต้องอาศัยศรัทธาเช่นกัน
สำหรับบุถุชนผู้ยังมีจิตใจเกลือกใกล้กับกิเลส ความรักมีความสำคัญยิ่งกว่าความศรัทธา ที่จะทำให้เชื่อถือและปฏิบัติตามผู้ใดผู้หนึ่ง จึงอาจกล่าวได้ว่า สำหรับคนจำนวนไม่น้อย ความรักเป็นเหตุนให้เกิดความศรัทธา
ปลูกศรัทธาต่อพระพุทธองค์ให้เกิดในใจตน
บุถุชนผู้จะศรัทธาพระพุทธเจ้าได้จริงจัง จึงควรต้องทำความรักในพระองค์ท่านให้เกิดขึ้นเสียก่อน อย่างจับใจลึกซึ้ง
ศึกษาให้รู้จักคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า อย่างลึกซึ้งถูกต้อง แจ่มแจ้ง ชัดเจน อันจะทำให้เป็นความเป็นผู้ควรเป็นที่รักที่เทิดทูนอย่างที่สุด หาผู้เสมอเหมือนมิได้ จะทำให้รักพระพุทธองค์อย่างลึกซึ้งถึงจิตใจ พร้อมที่จะปฏิบัติตามที่ทรงสอนจนเต็มสติปัญญาความสามารถ ได้เป็นคนมีความสุขอย่างยิ่ง
พระผู้ทรงพระมหากรุณาอย่างไม่มีใครเทียบได้
พุทธประวัติกล่าวไว้ว่า วันหนึ่ง เมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา พระพุทธองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นการทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้นเป็นครั้งแรกในพระชนมชีพ ก่อนหน้านั้นทรงได้รับความทะนุถนอด ให้ห่างไกลความไม่เจริญตาไม่เจริญใจทั้งปวง ทั้งคนแก่คนเจ็บคนตายมิได้เคยทรงประสบพบผ่าน เมื่อถึงเวลาจะได้ทรงบำเพ็ญบารมีสูงสุด ทุกอย่างก็ต้องเปิดทางให้ ไม่มีผู้ใดสิ่งใดมาขวางกั้นได้
คนแก่ที่พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นเป็นครั้งแรก น่าจะเป็นคนแก่มาก จนมีทุกขเวทนานักหนาในการดำรงสังขารอยู่ ยากลำบากทั้งในการกินอยู่ยืนเดินนั่งนอน และคนเจ็บที่ทอดพระเนตรเห็นเป็นครั้งแรก ก็น่าจะเป็นคนเจ็บหนัก ทรมานทรกรรมทนทุกขเวทนาแสนสาหัส ด้วยพระมหากรุณาเปี่ยมพระหฤทัย ทรงสลดสังเวชสงสารยิ่งนักพ้นจักพรรณนา
พระมหากรุณาลึกซึ้งไพศาลยิ่งนัก
พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า ลึกซึ้งและไพศาลพ้นความกรุณาของผู้ใดอื่นทั้งสิ้น
คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เบื้องพระพักตร์ มิได้ทำให้ทรงหยุดอยู่เพียงที่ทอดพระเนตรเห็นเท่านั้น ทรงคิดกว้างไกลไปถึงผู้คนทั้งหลายทั้งปวง แม้ที่ล่วงพ้นสายพระเนตร ว่าวันหนึ่งจะต้องมีสภาพเช่นเดียวกับคนแก่ คนเจ็บ คนตาย ที่ทอดพระเนตรเห็นอยู่นั้น ซึ่งน่าเมตตาสงสารนัก แม้พระพุทธเจ้าจะทอดพระเนตรเห็นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่ก็ต้องไม่อาจทรงรับความรู้สึกอันเกิดด้วยพระมหากรุณาได้ คนทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นนิมิตเกิดขึ้นในดวงพระหฤทัย ว่าจะต้องเกิดแก่เจ็บตายไปด้วยความโศกเศร้าทุกข์ทรมานเช่นเดียวกัน
ด้วยพระมหากรุณาล้นพ้น ต้องทรงหวั่นไหววุ่นวายพระหฤทัยและสลดสังเวชเศร้าหมองเป็นนักหนา ทรงตระหนักแน่ว่าจะไม่มีผู้ใดเลยล่วงพ้นสภาพที่โหดร้ายนั้นไปได้แน่แท้
อันความกรุณานั้น มหัศจรรย์ยิ่ง
ภาพคนแก่คนเจ็บคนตาย ที่พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็นด้วยความสงสารสลดสังเวชพระหฤทัยนั้น อาจทำให้ทรงย้อนนึกถึงพระองค์เอง ว่าวันหนึ่งจะต้องทรงแก่ทรงเจ็บทรงตายเช่นเดียวกัน แต่ความห่วงใยพระองค์เองย่อมไม่มีความหมายยิ่งไปกว่าความสงสารห่วงใยสัตว์ โลกมากหลาย
อันความกรุณานั้นมหัศจรรย์ยิ่ง แม้เป็นสิ่งที่เคยเกิดแล้วในจิตใจผู้ใด ผู้นั้นย่อมตระหนักชัดดี ว่าตัวเองจะไม่มีความหมายสำหรับตัวเลย ความทุกข์ยากเดือดร้อนของตัวเอง แม้กลายเป็นเรื่องเล็ก เมื่อเป็นไปเพื่อให้ความกรุณาของตนสัมฤทธิ์ผล ได้ช่วยคนอื่นสัตว์อื่นให้เป็นสุข
เมตตาเกิดแล้วเมื่อไม่อยากเห็นความทุกข์ของใคร
เมตตา มีความหมายว่า ปรารถนาให้เป็นสุข เป็นความหมายใกล้เคียงทำนองเดียวกับสงสาร ที่ไม่อยากให้เป็นทุกข์ ไม่อยากเห็นเป็นทุกข์ เมื่อใดเกิดความสงสารจริงใจ ไม่อยากเห็นความทุกข์ของใครก็ตาม ก็เข้าใจได้ว่าเมื่อนั้นเมตตาเกิดแล้ว
กรุณา มีความหมายว่า พยายามช่วยด้วยใจจริง ให้พ้นทุกข์เป็นสุข และไม่ว่าเมื่อพยายามช่วยแล้วจะเกิดผลแก่ผู้รับความกรุณาเพียงใดหรือไม่ก็ เป็นกรุณาจริง อันเกิดแต่เมตตาจริง
เพียงแต่คิด ไม่ลงมือทำ ไม่ใช่ความเมตตา
ความคิดที่ว่ามีความสงสารผู้ใดผู้หนึ่ง หรือความคิดที่ว่ามีความเมตตาผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งมีความทุกข์ให้เห็นอยู่ แต่ไม่มีความรู้สึกเลยที่จะพยายามช่วยให้พ้นทุกข์ ให้ได้เป็นสุข หรือแม้มีทางที่จะช่วยได้ก็มิได้ช่วย เช่นนี้เป็นความใจดำ ไม่ใช่เป็นความสงสาร ไม่ใช่เป็นความมีเมตตา และไม่ใช่เป็นความมีกรุณา
เพียงมีความคิดว่าน่าสงสาร เมื่อเห็นคนในสภาพเป็นทุกข์คิดแล้วก็ผ่านไป ไม่สนใจแม้เพียงคิดจะช่วยให้พ้นสภาพน่าสงสาร ให้ได้เป็นสุข เช่นนี้ไม่ใช่เมตตา
ความเมตตากรุณาที่แท้จริง
สงสารแล้วพยายามหาทางช่วย ความสงสารนั้นจึงจะเป็นเมตตา คือ เมตตาแล้วต้องกรุณา ไม่มีกรุณา คือ พยายามช่วย...ก็ไม่มีเมตตา มีแต่เพียงความคิดว่าน่าเมตตาเท่านั้น ความคิดนั้นจึงไม่ถึงกับเป็นเมตตา
เมตตาที่แท้จริง ที่จริงใจ แยกจากกรุณาไม่ได้ เมตตาต้องคู่กับกรุณาเสมอ คือ สงสารแล้วต้องปรารถนาจะช่วย ต้องหาทางช่วย สงสาร คือ เมตตา พยายามช่วย คือ กรุณา
ถ้ากายหรือใจไม่พยายามช่วย ใจก็ไม่มีเมตตา ใจก็ไม่มีกรุณา
แม้ว่าบางทีความกรุณาจะไม่ปรากฏแก่ตาแก่ใจผู้อื่น แต่ความกรุณาก็จะต้องปรากฏชัดเจนแก่ใจผู้มีเมตตาเสมอไป
การพยายามคิดหาทางช่วยให้ผู้มีทุกข์ได้พ้นทุกข์ ได้เป็นสุข เป็นเรื่องของใจที่ผู้อื่นรู้เห็นด้วยไม่ได้ แต่เจ้าตัวรู้เอง นั่นคือ กรุณาอันเกิดจากมีเมตตาเป็นเหตุ
แม้กรุณาในใจยังไม่มีทาง ยังไม่มีโอกาสปฏิบัติให้เป็นจริงขึ้นมาจนปรากฏแก่ความรู้เห็นของผู้อื่นได้ แต่ก็เป็นกรุณาที่เจ้าตัวผู้มีใจเมตตารู้ได้ เป็นกรุณาจริง มีเมตตาเป็นเหตุจริง
วาจาว่าสงสาร แต่ใจไม่สงสาร นั้นไม่ใช่เมตตา จะไม่ประกอบด้วยกรุณา คือ ใจไม่สงสาร ใจไม่เมตตา ก็จะไม่มีการกระทำทั้งด้วยกายหรือใจ เพื่อช่วยผู้มีความทุกข์ให้พ้นทุกข์ ให้มีความสุข อันเป็นความหมายที่แท้จริงของกรุณา
วาจาไม่เอ่ยว่าสงสาร หรือวาจาเอ่ยว่าไม่สงสาร แต่ใจจริงสงสาร นั่นไม่ใช่เมตตา จะประกอบด้วยกรุณา คือ มีการคิด การพูด การทำเพื่อช่วยให้เกิดความสุข เป็นกรุณาไปตามความเมตตาสงสารจริงใจ
ความกรุณาที่เกิดขึ้นในจิตใจ
สำหรับบุถุชนผู้ยังไม่ไกลจากกิเลส เมตตาจริงใจจะทำให้ใจสงบสุขอยู่ไม่ได้ จะต้องดิ้นรนแสวงหาทางที่จะช่วยผู้มีความทุกข์ ให้มีความสุข พ้นจากสภาพหรือฐานะที่ทำให้เป็นที่เกิดเมตตา ความดิ้นรสแสวงหาทางช่วย แม้ที่ไม่ปรากฏให้เห็น ให้รู้ แต่เป็นกรุณา นั่นคือ กรุณาในใจ
ความกรุณาที่เกิดจากความมีเมตตาจริง
การสวดมนต์ โดยเฉพาะในเวลาเช้าและในเวลาเย็น เป็นสิ่งที่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาส่วนมากถือเป็นหน้าที่ กระทำเป็นกิจวัตรประจำวัน และหลังสวดมนต์แล้ว ไม่ว่าจะสวดยาวหรือสวดสั้น สวดมากหรือสวดน้อย ก็จะจบลงด้วยการแผ่เมตตาตั้งใจให้ความสุข แผ่ส่วนกุศลที่ตนทำที่ตนมีแก่สรรพสัตว์ทั้งที่เป็นผู้เป็นที่รัก ผู้ไม่เป็นที่รัก ทั้งที่เป็นมิตร ทั้งที่ไม่เป็นมิตร ทั้งพรหมเทพมนุษย์สัตว์ ไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ
ความจริงใจที่จะให้กุศลให้ความสุขเช่นนี้ นับได้ว่าเป็นความพยายามช่วยผ่อนคลายความทุกข์บรรดามีของสรรพสัตว์ทั้งนั้น จึงเป็นความกรุณาที่เกิดแต่ความมีเมตตาจริง แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแก่ตาแก่ใจผู้ใดอื่นก็ตาม
เมตตาและกรุณา ล้วนสำเร็จลงได้ด้วยใจ
พระพุทธศาสนานั้น ถือใจเป็นสำคัญที่สุด ถือว่าใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ เมตตากรุณาก็สำเร็จด้วยใจ เมตตากรุณามิได้สำเร็จด้วยอะไรอื่น
ดังนั้นความช่วยเหลือต่าง ๆ แม้จะเป็นการปฏิบัติดี แต่แม้เกิดจากใจที่รู้สึกว่าเป็นหน้าที่บ้าง เป็นสิ่งที่พึงทำเพื่อรักษาหน้าตาของตนเองบ้าง เป็นการเชิดชูตนเองบ้าง มิใช่เป็นการกระทำที่เกิดจากใจที่มีความสงสาร ที่มีความปรารถนาจะให้เกิดความสุขแก่ผู้ได้รับ เช่นนี้การกระทำนั้นก็มิใช่เป็นความเมตตากรุณา เมตตากรุณาเป็นเรื่องของใจจริง ๆ
เมตตากรุณาเป็นเรื่องของใจ เกิดอยู่ในใจ ดังนั้นตนเองเท่านั้นที่จะรู้ว่าตนมีเมตตากรุณาเพียงใดหรือไม่ คนอื่นไม่อาจรู้ใจจริงของคนอื่นได้ จึงย่อมไม่อาจรู้ได้ถูกต้องเสมอไปด้วยว่า คนนั้น คนนี้มีเมตตาหรือไม่มี
ความสำคัญจึงอยู่ที่ตัวเองจะต้องเข้าใจตัวเอง ว่ามีจิตใจเช่นไร ใจดีหรือใจไม่ดี มีเมตตาหรือไม่มีเมตตา จะต้องไม่หลงเข้าใจตัวเองผิดจากความจริง อันจักทำให้ไม่มีโอกาสแก้ไขจิตใจตนเอง เช่นไม่มีความเมตตาก็จะไม่มีโอกาสแก้ไขให้มีเมตตาอันเป็นความร่มเย็น สำคัญทั้งแก่จิตใจตนเองและผู้อื่นเป็นอันมาก
