yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - ศาสนาพุทธ
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  => วันสำคัญพุทธศาสนา
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง

                                                        



                                                            
         ศาสนาพุทธ

    ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเปิดโอกาสให้ประชากรเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ตาม ความสมัครใจ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู คริสต์ และอิสลาม แต่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นศาสนา ประจำชาติ ที่ทำให้ชาวไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้ละมุนละไม อันก่อให้เกิดงานฝีมือ ศิลปะที่ หลากหลาย เกิดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน กลายเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่บ่งบอกถึง ความเป็นเอกราช ความเจริญรุ่งเรืองควบคู่ไปกับความงดงามที่มีอยู่ในจิตใจของคนไทย เป็นที่เลื่องลือไปถึงแดนไกล เป็น ที่สนใจของชาวต่างชาติ จนต้องเดินทางมาเยี่ยมชมดินแดนแห่งนี้ และยังมีนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งที่ให้ความสนใจศึกษา พุทธศาสนาในบ้านเราอย่างจริงจัง เด็กไทยอย่างเรา น่าจะทราบประวัติความเป็นมาอย่างคร่าว ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการ ค้นคว้าเพิ่มเติม
  

                                                  การกำเนิดของศาสนา

    พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนา หรือเทศน์ครั้งแรกเมื่อก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ ชมพูทวีป ซึ่งปัจจุบัน คือ ประเทศอินเดีย เนปาล และปากีสถาน โดยพระองค์ท่านประสูติก่อนพระพุทธศาสนา 80 ปี และ ท่านมีพระนามว่า "พระโคดมพุทธเจ้า" หรือ "สิทธัตถโคตมะ" การที่ท่านคิดหลักธรรมขึ้นมาก็เพื่อเป็นการปฏิรูปแนว ความคิด ความเชื่อ ของชาวชมพูทวีปในสมัยนั้นให้ดียิ่งขึ้น หลักธรรมที่ทรงแสดงนั้นปรากฎว่าเป็นสัจธรรมและเป็นสากล สามารถนำไปใช้กับบุคคลทุกวรรณะ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกยุค และทุกประเทศ ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่มีธรรม เป็นเครื่องครองชีพและครองโลก เป็นศาสตร์ที่รวมแห่งศาสตร์ทั้งหลาย ไม่ว่าเป็นศาสตร์แขนงใด เริ่มต้นแต่เคหศาสตร์ อันเป็นศาสตร์สำหรับผู้ครองเรือน สรีรศาสตร์อันเป็นศาสตร์สำหรับครองกาย จิตศาสตร์อันเป็นศาสตร์สำหรับผู้ครอง จิตใจ วิทยาศาสตร์ขั้นต่ำจนถึงขั้นสูงสุดสำหรับผู้ต้องการเอาชนะธรรมชาติก็รวมอยู่ ในพุทธศาสนาทั้งสิ้น

                                                   เทพนิมิตร's Avatar

                                             ประวัติความเป็นมา

    ประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตศักราช มีแคว้นของชนเผ่าอริยกะหรืออารยันแคว้นหนึ่งในตอนเหนือของประเทศอินเดียแถบ ลุ่มแม่น้ำคงคา ส่วนทางภาคตะวันออกเป็นแคว้นสักกะ ราชธานีชื่อ "กบิลพัสดุ์" (อยู่ระหว่างเมืองอาลาหะบัดกับเมือง ปัตนะในปัจจุบัน) พระราชาผู้ครองแคว้นทรงพระนามว่า "พระเจ้าสุทโธทนะ" และพระมเหสีทรงพระนามว่า "พระนางมหามายา" ประมาณ 584 ก่อนคริสตศักราช หรือ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ในวันเพ็ญเดือนหก พระนางมหามายา ได้ประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า "เจ้าชายสิทธัตถะ" ราชสกุลของพระองค์ก็คือ "ศากยะ" ส่วนโคตมะ เป็นชื่อของราชวงศ์
พระกุมารนี้คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระสมณโคดมพุทธเจ้า (พระองค์ท่านทรงสำเร็จ การศึกษาสำนักอาจารย์วิศวามิตร) ผู้เป็นศาสดาของพุทธศาสนา ซึ่งในกาลต่อมาได้กลายเป็นที่นับถือของประชาชนถึง หนึ่งในสามของโลกเมื่อพระเจ้าสิทธัตถะทรงพระเจริญวัยขึ้น ก็สนพระทัยครุ่นคิดแต่ปัญหาชีวิตของคน ทุกคน ต่อมาเมื่อทรงเสกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา แล้วประสูติพระโอรส คือ "ราหุล" เจ้าชายสิทธัตถะก็ยิ่งทรงเห็นโลกมีแต่ความทุกข์ อันเป็นห่วงผูกคอคล้องมนุษย์ ให้เกี่ยวข้องอยู่แต่ในโลกียวิสัย ทำให้เกิดรัก โกรธ โลภ หลง จนมนุษย์ขาดการพิจารณา เหตุผล บางครั้งถึงกับขาดเมตตาจิตต่อกัน จึงทรงหาทางดับทุกข์ เสด็จหนีจากราช สมบัติออกบรรพชา