เมตตาเป็นเหตุให้ผลยิ่งใหญ่สุดพรรณนา
เมตตาเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง ได้ให้ผลที่สำคัญที่สุดแก่โลก พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระพุทธศาสนาได้ก็ด้วยทรงมีพระเมตตาใหญ่หลวงเป็นต้นเหตุ พระพุทธศาสนาเกิดแต่พระเมตตา นี้ก็เห็นได้ชัดแจ้งแล้วว่า เมตตาเป็นเหตุที่ให้ผลยิ่งใหญ่เพียงใด
พระผู้ทรงยิ่งด้วยเมตตาและกรุณา
พระพุทธเจ้าทรงยิ่งด้วยพระเมตตา ปรากฏชัดด้วยพระมหากรุณาคุณ อันเป็นที่ประจักษ์ลึกซึ้งแก่จิตใจผู้นำมาใคร่ครวญทั้งหลาย
พระพุทธศาสนาที่ให้ความร่มเย็นเป็นสุขพ้นพรรณนาทำได้เกิดแต่อะไรอื่น หากเกิดแต่พระมหากรุณาคุณของพระพุทธองค์โดยแท้ พระมหากรุณาที่เกิดแต่พระเมตตาท่วมท้นพระหฤทัย
พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้านั้น ผู้มีปัญญาพึงนำมาคิดใคร่ครวญพิจารณาให้ดี ให้เห็นประจักษ์แจ้งซาบซึ้งถึงจิตใจจักไม่เสียชาติเปล่าที่เกิดมาพบพระพุทธ ศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดาผู้ทรงสามารถนำไปถึงความพ้นทุกข์ได้จริง
มีผู้ใดหรือ ที่มีกรุณาแม้เพียงใกล้เคียงพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า เพื่อทรงพยายามช่วยสัตว์โลกทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ของความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ทรงสละได้สิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งบังลังก์ ทั้งความสุขส่วนพระองค์ ทั้งความพรั่งพร้อมสมบูรณ์บริบูรณ์ทั้งหลาย ทั้งพระชนกนาถ พระมเหสี และพระโอรส ทรงสละได้แล้วทั้งหมดเพื่อความพ้นทุกข์ของสรรพสัตว์ ที่ทรงตระหนักชัดพระหฤทัยแล้วว่า ทุกชีวิตไม่มียกเว้น จะต้องตกอยู่ในห้วยแห่งทุกข์ที่ใหญ่โตมโหฬารนั้นตลอดไป แม้ไม่พบทางดำเนินหนีให้พ้น
พระมหากรุณา มีผลสว่างไสว ดับทุกข์น้อยใหญ่ได้
ยามอยู่ห่างไกลจากผู้เป็นที่รัก เช่น บุตรธิดา ผู้เป็นมาดาบิดา น่าจะเคยห่วงใยคิดไปนานาประการ ถึงความทุกข์ยากลำบากลำบน ของผู้เป็นบุตรธิดาแห่งตน จนตัวเองแทบจะหาความสุขมิได้ เหตุร้ายครั้งแล้วครั้งเล่าที่เกิดห่างไกล และมีบุตรธิดาผู้ใดอยู่ในขอบข่ายที่อาจจะพลอยได้รับทุกข์ภัยร้ายแรงนั้นด้วย ผู้เป็นมารดาบิดามีหรือที่จะไม่พากันคิดวาดภาพที่น่าสะพรึงกลัวให้เกิด กับบุตรธิดาตน แม้สามารถไปได้แล้วจริง ๆ ก็จะพากันไปเพื่อช่วยเหลือ แม้ไม่สามารถไปได้แล้วจริง ๆ ก็จะพากันสวดมนต์ไหว้พระอย่างอกสั่นขวัญหาย เพื่อให้พระคุ้มครองผู้เป็นที่รักที่ห่วงใยของตน ที่ตนคิดว่าต้องกำลังตนอยู่ในอันตรายร้ายแรงแน่
พระพุทธเจ้าก่อนแต่จะทรงตรัสรู้ก็เช่นกัน เพราะทรงแน่พระหฤทัยแล้วว่า สัตว์ทั้งปวงจะต้องได้รับความทุกข์ทรมานจากการเกิดแก่เจ็บตาย ไม่ทรงสามารถทนรับความรู้สึกนั้นได้อย่างเป็นปกติสุข พระเมตตาท่วมท้นพระหฤทัย ซึ่งเป็นพระเมตตาจริง เหตุด้วยทรงดิ้นรนขวนขวายหาทางช่วยแก้ไขทุกข์นั้นอย่างเต็มสติปัญญาความ สามารถ เป็นไปตามความจริงที่เมื่อมีเมตตาจริง จะต้องมีกรุณาด้วยเสมอไป เมตตากับกรุณาจะไม่แยกจากกันโดยเด็ดขาด
พระพุทธเจ้าทรงมีพระเมตตายิ่งใหญ่ พระกรุณาจึงยิ่งใหญ่ด้วย เป็นมหากรุณา และเป็นมหากรุณาที่ให้ผลสำเร็จใหญ่ยิ่งจริงแท้ ทรงดับทุกข์ของสัตว์โลกได้ดังพระหฤทัยปรารถนา
สัตว์โลกจำนวนประมาณมิได้ ได้รับพระมหากรุณาพ้นจากทุกข์มากบ้างน้อยบ้าง เมื่อเดินไปในวิถีทางที่ทรงแสดงสอน ตั้งแต่ทรงตรัสรู้ สืบมาจนทุกวันนี้ ยังมีผู้ได้รับพระมหากรุราของพระพุทธองค์อยู่ มีว่างเว้น มีขาดหาย แม้จะเสด็จดับขันธปรินิพพานนานนักแล้ว ใกล้จะสามพันปี แต่พระมหากรุณาก็ยังมีผลสว่างไสว ดับทุกข์น้อยใหญ่ได้อยู่
พระผู้ทรงไกลกิเลสแล้วอย่างสิ้นเชิง
ถ้าพระพุทธองค์มิใช่เป็นผู้ทรงไกลกิเลสแล้วสิ้นเชิง ผลที่เกิดแต่พระมหากรุณาที่จะดับทุกข์สัตว์โลก ก็จะต้องทำให้ทรงยินดีโสมนัสพ้นจะพรรณนา แต่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงไกลแล้วจากความยินดีและยินร้าย อันเป็นอาการของกิเลสสามกองสำคัญ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ นั่นคือเครื่องแสดงความทรงไกลแล้วอย่างสิ้นเชิงจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ทรงสงบเบิกบานอยู่ด้วยอานุภาพของบรมสุข ที่ผู้มีปัญญามากหลายปรารถนานัก และจักสมปรารถนาได้ด้วยการปฏิบัติธรรมที่ทรงแสดงสอนไว้ ให้เป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมจริงไม่อ่อนแอพ่ายแพ้แก่ความโลภ โกรธ หลง มั่นคงศรัทธาในสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และดำเนินตามไปในวิถีที่ทรงนำไปแล้ว
พ้นจากทุกข์สิ้นเชิง เสวยบรมสุขตลอดกาล
พระพุทธศาสนาเกิดแต่พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า ที่ทรงมุ่งมั่นจะช่วยสัตว์โลกให้พ้นจากทุกข์ของความเกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีพระมหากรุณานี้แล้ว พระพุทธศาสนาไม่เกิด เราผู้มีความทุกข์ทั้งหลาย จะได้ธรรมะจากที่ใดมาช่วยผ่อนคลายให้พอมีความสุขได้ มากน้อยตามควรแก่การปฏิบัติของตนและสูงสุดจนพ้นจากทุกข์สิ้นเชิง ได้เสวยบรมสุขตลอดกาล
พระมหากรุณาที่นำพาสัตว์โลกให้ไกลจากทุกข์
ไม่มีผู้ใดไม่เป็นทุกข์ ทุกคนมีความทุกข์ เพียงทุกข์มากบ้าง ทุกข์น้อยบ้าง เหมือนไม่มีทุกข์บ้างครั้งที่มีทุกข์อยู่ ความจริงนั้นทุกข์มีอยู่กับทุกชีวิตทุกเวลา เพียงแต่ว่าบุถุชนทั้งปวงหลงเห็นทุกข์เป็นสุข ธรรมเหนือโลกนั้นความสุขไม่มีในโลก ในโลกมีแต่ความทุกข์ และธรรมของพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะดับทุกข์ให้ได้ ผู้มีปัญญาเข้าใจธรรมเหนือโลก จึงเทิดทูนพระพุทธศาสนา เทิดทูนพระบรมศาสดาผู้ทรงก่อเกิดพระพุทธศาสนาด้วยทรงสละสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ไม่มีผู้ใดมีความกรุณาทำได้เสมอเหมือน
พระมหากรุณาท่วมท้นพระหฤทัย ทำให้พระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกทรงพระผนวช ทรงจากพระสถานภาพของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ไปสู่ความเป็นผู้ของปราศจากสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยทรงมี ที่ล้วนวิจิตรสูงส่งควรแก่พระองค์ ผู้เป็นมกุฎราชกุมารแห่งศากยะ ใคร่ครวญให้ดี ให้ตระหนักชัดแจ้งแก่จิตใจในพระมหากรุณาที่ได้รับจากพระองค์ ทำให้ได้มีความไกลจากทุกข์พอสมควรอยู่ทุกวันนี้ ทรงเสียสละยิ่งใหญ่นักเพื่อความไกลทุกข์ของสัตว์โลกทั้งปวง
พระมหากรุณาอันไม่มีขอบเขต ไม่มีอคติ
พระพุทธองค์เสด็จออกทรงพระผนวชด้วยทรงมุ่งดับทุกข์ของสัตว์โลกทั้งปวง ที่มิได้ทรงรู้จัก และที่มิได้รู้จักพระพุทธองค์ การปฏิบัติที่ปรากฏนั้นเหมือนทรงมีพระหฤทัยโหดร้ายต่อพระบิดา พระมเหสี พระโอรส เพราะทรงเป็นเหตุให้ทุกพระองค์โศกเศร้าเป็นทุกข์แสนสาหัสในการพลัดพราก เหมือนไม่ทรงมีพระเมตตากรุณาในพระหฤทัยเลย จึงสามารถทอดทิ้งท่านผู้มีพระคุณและผู้มีความรักความห่วงใยความภักดีเป็นที่ สุดไปได้เหมือนไม่แยแส
แต่แม้คิดให้ลึก คิดให้ประณีต ก็ย่อมจะได้เข้าใจในพระมหากรุณาว่า ไม่มีขอบเขต ไม่มีอคติ ไม่มีเขาไม่มีเรา แตกต่างเป็นอันมากกับน้ำใจของบุถุชนทั้งนั้น
ทรงมีพระกรุณาโดยไม่คำนึงถึงพระองค์เอง
บุถุชนคนผู้มีกิเลสใกล้ชิตจิตใจทั้งหลาย ล้วนมีเขามีเรา มีเลือกสงสารเลือกให้ความช่วยเหลือ และมักจะสงสารจะช่วยเหลือพี่น้องพวกพ้องของตนเท่านั้น นั่นไม่ใช่เมตตา ไม่ใช่กรุณาที่แท้จริง แตกต่างห่างไกลกับพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้าที่แผ่ไปถึงทั่วทุกสัตว์โลก และมากมายใหญ่ยิ่งหนักหนา จนทำให้ไม่ทรงคำนึงถึงความทุกข์ยากของพระองค์เอง เพื่อความพ้นทุกข์ของสัตว์โลก ทรงสละพระสถานภาพแห่งกษัตริย์ลงเป็นผู้ต้องขอเขา ทรงหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง เหลืออยู่ท่วมพระหฤทัยแต่พระมหากรุณาต่อสัตว์โลก
4. พรหมวิหารธรรม (อุเบกขาธรรม)
ทำความดีด้วยใจว่างจากกิเลส
ทำความดีอย่างสบาย ๆ อย่างมีอุเบกขา คือ ทำใจเป็นกลางวางเฉย ไม่หวังผลอะไรทั้งสิ้น
การตั้งความหวังในผลของการทำดีเป็นธรรมดาของสามัญชนทั่วไป ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ก็จะถูกต้องกว่าหากจะไม่ตั้งความหวังเลย เมื่อรู้ว่าเป็นความดีก็ทำเต็มความสามารถของสติปัญญา ไม่เดือดร้อนให้เกินความสามารถ ไม่มุ่งหวังให้ฟุ้งซ่าน ไม่ผิดหวังให้เศร้าเสียใจ การทำใจเช่นนี้ไม่ง่าย แต่ก็เป็นสิ่งทำได้ ถ้าทำไม่ได้พระพุทธเจ้าก็จะไม่ทรงสั่งสอนไว้