    เมื่อพระชนมายุได้ 29 พรรษา และเสด็จท่องเที่ยวไปตามแคว้นใกล้ เคียง ศึกษาธรรมเพื่อแก้ทุกข์ตามสำนักลัทธิซึ่งมีมากมายในขณะนั้น และส่วนใหญ่ก็เป็น ลัทธิต่าง ๆ ที่สืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ ทรงอดทนทรมานพระวรกายอยู่ตาม สำนักอาจารย์และในป่าดงเป็นเวลา 6 ปี จนพระชนมายุได้ 35 ปี จึงทรงพบทางแก้ทุกข์ ได้ด้วยพระองค์เอง และทรงตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม (หรือพุทธคยาในปัจจุบัน) อันอยู่ในแคว้นมคธ ห่างจากกรุงราชคฤห์ประมาณ 300 ไมล์เมื่อตรัสรู้แล้วก็เสด็จเผยแพร่พระธรรมยังแคว้นมคธและแคว้นใกล้เคียง แล้วเสด็จสู่แคว้นสักกะโปรดพระพุทธบิดา มารดา พระมเหสี และศากยราชสกุล ประชาชนทุกชั้นวรรณะ ซึ่งก็มีผู้เลื่อมใสเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจตุบริษัทมีทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และทรงประกาศศาสนาร่วมกับพระสาวกอยู่ได้ 45 ปี ก็เสด็จปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ณ เมืองกุสินารา และในปีที่เสด็จปรินิพพานนั้นเป็นปีพุทธศักราช (พ.ศ.)สรุปพระชนมชีพของพระองค์เป็นไปตามลำดับ ดังนี้

  1. พระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรส
  2. พระชนมายุ 29 พรรษา เสด็จออกผนวช
  3. พระชนมายุ 35 พรรษา ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
  4. พระชนมายุ 80 พรรษา ปรินิพพาน
จุด หมายแสวงบุญใน
แดนพุทธภูมิ
Dharma wheel.svg
พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
ลุมพินีวัน · พุทธคยา
สารนาถ · กุสินารา
เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล
สาวัตถี · ราชคฤห์
สังกัสสะ · เวสาลี
ปาฏลีบุตร · คยา
โกสัมพี · กบิลพัสดุ์
เทวทหะ · เกสาริยา
ปาวา · พาราณสี
นาลันทา
อารามสำคัญในสมัยพุทธกาล
วัดเวฬุวันมหาวิหาร
วัดเชตวันมหาวิหาร
สถานที่สำคัญหลังพุทธกาล
สาญจิ · มถุรา
ถ้ำแอลโลลา · ถ้ำอชันตา
มหาวิทยาลัยนาลันทา









                                                         การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย

    นักปราชญ์ทางศาสนาสันนิษฐานว่าพระพุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในอาณาจักรทวาร วดี ประมาณว่าจะมีคนไทยเริ่มนับถือ ศาสนาพุทธในสมัยนั้น และสันนิษฐานว่าได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศไทย 4 ยุคด้วยกัน คือ

  ยุคที่ 1 ประมาณ พ.ศ. 300 มีพระสงฆ์นิกาย หินยานเข้ามาตั้งเผยแผ่ที่นครปฐม และได้สร้างพระปฐมเจดีย์ไว้
  ยุคที่ 2

ประมาณ พ.ศ. 1300 กษัตริย์กรุงศรีวิชัย แห่งเกาะสุมาตรานำศาสนานิกาย มหายานเข้ามาเผยแผ่ที่ นครศรีธรรมราชและเมืองไชยาได้สร้างพระมหาธาตุไว้ที่นครศรีธรรมราชและสร้างพระธาตุไว้ที่ไชยา

  ยุคที่ 3

ประมาณ พ.ศ. 1800 พระเจ้าอนุรุทธแห่งพม่านำศาสนานิกาย หินยานมาเผยแผ่ที่ ลานนาไทย

  ยุคที่ 4

พ.ศ. 1800 (พร้อมกับยุคที่ 3) พระสงฆ์มาจากเกาะลังกา นำศาสนานิกาย หินยาน เข้ามาเผยแผ่ที่นครศรีธรรมราชอีกครั้งหนึ่



                                                      
หลักธรรมของพุทธศาสนา

    ศาสนาพุทธมีธรรมะเป็นของพุทธศาสนาเอง คือ เรื่องของการดับแห่งทุกข์ ส่วนในทางศีลธรรมพระพุทธศาสนาสอนเช่น เดียวกับศาสนาของผู้รู้อื่น ๆ ก็ดี ปรัชญาก็ดี ไม่ว่าจะเป็นปรัชญาคติใด ย่อมจะตั้งอยู่บนความจริงเสมอ ความจริงที่แต่ละ ศาสนาและปรัชญาถือกันนั้นอาจจะแตกต่างกันได้ แต่ผู้ที่ประกาศลัทธิหรือประกาศทฤษฎีจะต้องถือว่าความจริงที่ตน ประกาศนั้นเป็นความจริงอันเที่ยงแท้ แล้วสอนศาสนาออกจากความจริงนั้นไปในทางอื่น ๆ คือ ทางศีลธรรมและความคิด หรือ การปฏิบัติ คำสอนของพระพุทธศาสนาตั้งอยู่บนความจริง 2 ระดับ และหนึ่งในนั้น ได้แก่ อริยสัจ คือ ความจริงที่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งมีอยู่ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

                                                การศึกษาพุทธศาสนาของชาวไทย

    ชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนาจะได้รับการอบรมสั่งสอนจากบิดามารดาหรือผู้ ปกครอง ตั้งแต่ในวัยเด็ก รวมทั้งหลักสูตรการ ศึกษาของไทยก็ได้บรรจุเรื่องของศีลธรรม ศาสนา ไว้ในทุกระดับการศึกษา อีกทั้งธรรมเนียมไทยสนับสนุนให้เด็กชาย บวชเป็นเณร และเป็นภิกษุเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ในชีวิตประจำวันก็ได้รับการอบรมสั่งสอนให้ละเว้นใน 5 สิ่ง และ ยึดถือปฏิบัติในสิ่งที่ตรงกันข้าม ที่เรียกว่า เบญจศีล และเบญจธรรม และในโอกาสสำคัญทางศาสนายังมีถือศีล 8 เพิ่มขึ้นอีก

ศาสนา หมายถึง ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ หรือหลักการ สถาบัน หรือประเพณี ที่เป็นที่เคารพ โดยทั่วไปแล้วอาจกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคุม และประสานความสัมพันธ์ของมนุษย์ ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข หรือคือ หลักการและวิถีทางที่มนุษย์เลือกใช้ในการดำรงชีวิต

สำหรับ ประเทศไทย ประชาชนมี เสรีภาพในการนับถือศาสนา โดย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ทุกศาสนา ศาสนาสำคัญ และมีคนนับถือมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และ ศาสนาซิกข์

เถรวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) ภาษาอังกฤษ: Theravada ภาษาบาลี: theravāda ภาษาสันสกฤต: स्थविरवाद sthaviravāda) เป็น นิกายที่เก่าแก่ที่สุดใน ศาสนาพุทธ มีอีกชื่อหนึ่งว่า หินยาน หรือ หีนยาน

นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือใน ประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด  และประเทศในแผ่นดิน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และ พม่า นิกายเถรวาทได้รับการนับถือเป็นส่วนน้อยใน ประเทศจีนและ เวียดนาม โดยเฉพาะใน มณฑลยูนนาน เนปาล บังคลาเทศที่ เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นเชื้อสาย ไทย และ สิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน

สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด [2]

นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับ นิกายอาจริยวาท (มหายาน)

พุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทยยังได้แบ่งเป็นนิกายย่อยอีก 2 นิกาย คือ มหานิกาย และ ธรรมยุตินิกาย

                                    มหานิกาย
มหานิกาย เป็นคำเรียกนิกาย(กลุ่ม)ของ พระสงฆ์ไทยสาย เถรวาทลัทธิ ลังกาวงศ์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นฝ่าย คันถธุระ

เดิมนั้น คำเรียกแบ่งแยกพระสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยออกเป็น "มหานิกาย" และ "ธรรมยุตินิกาย" ยังไม่มี เนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 3 นั้น ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์ไทยนั้นล้วนแต่เป็นเถรวาทสายลังกาวงศ์ ซึ่งสืบทอดมาแต่สมัย สุโขทัยทั้งสิ้

ต่อมาเมื่อพระวชิรญาณเถระ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ได้ก่อตั้งนิกายธรรมยุติขึ้น ในปี พ.ศ. 2376 แยกออกจากคณะพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่เดิมซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้น จึงทำให้เกิดคำเรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เป็นสายเถรวาท (สายลังกาวงศ์เดิม) ว่า "พระส่วนมาก" หรือ "มหานิกาย" นั่นเอง ซึ่งคำ "มหานิกาย" (บาลี : mahānikāya, สันสกฤต: महानिकाय) มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี มหา + นิกาย แปลว่าพวกมาก กล่าวโดยสรุป มหานิกายก็คือ "พระสงฆ์ฯ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่ไม่ใช่พระสงฆ์ ธรรมยุตินิกาย" 