ทำดีด้วยความโลภและหลง จักไม่อาจให้ผลสูงสุด
การทำดีหรือทำบุญกุศลที่จะส่งผลสูงสุด ต้องเป็นการทำด้วยใจว่างจากกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ความผูกพันในผลที่จะได้รับเป็นทั้งความโลภและความหลง ความผูกพันในผลที่จะได้รับเป็นทั้งความโลภและความหลง จึงไม่อาจให้ผลสูงสุดได้ แม้จะให้ผลตามความจริงที่ว่า ทำดีจักได้ดี แต่เมื่อเป็นความดีที่ระคนด้วยโลภและหลง ก็ย่อมจะได้ผลไม่เท่าที่ควร มีความโลภหลงมาบั่นทอนผลนั้นเสีย
ทำดีแล้วต้องได้ดีแน่นอนเสมอไป
ทำดีไม่ได้ดี ไม่มีอยู่ในความจริง มีอยู่แต่ในความเข้าใจผิดของคนทั้งหลายเท่านั้น ทำดีแล้วต้องได้ดีแน่นอนเสมอไป
ที่มีเหตุการณ์ต่าง ๆ นานาปรากฏขึ้น เหมือนทำดีไม่ได้ดีนั้น เป็นเพียงการปรากฏของความสลับซับซ้อนแห่งการให้ผลของกรรมเท่านั้น เพราะกรรมนั้นไม่ได้ให้ผลทันตาทันใจเสมอไป แต่ถ้าเป็นเรื่องภายในใจแล้ว กรรมให้ผลทันทีที่ทำแน่นอน เพียงแต่ว่า บางทีผู้ทำไม่สังเกตด้วยความประณีตเพียงพอจึงไม่รู้ไม่เห็น ขอให้สังเกตใจตนให้ดี แล้วจะเห็นว่าทันทีที่ทำกรรมดี ผลจะปรากฏขึ้นในใจเป็นผลดีทันทีทีเดียว
ทำกรรมดีแล้วจิตใจจักไม่ร้อนเร่า
ทำกรรมดีแล้วใจจักไม่ร้อน เพราะไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะได้รับผลไม่ดีต่าง ๆ
ความไม่ต้องหวาดวิตกหรือกังวลไปต่าง ๆ นั้น นั่นแหละเป็นความเย็น เป็นความสงบของใจ เรียกได้ว่าเป็นผลดีที่เกิดจากกรรมดี ซึ่งจะเกิดขึ้นทันตาทันใจทุกครั้งไป เป็นการทำดีที่ได้ดีอย่างบริสุทธิ์แท้จริง
ส่วนผลปรากฏภายนอกเป็นลาภยศสรรเสริญต่าง ๆ นั้น มีช้า มีเร็ว มีทันตาทันใจ และไม่ทันตาทันใจ จนเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดกันมากมาย ว่าทำดีไม่ได้ดีบ้าง ทำชั่วได้ดีบ้าง
ควรทำดีโดยทำใจให้เป็นกลาง ไม่มุ่งหวังสิ่งใด
ทำดีได้ดีแน่นอนอยู่แล้ว บรรดาผู้ทำความดีทั้งหลายซาบซึ้งในสัจจะ คือ ความจริงนี้ ดังนี้ก็ไม่น่าจะลำบากนักที่จะเชื่อด้วยว่า ควรทำดีดโดยทำใจเป็นกลางวางเฉลยไม่มุ่งหวังอะไร ๆ ทั้งนั้น
การที่ยกมือไหว้พระด้วยใจที่เคารพศรัทธาในพระรัตนตรัยสูงสุดเพียงเท่านี้ ได้ผลดีแก่จิตใจยิ่งกว่าจะยกมือไหว้พร้อมกับอธิษฐานปรารถนาสิ่งนั้นสิ่งนี้ ไปด้วยมากมายหลายสิ่งหลายอย่าง หรือการจะบริจาคเงินสร้างวัดวาอาราม ด้วยใจที่มุ่งให้เป็นการบูชาคุณพระรัตนตรัยเพียงเท่านี้ ก็ได้ผลดีแก่จิตใจ ยิ่งกว่าจะปรารถนาวิมานชั้นฟ้า หรือบ้างช่องโอ่อ่าทันตาเห็นในชาตินี้ หรือการจะสละเวลากำลังกาย กำลังทรัพย์เพื่อช่วยเหลืองานพระศาสนา โดยมุ่งเพื่อผลสำเร็จของงานนั้นจริง ๆ เพียงเท่านี้ก็ได้ผลดีแก่จิตใจยิ่งกว่าปรารถนาจะได้หน้าได้ตาว่าเป็นคนสำคัญ เป็นกำลังใจให้เกิดความสำเร็จ หรือการคิดพูดทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วยใจที่มุ่งเทิดทูนรักษาอย่างเดียวเช่นนี้ ให้ผลดีแก่จิตใจยิ่งกว่าหวังได้ลาภยศหน้าตาตอบแทน
ทำความดีอย่างบริสุทธิ์ สะอาดจริงเถิด
ทุกวัน เรามีโอกาสทำดีด้วยกันทุกคน ดังนั้นจึงขอให้พยายามตั้งสติให้ดี ใช้ปัญญาให้ควร อย่าโลภ อย่าหลง อย่าทำความดีอย่างมีโลภมีหลง ให้ทำความดีอย่างบริสุทธิ์สะอาดจริงเถิด
มีวิธีตรวจใจตนเองว่า ทำความดีด้วยใจปราศจากเครื่องเศร้าหมอง คือ กิเลส โลก โกรธ หลง หรือไม่ ก็คือให้ดูว่าเมื่อทำความดีนั้น ร้อนใจที่จะแย่งใครเขาทำหรือเปล่า กีดกัดใครเขาหรือไม่ ฟุ้งซ่านวุ่นวายกะเก็งผลเลิศในการทำหรือเปล่า ต้องการจะทำทั้ง ๆ ที่ไม่สามารถจะทำได้ แล้วก็น้อยเนื้อต่ำใจหรือโกรธแค้นอาฆาตพยาบาทอุปสรรคหรือเปล่า
ถ้าเป็นคำตอบปฏิเสธทั้งหมดก็นับว่าดี เป็นการทำดีอย่างมีกิเลสห่างไกลจิตใจพอสมควรแล้ว สบายใจ เย็นใจในการทำความดีใด ๆ ก็นับว่ามีกิเลสห่างไกลใจในขณะนั้นอย่างน่ายินดียิ่ง จะเป็นเหตุให้ผลอันเกิดจากรรมดีนั้นบริสุทธิ์ สะอาด และสูงส่งจริง
ทำให้ไม่มีตัวเราของเราได้...วิเศษสุด
ไม่มีตัวเราของเราแล้วไม่มีความทุกข์ เพราะไม่ถูกกระทบ ไม่มีอะไรให้ถูกกระทบ
เหมือนคนไม่มีมือ ก็ไม่เจ็บมือ, คนไม่มีขา ก็ไม่เจ็บขา ดังนั้น การทำให้ไม่มีตัวเราของเราได้จึงวิเศษสุด แต่ก็ยากยิ่งนักสำหรับบุถุชนคนสามัญทั้งหลาย ฉะนั้นขอให้มีเพียงเราเล็ก ๆ มีเราน้อย ๆ ก็ยังดี ดีกว่าจะมีเราใหญ่โตมโหฬาร มีของเราเต็มบ้านเต็มเมือง
เมื่อบุถุชนไม่สามารถทำตัวเราให้หายไปได้ ยังหวงแหนห่วงใยตัวเราอยู่ ของเราจึงยังต้องมีอยู่ด้วย ของเราจะหมดไปก็ต่อเมื่อตัวเราหมดไปเสียก่อน นี้เป็นธรรมดา
ถ้ายังมีตัวเราของเราอยู่ ยังต้องกระทบกระทั่งอยู่ ยังหวงแหนรักษาตัวเราของเราไว้ ก็ควรอย่างยิ่งที่จะหวงแหนรักษาให้ถูกต้อง จะได้ไม่ต้องรับโทษทุกข์ของการมีตัวเราของเรามากเกินไปอย่างเดียว แต่มีโอกาสที่จะได้รับคุณรับประโยชน์บ้างจากการมีตัวเราของเรา นั่นก็คือต้องระวังรักษาปฏิบัติต่อตัวเราของเราให้ดี ให้เป็นตัวเราของเราที่ดี
ตัวเราที่ดี ต้องมีใจที่อบรมด้วยธรรมอันงาม
ตัวเราที่ดีนั้น ไม่ใช่เป็นตัวเราที่มีหน้าตาสวยงามอย่างเดียว ไม่ใช่เป็นตัวเราที่ได้รับการตกแต่งด้วยเครื่องสำอางหรือเสื้อผ้าแพรพรรณอัน วิจิตรเท่านั้น
ตัวเราที่ดีต้องเป็นตัวเราที่ประพฤติปฏิบัติถูกต้องตามทำนองคลองธรรม มีจิตใจที่อบรมด้วยธรรมอันงาม ปรารถนาจะมีตัวเราก็ต้องปฏิบัติต่อตัวเราเช่นนี้จึงจะถูกต้อง จึงจะพอบรรเท่าโทษของการยึดมั่นในตัวเราลงได้บ้าง
อุเบกขาธรรม
“อุเบกขา” เป็นธรรมในธรรมสำคัญหมวดหนึ่ง คือ “พรหมวิหารธรรม”
มนุษย์ก็ได้ชื่อว่าเป็นพรหม แม้มีธรรมหมวดนี้สมบูรณ์ คือมีพร้อมทั้งเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
อุเบกขา หมายถึง การวางใจเป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย จึงไม่หวั่นไหวด้วยความยินดีหรือความยินร้าย หวั่นไหวเพราะความยินดีแม้มากย่อมเป็นเหตุให้ฟุ้ง หวั่นไหวเพราะความยินร้ายแม้มากย่อมเป็นเหตุให้เครียด อุเบกขาจึงเป็นธรรมโอสถเครื่องรักษาโรคทางจิตทั้งสอง คือ โรคฟุ้งและโรคเครียด
ท่านผู้มีปัญญาเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมโอสถนี้ จึงสนใจอบรมอุเบกขา เพื่อรักษาใจให้ปราศจากโรค ให้เป็นใจที่สมบูรณ์สุขอย่างแท้จริง
โรคทางจิตก็เหมือนโรคทางกาย
โรคทางจิตก็เหมือนโรคทางกาย ยารักษาโรคทางจิตก็เหมือนยารักษาโรคทางกาย
ไม่ว่าจะใช้ยาวิเศษขนานใดก็ตาม ก็ต้องใช้ยานั้นให้ได้ขนาดเพียงพอกับอาการของโรค โรคทางกายบางโรคไม่ต้องใช้ยามากและไม่ต้องใช้นาน บางโรคต้องใช้มากและต้องใช้นาน จะใจร้อนใจเร็วให้โรคหายทันใจทุกโรคไม่ได้
แต่โรคทางใจของคนทั่วไป ปกติต้องใช้ยามากและต้องใช้นานจึงจะใจร้อนใจเร็วให้เห็นผลเป็นความหายขาดจาก โรคหัวใจอย่างทันตาทันใจไม่ได้ ต้องใช้ธรรมโอสถให้เพียงพอกับอาการของโรค เช่น โรคเครียดและโรคฟุ้งที่กล่าวแล้วว่า รักษาได้ด้วยธรรมโอสถ คือ อุเบกขา ก็ต้องใช้ธรรมโอสถให้เพียงพอ คือ ใช้ให้มากพอและใช้ให้นานพอ จึงจะหายขาดได้จริง
ยอดของพรหมวิหารธรรม
อุเบกขา เป็นยอดของพรหมวิหารธรรม เมตตา กรุณา เป็นฐาน มุทิตาเป็นตัว
การจะสร้างยอดโดยไม่สร้างฐานไม่สร้างตัวนั้นก็ก็ทำกันได้ แต่ยอดจะวางอยู่ต่ำเตี้ย ไม่มั่นคง ไม่สูงสง่า ถ้าสร้างฐานสร้างตัวเป็นลำดับขึ้นไปเรียบร้อยแล้วจึงสร้างยอด ยอดก็จะมั่นคง สูงเด่นเป็นสง่า
ฐานของพรหมวิหารธรรม
การอบรมอุเบกขาให้มั่นคง งามพร้อม จึงควรต้องอบรมพรหมวิหารธรรมให้สมบูรณ์
เริ่มแต่ฐาน คือ เมตตากรุณาเป็นเบื้องต้น มุทิตาเป็นลำดับไป แล้วจึงถึงอุเบกขา เช่นนี้ไม่หมายความว่าจะต้องใช้เวลานานนักหนากว่าจะเริ่มจากฐานขึ้นไปถึงยอด เรื่องของจิตหรือเรื่องของใจเป็นเรื่องพิเศษสุด อำนาจของใจ ความเร็วของใจ ก็เป็นความพิเศษสุดเช่นเดียวกัน
พรหมวิหารธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็เป็นเรื่องของใจ จึงมีความพิเศษสุด ผู้มีบุญมีปัญญา มีใจเข้มแข็งมั่นคงด้วยสัจจะ สามารถอบรมพรหมวิหารธรรมตั้งแต่ฐานถึงยอดได้ในเวลารวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องเนิ่นช้า สำคัญที่พึงต้องมีศรัทธาตั้งมั่น ว่าพรหมวิหารธรรมนี้มีคุณประโยชน์แก่ชีวิตอย่างแท้จริง ไม่เช่นนั้นแล้วสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จักไม่ทรงแสดงไว้ว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพรหม จึงพึงน้อมใจรับปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ในเรื่องการอบรมพรหมวิหารธรรมนี้
ความหมายที่แท้จริงของพรหมวิหารธรรม
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีความหมายที่แท้จริงอย่างไร ศึกษาให้เข้าใจถูกต้องเสียก่อน อย่าให้รู้ผิด เพื่อการปฏิบัติจะได้ไม่ผิด ผลที่ตามมาจะได้ไม่ผิด