ประวัติของนิกายเถรวาทในประเทศศรีลังกา

 

เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 พระเจ้าอโศกมหาราชทำการอุปถัมภ์สังคายนา พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (ครั้งที่ 3) ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในชมพูทวีป และจัดส่งสมณทูตไปยังดินแดนต่าง ๆ รวม 9 แห่ง หนึ่งในนั้นรวมดินแดนลังกา (ประเทศศรีลังกา) ด้วยต่อมาพระพุทธศาสนาใน ลังกาทวีป (ชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งของดินแดนศรีลังกาในอดีต) ได้เจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมบ้างตามความศรัทธาของประชาชน และเหตุการณ์บ้านเมือง ครั้นราว พุทธศตวรรษที่ 17 ปรากฏตาม พงศาวดารลังกาว่า เมื่อ พ.ศ. 1696 พระเจ้าปรักกรมพาหุมหาราช ได้ครองราชสมบัติในลังกาทวีป ซึ่งในเวลานั้นบ้านเมืองยังถูกพวก ทมิฬ (ฮินดู) ครอบครองอยู่โดยมาก

พระเจ้าปรักกรมพาหุจึงได้พยายามทำ สงครามขับไล่พวกทมิฬไปได้ และถึงกับยกกองทัพข้ามไปตีเมืองทมิฬใน อินเดียไว้ในอำนาจได้อีกด้วย เมื่อพระองค์จัดการบ้านเมืองในลังกาได้เรียบร้อยแล้ว จึงได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยให้พระสงฆ์ในลังกาทวีปรวมเป็นนิกายเดียวกัน พร้อมกับจัดทำ สังคายนาพระธรรมวินัย (ซึ่งนับถือกันว่าเป็นการสังคายนาครั้งที่ 7 ของฝ่ายเถรวาท) นับแต่นั้นพระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นในลังกาทวีป มีกิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่วในดินแดนใกล้เคียง ประกอบกับช่วงเวลานั้นพระพุทธศาสนาในอินเดียถูกชาวฮินดูเบียดเบียนให้เสื่อม โทรมลง เมืองลังกาจึงได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นหลักของประเทศที่นับถือพระพุทธ ศาสนาคตินิกายเถรวาทด้วยกัน


สถูปทรงโอคว่ำในเมืองอนุราชประ รูปทรงเดียวกับพระเจดีย์ที่นิยมสร้างในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช

การสืบนิกายเถรวาทลังกาวงศ์ในพุกาม

กิตติศัพท์ในการทำนุบำรุงการพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปเลื่องลือมาจนถึงดินแดน พม่าในสมัยของ พระเจ้านรปติสิทธุ แห่ง  อาณาจักรพุกาม ได้อาราธนาให้พระมหาสังฆปรินายก พุกามซึ่งมีนามว่า พระอุตราชีวมหาเถระ เป็นสมณทูตไปสืบ พระพุทธศาสนาในลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. 1733

ในจารึกวัดกัลยาณีกล่าวไว้ว่าเมื่อคราวพระมหาเถระอุตราชีวะไปเมืองลังกาครั้งนั้น มีเด็ก มอญชาวเมืองพสิมคนหนึ่ง ได้ถวายตัวเป็นศิษย์แล้วบวชเป็น สามเณร มีนามปรากฏว่า “ฉปัฎ” ได้บวชติดตามท่านไปลังกาด้วย ครั้นเมื่อพระมหาเถระอุตราชีวะจะกลับเมือง พุกาม สามเณรฉปัฎขออยู่เล่าเรียนที่เมืองลังกา เมื่ออายุครบบวชก็ อุปสมบทเป็น พระภิกษุใน วงศ์ของคณะสงฆ์ลังกา และได้เล่าเรียนศึกษาพระธรรมวินัยตามลัทธิที่สังคายนาครั้งพระเจ้าปรักกรม พาหุจนเชี่ยวชาญรอบรู้แตกฉาน เมื่อบวชครบ 10 พรรษา บรรลุเถรภูมิ(เป็นพระเถระ) จึงได้ชักชวนเพื่อนสหธรรมิกภิกษุที่ได้เล่าเรียนและเป็นพระมหาเถระภิกษุด้วย กันอีก 4 รูป มีนามว่า

  • พระ “สีวลี” ชาวลิตถิคาม (ลังกา) รูป 1
  • พระ “ตามะลินทะ” พระโอรสของพระเจ้ากรุงกัมโพช รูป 1
  • พระ “อานันทะ” ชาวเมืองกาญจนบุรี (หรือปัจจุบัน คอนชิวรัม Gonjeevaram เมืองมัทราษฎร์ ในอินเดียใต้) รูป 1
  • พระ “ราหุล” ชาวลังกา รูป 1

จาริกโดยสารเรือมายังเมืองพสิมแล้วขึ้นต่อไปยังเมืองพุกาม

พระเถระ 5 องค์ที่บวชมาจากลังกา เมื่อเห็นวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในเมืองพม่าผิดกับพระสงฆ์ลังกามากนัก จึงไม่ยอมร่วมลง สังฆกรรมกับพระสงฆ์ในคณะพื้นเมือง ทำให้พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทในเมืองพุกามเกิดเป็น 2 นิกายขึ้น (แยกกันลงสังฆกรรม)

พระสงฆ์ลังกาวงศ์นั้น เป็นพระมหาเถระสำรวมสังวรวัตรปฏิบัติเคร่งครัดผิดกับพระสงฆ์ในพื้นเมืองสมัย นั้น ทำให้เมื่อพระมหาเถระทั้ง 5 องค์ ได้ศึกษาภาษาพม่าจนสามารถสั่งสอนชาวเมืองได้ ก็ทำให้มีคนเลื่อมใสมาก จนกระทั่ง พระเจ้านรปติสิทธุ ก็ทรงเลื่อมใสทำนุบำรุงคณะพระสงฆ์ลังกาวงศ์ และสนับสนุนให้ ชาวพม่าบวชในนิกายลังกาวงศ์มากขึ้นเป็นลำดับมา

ทะเลเจดีย์ที่เมืองพุกาม หลักฐานความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในดินแดนพม่าในอดีต


ประวัติการตั้งนิกเถรวาทลังกาวงศ์ในเมืองนครศรีธรรมราช

ต่อมา พระราหุลเถระ หนึ่งในพระมหาเถระทั้ง 5 องค์ ได้นำกลุ่มคณะพระสงฆ์มายังประเทศหนึ่ง ปรากฏใน พงศาวดารพม่าว่า เมืองมลายะ (นครศรีธรรมราช) ซึ่งมีกษัตริย์ ศรีวิชัย เชื้อสายมลายูปกครองอยู่เป็นอิสระ

ต่อมากษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราชได้เลื่อมใสในพระราหุลเถระ จึงตั้งให้เป็นพระราชครู หลังจากนั้นจึงมีพระสงฆ์ชาวลังกาตามมาอีกมาก และได้มีชาวเมืองและชาวเมืองอื่น ๆ ในดินแดนแถบประเทศไทยและใกล้เคียง ได้พากันไปบวชเรียนที่เมืองลังกามากขึ้น ความนิยมนับถือในคติพระพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์จึงแพร่หลายตั้งมั่นใน ดินแดนประเทศไทยสืบมา (ลัทธิลังกาวงศ์เริ่มมาตั้งที่เมืองนครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ. 1740 ก่อนตั้งกรุงสุโขทัยประมาณ 50 ปี) 

พระมหาธาตุเมือง นครศรีธรรมราชเดิมมีลักษณะแบบมณฑป พระบรมธาตุไชยาแต่เปลี่ยนมาเป็นทรงโอคว่ำแบบลังกาในสมัยพระสงฆ์ลังกาวงศ์มาตั้งวงศ์ในประเทศไทย

 

ประวัติการตั้งนิกายเถรวาทลังกาวงศ์ในเมืองนครศรีธรรมราช


มาตั้งวงศ์ในประเทศไทย

ต่อมา พระราหุลเถระ หนึ่งในพระมหาเถระทั้ง 5 องค์ ได้นำกลุ่มคณะพระสงฆ์มายังประเทศหนึ่ง ปรากฏใน พงศาวดารพม่าว่า เมืองมลายะ (นครศรีธรรมราช) ซึ่งมีกษัตริย์ ศรีวิชัย เชื้อสายมลายูปกครองอยู่เป็นอิสระ

ต่อมากษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราชได้เลื่อมใสในพระราหุลเถระ จึงตั้งให้เป็นพระราชครู หลังจากนั้นจึงมีพระสงฆ์ชาวลังกาตามมาอีกมาก และได้มีชาวเมืองและชาวเมืองอื่น ๆ ในดินแดนแถบประเทศไทยและใกล้เคียง ได้พากันไปบวชเรียนที่เมืองลังกามากขึ้น ความนิยมนับถือในคติพระพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์จึงแพร่หลายตั้งมั่นใน ดินแดนประเทศไทยสืบมา (ลัทธิลังกาวงศ์เริ่มมาตั้งที่เมืองนครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ. 1740 ก่อนตั้งกรุงสุโขทัยประมาณ 50 ปี) 

 

ความเจริญของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลังกาวงศ์ในดินแดนประเทศไทย