เมื่อศึกษาเข้าใจพรหมวิหารธรรมถูกต้องพอสมควรแล้ว ให้ปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในตนให้ถูกต้อง และจะไม่ต้องใช้เวลานานเลย สำหรับการปฏิบัติอบรมธรรมหมวดนี้หรือหมวดใดก็ตาม แม้เชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงสอนให้ปฏิบัติพุ่งใจให้ตรงดิ่งลงไปในเมตตา ในกรุณา ในมุทิตา ทุกเวลา ทุกโอกาสที่มีมา ไม่มีข้อแม้ข้อแย้งยกขึ้นเพื่อให้ใจคัดค้านไม่ยอมมีเมตตา ไม่ยอมมีกรุณา ไม่ยอมมีมุทิตา ไม่ว่าต่อผู้ใดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นมิตร หรือเป็นศัตรู หรือเลือกคนดีคนชั่ว ทรงสอนให้มีพรหมวิหารเป็นที่อยู่ของใจตลอดเวลา นั่นก็คือไม่ว่าจะพบคนดีหรือคนชั่ว พบมิตร หรือพบศัตรู พบที่ไหน เวลาใด ใจของเราต้องอยู่ในพรหมวิหารธรรมตลอดเวลาสม่ำเสมอ
มีความเชื่ออย่างมั่นคง จะได้ผลรวดเร็ว
การเชื่อพระพุทธเจ้าให้แน่วแน่มั่นคง ยอมเป็นยอมตายได้ เพื่อปฏิบัติตามที่ทรงสอนไว้ เป็นวิธีพิเศษที่จะช่วยให้การใช้ธรรมโอสถรักษาโรคทางใจได้ผลรวดเร็วทันที
การเชื่อพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติตามที่ทรงสอนไว้ โดยไม่มีข้อคิดค้านอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่ความงมงาย ไม่ใช่การแสดงความอ่อนแอไม่เป็นตัวของตัวเอง ตรงกันข้าม กลับเป็นความปรีชาฉลาดลึกซึ้งอย่างยากจะหาผู้ทัดเทียมได้
โทสะไม่ว่ามากหรือน้อย ดับด้วยอำนาจของเมตตา
พระพุทธองค์ทรงสอนให้เมตตา ให้กรุณา ก็ให้เมตตา ให้กรุณา อย่างเต็มเปี่ยมทั้งหัวใจ โทสะไม่ว่ามากไม่ว่าน้อยจะดับลงได้ด้วยอำนาจของเมตตาทันที
ยิ่งทุ่มเทใจเชื่อพระพุทธเจ้า ทำตามพระองค์เต็มสติกำลัง ใจก็จะตั้งอยู่ในความไม่มีโทสะ มีแต่ความสุขสงบเย็นสว่างไสวจนกระทั่งอาจรู้สึกเหมือนไม่มีเมตตา ไม่มีกรุณา ไม่มีมุทิตาในใจตน มีแต่อุเบกขาเท่านั้น แต่ความจริงอุเบกขานั้นพร้อมด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา เปรียบดังขึ้นรถด่วนที่วิ่งผ่านสถานีต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ไม่หยุดสถานีระหว่างทางเลย ไปหยุดต่อเมื่อถึงสถานีปลายทาง ถึงที่หมายได้สมประสงค์ตรงสถานีปลายทางนั้น เช่นนี้ไม่หมายความว่ารถไฟไม่ได้วิ่งผ่านสถานีต่าง ๆ ในระหว่างทาง รถผ่านแต่ละสถานีอย่างรวดเร็วจนยากจะสังเกตรู้ว่าเป็นสถานีใดบ้างเท่านั้น
การอบรมเมตตา กรุณา มุทิตา ไปจนถึงอุเบกขาด้วยวิธีพิเศษ คือ เชื่อพระพุทธเจ้าให้แน่วแน่มั่นคง ยอมเป็นยอมตาย เพื่อปฏิบัติตามที่ทรงสอนไว้จะได้ผลรวดเร็วดังนี้
ผู้มีเมตตา กรุณา และมุทิตา
จะต้องใช้อุเบกขาแทรกไว้ทุกเวลา
ผู้ยังไม่บรรลุผลสูงสุดของพรหมวิหารธรรม ยังพยายามตั้งใจอบรมพรหมวิหารธรรมอยู่ ควรต้องรู้ว่า ผู้มีเมตตา กรุณา มุทิตานั้น ควรอย่างยิ่งที่จะต้องใช้อุเบกขาแทรกไว้ทุกเวลา เหมือนเป็นยาดำที่จำเป็นต้องแทรกอยู่ในยาดีแทบทุกขนานไม่เช่นนั้นแล้ว ยาดีที่ขาดยาดำก็จะไม่เป็นยาดีที่สมบูรณ์ และพรหมวิหารธรรมก็จะไม่สมบูรณ์เช่นเดียวกัน
เมตตาขาดอุเบกขา...ก็ผิด, กรุณาขาดอุเบกขา...ก็ผิด, มุทิตาขาดอุเบกขา...ก็ผิด
เมตตากรุณาที่ผิด ก็เช่นปรารถนาเขาเป็นสุข พยายามช่วยให้เขาพ้นทุกข์เต็มกำลังความสามารถ เมื่อทำไม่ได้ดังความปรารถนาก็เป็นทุกข์ เพราะไม่วางอุเบกขา เช่นนี้แหละผิด
แต่ถ้าทำเต็มสติปัญญาความสามารถโดยควรแล้ว แม้ไม่เกิดผลดังปรารถนาก็วางอุเบกขาเสียได้ ไม่เร่าร้อนด้วยความปรารถนาต้องการจะให้สมมุ่งหมาย เช่นนี้ก็เป็นเมตตากรุณาที่ไม่ผิด
มุทิตา ความพลอยยินดีด้วยเช่นกัน มุทิตาที่ผิดก็เช่นไปพลอยยินดีด้วยกับการได้การถึงที่ไม่สมควรทั้งหลาย การได้การถึงที่ผิดที่ไม่ชอบเช่นนั้น ผู้มีมุทิตาที่แท้จริงในพรหมวิหารจะวางใจเป็นกลาง วางเฉยอยู่ได้ด้วยอุเบกขา ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องแม้ด้วยมุทิตา
ใจที่เป็นอุเบกขา
ไม่หวั่นไหวไปตามการแสดงออกภายนอก
ผู้มีอุเบกขาในใจจริงนั้น การแสดงออกภายนอกเหมือนไม่มีอุเบกขาได้ เพราะผู้มีอุเบกขานั้นไม่หมายถึงว่า จะต้องไม่รับรู้ในคุณในโทษของสิ่งภายนอก ผู้มีอุเบกขาย่อมรู้ดีว่าปฏิบัติอย่างไรเป็นคุณ ปฏิบัติอย่างไรเป็นโทษ บางทีการวางเฉยทางกายวาจา เหมือนกับใจที่วางเฉยอยู่ด้วยความสงบ ก็อาจเป็นคุณ แต่บางทีก็อาจเป็นโทษ
ฉะนั้นเมื่อการวางเฉยภายนอกจะเป็นโทษ ผู้มีพรหมวิหารธรรมข้ออุเบกขาพิจารณาเห็นแล้ว ก็ย่อมต้องแสดงออกตามความเหมาะความควร รักษาไว้อย่างหวงแหนที่สุดเพียงอย่างเดียว คือ ใจที่เป็นอุเบกขา ไม่หวั่นไหววูบวาบขึ้นลงไปตามการแสดงออกภายนอก
อุเบกขาที่แท้จริง สร้างความสงบอย่างยิ่งแก่ใจ
ความสงบอย่างยิ่งของใจ ย่อมมีอยู่ได้เป็นปกติ ด้วยอำนาจของอุเบกขาที่แท้จริงในพรหมวิหาร ผู้มีใจยังไม่เป็นอุเบกขา บางทีก็สามารถแสดงอุเบกขาให้ปรากฏภายนอกได้
หลายคนเคยพูดว่า “ฉันอุเบกขา” นั่นไม่หมายถึงว่า ผู้พูดมีใจเป็นอุเบกขาในพรหมวิหารธรรม แต่หมายเพียงการกระทำเท่านั้นที่ไม่ยุ่งเกี่ยวในเรื่องนั้นเรื่องนี้เป็น เรื่อง ๆ ไป ความสงบเป็นปกติของใจด้วยอำนาจของอุเบกขาหามีไม่
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ล้วนสำคัญอย่างยิ่ง
ถ้าจะอบรมพรหมวิหารธรรม ก็อย่าเห็นว่าเมตตากรุณาเท่านั้นสำคัญ มุทิตาและอุเบกขาก็สำคัญอย่างยิ่ง
ไม่มีเมตตา กรุณา ก็จะมีใจโหดเหี้ยม ไม่มีมุทิตาก็จะมีความอิจฉาริษยา ไม่มีอุเบกขาก็จะไม่รู้จักวางเฉย ไม่รู้จักปล่อยวางยึดมั่นอยู่
ความโหดเหี้ยม ความอิจฉาริษยา ความยึดมั่นไม่ปล่อยวางย่อมเป็นความไม่สวยไม่งามของจิตใจ ย่อมไม่เป็นที่พึงปรารถนาฉะนั้น เมื่อปรารถนาจะไม่ให้ได้ชื่อว่าเป็นคนโหดเหี้ยม ขี้อิจฉาริษยา หรือไม่ปล่อยวาง ก็ต้องอบรมพรหมวิหารธรรม เพื่อให้จิตพ้นจากสภาพที่ไม่งดงาม ไม่เป็นที่พึงปรารถนาดังกล่าว
ผู้ปรารถนาให้ตนเองมีจิตใจสูง มีจิตใจเย็น
ต้องอบรมพรหมวิหารธรรมให้สมบูรณ์ บริบูรณ์
ผู้ปรารถนาให้ตนเองมีจิตใจสูง มีจิตใจดี มีจิตใจเย็นสบาย ไม่มีโทสะ ไม่มีพยาบาท ไม่มีอิจฉาริษยา ควรต้องอบรมพรหมวิหารธรรมให้สมบูรณ์บริบูรณ์อย่าได้ว่างเว้น
โอกาสที่จะแผ่เมตตามีอยู่ทุกเวลา มีสติระวังให้มีอุเบกขาไปพร้อมกันด้วย ก็จะเป็นพรหมวิหารธรรมที่ถูกต้อง สมบูรณ์ บริบูรณ์ ที่จะให้คุณแก่เจ้าตัวเต็มที่ก่อนให้แก่ผู้อื่น
5. เครื่องปิดกั้นความประภัสสรแห่งจิต
กิเลส เครื่องทำให้ปรากฏความเศร้าหมอง
บังความประภัสสรแห่งจิต
กิเลส 3 กองใหญ่ เครื่องทำให้ปรากฏความเศร้าหมอง บังความประภัสสรแห่งจิต คือ โลภะ โทสะ โมหะ ก็คือการประกอบกันของอุปกิเลส 16 ข้อ
อุปกิเลส เครื่องประกอบของกิเลส
อุปกิเลส 16 คือ ความละโมบไม่สม่ำเสมอ เพ่งเล็ง และตระหนี่ โทสะ คือ ร้ายกาจ โกรธ ผูกโกรธไว้ โมหะ คือ ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ คือ ยกตัวเทียมท่าน มารยา คือ เจ้าเล่ห์ โอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี ถือตัว ดูหมิ่นท่าน มัวเมา และเลินเล่อ
ความโลภ โกรธ หลง จะถูกทำลายสิ้น
เมื่อทำลายอุปกิเลสหมดสิ้น แม้เพียงทีละข้อ
แม้ทำลายกิเลสทั้งกองพร้อมกันไม่ได้ การทำลายอุปกิเลสทีละข้อเป็นวิธีให้สามารถทำลายกิเลสทั้งกองได้ทุกกอง
ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะถูกทำลายหมดสิ้นได้ เมื่อทำลายอุปกิเลสหมดสิ้น แม้เพียงทีละข้อสงสัย
เครื่องปิดกั้นความประภัสสรแห่งจิต
จิตของเราทุกคนบริสุทธิ์ประภัสสรอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ได้เห็นกันทั้ง ๆ ที่ปรารถนาจะเห็นเที่ยวแสวงหา เพราะไม่ยอมรับรู้ความจริงว่าตัวเองไม่เคยหยุดยั้งการสร้างอุปสรรคขวางกั้น ไว้ตลอดเวลา
ความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสทั้งปวงที่ไม่เคยหยุดยั้งนั่นแหละ คือ เครื่องขวางกั้นบังจิตที่ประภัสสรเสียหมดสิ้น เพียงหยุดความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสเสียบ้าง ความประภัสสรแห่งจิตก็จะปรากฏให้เห็นได้บ้าง ยิ่งหยุดความปรุงแต่งอุปกิเลสได้มากเพียงไร ความประภัสสรแห่งจิตก็จะปรากฏให้เห็นได้มากเพียงนั้น ถ้าหยุดความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ความประภัสสรแห่งจิตก็จะปรากฏเจิดจ้าชัดเจนเต็มที่ มีความสว่างไสว ไม่มีเปรียบ
ไม่มีพลังอำนาจแม้วิเศษเพียงใด จะสามารถบังความประภัสสรแห่งจิตของผู้ไม่มีความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสทั้งปวงได้
ถ้าทุกคนตั้งใจทำความประภัสสรแห่งจิตของตน
โลกที่กำลังร้อนกำลังยุ่งก็จักหยุดร้อนหยุดยุ่ง