วัดมหาธาตุ กรุงสุโขทัย ศูนย์กลางแห่ง พระพุทธศาสนาใน อาณาจักรสุโขทัย

เมื่อ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1817 - พ.ศ. 1860) ทรงสดับกิตติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกา จึงทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช ซึ่งเป็นพระเถระชาวลังกาที่มาเผยแผ่อยู่ที่นครศรีธรรมราช มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย

ต่อมาทั้ง ล้านนา มอญ และ เขมร ต่างก็นิยมฝ่ายลังกาวงศ์จึงได้ส่งพระสงฆ์ไปสืบพระพุทธศาสนาที่ลังกาบ้าง มีการนิมนต์พระลังกามาเป็น อุปัชฌาย์ในเมืองของตนบ้าง การเผยแพร่ พระพุทธศาสนาสาย เถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ในดินแดนแถบสุโขทัยจึงรุ่งเรืองมานับแต่นั้น ทำให้พระพุทธศาสนาฝ่าย มหายาน และ ศาสนาพราหมณ์ซึ่งเจริญมาแต่ก่อนนั้น หมดความนิยมไป

เมื่อคณะสงฆ์ได้รวมกันเป็นคณะเดียวกันแล้ว จึงได้แบ่งธุระ ออกเป็น 2 พวก คือ พวกที่สมาทาน คันถธุระ ก็เล่าเรียน ภาษาบาลี พระไตรปิฎก คณะสงฆ์ฝ่ายนี้มักเลือกวัดที่อยู่ใกล้บ้าน จึงได้ชื่อว่า "คณะคามวาสี" ส่วนพวกที่สมาทานวิปัสสนาธุระ ก็จะบำเพ็ญหาความสงบสุขอยู่ตาม วัดใน ป่า จึงได้ชื่อว่า "คณะอรัญวาสี" อย่างไรก็ตามทั้ง 2 คณะ ก็รวมอยู่ในนิกายเดียวกันคือ 'มหานิกาย' เผยแผ่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสืบมา

] การแยกนิกายของพระสงฆ์เถรวาทในประเทศไทย

วัดบวรนิเวศวิหาร ศูนย์กลางของคณะธรรมยุติกนิกาย

ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ 3 พระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏ ) ขณะที่ผนวชอยู่ที่ จังหวัดเพชรบุรีได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระ มอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ในวงศ์พระสงฆ์มอญ (รามัญนิกาย) เมื่อ พ.ศ. 2372 และได้ทรงตั้ง คณะธรรมยุติ ขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่ วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติสืบต่อมา

และใน รัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ รศ.121” มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ทำให้มีการแบ่งแยกเรียกนิกายของคณะสงฆ์ใหม่ ตามศัพท์บัญญัติของพระวชิรญาณเถระ ว่า "ธรรมยุติกนิกาย" และเรียกกลุ่มพระสงฆ์เถรวาทลังกาวงศ์พื้นเมือง ที่มีมาอยู่แต่เดิมว่า "มหานิกาย" สืบมาจนปัจจุบันน

การสังเกตการครองผ้าของพระสงฆ์ไทยทั้ง 2 นิกาย

แบบการครอง จีวรของ พระสงฆ์ เดิมใน พระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวไว้ชัดเจน มีเพียงใน เสขิยวัตรว่า "ให้ทำความสำเนียกว่า จักนุ่งจักห่มให้เป็น ปริมณฑล คือเรียบร้อย ... พึงนุ่งปิดสะดือและปกหัวเข่าให้เรียบร้อย พึงทำชายทั้งสองให้เสมอกัน ห่มให้เรียบร้อย ในการแสดงเคารพหรือทำวินัยกรรม "ให้ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า"" ซึ่งก็คือห่มดองนั่นเอง (ห่มจีวรเฉวียงบ่า) 

ในการเข้าบ้าน กล่าวแต่เพียงว่า "ห่มสังฆาฎิทั้งหลายทำให้มีชั้นและกลัดดุม แต่กำชับไว้ให้ปิดกายด้วยดี ห้ามไม่ให้เปิดไม่ให้เวิกผ้าขึ้น" สันนิษฐานว่าคือการ ห่มคลุมทั้งสองบ่า

การห่มผ้าของภิกษุที่มีผ้าประคดอกและสังฆาฏิพาดไหล่แบบมหานิกายแท้

 

การแบ่งประเภทของการครองจีวร

วัตรปฏิบัติในการครองจีวรของพระสงฆ์มหานิกาย หรือพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ในประเทศไทยก่อนที่จะมีคำสั่งของ      สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้พระภิกษุทั่วสังฆมณฑลห่มผ้าตามแบบของธรรมยุติกนิกายทั้งหมดนั้น มีการครองผ้าจีวร หลายประเภทเช่น "ห่มดอง" (เวลาลงสังฆกรรม) , "ห่มลดไหล่" หรือ "ห่มเฉวียงบ่า","ห่มคลุม" และ "ห่มมังกร" (เวลาออกนอกอาราม)


การห่มผ้าลดไหล่ของภิกษุแบบธรรมยุติ มีสังฆาฏิพาด

ห่มดอง

การครองผ้าจีวรเป็นปริมณฑล (ห่มครบไตรจีวร) ที่เรียกว่า "ห่มดอง" กระทำโดยมีการพับจีวรเป็นทบแล้วคลี่ทาบมาที่บ่าชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงนำผ้า สังฆาฎิซึ่ง พับเป็นผืนยาวมาพาดไหล่ด้านซ้ายของผู้ห่มก่อนที่จะนำ "ผ้ารัดอก" มารัดบริเวณอกอีกชั้นหนึ่ง เป็นการห่มที่เป็นที่นิยมทั่วไปของพระสงฆ์มหานิกาย

 

ห่มลดไหล่

"ห่มลดไหล่" "ห่มเฉียง" หรือ "ห่มเฉวียงบ่า" โดยนำผ้าจีวรผืนหนึ่งมาพันตัวโดยพันเข้าเข้าหาตัวหรือที่เรียกว่า "บิดขวา" เป็นการห่มแบบมหานิกายแท้ (ปัจจุบันพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายส่วนใหญ่นิยมห่มแบบธรรมยุติหรือแบบรามัญโดย "บิดซ้าย" หรือห่มผ้าลูกบวบหมุนซ้าย) 

 

] ห่มคลุม

ห่มคลุม 2 บ่า โดยห่มผ้าลูกบวบหมุนขวา (ปัจจุบันพระฝ่ายมหานิกายนิยมหมุนซ้ายแบบธรรมยุติ)

 

ห่มมังกร

ห่มมังกร หมุนผ้าลูกบวบทางขวาเวลาออกนอกวัด ใช้ในเวลาออกนอกอาราม (ปัจจุบันยังมีบางวัดนิยมการห่มแบบนี้อยู่ โดยมากจะเป็นวัดมหานิกายใน กรุงเทพมหานคร

 


ธรรมยุตินิกาย

ธรรมยุติ หรือ ธรรมยุติก เป็นนิกายหนึ่งของ พระสงฆ์ใน ประเทศไทย เป็นฝ่าย วิปัสสนาธุระ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระวชิรญาณเถระ ( เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ) และใน รัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ รศ.121” มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

 

     ตราคณะธรรมยุติ

ประวัติ

นิกายธรรมยุติตั้งขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ ( เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏ ) ขณะที่ผนวชอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่ วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ

แบ่งพัฒนาการของธรรมยุตินิกายเป็น 2 ช่วงคือ

  • ระยะที่ 1 การก่อตั้ง (พ.ศ. 2367 - 2379) หลังจากวชิรญาณภิกษุตั้งนิกายใหม่ขึ้นมาแล้ว พระองค์เจ้าฤกษ์ซึ่งมาบวชที่ วัดมหาธาตุเป็น พระธรรมยุติองค์แรกที่ห่มแหวกแบบรามัญเข้าไปรับบิณฑบาตรในพระราชวัง และถูกรัชกาลที่ 3 ตำหนิ วชิรญาณภิกษุจึงห่มแหวกบ้างและย้ายจากวัดมหาธาตุไปจำพรรษาที่ วัดสมอราย ในขณะเดียวกันรัชกาลที่ 3 ทรงพยายามควบคุมคณะสงฆ์มากขึ้น โดยทรงแต่งตั้ง กรมหมื่นไกรสรวิชิตให้กำกับ กรมสังฆการี และสถาปนาให้ กรมหมื่นปรมานุชิตชิโนรสเป็น เจ้าคณะกลางปกครองวัดในกรุงเทพฯทั้งหมด 61 วัด ให้มีระเบียบยิ่งขึ้น รวมทั้งการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนเมื่อ พ.ศ. 2377 ในที่สุดทรงให้วชิรญาณภิกษุมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร
  • ระยะ ที่ 2 การขยายตัวหลังจากวชิรญาณภิกษุมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร มีวัดสังกัดธรรมยุตินิกายมากขึ้น เพราะรัชกาลที่ 3 ทรงให้การรับรองวชิรญาณภิกษุเท่ากับรับรองความชอบธรรมของธรรมยุตินิกายไป ด้วย

วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อวชิรญาณภิกษุเสด็จมาประทับได้เป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วย เทคโนโลยี เมื่อวชิรญาณภิกษุทรงสร้างโรงพิมพ์ขึ้นในวัดเพื่อพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพุทธ ศาสนา และพัฒนาตัวพิมพ์อักษรไทยที่มิชชันนารีคิดขึ้นก่อนหน้านี้ให้สมบูรณ์ และยังประดิษฐ์ อักษรอริยกะเพื่อใช้พิมพ์ ภาษาบาลีแทน อักษรขอมด้วย