ผู้มีปัญญาปรารถนาจะได้พบเห็นแสงประภัสสรแห่งจิต ให้ตื่นตาตื่นใจ พึงเริ่มใช้สติปัญญาให้เต็มที่ หยุด หยุดยั้งความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสเถิด ใช่ว่าจะยากเกินความพยายามก็หาไม่ ใช่ว่าจะเห็นผลนานช้าก็หาไม่
ถ้าทุกคนพากันตั้งใจทำความประภัสสรแห่งจิตของตน ให้ปรากฏสว่างรุ่งเรืองยิ่งขึ้นทุกทีทุกที แม้จะยังไม่ถึงกับปรากฏเต็มที่ โลกก็จะหยุดยุ่ง เมืองก็จะหยุดร้อน ทั้งที่กำลังยุ่ง กำลังร้อนยิ่งขึ้นทุกเวลา
อำนาจความประภัสสรแห่งจิต อัศจรรย์ยิ่งนัก
อำนาจความประภัสสรแห่งจิตนี้มหัศจรรย์นัก มหัศจรรย์จริงไม่เพียงจะดับทุกข์ดับร้อนให้เย็นแก่ตนเองเท่านั้น แต่สามารถดับความร้อน ดับอันตราย ที่จะเกิดแก่สถาบันของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ของเราได้ด้วย
เราทุกคนเป็นผู้มีปัญญา มีความรู้พระคุณยิ่งใหญ่แท้จริงนัก ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สามารถแสดงความกตัญญูกตเวทีตอบสนองได้ด้วยวิธีที่ทุกคนสามารถ คือ ตั้งใจทำสติใช้ปัญญาที่มีอยู่เต็มที่ เพื่อหยุดความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสทั้งปวงให้ได้ แม้ทีละเล็กละน้อย ทีละข้อสองข้อ
มาเป็นคนดีกันเถิด อย่าเป็นคนชั่วเลย
ด้วยการแสดงกตัญญูกตเวทีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี ความอกตัญญูจึงเป็นเครื่องหมายของคนชั่ว มาเป็นคนดีกันเถิด อย่าเป็นคนชั่วเลย
6. อานุภาพแห่งความดี
ความทุกข์นานาประการที่ต่างได้พบได้เห็น
ได้ประสบกันอยู่ทุกวันนี้ มีกิเลสเป็นเหตุทั้งสิ้น
แทบทุกคนรู้จักคำว่า “กิเลส” รู้ว่ากิเลส หมายถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ส่วนมากก็สักแต่ว่ารู้เท่านั้น ไม่เข้าใจเพียงพอสมควร จึงไม่รู้ว่าในบรรดาสิ่งที่น่ารังเกียจน่ากลัวทั้งหมด...กิเลสเป็นที่หนึ่ง กิเลสน่ารังเกียจน่ากลัวที่สุด
เพื่อบริหารจิต ควรพยายามพิจารณาให้เห็นความน่ารังเกียจน่ากลัวของกิเลส ซึ่งที่จริงก็มิใช่ว่าจะเป็นสิ่งเห็นได้ยากจนเกินไปนัก ทุกเวลานาทีกิเลสแสดงความน่ารังเกียจน่ากลัวให้ปรากฏมิได้ว่างเว้น มิได้หลบซ่อน แต่อย่างเปิดเผย อย่างอึกทึกครึกโครมทีเดียว
การประหัตประหารกัน ลักขโมยฉ้อโกงกัน โกงกินกัน ใส่ร้ายป้ายสีแอบอ้างทำลายกันด้วยวิธีต่าง ๆ ก่อให้เกิดความสูญเสียชอบช้ำ ทุกข์โศกสลดสังเวชมากบ้างน้อยบ้าง ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดจากอะไรอื่น แต่เกิดจากกิเลส กิเลสมีอิทธิพลอย่างยิ่ง สามารถก่อให้เกิดดังกล่าวได้ และสามารถก่อได้อย่างไม่หยุดยั้ง อย่างไม่ต้องพักเหนื่อย ความทุกข์นานประการที่ต่างได้พบได้เห็นได้ประสบกันอยู่ทุกวันนี้ มีกิเลสเป็นเหตุทั้งสิ้น
กิเลสตัวโลภะหรือราคะ ปรากฏให้เห็นอยู่กันทั่วไป
โดยเฉพาะกิเลสที่ปรากฏอยู่ในใจของตนเอง
แม้ต้องการจะเห็นโทษ เห็นความน่ารังเกียจน่ากลัวของกิเลส ก็พึงทำใจให้มั่นคงว่าต้องการเช่นนั้นจริง ต้องการจะรู้จักโทษของกิเลสและหน้าตาที่น่าเกลียดน่ากลัวของกิเลสจริง
เมื่อทำความแน่วแน่มั่นคงเช่นนั้นแล้ว ก็จะสามารถรู้จักกิเลสได้อย่างแน่นอน ตั้งแต่ชีวิตเริ่มต้นในวันใหม่ทีเดียว แม้มีสติตั้งใจจะดูหน้าตาของกิเลสก็จะเห็น ไม่ว่ากิเลสของเราเองหรือกิเลสของผู้ใดอื่นก็จะเห็น
กิเลสตัวโลภะหรือราคะปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วบ้างทั่วเมือง ที่ไม่เห็นกันก็เพราะเห็นแล้วไม่มีสติรู้ว่าเห็นกิเลส โดยเฉพาะกิเลสที่ปรากฏอยู่ในใจตนเองยิ่งพากันละเลย มีโลภะหรือราคะอยู่ท่วมหัวใจ ก็หามีสติรู้ไม่ว่านั่นเป็นโลภะหรือราคะ
ความอยากได้นั่นอยากได้นี่ โดยเฉพาะที่จะต้องใช้ความพยายามที่ไม่ชอบ เพื่อให้ได้สมปรารถนา คือ ความโลภที่เด่นชัด ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นการอยากได้ทรัพย์สินเงินทองข้าวของเท่านั้น การอยากได้ชื่อเสียงสรรเสริญเกียติยศบริวาร โดยเฉพาะที่ไม่สมควร ก็เป็นความโลภหรือราคะเช่นเดียวกัน
พึงทำความเข้าใจในเรื่องของความโลภให้ถูกต้อง
พึงทำความเข้าใจในเรื่องความโลภให้ถูกต้อง ถ้าเข้าใจเพียงแคบ ๆ ว่า หมายถึง การอยากได้ หรือแสวงหาอย่างไม่ชอบซึ่งสมบัติพัสฐานเท่านั้น ก็จะไม่รู้จักกิเลสอย่างถ่องแท้ จะไม่แก้ไขจิตใจที่มุ่งมาดปรารถนาความมีหน้ามีตา มีบริษัทบริวาร ซึ่งอาจนำให้ทำไม่ถูกไม่ชอบได้ด้วยอำนาจความมุ่งมาดปรารถนาที่เป็นโลภะนั้น
ใจที่มีโลภะหรือราคะท่วมทับ จะเป็นปกติสม่ำเสมอ
ส่วนโทสะ จะเกิดเป็นครั้งคราวเท่านั้น
ยุคนี้สมัยนี้ การฆ่ากันทำลายกันส่วนใหญ่ มิได้เกิดจากมีโทสะความโกรธเป็นเหตุ แต่เกิดจากโลภะความโลภ เป็นเหตุมากกว่า แม้ไม่พิจารณาให้รอบคอบก็จะรู้สึกเหมือนว่า กิเลสกองโลภะ หรือ ราคะ ไม่มีโทษร้ายแรงนัก ที่จริงมีโทษหนักนัก
ใจที่มีโลภะ หรือราคะท่วมทับ จะเป็นไปอยู่เป็นปกติสม่ำเสมอ ส่วนโทสะจะเกิดเป็นครั้งคราวเท่านั้น จึงควรพิจาณากิเลสกองโลภะหรือราคะให้เป็นพิเศษ
การยกย่องคนดี หลีกเลี่ยงคนไม่ดี
แสดงถึงความมีสัมมาทิฐิ...ความเห็นชอบ เห็นถูก
การยกย่องคนดี หลีกเลี่ยงคนไม่ดี เป็นการแสดงความมีสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ เห็นถูก
การทำใจว่ากรรมของผู้ใด ผลเป็นของผู้นั้น เป็นสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบเห็นถูก แต่การแสดงออกหรือการปฏิบัติต้องไม่เป็นแบบชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ การปฏิบัติเช่นนั้นไม่ใช่สัมมาทิฐิ เรื่องของใจกับเรื่องการแสดงออก จำเป็นต้องแยกจากกันให้ถูกต้องตามเหตุผล จึงจะเป็นสัมมาทิฐิ
การทำความดีแต่ละครั้งนั้น ไม่ใช่ว่าผู้ทำจะได้รับ
ผลดีด้วยตนเองเท่านั้น แต่ย่อมเกิดแก่ผู้อื่นด้วย
ทุกคนเป็นบุถุชน ย่อมยังต้องการกำลังใจ คือ ต้องการความสนับสนุนจากผู้อื่น เป็นการยากนักที่จะมีผู้ไม่แยแสความสนับสนุนจากภายนอก มีความมั่นใจตนเองเพียงพอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการยกย่องสนับสนุนคนทำดี เพื่อให้มีกำลังใจทำความดีให้ยิ่งขึ้นต่อไป
การที่มีผู้ทำความดีแต่ละครั้งนั้น ไม่ใช่ว่าผู้ทำจะได้รับผลดีด้วยตนเองเท่านั้น แต่ผลดีย่อมจักเกิดแก่ผู้อื่นด้วยเป็นแน่นอน ผลดีหรือความดีที่มียู่หรือที่เกิดขึ้นนั้น มีอานุภาพกว้างขวาง ยิ่งเป็นความดีที่ยิ่งใหญ่เพียงไร แม้จะเกิดจากการกระทำของผู้ใดผู้หนึ่งเพียงคนเดียวก็ตาม ผลของความดีนั้นก็สามารถแผ่ไกลไปถึงผู้อื่นได้ด้วยอย่างแน่นอน ไม่ใช่ว่าผลดีจะมีขอบเขตจำกัดอยู่เฉพาะผู้ทำเท่านั้น
เพื่อให้เข้าใจชัดเจน พึงพิจารณาความจริงที่ปรากฏอยู่ ผู้ที่ตั้งใจทำความดีนั้น จะไม่มุ่งผลเฉพาะตน เช่นผู้ที่ตั้งใจมั่นจะเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่คิดโกง จะต้องมุ่งผลเพื่อผู้อื่นด้วย เช่นมุ่งรักษาชื่อเสียงวงศ์สกุลของตนและญาติพี่น้องไม่ให้เสื่อมเสีย เพราะความคดโกงของตน ไม่ได้มุ่งจะให้ใครยกย่องสรรเสริญตนเองเท่านั้น
อันความมุ่งคำนึงถึงผู้อื่นด้วยนี้เป็นธรรมดาสำหรับผู้มุ่งทำความดีด้วยใจ จริง อาจแตกต่างกันเพียงว่าจะคำนึงถึงผู้อื่นได้ไกลตัวออกไปมากน้อยเพียงไรเท่า นั้น ทุกคนพึงตระหนักในความจริงนี้ และให้ความใส่ใจในการทำความดีของผู้อื่น แม้จะเพียงผู้อื่นที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับตนก็ยังดี
เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งทำความดี
ควรแสดงความรับรู้อย่างชื่นชมให้เขาได้รู้เห็น
เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งทำความดี ได้รู้ได้เห็นเข้า อย่างน้อยก็ควรแสดงความรับรู้อย่างชื่นชมให้ผู้ทำความดีนั้นรู้เห็น เพื่อเป็นกำลังใจ เพื่อส่งเสริมให้ไม่ท้อแท้เหนื่อยหน่าย ต่อการที่จะทำความดีต่อไป อย่างมากก็ให้เกิดความซาบซึ้งชื่นชมในความดีของผู้อื่นอย่างจริงจับ และที่ไม่ควรยกเว้นก็คือ ให้คิดว่าผู้ทำความดีนั้นไม่ได้ทำเพื่อตัวเขาเองเท่านั้น แต่เขาทำเพื่อเราด้วย
ความดีนั้นมีอานุภาพยิ่งใหญ่
มีอานุภาพกว้างไกลมหัศจรรย์เป็นยิ่งนัก
อันบรรดาผู้ทำคุณงามความดีเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์นั้น ไม่ใช่เป็นผู้เดียวที่ได้รับผลดี เราทุกคนแม้จะได้ร่วมทำความดีนั้นด้วยหรือไม่ได้ทำด้วยเลยก็ตาม ก็ย่อมต้องมีส่วนได้รับผลดีจากการกระทำของบรรดาผู้ทำความดีดังกล่าวด้วยทั้ง หมด
ความดีอื่นก็เช่นกัน เช่น บรรดาผู้ถือศีลทั้งหลายเป็นต้น ไม่ได้เป็นผู้เดียวหรือพวกเดียวที่ได้รับผลดีจากการรักษาศีล อันเป็นความดีอย่างยิ่งนั้น แต่บรรดาผู้ไม่ถือศีล ผู้ผิดศีลอย่างมากทั้งหลาย ก็ล้วนมีส่วนได้รับผลดีจากการถือศีลของผู้อื่นทั้งสิ้น กล่าวได้ว่า “ความดีนั้นมีอานุภาพยิ่งใหญ่ กว้างไกลมหัศจรรย์นัก”
คำแนะนำที่ประเสริฐเลิศล้ำเพียงไร
หากไม่ปฏิบัติตาม ก็หาเป็นคุณประโยชน์ไม่
คำแนะนำสั่งสอนตักเตือน แม้ที่ประเสริฐเลิศล้ำเพียงไรก็ตาม หาอาจเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ผู้ใดได้ไม่ หากผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำสั่งสอนตักเตือนนั้น
7. แสงแห่งปัญญา มีอานุภาพใหญ่ยิ่ง
ความคิดย่อมพ่ายแพ้แก่อำนาจของปัญญา
ปัญญาควบคุมความคิดได้ ความคิดย่อมพ่ายแพ้แก่อำนาจของปัญญา
ดังนั้น ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถควบคุมความคิดมิให้ก่อให้เกิดความทุกข์ได้ นั่นคือผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถพาใจหลีกพ้นความเศร้าหมองของกิเลสได้ ผู้ไม่มีปัญญาหาทำได้ไม่
ความทุกข์ทั้งหลาย หลีกไกลได้ด้วยปัญญา
ปัญญามีอำนาจเหนือความคิด ก็คือ ปัญญามีอำนาจเหนือกิเลสนั่นเอง เพราะเมื่อปัญญาควบคุมความคิดได้ ความคิดก็จะไม่ปรุงแต่งไปกวนกิเลสที่มีอยู่เต็มโลก ให้โลดแล่นเข้าประชิดติดใจ จึงเป็นการควบคุมกิเลสได้พร้อมกับการควบคุมความคิด
ความเกิดเป็นทุกข์ เพราะความเกิดนำมาซึ่งความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจและความไม่ประจวบด้วยสิ่งปรารถนาทั้งปวง
ความทุกข์เหล่านี้หนีไม่พ้น เพราะเป็นผลตามมาของความเกิดอย่างแน่นอน
ความทุกข์ทางกาย...หนีพ้นได้ด้วยการไม่เกิดเท่านั้น
ส่วนความทุกข์ทางใจ...หนีได้ด้วยความคิด
อานุภาพแห่งแสงของปัญญา
สติต้องรู้ก่อนว่า กิเลส คือ โลภะ หรือ ราคะ โทสะ โมหะ ตัวใดกำลังเข้าประชิดจิตใจ เมื่อมีสติรู้..ก็ให้ใช้ “ปัญญาวุธ” คือ ใช้ปัญญาเป็นอาวุธ ด้วยความคิดง่าย ๆ ว่า กิเลสเป็นความเศร้าหมอง
กิเลสไม่ว่าความโลภ ความโกรธ หรือความหลง จะนำความมืดมัวเศร้าหมองให้เกิดแก่จิตใจ ยังให้เป็นทุกข์เป็นร้อนไปร้อยแปดประการ
เมื่อปรารถนาความไม่เป็นทุกข์ ต้องไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ ความโกรธ ความหลง ต้องไม่โลภ ต้องไม่โกรธ ต้องไม่หลง ไม่มีสิ่งใดที่น่ากลัวเสมอความไม่สบายใจ ไม่มีอะไรเลยที่มีค่าเสมอกับจิตใจ
สมบัติทั้งปวงที่จะเกิดแต่ความโลภ ก็มีค่าไม่คุ้มกับความเสียหายที่จะเกิดแก่จิตใจ จึงความรักษาใจไม่ให้เสียหาย ไม่ให้เศร้าหมอง ด้วยความบดบังของกิเลส
ความคิดอันประกอบด้วยปัญญา
ความคิดอันประกอบด้วยปัญญา สามารถหยุดยั้งความโลภ ความโกรธ ความหลง มิให้เคลื่อนตัวเข้าห้อมล้อมจิตใจได้จริง ดังเช่นเมื่อจะเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ว่าไม่ได้รับความรักความสนใจจากคนนั้นคนนี้ ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจจะสิ้นสุดได้ ถ้าจะคิดได้ด้วยปัญญา
ใจของทุกคนเปรียบดังบ้านของเขา บ้านของใครใครก็มีสิทธิที่จะต้อนรับใครอย่างใดก็ได้ ตรงไหนของบ้านก็ได้ หรือแม้แต่จะไม่เปิดประตูรับให้เข้าบ้านก็ยังได้ ความสำคัญอยู่ที่ตัวเรา ต้องวางตัวให้เหมาะสมกับสถานที่ที่เจ้าของบ้านต้อนรับ เขาให้ยืนอยู่หน้าประตูบ้าน ก็ยืนให้เรียบร้อยสงบอยู่ อย่าให้เป็นเป้าสายตาผู้ผ่านไปมา อย่าให้เขารู้สึกว่าเราเป็นตัวตลก เต้นเร่า ๆ ต่อว่าต่อขานการต้อนรับของเจ้าของบ้าน เรียกร้องจะเข้าบ้านเขาให้ได้ หรือถ้าเขารับเราที่ห้องรับแขก เราก็ต้องวางตัวให้สมกับที่เขาต้อนรับเรา หรือถ้าเขาต้อนรับเราถึงห้องนอน เราก็ต้องปฏิบัติให้ควรแก่ความสนิทสนม หยิบจับช่วยเขาจัดห้องให้เรียบร้อยได้ ก็ทำให้เกิดประโยชน์แก่เขาผู้ถือเราเป็นเพื่อนสนิท ความคิดที่ต้องคิดก็คือ บ้านเขา...เขาจะรับเราตรงไหน เราก็ต้องรักษากิริยามารยาทอยู่ตรงนั้นให้งดงามเหมาะสม ใจเขารับเราอย่างไรก็เช่นเดียวกัน เป็นสิทธิของเขา ถ้าคิดไปให้น้อยใจ เราก็ทุกข์เอง หาสมควรไม่
ความไกลกิเลสได้ พาให้ไกลทุกข์ได้
ชีวิตนี้ของทุกคนน้อยนัก น้อยจริง ๆ และวาระสุดท้ายจะมาถึงวินาทีใดวินาทีหนึ่งหารู้ไม่ จึงไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง คิดให้ไกลกิเลสให้ได้จริง ๆ เถิด เพราะความไกลกิเลสเท่านั้นที่จะพาให้ไกลทุกข์ได้
ความคิดนั้นแก้กิเลสได้ ดับกิเลสได้ คือ ทำที่ร้อนให้เย็นได้ ความสำคัญอยู่ที่ต้องคิดให้เป็น คิดให้ถูกเรื่อง ถูกจริตนิสัยของตน ความสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ต้องมีความจริงจังที่จะดับความร้อนในใจตน
เมตตา : เครื่องดับความร้อนของกิเลส
ความโกรธ เป็นความร้อนที่รู้สึกได้ง่าย เพราะเป็นความรู้สึกที่รุนแรงและเด่ชัด ยิ่งกว่าความรู้สึกรักหลง
สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า เมตตาเป็นเครื่องดับความโกรธได้ และเมตตาก็หาใช่การคิดหรือการพูดว่า “จงเป็นสุดเป็นสุขเถิด” เท่านั้นไม่
ผู้ปรารถนาจะเป็นผู้มีเมตตา เห็นใจในความทุกข์ของเพื่อร่วมทุกข์ทั้งปวง ไม่ว่าเห็นหน้าใครก็จะเห็นความทุกข์ของเขาเสมอไป แม้เป็นเพียงคิดเอาเท่านั้นว่าคนนั้นคนนี้อาจจะกำลังมีทุกข์เช่นที่ตนเองเคย มี
อันการคิดถึงใจตนเมื่อยามทุกข์ร้อนนั้น เป็นวิธีที่จะทำให้เข้าใจซาบซึ้งในความทุกข์ของผู้อื่นได้ เราทุกข์เป็นอย่างไร คนอื่นทุกข์ก็เช่นเดียวกัน ปรารถนาจะได้รับความเมตตาเห็นใจ ช่วยคลายทุกข์ให้ด้วยกันทุกคน
บางคนโชคดี ได้พบด้วยตนเองว่า ผู้ที่ดูมีความสุขนั้น เมื่อหมดความอดกลั้นระบายความทุกข์ออกมา ก็จะเป็นสิ่งไม่น่าเชื่อว่ากิริยาท่าทีของเขา สามารถพรางความเร่าร้อนในหัวอกของเขาไว้ได้มิดชิดเหลือเกิน จนเมื่อพบเห็นแล้วไม่ได้รู้สึกเลยว่าเขาเป็นผู้หนึ่งซึ่งกำลังมีความทุกข์ นักหนา ต้องการความเมตตาเห็นใจอย่างยิ่ง เพื่อนร่วมโลกของเราทั้งนั้นเป็นเช่นนี้ อย่าคิดว่าคนอื่นมีความสุข ตนเองเท่านั้นที่มีความทุกข์ ความคิดเช่นนั้นผิดแน่นอน เมตตาก็ไม่เกิดจริงเมื่อมีความคิดเช่นนั้น จะเกิดก็แต่เพียงปากว่าเท่านั้น นั่นน่าเสียดายนัก
ตั้งใจคิดให้เห็นถึงความทุกข์ของผู้อื่น
การเฝ้าแต่คิดว่า ทุกคนมีความทุกข์ ทั้ง ๆ ที่ ภายนอกของเขาดูเป็นสุข ก็น่าสงสัยว่าจะมีเป็นการคิดในแง่ร้ายจนเกินไปหรือ
ผู้ช่างคิดเช่นนี้จะมีเป็นคนหาความสุขใจไม่ได้หรือ จะมีเต็มไปด้วยความทุกข์ทั้งชีวิตจิตใจทุกเวลานาทีหรือ ที่จริงก็น่าสงสัยเช่นนี้เหมือนกัน
แต่ความจริงนั้นอยู่ที่ว่า ผู้ตั้งใจคิดให้เห็นความทุกข์ของผู้อื่นนั้น เป็นผู้มีเมตตาจิตเป็นพื้น มุ่งคิดเช่นนั้นเพื่ออบรมเมตตาให้ยิ่งขึ้น ดังนั้นผลที่จะเกิดจากการเห็นความทุกข์ของผู้อื่น จึงจักไม่เป็นอื่น นอกจากเป็นความเมตตาที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับเท่านั้น
ดับความโกรธ...ด้วยพลังแห่งความเมตตา
เมื่อใจกำลังจะร้อนด้วยความโกรธ เพราะการกระทำคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง ผู้มุ่งมั่นอบรมเมตตาให้เกิดในใจตน จะสามารถหยุดความโกรธได้อย่างไม่ยากจนเกินไปนัก เพียงด้วยความมีสติรู้ว่า กำลังโกรธเขาแล้ว เพราะเขาพูดเขาทำที่ไม่เหมาะไม่ควรอย่างยิ่ง เมื่อสติรู้อารมณ์ตนเช่นนั้น ผู้มั่นคงอยู่ในการอบรมเมตตา ก็ดำเนินวิธีดับความโกรธต่อไป ด้วยการตำหนิหรือเยาะเย้ยตัวเองว่า นี่หรือคนมีธรรมะ คนมีเมตตา เพียงเท่านี้ก็เมตตาไม่พอแล้ว เมตตาไม่พอ เมตตาไม่พอ เมตตาไม่พอ ความคิดเช่นนี้จะดับความโกรธได้จริง ในเวลาไม่เนิ่นช้า
ทุกชีวิต ล้วนเป็นไปตามกรรม
คนไม่ได้เกิดมาเสมอกันทุกคนไป มีเกิดในตระกูลสูง เกิดในตระกูลต่ำ เกิดในเครื่องแวดล้อมดี เกิดในเครื่องแวดล้อมไม่ดี ทั้งนี้ก็เพราะเป็นไปตามกรรม กรรมในอดีตชาติของผู้ใดดี ผู้นั้นก็ได้เกิดดีในภพชาตินี้ การที่จะให้กิริยาวาจาใจของทุกคนเหมือนกันหมด...จึงเป็นไปไม่ได้ ต่างก็เป็นไปตามกรรมของตน ความคิดให้ถูกต้องจะทำให้คลายความขัดเคืองใจ เมื่อได้พบ ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังกิริยาท่าทาง หรือถ้อยคำน้ำเสียงที่ไม่สุภาพเรียบร้อย แต่รุนแรงหยาบคาย คนเราเกิดมาไม่เสมอกันได้รับการอบรมมาแตกต่างกัน เป็นความบกพร่องของแต่ละคน แต่ละอดีตชาติ ที่ประมาทในการทำกรรม ไม่ทำกรรมดี...จึงเลือกเกิดให้ดีในภพชาตินี้ไม่ได้
ความโกรธ...เป็นโทษแก่จิตใจอย่างมหันต์
ทุกวันนี้มีเหตุร้ายเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ผู้รับรู้มีความหวั่นไหวไปตามกัน ด้วยความสลดสังเวชสงสาร ก็ยังนับว่าไม่เป็นโทษแก่จิตใจมากมายนัก แต่ด้วยความโกรธแค้นผู้ก่อกรรมทำเข็ญนั้น นับว่าเป็นโทษแก่จิตใจอย่างมาก ไม่พึงปล่อยปละละเลยให้เกิดความรู้สึกดังกล่าวอีกต่อไป ควรแก้ไขให้หยุดความรู้สึกโกรธแค้นในความโหดเหี้ยมใจดำอำมหิต ของผู้ก่อกรรมร้ายแรงให้จงได้ จะได้ไม่เป็นการรับเอาความเศร้าหมองของผู้ก่อกรรมร้ายมาเป็นความเศร้าหมอง ของตนด้วย ซึ่งเป็นความไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง อกุศลจิตอกุศลกรรมของใคร ก็ให้เป็นผลเกิดแก่คนนั้น อย่าข้าไปร่วมรับมาเป็นผลของตน ต้องไม่ยอมปล่อยใจให้หวั่นไหวไปด้วยความขัดเคือง โดยมีความสงสารผู้รับเคราะห์กรรมร้ายเห็นเหตุ เพราะไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง
เหตุร้ายแรงอันเกิดจากกิเลสของมนุษย์
เหตุร้ายแรงอันเกิดจากกิเลสของมนุษย์นั้น ควรนำมาเป็นครูผู้อบรมจิตใจได้อย่างดีที่สุด เพราะความโลภหรือความโกรธหรือความหลงแท้ ๆ ที่คนสามารถทำร้ายถึงเข่นฆ่ากันได้อย่างโหดเหี้ยมอำมหิต ปราศจากเมตตาแม้แต่นิดในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นผู้อยู่ร่วมโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ร้อนนานาประการด้วยกัน กิเลสแผลงฤทธิ์ให้เห็นอยู่ชัด ๆ เป็นฤทธิ์ที่ร้ายแรงนักหนา จนสามารถทำให้กระทบกระเทือนถึงชีวิตจิตใจอย่างรุนแรง
พึงหาประโยชน์จากความรุนแรงอันเกิดแต่กิเลส
ผู้คนจำนวนมาก พลอยได้รับความกระเทือนจากิเลสร้ายแรงของผู้ปราศจาสิ้นซึ่งแสงสว่างของเมตตา เราเป็นคนนอกพึงถือเอาประโยชน์จากเหตุการณ์รุนแรงอันเกิดแต่กิเลสให้ได้ทุก ครั้งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ร้าย แม้เพียงด้วยการได้รู้ได้เห็น พึงมองให้เห็นความน่าสะพรึงกลัวของกิเลส พึงหนีไกลให้เต็มสติปัญญาความสามารถ มีความคิดเป็นเครื่องนำทาง คือ นำให้รู้สึกชัดแจ้งว่า กิเลสนั้นมีห้อมล้อมจิตใจผู้ใด ย่อมนำผู้นั้นให้คิดพูดทำที่ผิดร้ายได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขีดสุด ถึงฆ่าได้กระทั่งผู้ปราศจากความผิดไร้เดียงสา แม้ว่ากีดขวางทางกิเลสอยู่
แสงแห่งปัญญาที่แรงกล้า...ผลักดันกิเลสได้
การที่ใครคนใดคนหนึ่ง ยังอยู่ได้เป็นปกติสุขพอสมควร ไม่แผลงฤทธิ์ต่าง ๆ นานา ก็เพราะกิเลสยังห่อหุ้มครอบคลุมจิตใจไม่หนักหนา ไม่ถึงกับทำให้ก่อกรรมทำบาปรุนแรง
แต่ถ้าประมาท ไม่พยายามหนีกิเลสที่แวดล้อมอยู่ให้ห่างไกลไว้เสมอ พอเผลอกิเลสที่มีอยู่เต็มโลกทุกแห่งหน ก็จะเข้ารุมล้อมมากมายยิ่งขึ้น
เรื่องของกิเลสกับจิตนั้นเป็นเรื่องแลเห็นได้ยากมาก เพราะเป็นนามธรรมทั้งหมด ต้องยอมเชื่อท่านผู้รู้ที่ปฏิบัติรู้แจ้งแล้วว่ามีกิเลสห้อมล้อมจิตใจอยู่ จริงจัง ถ้ายังเป็นจิตใจของผู้ยังมิได้มีจิตใจของพระอรหันต์ ที่ไกลกิเลสแล้วสิ้นเชิง แต่มีความแตกต่างกัน ที่จิตบางดวงกิเลสห้อมล้อมเพียงบางเบา เพราะยังมีแสงแห่งปัญญาที่แรงกล้ากว่าแรงของกิเลส คอยขจัดปัดเป่าให้หนีไกลอยู่ แต่จิตบางดวงกิเลสห้อมล้อมหนาแน่นยิ่งขึ้นทุกที เพราะไม่มีแสงแห่งปัญญาที่แรงกล้าพอจะผลักดันกิเลสได้เลย
ทางเกิดของปัญญา
ปัญญาหรือเหตุผลจะแสดงออกในรูปของความคิด คือ ต้องคิดให้ดีให้ถูกให้ชอบ ปัญญาจึงจะทำงานได้ ที่กล่าวว่าให้ใช้ปัญญาก็คือ ให้คิดให้มีเหตุผลนั่นเอง
ความคิดเป็นความสำคัญ ไม่คิดให้ถูกให้ชอบก่อน ปัญญาก็ไม่ปรากฏขึ้นได้ คือ ไม่คิดให้ปัญญาฉายแสงขจัดความมืดก่อน ความเศร้าหมองก็จะสลายไปจากใจไม่ได้
ในทางตรงกันข้าม ไม่คิดให้ผิดให้ไม่ชอบก่อน ความรู้ไม่ถูกก็ไม่ปรากฏขึ้น คือ ไม่คิดให้มืดมน ความทุกข์ร้อนใจก็จะไม่เกิด ความคิดจึงสำคัญนัก
พึงระวังความคิดให้จงดี ให้เป็นความคิดที่เปิดทางให้แสงแห่งปัญญาฉายออก อย่าให้เป็นความคิดที่ปิดกั้นทางมิให้แสงแห่งปัญญาปรากฏได้
คนตกอยู่ในความมืด หรือคนตาบอด อยู่ในสภาพเช่นไร คนใจบอดก็เช่นเดียวกัน จะไม่ก้าวเข้าไปสู่ความทุกข์ ความเดือดร้อนนั้นใจกายนั้น...ไม่มี
ความคิด...เครื่องมือทำลายกิเลส
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งปัญญาสูงสุด คือ เป็นศาสนาที่อบรมให้ไม่เป็นทาสของความมืดมิด คือ กิเลส เครื่องมือทำลายความมืดมิดมีอยู่ด้วยกันทุกคนแล้ว แต่ต้องลับให้คมให้กล้าให้มีกำลัง
เครื่องมือนั้น คือ “ความคิด” ที่ต้องอบรมให้เป็นความคิดที่ดี ที่ถูก ที่ชอบ จึงจะปรากฏแสงแห่งปัญญาสว่างไสว ขับไล่กิเลสเหตุแห่งความมืดให้ห่างไกลได้ ตั้งแต่ชั่วครั้งชั่วคราว จนถึงตลอดไป
ทุกคนมีความคิด ทุกคนคิดอยู่ตลอดเวลานอกจากหลับ หรือปฏิบัติธรรมถึงเข้าภวังค์ คุมความคิดให้ดี อย่าให้ความคิดด้วยความโลภ ความโลภเกิดขึ้นได้ง่ายทุกเวลานาทีอยู่แล้ว ความอยากได้นั่นได้นี่เป็นความโลภ และความอยากได้อะไรต่อมิอะไร เป็นต้นว่า อยากได้แก้วแหวนเงินทอง ความอยากนั้นก็มิได้เกิด เพราะแก้วแหวนเงินทอง อันเป็นของที่ใคร ๆ ก็ต้องอยากได้ แต่ความอยากนั้น เกิดแต่ความคิดปรุงแต่งของแต่ละคนเองว่าสวย ว่างาม ว่ามีค่า มีราคา สามารถเพิ่มชื่อเสียงเกียรติยศให้ได้ ถ้าความคิดปรุงแต่งเช่นนั้นไม่เกิดขึ้น ความอยากได้ก็จะไม่เกิดขึ้นด้วย
สมบัติล้ำค่าที่ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน
ผู้มุ่งความไกลจากทุกข์ พึงควบคุมความคิดให้ดี เมื่อต้องรู้เห็นเกี่ยวแก่แก้วแหวนเงินทองของสวยงามใด ก็อย่าปล่อยใจให้คิดปรุงแต่งไปในความสวยงามมีราคา คุมความคิดไว้ให้ดี แม้จะคุมความคิดไม่ได้ ก็ให้คุมด้วยการท่องพุทโธ ธัมโม หรือสังโฆก็ได้ คิดถึงสรณะทั้งสามที่ประเสริฐสุด คิดให้ได้ให้ทันเวลาก่อนที่จะไปไขว่คว้าเอาของเหล่านั้นมาเป็นของตน ซึ่งแม้จะเป็นการได้มาอย่างถูกต้องทุกประการ แต่ก็จะเป็นการปล่อยความโลภให้เข้าครอบคลุมใจ...ได้ไม่เท่าเสีย สมบัติล้ำค่าใดก็ไม่มีค่าเสมอใจที่บางเบาด้วยกิเลส โลภ โกรธ หลง
สมบัติทั้งหลายเป็นของสวยงามน่าใคร่น่าปรารถนา ต่อเมื่อใจคิดปรุงแต่งให้เป็นเช่นนั้น สำหรับใจที่ไม่คิดปรุงแต่งให้เห็นเป็นของสวยงามน่าใคร่น่าปรารถนา สมบัติทั้งหลายก็หามีความหมายไม่ ก็จักเป็นเพียงวัตถุธรรมดา ที่ผู้มีปัญญาสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น คือ ทั้งแก่ส่วนตนและแก่ส่วนรวม
ความคิดปรุงแต่งเป็นได้ทั้งมิตรและศัตรู
ความคิดปรุงแต่งเป็นได้ทั้งศัตรูและมิตร คิดปรุงแต่งผิดก็จะเป็นศัตรู พาไปสู่ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความปรารถนาต้องการ อันเป็นโลภะความโลภ คิดปรุงแต่งถูกก็จะเป็นมิตร พาไปสู่ความสงบ ความมีปัญญา ด้วยอำนาจความรู้เท่าทันว่า สมบัติทั้งนั้นไม่ควรถือเป็นของน่าปรารถนาต้องการ อันจักเป็นการเพิ่มความมืดมิดแห่งกิเลสกองโลภะ หรือราคะ ให้ยิ่งขึ้น
ความคิดที่ไม่ดี เป็นเหตุไม่ดีด้วย
ความคิดสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคน ความคิดทำให้โลภ ความคิดทำให้โกรธ ความคิดทำให้หลง และทั้งความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นความไม่ดีอย่างยิ่ง สิ่งที่ทำให้เกิดความไม่ดี หรือเหตุแห่งความไม่ดี จึงต้องเป็นความไม่ดีเป็นเหตุไม่ดีด้วย
วิธีแก้ไขที่จะให้ความคิดเป็นเหตุดี เป็นความดีก็มี คือ ต้องควบคุมระวังความคิดให้ดีให้ได้ โดยนำเหตุผลหรือปัญญามาเป็นกรอบบังคับไว้ มิให้ออกไปนอกรอบ
ความคิดที่อยู่ในกรอบของเหตุผลของปัญญา
ย่อมเป็นเหตุดี ยังให้เกิดผลดีได้จริง
เมื่อความคิดอยู่ในกรอบของเหตุผลของปัญญา ก็ย่อมเป็นเหตุดี ยังให้เกิดผลดี คือ ความคิดไม่ทำให้โลภ ความคิดไม่ทำให้โกรธ ความคิดไม่ทำให้หลง เป็นคุณเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ตนเอง และแก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งปวง
8. ธรรมทานที่บริสุทธิ์ แท้จริง
หัวใจพระพุทธศาสนา
หัวใจพระพุทธศาสนา 3 ประการ ที่โปรดประทานไว้เป็นหลักประกาศพระพุทธศาสนา คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตให้ผ่องใส
และธรรมะหมวดอื่นที่ทรงสอน เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล ภาวนา ล้วนแสดงให้เห็นประจักษ์แจ้งว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาและพระปัญญาใหญ่ยิ่งจริงแท้ และทรงแสดงไว้แจ้งชัดในพระพุทธศาสนา
พระพุทธองค์ ผู้ยิ่งด้วยพระปัญญาคุณ
พระกรุณาคุณ และพระวิสุทธิคุณ
ทุกคนมีการกระทำคำพูดเป็นเครื่องแสดงออกของจิตใจ ใจเป็นเช่นไร การกระทำคำพูดจะเป็นเช่นนั้น พระพุทธศาสนาเป็นการกระทำของพระพุทธเจ้า จึงเป็นเครื่องแสดงพระพุทธหฤทัยอย่างชัดเจน เป็นเครื่องรองรับพระพุทธประวัติว่าเป็นจริง ดังแสดงเรื่องราวไว้ต่าง ๆ ที่ล้วนทรงยิ่งด้วยพระคุณ ทั้งพระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ พระวิสุทธิคุณ
พระผู้มีมหากรุณาคุณ อย่างหาผู้ใดเปรียบไม่ได้
ในพระประวัติของพระพุทธเจ้า มีกล่าวแสดงไว้ว่า เหตุเพราะได้ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ของคนแก่ คนเจ็บ คนตาย จึงทรงมีพระมหากรุณา ปรารถนาจะช่วยมิให้มีผู้ต้องได้รับความทุกข์เช่นนั้นต่อไป จึงตรงตัดพระหฤทัยสละความสูงส่ง ความสมบูรณ์บริบูรณ์ทุกประการที่ทรงเสวยอยู่ เสด็จออกทรงเผชิญความทุกข์ยากนานาประการ เพื่อแสวงหาทางที่จะทรงสามารถนำไปสู่ความพ้นทุกข์ของสัตว์โลกทั้งปวง
พระพุทธศาสนามีจุดเริ่มเกิดที่ตรงนี้ ตรงที่ทรงมีพระมหากรุณาอย่างบริสุทธิ์แท้จริงต่อสัตว์โลก ไม่มีความกรุณาของผู้ใดเปรียบได้ ผู้นับถือพระพุทธศาสนาจึงควรดำเนินตามพระพุทธองค์
พระมหากรุณาอันบริสุทธิ์แท้จริง
พระพุทธศาสนา มีพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้าเป็นจุดเริ่มต้น และมีพระมหากรุณาสืบเนื่องโดยตลอด มิได้ว่างเว้น แม้จนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ ก็ปรากฏพระมหากรุณาที่ประทับลึกซึ้งจิตใจ ยากที่ผู้ใดจะสามารถพรรณนาได้ถูกต้อง ทรงรับประเคนสุกรมัททวะ อาหารที่นายจุนทะถวาย แล้วรับสั่งให้นำส่วนที่เหลือไปฝังเสียทั้งหมด มิให้ถวายพระรูปอื่นต่อไป เสวยอาหารของนายจุนทะ แล้วต่อมาทรงลงพระโลหิต
ก่อนแต่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทรงมีพระมหากรุณาห่วงใยจิตใจของนายจุนทะ ว่าจะต้องเศร้าเสียใจยิ่งนัก เมื่อทราบว่าพระพุทธองค์เสวยอาหารของนายจุนทะแล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน และผู้คนทั้งหลายเมื่อล่วงรู้ก็จะกล่าวโทษนายจุนทะ ด้วยพระมหากรุณาล้นพ้น ทรงมีพระพุทธดำรัสให้พระอานนทเถระไปปลอบนายจุนทะไม่ให้เสียใจ แต่ให้โสมนัสด้วยรับสั่งว่าผู้ที่ถวายอาหารมื้อสุดท้าย ได้บุญเสมอกับผู้ถวายอาหารก่อนแต่จะทรงตรัสรู้
กล่าวได้ว่า แม้พระชนมชีพก็สิ้นสุดลงด้วยพระมหากรุณาอย่างบริสุทธิ์...แท้จริง หามีความกรุณาของผู้ใดจะเปรียบได้ไม่มีเลย ผู้นับถือพระพุทธศาสนา จึงควรอย่างยิ่งที่จะดำเนินตามรอยพระพุทธบาท
ยกพระบารมีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ เมืองไทยร่มเย็นเป็นสุขเพราะเป็นเมืองพระพุทธศาสนา คนเย็นอยู่ที่ใดที่นั้นย่อมเย็น ศาสนาเย็นอยู่บ้านเมืองใด บ้านเมืองนั้นก็ย่อมเย็น พระพุทธศาสนาเย็นนัก เพราะพระพุทธเจ้าทรงเย็นยิ่ง พระอรหันต์พุทธสาวกทั้งปวงก็เย็น
พุทธศาสนิกแม้ศึกษาปฏิบัติพระพุทธศาสนาจริง ย่อมมีโอกาสเป็นผู้เย็นด้วยกันทั้งนั้น เย็นด้วยความไกลจากกิเลสอันร้อย เย็นด้วยความดี ถึงวันนั้นเมื่อใดย่อมได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตผู้มั่นคนในความดีของตน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ ย่อมสามารถยังความเย็นให้เกิดขึ้นได้ในทุกที่ที่เข้าไปสู่มากน้อยตามความ เย็นแห่งตน
วาจาอันชนผู้ใดกล่าวดีแล้ว
วาขานั้นเป็นมงคลอันสูงสุด
พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้แปลความว่า “พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใคร ๆ ขัดใจ ไม่หยาบคาย เป็นเครื่องให้ความรู้ได้และเป็นคำจริง เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์” นี้แสดงถึงพระกรุณาคุณอย่างยิ่งประการหนึ่ง
พระกรุณาที่หยั่งลงในสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า ทรงปรารถนาที่จะถนอมรักษาทุกจิตใจ ไม่ให้ขัดเคืองขุ่นข้องบอบช้ำแม้เพียงด้วยวาจา
อันวาจานั้น สามารถยังให้เกิดได้ทั้งความรู้สึกที่ดี และทั้งความรู้สึกที่ไม่ดี ความเบิกบานแช่มชื่นแจ่มใสเป็นสุขอย่างยิ่งก็เกิดได้เพราะวาจา ความสลดหดหู่เร่าร้อนรุนแรง เป็นทุกข์แสนสาหัสก็เกิดได้เพราะวาจา วาจาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ด้วยพระมหากรุณา พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงพระพุทธประสงค์เกี่ยวกับวาจาไว้ในธรรมทั้งปวง ให้เป็นที่ปรากฏแก่โลก ว่าถึงสังวรระวังวาจาเช่นเดียวกับกายและใจ พึงปฏิบัติธรรมพร้อมทั้งกายวาจาและใจ เป็นต้น ในมงคลสูตรได้แสดงไว้ว่า “วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด”
ธรรมทาน ยิ่งกว่าทานทั้งปวง
ทาน คือ การให้สิ่งที่สมควรแก่ผู้ที่สมควรให้ แก่ผู้ที่สมควรได้รับ ความสมควรเป็นความสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่ง
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงสอนให้เป็นผู้ให้ ย่อมมิทรงหมายให้ให้ โดยไม่พิจารณาความสมควร แต่ย่อมทรงหมายถึงความสมควรให้สิ่งที่สมควรแก่ผู้ที่สมควรแก่สิ่งนั้น ผู้รับไม่ปฏิเสธที่จะรับเห็นค่าของสิ่งที่จะได้รับนั้น รับแล้วจะเป็นคุณประโยชน์ แม้การดุว่าตำหนิติเตียนผู้ที่สมควรได้รับการดุว่าตำหนิติเตียน เพื่อเป็นการช่วยเหลืออบรมปมนิสัยให้เป็นคนดี พระพุทธเจ้าทรงถือว่าเป็นทาน เป็นธรรม เป็นธรรมทาน ที่ทรงกล่าวว่า ยิ่งกว่าทานทั้งปวง
ธรรมทานที่บริสุทธิ์ แท้จริง
ต้องเริ่มต้นจากการมีอภัยทาน
ธรรมทานอันเป็นการดุว่าตำหนิติเตียนสั่งสอน ด้วยหวังให้กลับตัวกลับใจจากความไม่ถูกต้องมาสู่ความถูกต้อง จากความไม่ดีงามมาสู่ความดีงาม นี้จะเป็นธรรมทานที่บริสุทธิ์ได้จริง จะต้องเริ่มต้นด้วยมีอภัยทาน คือ ผู้จะให้ธรรมทานดุว่าตำหนิติเตียนสั่งสอนด้วยหวังดี หวังให้เปลี่ยนจากร้ายกลายเป็นดี เปลี่ยนจากผิดเป็นถูก จะต้องให้อภัยในความร้ายกาจของความไม่ถูกที่ตนพบเห็นให้ได้ก่อน ธรรมทานเช่นนี้จึงต้องมีอภัยทานเป็นส่วนประกอบสำคัญ
ผู้จะให้ธรรมทานเช่นนี้ จะต้องสะอาดจากความโกรธแค้นขุ่นเคืองใจ อันเกิดจากได้รู้ได้เห็นการกระทำคำพูดที่ไม่ดีงามไม่ถูกต้อง เป็นที่กระทบกระเทือนใจ ทานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ จึงมีความหมายลึกซึ้งและกว้างขวางอย่างยิ่ง
พรที่ประเสริฐ
การบำเพ็ญกุศลนั้น น่าจะถือได้ว่าเป็นการให้พรตัวผู้ทำกุศลเองประการหนึ่ง นอกไปจากพรที่ได้รับจากผู้อื่นที่มีผู้อื่นให้ พรทั้งสองประการนี้ ผู้รับจะรับได้เพียงไรหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการทำใจเป็นสำคัญที่สุด
พร คือ ความดี การให้พรก็เช่นเดียวกับการรับวัตถุสิ่งของ จะต้องมีเครื่องรับ การรับวัตถุต้องมีเครื่องรับเป็นวัตถุ เช่น มือ ภาชนะ อื่น ๆ ไม่เช่นนั้นจะรับวัตถุใดไม่ได้ แม้มีผู้ส่งให้ ผู้รับไม่มีเครื่องรับ ไม่ยื่นมือมารับ ของก็จะหายหกตกหล่นหมดสิ้น จะรับไว้เป็นสมบัติของตนไม่ได้
ไม่มีอะไรจะรับพรได้...นอกจากใจ
การรับพรก็เช่นกัน แต่เมื่อพรมิใช่เป็นวัตถุ จะเตรียมเครื่องรับที่เป็นวัตถุเช่นมือหรือภาชนะอื่น ๆ ย่อมรับไม่ได้ พรเป็นเครื่องของจิตใจ คือ ผู้ให้ตั้งใจด้วยปรารถนาให้พร โดยเปล่งเป็นวาจาบ้างหรือเพียงนึกในใจบ้าง การจะสามารถเป็นผู้รับพรอันเป็นเรื่องของจิตใจได้ จะต้องเตรียมเรื่องรับที่เกี่ยวกับจิตใจเช่นกัน และก็มีเพียงอย่างเดียวคือ ใจ ไม่มีอะไรอื่นจะทำให้สามารถรับพรได้นอกจากใจ
ใจเท่านั้น ที่สามารถรับพรได้ ทั้งพรที่ตนเองให้ตนเอง และพรที่ผู้อื่นให้ นั่นก็คือ ต้องทำใจให้พร้อมที่จะรับพรได้
มีใจอยู่ เหมือนมีมืออยู่ เมื่อมีผู้ส่งของให้ ก็ต้องยื่นมือออกไปรับไปถือ จึงจะได้ของนั้นมา ไม่ยื่นมือออกรับออกถือ ก็รับไม่ได้ ก็ไม่ได้มา และแม้เป็นของที่ดีที่สะอาด มือที่รับไว้เป็นมือที่สะอาด ของดีที่สะอาดก็จะไม่แปดเปื้อนความสกปรกที่มือจะเป็นของดีของสะอาดควรแก่ ประโยชน์จริง
พึงพิจารณาถึงเหตุของพรที่ได้รับให้ถ่องแท้
การรับพร ต้องน้อมใจออกรับ คือ ใจต้องยินดีที่จะรับ และต้องเป็นใจที่สะอาด ไม่เช่นนั้นจะรับพรไม่ได้ พรที่ตนเองพยายามให้แก่ตนเองก็รับไม่ได้ พรที่ขอจากผู้อื่นก็รับไม่ได้
เพื่อให้สามารถรับพรอันเกิดจากการบำเพ็ญกุศลด้วยตนเอง ผู้ทำกุศลต้องมีใจผ่องใสเตรียมรับ ขณะกำลังรับ และเมื่อรับไว้แล้ว และด้วยใจที่ผ่องใสนั้นพึงพิจารณาที่มีผู้ให้ ให้เข้าใจกระจ่างชัด ว่าพรนั้นเป็นผลของเหตุใด เพราะธรรมดา เมื่อให้พร พรนั้นก็เป็นการแสดงชัดแจ้งเพียงส่วนผล ส่วนเหตุเร้นอยู่เบื้องหลัง เมื่อให้พรสั้น ๆ เพียงผล แม้มิได้แสดงเหตุแต่ก็เท่ากับให้พรที่รวมทั้งเหตุแห่งผลนั้นด้วย
การรับพรที่ให้ผลสมบูรณ์จริง
เช่น เมื่อมีผู้ให้พรว่า ขอให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ผู้จะสามารถรับพรนั้นได้จะต้องมีใจผ่องใส พิจารณาให้เห็นตลอดสาย ให้เข้าใจว่าพรที่แท้จริงสมบูรณ์ คือ ขอให้รักษาตัว รักษาใจให้ดี อย่าให้เศร้าหมอง จะได้มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุข มีกำลังแข็งแรง
พรนี้มีทั้งส่วนเหตุที่เร้นอยู่ไม่แสดงแจ้งชัด คือ ขอให้รักษาตัว รักษาใจให้ดี อย่าให้เศร้าหมอง ส่วนผลของพรนี้ที่แสดงแจ้งชัด คือ ขอให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ผู้จะรับพรที่มีผู้ให้แล้วได้จึงต้องทำใจให้ผ่องใส พิจารณาให้เห็นส่วนเหตุของพรนั้นและปฏิบัติให้ได้ในส่วนเหตุ จึงจะได้รับส่วนผล เป็นการรับพรสมบูรณ์จริง
|
|
|
|
|