จุดประสงค์การก่อตั้ง

นิกาย ธรรมยุติ ตั้งขึ้นมาเพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่ง ที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและ พระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นการสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย

ธรรมเนียมและแบบแผนของธรรมยุตินิกาย

 

ระเบียบแบบแผนในด้านการปฏิรูปทางพระพุทธศาสนาของธรรมยุตินิกาย โดยพระวชิรญาณเถระ ( เจ้าฟ้ามงกุฏ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4)

  1. ทรงตั้งธรรมเนียมนมัสการพระเช้าค่ำ ที่เรียกว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ เป็นประจำ และทรงพระราชนิพนธ์บทสวดเป็นภาษาบาลี เป็นคาถา เป็น จุณณิยบท ซึ่งใช้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีการรักษาศีลอุโบสถ และแสดงพระธรรมเทศนาเวลาเก้าโมงเช้าและบ่ายสามโมงเย็น ในวันธรรมสวนะและวันอุโบสถ เดือนละ 4 ครั้ง
  2. ทรงปฏิรูปการ เทศน์และการอธิบายธรรมทรงเริ่มการเทศนาด้วยฝีพระโอษฐ์ ชวนให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายและเกิดศรัทธา ไม่โปรดเขียนหนังสือไว้เทศน์นอกจากนี้ยังทรงฝึกหัดศิษย์ให้ปฏิบัติตาม ทรงอธิบายเพื่อให้คนเข้าใจในเนื้อหาของหลักธรรม เผยแพร่หลักธรรมสู่ราษฎร อธิบายหลักอันยุ่งยากซับซ้อน คณะสงฆ์ธรรมยุติได้เพิ่มบทสวดมนต์ภาษาไทยลงไป ทำให้คนนิยมฟังเป็นอันมาก
  3. ทรงกำหนดวันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทาง ศาสนาเพิ่มขึ้นจากวันวิสาขบูชา ทรงพระราชนิพนธ์คำบูชา และวางระเบียบให้เดินเวียนเทียนและสดับพระธรรมเทศนา ทรงชักนำให้บำเพ็ญกุศลตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น ถวายสลากภัตร ตักบาตรน้ำผึ้ง ถวายผ้าจำนำพรรษา
  4. ทรงแก้ไขการรับผ้ากฐินให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ คือเริ่มแต่การซัก ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จภายในวันเดียวกัน
  5. ทรง แก้ไขการขอบรรพชา และการสวดกรรมวาจาในอุปสมบทกรรมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เช่น ระบุนามอุปสัมปทา และนามอุปัชฌายะ ซึ่งเป็นภาษาบาลีในกรรมวาจา การออกเสียง อักษรบาลี ทรงให้ถือหลักการออกเสียงให้ถูกฐานกรณ์ของอักขระตามหลักบาลีไวยากรณ์
  6. ทรง วางระเบียบการครองผ้า คือการนุ่งห่มของภิกษุสามเณร ให้ปฏิบัติไปตามหลักเสริยวัตรในพระวินัยเพื่อให้สุภาพเรียบร้อย (เดิมพระธรรมยุติครองจีวรห่มแหวก แต่ตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนมาห่มคลุม (ห่มหนีบ) ตามแบบพระสงฆ์มหานิกาย ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ จึงได้กลับมาห่มแหวกตามเดิม) ทรงวางระเบียบการกราบไหว้ของพระภิกษุสามเณร และระเบียบอาจารยะมารยาท ต้องวางตัวให้น่าเลื่อมใสศรัทธา สังวรในกิริยามารยาทและขนบธรรมเนียม
  7. ทรงให้พระสงฆ์ธรรมยุติ ศึกษาพระปริยัติธรรมให้แตกฉาน สามารถแสดงธรรมเทศนา สั่งสอน สามารถแยกระหว่างความเชื่อที่มีเหตุผล และความเชื่อในสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้ การศึกษาในด้านวิปัสสนาธุระ ไม่ใช่รับรู้เฉพาะสมถะวิธีอันเป็นเบื้องต้น แต่ให้รับรู้ไปถึงขั้นวิปัสสนากรรมฐาน การปฏิบัติตามพระวินัย ทรงให้ถือหลักว่าสิ่งใดที่สงสัยและน่ารังเกียจไม่ควรกระทำโดยเด็ดขาด พึงเคารพพระวินัยอย่างเคร่งครัด
  8. ทรงเห็นความสำคัญในการศึกษา หา ความรู้สาขาอื่น ๆ ของพระสงฆ์ จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับหมอแคสเวล (Reverend Jesse Caswell) ตามความสนใจ ทำให้มีการสืบสานการเข้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมของพระสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน

 



 

 
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden