yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง




แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ

ตอนที่ ๑ การปฏิบัติตนเพื่อหนีบาป

ตอนที่ ๒ ลักษณะแห่งการหนีบาป

ตอนที่ ๓ ปฏิบัติตนไม่ครบไปสวรรค์ได้ ไปนรกได้

บทที่ ๔ อารมณ์คิดฟุ้ง

ตอนที่ ๕ อบายภูมิเบื้องต้น

ตอนที่ ๖ จิตข้องอยู่ในทรัพย์สมบัติ ตายแล้วไปอบายภูมิ

บทที่ ๗ พุทธานุสสติกรรมฐาน

ตอนที่ ๘ วิธีปฏิบัติให้จิตเป็นสมาธิ

ตอนที่ ๙ การเจริญสมาธิในพุทธานุสสติกรรมฐาน

ตอนที่ ๑๐ อารมณ์เป็นสุขเพราะกำลังสมาธิ

ตอนที่ ๑๑ เปิดประตูให้พบทางสวรรค์ พรหมและพระนิพพาน

ตอนที่ ๑๒ การปฏิบัติตนในศีลข้อที่ ๑

ตอนที่ ๑๓ อานิสงส์ของการรักษาศีลข้อที่ ๑

ตอนที่ ๑๔ ศีลและกรรมบถ ๑๐ ข้อที่ ๒

ตอนที่ ๑๕ ศีลและกรรมบถ ๑๐ ข้อที่ ๓

บทที่ ๑๖ คาถามหาเสน่ห์

ตอนที่ ๑๗ ศีลข้อที่ ๕

ตอนที่ ๑๘ อานิสงส์ของกรรมบถ ๑๐ ข้อที่ ๔

ตอนที่ ๑๙ กรรมบถ ๑๐ ข้อที่ ๙ พยาบาท

ตอนที่ ๒๐ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ

ตอนที่ ๒๑ การปฏิบัติตนเพื่อหนีนรกแบบง่ายๆ

ตอนที่ ๒๒ การปฏิบัติตนเพื่อหนีนรกแบบง่ายๆ (ต่อ)

ตอนที่ ๒๓ องค์ของพระโสดาบัน

ตอนที่ ๒๔ จริยาของพระโสดาบัน


ตอนที่ ๑ การปฏิบัติตนเพื่อหนีบาป

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย
ต่อไปนี้อาตมาจะขอปรารภ เรื่อง การปฏิบัติตนหนีบาป
คำว่า "บาป" นี้บรรดาท่านพุทธบริษัท แปลว่า "การกระทำความชั่ว"

ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงยืนยันว่า
บุคคลใดถ้าตกเป็นทาสของความชั่ว คือ บาป
เวลาก่อนจะตายถ้ากำลังจิตเศร้าหมอง
มีกำลังใจกังวลอยู่กับบาป ตายแล้วก็ต้องตกนรก


ความจริงที่บางท่านคิดว่า การตายแล้วไม่เกิด
คือว่า ตายแล้วมีสภาพสูญ
อย่างไรก็ตามเถอะพระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า
คนเราตายแล้วต้องมีการเกิด
แต่การเกิดนั้นจะเกิดเป็นมนุษย์ หรือเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต
เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็ถือว่าเกิดทั้งหมด
ถ้าส่วนดีก็ไปเกิดเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง
ถ้าดีถึงที่สุดก็ไปเกิดเป็นพระอรหันต์เข้านิพพานไป

เป็นอันว่าอาตมาเองก็ขอยืนยัน
ตามที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
การตายแล้วเกิดนั้นมีจริง
ซึ่งบรรดาท่านพุทธบริษัทชายและหญิง
ส่วนใหญ่เวลานี้ก็ปฏิบัติในหลักสูตรของวิชชาสามบ้าง
ในหลักสูตรของอภิญญาหกบ้าง
สามารถระลึกชาติได้ว่า ก่อนจะเกิด เราเคยเป็นอะไรมาบ้าง
ตายเป็นอะไรมาบ้าง อย่างนี้ทราบกันอยู่แล้ว
ก็เป็นอันว่ายืนยันตามคำสั่งขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วได้ว่า
การตายแล้วต้องเกิดจริง
การที่จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์หรือไม่นั้น
ก็เป็นเรื่องของบุญและบาป
การกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็นำมาทั้งเศษบุญและเศษบาป

เศษบุญ เป็นปัจจัยให้ทุกคนมีความสุขตามสมควรกับบุญนั้น

เศษบาป เข้ามาครอบงำจิตเมื่อไหร่
ทุกคนที่ได้รับผลนั้นก็จะมีแต่ความทุกข์ ความเร่าร้อน

ถ้าหากว่าเราคิดว่าตายแล้วไม่เกิด
จิตจะมีความประมาทพลาดจากความเป็นจริง
ถ้าคิดอย่างนั้นบรรดาท่านพุทธบริษัทชายและหญิง
ก็จะมีความประมาทในชีวิต คิดว่าการเกิดมาแล้วตายก็สูญ
เมื่อมันจะสูญไปจากโลกนี้ ไม่มีการเกิดต่อไป
การกระทำความดีหรือการกระทำความชั่วใดๆ
ย่อมมีผลเฉพาะในชาติปัจจุบันเท่านั้น เพราะชาติข้างหน้าไม่มี
ถ้าคนที่มีกำลังใจดี ก็จะสั่งสมความดี เพื่อความสุขของตน
คนที่มีจิตหยาบบาปอกุศลก็ครอบงำ ก็จะทำแต่ความชั่ว
สร้างความเร่าร้อนให้แก่ตัวและบุคคลอื่น
ถ้าตายแล้ว บังเอิญที่ต้องเกิดจริงๆ
ความจริงอาตมาใช้คำว่าบังเอิญ เฉพาะบุคคลที่คิดว่าตายแล้วสูญ
สำหรับอาตมาเองจริงๆ ขอยืนยันว่า ตายแล้วเกิดแน่
การระลึกชาติเราสอนกันได้
แล้วมีญาติโยมพุทธบริษัททำได้นับแสน
ถ้าเราไม่มีการเกิด เราจะรู้ชาติที่แล้วมาได้อย่างไร

ก็รวมความว่า ขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าการเกิดต่อไปมีจริงๆ
ใครท่านจะว่าไม่มีก็ช่างท่านเถอะ
เรื่องความเห็น นี่อย่าไปถือเป็นเรื่องความผิดเรื่องถูก
ของใครก็ของมัน อาตมาบวชมาตามหลักสูตรในพระไตรปิฎก
ซึ่งบรรดาพระทั้งหลายยอมรับว่า
เป็นถ้อยคำที่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอน
และก็ปฏิบัติตามพระไตรปิฎกก็มีผลตามนั้น จึงหมดสงสัย

ในเมื่อเรามาพูดกันถึงเรื่องเกิดพอสมควร
เพราะว่าเกิดแล้วตาย แล้วจะต้องไปนรกบ้าง ไปสวรรค์บ้าง
คือไปสู่แดนของความสุขบ้าง แดนของความทุกข์บ้าง
ทุกคนก็ไม่มีใครอยากพบกับแดนของความทุกข์
ต้องการอย่างเดียว คือ ต้องการพบกับแดนของความสุข

เราจะทำอย่างไรกัน ?

ข้อนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
ที่มีความเคารพในพระพุทธเจ้า ฟังคำแนะนำ
ของพระพุทธเจ้าสักหน่อยหนึ่ง แล้วลองไปปฏิบัติตาม
ถ้าทุกท่านที่ฟังแล้วนำไปปฏิบัติได้จริง
อาตมาก็ขอยืนยันว่าการเกิดต่อไปข้างหน้าของท่าน
ที่มีกี่ครั้งก็ตามกี่ชาติก็ตาม
ขอยืนยันว่าทุกท่านจะไม่พบกับอบายภูมิทั้ง ๔
คือ การเกิดเป็นสัตว์นรกก็ดี เป็นเปรตก็ดี เป็นอสุรกายก็ดี
เป็นเดรัจฉานก็ดี จะไม่มีแก่ท่านทุกชาติที่เกิดอีกต่อไป
และการเกิดของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ก็จะจำกัดการเกิด
เอาเฉพาะการปฏิบัติอย่างหยาบๆ
ท่านทั้งหลาย ถ้าจะมีการเกิดจริง
ถ้ากำลังใจของท่านย่อหย่อน ปฏิบัติได้แต่ว่าไม่เคร่งเครียดนัก
คือ ปฏิบัติได้ไม่ละเอียดนัก พอทำกันได้
เรียกว่าประเภท "เช้าชามเย็นชาม"
แต่ก็สามารถทรงความดีไว้ได้
อย่างนี้ถ้าหากว่าท่านจะเกิดใหม่ก็เกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ๗ ชาติ
ตามหลักวิชา หลังจากนั้นก็เป็นพระอรหันต์เข้านิพพาน

ถ้ามีกำลังใจเข้มแข็งทำได้แบบละเอียดจริงๆ
อารมณ์สุขุมทรงตัวได้อย่างดี
ถ้ากำลังใจประเภทนี้เราทำได้จะเกิดเป็นเทวดา
หรือพรหมอีกชาติเดียวเท่านั้น
กลับลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ๑ ชาติ เป็นพระอรหันต์เข้านิพพาน

หลักสูตรนี้มีในพระไตรปิฎก ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ทุกคนให้ตัดสังโยชน์ สังโยชน์นี่ถ้าตัดได้ ๓ จะเป็นพระโสดาบัน
หรือสกิทาคามี เพียงแต่เป็นพระโสดาบันอย่างหยาบ
ที่เรียกว่า สัตตักขัตตุง ต้องเกิดอีก ๗ ชาติ
เพียงเท่านี้ บรรดาท่านพุทธบริษัทอบายภูมิทั้ง ๔ จะเข้าไม่ถึง
และก็ไม่พบหน้ากันแล้วก็ขอลาอบายภูมิได้

สังโยชน์ ทั้ง ๑๐ ประการนี้มีอะไรบ้าง ?

๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรากมาส


สามข้อนี้อาตมาจะสอนญาติโยมพุทธบริษัทปฏิบัติกัน
ถ้าตัด ๓ ข้อนี้ได้ อย่างหยาบ ก็สามารถหลีกนรกได้แน่นอน
ไม่พบหน้ากันอีกแล้ว


ข้อที่ ๑ ที่เรียกว่า สักกายทิฏิฐิ
ซึ่งมีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา
หรือเรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา อย่างนี้เป็นต้น
หรือว่ามีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้มีสภาพไม่ตาย
มันจะทรงตัวอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย
ไม่เสื่อมไม่ตายไปจากโลกนี้
หรือว่ามีความเห็นว่าร่างกายนี้ นอกจากจะไม่ตายแล้ว
มันก็มีแต่ความสะอาด เรียกว่า มีความสะอาดน่ารัก น่าชม
น่านิยมทุกอย่าง ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นของโสโครก
แล้วก็มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้ เป็นเราเป็นของเรา
เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา

ความรู้สึกในสักกายทิฏฐิ
อาตมาตั้งไว้ ๓ ระดับ ก็เพราะอารมณ์อย่างนี้มีความรู้สึกไม่เสมอกัน

ถ้าอารมณ์ขั้นพระโสดาบันหรือสกิทาคามี
จะมีความรู้สึกเป็นแต่เพียงว่าร่างกายนี้ต้องตาย

ถ้าอารมณ์ของพระอนาคามี
จะมีความรู้สึกว่าร่างกายนี้นอกจากจะตายแล้ว
มีสภาพเสื่อม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และสลายตัวไปในที่สุด
ร่างกายของคนก็ดี ของสัตว์ก็ดี
วัตถุธาตุใดๆ ก็ดี ไม่มีคำว่าสะอาด
มีแต่คำว่าสกปรก น่าเกลียด น่าชังอย่างยิ่ง
มีความรังเกียจในการที่จะมีร่างกายต่อไปอีก
อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี

ถ้าเป็นอารมณ์ของพระอรหันต์
จะมีความรู้สึกว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา

ฉะนั้นจึงขอชวนบรรดาท่านพุทธบริษัทปฏิบัติแค่เบื้องต้น
ยึดอารมณ์ของพระโสดาบันเข้าไว้
เราจะเป็นพระโสดาบันหรือสกิทาคามีหรือไม่นั้นไม่สำคัญ
อย่าคำนึงถึงว่าเราจะต้องเป็นพระโสดาบันบ้าง เป็นสกิทาคามีบ้าง
ถ้ามีความรู้สึกอย่างนั้นความประมาท
จะเกิดแก่บรรดาท่านพุทธบริษัทคิดว่า "เราดีแล้ว"
ถ้าบังเอิญเราไม่ได้เป็นจริงๆ
ถ้าพลาดพลั้งตายไปอาจจะไปอบายภูมิได้

ฉะนั้นการปฏิบัติจริงๆ ให้ต้องการแต่ผล
อย่าคิดว่าตนเป็นอย่างนั้น
คิดว่าตนเป็นอย่างนี้ จะกลายเป็นคนมีมานะทิฏฐิ
ซึ่งเป็นกิเลสหยาบทำปัญญาให้ถอยหลัง

รวมความว่าสังโยชน์ ๑๐ ประการก็คือ

๑. สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี่มันจะไม่ตาย
ร่างกายสะอาด ร่างกายเป็นเราเป็นของเรา
เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา

๒. วิจิกิจฉา มีความสงสัยในพระพุทธเจ้า
ในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สงสัยในความดีของพระอริยสงฆ์
ไม่ตกลงว่าจะยอมรับนับถือหรือไม่

๓.สีลัพพตปรามาส ไม่ตั้งใจรักษาศีลอย่างจริงจัง
รักษาศีลประเภทศีลหัวเฒ่าคือผลุบเข้าผลุบออก
ประเดี๋ยวก็ทรงตัวบ้าง ประเดี๋ยวก็ไม่ทรงตัวบ้าง

สังโยชน์ข้อที่ ๔ กามฉันทะ
มีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม
รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ
นี่เรียกว่าติดหลงใหลใฝ่ฝันอยู่ในกามารมณ์

สังโยชน์ข้อที่ ๕ ปฏิฆะ มีอารมณ์ข้องใจไม่พอใจ
คือ มีความโกรธ มีความไม่พอใจอยู่เป็นปกติยังเหลืออยู่

สังโยชน์ข้อที่ ๖ รูปราคะ มีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปที่เป็นวัตถุ หรือรูปฌาน

สังโยชน์ข้อที่ ๗ สงสัยใฝ่ฝันในอรูป หรือสิ่งที่ไม่มีรูป
หรือ อรูปฌาน ว่าดีเลิศประเสริฐแล้ว

สังโยชน์ข้อที่ ๘ มานะ ยังมีการถือตัวถือตน ว่าเราดีกว่าเขา
เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา

สังโยชน์ข้อที่ ๙ อุทธัจจะ ยังมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
ไม่มั่นใจในตัวเองว่าเราจะไปนิพพานดีหรือไม่ไปนิพพานดี
ไปได้แน่หรือไปไม่ได้แน่ เอาแน่นอนไม่ได้
คือ จิตใจขาดความเข้มแข็ง

สังโยชน์ข้อที่ ๑๐ อวิชชา อวิชชานี้ยังมีความหลงใหลใฝ่ฝัน
ในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก
ยังเห็นว่ามนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกเป็นของดี
ต้องการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ

รวมความว่าสังโยชน์ ๑๐ ประการนี้
เป็นเครื่องดึงเราให้เวียนว่ายตายเกิด
ตายแล้วเกิดใหม่ เกิดแล้วตาย
ไม่ใช่เกิดจากมนุษย์ตายเป็นมนุษย์
ตายจากมนุษย์เกิดเป็นมนุษย์ไม่ใช่อย่างนั้น
ตายจากมนุษย์ แล้วอาจจะเป็นสัตว์นรกก็ได้
เปรตก็ได้ อสุรกายก็ได้ สัตว์เดรัจฉานก็ได้
เป็นเทวดาหรือพรหมก็ได้ เป็นอะไรก็ได้
สุดแล้วแต่ความดีหรือความชั่ว

ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัท หรือบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร
สามารถตัดสังโยชน์ได้ถึง ๑๐ ประการ
พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า "พระอรหันต์" เป็นผู้ตัดกิเลส
เป็น "สมุจเฉทปหาน"

ก็รวมความว่า เราจะไม่พบกับคำว่า การเกิดเป็นสัตว์นรก
เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน
การเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา หรือพรหมไม่มีอีกแล้ว
ไปอยู่นิพพานแห่งเดียวมีแต่ความสุขสำราญ
ไม่มีความทุกข์เป็นที่ไป

ก็รวมความว่าวันนี้หรือวันต่อไป
ก็ยังไม่ชวนบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและเพื่อนภิกษุสามเณร
เป็นพระอนาคามี หรือเป็นพระอรหันต์
ก็ยังไม่ชวนทุกท่านเป็นพระโสดาบัน หรือสกิทาคามี
จะชวนเพียงว่า เรามาเอากันอย่างนี้ดีกว่า
ในเมื่อพระโสดาบัน ก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี
ท่านสามารถหลีกนรกได้เด็ดขาด
ถึงอย่างไรก็ตามท่านไม่มีโอกาสลงนรกได้อีก
นรกก็ไม่เกิด เป็นเปรตก็ไม่เกิด อสุรกายก็ไม่เกิด
เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ไม่เกิด
จะมีแดนที่ไปที่มาระหว่างมนุษยโลกกับเทวโลกเท่านั้น
เป็นอันว่า "ตัดอบายภูมิได้เด็ดขาด" เราต้องการกันแค่นี้ก่อน

ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทก็ดี
เพื่อนภิกษุสามเณรก็ดี อาตมาเองก็ตาม
สำหรับอาตมาจริงๆ มีความรู้สึกว่าเวลานี้ เป็นเด็กอ่อน
ยังเป็นเด็กอ่อนอยู่ ยังไม่กล้าต่อสู้อารมณ์
ที่เข้าไปถึงความเป็นพระอรหันต์
เราเป็นเด็กเล็กมีกำลังน้อยๆ ยกของ เบาๆ ก่อน

อันดับแรก ลองยกสังโยชน์ทั้ง ๓ ประการออกจากใจ
ก็คิดว่ายังไงๆ เราก็ไม่ไปนรกกันก่อน
ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นอสุรกาย ไม่เป็นสัตว์เดรัจฉานกันก่อนดีกว่า

เอายังไงก็ดี ตั้งต้นกันจุดนี้เถอะ
บรรดาท่านพุทธบริษัทผู้ปฏิบัติพระกรรมฐาน
การปฏิบัติกระกรรมฐานในหลักสูตรของวิชชาสามก็ดี
อภิญญาก็ดี ปฏิสัมภิทาญาณก็ดี
หากว่าท่านได้ ๒ ในวิชชาสาม, ๕ ในอภิญญาหก
หรือสมาบัติ ๘ แต่ว่าท่านไม่สามารถจะตัดสังโยชน์ ๓ ประการ
ให้พ้นจากใจได้ ท่านก็ยังเป็นเหยื่อของอบายภูมิ มีนรก เป็นต้น
เราก็มาลองดูมันยากนักไหม ยากหรือไม่ก็ลองพิจารณากันดู

๑. สักกายทิฎฐิ เอาตัวนี้เข้ามาตั้งต้นก่อน
อารมณ์ขั้นต้นของพระโสดาบันกับสกิทาคามิ
ท่านมีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตาย
และบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรก็ดีญาติโยมพุทธบริษัทก็ดี
มีความรู้สึกเหมือนพระโสดาบัน สกิทาคามีไหม
ท่านมีความรู้สึกตัวท่านเอง ท่านจะตายไหม
แต่ก็บางทีหลายๆ ท่านอาจจะลืม
คิดว่าเราจะต้องตายเป็นปีๆ ก็ได้
บางทีเกิดมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี
ลืมนึกถึงว่าชีวิตมันจะต้องตาย อันนี้เป็นของธรรมดาของพวกเรา
ญาติโยมก็เหมือนกัน เพื่อนภิกษุสามเณรก็เหมือนกัน
อาตมาก็เช่นเดียวกน เราก็ขี้หลงขี้ลืมเหมือนกัน

ต่อแต่นี้ไปเรามาตั้งต้นกันใหม่ดีไหม
ว่าต่อแต่นี้ก่อนจะหลับ เราจะคิดไว้ว่าหลับคราวนี้
จะได้ตื่นเห็นพระอาทิตย์วันใหม่หรือไม่ก็ไม่ทราบ
เราอาจจะต้องตายระหว่างการหลับหรือก่อนสว่างก็ได้
พอสว่างแล้วตื่นขึ้นมา
ก็มีความรู้สึกว่าเราจะได้เห็นกลางคืนของวันนี้หรือไม่ก็ไม่ทราบ
เพราะชีวิตในช่วง ๑๒ ช่วงโมง ของกลางวัน
เราอาจจะตายก่อนก็ได้ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง"

เรื่องความตายนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท
จงอย่าคิดว่าคนคิดถึงเรื่องความตายนี้
ต้องงอมืองอเท้าไม่ทำมาหากิน ไม่สั่งสมความดี
อันนั้นผิด องค์สมเด็จพระธรรมสามิสร ทรงแนะนำว่า
คนที่นึกถึงความตายนี่ เขาเป็นคนแกล้วกล้า
ประกอบกิจการงานทุกอย่างตามหน้าที่ครบถ้วน
เพราะไม่แน่ใจว่าจะตายเมื่อไร

สมมุติว่า ท่านมีสามีหรือภรรยา และมีบุตร ธิดาอยู่ด้วย
มีคนที่ต้องอุปถัมภ์ ถ้าเราประมาทในชีวิต
คิดว่าแก่สัก ๖๐ ปีหรือ ๗๐ ปี ๘๐ ปี หรือ ๑๐๐-๒๐๐ ปี
จะต้องตายเราก็ไม่สั่งสมทรัพย์สินไว้ เพื่อลูกเพื่อหลาน
ยังคิดว่าอีกนานเราจะตายไม่เป็นไร
ระหว่างนี้ทำกินพอกินไปวันๆ หนึ่งก็ได้
ถ้าเผอิญมันปุ๊บปั๊บตายไปก่อนล่ะ
ลูกหลานไม่ลำบากหรือ เราเองก็ลำบาก
เพราะเรามีทรัพย์น้อย พอจะตายขึ้นมาจริงๆ
จิตก็มีความกังวลถึงลูกถึงหลาน
ตัวจิตกังวลนี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท
จะทำให้เราต้องลงอบายภูมิ

หากว่าเราไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ
เราก็หาทางรวบรัดสิ่งใดที่จะสร้างทรัพย์สมบัติให้เกิดขึ้น
สำหรับทำทุนทำรอนไว้เพื่อเราในยามป่วยหรือยามแก่
ถึงเวลาที่มันตายไปแล้วลูกหลานไม่ลำบากในการจัดการศพ
หรือการเป็นอยู่ในเบื้องหน้า
เราก็หาทรัพย์สมบัติมาตามกำลังที่จะพึงหาได้
หาจนเต็มความสามารถ ด้วยความไม่ประมาทในชีวิต
อย่างนี้ถ้าบังเอิญมันยังไม่ตาย
ทรัพย์สินที่เราหาได้ ก็จะสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับเราในปัจจุบัน
ในเมื่อเราคิดว่าเราจะตายแล้ว
รู้ว่าตายแล้ว ถ้าทำความชั่ว จิตชั่วเราต้องไปอบายภูมิ
มีการเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นต้น
เราก็จะละจากความชั่วนั้น ตั้งหน้าตั้งทำดี พูดดี คิดดี
คนที่ทำดีพูดดีและคิดดี
คนประเภทนี้เป็นที่รักของทุกคนในโลก
ไม่มีคนเลวที่ไหนที่เห็นว่า คนพูดดี ทำดี คิดดี เป็นคนที่น่าเกลียด
ที่ต้องการประกาศเป็นศัตรู
ถ้าคนที่สติสัมปชัญญะสมบูรณ์
บรรดาท่านพุทธบริษัทใครเขาก็รักทุกคน ที่ทำดี พูดดี และคนคิดดี
เพราะการทำดีเป็นการกระทำที่ไม่เบียดเบียนบุคคลอื่นให้มีความทุกข์
คนก็ดี สัตว์ก็ดี ไม่มีความทุกข์ เพราะการกระทำของเรา
การพูดดี คนก็ดี สัตว์ก็ดี ในโลกจะไม่เกิดความลำบากเดือดร้อน
จากคำพูดของเราคนที่คิดดี
คนและสัตว์ในโลกจะไม่เกิดความลำบากยากแค้น ไม่มีอันตรายเ
พราะความคิดดีของเรา
เราเองก็มีแต่ความสดชื่น
คนอื่นเห็นเข้าก็มีการชื่นอกชื่นใจ อยากคบหาสมาคม
ไปที่ไหนก็มีแต่มิตรเป็นที่รัก

ถ้าอย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท
คนที่คิดว่าจะต้องตายและเกรงว่าจะไปอบายภูมิ ต่างคนต่างทำดี
ต่างคนต่างพูดดี ต่างคนต่างคิดดี
อย่างนี้เจอะหน้าคนก็มีแต่ความเป็นมิตร
ไม่มีใครคิดเป็นศัตรูต่อกัน
พูดก็พูดวาจาที่เป็นที่รักซึ่งกันและกัน
การกระทำก็ไม่ขัดใจกัน ไม่ขัดขวาง ไม่มีการกลั่นแกล้งกัน
ช่วยเหลือกัน ความคิดก็ไม่หมกมุ่นไปด้วยอารมณ์ที่เศร้าหมอง
อย่างนี้บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท
รวมทั้งเพื่อนภิกษุสามเณรเห็นด้วยไหม
ว่าก่อนจะตายหรือไม่ทันจะตาย เราก็มีความสุขแล้ว
ความสุขที่เกิดจากการเห็นหน้าและยิ้มแย้มแจ่มใสเข้าหากัน
ทุกคนก็มีแต่ความสดชื่น
ถ้ามีการขัดข้องในทรัพย์สินหรือสิ่งของต่างๆ
ต่างคนต่างยื่นโยนซึ่งกันและกัน
สงเคราะห์ซึ่งกันและกันอย่างนี้แหละ
บรรดาท่านภิกษุสามเณรทั้งหลายและญาติโยมพุทธบริษัท
ควรคิดใหม่ว่า เราจะต้องตาย
ในเมื่อเราคิดว่า จะต้องตายแล้ว
เราก็ตั้งใจว่าการตายของเราคราวนี้จะตายเมื่อไรก็ตามที
จะตายระยะไหนก็ตามคิดว่า พร้อมที่จะตายวันนี้ก็ได้เสมอ เราก็ทำดีทุกจุด

ความดีอันดับแรกบรรดาท่านพุทธบริษัทจะทำอะไรดี
จะทำอะไรเป็นจุดแรกดี
ก็ขอยืนยันยึดเอาสังโยชน์ข้อที่ ๒ ที่เราเรียกว่า "วิจิกิจฉา"
ทำลายวิจิกิจฉาให้พ้นจากกำลังใจของเรา

คำว่า "วิจิกิจฉา" นี่แปลว่า "สงสัย"
คือ สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า
สงสัยในความดีของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
สงสัยในความดีของพระอริยสงฆ์ มีพระอรหันต์ เป็นต้น

สงสัยว่าพระพุทธเจ้านะมีจริงหรือไม่
ถ้ามีจริงๆ พระพุทธเจ้าน่ะดีไหม
คำสอนของพระองค์ดีจริงๆ หรือเปล่า
นี่สงสัย สงสัยคำสอน นี่สงสัยพระธรรมเลย
แล้วสงสัยว่าพระอริยสงฆ์ในพระพุทธศาสนานี่มีหรือไม่มี
หนักๆ เข้าก็เลยคิดไม่มี
เพราะตัวสงสัยว่า พระพุทธเจ้าจริงๆ ก็ไม่มี
พระไตรปิฎกที่มีอยู่อ่านกันอยู่ ก็เป็นพระไตรปิฎกโกหกมดเท็จ
ใครเขียนขึ้นมาก็ไม่รู้ ก็เขียนแบบโกหกขึ้นมาว่า
โลกนั้นมี โลกนี้มี ระลึกชาติไม่ได้ จิปาถะกันไป
เลยสงสัยพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาที่เขาบอกว่า พระสงฆ์
พระสงฆ์น่ะเป็นพระสงฆ์จริงๆ
หรือว่าเป็นตัวเบียดเบียนประชาชน
ทำให้สังคมมีความทุกข์ มีความเร่าร้อน
เพราะพระไม่เห็นจะทำอะไร ได้แต่บิณฑบาต แล้วก็กิน
กินแล้วก็นอน นอนแล้วก็บิณฑบาต แล้วก็บอกบุญบ้าง
ขอบุญบ้างเรี่ยไรกันบ้าง จิปาถะ
มีแต่พูดไปพูดมาแล้วก็พูดไป ไม่เห็นมีอะไรให้เกิดประโยชน์
นี่ไม่สงสัยนะเลย ไม่เชื่อเสียเลย
ลักษณะอย่างนี้เป็นสังโยชน์ ข้อที่ ๒ ที่ทำให้คนเราต้องลงอบายภูมิ
ขอยืนยันว่า ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ต้องลงอบายภูมิ เป็นสัตว์นรก
เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน แน่นอน

ถ้าถามว่าคนที่เขามีความรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว ไม่ไปนรกมีไหม ?

ก็ต้องตอบว่าไม่มี
เว้นไว้แต่ว่าจะมีเวลาส่วนใดส่วนหนึ่ง
แม้แต่เป็นเวลามีความเชื่อมีความเลื่อมใสเข้ามาเพียงเล็กน้อย
ตายปุ๊บปั๊บในขณะนั้นอาศัยที่จิตมีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
เป็นต้น แล้วก็ไปสวรรค์ชั่วคราว
ใช้เวลาไม่นานก็ลงป๋อมลงนรกไป

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
สำหรับเบื้องต้นอันนี้ก็พูดกันมากไปกว่านี้ไม่ได้
เพราะเวลาหมดแล้ว ก็ต้องขอลาก่อน
ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแต่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี...



ตอนที่ ๒ ลักษณะแห่งการหนีบาป

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ตอนนี้เป็นตอนที่ ๒
ก็มาพูดถึงลักษณะแห่งการหนีบาปกันต่อไป
แต่ขอย้ำไว้ก่อนว่าการที่จะหนีอบายภูมิทั้ง ๔ คือ การไม่เกิดเป็นสัตว์นรก
เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ต่อไปนั้น
ต้องกำจัดสังโยชน์ คือ อารมณ์ชั่ว ๓ ประการ
ขอย้ำไว้ตอนนี้ก่อนตอนต้นจะได้ไม่เฝือ

๑. ที่มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่ตายตัดทิ้งไป
ให้มีความรู้สึกว่ามันจะต้องตายแน่และไม่ประมาทในชีวิต
คิดทำความดีต่อไป

๒. วิจิกิจฉา ความสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระอริยสงฆ์หันมากลับมาปฏิบัติในศีลให้แน่นอนและจริงจัง
ฆราวาสเพียงแค่ศีลห้า หรือว่ากรรมบถ ๑๐ ใช้ได้แล้ว
สำหรับภิกษุสามเณรก็มีศีลของท่าน
ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ทุกคน
ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนมีความมั่นใจได้ว่า
จะตายเมื่อไหร่ก็ตามที เราไม่ลงอบายภูมิกันแน่

๓. สีลัพพตปรามาส มีการปฏิบัติในศีลไม่แน่นอน ไม่จริงจัง
อันนี้ต้องตัดทิ้งไปหันมาปฏิบัติในศีลให้แน่นอนและจริงจัง
ฆราวาสเพียงแค่ศีลห้า หรือว่ากรรมบถ ๑๐ ใช้ได้แล้ว
สำหรับภิกษุสามเณรก็มีศีลของท่าน ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ทุกคน
ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนมีความมั่นใจได้ว่าจะตายเมื่อไหร่ก็ตามที
เราไม่ลงอบายภูมิกันแน่


ที่หันมาพูดอย่างนี้ก็ย้ำไว้แต่ตนต้น
เพราะว่าบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนจะงง
เพราะในตอนต่อไปนี้พูดเรื่องตาย
จำให้ได้ว่า ชาตินี้ทั้งชาติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เราจะไม่ประมาทเรื่องความตายของชีวิต
และคนที่เกิดทีหลังเราเด็กเล็กตายก่อนเราไปเยอะแยะ
เราต้องตายแน่ พยายามรวบรัดความดีเข้าไว้
บาปเก่าๆ ที่ทำไว้แล้วช่างมัน
มันจะไปไหนก็ช่างมัน
ตามเราไม่ทันด้วยอาศัยเคารพพระพุทธเจ้า เคารพพระธรรม
เคารพพระอริยสงฆ์ และปฏิบัติศีลให้บริสุทธิ์
อย่าลืมว่าฆราวาสศีลห้า อาจจะหยาบไปนิดหนึ่ง
แต่ก็พ้นอบายภูมิแล้ว ถ้าทางที่ดีได้กรรมบถ ๑๐ จะดีมาก
เรื่องนี้รายละเอียดเป็นอย่างไรอ่านต่อไปข้างหน้า

สำหรับตอนนี้ก็มาขอต่อตอนต้นที่ผ่านมาก็คือ ตอนที่ ๑
ว่าในเมื่อเรานึกถึงความตายแล้ว
เราก็เข้ามาไม่สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า
ในความดีของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
และความดีของพระอริยสงฆ์
ตอนนี้ก็มาว่าถึงความดีของพระพุทธเจ้าก่อน

พระพุทธเจ้ามีความดีเหลือหลาย
อาตมาเองก็ไม่สามารถจะพรรณนาความดีของพระพุทธเจ้า
ให้ครบถ้วนได้ แต่ขืนพรรณนาไปมาก
บรรดาท่านพุทธบริษัทก็จะเบื่อ เอากันตอนต้นน้อยๆ ก็แล้วกัน
เพียงแค่เรายอมรับนับถือความจริงของท่าน
ที่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นมาแล้วในโลก
พระองค์ไม่ได้หวังประโยชน์ความสุขส่วนตัวเลย
คือว่า ไม่หวังเฉพาะความสุขส่วนตัว
ต้องการแจกจ่ายความสุขให้แก่บุคคลทั้งโลก
ตามที่พระองค์จะพึงทำได้
ทั้งนี้ต้องอาศัยความเชื่อความเลื่อมใสในพระองค์

ถ้าขาดความเลื่อมใส พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้เหมือนกัน
เพราะคนที่ไม่เชื่อกันแล้วนี้ พูดเท่าไรก็ไม่ยอมรับฟัง
ฟังแล้วไม่ยอมเชื่อ และก็ไม่ยอมปฏิบัติตาม
อย่างนี้ก็ไม่มีทางจะช่วยได้
ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อักขาตาโร ตถาคตา"
ตถาคตาเป็นแต่เพียงผู้บอกเท่านั้น
บอกแล้วจะทำตามหรือไม่ทำตามเป็นหน้าที่ของท่าน
ถ้าทุกคนทำตามได้ บุคคลผู้นั้นก็พ้นจากอบายภูมิได้
เอาแต่เบื้องต้นนะ ถ้าสามารถปฏิบัติตามได้ พ้นได้แน่


นี่เราจะปฏิบัติตามท่าน จะเอาอย่างไร
ในตอนนี้เรายังไม่พูดถึงศีลก่อน
เอาแต่ความดีของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้ามีกฎแห่งการสอนอยู่ว่า

๑. สัพพปาปัสสะ อะกะระณัง
ให้บรรดาพระสงฆ์และพระองค์เองก็เช่นเดียวกัน
พยายามสอนให้ทุกคนละจากความชั่วทุกประเภท
คือ ไม่ทำความชั่วทุกประเภท ไม่ทำ ไม่พูด และก็ไม่คิดซะด้วย

๒. กุสลัสสูปสัมปทา แนะนำให้ทำความดีทุกประการ

๓. สจิตตะปริโยทะปะนัง แนะนำสั่งสอนให้มีจิตใจผ่องใส
คือ ไม่มีอารมณ์มัวหมอง มีอารมณ์สดชื่นอยู่เสมอ

๔. เอตัง พุทธานะสาสะนัง
ท่านยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด

มาตอนนี้ทุกท่านจะสงสัยไหม ก็ไม่ขอพูดให้มันเลอะ
สงสัยหรือไม่สงสัยก็ช่าง
เอาคนเข้านับถือพระพุทธเจ้าแบบย่อๆ
เอาประเภทย่อๆ ที่ทำแบบง่ายที่สุด
แล้วตายจากความเป็นคนก็ยังไม่มาเกิดเป็นคน และก็ไม่ลงนรก
ไม่เกิดเป็นเทวดา เอากันอย่างย่อๆ ง่ายๆ นะ
ยังไม่ต้องปฏิบัติตามมากเอาแค่นึกถึง
แค่นึกถึงพระพุทธเจ้าเท่านี้ แล้วเขาผู้นั้นก็ตายจากความเป็นคนแล้ว
ไม่ยอมลงนรกด้วย แล้วไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์
ชั้นดาวดึงสเทวโลก หลังจากนั้นเมื่อเป็นเทวดาแล้ว
ได้พบพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่ง
ฟังเทศน์อีกครั้งเดียวย่อๆ สั้นๆ ท่านผู้นั้นก็เป็นพระโสดาบัน

นี่เป็นอันว่าปฏิบัติยังไม่ถึงขั้นเข้าถึงครึ่งหลักสูตรนะ
เข้ามานิดเดียวเท่านั้นนะ และใช้เวลาน้อยเหลือเกิน
ใช้เวลาแค่นึกประเดี๋ยวเดียว นึกถึงพระพุทธเจ้า
ตายจากความเป็นคนแล้วก็เป็นเทวดา
เมื่อเป็นเทวดาแล้วฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าจบเดียว เป็นพระโสดาบัน

ที่มีนักเทศน์หรือคนบางคนพูดว่า
การบำเพ็ญบารมีต้องอาศัยชาติมนุษย์
เป็นเทวดาหรือพรหมบำเพ็ญบารมีต่อไม่ได้

อันนั้นไม่จริง เทวดาหรือพรหมที่เป็นพระอนาคามี
ไม่มีใครกลับมาอีก บำเพ็ญตนให้เป็นพระอรหันต์ไปนิพพานเลย
อย่างท่านที่พูดนี่ก็เช่นเดียวกัน
เป็นมนุษย์ที่มีความดีนิดเดียวเวลาน้อยๆ
เมื่อเป็นเทวดาแล้วฟังเทศน์อีกครั้งเดียว เป็นพระโสดาบัน
นี่เขาต่อกันแบบนี้ เรื่องนี้มีมาในพระไตรปิฎก
จะขอเล่าเรื่องสู่กันฟัง จะได้เบื่อน้อยๆ
พูดกันแต่ธรรมะนี่มันเบื่อนาน ยิ่งฟังยิ่งเบื่อ ยิ่งฟังยิ่งเบื่อธรรมะ
มันไม่ค่อยจะซึ้งใจ ฟังไม่เพลิน

สำหรับท่านที่นึกถึงพระพุทธเจ้านิดเดียว
ยอมรับนับถือชั่วขณะจิตเดียว คือ ไม่นานนัก
ถ้าใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง ตายไปเป็นเทวดา
ท่านผู้นี้มีมาในพระธรรมบท ท่านให้ชื่อว่า "มัฏฐกุณฑลีเทพ"
ท่านผู้นี้เป็นลูกของพราหมณ์ๆ ที่ไม่เคารพในพระพุทธเจ้า
และก็เป็นพราหมณ์ชั้นพิเศษเสียด้วย
ที่เรียกว่า "พิเศษ" ก็เพราะว่าแกไม่เคยให้อะไรใครเลยในชีวิต
ชื่อว่า "อทินนกปุพพกพราหมณ์"
พ่อของเขานะ "อทินนกะ" แปลว่า "ผู้ไม่เคยให้"
"ปุพพกะ" "ในกาลก่อน" ในชีวิตกาลก่อนที่จะพบพระพุทธเจ้านี่
เขาไม่เคยให้อะไรใครเลย จะพูดก่อนพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้
จะต้องว่าก่อนที่พบลูกชายที่เป็นเทวดา
ความจริงการพบพระพุทธเจ้านี่ เขาพบกันมานาน
ไม่เคยแม้แต่ยกมือไหว้ ไม่เคยมีความเคารพสักนิดหน่อย
ตัวเองก็มีความรู้สึกว่า การเป็นเศรษฐีของตัว
พระพุทธเจ้าไม่ได้หาทรัพย์สมบัติมาให้
พระอรหันต์ไม่ได้หาทรัพย์สมบัติมาให้
คนอื่นไม่ได้ให้ทรัพย์สมบัติ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หาไว้ให้
ในเมื่อคนอื่นไม่เกี่ยวข้องกับฐานะ
ก็เลยไม่ยื่นโยนฐานะสงเคราะห์ใครต่อใครทั้งหมด
ก็มีกินมีใช้แต่เฉพาะในครอบครัวเท่านั้น
พราหมณ์คนนี้จึงมีฉายาว่า "อทินนกปุพพกพราหมณ์"
แปลว่า พราหมณ์ผู้ไม่เคยให้อะไรใครมาในกาลก่อนเลย

มาให้ตอนหลังที่พบลูกชายตายแล้วเป็นเทวดา
นี่เขาให้กัน นี่ท่านที่เคยได้ฟังใครเขาพูดมา ว่าตายแล้วไม่มีการเกิด
เรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัส พระพุทธเจ้าทรงยืนยัน
และอาตมาเองก็ยืนยันด้วยว่าการตายแล้วมีการเกิดแน่
ถ้าทำดีแม้แต่น้อยแต่ก่อนจะตาย นึกถึงความดีเกิดเป็นเทวดาได้
ก็ขอยืนยันด้วยเหมือนกัน

ถ้าถามว่าเอาอะไรเป็นเครื่องพิสูจน์
ก็ต้องตอบว่าลูกศิษย์ลูกหาเป็นแสนเขาสามารถทำกันได้
แล้วระลึกชาติก็ได้ อตีตังสญาณ เหตุการณ์ในอดีตสามารถทำได้
อนาคตังสญาณ เหตุการณ์ข้างหน้าในอนาคตสามารถทำได้
ปุพเพนิวาสานนุสสติญาณ ระลึกชาติได้ เขาทำกันได้
ญาณนอกจากนี้เขาก็ทำกันได้หมด ทำกันได้เป็นแสนๆ คนแล้ว
กล้ายืนยันคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประเดี๋ยวมันจะเลอะไป

ขอพูดต่อไปว่าพราหมณ์ผู้นี้ก็มีลูกชายอยู่หนึ่งคน
ลูกชายคนนี้ตามบาลีก็ไม่ปรากฏชื่อชัด ไม่ได้บอกชื่อไว้ว่าชื่ออะไร
ตัวแกเองจริงๆ บาลีก็ไม่บอกชื่อ
บอกแต่เพียงนิสัยว่า ไม่ชอบให้อะไรใครเท่านั้น
ต่อมาลูกชายป่วย เป็นหนุ่มแล้ว
ลูกชายป่วย เวลานั้นพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองนั้น
เดินผ่านมาผ่านไป ตอนเช้าบิณฑบาตพระเดินผ่านมาผ่านไป
จะไปไหนก็เชิญไป ฉันไม่นับถือนายเสียก็แล้วกัน
รวมความพอลูกชายป่วย ด้วยความรู้สึกของแก
ว่าได้ลูกป่วยนี่ ถ้าไปหาหมอมันก็เสียสตางค์
ถ้าจะไปซื้อยามันก็เสียเงิน เอ๊ะ...เงินกับสตางค์มันก็เหมือนกัน
ถ้าเป็นเวลานี้นะ ถ้าไม่ไปโรงพยาบาลดีๆ นี่
ที่เขามีชื่อเสียงเข้าไปวันแรกเพียงวันเดียว ก็เสียเงินเป็นหมื่น
ลูกชายคงจะตาย ช๊อคตายแน่ในวันแรก
แกไม่ยอมเสียเงินเสียทองแน่
ถึงเวลานั้นมีแพทย์แผนโบราณเยอะ เสียเงินไม่มาก
แกก็ยังไม่ยอมเสีย เมื่อลูกชายป่วยหนักเข้าแกก็ไปถามหมอว่า

"อาการของลูกแบบนี้เป็นโรคผอมเหลือง
กินไม่ได้นอนไม่หลับ อาการอึดอัดอยู่เสมอ
ฟัดหน้าเหวี่ยงหลังเป็นปกติ
อยากจะทราบว่าอาการอย่างนี้ จะใช้ยาอะไรหนอรักษาจึงจะหาย"

นี่ความขี้เหนียวของแก รักทรัพย์สินมากกว่ารักลูก
ตามธรรมดาหมอเขาก็ต้องปิดบังความรู้ของเขาเป็นธรรมดา
เพราะเขามีอาชีพหมอ ถ้าเราไปเป็นหมอแข่งกับเขา หมอก็หากินไม่ได้
เขาบอกยากลางบ้านให้ คำว่า "ยากลางบ้าน" ไม่ใช่ยาในหลักสูตร
คนนิยมใช้กันเอง ตามชาวบ้านสมัยนี้ เขาใช้หมอตี๋
ความจริงหมอตี๋จะโทษว่า ไม่ดีก็ไม่ได้
มีแพทย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์ของอาตมา
ท่านยังไปซื้อยาหมอตี๋ ให้หมอตี๋จัดยาให้
ท่านก็กินตามนั้น ถามว่าหมอเป็นผู้ใหญ่ขนาดนี้ ทำไมกินยาหมอตี๋
เพราะว่าเข้าไปหมอตี๋ไม่รู้ว่าคนนี้เป็นแพทย์ที่มีความสำคัญมาก
ท่านไปบอกอาการท่านเป็นอาการอย่างนี้ มียาอะไรขายบ้าง
หมอตี๋ก็จัดยามาให้ ท่านดูแล้วไอ้ยานั้นมันตรงกับอาการของท่าน
ตรงกับโรค ท่านก็เอามาบริโภคมันก็หาย

นี่จะหาว่าหมอตี๋ไม่สำคัญก็ไม่ได้นะ
หมอตี่ซะอีก หมอตี่ คือ โตกว่าหมอตี๋
บางทีก็ให้ยาไม่ตรงกับโรคเหมือนกัน
อันนี้ว่าไปว่ามาไม่ได้นินทาหมอนะ พูดตามความเป็นจริง

ก็เป็นอันว่าเวลานั้นหมอก็บอกยากลางบ้าน เป็นยาสมุนไพร
แกก็มาเก็บยาเอง ให้ลูกกินไอ้ยานี่กับถูกกับลูกจริงๆ
คือ ยานี่ถูกลูก ลูกกินแล้วก็ถูกยา แต่ไม่ตรงกับโรค
ไม่สามารถรักษาโรคได้ แต่คนกินถูกยา คือ กินเข้าไปปากมันก็ชนยา
คือยาถูกลูกแต่ยาไม่ถูกโรค หรือยาไม่สามารถกำจัดโรคได้
ก็ป่วยหนักลงไปทุกที
ตาพราหมณ์ก็มานั่งคิดว่าเวลานี้ ลูกของเราป่วยอยู่ในห้อง
ห้องมีเครื่องประดับประดามาก เป็นเครื่องมีราคาแพงมาก
ถ้าอาการไข้มันหนักมากขึ้นเมื่อไหร่ หนักไปกว่านี้
ญาติทั้งหลายรู้เข้า ก็จะมีความห่วงใย
เดี๋ยวคนนั้นก็จะมาเยี่ยม เดี่ยวคนนี้ก็จะมาเยี่ยม
ไอ้การจะห้ามญาติเยี่ยมนี่ มันก็เป็นการไม่ดี
เมื่อเข้ามาเยี่ยมในห้อง เห็นของมีค่ามากๆ ก็จะขอโน่นขอนี่
เราก็จะเสียของเปล่าๆ อย่ากระนั้นเลย
ชวนเมียช่วยกันอุ้มลูกชาย ลูกชายเดินไม่ไหวแล้ว ป่วยหนักมาก
เอามานอนไว้ที่ระเบียงเรือน ซึ่งไม่มีเครี่องประดับ
แล้วก็เอายาประเภทนั้นให้ลูกกิน ลูกก็หนักขึ้นมาทุกที
ในที่สุดชีวิตก็ใกล้จะหมด เรียกว่า ใกล้เลิกหายใจ จะตายกันแล้ว

ลูกชายเมื่อทุกทรมานมากจากโรค ก็มานึกในใจว่า
พ่อก็ดี แม่ก็ดี ทรัพย์มากมายมีอยู่ในฐานะมหาเศรษฐีก็ดี
ของเหล่านี้ไม่เกิดประโยชน์กับเราเลย
พ่อกับแม่ไม่มีความรักเราจริง
เราป่วยพ่อจะหาหมอมารักษา พ่อก็กลัวเสียเงิน
จะซื้อยาที่เขาปรุงดีแล้ว พ่อก็กลัวเสียเงิน
เอายาที่ไปเก็บเองจากป่ามาให้เรากิน ก็ไม่ถูกกับโรค
อาการร่อแร่ทุกขเวทนาหนักอย่างนี้ ก็รวมความว่าพ่อก็ไม่ใช่ที่พึ่ง
ทรัพย์สินทั้งหลายก็ไม่ใช่ที่พึ่ง
เราไม่มีที่พึ่ง ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร

คิดมาคิดไปก็ฟังข่าวเล่าลือ
เขาลือว่าพระสมณโคดม บรมครูที่สอนคนทั่วๆ ไป
ท่านมีอิทธิฤทธิ์ และท่านก็ใจดีมีความเมตตา ไม่เลือกบุคคล
จึงตั้งใจของตนว่า ขอพระสมณโคดมบรมครู
มาโปรดข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด
ขอให้ช่วยให้หายโรคเป็นปกติ
ความจริงเขาไม่เลื่อมใสพระพุทธเจ้าในเรื่องอื่นเลย ในกาลก่อนนั้น
แม้แต่ยกมือไหว้ก็ไม่มี พ่อสอนไม่ให้เขาไหว้
เธอก็นั่งนึกนอนนึก นั่งไม่ได้ นั่งไม่ได้แล้ว ได้แต่นอน
นอนหายใจแรงก็ไม่ได้ เพราะไม่มีแรงจะหายใจ
หายใจเบาๆ ขยับกายก็เกือบจะไม่ไหว
ได้แต่กรอกหน้าไปกรอกหน้ามา
พลิกซ้ายพลิกขวาก็แสนจะลำบาก
นึกถึงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ พระพุทธเจ้า
ว่าขอให้มาโปรดให้หายโรคนี้เสียทีเถิด
มันเจ็บเหลือเกิน เวลานี้แรงก็ไม่มีแล้ว

ปรากฏว่าตอนเช้ามืด องค์สมเด็จพพระประทีปแก้ว
ทรงใช้อำนาจพระพุทธญาณเห็นทุกขเวทนาลูกชายมหาเศรษฐี
คือ อทินนกปุพพกพราหมณ์
(ตอนนี้ยังไม่รู้จักชื่อเขาเหมือนกันว่าเขาชื่ออะไร บาลีไม่ได้บอก)
ว่าเธอมีทุกข์ทรมานมาก ต้องการให้ตถาคตไปช่วยในตอนเช้า
องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก้บพระอานนท์
เสด็จเดินไปบิณฑบาตร ผ่านบ้านนั้นพอดี
องค์สมเด็จพระชินสีห์ จึงเปล่งฉัพพรรณรังสีพุ่งไปให้เห็นคนเดียว
คือเฉพาะลูกชายท่านเศรษฐี คือ อทินนกปุพพกพราหมณ์
เวลานั้นหันหน้าเข้าข้างฝา แสงสว่างพุ่งเข้าตาเขา
ด้วยกำลังฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า
เขาก็แปลกใจว่าแสงอะไรเข้าตาเขา
พลิกกายกลับมาเห็นพระพุทธเจ้ากับพระอานนท์ กำลังเดินบิณฑบาตร
มือยกไหว้ไม่ไหวแล้ว แต่ใจยอมรับนับถือองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว
ตั้งใจว่า ขอพระองค์ได้โปรดช่วยข้าพระพุทธเจ้า
ให้หายจากโรคเถิด พระพุทธเจ้าข้า
แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงเหลียวไป
ท่านก็เดินของท่านเรื่อยๆ ไป พระอานนท์ก็เดินตาม
เขาก็นึกถึงพระพุทธเจ้าไปก็เป็นการพอดี
ใกล้เวลานั้นนึกถึงพระพุทธเจ้า เห็นพระพุทธเจ้าไม่นาน
เขาก็ต้องสิ้นลงปราณ คือ ตายจากความเป็นคน

การตายนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัท มันตายเฉพาะร่ายกายเท่านั้น
จิตใจหรือที่ปฏิบัติเขาเรียกว่า "อทิสสมานกาย"
คือ กายที่ไม่สามารถเห็นด้วยตาเนื้อ มันก็ออกจากร่างเนื้อนี้ไป
ไอ้ร่างเนื้อนี้ก็หมดลมหายใจ หมดลมปราณทั้งหมด
ธาตุไฟดับ ธาตุลมหมด เหลือแต่ธาตุดินกับธาตุน้ำอยู่ด้วยกันสองนาน
นานๆ เข้าธาตุดินก็ทนธาตุน้ำไม่ไหว น้ำละลาย ดินเน่าขึ้นมา เหม็นคลุ้ง
แต่เนื้อแท้จริงๆ อทิสสมานกาย
คือ กายของเขาจริงๆ ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก
มีนามว่า "มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร"

คำว่า "มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร" นี่ท่านแปลว่า
"เป็นเทพบุตรที่มีต่างหูเกลี้ยง" คือ ต่างหูมีเครื่องประดับด้วยเพชร
ตามธรรมดาเทวดานี่เขามีเครื่องประดับเป็นเพชรแพรวพราวเป็นระยับ
คนนี้ทำบุญนิดเดียว ขอโทษเถอะ คำว่า ทำบุญก็ถูก
จะเรียกว่า ทำก็ทำด้วยใจ ต้องนึกถึงบุญนิดเดียว คือ
นึกถึงพระพุทธเจ้า ตายแล้วเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก

หลังจากนั้นเขาก็มานั่งพิจารณาว่า
วิมานของเราเป็นวิมานทองคำ ทองคำทั้งหลัง
ร่างกายเรามีเครื่องทิพย์ประดับ ร่างกายก็เป็นทิพย์
เขาก็ถอยหลังคิดว่า ก่อนที่มาเกิดเป็นเทวดานี่ เราอยู่ที่ไหน
ความเป็นทิพย์ของกาย ความเป็นทิพย์ของใจ
บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เขาก็รู้ตัวทันทีว่า
เราเป็นลูกชายของพราหมณ์ มีนามว่า "อทินนกปุพพกพราหมณ์"
เป็นพราหมณ์ที่เป็นพาล คำว่า "พาล" แปลว่า "โง่"
ไม่รู้จักทำความดี แม้แต่การให้ทาน
พระพุทธเจ้ากับบรรดาพระสาวกหลายท่าน
ท่านมา ท่านเดินผ่านบ้านเสมอๆ แม้แต่ยกมือไหว้ ก็ไม่มี
แต่สำหรับเรานี้มาเป็นเทวดาได้ เพราะอาศัยความดีที่นึกถึงพระพุทธเจ้า
คือ ใช้เวลานิดเดียว ยอมถวายความเคารพท่าน
จึงมาเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
มีวิมานก็วิมานทองคำ จะเปรียบเทียบกับบ้านเก่าๆ ก็สู้กันไม่ได้เลย
บ้านสู้ไม่ได้ ร่างกายก็เป็นร่างกายเป็นทิพย์
ดูร่างกายเก่าเวลานี้ พ่อกำลังนำไปฝังไว้ในป่าช้า
เมื่อฝังแล้วพ่อก็ยืนร้องไห้อยู่ใกล้หลุม
บนบานศาลกล่าว ขอให้ลูกชายลงมาเกิดมาเกิดเป็นลูกใหม่
เธอก็คิดในใจว่า พ่อของเราจอมโง่แสนโง่ จอมพาลแสนพาล
เราจะต้องไปดัดสันดานพ่อให้รู้จักสร้างความดี

วันรุ่งขึ้น พอพราหมณ์ผู้เป็นพ่อของเธอนี้ไปยืนร้องไห้
ใกล้หลุมฝังศพ และก็บนบานศาลกล่าวไหว้หน้าไหว้หลัง
ตามแบบฉบับของพราหมณ์
ขอพระพรหมผู้เป็นเจ้าช่วยลูกชายมาเกิดเป็นลูกชายใหม่
เธอก็แปลงกายของเธอคล้ายคนเดิม แต่สวยกว่าเก่า
ไปยืนในป่าช้าใกล้ๆ กับพ่อเก่าของเธอ เธอก็ยืนร้องไห้

พราหมณ์เห็นชายคนนี้เข้าก็เข้าใจว่า เป็นลูกชาย
เพราะคล้ายคลึงกันมาก แต่คิดไม่ถืงว่าเป็นลูกชาย
จึงเดินเข้าไปใกล้ แล้วก็แปลกใจว่า ทำไม่หนอเราร้องไห้
ถึงลูกชายของเราที่ตายไปแล้ว ต้องการให้กลับมาเกิด
ชายหนุ่มคนนี้ยังหนุ่มอยู่ ยังไม่น่าจะมีเมียเหมือนเรา
ไม่น่าจะมีลูก เธอมายืนร้องไห้เพราะอะไร
จึงเดินเข้าไปใกล้ถามว่า

"โภ ปุริสะ ดูก่อนท่านผู้เจริญ (หรือบุรุษผู้เจริญ)
เธอร้องไห้เพราะอะไร"

มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรก็ถามพ่อว่า "ลุงร้องไห้เพราะอะไร"

เธอก็เล่าให้ฟังว่า ร้องไห้เพราะลูกชายตาย
ลูกชายหน้าตาคล้ายเธอน่ะ รูปร่างทรวดทรงเหมือนกัน แต่เธอสวยกว่า
ตายไปแล้วอยากให้กลับมาเกิดใหม่
เมื่อบอกแล้วก็ถามว่า "เธอร้องไห้เพราะอะไร"

ชายหนุ่มก็บอกว่า "ผมมีรถทองคำอยู่คันหนึ่ง มันสวยมากครับ
แต่ไม่มีล้อ ที่ร้องไห้เพราะอยากได้ล้อ"

พราหมณ์ก็คิดว่า ชายคนนี้เหมือนลูกชายของเรา
เราต้องการเอาไว้เป็นลูกเป็นที่ระลึก
อย่างน้อยที่สุดก็มีความรู้สึกว่า รักแทนลูกได้
ก็ถามว่า "เธอต้องการล้อเงินหรือล้อทอง หรือล้อแก้วมณี
ฉันจะหาให้ แต่ว่าต้องเป็นลูกฉันนะ"

มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรก็คิดว่า พ่อของเรา เมื่อเราป่วย ขี้เหนียว
แม้แต่ค่ายาก็ไม่ยอมซื้อ ค่าหมอไม่ยอมจ้า
เวลานี้จะให้เงินให้ทองให้แก้วมณีเป็นล้อรถราคาแพงกว่าตั้งมาก
ทีก่อนไม่คิด จึงคิดดัดสันดาน ก็บอกว่า
"ผมไม่ต้องการประเภทนั้นครับ เพราะรถของผมสวยมาก
ต้องการดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์มาเป็นล้ออย่างละข้าง"

ตาพราหมณ์โมโหบอกว่า
"ไอ้บ้า มันจะมีมาได้อย่างไร ดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์
ใครต้องการมันไม่ได้หรอก มันอยู่สูงเกินไป"

มัฏกุณฑลีเทพบุตรก็ถามว่า
"แล้วท่านต้องการลูกชายของท่าน
เวลานี้ท่านทราบไหมว่าลูกชายอยู่ที่ไหน"

พราหมณ์บอกว่า "ไม่รู้"

เธอก็เปรียบเทียบว่า "การที่ผมต้องการสิ่งที่ผมเห็น
กับที่ลุงต้องการสิ่งที่ลุงไม่เห็น อย่างไหนจะบ้ามากกว่ากัน"

พราหมณ์ยอมแพ้ ก็รวมความว่าในที่สุดมัฏฐกุณฑลเทพบุตร
ก็บอกให้พราหมณ์ทราบว่า เธอน่ะ คือ มัฏฐกุณฑลีลูกชาย
เวลานี้ไปเกิดเป็นเทวดา
เพราะอาศัยความเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็แนะนำให้พ่อไปพบพระพุทธเจ้า
เสร็จแล้วก็รีบกลับไปที่วิมานของตน

พราหมณ์ออกจากที่นั้นแล้วไปบ้าน
บอกให้เมียจัดอาหารเป็นพิเศษ
วันนี้จะอาราธนาองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์กับพระสาวก
ที่ฉันที่บ้าน และไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถามว่า
"พระสมณโคดมอยากจะทราบว่า คนที่ไม่เคยถวายทาน
ไม่เคยฟังเทศน์ ไม่เคยยกมือไหว้ท่าน
นึกถึงท่านอย่างเดียวไปเกิดเป็นเทวดามีไหม"

พระพุทธเจ้าบอก "มีเยอะแยะไป ไม่ใช่นับหมื่นนับแสน นับเป็นโกฏิๆ"

แล้วก็ถามว่า "เมื่อเช้าท่านได้พบแล้วใช้ใหม"
หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระจอมไตร
ก็ทรงเรียกมัฎฐกุณฑลีเทพบุตรให้มาพร้อมวิมาน

เมื่อมัฎฐกุณฑลีมาแล้วก็ลงจากวิมานมาไหว้พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าก็ทรงเทศน์โปรด พอเทศน์จบก็เป็นพระโสดาบัน

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
เวลาจะหมดแล้วต้องรีบรวบรัดกันเพียงเท่านี้
ก็เป็นอันว่าการนึกถึงพระพุทธเจ้า มีความเคารพพระพุทธเจ้านั้น
อย่างน้อยที่สุดบรรดาท่านพุทธบริษัท
แม้แต่เล็กน้อยอย่างมัฎฐกุณฑลีเทพบุตร
เมื่อตายจากความเป็นมนุษย์
ก็พ้นจากการเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาได้
หลังจากนั้นก็เป็นพระโสดาบัน ตัดบาปอกุศลทั้งหมด


บรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคต
และญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายเวลานี้ก็หมดเวลาแล้ว
ก็ขอลาก่อน ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแต่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี...



ตอนที่ ๓ ปฏิบัติตนไม่ครบไปสวรรค์ได้ ไปนรกได้

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย
สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ ๓ ของเรื่อง การหนีบาป

การปฏิบัติตนเพื่อการหนีบาปนี่ ว่าจะรอพูดให้จบ
รอคำอธิบายให้จบ บรรดาท่านพุทธบริษัทก็จะใช้เวลามากเกินไป
จะรำคาญในการปฏิบัติ หรือการรับฟัง
ขอนำเอาคำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มาพูดให้เข้าใจเสียก่อน องค์สมเด็จพระชินวร คือ พระพุทธเจ้า
ได้ทรงแนะนะบรรดาท่านพุทธบริษัทไว้ว่า

"ถ้าต้องการจะให้พ้นจากอบายภูมิทั้ง ๔
มีการเกิดเป็นสัตว์นรก เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสุรกาย
เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน จะไม่ต้องเกิดในแดนนี้ทุกชาติไป
จนกว่าจะเข้าถึงนิพพาน
สมเด็จพระพิชิตมารได้ทรงให้ตัดสังโยชน์ทั้ง ๓ ประการ" คือ

๑. สักกายทิฏฐิ ให้มีความรู้สึกไว้เสมอว่า
ชีวิตนี้มันต้องตายและก็ตั้งใจไว้ว่า การตายของเราคราวนี้
เราจะไม่ยอมลงอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรกเป็นต้น

หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระทศพลทรงแนะนำ
ให้ยอมรับนับถือ คือ หมดความสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า
ในความดีของพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และความดีของพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
ยอมรับนับถือด้วยความจริงใจด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
เมื่อนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
ตัดความสงสัยที่เรียกว่า วิจิกิจฉา ได้แล้ว


ข้อที่ ๓ ก็เป็น สีลัพพตปรามาส
คือ ปฏิบัติในศีลให้ได้ครบถ้วนทุกประการด้วยความเต็มใจ
การปฏิบัติศีลห้าครบถ้วน สำหรับฆราวาส มีศีลห้าใช้ได้แน่นอน
ถ้าจะทำคนให้ดีจริงๆ ก็มีกรรมบถ ๑๐ ด้วย
ถ้ามีทั้งศีลห้ามีทั้งกรรมบถ ๑๐ อย่างนี้ จะมีความสุขอย่างยิ่ง
ทั้งปัจจุบันและสัมปรายภพ


ถ้าปฏิบัติตนได้อย่างนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนี
คือ พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า
ท่านทั้งหลาย เมื่อตายแล้วจากชาตินี้ก็ดีหรืออีกกี่ชาติก็ดี
จะไม่พบกับคำว่าอบายภูมิเลย การเกิดเป็นสัตว์นรกก็ดี เป็นเปรตก็ดี
เป็นอสุรกายก็ดี ไม่มีสำหรับท่าน แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ไม่เกิดในแดนนั้น
จะเวียนว่ายตายเกิดเฉพาะการเกิดเป็นคน
เป็นเทวดาหรือพรหม เท่านั้น

ขอย้ำอีกนิดหนึ่งเผื่อว่าท่านทั้งหลายจะฟังไม่ถนัด
คือการที่จะพ้นอบายภูมิทั้ง ๔ ได้คือ

๑. มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตาย
ตั้งใจไว้ว่า ก่อนจะตายจะปฏิบัติ เพื่อเป็นการพ้นจากอบายภูมิทั้ง ๔
คือ ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
ด้วยความจริงใจและเต็มใจ
ถ้าฆราวาสมีศีลห้าบริสุทธิ์ ใช้ได้
แต่ว่าจะให้ดีจริงๆ ต้องมีกรรมบถ ๑๐ อีกด้วยจะดีมาก
จะเป็นคนที่มีความสุขหรือมีเสน่ห์มากในสมัยที่มีชีวิตอยู่
ตายไปแล้วองค์สมเด็จพระบรมครู ก็ทรงยืนยันว่าอบายภูมิทั้ง ๔
ตามที่กล่าวมาแล้ว ไม่มีอีก


ตอนต้นนี้ขอย้ำให้บรรดาท่านพุทธบริษัททราบ
เพื่อว่าจะได้ไม่ต้องคอยพูดจบคอยพูดจบเรื่องนี่เรื่องมันมาก
ต่อไปนี้ก็มาพูดถึงบุคคลที่ปฏิบัติทำตนไม่ครบ
แต่บังเอิญไปสวรรค์ได้ ไปนรกได้
ไปนรกใครไม่ชอบละมั๊ง เป็นอันว่า ไปสวรรค์ได้ไปนรกได้ก็แล้วกัน
แต่ว่าการกลับมาเกิดนั้นไม่แน่นอน บางทีไปเป็นเทวดาหรือพรหมแล้ว
แต่กลับลงมา หมดบุญวาสนาบารมีจากเทวดาหรือพรหม
ก็ไม่พักที่เทวดาหรือพรหม และไม่พักที่มนุษย์
เพราะอาศัยกรรมที่เป็นอกุศลในกาลก่อน
ที่ทำมาในสมัยที่เป็นมนุษย์เป็นบาปอกุศล
พาตนพุ่งหลาวลงอเวจีมหานรกไปบ้าง
ลงนรกขุมอื่นบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง
เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง อย่างนี้ก็มี

ก็รวมความว่า ถ้าทำตนไม่ครบถ้วนตามที่กล่าวมาแล้ว
แต่เป็นความดีพอที่จะพาตนไปสวรรค์ได้
แต่ก็ไปได้แน่ แต่ลงมาซิไม่แน่ ไม่ใช่จะค้างที่มนุษย์
อาจจะไปค้างที่นรกก็ได้ อสุรกายก็ได้ สัตว์เดรัจฉานก็ได้
บางท่านลงมาเป็นมนุษย์ได้เหมือนกัน
แต่กรรมชั่วเก่านำผลดลใจตนให้เกิดบาปอกุศล
ตายจากความเป็นคนลงไปอเวจีมหานรก อันนี้ก็มีมาก

รวมความว่าถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
จะหนีนรกกันจริงๆ ก็ขอให้ปฏิบัติตนครบทั้ง ๓ ประการตามที่กล่าวมาแล้ว

ต่อไปนี้ก็ของดเรื่องที่จะพูดถึง "พุทธานุสสติ" ไว้ก่อน
ต่อไปนี้จะขอนำเอาเรื่องเบาๆ ที่เป็น "อารมณ์ฟุ้ง" คือ ไม่ขาดศีล ๕
ไม่ขาดสรณคมน์ คือ ไม่ทำลายพระพุทธเจ้า ไม่ติเตียนพระพุทธเจ้า
ไม่คัดค้านพระธรรม ไม่ทำลายพระสงฆ์ และก็ไม่ได้ทำลายศีล
แต่ว่ามีอารมณ์ฟุ้ง ทำตนให้เกิดในอบายภูมิ
มีการเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง
เป็นสัตว์ใหญ่บ้าง เป็นสัตว์เล็กบ้าง เป็นต้น


สำหรับคนที่มีการปฏิบัติดีอย่างยิ่ง
นี่ขอนำที่ไม่เกี่ยวกับศีล เดี๋ยวจะหาว่าคนที่ละเมิดคำสั่งสอน
ขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไม่มีศีลเสียอย่าง จะต้องลงนรก
หรือปรามาสพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงนรกมัน ก็ไม่แน่เหมือนกัน
ขอเอาเรื่องเบาๆ มา
ที่ไม่เกี่ยวกับการปรามาสพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
ไม่เกี่ยวกับการทำลายศีล แต่ว่าลงนรก เอามาคุยสู่กันฟังก่อน
เพื่อเป็นความรู้ของบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระชินวร
ทั้งนี้ก็ต้องนำพระสูตรมาคุยกันดีไหม
ลูกหลานตัวเล็กๆ ยิ้มแป้น บอกว่าดีครับ ดีเจ้าค่ะ
ความจริงที่พูดนี่ มีคนนั่งฟังอยู่ด้วยนะ และก็เลยบันทึกเสียงไว้
ให้มันพอกับเวลาที่จะฟังกัน คือ ๓๐ นาที

นิทานเรื่องนี้ ชาวบ้านเขาเรียกว่า "นิทาน"
แต่ว่าทางพระพุทธศาสนาเขียนในบาลีเรียกว่า "พระสูตร"
พระสูตร ก็คือ นิทาน นิทาน ก็คือ พระสูตร
แต่นิทานในพระสูตรเป็นนิทานเรื่องจริงๆ ไม่ใช่นิทานเรื่องหลอกๆ
ไม่ใช่โกหกมดเท็จ เอาเรื่องจริงมาพูดกัน


เนื้อความมีอยู่ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดา
สัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่
เวลานั้นองค์สมเด็จพระบรมครูแสดงธรรมเทศนา
สอนบรรดาท่านพุทธบริษัท ให้พ้นจากความทุกข์
คนที่มีความเคารพพระพุทธเจ้าอย่างจริงจังมากอย่างยิ่งคนหนึ่ง
ความจริงมีหลายคน มีมาก
แต่ท่านผู้นี้คณะนี้มีความเคารพในองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจริงๆ
หนึ่งในจำนวนที่มีคนดีหลายๆ คน นั่นคือ "พระเจ้าปัสเสนทิโกศล"
กษัตริย์ของเมืองพาราณสี พระเจ้าปัสเสนทิโกศลองค์นี้
มีความเคารพในองค์สมเด็จพระทศพลเป็นอย่างยิ่ง

ต่อมาพระองค์กับภรรยาที่มีนามว่า "พระนางมัลลิกา"
พระนางมัลลิกานี่ก็มีความเคารพอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระนางมัลลิกานี่
เป็นบุคคลที่มีความประพฤติมีการปฏิบัติดีมาก
ยากที่บุคคลอื่นพึงทำให้ คือว่า คำน้อยคำใหญ่ที่เป็นคำไม่ดี ไม่เคยพูด
การกระทำเล็กกระทำน้อยกระทำใหญ่
การกระทำไม่ดีทางกาย ไม่เคยทำ
อารมณ์ใจของพระนางเต็มไปด้วยอารมณ์ของกุศล
เคยถวาย อสทิสทาน กับองค์สมเด็จพระทศพล
อสทิสทานนี้เป็นทานใหญ่ยิ่ง
ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า พระพุทธเจ้า ๑ องค์
จะมีคนถวายอสทิสทานครั้งเดียวในชีวิต
และคนที่จะถวายอสทิสทานได้นั้น ต้องเป็นผู้หญิง
ก็ได้แก่พระนางมัลลิกาเทวี
พระนางมัลลิกาเทวีนี้ มีคุณงามความดีอันประเสริฐ
มีจริยานิ่มนวลเรียบร้อยมาก ไม่เคยทำความชั่วมาก่อน
ก็เหมือนกับผ้าขาวบริสุทธิ์ผุดผ่องทั้งผืน
บังเอิญถ้าไปเปื้อนอะไรนิดหนึ่งจุดเด่นมันก็ปรากฏขึ้น

เรื่องราวก็มีอยู่ว่าในคืนหนึ่ง เวลานั้นเขายังไม่มีไฟฟ้า
เขายังไม่มีไฟฟ้ากัน พระนางก็นอนกับพระเจ้าปเสนทิโกศล
คือ นอนกลางคืนก็ดับไฟ มันก็มืด
ต่อมาพระนางปวดปัสสาวะ
(ขอพูดภาษาชาวบ้าน ใช้ราชาศัพท์ก็ใช้กับเขาไม่ค่อยเป็น)
พระนางจะไปถ่ายปัสสาวะ
บังเอิญเท้าขวาของพระนางสะดุดพระบาท (คือเท้า) ของพระราชสวามีเข้า
เพียงเท่านี้แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พระนางเสียใจมาก
คิดว่าตัวเองทำความชั่วมาก
พระนางมีความเคารพพระราชสวามีคล้ายพระราชบิดา
(อ้าว...ล่อราชาศัพท์เข้าเสียหน่อย)
เรียกว่ามีความเคารพผัวเหมือนพ่อ
เสียอกเสียใจแสดงอาการเศร้าโศก
พระเจ้าปเสนทิโกศลก็สอบถามว่า เสียใจเรื่องอะไร
ก็ปรากฏว่าพระนางเล่าให้ทราบ

พระเจ้าปเสนทิโกศลก็บอกว่า "เรื่องนี้ไม่น่าจะหนักใจ
ไม่มีอะไรเป็นความผิด ถ้าคิดว่ามีความผิด ฉันก็อภัยให้
แต่ความจริงไม่มีอะไรเป็นความผิดเลย เพราะเจตนาไม่มี"
แต่ถึงกระไรก็ดีบรรดาท่านพุทธบริษัทผู้รับฟังและหนูน้อยที่นั่งฟังอยู่
โปรดทราบว่าพระนางมัลลิกาน่ะดีมาก
เหมือนกับผ้าขาวบริสุทธิ์ทั้งผืน
แต่บังเอิญมีคนเอาหมึกสีดำหรือสีแดงไปแต้มเข้านิดเดียว
ผ้าน่ะสะอาดทั้งผืนหมึกแต้มนิดเดียว ก็มีจุดเด่นเห็นจุดเปื้อนขึ้นมา
ไม่เหมือนกับผ้าที่มีความสกปรกโสโครก
ถ้าหมึกไปแต้มนิดๆ หน่อยๆ มันจะมองไม่เห็นสีหมึก
เพราะมันสกปรกอยู่แล้ว
เหมือนคนที่มีกายสกปรก วาจาสกปรก มีใจสกปรก
ถ้าไปกระทบกระทั่งเท้านิดเดียวเท่านั้น จะไม่รู้สึกว่าเป็นความผิด
ดีไม่ดีซ้อมผัวซ้อมเมียเล่นโก้ๆ ยังมองไม่เห็นความผิด
แต่ความจริงมันผิด ความจริงมันชั่ว
แต่ความชั่วที่เขาทำเป็นปกติ มันสูงกว่านั้น จึงมองไม่เห็นว่าผิด
แต่พระนางมัลลิกา มีจิตคิดไว้เสมอ จิตใจเศร้าหมอง
หน้าตาน่ะแช่มชื่นเมื่อพบพระราชสวามี
แต่ว่าอยู่คนเดียวทุกทีพระนางก็มีการสลดใจ หนักใจ ร้อนใจ
คิดว่า ตัวทำความผิด

อย่างนี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท
ต่อมาเมื่อวาระเข้ามาถึงพระนางทรงประชวร คือ ป่วยไข้ไม่สบาย
เมื่อเวลาใกล้จะตายจิตก็ประหวัดคิดว่า เรานี่เลยเหลือเกิน
เอาเท้าไปสะดุดพระราชสวามีเข้า เรามันชั่ว จิตใจเศร้าหมอง
คือ จิตใจนึกถึงตัว ว่าตัวเลวนิดเดียว
นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท นี่ต้องจำ
นางก็ตายจากความเป็นคน
อาศัยความดีในด้านกุศล มีความเคารพบิดา มารดา
พอใจในการให้ทาน มีความเคารพพระราชสวามีคล้ายบิดา
ร่างกายของพระนางก็เป็นนางฟ้าทั้งตัว
เครื่องประดับประดาก็เต็มยศ
นางนี้ไปนรกก็ไม่ทราบว่าขุมไหนเหมือนกัน
ไม่ทราบว่าบาลีบอกไว้ขุมไหน ตอนนี้มันนึกไม่ออกนี่
นั่งคุยกันนี่ไม่ได้เอาหนังสือมากาง นึกไม่ออกว่านรกขุมไหน
ตามบาลีหมวดนั้น ท่านบอกว่า เอาเท้าที่สะดุดเท้าของพระราชสวามี
ไปแหย่ในนรกสิ้น ๗ วันมนุษย์
แต่ความจริงนรกแต่ละขุมวันเวลามากเหลือเกิน
แต่นั่นแหย่แค่ ๗ วันของมนุษย์
นรกขุมที่มีอายุน้อยที่สุดอย่าง สัญชีพนรก
ท่านบอกว่าต้องใช้เวลา ๙ ล้านปีของมนุษย์
จึงจะเท่ากับวันหนึ่งของเขา
ฉะนั้นเอาเท้าเข้าไปแหย่ในไฟนรกแค่ ๗ วันมนุษย์
ถ้าในเมืองนรกก็จะรู้สึกว่าแหย่แป๊บเดียว แล้วยกขึ้นมาเท่านั้นเอง
มันเร็วมาก เทียบเวลากัน แต่เวลาของเรานี่ปาเข้าไป ๗ วัน
เพราะอาศัยที่จิตกลุ้มหรือเศร้าหมอง
ไม่ได้ทำชั่วคิดว่าชั่ว ทำกำลังใจของตัวเองให้เศร้าหมอง คิดว่าเราเลว

เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท
ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จดจำคำสั่งสอนขององค์พระสมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตรัสว่า
หลักสูตรในพระพุทธศาสนา มี ๓ อย่าง

๑. สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง
พระองค์ทรงแนะนำว่า ทุกคนจงละจากความชั่วทุกประเภท
ละทั้งกาย ละทั้งวาจา และละทั้งใจ

๒. กุสลัสสูปสัมปทา จงทำแต่ความดี
คือ กายก็ทำดี วาจาก็พูดี ทั้งจิตใจก็คิดดี

๓. สจิตตะปริโยทะปะนัง ทำจิตให้ผ่องใสจากอารมณ์ที่เป็นกิเลส
คือ อารมณ์เศร้าหมอง ตัดอารมณ์ความข้องใจออกไปจากใจ
นึกไว้แต่อารมณ์ของความดี
สมเด็จพระชินสีห์สอน ๓ ประการอย่างนี้
เป็นหลักสูตรในพระพุทธศาสนา
ถ้าทำให้อย่างนี้จริงๆ คำว่า นรกเป็นต้น จะไม่พบกับท่านเลย

แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายที่พระนางมัลลิกา
มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
คือ ทำด้วยทางกาย พูดด้วยวาจา คิดด้วยใจ
แต่ในที่สุดพอก่อนจะตาย พระนางก็ทำจิตเศร้าหมอง
มานึกถึงว่าตัวทำชั่ว ตัวทำผิด ทำผิดอย่างนี้ จิตมันก็เศร้าหมอง
นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท จึงต้องตกนรก
คือ เอาเท้านิดหนึ่งแค่ตาตุ่มไปแหย่ในนรกถึง ๗ วันมนุษย์

ทุกท่านที่รับฟัง อย่านึกว่า ๗ วัน มันไม่ร้อนนะ หรือมันไม่หนัก
ตามธรรมดาของเราใครเอาถ่านหรือธูปแดงๆ แหย่แป๊บเดียว เราก็สะดุ้ง
หรือเอาถ่านของบุหรี่แหย่แป๊บเดียว เราก็สะดุ้ง
ไม่ใช่สะดุ้งแล้วหายร้อนหายเจ็บ มันยังร้อนมันยังเจ็บต่อไป
เมื่อเขาดึงเอาธูปหรือบุหรี่ออกไปแล้วฉันใด
ทุกข์ทรมานของพระนางมัลลิกาแค่ ๗ วันไม่ใช่เล็กๆ


เมื่อพระนางมัลลิกามีความดีขนาดนั้น
ครานั้นองค์สมเด็จพระภควันต์ คือ พระพุทธเจ้า
ก็ประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี ในเมืองของพระราชสวามี พระนางก็อยู่ที่นั่น

อันนี้อย่าลืมนะบรรดาท่านพุทธบริษัท ว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่นั่น
พระอรหันต์อยู่ตั้งเยอะ แต่บางคนก็จะมาด่า ทำไมพระพุทธเจ้าไม่ช่วย
พระอรหันต์จึงไม่ช่วย เขาทำบุญขนาดหนักหนามากกว่าบุคคลใดๆ
คนอื่นใดไม่สามารถถวายอสทิสทานได้
แต่พระนางมัลลิกาทำได้ขนาดนี้
แล้วทำไมสมเด็จพระชินสีห์ จึงไม่ช่วย
อย่าย่องไปด่าพระพุทธเจ้าเข้า
อย่าย่องไปประณามพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และอย่าย่องไปด่าพระอริยสงฆ์เข้า บาปจะหนัก
แต่ด่าอาตมานี่คงไม่เป็นไร เพราะพระประเภทนี้
ความดีมีน้อย แต่ความดีมีน้อย คนด่าถ้ามีโทษก็คงเป็นโทษน้อย
จะน้อยก็ไม่น้อยก็ไม่รู้เหมือนกัน
ก็คิดว่าคงจะไม่มากเท่าพระอรหันต์

แล้วถ้าถามว่าท่านเป็นพระอะไร
ก็ต้องตอบญาติโยมที่นั่งฟังโปรดทราบ
อาตมาขอตอบตรงๆ ตรงไปตรงมา ว่า เป็นพระที่บวชในพระพุทธศาสนา
มีความเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เคารพในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่มีมาในพระไตรปิฎก
และอรรถกถา แล้วก็มีความเคารพในศีลตามสมควร
ความดีประเภทนี้พระพุทธเจ้าจะจัดไว้ประเภทไหนไม่ทราบ
ก็คิดว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยตั้งให้เป็นพระโสดาบัน
นี่พระพุทธเจ้าไม่มาตั้งให้เป็นพระโสดาบัน
ก็คงไม่ได้เป็นพระสกิทาคามีหรือนาคามี หรือพระอรหันต์

ทีนี้การเป็นพระอริยเจ้าท่านตั้งกันหรือเปล่าอาตมาไม่ทราบ
แต่เคยพบในพระบาลีว่าเมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์พอเทศน์จบ
ได้ "ธรรมาภิสมัย" บ้าง ได้ "ดวงตาเห็นธรรม" บ้าง
คือ เข้าใจในธรรม ถึงธรรม เป็นพระโสดาบันบ้าง สกิทาคามีบ้าง
อนาคามีบ้าง พระอรหันต์ แล้วบาลีก็บอกว่า
เวลาที่เทศน์จบคนบรรลุเท่าไร
การบรรลุอย่างนั้น พระพุทธเจ้าตั้งหรือเปล่าอาตมาก็ไม่ทราบ
ก็ขอยืนยันว่า อาตมาเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
นี่คุยความดีเล็กๆ น้อยๆ กระจุ๋มกระจิ๋ม ไม่มาก
เกือบมองไม่ค่อยเห็นเท่านั้น

แล้วก็อีกประการหนึ่งที่พอจะอวดท่านได้
นั่นคือ เวลานี้ก็แก่มากแล้ว
เรื่องความแก่ ถ้าถือเอาความแก่เป็นความดี
ความดีประเภทนี้ก็ไม่ยอมถอย จะเพิ่มพูนความแก่ขึ้นทุกวันๆ
จนกว่าจะตาย ญาติโยมทั้งหลายที่นั่งฟังก็ต่างคนต่างยิ้ม
ยิ้มแล้ว อย่าไปนึกนะว่า อาตมาเป็นพระอริยเจ้าขั้นสูง
ขั้นสูงขั้นต่ำอย่าไปคิด บางทีก็มีคนย่องๆ มาตั้งให้เหมือนกัน ก็ตกใจ
ขอโทษเถอะ อย่าตั้งกันเลยในความเป็นพระอริยเจ้า
เรามาคุยกันในฐานะพี่น้องกันเองก็เหมือนกัน

เวลานี้ก็เหลือเวลาอีกเพียง ๓ นาทีเศษๆ
ก็ขอคุยกับบรรดาญาติโยมที่เป็นสาวกของสมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ว่า
ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิ คือ ผลของความชั่ว
ก็จงอย่าไปคิดถึงว่าเราจะต้องตกนรก เป็นต้น เพราะ

๑. การทำลายศีล

๒. ไม่เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์
หรือการปรามาสพระพุทธเจ้า เท่านั้น
ที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นบาลีพุทธภาษิตว่า
"จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา"
ท่านกล่าวว่า บุคคลใดก่อนจะตาย ใกล้จะตาย
ถ้าจิตใจเศร้าหมอง อารมณ์ไม่ผ่องใส คำว่า "เศร้าหมอง" นี่
อารมณ์ไม่เกาะบุญ สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลไม่เกาะ
คือ ไม่นึกยอมรับพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่นึกถึงทานการให้ ไม่นึกถึงศีลที่เคยรักษา
ไม่นึกถึงเทศน์ที่เคยฟัง ถ้าอารมณ์ใจไม่คิดอย่างนี้
แล้วไปคิดเรื่องที่เป็นบาปเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง


อย่างพระนางมัลลิกานี่ สิ่งที่คิดความจริงมันไม่ได้บาป
คำว่า บาป นี่เขาแปลว่า ความชั่ว
ถ้าแกล้งเอาเท้าไปเตะเท้าของพระราชสวามีนี่เธอชั่วแน่
แต่พระนางมัลลิกาไม่ได้ตั้งใจทำอย่างนั้น
ไม่ตั้งใจแล้วก็ไม่ได้ทำด้วย มันไปสะดุดเองเข้านิดหนึ่ง
บรรดาท่านพุทธบริษัท เพียงเท่านี้พระนางก็ต้องตกนรกเสีย ๗ วัน
ตกนรกแค่ตาตุ่มหรือแค่ไหนก็ตาม มันก็เป็นทุกข์

ก็รวมความว่าขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ระมัดระวังเรื่องจิตใจให้มาก ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอน
ให้ใช้ "อนุสสติ" คือ ตามนึกถึงความดี คือ
นึกยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า ๑
ยอมรับนับถือพระธรรม ๑
ยอมรับนับถือพระอริยสงฆ์ ๑
นี่เรียกว่า เป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
พยามยามนึกถึงความดีของเทวดา
นึกถึงความตายที่จะเข้ามาถึง
นึกถึงอารมณ์ของพระนิพพาน อย่างนี้เป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาท่านพุทธบริษัท ไม่ต้องครบทั้งหมด
องค์สมเด็จพระบรมสุคตทรงสอนว่า
ขึ้นชื่อว่าความชั่วที่ทำมาแล้วในกาลก่อน จงอย่าตามนึกถึงมัน
นึกถึงความดีที่ทำไว้แล้วเท่านั้น
ผลของความดีจะส่งผลให้เป็นสุข คือ ไปเกิดบนสวรรค์ได้


เวลานี้มองดูนาฬิกาเหลือเวลาไม่ถึงเสี้ยวของนาที
สำหรับในตอนที่ ๓ นี้ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ เพราะเวลามันหมด
ขอสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคต คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จงมีแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
และจงเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ
มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ
หากทุกท่านพึงประสงค์สิ่งใด
ขอให้ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนาจงทุกประการ สวัสดี...



บทที่ 4 อารมณ์คิดฟุ้ง

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ ๔
ก่อนที่จะพูดเรื่องอื่น ก็ขอแจ้งให้ทราบว่า
รายการนี้เป็นรายการ "หนีบาป" คือ ปฏิบัติตนหนีนรก หนีเปรต
หนีอสุรกาย หนีสัตว์เดรัจฉาน คือว่า ทำตนเป็นคนขี้ขลาด
ไม่ยอมต่อสู้กับนรก ไม่ยอมต่อสู้กับความเป็นเปรต
ไม่ยอมต่อสู้กับความเป็นอสุรกายและสัตว์เดรัจฉาน
มีอารมณ์ต่อสู้ฝ่ายเดียว คือ อย่างต่ำเป็นมนุษย์
อย่างกลางนิดหน่อยเป็นเทวดา อย่างกลางสูงขึ้นหน่อยเป็นพรหม
อย่างสูงสุดไปนิพพาน
เขาต่อสู้กันแค่นี้ ยอมแพ้นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
ทั้งนี้เพราะอะไร ? เพราะว่าถ้าไปอวดเก่งกับแกเข้า
ความสุขของเราไม่มี มีทางเดียวคือว่า แกทำให้ลงนรกฝ่ายเดียว

ก็รวมความว่าการปฏิบัติในช่วงเวลานี้ เราปฏิบัติเพื่อหนีนรกกัน
การที่จะปฏิบัติให้หนีนรก มันมีด้วยกันหลายแบบหลายนัย
การหนีนรกชั่วคราวน่ะ ไม่ดี ชาตินี้ไม่ลงนรก
ถ้าเกิดใหม่ชาติต่อไปลงนรก อันนี้ไม่ดี ไม่เอา
เอาประเภทไม่ลงนรก ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นอสุรกาย ตลอดกาลตลอดสมัย
ถ้าบังเอิญจะเกิดขึ้นมาเมื่อไร เมื่อนั้นไม่ยอมลงอบายภูมิทั้ง ๔ แน่
การที่จะพ้นให้ได้แน่นอน
ก็ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรคือพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า ถ้าต้องการไม่ลงนรก
ให้ตัดสังโยชน์ทั้ง ๓ ประการให้พ้นไปจากใจ
สังโยชน์ ทั้ง ๓ ประการ ก็คือ

๑. สักกายทิฏฐิ เอาอย่างเบื้องต้น
ไม่ใช้อย่างกลางหรืออย่างปลาย
เอาอย่างง่ายๆ เพราะเป็นบทของ สุกขวิปัสสโก
คือ เขานึกว่าจะต้องไม่ตาย อันนี้เราไม่เอา
สักกายทิฏฐิ คิดว่ามันไม่ตาย แต่ความจริงมันต้องตาย
เรามีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า ชีวิตนี้จะต้องตาย
มันจะตายเมื่อใดเรายืนยันไม่ได้ พร้อมไว้ว่าเราจะตายวันนี้

๒. วิจิกิจฉา สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระอริยสงฆ์ อันนี้เราไม่เอา
เราจะมั่นว่า ยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้า
ความดีของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ความดีของพระอริยสงฆ์

๓. สีลัพพตปรามาส เขาถือศีลผลุบๆ โผล่ๆ เป็นศีลหัวเฒ่า
ผลุบเข้าผลุบออก อันนี้เราไม่เอา
เราจะยอมรับนับถือและปฏิบัติศีลให้ครบทุกข้อทุกประการ
ฆราวาสก็มีศีลห้าเป็นต้น
ถ้าแถมกรรมบถ ๑๐ ได้อีกหน่อยจะมีความสุขมาก

องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
"บุคคลไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าอาจจะต้องตายในวันนี้ไว้เสมอ
ตั้งใจทำให้ดี คือ ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระอริยสงฆ์
และปฏิบัติทางในศีลให้ครบถ้วนทุกประการ อย่างนี้
ทุกคนปฏิบัติได้อย่างนี้ จะตายในชาติไหนก็ตาม
คำว่าอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรกเป็นต้น ไม่ไปแน่นอน"


ฉะนั้นขอสาวกขององค์สมเด็จพระชินวรทุกท่านที่รับฟังอยู่เวลานี้
ขอได้โปรด ถ้าต้องการไม่ลงนรกก็ปฏิบัติได้ไม่ยาก
ก็มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้มันต้องตาย
ตายคราวนี้หรือคราวไหนก็ตามเราไม่ยอมไปอบายภูมิ
ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ด้วยความเต็มใจ
ด้วยปัญญา ตั้งใจรักษาศีลห้าให้ได้ครบถ้วน
ถ้าจะให้มีความสุขจริงๆ รักษากรรมบถ ๑๐ ให้ครบถ้วน จะดีมาก
จะเป็นคนสวยมากไปที่ไหนใครก็รัก ไปที่ไหนใครก็ชอบ
จะมีทั้งความสุขในชาตินี้และชาติหน้า
กฎแห่งการปฏิบัติหนีนรกก็ขอให้พูดกันไว้แค่นี้

สำหรับวันนี้ก็จะพูดถึง อารมณ์คิดฟุ้ง
เมื่อตอนที่ ๓ พูดถึงฟุ้ง ฟุ้งแล้วก็ลงนรกเป็นการฟุ้งของคนดี
คนดีฟุ้งลงนรกไป คือ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
คือ พูดดี ทำดี คิดดีมาตลอดเวลา
แต่เป็นการบังเอิญอย่างยิ่งมาตอนปลาย มาคิดไม่ดีนิดเดียว
ศีลก็ไม่ขาด จะปรามาสในพระไตรสรณคมน์ก็ไม่มี
และมีความเคารพสามีเหมือนบิดา ยังลงนรกไปได้
วันนี้เอาใหม่ มาแก้ตัวกันใหม่ เมื่อตอนที่ ๓ เป็นเรื่องของผู้หญิง
ย่องลงนรกเดี๋ยวเดียว ๗ วัน
หลังจากนั้นเธอก็ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก
เพราะความดีมีมาก ความชั่วนิดหนึ่งก็ลงนรกนิดหนึ่ง
แต่ความดีมีมากก็ไปเกิดเป็นนางฟ้าใช้เวลามาก

วันนี้มาคุยกับบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ตอนที่ ๔ นี่นะ
อันนี้มันตอนที่ ๔ มาคุยกันถึงคนที่คิดฟุ้ง
เขามาคิดฟุ้งในที่นี้ เขาคิดดี คิดอยากเป็นนางฟ้า
คือ คิดอยากเป็นเมียของเทวดา
เอ๊ะ นี่ญาติโยมพุทธบริษัทที่นั่งอยู่นี่ที่เป็นสตรี เคยคิดบ้างไหม
อยากจะเป็นภรรยาของเทวดาคนใดคนหนึ่ง
ทุกคนมองยิ้มๆ แล้วก็บอกว่า อยากจะไปนิพพาน
อย่าลืมว่า เวลาที่พูดนี่ ไม่ใช่เวลาบันทึกเสียงอย่างเดียว
นั่งคุยกัน คุยกับบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท
แล้วก็มองดูเวลาถ้าครบ ๓๐ นาที ก็สรุปเสียที
เพราะว่าเวลาบันทึกเสียงจริงๆ มันก็ไม่มี ก็ต้องทำกันแบบนี้แหละ
คุยกันไปคุยกันมา ก็จะคุยเร็วเกินไปกว่าธรรมดา
ทีนี้คนที่ฟังวิทยุ ทางเทป จะฟังไม่รู้เรื่อง
ก็ต้องพูดเป็นจังหวะจะโคนแบบนี้

บุคคลคนนี้พระพุทธเจ้าทรงยืนยัน ชื่อจริงๆ ก็ไม่รู้จักเหมือนกัน
รู้จักแต่ชื่อตามปฏิปทาของเธอ คือ การปฏิบัติของเธอแบบไหน
เขาสมมุติชื่อของเธอแบบนั้น เขาใช้ชื่อตามภาษาบาลีว่า "ปติปูชิกา"
ซึ่งแปลเป็นใจความว่า "หญิงบูชาผัว"
"ปติ" แปลว่า "ผัว" "ปูชิกา" แปลว่า "การบูชา"
แปลตามภาษาบาลีว่า "หญิงบูชาผัว"
เข้าใจว่าชื่อนี้พ่อแม่ไม่เคยตั้งมาตั้งแต่เด็ก
เกิดมาแล้วพ่อแม่ก็ตั้งชื่อว่า "อีหนู ตั้งชื่อเอ็งว่า หญิงบูชาผัวนะ"
อันนี้ไม่มี ไม่มีใครเขาตั้ง ต้องตั้งตามสัญลักษณืของเธอที่แสดงออก

เนื้อความในบาลีของเรื่องนี้มีอยู่ว่า
ในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระชนม์อยู่
เวลานั้นก็มีสาวิกาขององค์สมเด็จพระบรมครู
คำว่า "สาวิกา" คือสาวกผู้หญิง
สาวกผู้ชายเรียกว่า"สาวโก" คำว่าสาวโก หรือสาวิกาก็ตาม
ก็แปลว่า"ผู้รับฟัง" เหมือนกัน
อย่าลืมนะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท
ที่นั่งอยู่ที่นี่โปรดทราบคำว่า สาวกของพระพุทธเจ้า
จะเป็นผู้หญิงก็ตาม ผู้ชายก็ตาม คำว่าสาวกนี่แปลว่า ผู้รับฟัง
พระพุทธเจ้าท่านตรัสแล้วว่า "อักขาตาโร ตถาคตา"
ตถาคตน่ะเป็นแต่เพียงผู้บอกเท่านั้น
บอกแล้วเธอจะทำตามหรือไม่ทำตามเป็นหน้าที่ของเธอ
ทีนี้เราทำยังไง สาวกรับฟังแล้วก็ปฏิบัติตาม
ผู้หญิงคนนี้มีฐานะเป็นสาวิกา คือ ผู้รับฟังพระพุทธเจ้าเหมือนกัน

หลังจากเกิดมาแล้ว อายุเท่าไรบาลีบอกไว้หรือเปล่าจำไม่ได้
ญาติโยมพุทธบริษัทที่นังฟัง ก็จงอย่าคิดว่า
อาตมานี่เป็นผู้วิเศษวิโสมากเกินไป
ความจริงไม่มีอะไรวิเศษ
ที่นำมาพูดนี้ก็นำเอาเนื้อความตามพระบาลี
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนมาพูดเท่านั้น
ไม่ใช่ความรู้ความสามารถของตัวเอง
และบางครั้งบางคราวไม่ใช่บางครั้ง อาจจะเป็นมากครั้ง
ก็จำไม่ได้ครบถ้วน อย่างเมืองสาวัตถี ตอนที่ ๓ นึกไม่ออกเสียเฉยๆ
คราวนี้ก็นึกไม่ออกว่า "ปติปูชิกา"
นี่เกิดมาอายุเท่าไรจึงแต่งงาน ก็จำไม่ได้เหมือนกัน
ในชาติก่อนโน้น เธอแต่งงานแล้วทำบุญอะไรไว้บ้าง
ก็ไม่ทราบอีกเหมือนกัน
ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นภรรยาของ "มาลาภารีเทพบุตร"
มาลาภารีเทพบุตรนี่ท่านอยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เขามีอายุ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์
อย่าลืมว่าบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี่ มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์เป็นอายุขัย
แต่ว่าเทียบกับเมืองมนุษย์ ๑๐๐ ปีของเรา
เป็น ๑ วันของดาวดึงสเทวโลก
๓๐ วัน เป็น ๑ เดือน
๑๒ เดือนเป็น ๑ ปีของเรา
วันของเขานะ เอา ๑๐๐ ปีของเราเป็น ๑ วัน
ถ้า ๑๐ วันของเขาก็เท่ากับ ๑,๐๐๐ ปี
๓๐ วันหรือ ๑ เดือนก็เท่ากับ ๓,๐๐๐ ปีของเรา
แล้วก็ ๑๒ เดือนเป็น ๑ ปีเหมือนกันวัดไปเถอะ
มันกี่ปีมนุษย์ก็ตามใจ อันนี้ไม่รู้เรื่อง

ก็รวมความว่า เธอถึงกำหนดที่จะต้องเคลื่อนจากความเป็นนางฟ้า
อยู่ไม่ได้แล้วหมดบุญ จะต้องลงมาเกิดเป็นมนุษย์
วันนั้นก็เป็นการพอดีที่ท่านมาลาภารีเทพบุตร
พาบริวารทั้งหมดแล้วก็พาภรรยาไปด้วย
ไปเที่ยวสวนนันทวัน ขณะที่ไปเที่ยวสวนนันทวันอยู่นั้น
ภรรยาซึ่งเป็นนางฟ้า ถึงเวลาจุติก็จุติลงมาเกิด
คือ ตายจากความเป็นนางฟ้า ลงมาเกิดเป็นลูกมนุษย์
เมื่อคลอดออกมาแล้วไม่ทราบว่ากี่ปี เป็นสาวแล้วไม่รู้ว่าอายุเท่าไร
จำไม่ได้บาลี ตอนนี้ เธอก็แต่งงาน แต่ว่าในสมัยนั้นนิยมกันว่า
อายุ ๑๖ แต่งงาน ก็สมมุติว่าเธออายุ ๑๖ แต่งงานก็แล้วกัน
(อายุต้องสมมุติแล้วเพราะว่าจำไม่ได้
ถ้าจะวิ่งเข้าไปหาหนังสือเวลานี้ญาติโยมก็จะรำคาญ)

ต่อมาเมื่อแต่งงานแล้วก็มีลูก อันนี้จำไม่ได้แน่นอน
คิดว่าจะมีลูกประมาณ ๕ คน
แล้วเธอก็อายุประมาณ ๕๐ ปีเศษๆ นิดๆ ๕๐ ปีหน่อยๆ ไม่มาก
ก็เข้าไปอยู่ในสำนักขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คือ พระพุทธเจ้าตรัสเวลานั้น
เมื่อฟังเทศน์จบเดียวก็ไม่ทราบว่า เป็นพระโสดาบัน หรือเปล่า
บาลีไม่ได้บอกอีก ฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจบเดียว
ก็มีความเลื่อมใส ออกจากบ้านลาผัวลาลูก
ไปอยู่ในสำนักของพระพุทธเจ้า
พอไปอยู่สำนักของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติความดีใกล้พระสงฆ์
ใกล้พระพุทธเจ้า อุดมไปด้วยธรรมมะ
ก็เกิดมีอารมณ์อย่างหนึ่งที่เรียกว่า "อตีตังสญาณ"
ญาณถอยหลังไปในอดีต
ก็ทราบตนเองว่าก่อนทีเราจะมาเกิดเป็นมนุษย์
เราเป็นภรรยาของมาลาภารีเทพบุตร บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก
เวลานี้มาลาภารีเทพบุตร ซึ่งพาเรามาเที่ยวในสวนนันทวัน
ยังไม่กลับบ้าน ยังเที่ยวกันอยู่ที่สวนนันทวัน

เห็นไหมบรรดาท่านพุทธบริษัท ว่าออกมาด้วยกัน
คนหนึ่ง จุติ คือตายจากความ เป็นนางฟ้าลงมาเกิดเป็นมนุษย์
มีสามีแล้วมีบุตรธิดา อายุปาเข้าไป ๕๐ ปีเศษนิดๆ
แต่ว่าบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลกมาเที่ยวกันที่สวนนันทวัน
ยังไม่กลับก็เรียกว่ายังไม่เต็มวัน
เมื่อนางมีความรู้สึกอย่างนั้น ว่าเคยเป็นภรรยาของมาลาภารีเทพบุตร
เวลาทำบุญทุกอย่าง เมื่อจบแล้วเธอก้อธิษฐานว่า
"ขอบารมีที่บำเพ็ญแล้ววันนี้ จงดลบันดาล
เมื่อเวลาข้าพเจ้าตาย ให้ไปเกิดในสำนักของสามี"
พูดเฉยๆ นะ ว่าเมื่อข้าพเจ้าตายจากชาตินี้ไปแล้ว
ขอให้เกิดในสำนักของสามี
นี่ถ้าบอกว่าขอเกิดเป็นภรรยาของมาลาภารีเทพบุตร น่ากลัวจะมีเรื่อง
เรื่องที่จะมี ก็คือ เรื่องเขาหาว่าบ้า นางก็มีความฉลาด
บอกแต่เพียงว่า "ขอบารมีของบุญส่วนนี้
จงบันดาลให้ข้าพเจ้าไปเกิดในสำนักของสามี"
บรรดาคนทั้งหลายและพระที่ฟัง
ก็คิดว่าเธออยากกลับไปอยู่กับสามีใหม่ คือ คนเดิมที่เป็นมนุษย์
ตายไปแล้วอยากจะกลับมาอีก
เข้าใจว่าสามีคงมีเสน่ห์ดีมาก
ทำบุญครั้งไรภรรยาอยากมาเกิดอยู่ด้วย
ช่วยให้สามีที่เป็นมนุษย์มีความสุข
นึกว่า อือ…แม่อีหนูนี่ดีจริงๆ อยากจะมาเกิดเป็นภรรยาของเราใหม่
แต่ความจริงเวลานี้เธอแก่แล้วตั้ง ๕๐ เศษ
ถ้าบังเอิญตายไปเวลานี้กลับมาเกิดใหม่
เป็นสาววัยรุ่นอายุ ๑๒-๑๓
เพื่อแต่งงานกับเราใหม่มันจะเก๋กว่าปัจจุบันนี้มาก

เธอคิดอย่างนั้นหรือเปล่าก็ไม่ทราบ
แต่ที่เป็นอย่างนี้ก็คนปากมากคิดไปเอง อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้
แก่แล้วนี่ก็อยากมีเมียสาว เป็นของธรรมดา
และการปฏิบัติวัตรฐากในพระ เธอเต็มใจทำทุกอย่าง
เวลาที่พระไปบิณฑบาต อยู่ทางนี้ก็จัดน้ำใช้น้ำฉันปูอาสนะทุกอย่าง
พระฉันเสร็จก็ทำงานทุกอย่าง เพื่อพระมีความสุข
พระพุทธเจ้าเทศน์ ก็ตั้งใจฟังและปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอน
ด้วยความเคารพ กำลังบุญมีมาก
แต่ความจริงอยู่ใกล้องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคก็น่าจะคิดว่า
การตายคราวนี้อยากจะไปนิพพาน แต่นางไม่เอาอย่างนั้น
ย่องไปนึกว่า "ถ้าการตายคราวนี้ ถ้าตายเมื่อไร
ขอไปเกิดในสำนักของสามี " แล้วก็เป็นความจริง

หลังจากเธอตายเมื่ออายุ ๕๐ ปี เศษหน่อยๆ ตายจากคนปั๊บ
ก็ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก
ไปถึงที่นั่นก้เป็นนางฟ้าสวยสดตามเดิม
ความจริงได้บุญเพิ่มใหม่อาจจะสวยกว่าเก่าก็ได้
เพราะอยู่กับองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อขึ้นไปแล้วก็เข้าไปหาสามี ไปหามาลาภารีเทพบุตร

ท่านมาลาภารีเทพบุตรเห็นเข้าก็แปลกใจ ถามว่า
"ภคินิ ดูก่อนน้องหญิง เอนี่ตั้งแต่เช้ายันเที่ยง
นี่เธอหายไปไหนนะ ฉันมองไม่เห็นเธอเลยตั้งแต่เช้ายันเที่ยง"

โอ้โฮ ! นี่ปาเข้าไปตั้ง ๕๐ ปีเศษ
ผัวยังคลำกุกกักๆ คิดว่าเช้ายันเที่ยง
นางฟ้า คือ ปติปูชิกาก็กราบเรียนให้ทราบว่า

"สามี ข้าแต่นาย" (คำว่า "สามี" เขาไม่ได้แปลว่า ผัวนะ
คำว่าผัวจริงๆ ภาษาบาลีเขาเรียก "ปติ" ป.เป็ด หรือ ป.ปลา ก็ตาม
แล้วก็ ต.เต่า สระอิ "ปติ" ตัวนี้เขาแปลว่า ผัว
แต่สามีนี่เขาแปลว่านายหรือเจ้าของ
อาจจะแปลอย่างอื่นอีกก็ได้ แต่อาตมาเรียนมาน้อยเรื่องบาลี)
เขาถามเธอว่า "ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงเธอหายไปไหน"
เธอก็เรียนให้ทราบความจริงว่า

"ความจริงตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงไม่ได้ไปไหน หมดบุญต้องจุติ
คือ ตายจากความเป็นนางฟ้าต้องไปเกิดเป็นมนุษย์"

มาลาภารีเทพบุตรได้ฟังก็บอก "นี่เธอล้อฉันเล่นนะ อะไร
เธอจะไปเกิดเป็นมนุษย์ยังไง
ตั้งแต่เช้ายันเที่ยงโผล่กลับมาใหม่ มันเป็นจริงไปไม่ได้"

นางก็ยืนยันว่า "จริงเจ้าค่ะ ฉันจุติ คือ ตายจริงๆ
จากความเป็นนางฟ้า เพราะหมดบุญ
หลังจากนั้นก็ไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้หญิง แล้วก็แต่งงานมีลูก ๕ คน"

โดยประมาณนะ จำบาลีไม่ได้หรือโยมจะไปเปิดบาลีว่า
ไม่ตรงว่าพระโกหก ไม่ได้โกหกนะ จำไม่ได้
ประมาณว่ามีลูก ๕ คน อายุนี่ ๕๐ ปีเศษแน่คงเศษไม่มาก

"แล้วก็หลังจากนั้นพบองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค
คือ พระพุทธเจ้า ทำบุญกับท่านเวลาทำบุญก็อธิษฐานว่า
ถ้าตายจากความเป็นคน ขอมาเกิดในสำนักของท่าน
วันนี้ฉันตายจากความเป็นคน แล้วก็มาสู่สำนักของท่าน
ตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้กับการทำบุญ
ในสำนักขององค์สมเด็จพระจอมไตร"

มาลาภารีเทพบุตรท่านเป็นเทวดา ท่านมีร่างกายเป็นทิพย์
ท่านมีอารมณ์ใจเป็นทิพย์ คนที่จะเป็นเทวดาได้
ต้องมีความดี ๒ อย่างประจำใจ คือ

๑. หิริ ความละอายต่อความชั่ว
อายความชั่วไม่ยอมทำความชั่ว
ไม่ยอมทำความชั่วทั้งต่อหน้าคนและลับหลังคน
ไม่ว่าในสถานที่ใดทั้งหมด ขึ้นชื่อว่าความชั่วไม่ทำ

๒. โอตตัปปะ เกรงกลัวผลของความชั่วจะให้ผลเป็นทุกข์
ในเมื่อคนจิตใจสะอาดแบบนั้น
จิตใจก็เป็นทิพย์ ร่างกายก็เป็นทิพย์


เมื่อปติปูชิกา ภรรยาของท่านกล่าวอย่างนั้น
ท่านก็ใช้อารมณ์ความเป็นทิพย์ตรวจดู
ก็ทราบว่า เออจริงนะ ฉันก็เผลอไปนะ
ไม่ได้สังเกตว่าเธอหายไปไหน
ก็คิดว่ามีความรื่นเริงบันเทิงใจสนุกสนาน
ลืมมาหาฉันตั้งแต่เช้ายันเที่ยง
นี่เธอตายจากความเป็นเทวดาจริงๆ ไปเกิดเป็นคน
มีสามี มีบุตรธิดา จริงๆ

คำว่า "อายุขัย" แปลว่า อายุถึงที่สุด
แต่บางคนอาจจะเกินก็ได้ ตายต่ำกว่าที่สุดก็ได้ ครบที่สุดก็ได้ เกินก็ได้
แต่ถือว่ามีความสำคัญในที่สุดของชีวิต


ถามว่า มีอายุขัยเท่าไร
นางก็ตอบว่า "เวลานี้มนุษย์มีอายุขัย ๑๐๐ ปีเจ้าค่ะ"
ท่านก็ถามว่า "เธอไปเกิดนี่มีอายุเท่าไร"
นางก็ตอบว่า "ฉันมีอายุ ๕๐ ปีเศษนิดๆ เจ้าค่ะ"
ท่านก็บอกว่า "แค่ ๕๐ ปีเศษนิดๆ ที่นี่แค่เที่ยงวัน"

ท่านก็ถามว่า "มนุษย์มีอายุน้อยเท่านี้น่ะหรือ"
ท่านก็ลืม ท่านเป็นเทวดาเสียนาน
ท่านมาลาภารีเทพบุตรเป็นเทวดาเสียนาน
ลืมอายุของมนุษย์ ลืมวันเดือนปีของมนุษย์ ว่ามันสั้นเหลือเกิน
ท่านก็ถามว่า "นี่ ๕๐ ปีเศษเท่ากับเที่ยงวัน"

ท่านก็ถามว่า "มนุษย์เมี่อมีอายุน้อยอย่างนี้ มีความไม่ประมาท
คือ ตั้งใจสร้างความดีหรือว่ามีความประมาทอยู่มาก"

นางก็ตอบว่า "มนุษย์ส่วนใหญ่มีความประมาท
ไม่ค่อยจะตั้งใจทำความดี คิดว่าชีวิตของตัวนี้จะไม่ตาย"

มาลาภารีเทพบุตรพอฟังเท่านี้ไซร้ก็สลดใจอย่างยิ่ง
และในที่สุดเมื่อหมดวันเวลาก็พากันกลับเข้าสู่วิมาน


สำหรับในด้านเมืองมนุษย์บรรดาท่านพุทธบริษัท
บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายฟังคำของนางปติปูชิกา
เมื่อเสร็จจากการฟังเทศน์ เมื่อเสร็จจากการทำบุญ
ก็ขออธิษฐานว่า ขอบุญกุศลนี้
จงดลบันดาลให้ฉันไปเกิดในสำนักของสามีฉัน
เมื่อนางตาย พระมีความรักเธอมากบางองค์ที่เป็นปุถุชนถึงกับร้องไห้
พระอริยเจ้าก็สลดใจ ถือว่าความตายเป็นของธรรมดา
แต่เสียดายเธอนิดๆ ที่เธอทำกิจดีมาก ละเอียดลออดีมาก ต้องจากไป
หาคนดีอย่างนี้ได้ยากหน่อย
ต่างคนก็ต่างไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สำหรับพระที่เป็นปุถุชน พระอริยเจ้าไม่สงสัย รู้เรื่องแล้ว
แต่พระที่เป็นปุถุชนก็ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว
ถามว่า "นางปติปูชิกาตายแล้วไปเกิดที่ไหน"

สมเด็จพระจอมไตรก็บอกว่า "ไปเกิดตามที่เธอต้องการ
เธออธิษฐานว่า ขอไปเกิดในสำนักของสามี เธอก็ไปเกิดในสำนักของสามี"

พระพวกนั้นทิ้งเวลาไว้นิดหน่อย
คิดว่าถ้าคนเข้าท้องเวลานี้คิดว่าคงไม่มีความรู้สึก
ปล่อยเวลาล่วงไป ๒-๓ เดือน ก็ไปบ้านของสามีนางปติปูชิกา
ถามว่า "ผู้หญิงที่นี่มีใครตั้งครรภ์บ้าง"
เผอิญบ้านนั้น เวลานั้นยังไม่มีใครมีท้อง ยังไม่มีใครมีลูก
เธอก็ตอบว่า "ไม่มีใครตั้งครรภ์เจ้าค่ะ"
จึงกลับมาหาองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าใหม่
บอกท่านว่าเวลานี้ที่บ้านนั้น ยังไม่มีใครตั้งครรภ์
นางปติปูชิกาคงยังไม่ไปเกิดแน่

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสว่า
"ภิกขเว ดูก่อนท่านภิกษุทั้งหลาย
ไม่ใช่เธอต้องการมาเกิดในสำนักของสามีที่เป็นมนุษย์
เธอเป็นเมียของมาลาภารีเทพบุตรก่อนที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์
เวลานี้เธอไปเกิดเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลกแล้ว"

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท คนที่มีอารมณ์ฟุ้งที่ฟุ้งในด้านดีก็มี
อย่างปติปูชิกา นี่ฟุ้งขอไปเกิดในสำนักของสามี
ถ้าการฟุ้งประเภทนี้ ถ้าจะคิดกันไปก็เป็นอธิษฐานบารมีนั่นเอง
อธิษฐานก็ตั้งใจปักใจว่า ขอทำบุญส่วนกุศลปักใจไปที่นั่น
ก็รวมความว่าการตั้งใจหรือปักใจคิดไว้ว่าชอบใจที่ใด
เมื่อตนตายแล้วเมี่อไรก็จะไปเกิดในที่นั่นทันที


เรื่องนี้นอกจากเรื่องของนางปติปูชิกาแล้ว ยังมีเรื่องอื่นต่อไป
ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายฟังเรื่องเบาๆ
ในตอนที่ ๕ ตอนที่ ๖ ต่อไป

สำหรับวันนี้มองดูเวลาก็หมดแล้ว
บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจำต้องลาก่อน
ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชน
ผู้เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระชินวรผู้รับฟังเวลานี้ทุกๆ ท่าน สวัสดี...



ตอนที่ ๕ อบายภูมิเบื้องต้น

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย
สำหรับตอนที่ ๕ ก็มาขอปรารถถึงเรื่อง การปฏิบัติตนเพื่อการหนีบาป
เรื่องการหนีบาปนี้เราก็ต้องพูดกันเรื่อยๆ
วิธีการหนีบาปก็ต้องพูดกันเหมือนกัน
วิธีการหนีบาปเอาตามแบบฉบับขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสไว้ในสังโยชน์ ความจริงสังโยชน์ทั้งหมดนี่มี ๑๐ ประการ
แต่ถ้าตัดได้ถึง ๑๐ ก็เป็นพระอรหันต์
ตัดได้ ๕ ก็เป็นพระอนาคา
ถ้าตัดได้ ๓ ก็เป็นพระโสดาบันกับสกิทาคามี

สำหรับเรื่องความเป็นพระโสดาบันหรือไม่นั้น
ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจงอย่าสนใจ
ถ้าเรามุ่งความเป็นพระโสดาบันจริงๆ อารมณ์จิตจะกลุ้ม
ทั้งนี้ก็เพราะว่าเป็นหรือไม่เป็นเราไม่ทราบ
ถ้าเผอิญไม่เป็นพระโสดาบัน คิดว่าได้เป็นพระโสดาบัน กรรมหนักจะมาทีหลัง

นั่นก็คือว่า ถ้าเวลาตายพลาดพลั้งลงไป เราจะไม่พ้นเขตอบายภูมิ
ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัท จงตั้งใจคิดแต่เพียงว่าเราจะคุมกำลังใจ
ให้อยู่ในขอบเขตของสังโยชน์ ๓ ประการนั่นเอง
อารมณ์ที่เราจะต้องพ้น ทำจิตใจให้ไม่มีความกังวลในอารมณ์ของสังโยชน์ ก็คือ

๑. สักกายทิฏฐิ อารมณ์ของสังโยชน์
มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันจะไม่ตาย
ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความสะอาด ไม่มีอาการสกปรก
น่ารัก น่าชม ร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย
ร่างกายมีในเรา อารมณ์ของสังโยชน์เป็นอย่างนี้
เราก็ต้อค้านตัดทำลายอารมณ์นี้ทิ้งไป
ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริงแค่เบื้องต้นว่า
ร่างกายนี้ปกติมันต้องตาย มันไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้
ร่างกายสกปรกหรือไม่สกปรก น่ารักหรือไม่น่ารัก ไม่ต้องคิด
ยังไม่ถึงเวลานั้น ร่างกายเป็นเราเป็นของเรา
เรามีในร่างกายหรือไม่มีในร่างกายก็ไม่ต้องคิดเหมือนกัน
ปล่อยไว้ก่อน เพราะอารมณ์นั้นสูงเกินไป
เรามาใช้กันแต่เฉพาะอารมณ์เบื้องต้นเท่านั้น

ในตอนนี้มีความรู้สึกครั้งแรกว่า ชีวิตทีเกิดมามันเป็นของไม่เที่ยง
แต่ความตายเป็นของเที่ยง เราต้องตายแน่นอน
และทำความรู้สึกแบบ เปสการี
เธอมีความรู้สึกว่าความตายมีแน่ แต่ไม่รู้เวลาตายจะเป็นเวลาไหน
ตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางวัน ตายกลางคืน
จะตายมีอายุน้อย ตายมีอายุมาก ไม่แน่นอน
ระมัดระวังไว้เสมอว่า คิดว่า เราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ
และก็ต้องตั้งใจทำความดี
จิตทรงอารมณ์ของความดีไว้ เข้าแก้สังโยชน์ข้อที่ ๒

สังโยชน์ข้อที่ ๒ มีความรู้สึกในใจสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า
พระธรรมและพระอริยสงฆ์ และก็ตัดอารมณ์นั้นทิ้งด้วยปัญญา
ว่าพระพุทธเจ้าดี พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ดี
พระอริยสงฆ์มีความดี ทั้ง ๓ ประการมีความดี
ควรยอมรับนับถือได้ และก็เต็มใจในการยอมรับนับถือ

สังโยชน์ข้อที่ ๓ มีความไม่แน่นอนในศีล
ทำตนเป็นการปฏิบัติตนแบบศรัทธาหัวเฒ่า ผลุบเข้าผลุบออก
เคารพในศีลบ้าง ไม่เคารพในศีลบ้าง อันนี้เป็นเหยื่อของอบายภูมิ
เราก็ต้องฝืน อารมณ์นี้เอาชนะให้ได้
มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า ศีลเราต้องรักษาให้แน่นอน
เฉพาะฆราวาสมีศีลห้า คือ ศีลมี ๕ สิกขาบท
มีปาณาติบาต เป็นต้น มีสุราเป็นที่สุด
เราจะเว้นแน่นอนในศีล ๕ ประการ นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
บาปกรรมเก่าๆ ที่ทำไว้แล้วเท่าไร
ก็เป็นเรื่องของเวลานั้นไม่ใช่เวลานี้
เวลานี้เราจะเป็นคนดีมีความเคารพในศีล

เพียงแค่นี้บรรดาท่านพุทธบริษัท
ถ้าอารมณ์ของทุกคนมีความไม่ประมาทในชีวิต
คิดว่ามันอาจจะต้องตาย ในเมื่อความตายนี้ก็ไม่แน่นอนนัก
จะตายเมื่อไรก็ได้ พร้อมคิดว่าอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ
แล้วก็ทรงความดีเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
ทรงศีลให้บริสุทธิ์ เป็นปกติ
เพียงแค่นี้บรรดาท่านพุทธบริษัท
ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง ๔ ประการ
คือ การเกิดเป็นสัตว์นรกก็ดี เป็นเปรตก็ดี เป็นอสุรกายก็ดี
เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี จะไม่มีสำหรับเราไปทุกชาติ ทุกสมัย
ถ้าจะมีการเกิดอีกเพียงใดก็ตามที ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง ๔ ไม่ไปกันแน่
ทางที่จะไปอย่างต่ำก็มนุษย์ อย่างสูงขึ้นไปก็สวรรค์หรือพรหม
ถ้าขณะใดเกิดจิตไม่นิยมร่างกายขึ้นมาเมื่อไร
ขณะนั้นก็ถึงนิพพานทันที


สำหรับเรื่องการหนีบาปในเบื้องต้น
ที่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ
ก็ต้องพูดกันทุกวันแบบนี้ กันลืม

ต่อแต่นี้ไปก็มาพูดกันถึงอารมณ์
อารมณ์ของบุคคลนี้เป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน
อันนี้เป็นตอนที่ ๕ วันนี้ก็จะขอพูดถึงอารมณ์ของคน
ที่ความจริง ก็ไม่ได้หมายถึง บาป บาปที่ทำมายังไม่ถึง
เป็นแต่เพียงว่าก่อนตายมีความคิดว่า ต้องการอะไร
และจิตตั้งความมุ่งหมายไว้อย่างไร
เวลาตายแล้วไปเกิดที่นั่นทันที
แต่สำหรับการตายการเกิดในวันนี้
ก็ขอพูดถึงอบายภูมิเบื้องต้น คือ ขั้นสัตว์เดรัจฉาน
เพราะตายจากความเป็นคน เพราะไม่ได้ละเมิดศีล
ไม่ใช่โอกาสไม่ใช่บาปที่ละเมิดศีล
ไม่ใช่ว่าบาปปรามาสพระไตรสรณคมณ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เป็นแต่เพียงอารมณ์คิดเฉยๆ ว่า จุดนี้ดี
พอตายปุ๊บก็ไปทันที เกิดที่นั่นทันใด
แล้วภายหลังต่อจากนั้นไป
เมื่อตายจากไปแล้ว เขาก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
ตอนที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดมีความรักในพระปัจเจกของพระพุทธเจ้า
เมื่อตายจากสัตว์เดรัจฉาน เมื่อตายจากสุนัข (เขาเป็นสุนัข)
ก็ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก

นี่ถ้าท่านทั้งหลายได้ฟังใครเขาพูดว่า
สัตว์เดรัจฉานทำบุญไม่ได้นั้น ไม่จริง
อย่างท่านผู้นี้ก็ดี หรือว่า เอราวันเทพบุตร ก็ดี
ท่านเอราวัณเทพบุตร เป็นช้างของพระอินทร์ในสมัยที่เป็น มฆมานพ
ใช้แบกไม้ ใช้ดึงไม้ เอาไปสร้างศาลาเป็นสาธารณะ
ตายไปจากความเป็นช้างไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก
มีนามว่า เอราวัณเทพบุตร
ก็รวมความว่าสัตว์เดรัจฉานก็ทำบุญได้
เทวดาหรือพรหมก็ทำบุญได้ มีผลเช่นกัน


ก็ขอนำเอาเรื่องรางของพระสูตร เรื่องนี้มาคุยสู่กันฟัง
เวลานี้ก็ผ่านไป ๙ นาทีแล้ว เรื่องนี้ก็ปรากฏใน พระธรรมบทขุททกนิกาย
มาในเรื่อง สามาวดี ท่านตัวเอกของเรื่องในเรื่องนี้
ตามบาลีว่าเรื่อง โกตุหลิกะ
โกตุหลิกะคนนี้เป็นคนยากจน
หนีภัยแห่งโรคระบาดมากับภรรยาและลูกน้อย
ในที่สุดเมื่ออาหารหมดในป่าหลายวัน
ทนไม่ไหวต้องปล่อยลูกน้อยตายในป่า
(คือลูกเล็กๆ ลูกน้อยก็หมายถึงลูกคนเดียว
และก็เป็นลูกยังเล็กอยู่ช่วยตัวเองไม่ได้)
แต่กรรมนี้ยังตามสนองเธอไม่ทัน
ออกมาก็ไปสู่บ้านของกฏมพี คือ คนที่มีเงิน ไปขอข้าวเขากิน
เพราะอยากจะทำงานเพื่อเลี้ยงชีพเฉยๆ
ค่าจ้างจะได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทราบ ไม่เป็นไร
ต้องการอย่างเดียว คือ ทรงชีวิตอยู่ได้

คนที่อดคนที่หิวเป็นอย่างนี้
บรรดาท่านพุทธบริษัท มีความคิดอยู่ว่า
ถ้าชีวิตมีอยู่ได้ก็ใช้ได้ มีอาหารกินก็ใช้ได้

เมื่อเข้าไปถึงบ้านของท่านกุฎุมพี แล้ว
เข้าไปพร้อมกับภรรยาว่า ท่านกุฎุมพีให้คนจัดอาหารมาเลี้ยง
ก็เป็นอาหารประเภทที่คนใช้กิน อย่างคนใช้เขากิน
จะว่าเลวเกินไปก็ไม่ใช่แน่
บ้านคนที่มีความร่ำรวย เขาไม่ถือว่าแกงหมู แกงเนื้อ
แกงไก่ มันเลิศประเสริฐเกินไป
มันชินสำหรับบ้านประเภทนั้น
อย่างบ้านเราจนๆ อาตมาเองก็เคยเกิดในฐานะที่ไม่ค่อยจะมีอะไรกินนัก
บางครั้งพวกเราเห็นพริกเผานิดหน่อย
ที่ผสมน้ำปลาเอร็ดอร่อยเหลือเกิน
เห็นคนอื่นเขากินหมู กินเนื้อ กินไก่
ก็มีความรู้สึกในใจว่าถ้าเรารวยเมื่อไร จะกินหมู กินเนื้อ กินไก่มันทุกวัน
กินมันทั้งวันเลยก็ยังได้ ความรู้สึกของคนอด
ความรู้สึกของคนหิวมีแค่นี้ ไม่ทะเยอะทะยานมากเกินไป

ในขณะที่ โกตุหลิกะ เห็นว่าท่านกุฎุมพี
ให้คนรับใช้เอาอาหารมาให้สองส่วนเวลานี้
อาจแบ่งเป็นจานก็ได้ หรือจะเป็นจานถาดหลุมก็ได้
นำเอามาให้ภรรยาส่วนหนึ่ง คือ ชามหนึ่ง
เอามาให้นายโกตุหลิกะชามหนึ่ง
ภรรยารักสามีมาก ส่วนของเธอเธอยังไม่กินให้สามีกินก่อน
ท่านสามีก็แสนจะดีมาก
น่าจะคิดว่าเรากับภรรยาต่างคนต่างอดกันมา
ก็กินกันคนละชาม มันก็ทรงชีวิตได้แล้ว
แต่ว่าบุรุษผู้ใจแกล้ว คำว่า "ใจแกล้ว" นี่นะ
ใจแกล้วในด้านความโง่ แทนที่เธอจะคิดอย่างนั้น
ส่วนของเธอว่าเสียถนัดใจกินจนหมดชาม
ภรรยาทนหิว น่ารักเหลือเกิน
เมื่อเห็นผัวกินหมดชาม แล้วก็ถามว่าต้องการอีกไหม
ถ้าต้องการเธอให้ส่วนของเธอ
นายโกตุหลิกะก็บอก "เอา"
ความจริงน้ำใจแบบนี้ไม่น่ารักเลย เมียส่งให้ก็กินอีก

ขณะที่กินข้าวอยู่นั่นที่ท่านกุฎุมพี ท่านมีสุนัขตัวเมียอยู่ตัวหนึ่ง
ท่านเลี้ยงไว้ใกล้ชิดและก็ท่านเองท่านกำลังกินข้าวเหมือนกัน
กินข้าวมธุปายาส ข้าวมธุปายาสเป็นข้าวที่มีราคาแพงมาก
จะกินได้แต่คนที่ร่ำรวยกับมหาเศรษฐี กับกษัตริย์เท่านั้น
คนที่จนลงมากินบ่อยๆ ไม่ได้นานๆ กินครั้งได้
แต่อย่างท่านกุฏุมพี ท่านกินได้ทุกวันทุกเวลา
ข้าวมธุปายาสเขาทำอย่างไร
ไม่ขออธิบายในที่นี้ เปลืองเวลาเปล่าๆ

เมื่อท่านกินข้าวมธุปายาส หมาตัวเมียที่ท่านเลี้ยงไว้
มันหมอบอยู่ใกล้ๆ ท่านก็เอาใส่จานแบ่งให้หมาตัวเมีย
เจ้าหมาตัวเมียผู้น่ารัก ผู้มีบุญมันก็กินข้าวนั่น
โกตุหลิกะมองดูหมาตัวเมียก็คิดในใจว่า
เจ้าหมาตัวนี้มันเกิดเป็นหมา มันดีกว่าเราซึ่งเป็นคนมาก
เราซึ่งเป็นคนเกิดมาจนกระทั่งมีเมียมีลูกหนึ่งคนแล้ว
คำว่าข้าวมธุปายาส แม้แต่เอาเศษของเล็บเข้าไปแตะก็ไม่เคยได้พบ
ทั้งนี้ข้างมธุปายาสเป็นข้าวที่มีราคาแพงมาก
เหมาะสำหรับคนที่มีฐานะดีอย่างกุฎุมพี และเศรษฐีเท่านั้น
เธอก็นึกในใจว่าหมาตัวนี้มีบุญเหลือเกิน
แต่ว่าเธอจะคิดว่าเราเกิดเป็นหมาบ้างก็ดี
คิดหรือเปล่าบาลีไม่ได้บอก

รวมความว่าขณะที่คิดว่าเจ้าหมาตัวนั้นดีกว่าตัวเท่านั้น
เธอกินข้าวหมดชามชามหลัง ตามพระบาลีบอกว่า "ลมกำเริบ"
ก็คือ อาหารไม่ย่อย ย่อยไม่ทัน
อดมาตั้งหลายวัน กินเข้าไปมาก
ส่วนทุกส่วนของร่ายกายก็เพลีย ไม่สามารถจะย่อยได้
เธอก็ขาดใจตายลงไป เวลานั้นเมื่อขาดใจตายไปแล้ว
"จิตวิญญาณ" หรือ "อทิสสมานกาย" วิญญาณไม่ไปด้วยแน่
ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทฟังไว้ด้วยนะ

คำว่า "วิญญาณ" นั้นเป็นความรู้สึก
และที่เราเรียกกันว่า "ประสาท"
ตามที่เขาบอกกันว่า ขันธ์ ๕ มี ๕ อย่าง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ทั้ง ๕ อย่างนี้เวลาตายมันตายพร้อมกัน
คือ ไม่เกาะกับร่างกาย วิญญาณไม่ใช่จิต
วิญญาณไม่ใช่อทิสสมานกาย

สำหรับสิ่งที่ออกจากร่างกายไป คือ จิตหรืออทิสสมานกาย
จิตมีสภาพคิด อทิสสมานกาย คือ กายอีกกายหนึ่งที่ซ้อนอยู่ในเนื้อกายนั้น
ตามธรรมดาที่เขาบอกว่า คนตายแล้วไปสวรรค์บ้าง ไปนรกบ้าง
ไปเกิดที่นั้นบ้าง เราจะเห็นว่าร่างกายถูกเผาบ้าง ถูกฝังบ้าง
เอาอะไรไปเกิด ? ก็คือ เอาความจริงของตัวเราข้างในไปเกิด
ตัวเราข้างใน ถ้าจะเห็นได้ ถ้าไม่ได้ทิพจักขุญาณ
เห็นด้วยตาเปล่าไม่ได้ เห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้
ท่านจึงเรียกว่า "อทิสสมานกาย"
เป็นกายที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อ
ถ้าเราจะมีความรู้สึกว่าจะมีไหม ก็ต้องตอบว่า มี
นั่นก็คือ เวลาฝัน เรานอน ฝันว่าทำโน่น ทำนี่ ทำนั่น
นั่นแหละ ในกายข้างในจริงๆ มันไปจริงๆ
แต่กายเนื้อมันนอนอยู่
เจ้ากายตัวนี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท

ขณะที่อารมณ์จิตคิดว่า หมาตัวนี้ดีกว่าเรา มีบุญวาสนาดีกว่าเรา
เมื่อสิ้นลมปราณลมหายใจหมดไปปั๊บ
กายตัวนี้มันออกจากกายเนื้อ
เข้าสู่ครรภ์ของนางหมาตัวเมียทันที
ต่อมาไม่ช้าไม่นานเท่าไร ก็คลอดออกมาเป็นหมาโทน
การที่ตายจากคนไปเกิดเป็นสุนัข
สุนัขประเภทนี้รู้ภาษาคนดีมาก เป็นที่รักของท่านคหบดี

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท
อย่าคิดว่ากรรมที่ทำให้เขาเกิดเป็นสุนัขนี้
ยังไม่หมายถึง การทิ้งลูก กรรมบาปที่ทิ้งลูกยังไม่มาสนอง
กรรมอย่างอื่นใด กรรมเพราะการปรามาสพระไตรสรณคมณ์
ก็ยังไม่มาถึง กรรมเพราะละเมิดศีลห้าข้อข้อใดข้อหนึ่ง ก็ยังไม่มาถึง
เป็นแต่เพียงความรู้สึกคิดว่าสุนัขดี หรือหมาดี เพียงคิดเท่านี้
พอจิตออกจากร่างหรืออทิสสมานกายออกจากร่าง
ก็เข้าสู่ครรภ์ของสุนัขทันที เข้าท้องหมา

นี่จำไว้ บรรดาท่านพุทธบริษัท
ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้เราเจริญ สมาธิ
และ วิปัสสนาญาณ ทำอารมณ์ให้ทรงตัว ที่เรียกว่า "สมาธิ"
คือ การตั้งใจ ตั้งใจนึกถึงความดี มี พุทธานุสสติ
นึกถึงพระพุทธเจ้า เป็นต้น ธัมมานุสสติ นึกถึงพระธรรม
สังฆานุสสติ นึกถึงพระอริยสงฆ์
สีลานุสสติ จิตคุมอารมณ์ในศีลห้าให้ทรงตัว
จาคานุสสติ นึกถึงทานการบริจาค คือ การให้
เทวตานุสสติ นึกถึงความดีของเทวดา เป็นต้น
ที่องค์สมเด็จพระทศพลแนะนำให้ทำอย่างนี้
ที่ท่านบอกว่าทำให้เป็นฌาน "ฌาน" คือ อารมณ์ชิน
การนึกถึงความดีทั้ง ๖ ประการนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ถ้าเวลาจะตายในยามปกติ เราก็นึกได้บ้างนึกไม่ได้บ้าง
ลืมบ้าง นึกถึงบ้าง แต่เวลาก่อนจะหลับหรือตื่นใหม่ๆ
ควรจะทรงอารมณ์ให้ทรงตัว คือ ตั้งใจภาวนา
โดยนึกถึงให้ทรงตัวสัก ๒-๓ นาทีก็พอให้ชิน
และเวลาใกล้จะตายจริงๆ อารมณ์ความดีจะรวมตัว
ถ้านึกถึงอารมณ์ความดี ๖ อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
อย่างเลวหรืออย่างอ่อนที่สุด
ตายจากความเป็นคนจะไปเป็นเทวดาหรือพรหมทันที

ทั้งนี้เพราะอะไร ?
เพราะจิตน้อมถึงกุศล คำว่า "กุศล" หมายถึง จิตคิดอยู่ในความฉลาด
ไม่พลาดจากความดี ก็เล่ากันย่อๆ เรื่องพุทธานุสสติ เป็นต้น
เอาไว้ถึงเวลานั้นค่อยมาพูดกัน

ต่อมาก็มาคุยกับบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน
เมื่อเขาเกิดเป็นสุนุข อาศัยที่ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นสุนัข
ภาษาของคนทุกคำเขารู้เรื่องหมด แต่ว่าเขาจะพูดอย่างคนไม่ได้
ได้แต่อาการของการแสดงออกทางกายบ้าง ทางเสียงบ้าง ทางตาบ้าง
รวมความว่า ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
พึงทราบว่าสัตว์เดรัจฉานทั้งหมดทีเราเห็นๆ อยู่นี่ มาจากคนทั้งนั้น
คนที่มีอารมณ์พลาดจากความดี
อารมณ์ของความชั่วเข้าสิงใจ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ไม่ยาก


เรื่องนี้องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสต่อไปว่า
หลังจากที่เขาเกิดเป็นสุนัขแล้ว เป็นสุนัขแสนรู้ที่ท่านคหบดีรักมาก
ท่านคหบดีก็มีพระองค์หนึ่งเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
ท่านคหบดีมีความเคารพมาก
เวลาออกพรรษาแล้ว ท่านก็มาพักที่เขาใกล้ๆ
เวลาจะไปนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า
ก็นำเอาเจ้าสุนัขแสนรู้ตัวนี้ไปด้วย
บางครั้งบางคราวท่านมีธุระไม่สามารถจะไปได้
ก็ใช้สุนัขแสนรู้ตัวนี้ไปนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า

การนิมนต์ของเธอก็เห่าบ้าง หอนบ้าง แสดงสัญญาณ
จุดที่ใดที่ท่านมหาเศรษฐี คือ พุ่มไม้ใหญ่ๆ ที่หนาทึบ
ท่านมหาเศรษฐีคหบดี ท่านคิดว่าสัตว์ร้าย อาจจะอาศัยอยู่
ไปถึงท่านก็ตีให้มันหนีไป คือ พุ่มไม้ให้มันตกใจหนีไป
เจ้าสุนัขตัวนี้จำได้ เวลาไปเองตามลำพังไปถึงที่นั่นก็เห่าบ้าง หอนบ้าง
เป็นการกระโชก หากว่าสัตว์ร้ายมีจะได้หนีไป

ต่อมาปรากฏว่าเวลาเข้าพรรษาใกล้เข้ามา
พระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านก็ไปลาท่านคหบดี
ขอไปจำพรรษาที่ภูเขาคันธมาทน์
อันเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั่วไป
เมื่อลาท่านแล้วก็ออกไป เจ้าสุนัขตัวนี้มันรักพระปัจเจกพุทธเจ้ามาก
มองดูพระปัจเจกพุทธเจ้าที่เหาะไป เห่าบ้าง หอนบ้าง
ส่งเสียงแสดงถึงความรักความเคารพ
พอพระปัจเจกพุทธเจ้าพ้นสายตาของมัน มันก็ขาดใจตายทันที
ตายเพราะความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้า
หรือตายเพราะวาระเข้ามาถึงดีกว่า
อาตมาคิดว่ามันตาย เพราะวาระของชีวิตเข้ามาถึงพอดี
แต่ว่าคนส่วนใหญ่มักพูดว่า
ตายเพราะอาศัยความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้า
แต่เรื่องความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้านี่ อาตมาไม่เถียงว่ารักแน่
รักและก็มีความเคารพ และก็แสนรู้
แต่บางครั้งพระปัจเจกพุทธเจ้า จะลองใจมัน
ในเมื่อเจ้าสุนัขตัวนี้ไปตามท่าน ท่านก็เดินตามมา
บางคราวท่านลองใจ แกล้งเดินเลยทางที่จะเลี้ยวเข้าบ้าน
เจ้าสุนัขตัวนี้ก็วิ่งเข้ากั้น พอท่านแกล้งเดินเลยต่อไป
มันก็ดึงชายสบงให้กลับ ตอนดึงชายสบงนี้ไม่กลับไม่ได้
บรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้านี่มีผ้าแค่ ๓ ผืนสำคัญ
คือ สบง ๑ ตัว จีวร ๑ ตัว สังฆาฏิ ๑ ตัว
ผ้าเกินก็มี "รัดประคตเอว" กับ "อังสะ" เท่านั้นเอง
ถ้าเผอิญผ้าสบงหายไป เพราะเจ้าสุนัขดึงก็เห็นจะเป็นชีเปลือย

รวมความว่าพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ลองแล้วลองอีก
มันก็ไม่ยอมให้ท่านเลยหลังบ้าน นี่แสดงถึงความรักในตัวมัน
มันรักพระปัจเจกมากจริงๆ ก็อาศัยที่มีความเคารพอย่างนี้แหละ
บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง เขารักพระปัจเจกพุทธเจ้า
แสดงถึงความเคารพรักด้วย เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า
บันดาลให้เธอเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก

เห็นไหมบรรดาท่านพุทธบริษัท สัตว์เดรัจฉาน ก็ทำความดีได้
ไปเกิดเป็นเทวดาแล้วก็มีนามตามที่เขาประกาศกันว่า โฆษกเทพบุตร


คำว่า "โฆษก" หรือว่า "โฆษกะ" แปลว่า "กึกก้อง"
คือ เสียงดังมาก อย่างโฆษกเขาประกาศอะไรเขาต้องใช้เสียงดังๆ
อย่างในศาลาที่ญาติโยมจะทำบุญก็ดี ในวัดที่เขาทำบุญกันก็ดี
ในงานต่างๆ ที่ทำบุญก็ดี หรือมีงานก็ตาม
โฆษกจะเป็นคนเสียงดังมาก
ถ้าเสียงตัวเองดังไม่พอ ก็ใช้เครื่องขยายเสียงช่วย

ก็รวมความว่า โฆษกเทพบุตรเสียงดังมาก
ท่านบอกว่าแค่พูดเบาๆ ดังไปถึง ๖๐ โยชน์
ถ้าหัวเราะเต็มเสียงดังก้องชั้นดาวดึงส์

เธอเสวยความสุขบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลกอยู่นานเท่าไร
บาลีไม่ได้บอก แต่ว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลกนี่มีเวลาอยู่พันปีทิพย์
คือ มีอายุได้จริงๆนั้น ๑,๐๐๐ ปีทิพย์
แต่ว่า ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ของดาวดึงส์ ไม่ใช่ ๑,๐๐๐ ปี ของมนุษย์
หากเทียบเวลากันในมนุษย์ ๑๐๐ ปี เท่ากับ ๑ วันของดาวดึงส์
แต่สำหรับดาวดึงส์นั่น ๓๐ วันก็เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนก็เป็น ๑ ปี
ก็เลยไม่ทราบว่า เธอเป็นเทวดาในดาวดึงส์กี่วันของเทวดา
หรือว่ากี่ปีของเทวดา และนับเวลาเท่าไรของเมืองมนุษย์ อันนี้อาตมาไม่ทราบ

เอาแต่เพียงว่า คนที่จะไม่ทำบาป เพราะขาดศีลห้า
ไม่ทำบาป เพราะมีเจตนาปรามาสพระไตรสรณคมณ์
แต่อารมณ์จิตฟุ้งซ่าน นิยมส่วนที่เป็นส่วนเสีย
หมายความว่า อารมณ์ที่ต่ำกว่า คือ ไปนิยมสัตว์เดรัจฉาน
หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ตายแล้วก็ไปอยู่อบายภูมิแค่สัตว์เดรัจฉานได้
และส่วนที่กล่าวมาแล้วนั้นบางตอนลงนรกไปเลย

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท
จึงขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจงระมัดระวังอย่าไว้ใจตนเอง
ทุกวันทุกเวลา ฝึกไว้ว่าเราอาจจะตายวันนี้ และก็ทรงความดี
คือ ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
และกำลังใจตั้งตรงอยู่ในศีลทั้ง ๕ ประการ
ไม่ละเมิดศีลทั้งกาย วาจา และใจ


เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายถ้าทำได้อย่างนี้
เกิดกี่ชาติ ก็ไม่เกิดในอบายภูมิแน่
ในเมื่อแลดูเวลา หมด ๓๐ นาทีพอดี
ก็ต้องขอลาก่อนนี่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
โอกาสหน้าพบกันใหม่ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี...



ตอนที่ ๖ จิตข้องอยู่ในทรัพย์สมบัติ ตายแล้วไปอบายภูมิ

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย
สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ ๖ ก็มาคุยกัน
เรื่อง การปฏิบัติตนเพื่อให้พ้นจากบาป คือพ้นจากนรกต่อไป

ขอย้ำไว้ในตอนต้นว่า การปฏิบัติตนให้พ้นจากนรกนั้น
(คำว่า "นรก" ก็หมายถึง นรกด้วย เปรตด้วย อสุรกายด้วย สัตว์เดรัจฉานด้วย

"การปฏิบัติพ้น" ก็หมายถึงว่าปฏิบัติพ้นทุกชาติ ไม่ใช่ชาตินี้ชาติเดียว
ถ้าจำเป็นจะต้องเกิดอีกกี่ชาติก็ตามไม่เกิดในอบายภูมิ ๔ แน่)
ก็ต้องปฏิบัติตามหลักสูตร ของพระพุทธเจ้าที่มาในพระไตรปิฎก
ก็อาตมาเองบวชจากพระไตรปิฎก
มีความเลื่อมใสในพระไตรปิฎก ก็ต้องปฏิบัติตามพระไตรปิฎก
เห็นว่าหลักสูตรของพระพุทธเจ้ามีอยู่ว่า

๑. ให้มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้จะต้องตายไว้เสมอ
ตัดความรู้สึกว่าชีวิตนี้มันไม่ตาย
คนส่วนใหญ่แม้แต่อาตมาเองก็เหมือนกัน
ในกาลก่อนที่ยังไม่แก่ ก็เลยไม่คิดว่าตัวจะแก่
ไม่เคยคิดเลยว่าตัวจะตาย
เวลานี้แก่มากแล้ว ก็เลยลืมความตายไม่ได้
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะความตายมันได้ใกล้เข้ามาทุกที
มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้มันต้องตายแน่
แต่ก็ไม่ลืมนึกว่ามันอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ
ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทคิดตามนี้ก็ละกัน
ตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอน
จะได้ไม่เกิดอบายภูมิ มีนรก เป็นต้น

ประการที่ ๒ มีความยึดมั่นในความดีของพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ยอมรับนับถือด้วยความจริงใจ


ประการที่ ๓ รักษาศีลห้า ให้มั่นคงไม่ละเมิดศีลห้า
ตั้งแต่บัดนี้ไปจนกว่าจะตาย


บาปกรรมทั้งหลายที่ทำมาแล้วทั้งหมด
สมเด็จพระบรมสุคตตรัสว่า
"คนที่มีกำลังใจอย่างนี้ จะไม่ไปอบายภูมิแน่นอน"
ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน
ผู้เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระชินวรโปรดปฏิบัติตามนี้ จะได้พ้นนรกกัน

แต่ความจริงเรื่องการพ้นนรกไม่เกิดในอบายภูมิแน่นอนนี้
ก็ต้องคิดเหมือนกัน บางทีคนที่มีกำลังใจถึงขั้นนี้แล้ว
เขาย่องแอบเงียบๆ ไปอบายภูมินิดหนึ่ง
แต่ไปไม่นานอย่างมากก็ไปแค่ ๗ วัน
แต่แอบอยู่ไม่ให้คนอื่นเห็น เสียงก็ไม่ให้คนอื่นได้ยิน
รูปร่างก็ไม่ให้คนอื่นเห็น เพราะตัวเล็ก เล็กมาก แอบอยู่นิดๆ
ทั้งนี้ก็เพราะอะไร ? เพราะว่ามีจิตข้องอยู่ในทรัพย์สมบัติ

ความจริงบรรดาท่านพุทธบริษัท
การที่จะเกิดในแดนของอบายภูมิ
มันไม่จำเป็นต้องขาดศีลห้าเสมอไป
และไม่จำเป็นต้องปรามาสพระไตรสรณคมน์
มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น เสมอไป
แม้แต่อารมณ์ชั่วมัวหมองนิดเดียว
บางทีก็ไม่ถึงกับชั่ว อย่างโกตุหลิกะ

ในตอนที่ ๕ อันนี้เป็นตอนที่ ๖ เรื่องโกตุหลิกะตอนที่ ๕
แต่ความจริงไม่ได้นึกแช่งชักหักกระดูกใครทั้งหมด
อารมณ์ใจดี คิดว่าสุนัขหรือหมาตัวนี้มันดีกว่าเรา
เกิดเป็นหมาแท้ๆ ได้กินข้าวมธุปายาส จิตไปข้องอยู่ในสุนัขตัวนั้น

แต่สำหรับตอนที่ ๖ นี่ไม่ว่าถึงฆราวาส
แล้วลองมาซ้อมกำลังใจพระเณรเราดูบ้างว่า
พระเณรเราที่มีกำลังใจดี
มีความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม พระอริยสงฆ์
ปฏิบัติในพระธรรมวินัยดีมาก
สามารถทรงอารมณ์ในสังโยชน์ทั้ง ๓ ประการนี้ได้
คำว่า "ทรงอารมณ์ในสังโยชน์"
ก็หมายความว่า สามารถหักห้ามกำลังใจไม่คิดไปตาม
สังโยชน์ทั้ง ๓ ประการ คัดค้านสังโยชน์
สังโยชน์คิดว่า ไม่ควรคิดว่าจะตาย
พระก็มีความรู้สึกว่าชีวิตต้องตาย
เชื่อมั่นในความตาย และพยามยามทำความดี
ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
แล้วก็มีธรรมวินัย มีวินัยเคร่งครัด มีธรรมะก็ดี
แต่ทว่าจิตไปข้องอยู่ในทรัพย์สินส่วนใดส่วนหนึ่งเข้า
ความจริงการข้องแบบนั้นไม่ถึงกับเป็นอาบัติ
เป็นทรัพย์สมบัติของตนเอง
และก็ยังอยู่ในขอบเขตของพระธรรมวินัย
ตายแล้วเกิดเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ มันเป็นไปได้

หากว่าบรรดาพระของเราเกิดเป็นคนปากเสีย ใจเสีย
มีร่างกายเสีย สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์แบบ
มีอารมณ์อิจฉาริษยาคนอื่น
ไม่เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
จิตมุ่งตรงสู่ด้านของความเลว
ท่านผู้นี้ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานแน่นอน
ต้องไปเกิดในอเวจีมหานรกก่อน อย่างพระเทวทัต เป็นต้น


ตอนนี้ก็มาขอคุยกับบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน
ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า ในสมัยของพระองค์เอง
นี่ความจริงอยู่กับพระพุทธเจ้าแท้ๆ นะ
คนที่อยู่กับพระพุทธเจ้า พระที่บวชกับพระพุทธเจ้า
อย่านึกว่าดีทุกองค์ แต่ว่าท่านองค์นี้ท่านดี
แต่เสียท่าเขานิดที่เลวจัดๆ อย่างเช่น เทวทัต
หรือ โกกาลิกะ เป็นต้น อันนี้เลวมาก
อย่าลืมว่าในสำนักใดในสมัยปัจจุบัน ก็ตาม
หัวหน้าสำนักเป็นคนดีแสนดี
ก็จงอย่านึกว่าคนในสำนักนั่นดีทุกคน ดีตามไปด้วย
ดีไม่ดีก็ซวยแสนซวย เลวแสนเลว
แต่อาศัยพี่งบุญบารมีของท่านผู้เป็นหัวหน้า
กินอิ่มนอนหลับมีความอุดมสมบูรณ์
แล้วก็เลยลืมตัว ลืมกาย ลืมตน ไม่ทำตนในด้านของความดี
ลงอบายภูมิไม่น้อยเลย เวลาปัจจุบันนี้ก็มีอยู่แล้ว
มีอยู่แล้ว ครูบาอาจารย์ทำตัวดีมาก
แต่ว่าลูกน้องใกล้ชิดกลายเป็นคนโลภโมโทสัน
เวลานี้ท่านป่วยหนักเวลาที่พูดนี่นะ
ก็สงสัยเหมือนกันว่าน่ากลัวท่านจะเปิดลิบ คงไม่ใช่สูงลิบ
คงต่ำลิบ อย่าพูดถึงท่านเลย

มาพูดถึงพระองค์นี้ดีกว่า องค์นี้ท่านไม่ได้เลวอย่างนั้น
เรื่องของท่านก็มีอยู่ว่าพระองค์นี้ชื่อ ติสสะ
ในสมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง
ท่านบวชอยู่ในสำนักขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์
ต่อมาวันหนึ่งท่านเห็นเพื่อนเขาห่มจีวรแพร
สมัยนี้อาจจะเรียกว่าจีวรแพรก็ได้นะ เวลานั้นเรียกว่า "ผ้าสาฎก"
ไอ้ผ้าสาฎกจริงๆ อาตมาก็ไม่รู้จัก จะบอกลักษณะก็เดา
ตามตำราท่านบอกไว้ ก็เป็นการเดา ทำด้วยนั้นบ้าง
ทำด้วยนี้บ้าง เป็นต้น ท่านต้องการผ้าสาฎกเนื้อน้อย
ไอ้คำว่าเนื้อน้อยก็หมายถึงผ้าบางๆ

เรื่องจริงๆ มีอยู่ว่าท่านมีจีวรอยู่ผืนหนึ่ง
ดูรู้สึกว่าจะเป็นผ้าเนื้อหยาบสักหน่อย
ท่านเอาไปให้พี่สาว เข้าใจว่าเอาไปให้พี่สาวย้อม
พี่สาวทำความสะอาด อย่างนี้ เป็นต้น
อาตมาก็จำบาลีไม่ค่อยได้ จำเนื้อความไม่ค่อยได้ชัด
ก็เอาไปให้พี่สาวเย็บหรือย้อม ก็จำไปไม่ได้แน่
รวมความว่าเอาไปให้พี่สาวจัดการให้ก็แล้วกัน
แต่ไม่ได้หวังให้ทำใหม่ ดังนั้นพี่สาวเห็นว่าผ้าของพระน้องชาย
เนื้อหยาบมาก ก็ทุบเสียใหม่ทำเสียใหม่
ทุกอย่างให้เป็นผ้าเนื้อละเอียดทอใหม่ทั้งหมด
หลังจากได้มาทำให้ละเอียดดีแล้ว
เย็บแล้วก็ย้อมเสร็จพูดง่ายๆ ก็เป็นผ้ามีราคาสูง
เป็นผ้าแพรก็ได้สมัยนี้นะ สมัยนี้เทียบกับแพรหรือป่าน
เสร็จแล้วก็เอาไปให้พระน้องชาย

เวลานั้นเป็นกาลพอดี บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
พระน้องชายนี้ป่วยมากป่วยมาก จนไม่สามารถจะครองจีวรนี้ได้
เห็นผ้าจีวรที่พี่สาวนำไปให้ ผ้าของท่านเป็นผ้าเนื้อหยาบ
แต่พี่สาวนำมาให้นี้เป็นผ้าเนื้อละเอียด มีเนื้อดีมาก
อาศัยกำลังใจที่สะอาดของท่าน
บรรดาท่านพุทธบริษัทฟังไป ก็ดูจริยาดูกำลังใจของท่านด้วย
ท่านมีกำลังใจสะอาดมาก "ผ้าอาตมาผืนนี้อาตมารับไม่ได้"
พี่สาวถามว่าทำไม ท่านก็บอกว่า
"ผ้าอาตมาไปให้พี่ไว้มันเป็นผ้าเนื้อหยาบ
แต่ผ้าผืนนี้เป็นผ้าที่มีเนื้อดีมาก ไม่ควรแก่การที่จะรับไว้
เพราะผิดพระวินัย (พูดภาษาไทยๆ ก็ผิดศีล)
เกรงว่าจะเป็นการขโมยหรือโกงผ้าของบุคคลอื่น

พี่สาวก็บอกว่า "ความจริงผ้าผืนนี้เป็นผ้าของท่าน
เมื่อท่านนำผ้าเนื้อหยาบไปให้ ฉันเลยทำทุบเสียใหม่
สางเสียใหม่ เอาด้ายมากรอกันเสียใหม่ ทำใหม่หมด
เป็นด้ายชิ้นเล็กๆ เนื้อถึงได้บางสวยแบบนี้"

เมื่อพี่สาวบอกตามความเป็นจริง ท่านก็ยอมรับ
เห็นว่าไม่ผิดพระวินัย พี่สาวไปแล้วท่านก็อยากจะห่มจีวรผืนนี้เต็มที
แต่มันห่มไม่ไหว ก็ป่วยจนลุกไม่ขึ้น
จิตใจก็มีความรู้สึกรักจีวร แต่ไม่นานนัก ไม่ทันได้ห่มจีวร
ท่านก็ถึงแก่ความตาย เพราะอาศัยที่จิต
แทนที่จะนึกถึงคุณพระรัตนตรัย แต่ความจริงวินัยท่านไม่ขาด
จะถือว่ามีโทษทางวินัยไม่ได้เลย
แต่ว่าจิตใจมันวุ่นวายเกินไปในเรื่องของผ้า

อาศัยที่มีจิตใจหวงผ้ามาก
ตายแล้วแทนที่จะไปเกิดบนสวรรค์ชั้นเทวโลก
ความจริงบุญบารมีของท่านถึงขั้นชั้นดุสิต
ชั้นนี้มีความสำคัญมาก ตามเท่าที่รู้จักกันมา
ว่าเทวดาชั้นดุสิตนี้ จะต้องเป็นคนที่มีความดี
ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป อาตมาคิดเอาเองนะ คิดเอาเองนะ
คิดเอาเองหรือเคยได้ยินใครท่านพูด

เขาบอกว่า ชั้นดุสิตถ้าคนที่จะเข้าได้ต้อง
๑. เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีบารมีเข้มข้นแล้ว
๒. พระพุทธบิดา คือพระบิดาของพระพุทธเจ้า พระพุทธมารดา
และ ๓. พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป
จึงจะมีความสามารถเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตได้


ฟังมาอย่างนี้ผิดหรือถูกก็ไม่ทราบ
ก็รวมความว่าพระองค์นี้
มีบารมีที่จะสามารถเกิดในชั้นดุสิตได้ก็แล้วกัน
แต่ว่าการตายครั้งนั้นของท่าน เพราะจิตท่านไปกระหวัดถึงจีวร
แทนที่จะเกิดเป็นเทวดา กลับไปเกิดในกลีบของจีวร
ในกลีบชองจีวรนี่บรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านเกิดเป็นเล็น
ไอ้เล็นนี่ตัวเล็กมาก เรามองด้วยตาเปล่า
อย่างตาอาตมาอายุตั้ง ๗๐ นี่ไม่เห็นแน่
บางทีใส่แว่นตาแล้วอาจจะไม่เห็น เพราะตัวมันเล็กมาก
เสียงของเล็นร้องตะโกนขนาดไหน
หูของเราก็ไม่ได้ยินแน่ แต่ว่าท่านก็ย่องเข้าไปเกิดเป็นเล็น

ตามพระวินัยบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ถ้าพระตายลงไปแล้วทรัพย์สมบัติที่มีอยู่
ถ้ามีคนที่รับทรัพย์มรดกได้
พระองค์นั้นต้องประกาศก่อนตาย
หรือว่ามอบให้ใครก่อนตาย จึงจะเป็นสมบัติของผู้นั้นได้
ถ้าตายลงไปแล้วโดยไม่มอบให้ใคร
ทรัพย์สมบัติทั้งหมดต้องตกเป็นของสงฆ์

ข้อนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ฟังแล้วก็โปรดจำไว้ด้วย
เพราะอาตมาเอง เคยมีหน้าที่จัดทรัพย์สินของสงฆ์อยู่หลายครั้ง
ของพระที่ตายแล้ว ปรากฏว่ามีคนบางคนมาอ้างบอกว่า
ฉันเป็นลูกบุญธรรมบ้าง เป็นพี่บ้าง เป็นน้องบ้าง
เป็นหลานบ้าง เป็นคนนั้นบ้าง เป็นคนนี้บ้าง
และทรัพย์สมบัติส่วนนั้นส่วนนี้ ท่านยกให้ฉันเป็นสมบัติของฉัน
เคยมีมาแล้วในกาลก่อน
ทีนี้กรรมการจะทำยังไง ก็ต้องประชุมสงฆ์ ให้สงฆ์ลงมติ
ให้สงฆ์เห็นมีความสมควรยังไงก็ต้องปฏิบัติตามนั้น
และก็ได้แนะนำให้ท่านผู้นั้นทราบว่า
เรื่องนี้จะให้อาตมามอบนะ อาตมามอบไม่ได้ เพราะมันผิดวินัย
ยังไงๆ ก็ไม่มอบให้แน่
แต่ว่าถ้าจะเอาให้ได้ก็ให้หยิบเอาไปเองก็แล้วกัน
อาตมาจะไม่ฟ้องท่านว่าเป็นขโมย ขโมยของสงฆ์
แต่ว่าถ้าจะให้บอกวาให้นะ บอกไม่ได้แน่
เพราะถ้าบอกว่าให้ก็ถือว่าขโมยของสงฆ์ไปให้ชาวบ้าน
เพราะการมอบหมายให้ซึ่งกันและกัน
ตามวินัยต้องทำอย่างนี้ ต้องมอบให้กันก่อน
ให้ก่อนตาย อธิบายให้ฟังแล้วเราก็ไม่หวง
แต่เนื้อแท้จริงๆ ในที่สุดท่านทั้งหลายเหล่านั้น
ก็ไม่ยอมรับเอาไป บอกว่าถวายสงฆ์

ข้อนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่มีความสำคัญมาก บรรดาท่านพุทธบริษัท
การนำของสงฆ์ไปเป็นทรัพย์ส่วนตัวนั้นต้องระวัง
แม้แต่เศษกระเบื้องแตกๆ เล็กๆ ชิ้นเดียว
หรือดอกไม้ดอกเล็กๆ ชิ้นเดียว ใบไม้ที่ไร้ค่าจริงๆ แล้วใบเดียว
ท่านนำไปโดยที่สงฆ์ไม่ได้อนุญาต
ก็ถือว่าเป็นการขโมยของสงฆ์
ผลที่จะพึงได้รับก็คือ อเวจีมหานรก
ข้อนี้ใครจะเถียงไหม ท่านจะเถียงก็เถียงเถอะ
ในเมื่อเทปไปอยู่ที่ท่านเถียงอาตมาก็ไม่ได้ยิน
ถ้าขืนได้ยินก็ไม่เถียงตอบท่าน เพราะถ้าขืนโต้ตอบกับท่าน
ดีไม่ดี จิตใจอาตมาเศร้าหมอง
เพราะการโต้ตอบกับพวกท่านที่ละเมิดพระธรรมวินัย
กำลังใจเกิดเศร้าหมองขึ้นมา
อาจจะต้องไปอยู่ในนรกเสียเองก็ได้ ไม่เอาแล้ว บอกให้ฟังกัน

ฉะนั้นขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกคน
ถ้าเป็นลูกเป็นหลานพระ เป็นญาติของพระ
เป็นผู้ที่รับมรดกจากพระ เมื่อพระตายแล้ว
บอกให้พระที่มีส่วนสำคัญของท่าน มอบเสียก่อนตาย
ถ้ายังไม่สามารถจะยกให้ใครได้ให้ทำ พินัยกรรม
แล้วก็มีฆราวาสและมีพระเป็นพยาน
ว่าของส่วนนี้เมื่อท่านตายไปแล้ว
เป็นสมบัติที่บุคคลนั้นจะพึงได้
ถ้าไม่ทำอย่างนั้น ถ้าพระตายไปก่อน
แล้วท่านนำเอาไปบ้านของท่าน
อย่าลืมว่าโทษลักของสงฆ์ เป็นของไม่เล็กเลย
ความจริงเราได้มาเราก็ตาย เราไม่ได้มาเราก็ตาย
ทางที่ดีก็ควรจะตายแบบประเภท ที่เรียกว่า
ไปอยู่ในแดนที่มีความสุบดีกว่า
ถ้านำของสงฆ์ไป อย่างน้อยท่านก็ลงอเวจีแน่นอน ไม่มีทางพ้น
อาตมาคิดว่าไม่เอาเสียเลยดีกว่า

ทีนี้ของที่จะพึงรับได้ก็ต้องดูว่า
ของที่พระท่านให้ว่าเป็นทรัพย์สินมาจากอะไร
เป็นทรัพย์สินดั้งเดิมจากฆราวาส
หรือว่าเขาถวายสมัยเมื่อสมัยเป็นพระ
ถ้าเป็นทรัพย์สินที่มีญาติโยมพุทธบริษัทที่มีศรัทธาถวายมา
ในระหว่างเป็นพระ อย่ารับเลยบรรดาท่านพุทธบริษัท
ถ้าของที่เขาถวายมานั้นระหว่างเป็นพระแล้ว
จะถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระองค์นั้นไม่ได้แน่นอน
ที่เขาเรียกว่า เงินหรือของสาธุ
คำว่า "สาธุ" คือ ท่านผู้ให้ด้วยดีแล้ว
ให้ด้วยเจตนาที่ท่านขอรับเป็นพระ

หากว่าท่านทั้งหลายที่ไม่ใช่พระ ไปรับมรดกอย่างนี้
ยังไงๆ ก็ไม่พ้นการตกนรก
เป็นการละเมิดทำลายศรัทธาของบรรดาท่านพุทธบริษัท
ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงปรับโทษหนักมาก

ต่อไปนี้ขอเลี้ยวถึงพระอีกสักหน่อย เรื่องนี้สั้นมาก
บรรดาพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาก็เหมือนกัน
หากว่าท่านจะมอบอะไรให้กับญาติโยมของท่าน
ก็ต้องดูถ้านาที่ดินก็ดี บ้านก็ดี เงินทองก็ดี
ส่วนนั้นถ้ามันได้มาจากในสมัยเมื่อเป็นฆราวาส
นั่นหมายความว่ายังไม่ได้บวช
เป็นทรัพย์สมบัติที่เราหามาได้เป็นส่วนตัว
และก็เวลาบวชแล้วก็ยังไม่ได้ใช้หรือใช้ยังไม่หมด
หรือว่าบางทีไปฝากธนาคารไว้ ฝากธนาคารเงินมันก็งอก
ดอกเบี้ยมันมี แต่ก็ต้องเป็นดอกเบี้ยของเงินส่วนนั้น
ทรัพย์สมบัติส่วนนี้ ท่านสามารถจะโอนให้ญาติท่านได้
เพราะเป็นทรัพย์สินส่วนตัว

แต่ว่าทรัพย์สินที่ท่านได้มาจากการถวายของบรรดาท่านพุทธบริษัท
สมัยที่เป็นพระแล้ว อย่างนี้อย่าเข้าไปแตะต้อง
คิดว่าเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะ
ให้ถือว่าท่านผู้ถวายถวายเพราะเราเป็นพระ
ทรัพย์สมบัติส่วนนั้นเหมาะในการเป็นพระเท่านั้นที่ใช้
ถ้าท่านขืนโอนให้กับบรรดาญาติโยมของท่านไป
ท่านเองจะต้องลงอเวจีมหานรก

บางทีท่านอาจจะค้านว่าอะไรก็อเวจี
อะไรก็อเวจี เวลานี้เป็นของไม่ยาก
เราสามารถพิสูจน์กันได้ว่าพระที่ตายไปแล้ว
และก็จับจ่ายใช้สอยทรัพย์ประเภทนี้ไปไหนกัน
มีอยู่เกลื่อนในอเวจีมหานรก

ต่อไปนี้ก็พูดถึงเรื่อง พระติสสะ เพราะเรื่องสั้น
เลยนำเรื่องอื่นเข้ามาประสานประสานให้พอกับเวลา
สำหรับพระติสสะนั่น เมื่อท่านตายจากความเป็นคน
อาศัยจิตใจที่รักจีวร ความจริงศีล สมาธิ ของท่านดี
ต้องถือว่าดีมาก จะถือว่าจะเป็นพระโสดาบันได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทราบ
พอพ้นจากความเป็นเล็นแล้ว
ท่านไปเกิดเป็นเทวดาชั้นดุสิต
ก็รวมความว่า ท่านมีความละอายต่อบาป
ด้วยเอาผ้าจีวรหยาบไปให้พี่สาวจัดการ
พี่สาวทำเป็นผ้าเนื้อละเอียดไปให้ ท่านยังบอกว่ารับไม่ได้
เพราะผ้าผืนนี้ไม่ใช่ของท่าน
ผ้าของท่านเป็นผ้าเนื้อหยาบ คงจะให้พี่สาวเย็บตัดเป็นจีวรกระมัง
พี่สาวก็บอกว่าเป็นผ้าผืนเดิม แต่ไปสะไปสาง ไปล้างเสียใหม่
กรอเสียใหม่เป็นผ้าเนื้อนิ่ม เป็นด้ายเล็กๆ
ทำให้ผ้าเป็นผ้าเนื้อละเอียด น่ารัก
ท่านจึงรับ นี่จิดท่านสะอาดขนาดนี้

ก็รวมความว่า พระติสสะตายแล้วก็ไปเกิดเป็นเล็น
เอาร่างกายเล็กๆ ไปสิงอยู่ในกลีบของจีวร
เมื่อพระสงฆ์ตายบอกแล้วว่า ทรัพย์ทั้งหลายต้องเป็นของสงฆ์
บรรดาพระทั้งหลายก็ไปจัดการว่า
ทรัพย์สมบัติของพระติสสะเวลานี้มีอะไรบ้าง
ก็หยิบโน่นหยิบนี่นั่นตามที่มีอยู่ คงมีไม่มากนัก
เพราะอยู่กับสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ไม่แน่นักละเพราะว่า มหาเศรษฐีทั้งหลายมีความเคารพ
อย่างพระอานนท์นี่มีผ้าสาฎกเป็นพันๆ ผืน
แต่พระอานนท์ก็เป็นพระแท้ ไปที่ไหนท่านก็แจก
ที่ไหนใครไม่มีท่านก็แจก ท่านก็นำของท่านเรื่อยไปไม่แปลก
อย่างท่านพระติสสะนี่อาจจะมีจีวรมากก็ได้
เพราะว่าท่านมหาเศรษฐีบ้านญาติโยมทั้งหลายบ้าง
มาถวายกันอาจจะมีเยอะ จึงมีการตรวจค้นทรัพย์สมบัติขึ้นมา
หยิบอย่างอื่นไม่มีเรื่อง พอไปจับจีวรผืนนั้นเข้า
เล็นติสสะร้องตะโกนเสียงดังว่า "ไอ้โจรปล้นจีวร ไอ้โจรปล้นจีวร"
แต่ก็เป็นการบังเอิญจริงๆ พระที่ไปนั่นไม่มีพระหูทิพย์
เลยฟังแบบสบายไม่รู้เรื่องไม่ได้ยิน

พระพุทธเจ้าอยู่ในพระคันธกุฎี
ได้ยินเสียงเล็นตะโกนแบบนั้นก็บอกพระอานนท์ว่า
"อานนทะ ดูก่อนอานนท์ รีบไปที่กุฎีท่านติสสะเดี๋ยวนี้
บอกพระทั้งหลายว่าจีวรผืนนั้นให้วางไว้ก่อน อย่าแตะต้อง
จากนี้ไป ๗ วันอย่าแตะต้องเด็ดขาด วันที่ ๘ จึงแตะต้องได้"
พระอานนท์ก็ไปบอกแบบนั้น ทีกลังกลับมาถามองค์สมเด็จ
พระทรงธรรม์ว่าเป็นเพราะอะไร พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า

"ก็เล็นติสสะสิคุณ ก่อนที่เธอจะตายเธอห่วงจีวรผืนนี้
เธอมีความรักในจีวรผืนนี้มาก เพราะเนื้อมันดีมาก
ดีกว่าทุกผืนที่เคยมีอยู่ เธอตั้งใจจะครอบจะใช้จีวรผืนนี้
แต่ว่าโอกาสไม่มีเธอมาตายเสียก่อน
ก่อนจะตายจิตใจก็นึกถึงจีวร
เธอก็ต้องเกิดเป็นเล็นเฝ้าจีวรอยู่ ๗ วัน"

เพราะเล็นมีอายุแค่ ๗ วัน หลังจากนั้นวันที่ ๘ เล็นตัวนี้จะตาย
คือไม่ต้องใครทำให้ตาย อายุขัยของเขาแค่นั้น
เขามีอายุขัยแค่ ๗ วัน เหมือนกับยุง
ยุงนี่ถ้าไม่มีใครฆ่า ถ้าเธออยู่เต็มอายุ เธอก็อยู่ได้แค่ ๗ วัน
เหมือนกับเล็น ถึง ๗ วันเล็นตัวนั้นก็จะตาย
ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดุสิต

นี่แหละบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย
ถึงแม้ว่าท่านทั้งหลายจะมีความรู้สึกนึกถึงความตายเป็นปกติ
และก็ไม่ประมาทในชีวิต
มีจิตเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ และก็มีศีลบริสุทธิ์
บางท่านหรือหลายท่านอาจจะคิดว่า
ถ้าเราตายคราวนี้ขอไปนิพพานจุดเดียว
ความจริงแล้วอารมณ์อย่างนี้ดีมาก
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
"บุคคลประเภทนี้พ้นอบายภูมิแน่นอน"
ถ้าจำเป็นที่จะเกิดเป็นมนุษย์อีกกี่ชาติก็ตามที
ขึ้นชื่ออบายภูมิทั้ง ๔ ประการ ไม่สามารถจะแตะต้องท่านได้
อบายภูมิทั้ง ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
แต่ก็จงอย่าลืมว่า กำลังใจของท่านต้องมีความมั่นคงจริงๆ
อย่าไปหลงใหลใฝ่ฝันกับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์เกินไป
อย่างพระติสสะ เป็นต้น
ให้คิดถึงความจริงของคนว่า
ถ้าตายไปแล้วไม่มีโอกาสที่จะครองทรัพย์สมบัติใดๆ ได้อีก
ทุกสิ่งทุกอย่างปล่อยมันไว้ ตายแล้วก็เลิกกัน
ถ้าจิตใจของท่านเป็นอย่างนี้ อารมณ์จิตก็จะผ่องใส


ฉะนั้นการที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
จะทรงกำลังใจไว้ด้วยสมาธิและปัญญาไว้ในส่วนดี
มีอนุสสติประจำใจ จนเป็นฌาน ซึ่งเป็นของดีมาก
ซึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคสอนเอาไว้
เพื่อไม่ให้หลงไปในอบายภูมิต่อไป

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
วันนี้รู้สึกไม่ค่อยสบายเวลาบอกว่าหมดแล้ว ประกาศแล้ว
ร้องกริ๊งๆ นั่นเป็นของตั้งเวลา
เมื่อหมดเวลา ๓๐ นาที ต้องขอลาก่อน
ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแด่บรรดาพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี...



บทที่ ๗ พุทธานุสสติกรรมฐาน

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ ๗
ในเรื่องที่กล่าวถึงว่าการจะหนีจากนรกกัน
แต่การหนีนรกบรรดาท่านพุทธบริษัท
ในตอนต้นๆได้พูดถึงรายละเอียดมาแล้ว
ต่อนี้ไปเพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองเวลา

ก็ขอพูดย้ำสั้นๆ ว่า
คติของบุคคลที่จะหนีนรกได้มี ๓ อย่างด้วยกันคือ


๑. มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า
การเกิดมาคราวนี้ในที่สุด เราก็ต้องตาย

แต่ทว่าความตายมีเวลาที่แน่นอนไม่ได้ หาไม่ได้แน่นอน
อย่าคิดว่าแก่แล้วตายมัน ก็ไม่แน่อาจจะตายเสียวันนี้เลยก็ได้
ไม่ประมาทในการทำความดี
ตั้งใจว่าตายคราวนี้ไม่ขอไปอบายภูมิทั้ง ๔ แน่
จุดที่จะไปมีจุดเดียวคือ พระนิพพาน ตั้งตรงไว้เลย
หลังจากนั้นก็ยึด พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
คือ ยอมรับนับถือด้วยความจริงใจ


แล้วหลังจากนั้นอีกที่หนึ่ง ก็ย้อนเข้ามาด้านความดี
ก็ คือ มีศีล ๕ เป็นปกติ ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้

สมเด็จพระมหามุนี คือพระพุทธเจ้า ตรัสว่าทุกคนหนีนรกได้แน่
แต่ก็ต้องระมัดระวังอารมณ์ คำว่า "อารมณ์"
อย่าปล่อยให้อารมณ์ที่ไม่ดีเข้ามาเกี่ยวข้อง
และความกังวลนิดหน่อยในเรื่องของความไม่ดี อย่าให้มีในใจ
อย่างตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว
ท่านไม่ได้ปรามาสพระไตรสรณคมน์ ท่านไม่ได้ละเมิดศีล
แต่ว่าต้องไปอบายภูมิ เพราะจิตมีอารมณ์กลุ้มและหลงผิด
ข้อนี้ก็ไม่ขอพูดย้อน เพราะว่าจะเป็นที่เบื่อหน่าย
ของบรรดาท่านพุทธบริษัท

ต่อไปนี้ก็จะขอนำเอาพุทธานุสติกรรมฐานมาคุยกัน
เพราะว่าความคิดถึงความตาย
ถ้าคิดอย่างเดียวเราจะต้องตาย หมดที่หมายในการจะพึงไป
อย่างนี้อารมณ์เศร้ามันจะเกิด
คนเราถ้าออกจากทีบ้าน ต้องมีจุดมุ่งหมายปลายทางเป็นที่ไป
และก็สถานที่ไปนั้น ต้องดีกว่าที่เดิม ไม่ใช่ให้มันเลวกว่าที่เดิม
ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ตายจากความเป็นคน
จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรกก็ดี เป็นเปรตก็ดี เป็นอสูรกายก็ดี
เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี ทั้ง ๔ ประการนี้ไม่ดีทั้งหมด
ถือว่าเป็นการขาดทุน
เพราะการเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี หรือการเกิดเป็นคนก็ตาม
ความจริงคนกับมนุษย์นี่ไม่เหมือนกัน
รูปร่างอย่างเดียวกัน แต่ว่าความรู้สึกของจิตใจไม่เท่ากัน

"คน" นี่แปลว่า "ยุ่ง" คือ ไม่ยอมรับนับถือใครจริงๆ
ไม่ยอมปฏิบัติในด้านของความดีจริงจัง
อย่างที่จะรักษาศีล ก็รักษาไม่จริง
ทำเป็นศีลหัวเต่าผลุบเข้าผลุบออก รักษาบ้าง ไม่รักษาบ้าง
สิกขาบทแค่ ๕ ประการ ก็ถือว่าอย่างนั้นจำเป็น
อย่างนี้จำเป็นแก่สังคม ถ้าปฏิบัติตามศีลก็ขาดสังคม
คนในสังคมนั้นไม่คบหาสมาคม อย่างนี้ เข้าเรียกว่า "คน"

สำหรับ "มนุษย์" แปลว่า "ใจสูง"
คนนี่แปลว่ายุ่ง ถ้าปฏิบัติในศีลในธรรมไม่ได้ ก็มีแต่ยุ่ง
สำหรับมนุษย์ แปลว่าใจสูง
คนที่มีใจสูงคือมีกรรมบท ๑๐ ประการครบถ้วน
คือ "มีทั้งศีลทั้งธรรมครบถ้วน ทางกายไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์
ไม่ประพฤติผิดในกาม ทางวาจาไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด
และไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดจาเหลวไหลไร้ประโยชน์
ทางใจไม่คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของคนอื่นใด
ไม่คิดจองล้างจองผลาญใคร มีความเห็นตรงตามความจริง
ยอมรับนับถือความจริง
ที่เป็นเหตุบันดาลให้มีความสุขอารมณ์อย่างนี้ท่านเรียกว่ามนุษย์"
ขอประทานอภัยเถอะบรรดาท่านพุทธบริษัท
ที่ท่านทั้งหลายกำลังฟังอยู่นี่
ท่านลองวัดกำลังใจของท่านดูซิว่า
เวลานี้นะท่านเป็นมนุษย์หรือว่าท่านเป็นคน
หากว่าท่านเป็นคน ก็รู้สึกว่าความสุขของท่านยังน้อยเกินไป
เมื่อกำลังใจของท่านเป็นมนุษย์
ความสุขของท่านจะมีมากมายเหลือเกิน
เกือบจะหาอารมณ์ของความทุกข์ไม่ได้
เรื่องนี้ยังไม่พูดกัน ไม่ช้าไม่กี่วันก็ได้พบกัน

วันนี้มาพูดกันถึง พุทธานุสสติกรรมฐาน
แต่ว่าสังโยชน์ทั้ง ๓ ประการ เมื่อใช้มรณานุสสติกรรมฐาน
คือ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์แล้ว
ต่อไปก็มี พุทธานุสสติ ธัมมนุสสติ สังฆานุสสติ กรรมฐาน
คือ ๓ประการ แล้วก็มีสีลานุสสติขั้นสุดท้าย
นี่เป็นเรื่องคุยความจำเป็นจริงๆ

วันนี้ขอพูดเรื่อง พุทธานุสสติกรรมฐาน
แต่ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและท่านผู้ฟังทั้งหลาย
ได้โปรดทราบว่า การตัดสังโยชน์
พระพุทธเจ้าบอกว่า สังโยชน์ ๓ประการนั้น ไม่มีอะไรหนัก
เป็นของเบาๆ ฉะนั้นการปฏิบัติส่วนนี้จึงปฏิบัติกันด้านเบาๆ
สำหรับท่านที่นิยมของหนักได้โปรดทราบ
ต้องขออภัยท่านด้วยบางทีท่านอาจจะคิดว่า
พระวัดท่าซุงมีแต่ความเกียจคร้าน ปฏิบัติเบาๆ แบบขี้เกียจ
อันนี้ก็ขอยอมรับ ถ้าคนขี้เกียจแล้วได้เงินมากๆ
ทำงานเบาๆ ได้เงินมากๆ อย่างนี้ก็ดี
ก็เหมือนกับการปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติแบบเบาๆ แต่ว่าได้ผลดี
อย่างนี้ใช้ได้ ก็พอใจตามที่พระพุทธเจ้าตรัส ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"พระโสดาบัน กับพระสกิทาคามี
เป็นผู้มีสมาธิเล็กน้อย แต่มีศีลบริสุทธิ์"

ในเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ อาตมาเองบวชมาจากพระไตรปิฎก
ในเมื่อทางพระไตรปิฎกท่านบอกเบาๆ ก็ปฏิบัติเบาๆ
ไม่ยอมฝืนพระไตรปิฎก ท่านทั้งหลายจะหาว่าโง่เง่าเต่าตุ่นก็ช่าง
เห็นว่าการบวช หรือการปฏิบัติตามพระไตรปิฎกเป็นคนโง่
ก็ต้องถือว่าพระไตรปิฎกสอนให้โง่
แต่ถ้าคนโง่ตามพระไตรปิฎกท่านไปนิพพานกันนับไม่ถ้วนแล้ว
จึงขอยอมโง่ตามนี้

มาว่าถึง พุทธานุสสติกรรมฐาน การยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า
ความจริงคำว่า "อนุสสติ" นี่แปลว่า "ตามนึกถึง" ไม่ต้องใช้กำลังมาก
ถ้าบรรดาพุทธบริษัท สามารถทรงกำลังใจได้
ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าด้วยความจริงใจ
ความจริงการยอมรับนับถือนี่ ต้องปฏิบัติตามนะ
ข้อนี้ขอบรรดาท่านทั้งหลายผู้รับฟัง จงอย่าลืม
การใช้คำว่า เคารพนับถือ แต่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำซึ่งกันและกัน
เขาถือว่าโกหกกันอย่างนี้ฟังง่ายดี


อย่างลูกบอกว่ายอมรับนับถือพ่อแม่เหลือเกิน
ศิษย์ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์จริงๆ แต่ว่าพ่อแม่สอนอะไร
ห้ามอะไรลูกก็ไม่เชื่อฟัง
ครูบาอาจารย์สอนแบบไหน ลูกศิษย์ไม่ยอมเชื่อฟัง
อย่างนี้เขาไม่ใช่เรียกคนนับถือกัน
เขาเรียก "คนอกตัญญูไม่รู้คุณคน" อย่างนี้สบายใจไหม
บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท

ถ้าจะไปว่าใครให้นึกถึงใครก็ต้องนึกดูก่อน
ว่าคนที่ไม่ยอมปฏิบัติตามพระธรรมวินัยคำว่า "วินัย"
คือ ข้อห้ามที่ได้แก่ ศีล
"พระธรรม" คือ การแนะนำให้ปฏิบัติในด้านของความดี
ต้องดูว่าท่านผู้นั้นท่านอยู่ในสังกัดของพระพุทธศาสนาหรือปล่าว


ถ้าท่านผู้นั้นไม่อยู๋ในสังกัดพระพุทธศาสนา
ก็จะหาว่าท่านไม่ยอมรับนับถือพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
หรือว่าเป็นคนอกตัญญูไม่รู้คุณคน อย่างนี้ไม่ได้
เมื่อท่านไม่ใช่ลูกศิษย์ลูกหา
ท่านไม่ได้อาศัยพระพุทธเจ้าในความเป็นอยู่
เว้นไว้แต่นักบวชอย่างอาตมา
นักบวชแบบอาตมานี่โกนหัว โกนคิ้ว ห่มผ้าเหลือง
แล้วก็อยู่วัดอยู่วา ความเป็นอยู่ไม่มีอาชีพแน่นอนสำหรับตัวเอง
ไม่สามารถประกอบอาชีพได้
อาศัยความเป็นอยู่จากบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท
เลี้ยงข้าวปลาอาหารท่านก็เลี้ยง ที่อยู่ท่านก็ให้
ยารักษาโรคท่านก็ซื้อให้ ผ้าผ่อนท่อนสไบญาติโยมก็ให้ทั้งหมด
ที่เป็นอย่างนี้เพราะญาติโยมพุทธบริษัทคิดว่า
อาตมาเป็นผู้ที่เคารพในองค์สมเด็จพระบรมสุคต คือ พระพุทธเจ้า
ปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านทุกอย่าง
ถ้าบังเอิญอาตมาไปพลิกล๊อก ก็หมายความว่า ไปฝ่าฝืนคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้า และโกหกบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท
ว่าอาตมานี่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านที่มีความเคารพพระพุทธเจ้า ก็เลยให้โน่นให้นี่ตามที่กล่าวมาแล้ว
อย่างนี้ว่า เป็นคนอกตัญญูไม่รู้คุณคน
คือ อกตัญญูไม่รู้คุณพระพุทธเจ้า
เพราะได้กินอาศัยพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ
ถ้าไม่ได้อาศัยบารมีขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์
ก็ไม่มีอะไรจะกิน จะใช้คนที่นับถือพระพุทธเจ้า เขาก็ไม่ให้กินไม่ให้ใช้

อันดับแรกเป็นคนอกตัญญูไม่รู้คุณพระพุทธเจ้าก่อน
ทีนี้บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายผู้ให้
ก็ถือว่า ท่านเป็นผู้มีพระคุณตอนคนหลอกลวงทาน
เป็นคนหลอกลวงประชาชน คือ พุทธศาสนิกชน
เรียกว่า ประชาชนไม่ได้
ประชาชนนี่ หมายถึงว่า คนจะนับถือศาสนาอะไรก็เป็นประชาชนทั้งหมด
ต้องโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนคนที่นับถือพระพุทธศาสนา
หลังจากนั้นมาก็อกตัญญูไม่รู้คุณท่าน
ที่ท่านให้กินท่านเลี้ยงดูจนมีความสุขมีชีวิตอยู่
กับอกตัญญูในตัวท่าน โดยบอกกับท่านว่า
ปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่เนื้อแท้จริงๆ ไม่มีอะไรเหลือเลย ก็ต้องถือว่าเป็นคนเลว

นี่เป็นการยอมรับนับถือ บรรดาท่านพุทธบริษัท
ต้องนับถือกันด้วยความจริงใจเป็นส่วนตัวด้วย
และก็ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านด้วย
สิ่งใดที่ท่านห้ามว่าไม่ดีอย่าทำ
สิ่งใดที่ท่านแนะนำว่าอย่างนี้ นี่เป็นจุดของความสุข จงทำ
เราทำ อย่างนี้ถือว่านับถือพระพุทธเจ้าจริง
แต่ว่าการปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งในด้านศีลก็ดี ในด้านธรรมก็ดี
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านี่มีถึง ๘,๔๐๐๐ หัวข้อ
ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาปฏิบัติทั้งหมด
เลือกเอาเฉพาะว่าสิ่งไหนที่พอจะปฏิบัติได้ เราก็ทำอย่างนั้น
อย่าปฏิบัติเกินกำลัง และตั้งใจปฏิบัติด้วย ความจริงจัง
อย่างนี้ถือว่านับถือพระพุทธเจ้า
ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ ถือว่าหนึ่งในพุทธานุสติกรรมฐาน
ถือว่ามีความระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้าจริง
มีการยอมรับรับนับถือพระพุทธเจ้าจริง

มีคำสั่งสอนตอนหนึ่งที่เรียกว่า เป็นตอนต้นเรื่องก็ได้
ตามบาลีว่า "สัมพะปา ปัสสะ อะกะระณัง"
พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า ท่านทั้งหลายจงอย่าทำความชั่วทุกอย่าง
"กุสลัสสูปสัมทา" จงทำแต่ความดี "สจิตตะปรโยทะปะนัง"
จงทำจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส "เอตัง พุทธานะสาสะนัง"
พระองค์ทรงยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด


เราต้องจับจุดขั้นแรกว่า สิ่งใดที่พระองค์ทรงห้าม นั่นคือ การละเมิดศีล
สิ่งใดที่ทรงแนะนำให้ทำ คือ ปฏิบัติตามศีล
สิ่งใดที่ทำให้จิตผ่องใส คือ ทำให้จิตว่างจากนิวรณ์ อันดับแรกนะ
แล้วก็เจริญสมถภาวนาวิปัสสนาภาวนา
สำหรับสมถภาวนาก็ดี วิปัสสนาภาวนาก็ดี มีมากเหลือเกิน
มีมากด้วยกันมาก แต่ก็จับจุดเฉพาะ
วันนี้มาจับเอาเฉพาะพุทธานุสติกรรมฐาน

คำว่า "พุทธานุสติกรรมฐาน" แปลว่า "ตามนึกถึงพระพุทธเจ้า
และตามนึกถึงถึงความดีของพระพุทธเจ้า"
การปฏิบัติให้จิตว่างจากนิวรณ์
จิตมีสมาธิ มีอารมณ์สะอาด ก็ต้องไม่ทำอะไรมาก
ไม่ต้องต้องทำอะไรหนัก
เพราะการตัดสังโยชน์ ๓ ประการ ไม่มีอารมณ์หนัก

แต่การว่าอารมณ์ของคนมี ๒ อย่าง
บรรดาท่านพุทธบริษัทอย่างที่ ๑ ชอบคิด
อย่างที่ ๒ จิตขอบทรงตัวคือเฉยๆ
อาการ ๒ อย่างนี่มีกันทุกคน ในขณะใดภ้ากำลังใจเราชอบคิด
และก็นั่งนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า
อันนี้พระพุทธเจ้าท่านมีรูปร่างอย่างไง มีความดีดีอย่างไง
ถ้าคิดถึงความดี บางทีท่านทั้งหลายจะนึกไม่ออกว่า
โอ้โฮ ความดีของพระพุทธเจ้านี่เยอะแยะมาก
จะเอาตรงไหนกันดี ก็บอกแล้วว่าการตัดสังโยชน์ ๓ ประการ นี่เบามาก
ใช้อารมณ์เบาๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้ทิพจักขุญาณ
หรือไม่ได้มโนมยิทธิ คำว่าทิพจักขุญาณเป็นหลักสูตรวิชชสาม
ถ้ามโนมยิทธิเป็นหลักสูตรของอภิญญา
เวลานี้คนได้กันนับแสน อาตมาก็ปลื้มใจ ท่านที่ได้อย่างนี้แล้ว
ก็ไม่ต้องนึกเฉยๆ ใช้กำลังความเป็นทิพย์ของจิต
จะพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆเลย
จะเอาพระรูปพระโฉมตอนที่พระพุทธเจ้าเป็นหนุ่ม
สมัยที่ทรงพระชนม์อยู่หรือว่าสมัยกลางคน
สมัยเป็นคนแก่ใกล้นิพพานไปแล้วก็ได้นะ
ทำจิตให้เป็นสุข มีจิตใจรื่นเริงความทุกข์ความกังวลไม่มีอารมณ์ก็เบา

แต่สำหรับท่านที่ไม่ได้ทิพจักขุญาณ และก็ไม่ได้มโนมยิทธิ
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอภิญญา ก็ใช้กำลังจิตคิด
คือ ลืมตาดูภาพพระพุทธรูป หรือว่าท่านจะหลับตาก็ได้
หลับตานึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง ที่เราชอบมากที่สุด
จะเป็นพระพุทธรูปอยู่ที่วัดไหนหรือสถานที่ใดก็ได้
ไม่ห้ามทั้งหมด นึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้น
ทำใจให้สบาย นึกวาดภาพตั้งใจ
เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้นั่งแบบไหน สีอะไร
หน้าตายิ้มแย้มแบบไหน ทรงอะไรก็ตาม
ปางไหนอะไรก็ตามเอากันแค่แบบสบายๆ ใจ

ถ้านึกถึงภาพอย่างนี้จิตเป็นสุข
ภาพพระพุทธรูปที่อยู่ไกลนึกไม่ออก
ก็นั่งดูพระพุทธรูปองค์ที่อยู่ใกล้ๆ ไม่ต้องหลับตาก็ได้
หรือลืมตาดู จำภาพพระพุทธรูป
แล้วก็หลับตานึกถึงก็ได้ เอากันแค่สบายใจ

สมมติถ้านั่งหลับตาอารมณ์จิตฟุ้ง
แต่ความจริงมันเป็นอย่างนั้นนะ
ถ้าจิตมันฟุ้งอยู่แล้ว ถ้าหลับตามันจะฟุ้งมาก
ถ้าหลับตาไม่ฟุ้งก็หลับตา ลืมตาดูภาพพระพุทธรูป
และก็หลับตานึกถึงพระพุทธรูป ว่าท่านนั่งท่าไหน ท่านสีอะไร
ไอ้การที่เขาทำทำแบบไหน
ถ้าแบบนี้อารมณ์ฟุ้งเกินไป ก็ลืมตา
ลืมตามองดูพระพุทธรูปด้วยความเคารพ
ดูหน้าตาท่านยิ้มแย้มแจ่มใสดี มีจิตใจสดชื่น
ขณะที่จิตยังพอใจอยู่กับพระพุทธรูปเวลานั้น
จิตว่างจากกิเลส และจิตว่างจากกิเลส และจิตก็ว่างจากนิวรณ์
เมื่อจิตว่างจากกิเลส จิตว่างจากนิวรณ์ จิตก็มีอารมณ์เป็นสุข
ท่านว่า "สมาธิ" เพราะคำว่า "สมาธิ" แปลว่า "ตั้งใจ"
จิตตั้งใจดูพระพุทธรูป จะดูส่วนไหนก็ตาม ชอบส่วนไหนดูส่วนนั้น
จิตใจคิดตามไปด้วยก็ได้ อย่างนี้เป็น พุทธนุสสติกรรมฐานแบบคิด


ทีนี้ถ้ามีอาการแบบทรงตัว การทรงตัวนี่บรรดาท่านพุทธบริษัท
ท่านให้ใช้คำว่าภาวนาและลมหายใจควบ
คือ คำภาวนาส่วนใหญ่ที่นิยมกันใช้คำว่า "พุทโธ"
แต่ความจริงคำภาวนา ถ้าเรานึกถึงพระพุทธเจ้าแล้ว
จะภาวนาว่าอย่างไรก็ตามก็เป็นพุทธานุสสติกรรมฐานหมือนกัน

อันดับแรกใช้คำภาวนาควบกับลมหายใจ
คือ เวลาหายใจเข้านึกตามว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกตามว่า "โธ"
และการหายใจนี่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
อย่าบังคับลมหายใจ ปล่อยให้ร่างกายหายใจตามปกติ
จะหายใจสั้น หายใจยาว หายใจหนัก หายใจเบา
เป็นเรื่องของร่างกาย เพียงแต่เอาจิตเข้าไปรับทราบลมหายใจเท่านั้น
การที่เอาจิตเข้าไปรับทราบลมหายใจเข้าลมหายใจออก
อย่างนี้มีชื่อเรียกว่า มีสมาธิในอานาปานุสสติกรรมฐาน
คือ มีสมาธิในเรื่องของลมหายใจ
ถ้าจิตจะรู้ลมเข้าลมออกอยู่ เวลานั้นจิตจะว่างจากกิเลส
จิตก็ว่างจากนิวรณ์ มีอารมณ์เป็นสมาธิ
หรือต่อไปถ้าเรานึกถึงลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว
คิดว่าอาจจะได้บุญน้อยไป การนึกถึงพระพุทธเจ้าน้อยไป
อานิสงส์จะน้อยก็ใช้คำภาวนาควบคู่
หรือเวลาหายใจเข้านึกตามว่า "พุท"
เวลาหายใจออกนึกตามว่า "โธ"


ทำไปเรื่อยๆ ทำแบบใจสบายๆ ทำแค่อารมณ์ใจเป็นสุข
อย่าตั้งเวลาแน่นอน เพราะเวลานี้เป็นขั้นการฝึก
ถ้าตั้งเวลาว่าต้องการ ๑๐ นาทีบ้าง ๒๐ นาทีบ้าง ๓๐ นาทีบ้าง
อย่างนี้ ถ้าอย่างนั้นจะเอาดีไม่ได้
ถ้าจิตเริ่มฟุ้งซ่าน ถือเวลาอยู่ก็จะมีอาการกลุ้ม
แทนที่จะได้ผลดีกลับได้ผลร้าย
ถ้าจะถามว่าการปฏิบัติเอาเวลาเท่าไร
ก็ตอบว่าถ้าใหม่ๆ ไม่ควรจะใช้เวลามากเลย
ใช้แค่อารมณ์เป็นสุข ขณะใดถ้ายังรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่
รู้คำภาวนาอยู่ ไม่มีอารมณ์อื่นแทรก จิตเป็นสุขใช้ได้

แต่ทว่าการภาวนาก็ดี รู้ลมหายใจเข้าออกก็ดี
เราจะบังคับให้จิตรู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก
กับคำภาวนาตลอดเวลาที่เราต้องการนั้นไม่ได้
ทั้งนี้เพราะอะไร ? เพราะจิตมีสภาพคิด
จิตนี่ชอบคิดนอกเรื่องนอกราวมาตลอดกาลตลอดสมัย
คิดมาอย่างนี้มาหลายอสงไขยกัป
แล้วก็จะมานั่งบังคับว่าเวลานี้ จิตจงรู้เฉพาะลมหายใจเข้าลมหายใจออก
จงรู้เฉพาะคำภาวนา อาจจะทรงตัวอยู่ได้สักนาทีสองนาทีอย่างมาก
ประเดี๋ยวจิตก็คิดโน่นบ้างคิดนี้บ้าง ที่เรียกว่าอารมณ์ฟุ้ง
ต้องถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา
ถ้าเรารู้ตัวว่านี่ซ่านออกนอกลูกนอกทางไปแล้ว
เราก็หวนกลับมาเริ่มต้นจับใหม่
เอาใจเข้าไปรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก แล้วภาวนาตาม
หายใจเข้านึก "พุท" หายใจออกนึก "โธ" อย่างนี้ใช้ได้ สลับกันไปสลับกันมา

แต่ปรากฏว่า ถ้าอารมณ์เริ่มจะซ่านทนไม่ไหว
เกิดมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ลมหายใจก็ไม่เอา คำภาวนาก็ไม่เอา อย่างนี้จะทำยังไง ?

การแก้อารมณ์ฟุ้งซ่านของ พระพุทธโฆษาจารย์
ในวิสุทธิมรรคมีอยู่ ๒ อย่าง

ถ้าซ่านเกินไป บังคับไม่อยู่ ให้เลิกเสียเลย
เลิกเลย ปล่อยใจตามสบาย
จะไปดูหนัง ดูละคร ดูโทรทัศน์ นั่งโขกหมากรุก
ชาวบ้านคงไม่เล่นหมากรุกหรอกมั้ง
เอ้าไม่เล่นหมากรุกก็อย่าเพิ่งไปเล่นไพ่ก็แล้วกัน
เล่นไพ่เพลินไปตำรวจจะจับจะเสียสตางค์
จะร้องเพลงอย่างไงก็ช่าง
จะมานั่งนึกว่า เอ... ใช้เวลานิดหน่อยทำความดี
เราปล่อยความฟุ้งซ่านมากเกินไป
เพราะอารมณ์ใจมันเป็นความชั่ว มันก็ไม่แน่นัก
ถ้าความดีถ้าเราฝืนนะ บรรดาท่านพุทธบริษัท
มันจะกลายเป็นอารมณ์ร้าย ถ้าฟุ้งซ่านมากเกินไป บังคับไม่อยู่
เราก็ต้องการบังคับมันไม่อยู่ตามที่เราต้องการ ความกลุ้มก็จะเกิด
ในตอนนี้แหละ โรคประสาทจะเกิดแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท
ที่เขาบอกว่าทำสมาธิแล้วบ้า
ทำสมาธิแล้วบ้าเพราะใช้อารมณ์แบบนี้

บางท่านพออารมณ์ดีขึ้นมาบ้างถึงปีติไม่อยากพัก ไม่อยากผ่อน
ไม่อยากนอน ไม่อยากกิน อย่างนี้ก็เป็นโรคเส้นประสาท
ขัดคำสั่งของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่ว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
จงละส่วนล่างสุด ๒ อย่าง คือ
๑. อัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายทรมานใจ
๒. กามสุขัลลิกานุโยค ย่อหย่อนเกินไป หรืออยากได้เกินไป


อารมณ์ฟุ้ง ต้องใช้ มัชฌิมาปฏิปทา
คือ อารมณ์พอสบาย เราก็ทำแค่สบาย
เมื่อมันไม่สบายเราก็เลิก เวลาใหม่ทำกันใหม่
โดยเฉพาะเราทำแค่กำไร ไม่ใช่ทำขาดทุน
ถ้าเราไม่ต้องการจะเลิก พระพุทธเจ้าแนะนำตามนี้
อาตมาเคยปฏิบัติตาม ท่านบอกว่าให้คิดไป
มันอยากจะคิดอะไรเชิญคิดไปเหมือนคนฝึกม้าพยศ
ม้าพยศ ถ้าฝึกไม่ได้ มันวิ่งออกนอกทางก็กอดคอมันเลย
มันจะวิ่งไปไหนปล่อยวิ่งไป
พอหมดแรงเมื่อไหร่ เราลากเข้าเส้นทางบังคับมันจะตามใจเรา
ข้อนี้ฉันใด ถ้ากำลังใจฟุ้งซ่าน บรรดาท่านพุทธบริษัท
ปล่อยเลยคิดตามสบาย อาตมาเคยพิสูจน์
มันจะคิดไปอย่างนานไม่เกิน ๑๕ นาที
พอกลับเข้ามาอีกทีมันหยุดคิด
ตอนนี้จับ อานาปานุสติ คือ ลมหายใจเข้าออกกับคำภาวนา
มันจะทรงตัวแนบนิ่งดีมาก อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
หรือว่าถ้าฉลาดในการทรงสมาธิมันก็ไม่หนักนัก

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
สัญญาณบอกหมดเวลาปรากฏแล้ว ก็จำเป็นต้องลาก่อน
สำหรับวันนี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน สวัสดี



ตอนที่ ๘ วิธีปฏิบัติให้จิตเป็นสมาธิ

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ ๘
ตอนที่ ๘ นี่ก็มาต่อเรื่อง พุทธานุสสติกรรมฐาน กันต่อไป
แต่ก่อนที่จะต่อพุทธานุสสติกรรมฐาน
ก็ขอย้ำเพื่อความเข้าใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทว่า

รายการนี้เป็นรายการ หนีนรก การที่จะหนีนรกได้
ก็คือ หนึ่งตามคำแนะนำของพระพุทธเจ้าว่า


๑. คิดถึงความตายอยู่เสมอ
ไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าความตายเป็นของเที่ยง
ท่านทั้งหลายอย่าประมาทในชีวิต
คิดว่าเราจะตายวันนี้ไว้เสมอ
หลังจากนั้นก็สร้างความดี คือ ยอมรับนับถือ
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยความเต็มใจ
ไม่สงสัยในความดีของท่านต่อไป ก็ทรงศีลห้าให้บริสุทธิ์

อย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท
พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นการหนีนรกได้อย่างดีมาก
และว่าจงอย่าปล่อยอารมณ์ใจให้ตกในด้านของความต่ำ
ต้องดึงใจไว้ในด้านของความดี นั่นคือ ฝึกสมาธิจิตและปัญญา

การฝึกสมาธิจิต บรรดาท่านพุทธบริษัท
ก็ขอน้อมนำเอาพุทธานุสสติกรรมฐานขึ้นมาก่อน
ว่าการฝึกสมาธินี่สมาธิแปลว่า การตั้งใจ
ให้จิตใจตั้งใจว่าเรายอมรับนับถือพระพุทธเจ้าด้วยความจริงใจ
ถ้าจะไปทางไหนมาทางไหน เห็นรูปพระพุทธเจ้า
ที่เขาทำด้วยกระดาษก็ดี หรือเขาทำด้วยฟางหรือซังก็ดี
ปั้นด้วยดินก็ดี ปั้นด้วยปูนก็ดี
หล่อด้วยโลหะก็ดี จิตใจพร้อมยอมรับนับถือยกมือไหว้
ถ้าในสถานที่นั้นไม่ควรแก่การไหว้
เพราะคนมากเกรงว่า เขาจะติฉินนินทา
เพราะจิตใจของเรานี้ยังอยู่ในโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ
คือ ยังติดอยู่ในลาภและก็มีความเดือนร้อนในการไม่มีลาภ ลาภเสื่อมไป
ติดอยู่ในยศ เดือนร้อนในการเสื่อมยศ
ยังหวั่นไหวในคำนินทา พอใจในคำสรรเสริญ
พอใจในความสุข ไม่พอใจในความทุกข์
ธรรมดาของชาวโลกเป็นอย่างนี้ตามที่พระพุทธเจ้าอยู่
ในเมื่อจิตยังหวั่นไหวอยู่ ก็อย่าผืนสังคมมากนัก
ถ้าสังคมนั้นเขาไม่ยกมือไหว้ เราก็ไม่ไหว้ก็ได้
แต่ใจพร้อมยอมรับนับถือด้วยความเคารพด้วยความจริงใจ
ถ้าเป็นอย่างนี้ใช้ได้ถือว่า เป็นพุทธานุสสติกรรมฐานแน่
เป็นผู้ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าแน่

ในตอนที่ ๗ ได้พูดมาถึงวิธีปฏิบัติให้จิตมีสมาธิ
ให้ใช้กำลังหรือเวลาเพียงไม่มาก กำลังที่จงอย่าให้เครียด
บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าเครียดเกินไปไร้ผล
ต้องเชื่อองค์สมเด็จพระทศพล คือ พระพุทธเจ้า
ถ้าหากว่าย่อหย่อนเกินไปก็ไร้ผลอีก

คำว่า กามสุขัลลิกานุโยค ท่านแปลว่า ย่อหย่อน
แต่ความจริง กาม แปลว่า ความใคร่
เพราะเวลาที่ภาวนาไป พิจารณาไป นึกถึงไป
ใจเกิดอยากจะได้สมาธิขั้นนั้น อยากได้ฌานขั้นนี้
ในเวลานั้น อารมณ์ฟุ้งซ่านก็เกิด ไม่เกิดผลใช้ไม่ได้อีก
ต้องทำใจแบบสบายๆ ให้อารมณ์เป็นสุข
ถ้าความสุขมันหมดไป มีแต่ความหวั่นไหวมีแต่ฟุ้งซ่าน
เราก็เลิกเสียก็หมดเรื่องหมดราว
ทำเอากันแค่มีกำไร อย่าทำให้มันขาดทุน อย่าฝืน
ถ้าใครเขาบอกว่า อีตาแก่คนนี้แกสอนให้คนขี้เกียจ
อาตมาก็ยอมรับ ได้บอกไว้แล้วตั้งแต่ตอนที่ ๗ ว่า
ถ้าขี้เกียจ ทำน้อยๆ แต่ได้ผลมาก เอา

ก็ยังมีวิธีอีกวิธีหนึ่งที่บรรดาท่านครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
ผู้ทรงคุณพิเศษจริงๆ อาตมาต้องขอยอมรับว่า
ท่านที่สอนมานั่นทรงคุณพิเศษจริงๆ
ถามว่าทราบได้ยังไง ก็ต้องตอบว่าทราบด้วยกำลังใจของท่าน
และการที่ท่านนึกในใจ อาตมาก็ไม่รู้เรื่องแต่ที่ท่านแสดงออกมา
ทางกาย ทางวาจาซิ อย่างนี้รู้เรื่อง
เพราะคนอย่างอาตมาไม่ใช่คนได้เจโตปริยญาณขั้นวิเศษวิโส
หรือว่านิดหน่อยอาจจะยังไม่ได้ก็ได้
นั่นก็หมายความว่า ยังไม่ได้ดีพอที่จะรู้ใจคน
และเวลานั้นเรานึกอะไรไม่ได้กันเลย
อาตมานึกเรื่องอะไรขึ้นมา ท่านพูดเรื่องนั้นทันที
ทั้งๆ ที่ยังไม่ออกจากปากหรือว่าท่านคุยกับคนอื่น
อาตมานึกปั๊บเรื่องนั้นขึ้นมา ท่านหันมาพูดเรื่องนั้นทันที
อย่างนี้ต้องยอมรับว่า ท่านมีญาณพิเศษจริง
แต่ท่านจะเป็นพระอรหันต์หรือเปล่าก็ไม่ต้องพิสูจน์
ว่าเป็นพระอรหันต์หรือเปล่าท่านจะเป็นหรือไม่เป็น
ในเมื่อท่านรู้อารมณ์คิดก็แสดงว่า จิตละเอียดมาก
จิตท่านมีความสะอาดมาก
เราก็ยอมรับนับถือพระประเภทนี้
อาตมาเมื่อหนุ่มๆ บวชใหม่ๆ ระยะนั้นพบหลายองค์
แต่ละองค์ก็มีแนะนำเสมออย่างเดียวกัน

นั่นก็คือว่า เวลาตอนหัวค่ำ ท่านบอกว่า ตอนหัวค่ำ อย่าขยันมากนัก
การนึกถึงพระพุทธเต้านึกเวลาไหนก็นึกได้ ไม่ห้าม
เวลาถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ก็นึกถึงได้ ไม่เป็นไร
เรื่องตอนนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท เมื่ออาตมาฝึกใหม่ๆ
ท่านรุ่นพี่ ท่านเคยแนะนำว่า เวลาไปถ่ายอุจจาระก็ดี ถ่ายปัสสาวะก็ดี
อย่านึกถึงพระพุทธเจ้านะ อย่าภาวนานะ
ถ้านึกถึงตอนนั้นภาวนาเวลานั้น ถือว่าเป็นการปรามาสพระพุทธเจ้า
ความจริงรุ่นพี่ท่านไม่ได้ฉลาดจริง ไปเจอะพระที่มีความสำคัญจริงๆ
ท่านก็บอกว่า ภาวนาได้ นึกถึงได้ทุกเวลา
จะถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะจะเดินไปเดินมาอย่างนี้ ก็ใช้ได้ ยิ่งดีใหญ่
ท่านก็บอกว่า ถ้าเวลาเราจะตาย เวลาถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ทำยังไง
ถ้าปล่อยว่างตอนนั้นกำลังใจเราเกิดฟุ้งซ่านไปถึงด้านอกุศล
ก็จะทำให้ใจของตนอทิสสมานกายของตนลงนรกไป
ท่านแนะนำดี ท่านก็แนะนำด้านเอากำไร

ท่านบอกว่าการปฏิบัตินี่ เราต้องปฏิบัติให้มันง่ายๆ และได้กำไรสูง
นักค้ากำไรแต่ไม่เกินควร
ถ้าเกินควรนั่น ก็หมายความว่า คิดต้องการกำไร
เลยนิพพานนี่เกินควรแน่ไม่เกินควร
ถ้าเกินควรนั่นก็หมายความว่า คิดต้องการกำไรเลย นิพพานนี่เกินควรแน่
ถ้าเป็นมนุษย์ต้องการนิพพาน ยังไม่เป็นการค้ากำไรเกินควร
เพราะว่ามนุษย์ทุกคนจะพบจุดความสุขจริงๆ ก็คือ ที่นิพพาน
ยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด จะถือว่ามีความสุขจริงจังนั่นไม่ได้

การเอากำไรท่านบอกว่าอย่างนี้
เวลาหัวค่ำอย่าลืมว่าเราเหนื่อยมามาก เหนื่อยตั้งแต่ตื่นใหม่ๆ
พอตื่นขึ้นมากายยังไม่ทำงาน แต่ใจมันคิดแล้ว
พอถึงเวลาค่ำร่างกายอยากพักผ่อน เพราะเหนื่อยมามาก
ถ้าเราไปเคร่งเครียดตอนนั้นจะลำบาก
ผลดีจะไม่เกิด ไอ้ร่างกายมันจะพักความง่วงมันก็เกิด
เราก็ฝืนความง่วง คิดว่าเวลานี้ต้องใช้เวลาเท่านั้นใช้เวลาเท่านี้
อารมณ์จิตก็จะเกิดไม่ทรงตัว
เมื่อความง่วงเข้ามาครอบงำ ความดีก็ไม่เกิด
การนึกถึงอะไรจริงจังก็ไม่มี ท่านก็แนะนำว่า ถ้าทำไปจะนั่งก็ดี
จะนอนก็ดีจะยืนก็ดี จะเดินก็ดี
การเจริญสมาธิหรือวิปัสสนาญาณ
ไม่ใช่นั่งก็ดีจะนอนก็ดีจะยืนก็ดี จะเดินก็ดี
การเจริญสมาธิหรือวิปัสสนาญาณ
ไม่ใช่นั่งอย่างเดียว นั่งนอนยืนเดินใช้ได้
ถ้าอยู่ตามลำพังจะนั่งแบบไหน นั่งเก้าอี้ นั่งขัดสมาธิ
นั่งพับเพียบ นั่งเหยียดขา นั่งห้อยเท้า ได้ทุกอย่าง
นอนก็ได้ เอนกายก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้
เดินเขาเรียกจงกรม เป็นอันว่าทำได้ทุกอริยบถ
แต่ถ้าบังเอิญเกิดความเพลีย เกิดความง่วงขึ้นมา
ท่านบอกจงอย่าฝืน นอนเลย
นอนแล้ว จับลมหายใจเข้าออก จับคำภาวนา
เพียงเท่านี้แล้วภาวนาให้หลับไป
ถ้าขณะใดถ้าจิตยังไม่ฌาน จิตมันจะยังไม่หลับ
ถ้าจิตถึงฌานเมื่อไร จะตัดหลับทันที
แล้วท่านก็บอกว่า เราหลับไปกี่ชั่วโมง
ท่านถือว่าเป็นการทรงฌานนั้นตลอดเวลาที่เราหลับ จนกว่าจะตื่น
ถ้าตายไปในเวลาหลับ จะมีผลตามกำลังฌาณทันที
นั่นคือ ตกนรกไม่ได้แล้ว

ข้อนี้บรรดาท่านพุทธิบริษัทโปรดทราบ ว่าขั้นของสังโยชน์ ๓
ทำอะไรไม่หนัก ถ้ามีกำลังใจแค่ปฐมฌานใช้ได้
สมาธิไม่สูงเลย คำว่า ปฐมฌาน
ก็มีเครื่องสังเกตก็คือว่า ขณะที่ภาวนาอยู่ก็ดี หรือพิจารณาอยู่ก็ดี
รู้ลมหายใจเข้าออกก็ตาม
ในตอนนั่นหูเราได้ยินเสียงภายนอกทุกอย่าง
ได้ยินชัดเจนแจ่มในตามกำลังที่เขาส่งเสียงกัน
และขณะนั้นเราสามารถภาวนาก็ได้พิจารณาก็ได้
ไม่รำคาญในเสียงนี้ท่านเรียก ปฐมฌาน ไม่มีอะไรหนัก
นี่เป็นวิธีหนึ่งที่เป็นวิธีเบาๆ
และก็การเจริญพุทธานุสสติกรรมฐานที่บรรดาท่านพุทธบริษัท
ถ้าใช้กำลังใจพระรูป พระรูปพระโฉมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
จะเป็นการดีมากจะเป็นการดีมาก
แต่ว่าท่านที่จะทำอย่างนี้ได้เฉพาะท่านที่ได้ ทิพจักขุญาณ
คือ หลักสูตรของวิชชาสามเท่านั้น กับหลักสูตรของอภิญญา มโนมยิทธิ
ซึ่งมีทิพจักขุญาณอยู่ด้วยจึงจะทำได้
ถ้าไม่ได้หมวดสองหมวดนี้ก็ใช้จับรูปพระพุทธรูป
ตามที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น คือตอนที่ ๗

ตอนนี้มาคุยกัน การแนะนำเอาแค่นี้พอ ทำแค่นี้พอ
ถ้าถามว่า ทำนิดๆ หน่อยๆ จะมีอานิสงส์หรือ
จงอย่าลืมว่าทำครั้งละนิดครั้งละหน่อย
ทำครั้งละน้อยๆ ๒-๓ นาที ย่อมมีอานิสงฆ์
ขณะที่เราทำจิตเป็นสมาธิเมื่อไร
เวลานั้นจิตว่างจากกิเลสทันที

พระพุทธเจ้ากล่าวว่า
บุคคลใดทำจิตว่างจากกิเลสวันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่ง
ท่านกล่าวว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตไม่ว่างจากฌาน
ความดีจะสะสมตัวอยู่เสมอ


ถ้าถามว่าคนที่ทำความดีวันละเล็กวันละน้อย
จะมีอานิสสงฆ์ยังไง จะมีผลเป็นประการใด
ความจริงเรื่องในพระพุทธศาสนาก็มีมาก
แต่วันนี้ต้องขอประทานอภัยแก่บรรดาพุทธบริษัท
ในฐานะที่อาตมาต้องซ้อมตายมาหลายวาระ
การตายที่มันตาย จริงๆ ไม่ได้ซ้อม
ตายแล้วกลับฟื้นคืนขึ้นมา (ขอประทานอภัยดื่มน้ำนิดหนึ่ง)
มันกลับพื้นขี้นมาย่อมมีผลในการตายครั้งนั้นๆ
ขอเอาความตายตอนต้นมาคุยกัน เหลือเวลาประมาณ สัก ๑๔ นาที
ท่านทั้งหลายจะได้ทราบว่า การนึกถึงพระพุทธเจ้าวันละเล็กวันละน้อย
ทุกๆ วันย่อมมีอานิสงส์

อาตมาเองเมื่อสมัยที่เป็นเด็กต้องถือว่า พอจำความได้
ท่านแม่ก็บอกให้ภาวนาว่า พุทโธ
แต่การภาวนา ให้ท่านได้ยินคำว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ
อย่างนี้ ๓ ครั้งเท่านี้ ท่านบอกใช้ได้หลับได้
ต่อไปจะนึกยังไงก็ไม่ว่า พอนอนลงไปปั๊บ
ต้องบังคับเอ้าภาวนาว่า พุทโธ ให้แม่ฟัง
อาตมาเป็นเด็กไม่ภาวนาก็ไม่ได้ เพราะว่าเครื่องลงอาญาอยู่ใกล้ท่าน
คือไม้เรียว ถ้าขืนขัดคำสั่งเดี๋ยวไม่เรียวก็วิ่งมาแล้ว
ไอ้เจ้าไม้เรียวนี่มันก็แปลก
มันปฏิบัติตามคำสั่งของมือของท่านเด็ดขาดทันทีทันใด
ได้การกลัวถามว่ากลัวใครก็บอกว่า กลัวไม้เรียว ไม่ได้กลัวแม่
แม่จริงๆ ไม่น่ากลัวแต่ไม้เรียวกลัวมาก

ถ้าวันไหนเผอิญนอนหลับไปก่อนไม่ได้ภาวนาว่า พุทโธ ให้ท่านฟัง
หรือว่าจะว่าพุทโธแต่ว่าดังหรือไม่ดังก็ตาม ท่านไม่ได้ยิน
เผอิญเข้าที่นอนก่อนท่าน แล้วก็หลับไปเข้าไปแล้ว
ท่านจะปลุกขึ้นมาให้ภาวนาว่า พุทโธ
คุณแม่ท่านไม่รับฟัง ท่านบอกว่าต้องว่าเดี๋ยวนี้ก็นอนว่าทั้งๆ ที่ง่วง
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ก็ไม่ใช่ พุทโธ
มันกลายเป็น พุทโธ ไปท่านก็ไม่ว่าอะไร หลับก็หลับไป
อาศัยอย่างนี้ จนกระทั่งเป็นเด็กโตอายุ ๑๐ ปีเศษ

แต่ว่าพอโตขึ้นมาหน่อยเกิดการกลัวผี ไอ้ผีนี่ อาตมากลัวจริงๆ
เคยเห็นผีบ้างหรือเปล่าก็จำไม่ค่อยได้นักตอนเป็นเด็ก
แต่ความรู้สึกมันกลัวมาก ถ้ามีใครเขาเผาศพกันที่ไหน
ถ้ามีปี่พาทย์ ได้ยินเสียงตะโพนมอญก็ดี หรือว่าตีกลองประโคมศพก็ดี
อีตอนนั้นนอนไม่ได้แล้ว คนเดียวนะนอนไม่ได้ต้องหาเพื่อนนอน
เวลาจะนอนก็ต้องหาอะไรมาทับตีนมุ้ง อุดร่อง
เกรงว่าผีจะลอดจากร่องขึ้นมาบ้าง
เกรงว่าผีจะลอยมุ้งเข้ามาบ้างเอาอะไรมาทับตีมุ้งเข้าไว้
ความกลัวมันกลัวขนาดนี้ แม้กระทั่งเวลากลางวันเข้าห้องข้างใน
คือ ในห้องเขาใช้งานไปหยิบอะไรในห้องก็ตาม
ก็ยังกลัวผีตอนกลางวันทั้งๆ ที่ผู้ใหญ่นั่งอยู่ข้างนอกก็ยังกลัว
เวลาไปหยิบของแล้วเวลาเดินออกไม่เอาหน้าออก
เอาหลังออกถอยหลังมาหาประตู เกรงว่าผีจะมาจับหลัง
ในเมื่อท่านแม่ท่านบอกว่า ถ้ากลัวผีอย่างนี้ปกติผีนี่กลัวคำว่า พุทโธ
คือ กลัวพระพุทธเจ้า เป็นอันว่าท่านก็เลยบอกว่า

ต่อไปนี้ ถ้าความกลัวเกิดขึ้นเมื่อไรให้ภาวนาว่าพุทโธทันที
ถ้าอย่างนี้ผีจะไปไกลแสนไกลให้นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน
ว่าขอบารมีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จงช่วยกำจัดผีไปให้ไกลแสนไกล แล้วภาวนาว่า พุทโธ
ในเมื่อความกลัวเกิดขึ้นมาเมื่อไร ก็ภาวนาว่าพุทโธ
หากความไม่กลัวไม่เกิดขึ้นก็ไม่ภาวนาว่า พุทโธ

ญาติโยมฟังตอนนี้แล้วก็จำไว้ด้วยนะ
อาตมาตอนเด็กไม่มีอะไรจริงจังกับพระพุทธเจ้า
แต่ว่าเป็นเรื่องแปลกตอนมาบวชแล้วเข้าใจชัด
ตอนที่บวชใหม่ๆ ตอนพรรษาแรกอยู่กับ หลวงพ่อปาน
คืนวันหนึ่งลุกขึ้นมาเช้ามืด เจริญพระกรรมฐานเช้ามืดตอนตีสอง
ก่อนหน้าตีสองนิดหนึ่งต้องตื่นแบบนั้นทุกวัน
เวลานี้ก็ยังตื่นแบบนั้นเป็นปกติ เพราะชินกับเวลาที่ตื่นเวลาตีสอง
ก่อนหน้าตีสองประมาณครึ่งชั่วโมงตื่น ก็เรียกว่าตีหนึ่งครึ่ง ก็เกินไปบ้าง
ล้างหน้าล้างตาเสร็จ ทำวัตรสวดมนต์เสร็จ
ถึงเวลาตีสองตรง ลุกขึ้นเจริญพระกรรมฐาน คือว่า นั่งกรรมฐาน
ภาวนาตามอัธยาศัย มาวันหนึ่งพอตื่นขึ้นมาเปิดหน้าต่างจะล้างหน้า
เห็นผีไม่มีหัว มันโดดเสียไม่มีละ โอ้โฮ เยอะแยะ
จำนวนสักสองร้อยคนกว่า โดดที่ชานตึงตังก็มองดูอะไรกันแน่
เห็นว่าผีไม่มีหัวเท่านั้นแหละ ก็เลยสงสัย
(ตอนนั้นความกลัวก็ไม่เกิดขึ้น) ว่า
ไอ้พวกนี้ไม่มีหัวทำไมโดดได้ เลิกล้างหน้ามาสวดมนต์
มาไหว้พระสวดมนต์ มันก็ตามมาโดดในกุฏิ
นั่งกรรมฐานมันก็โดดใกล้ๆ ก็ช่างมันใจสบาย พอถึงตีสี่เลิก
เพราะพระลุกขึ้นสวดมนต์
ตอนนั้นไปนอนเจ้าผีตนหนึ่งโดดเข้ามาคร่อมอก
ก็ตั้งใจจะเอามือขวาหยิบหวายตีผี ตีมันมันก็กดมือขวาไว้
พอจะเอามือซ้ายหยิบมันก็กดมือซ้ายไว้กดแขวนซ้ายไว้
จะว่ายังไงมันก็ว่าตาม พอว่าคาถาขับผีจบ มันบอกว่า กูไม่กลัว
ว่าอีกบทหนึ่ง มันบอกว่า บทนี้มึงได้ครึ่งเดียว มันก็เลยว่าต่ออีกครั้ง
แสดงว่าผีตัวนี้เรียนมามาก ต่อไปก็หมดท่า ไม่รู้จะทำแบบไหน
ก็เลยนึกในใจว่า โอหนอ โลกนี้ไม่มีใครดีกว่าพระพุทธเจ้า
มนุษย์ก็ดี เทวดาพรหมก็ดี เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าทั้งหมด
ไม่มีใครเหนือท่าน นึกถึงบารมีของพระพุทธเจ้า
ขอให้ช่วยกำจัดผีตัวนั้น และนึกภาวนาว่าในใจว่า พุทโธ
แล้วเป่าพรวดเดียว เจ้าผีก็โดดหกคะแมนเคนเก้ โดยวิ่งหนีไปเลย

นี่ละบรรดาท่านพุทธบริษัท ความจริงท่านแม่บอกสมัยเป็นเด็กๆ
จะว่าท่านหลอกก็ไม่ได้ ผลมาปรากฏสมัยเมื่อบวชพรรษาแรก
เรามาว่าถึงผลอีกผลหนึ่ง ต่อมาอายุ ๑๐ ปีเศษๆ
ก็เกิดเป็นโรคอหิวาต์ตายกับเขา ตอนเป็นโรคอหิวาต์ใหม่ๆ
เริ่มท้องเดินใหม่ๆ ท่านแม่ก็ให้ภาวนาว่าพุทโธ
แล้วท่านเอาพระพุทธรูปให้เห็น
ท่านบอกมองดูพระพุทธรูปแล้วก็ภาวนาว่า พุทโธ
พระพุทธเจ้าจะช่วยให้หายโรค มันเจ็บมันเสียดท้องเหลือเกิน
มันเจ็บท้องมาก ท้องถ่ายก็เพลีย มีความร้อนสูง
พอถ่าย ๓ ครั้ง ก็เริ่มจะหมดสติ หมดแรง
หมดแรงแต่สติยังดีใจก็ภาวนา พุทโธ
ตอนนี้ลืมตาก็ไม่ค่อยจะไหว กายขยับไม่ไหว ใจก็ถึงภาพพระพุทธรูป
คิดว่าขอพระพุทธเจ้าโปรดช่วยให้หายโรคด้วยเถอะ
เห็นจะเป็นแบบเดียวกับ มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ภาวนาไปๆ
พระพุทธรูปใหญ่ขึ้นมาทุกทีๆ ผลที่สุดก็กลายเป็นพระสงฆ์
และก็สวยงามมากยิ้มแย้มแจ่มใส สดชื่น
ตอนนี้ร่างกายไม่รู้สึกทุกขเวทนา
เพราะมัวไปสนใจ ความสวยของพระพุทธเจ้าเสีย

ตอนนั้นเอง จิตออกจากร่างกายที่เรียกว่า "อทิสสมานกาย"
เมื่อจิตมันออกจากร่างไป ก็ไปเป็นคน แต่ไม่ใช่คนปกติ
เป็นคนผิดปกติ ไอ้คนผิดปกติ เขาเรียกคนบ้าหรือเปล่าก็ไม่ทราบ
เนื้อนี่ใสเป็นแก้วสวยจริงๆ และเสื้อก็ดี กางเกงก็ดีชฏาด้วย
เป็นทองคำทั้งหมด และก็เนื้อทองคำผิวทองคำทั้งหมด
ประดับไปด้วยเพชรแพรวพราวเป็นระยับ
เป็นเพชรใสเป็นประกายมากสวยมาก
ร่างกายทั้งหมดจะยกแขนยกขาขึ้นมายังไงก็ตามที มันเบาหมด
จะยกย่างไปทางไหนมันเบาหมด
ร่างกายไม่ใช่เดิม มันลอยๆ มันเบาเหมือนกับนุ่นปลิวลม
ตอนนั้นก็ไปหาท่านแม่บ้าง ไปหาท่านลุงบ้าง
เรียกใครก็ไม่มีใครสนใจ ทุกคนก็นั่งมองแต่ศพที่ตายอยู่
ตอนนี้บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท
อาจจะสงสัยถามว่าเสียดายร่างกายไหม ?
ก็ต้องตอบว่าเวลานั้นไม่รู้สึกเสียดายเลยไม่อยากได้มันด้วย
มันสกปรกเหลือเกิน มันมีแต่ความสกปรกมีแต่ความเศร้าหมอง
มาดูกายใหม่มันสวยมาก ขนาดเนื้อเป็นแก้วใสแจ๋ว
พื้นที่หมดของผ้าเสื้อกางเกงมันเป็นทองคำทั้งหมด
เครื่องประดับประดาสวยสดงดงามและประดับไปด้วยเพชร
เพชรนี้เต็มไปหมด ผ้ายาวขนาดไหนเพชรประดับเต็มขนาดนั้น
ไม่เห็นเนื้อทองของเสื้อผ้าเลย

ในเมื่อไม่มีใครสนใจ ก็ไปยืนอยู่หลังบ้าน
คิดว่าจะยืนเที่ยวอยู่หลังบ้านยังไม่คิดจะไปไหน
เห็นคนเดินกันมาประมาณ ๒๐๐ คน มีหัวหน้าสูงใหญ่มาก
คนทุกคนที่ตามมาหัวแค่เอวบ้าง ไม่ถึงเอวบ้าง
และมี ๒ คนขนาบกลาง มีคนหลังหนึ่งคน
(เวลามันเหลือน้อย บรรดาท่านพุทธบริษัท) ก็ถามคนหน้าว่า
ลุงจะไปไหนครับ ? เขาก็กางตำราออกมาเปิดปั๊บ
เขาบอก หลานไม่อยู่ในบัญชีไปกับลุงไม่ได้ กลับเข้าบ้านเสีย
อาตมาก็นึกในใจว่าตาลุงนี้บ้า ถามว่าจะไปไหน
ดันบอกว่าไม่มีในบัญชี แกจะบอกเราว่าไปไหนสักคำก็ไม่บอก
ต่อมาก็ถามคนตรงกลาง ตรงหลัง เขาก็พูดเหมือนกัน
ก็เลยปล่อยให้เขาเดินไกลไปประมาณสัก ๑ กิโล ก็เดินตามไป
มันไม่รู้สึกเหนื่อย เขาเข้าป่าขึ้นเขาลงเขาเข้าป่าละเมาะไปเรื่อยๆ
พอถึงป่าสูงใหญ่ เขาก็สำรวจคนทางด้านโน้นเป็นด้านนรก
ยืนบนยอดเขา เห็นสำนักของพระยายมมีอาคาร ๓ หลัง
และมีคนประเภทมนุษย์เรายืนเป็นกลุ่มๆ
กลุ่มประมาณ ๑๐๐ คนบ้าง เกินร้อยคนบ้าง
มีคนตัวใหญ่ๆ แบบนั้นถือฆ้อนบ้าง ถือหอกบ้าง
ถือกระบองบ้าง มาคุมอยู่กลุ่มละคน

ถามท่านลุงว่า "ที่นั่นแดนอะไร"

ท่านบอกว่า "ที่นั่นเป็นสำนักของพระยายม ภาพคนที่เห็นนั้น
เคยไปจากนรกให้ไปเกิดแล้ว กลับไม่ทำความดี เขาจับมาลงโทษใหม่"
เห็นคนเดินออกมาจากสำนักพระยายม
ท่านบอกนั่นพระยายมตัดสินแล้วต้องไปสู่นรก"
ชี้ไปแดนข้างหน้าไกลมากแต่ว่าเป็นทะเลเพลิงจับท้องฟ้า

ท่านบอก "โน่น เอาไปที่โน่น"

ถามท่านบอกว่า "ผมอยากจะลงไปดูบ้างได้ไหม"

ท่านบอก "ไม่ได้ หลาน คนที่ภาวนาว่า พุทโธ หรือ อรหัง ก็ตาม
หรือภาวนาว่ายังไงก็ตาม ถ้านึกถึงพระพุทธเจ้าไว้เป็นปกติ
คนประเภทนี้ลงไปในแดนนั้นไม่ได้ ถ้าลุงปล่อยให้ลงไปลุงมีโทษ
จะต้องถูกทำโทษ ขอให้หลานกลับ"


ท่านก็แนะนำว่าทีหลัง ถ้าต้องการจะรู้อะไรนึกถึงลุงแล้วมาที่นี่
ลุงจะให้ดูทุกอย่าง ก็เป็นความจริง ทีหลังพอนึกปั๊บก็ไปถึงที่นั่นทันที
นึกถึงลุง ลุงก็มาถึง อยากดูนรกลุงให้ดูนรกอยากดูนางฟ้า เทวดา
วิมานท่านให้เห็นหมด อยู่ใกล้ๆ

เป็นอันว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย คำภาวนาว่า "พุทโธ"
แม้แต่เล็กน้อยถ้าจิตช่ำชองขั้นใจประโยชน์มันเป็นอย่างนี้ ตกนรกไม่ได้


แต่ว่าเวลานี้จะพูดไปก็ตามไม่ไหว
บรรดาท่านพุทธบริษัทเพราะเวลาหมดพอดี
สำหรับในตอนนี้ก็ต้องขอลาก่อน
ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแต่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี...



ตอนที่ ๙ การเจริญสมาธิในพุทธานุสสติกรรมฐาน

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับตอนนี้ก็เป็นตอนที่ ๙
ในเรื่อง ความเป็นมาของการหนีนรก
เพราะการปฏิบัติเพื่อการหนีนรกนี้
บรรดาท่านพุทธบริษัท ความจริงเป็นการปฏิบัติไม่ยากเลย
เพียงแค่มีกำลังใจ คุมใจไว้ไม่ให้ไหลไปสู่อารมณ์ของความผิด
คือ ที่มีอารมณ์คิดว่าร่างกายนี้จะไม่ตาย
ส่วนใหญ่ของบุคคลเรามักจะคิดว่าร่างกายไม่ตาย
และตามปกติจริงๆ ไม่คิดเลยเสียด้วยซ้ำไป
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าการเกิดมาแล้วความจริงมันต้องตาย
แต่คนคิดถึงความตายจริงๆ หายาก
มีหน้าที่อย่างเดียวจะประกอบอาชีพ จะทรงอาชีพให้ดีเป็นยังไง
รวยขนาดไหน หรือว่าทำยังไงเราจึงจะสวย ทำยังไงจะเป็นคนดี
ที่จะคิดว่าการตายคราวนี้เ ราจะไม่ยอมไปอบายภูมินี่หายาก
แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนที่เกิดมาในโลก
เพราะการเกิดมานี้เราได้รับผลกฏของกรรม ๒ ประการบังคับ
คือ กุศลกรรมอย่างหนึ่ง และอกุศลกรรมอย่างหนึ่ง
ขณะใดที่อกุศลกรรมบังคับ ขณะนั้นเราจะไม่คิดถึงตามความเป็นจริง
ไม่ยอมรับนับถือกฏของธรรมดา
ขณะใดที่กุศลชาติก่อนให้ผลดลใจ
เวลานั้นจะมีความเห็นถูกอยู่เสมอ
ตอนนี้จึงมาเตือนกันไว้ ว่าเมื่อเราตายแล้ว
การตายมีสภาพไม่สูญ ทางที่จะไปก็คือ

๑. อบายภูมิ แดนของความทุกข์
๒. สุคติ มีสวรรค์ พรหมโลก และนิพพาน แล้วก็
๓. ยับยั้งไว้ที่มนุษย์โลก

แต่ถึงกระไรก็ดีบรรดาท่านพุทธบริษัท
ถ้าเราไม่สร้างความดีไว้ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์
ก็เป็นมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความยากไร้อย่างยิ่ง
ข้อนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง จะทราบตอนที่พูดถึงศีลธรรม
วันนี้เราก็มาเตือนกันไว้ก่อน ขอบรรดาท่านพุทธบริษัท
ซึ่งเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระชินวร
จงพากันคิดถึงตามความเป็นจริงว่า เราเกิดมาแล้วเราต้องตาย
การตายถ้าจิตใจของเราไม่ผ่องใส ประกอบไปด้วยอารมณ์ที่เป็นอกุศล
เราก็ไปอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น
ถ้าจิตใจของเราประกอบไปด้วยกุศลก็ไปสุคติ มีสวรรค์เป็นต้น

ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน
ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดว่า เราจะต้องตาย
ก็ตัดสินใจไว้ก่อนว่า การตายคราวนี้ ไม่ยอมไปอบายภูมิ
จะขอยึด พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่งต่อไป
และจะนำศีลห้า เป็นกำแพงกั้นอบายภูมิไว้
โดยจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ผุดผ่องตลอดกาลตลอดสมัย
อันนี้เราเตือนกันไว้นะบรรดาท่านพุทธบริษัท
แต่ว่าคนเตือนซิ จะนึกถึงเรื่องนี้วันละกี่ครั้งก็ไม่ทราบ

ต่อนี้ไปเราก็มาพูดถึง พุทธานุสสติกรรมฐาน
แต่ความจริงพุทธานุสสติกรรมฐานนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัท
เราจะพูดกันไปยังไงก็ไม่จบ ทั้งนี้เพราะอะไร
เพราะว่าความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีมากมายนัก
ก็เป็นอันว่าการเจริญสมาธิในพุทธานุสสติกรรมฐาน
ก็เป็นการทรงไว้ซึ่ง สติและสัมปชัญญะ คือ สติ
ได้แก่การนึกไว้สัมปชัญญะ การรู้ตัว
นึกไว้ว่า เวลานี้เรามีอารมณ์ดีหรืออารมณ์ชั่ว
รู้ตัวว่าเรามีความคิดดีหรือคิดชั่ว หลงผิดหรือหลงถูก
ถ้าขณะใดเราลืมความดีหรืออารมณ์ชั่ว
รู้ตัวว่าเรามีความคิดดีหรือคิดชั่ว หลงผิดหรือหลงถูก
ถ้าขณะใดเราลืมความดีของพระพุทธเจ้า ถ้าลืมไป
นี่แสดงว่าเราพลาดท่าแล้ว บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ตายแล้วอาจจะไปอบายภูมิก็ได้
แต่ว่าขณะใดที่เรานึกไว้ถึงพระพุทธเจ้า ภาวนาถึงท่านก็ดี
นึกถึงความดีของสมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าก็ดี
นึกยอมรับนับถือเคารพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ดี
นึกยอมรับนับถือเคารพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ดี
อย่างนี้เป็นพุทธานุสสติถือว่ามีอารมณ์แจ่มใส
ถ้าตายเมื่อไรมีความสุขเมื่อนั้น

และการภาวนาหรือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เช่นภาวนาว่า "พุทโธ"
หรือ "สัมมาอรหัง" หรืออะไรก็ได้ ตามใจ
เพราะว่าการภาวนานึกถึงความดีของพระพุทธเจ้านี่ ไม่มีขอบเขตจำกัด
จะถือว่าภาวนาอย่างนั้นถูก ภาวนาอย่างนี้ถูก อันนี้ใช้ไม่ได้
ก็ต้องถือว่าถูกด้วยกันทั้งนั้น
อีกประการหนึ่งก่อนภาวนา ถ้าเรานึกถึงพระพุทธเจ้า
ถือว่าเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน

ถ้าจะถามว่าการภาวนานี้ดีอย่างไร
หรือว่าการพิจารณาการนึกถึงพระพุทธเจ้านี่ ดีแบบไหน
ถ้าเราตั้งใจใช้คำภาวนาเป็นปกติ
อารมณ์ตั้งใจคิดว่า ภาวนานี่ถูกหรือผิด
ถ้าเรารู้ว่าถูกหรือรู้ว่าผิด ถ้าผิดก็กลับใจเสียใหม่ ภาวนาให้ถูก
หรือว่าการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อย่างนี้เป็นการระงับนิวรณ์

คำว่า "นิวรณ์" ความจริงไม่อยากจะพูดถึง
เพราะว่าถ้าพูดถึงนิวรณ์แล้ว บรรดาท่านพุทธบริษัทจะท้อถอย
แต่ในเมื่อการปฏิบัติเข้ามาถึงก็ต้องพูดกัน
คำว่า "นิวรณ์" ที่ในพระไตรปิฏกท่านแปลว่า "คุณชาติกั้นความดี"
ขอประทานอภัยนี่ตามแบบนักธรรมโทตามหลักสูตรของนักธรรมโท
ท่านบอกว่าคุณชาติกั้นความดี
แต่ว่าในพระไตรปิฏกท่านกล่าวว่า เป็นกิเลสหยาบที่ทำปัญญาให้ถอยหลัง
นั่นก็หมายความว่า นิวรณ์ ๕ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถ้าฝังอยู่ในใจของเราในขณะที่เราภาวนาก็ดี
ในขณะที่พิจารณาหรือนึกถึงพระพุทธเจ้าก็ดี
ถ้านิวรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามาแทรกตึ๊กเข้าให้ในใจของเรา
อย่างนี้ท่านถือว้าปัญญาถอยหลังเสียแล้ว
กิเลสหยาบที่มีความร้ายแรงมาก เข้ามาสิงใจ
ก็รวมความว่า ใจของเราชั่วไปเกลือกกลั้วกับกิเลสหยาบ
กิเลสที่จำทำให้เราลงอบายภูมิ

กิเลสหรือว่านิวรณ์ ๕ ประการก็คือ

ประการที่ ๑ อารมณ์ความรักในระหว่างเพศ
ที่เรียกกันว่า "กามฉันทะ"

ประการที่ ๒ ความโกรธ ความพยาบาท
มีการจองล้างจองผลาญซึ่งกันและกัน

ประการที่ ๓ คือ ความง่วง

ประการที่ ๔ อารมณ์ฟุ้งซ่านเกินไป
ควบคุมกำลังจิต กำลังใจไม่อยู่ ภาวนาไม่ถูกหรือลืมภาวนาไปเลย

ข้อที่ ๕ ได้แก่การสงสัยในผลของการปฏิบัติ

ทั้ง ๕ ประการนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท
ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งสิงใจของเรา ในขณะที่ภาวนาก็ดี
ในเวลาที่พิจารณาก็ดี ก็ถือว่าเราพลาดจากความดีไปเสียแล้ว
ถ้าจะถามว่าพลาดหมดไหม ก็ต้องตอบว่าพลาดไม่หมด
เพราะว่าขณะที่เราพลาดมีอยู่ เพราะว่าการเริ่มต้น
เราเอาจิตเข้าไปรับรู้ลมหายใจเข้าออก แล้วเราภาวนาควบคู่กันไป
หรือคิดถึงพระพุทธเจ้าในอารมณ์ของเราควบคู่กันไป
อย่างนี้ถือว่าตอนนั้นเราได้กำไร ใจของเราเต็มไปด้วยมหากุศล
สามารถจะนำตนไปสู่สุคติได้แบบสบายๆ

แต่ว่าในขณะที่ภาวนาไปก็ดี รับรู้ลมหายใจเข้าออกก็ดี พิจารณาก็ดี
นานๆ ไปสักนาที ๒ นาที ๓ นาที ที่ฝึกใหม่ๆ นะ
จิตอาจจะพลาด คิดถึงเรื่องอย่างอื่นเข้ามาแทรกแซงบ้าง
ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา อย่าตำหนิตนว่าเลวเกินไป
เพราะว่ากำลังใจของเรานี้ คบกับการฟุ้งซ่านมานานนับอสงไขยกัป
อยู่ๆ จะบังคับให้อยู่ในขอบเขตจริง ๆ น่ะ มันเป็นไปไม่ได้
แต่ว่าต้องอาศัย สติ คือความระลึกนึกไว้
สัมปชัญญะ การรู้ตัวเรื่องอารมณ์เผลอเราห้ามไม่ได้แน่นอน ต้องเผลอแน่
ถ้ารู้ตัวขึ้นมาเมื่อไรภาวนาผิดไปแล้วหรือคิดผิดไปแล้วอย่างนี้
เราก็เริ่มต้นใหม่ เอาจิตเข้าจับลมหายใจเข้าออก
แล้วภาวนาอย่างนี้ใช้ได้ ก็เรียกว่า มีการผ่อนสั้นผ่อนยาว
ความจริงไม่ได้ตั้งใจจะผ่อน
แต่ว่าอารมณ์จิตที่มันฟุ้งซ่านผ่อนเอง อย่างนี้ถือว่าชนะ

ถ้าหากว่าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท
ในขณะที่ภาวนาอยู่หรือพิจารณาอยู่ เกิดชนะนิวรณ์ขึ้นมา
จะมีอะไรเป็นผลก็ตอบว่า กำลังจิตของบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน
จะมีความสุขอย่างหาที่เปรียบมิได้
ถ้าจะถามว่าการชนะนิวรณ์ต้องชนะทั้งวันใช่ไหม
ก็ต้องตอบว่า ไม่ใช่ ชนะเฉพาะที่เราภาวนาหรือพิจารณาเท่านั้น
คือ เป็นการยับยั้งไม่ให้นิวรณ์เข้ามากวนใจ
ถ้าเราจะทำลายกันจริงๆ เฉพาะนิวรณ์นี่
การทรงฌานโลกีย์ก็ดีหรือว่าเป็นพระโสดาบันหรือสกิทาคามีก็ดี
เราไม่สามารถจะห้ำหั่นนิวรณ์ให้เด็ดขาดได้
ได้แต่เพียงยับยั้งนิวรณ์ชั่วคราวเท่านั้น

นิวรณ์ ๒ ข้อแรก คือ "กามฉันทะ"
ความพอใจในเพศตรงกันข้าม หรือว่า "พยาบาท"
คิดจองล้างจองผลาญ ความโกรธ ความคับแค้น
ทั้ง ๒ ข้อนี้ จะชนะได้จริงๆ ต่อเมื่อเราเป็นพระอนาคามี
สำหรับอีก ๓ ข้อจะชนะได้จริงๆ ในเมื่อเป็นอรหัตผล
ถ้ากำลังใจเราไม่ถึงขั้นนั้นเราก็ยับยั้งชั่วคราว อย่างนี้ใช้ได้

ถ้าจะถามว่าการระงับนิวรณ์ ยับยั้งชั่งคราวจะมีผลเป็นประการใด
ก็ต้องขอตอบว่า จะทำกำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท
ให้มีความสุขขึ้นมาก อารมณ์ชั่วต่างๆ
เช่น อารมณ์ชั่วในการทำลายศีลห้าก็ดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอากันอย่างง่ายๆ คือ ความโกรธ
ความโกรธเราเคยฉุนเฉียว ถ้าชนะนิวรณ์ครั้งละ ๒-๓ นาที
ในการเจริญภาวนา สมมุติว่าเจริญภาวนาจริงๆ ครึ่งชั่วโมง
ใช้เวลาครึ่งชั่วโมง แต่การใช้เวลาครึ่งชั่วโมงนั้นไม่ใช่ชนะทั้งครึ่งชั่วโมง
มันชนะจริงๆ แค่ ๒-๓ นาทีเพียงเท่านั้น
ทำไปจริงๆ สักประมาณ ๑ เดือน คือ วันหนึ่งทำครั้งหนึ่ง
จะเป็นเวลาเช้ามืดหรือเวลาหัวค่ำก่อนหลับก็ได้นั่งก็ได้ นอนก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้
ชนะจริงๆ คือ รู้ลมหายใจเข้าออกโดยเฉพาะ รู้ค่าภาวนาโดยเฉพาะ
หรือรู้การพิจารณาการนึกถึงโดยเฉพาะ
โดยนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ ไม่เข้ารบกวนใจ
หลังจากนั้นจิตก็ฟุ้งซ่านเกินไป ก็ตามใจมัน เราก็เลิก
ถ้าฟุ้งซ่านมากเกินไปจริงๆ เราเลิก บังคับไม่อยู่
เท่านี้แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัทผู้เป็นสาวก
ขององค์สมเด็จพระบรมครูสักประมาณ ๑ เดือน
คือ ชนะวันละเล็กวันละน้อย มันสะสมอยู่ในใจ ๑ เดือนผ่านไป
กำลังโกรธที่มีความฉุนเฉียวที่เคยมีมา แล้วมันจะลดตัวลง
โกรธเหมือนกันแต่ความโกรธจะเบาลง
สมัยก่อนยังไม่ภาวนาหรือพิจารณา เราโกรธแล้วเราขังกันไว้นาน
จองล้างจองผลาญกันหลายวัน
ถ้าทำแบบนี้สักประมาณ ๑ เดือนไม่ขาด โกรธมี
แต่ว่าเบากว่าเดิมแล้วก็หายเร็วกว่าเดิม
นี่แสดงว่าจิตใจของเราเริ่มเยือกเย็นขึ้น
ในเมื่อจิตใจเริ่มเยือกเย็นขึ้น ความมีเหตุผลก็มากขึ้น
ถ้าตัดกามฉันทะ คือยับยั้งได้ ไม่รุ่มร่ามภายนอกบ้าน
พอใจเฉพาะอารมณ์กามฉันทะในบ้าน
คือ ความรักระหว่างคู่ตัวผัวเมียแค่นี้เราจะมีความสุขมากแล้ว

ประการที่ ๒ ไม่เป็นคนโมโหร้ายมีจิตใจเยือกเย็น
เราก็จะมีเพื่อนที่รักมากขึ้น เราก็จะมีความสุข

ประการที่ ๓ เราทำความดีไม่ง่วง สติสัมปชัญญะก็สมบูรณ์ขึ้น

ประการที่ ๔ ถ้าจิตใจไม่ฟุ้งซ่านเกินไป
การคิดจะทำอะไรจะประกอบกิจการงานต่างๆ
อารมณ์ก็จะทรงตัว สมองปลอดโปร่ง

ประการที่ ๕ ถ้าไม่สงสัยในผลการปฏิบัติ
อย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทจะพบกับความดีพิเศษที่จะพูดต่อไป

รวมความว่ากำลังใจของเราลดเหตุ ๕ ประการลงไปได้
ถึงแม้ว่าตัดไม่ได้ แต่กำลังของเหตุ ๕ ประการ
คือ นิวรณ์ ๕ ประการนี้ มีกำลังอ่อนไปเราก็จะมีความสุขขึ้นมาก

ถ้าเรามามองกันถึงศีล การละเมิดศีลจะละเมิดยากมากขึ้น
จะทรงศีลได้ดีขึ้น เพราะสติสัมปชัญญะและการเยือกเย็นของจิต
และอารมณ์ที่จะนึกถึงพระพุทธเจ้าก็ดี พระธรรมก็ดี พระอริยสงฆ์ก็ดี
หรือว่าความไม่ประมาทที่จะคิดถึงความตายที่จะมีมาในวันก็ดี
จะมีอารมณ์ถี่ขึ้นความสุขจะเกิดมากขึ้น
นอกจากความสุขจะเกิดขึ้นกับเราแล้ว
ความสุขจะเกิดขึ้นกับบุคคลอื่นด้วย ช่วยให้โลกมีความสุขมากขึ้น
ความอุดมสมบูรณ์ในทรัพย์สินก็จะมีมากขึ้น
เพราะการไม่เจ้าชู้ และการไม่โหดร้ายเรื่อก่อการวิวาท

นอกจากนั้นบรรดาท่านพุทธบริษัท
การนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ สามารถก่อให้เกิดทิพจักขุญาณได้
ความจริงหลักสูตรของวิชชาสาม ก็อยู่ที่พุทธานุสสตินี่แหละ
ถ้าจะบอกว่าต้องกสิณกองนั้นกองนี้
การดูพระพุทธเจ้า การนึกถึงพระพุทธเจ้าก็เป็นกสิณ
และการดูพระพุทธรูป การนึกถึงพระพุทธรูป
การนึกถึงพระพุทธรูปก็เป็นกสิณ
ขณะใดที่เราคิดว่าท่านเป็นพระพุทธรูปนี้ เป็นพุทธานุสสติ
ถ้าพระพุทธรูปสีเหลืองก็เป็นปีตกกสิณด้วย
พระพุทธรูปสีขาวก็เป็นโอทาตกสิณด้วย
ถ้าหากว่าพระพุทธรูปสีเขียวก็เป็นนีลกสิณด้วยอย่างนี้เป็นต้น

รวมความว่าเราก็ปฏิบัติทั้งอานาปานุสสติด้วย
พุทธานุสสติด้วย กสิณด้วยไปในตัวเสร็จ
ก็เวลาเหลืออีก ๑๐ นาที มีตัวอย่างที่จะคุยให้กับบรรดา
ท่านพุทธบริษัทรับทราบสักเรื่องหนึ่งเป็นตัวอย่าง

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ปีนั้นมีคุณยายท่านหนึ่ง คุณโยมผู้เฒ่า
อายุท่านก็มากแล้วเห็นจะถึง ๗๐ ปี
ท่านอยู่ในบ้านท่านเจริญพุทธานุสสติอยู่เสมอ
คือว่า ใครๆ เขาสอนว่าจงภาวนาว่า "พุทโธ" บ้าง
มองดูพระพุทธรูปเพื่อเป็นนิมิตเครื่องหมายจับอารมณ์ให้ทรงตัวบ้าง
ทำอย่างนี้เป็นปกติ

มาในปีนั้นท่านไปเจอะอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามาก
ท่านสอนกรรมฐาน มีคณะของท่านมากมาย มีชื่อเสียงมาก
ก็ไปขออาศัยศึกษาอยู่ในสำนักนั้น ๓ เดือน ความจริงท่านตั้งใจจะอยู่ตลอดชีวิต
คิดว่าชีวิตเบื้องปลายเราก็ทำอะไรไม่ไหวแล้ว
ที่พึ่งของเราจริงๆ ก็คือ อารมณ์ที่เป็นมหากุศล
เมื่อเข้าไปอยู่ในสำนักแล้ว ก็ปรากฏว่าท่านอาจารย์ให้ใช้กรรมฐานอีกแบบหนึ่ง

ความจริงกรรมฐานจะเป็นแบบไหน ภาวนาแบบไหนก็ตาม
แต่จุดมุ่งหมายจริงๆ ต้องการ คือ

๑. ต้องการศีลบริสุทธิ์
๒. มีอารมณ์ใจเป็นสมาธิ
๓. มีปัญญาแก่กล้าสามารถรู้เท่าทันกิเลส
และตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้

ความจริงความต้องการของพระพุทธเจ้ามีเท่านี้
ฉะนั้นขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท การปฏิบัติกรรมฐาน
จงอย่าถือว่าที่ไหนผิดและจงอย่าถือว่าที่ไหนถูกแต่แห่งเดียว
ถ้าทำจิตให้ทรงศีลบริสุทธิ์ได้ทรงสมาธิได้
มีปัญญาสามารถล้างกิเลสได้ที่นั่นถูกทั้งหมด

สำหรับวิธีปฏิบัติจริงๆ มีตั้งหลายพันแบบ ไม่ใช่แบบเดียว
ในเมื่อคุณโยมเจริญพุทธานุสสติอยู่เป็นปกติ
ไปเจอะอาจารย์สอนผิดไปจากที่เคยปฏิบัติมา
ใจก็อดที่จะคิดถึงอารมณ์เก่าไม่ได้
อาจารย์ก็บอกว่า ไม่ได้ ของเก่าใช้ไม่ได้
ต้องใช้ของใหม่ที่สอน ไม่ยังงั้นจะไม่มีผล
คุณโยมก็อยากจะไปคิดถึงของเดิม
ยิ่งไม่นึกถึงเพียงใด ภาวนาหรือพิจารณาตามที่อาจารย์สอน
คำว่า "พุธโธ" ไม่มีในใจ แต่ภาพพระพุทธรูปปรากฏ
แทนที่จะนึกแต่พุทโธอย่างเดียว
ไม่นึกละ นึกตามที่อาจารย์สอนภาพพระพุทธรูปลอยเด่นขึ้นข้างหน้า

ตอนเช้าอาจารย์สอบอารมณ์ ก็ไปบอกกับอาจารย์ว่า
เมื่อคืนเห็นภาพพระพุทธรูปท่านอาจารย์ก็บอกว่า โยมไม่ได้แล้วๆ
ภาพประเภทนี้เป็นกิเลส ต้องทิ้งไป
จงอย่าถือเอา โยมก็พยายามไม่ถือเอา
ทำใจเป็นสมาธิให้เข้มข้นตามอาจารย์สอน
ในเมื่อความเข้มข้นของจิตมีมากขึ้นเพียงใด
ภาพพระพุทธรูปก็แจ่มใสมากเพียงนั้น
ในที่สุดภาพของพระพุทธรูปก็ขาวเป็นแก้วประกายพรึก
เป็นแก้วระยิบระยับ เด่นจับหูจับตา คราวนี้เอาหนักหลับตาก็เห็น
ลืมตาก็เห็น จะนอนซ้าย นอนขวา หันหน้าหันหลัง
เห็นหมดเห็นตลอดวัน เป็นอันว่าจิตของคุณยายทรงฌานนั้น
สูงในพุทธานุสสติกรรมฐาน อย่างนี้เป็นฌานนะบรรดาท่านพุทธบริษัท
ไปรายงานอาจารย์ทีไรอาจารย์ก็บอกว่า
"ไม่ไหวแล้วโยมฯ กิเลสเล่นหนักแล้ว"
คุณโยมก็เกิดความไม่สบายใจ

ต่อไปก็ไม่รายงานอาจารย์ละ ในเมื่อพระพุทธรูปจะมา
ก็เอาพระพุทธรูปเถอะ ถ้าอาจารย์ถามว่าเมื่อคืนภาวนาว่าอย่างไร
แต่คำภาวนาใช้ตามแบบฉบับของอาจารย์และกำลังใจ
ก็ยินดีในพระพุทธรูป ก็ชื่นใจมาก ยิ่งนานวันจิตยิ่งสดใส
พระพุทธรูปก็แจ่มใสมากขึ้นและก็ใหญ่โตมากขึ้น
ยิ้มแย้มแจ่มใส คล้ายๆ กับมีชีวิตชีวา
มองเห็นหน้าทีไรก็เห็นพระพุทธรูปยิ้มทุกที

ในที่สุดบรรดาท่านพุทธบริษัท ออกพรรษาแล้วคุณยายก็อยู่ไม่ได้
เพราะขวางกับสำนักนั้น ความจริงกิจกรรมไม่ได้ขวาง
แต่กำลังใจเห็นภาพพระพุทธรูป
ท่านบอกพระพุทธรูปเป็นกิเลส คุณยายก็ต้องกลับบ้าน
เมื่อกลับบ้านแล้วพระที่บ้านของท่านก็นำมาหาอาตมา
อาตมาเองก็ไม่ทราบว่าคุณยายเห็นภาพพระพุทธรูป
ทางสำนักถือว่าเป็นกิเลส
ท่านถามว่า การเห็นภาพพระพุทธรูปอย่างนี้เป็นอย่างไร
ก็ต้องบอกตามความเป็นจริงว่า
"คุณโยม นี่เป็นฌานในพุทธานุสสติกรรมฐานแล้ว
แล้วคุณโยมไม่ใช่เข้าถึงฌานเฉยๆ เป็นผู้ทรงฌานเสียด้วย
และฌานนี้ก็เป็นฌานที่สูงมาก
สามารถนึกขึ้นมาจะให้พระพุทธรูปใหญ่ขนาดไหนก็ตาม
ใหญ่หรือเล็ก สูงหรือต่ำ ยังไงก็ตามเป็นไปตามนั้นหมด"

ก็เลยบอกว่า "ถ้าคุณโยมกล้าทำ ถ้าใครเขาพูดถึงใคร
ลองนึกในใจขอภาพพระพุทธรูปจงหายไป
ขอภาพบุคคลนั้นจงปรากฏแทน"
คุณโยมก็ทำอย่างนั้น ในที่สุดใครพูดถึงใครที่ไหน
คุณโยมก็ถามว่าคนนั้นรูปร่างอย่างนั้นอย่างนี้ใช่ไหม
เขาก็ตอบว่าใช่ เป็นการถูก

ก็รวมความว่าคุณโยมต้องการเห็นเทวดา
เห็นนรก สวรรค์ โยมก็เห็นหมด ต้องการเห็นคนที่จากไป
เวลานี้อยู่ที่ไหน ทำอะไรบ้าง คุณโยมก็เห็นถูก
ในเมื่อเขามาหาคุณโยมก็ตอบตรง ตามความรู้สึกที่เห็นไว้

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
การเจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน ในที่สุดคุณโยมนั้น
ก็เห็นชัดว่านรกเป็นยังไง เปรตอสุรกาย
แดนสัตว์เดรัจฉานเป็นยังไงทั้งหมด เวลาคนตายปุ๊บลงไป
โยมก็ติดตามคิดว่าคนนี้ไปไหน ภาพก็ปรากฏชัดทันที
ถ้าคนนั้นไปสู่แดนอบายภูมิ ก็จะถามเขาว่าเพราะบาปอะไร
หรือไปสวรรค์เพราะบุญอะไร แล้วก็ถามคนที่อยู่
ที่เขารู้เรื่องราวเขาก็ตอบตรงตามความเป็นจริง

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัทชายและหญิง
การเจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าทำให้ถูกเสียอย่างเดียว
ไม่ใช่จะเป็นสุกขวิปัสสโก เป็นวิชชาสามก็ได้ เป็นอภิญญาก็ได้

มองดูบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ๓๐ นาทีพอดี
สำหรับตอนที่ ๙ นี้ก็ต้องขอลาก่อน เพราะว่าหมดเวลาเสียแล้ว
ขอบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระชินวรทุกท่าน
จงมีแต่ความสุขสวัสดิ์พัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
และจงเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ
มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ
หากทุกท่านประสงค์สิ่งใด
ขอให้ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนาทุกประการ สวัสดี...



ตอนที่ ๑๐ อารมณ์เป็นสุขเพราะกำลังสมาธ

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ ๑๐
ก็อยากจะจบเรื่องพุทธานุสสติกรรมฐานในตอนที่ ๑๐ นี้
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเกรงว่าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย
จะเบื่อ แต่ก่อนที่จะจบพุทธานุสสติ คือ ความจริงเรื่องไม่จบ
แต่ขอหยุดพุทธานุสสตินี่พูดเท่าไรก็ไม่จบ
เพราะความดีของพระพุทธเจ้ามหาศาลมาก ยากที่จะพรรนาให้จบได้
แต่ก่อนที่จะพูดถึงท้องเรื่องจริงๆ

ก็ขอเตือนบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายไว้ก่อน
ว่าจงอย่าลืมคิดว่าชีวิตนี้มันมีความตายไปในที่สุด
และก็จงอย่าคิดว่าความตายนี้จะมีมาถึงเรา
ในเมื่อเราแก่หรือว่าแก่มาก โปรดอย่าคิดอย่างนั้น
จงคิดว่าความตายอาจจะถึงเราในวันนี้ก็ได้ไว้เสมอ
จะได้ไม่ประมาทในการทำความดี


และประการที่ ๒ จงคิดว่า ก่อนจะตาย
ขอยึดพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
ยอมรับนับถือ ไม่สงสันในความดีของท่าน


และข้อที่ ๓ ตั้งใจว่าเราจะรักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
ตั้งแต่บัดนี้ไปจนกว่าจะเข้าถึงความตายมาถึง
เพราะว่าศีลห้าจะเป็นแดนกั้นอบายภูมิ คือไม่ให้เราตกนรก
ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นอสุรกาย ไม่เป็นสัตว์เดรัจฉาน


ถ้าเป็นคนก็เป็นคนดี แต่รายละเอียดเรื่องนี้เอาไว้พูดกันตอนถึงศีลห้า
ถ้าตั้งใจไว้แบบนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท รายการนี้เป็นรายการหนีบาป
ท่านจะหนีบาปอกุศลได้แน่นอน หนีนรกได้แน่นอน
ถ้าหนีบาปได้ก็หนีนรกได้ คือคนจะตกนรกก็ต้องเป็นคนมีบาป

ต่อนี้ไปก็ขอเข้าเรื่อง พุทธานุสสติกรรมฐาน
สำหรับพุทธานุสสติกรรมฐาน วิธีการปฏิบัติบรรดาท่านพุทธบริษัท
ก็พูดมาแล้วรู้สึกว่ามากพอสมควร ถ้าจะพูดไปอีกญาติโยมพุทธบริษัท
จะเบื่อ เพราะว่าการตัดสังโยชน์ ๓ ประการ ขั้นต้น
คือ สังโยชน์ ๓ ประการมี ๓ ขั้น ขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียด
แต่ว่าการตัดจริงๆ ของสังโยชน์ ๓ ประการนี่
พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีสมาธิไม่มากใช้สมาธิไม่สูง แค่ปฐมฌานก็ได้
ท่านบอกว่ามีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย แต่มีศีลบริสุทธิ์
ฉะนั้นกำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท ก็ไม่จำเป็นต้องเคร่งเครียด
เรื่องสมาธิมากเกินไป ทำกำลังใจให้สบายๆ นี่เป็นสุขแล้ว ใช้ได้แล้ว

ต่อนี้ไปก็จะขอคุยกับบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว
คือว่า มีคนมาจากจังหวัดสุพรรณบุรี มาบอกว่ามีท่านเจ้าคุณองค์หนึ่ง
ขอประทานอภัย อย่าออกชื่อท่านเลย ชื่อของพระราชาคณะนี่ไม่แน่นัก
ชื่อน่ะชื่อเดียวกันแต่การแต่งตั้ง ถ้าองค์นั้นเลื่อนไปองค์ใหม่มาใช้ชื่อนั้น
ถ้าไปใช้ชื่อตรงกันเข้าแต่คนละองค์มันจะบาป
เขาบอกว่าได้ยินท่านเทศน์ ท่านจะเทศน์ทางสถานีวิทยุ
หรือว่าเทศน์ตามศาลาก็ไม่ทราบ แต่ขอบอกก่อนว่า ท่านเจ้าคุณองค์นี้ไม่ได้
อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี อันนี้ไม่ได้กลบเกลื่อน
ท่านเจ้าคุณองค์นี้อยู่ที่จังหวัดอื่น อันนี้ไม่ได้กลบนะโยมนะ
เป็นความจริงเขาบอกว่า ท่านมาเทศน์ที่จังหวัดสุพรรณบุรี
ท่านบอกว่า การเจริญสมาธิต้องระมัดระวังให้มาก
ถ้าพลาดพลั้งไปแล้วจะกลายเป็นคนบ้า
ทางที่ดีจงอย่าทำเลย หรือว่าทำก็ทำแค่เล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้อย่างหนึ่ง

และอีกอย่างหนึ่งก็มีท่านครูบาอาจารย์ชั้นสูง
พระเหมือนกับ อาตมาได้รับบัตรของท่าน
ท่านส่งบัตรมาให้ นามบัตรชื่อของท่านเป็นครูสอนหลายแห่ง
และสอนในมหาวิทยาลัยเสียด้วย เวลานั้นหลายปีมาแล้ว
ไปเทศน์ด้วยกัน ในสำนักที่ไปเทศน์นั้นเป็นสำนักเจริญพระกรรมฐาน
ท่านเป็นคนสรุปพระธรรมเทศนา
ท่านบอกว่า ญาติโยมพุทธบริษัทเรื่องกรรมฐาน อย่าไปเจริญกันเลย
ไม่จำเป็น เราช่วยกันสำรอกกิเลสให้หมดไปน่ะพอแล้ว

พอฟังเท่านี้อาตมาก็ตกใจ การเจริญพระกรรมฐาน
เป็นปัจจัยให้คนเป็นบ้า นี่ก็แปลกใจเหมือนกัน
และการสำรอกกิเลสให้หมดไปแล้ว จึงเจริญพระกรรมฐานนี่ก็แปลกมาก
เพราะการเจริญพระกรรมฐานนั่นแหละ บรรดาท่านพุทธบริษัท
เป็นการคลายหรือสำรอกกิเลสให้หมดไป
ค่อยๆ เคาะ กิเลสไม่ใช่น้ำในขวด หรือกิเลสไม่ใช่น้ำในกระบอก
จับแล้วก็เทพรวดให้หมดไป กิเลสมันเกาะใจเกาะแน่นเกาะนาน
เกาะลึกแกะมันยากแสนยาก จึงค่อยๆ แกะค่อยๆ ทำ

อันดับแรกต้องมีศีลบริสุทธิ์

ประการที่ ๒ ต้องมีจิตตั่งมั่น มั่นคงแน่นอน ค่อยๆ ทำ

ประการที่ ๓ มีปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถ
ค่อยๆ ตัดกิเลสออกไปได้ทีละเล็กละน้อย ในที่สุดมันก็จะหมดไปเอง

แล้วมาการเจริญกรรมฐานทำให้เป็นคนบ้า และการมีศีลบริสุทธิ์
การมีจิตตั่งมั่นในสมาธิ สามารถระงับนิวรณ์ได้
และการที่มีปัญญาสามารถตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้
ถ้า ๓ ประการนี้เป็นปัจจัยให้เป็นคนบ้า ก็ขอประทานอภัย
อาตมาไม่ก้าวร้าวพระผู้สูงมาก นั่นคือ พระพุทธเจ้า
ถ้าเขาหาว่า การทำอย่างนี้บ้า เขาก็ต้องหาว่าพระพุทธเจ้าบ้าไปด้วย
อาตมาขอพูดตามที่เขาคิดนะ อาตมาไม่คิดว่าพระพุทธเจ้าบ้าแน่
เพราะอาตมาอยู่ได้ เพราะอาศัยพระพุทธเจ้า
ก็พระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีสมาธิตั้งมั่น
มีปัญญาเฉลียวฉลาดมาก สามารถตัดกิเลสให้สิ้นไป
ถ้าคิดว่าคนเจริญพระกรรมฐานต้องบ้าทุกคน ก็ต้องถือว่า บ้าตามพระพุทธเจ้า
และอาตมาไม่ได้คิดว่าพระพุทธเจ้าบ้า
ท่านผู้เทศน์คงจะคิดว่าพระพุทธเจ้าบ้า กระมัง หรือใครบ้ากันแน่

ถ้าคนที่เจริญสมาธิบ้าจริงๆ เวลานี้ก็บ้ากันนับล้านแล้ว
เวลานี้คนนิยมเจริญสมาธิกันมาก ขอประทานอภัยเถอะ
คนที่ห่มผ้าเหมือนศากยบุตรพุทธชิโนรส ไม่น่าจะคิดอย่างนั้น
และก็ไม่น่าจะพูดอย่างนั้น ถ้าเป็นความจริง อาตมาก็สงสัยเหมือนกันว่า
พระท่านเทศน์จริงหรือว่าญาติโยมชายหญิงที่มาบอก
ฟังผิดไปก็อาจจะเป็นได้

ตอนนี้ก็มาคุยกันถึงว่าสมาธิที่เราทำ ถ้าพลาดเป็นบ้าได้ไหม
ก็ต้องตอบว่าได้ ต้องพลาดนะ ไม่ใช่ทำดี
การทำสมาธิดีเขารักษาโรคให้หายบ้า
คนที่มีสติฟั่นเฟือนบ้างพอสมควร พอทำสมาธิเข้าพักเดียว
อารมณ์จะกลายเป็นความเยือกเย็น เอาแค่คนที่มีความเร่าร้อนของจิต
โมโหโทโสร้ายนี่แหละ ไม่ต้องมากนัก
เจริญสมาธิจริงๆ ไม่ช้าประมาณเดือนเศษๆ จะเห็นผลทันที
ว่ากำลังใจของเราเยือกเย็นไปมาก ความโกรธยังมีอยู่แต่มันน้อยลงไป
และก็ช้าลงไป ถ้าเจริญสมาธินานๆ เข้า ความโกรธอาจจะไม่หมดไป
แต่เหลือน้อยมีกำลังเบา อย่างนี้กำลังใจของเรามีอารมณ์เป็นสุข เพราะกำลังสมาธิ

ความสำคัญในการเจริญกรรมฐาน มีตอนหนึ่งบรรดาท่านพุทธบริษัท
ต้องระมัดระวังเหมือนกัน แต่อาการแบบนี้จะมีขึ้น
เมื่อกำลังใจของเราดีแล้ว เมื่อคราวมั่นคงในศีลปรากฏชัดมั่นคงแน่แล้ว
การมั่นคงในสมาธิก็ดี การมีปัญญารู้เท่าทันกิเลสก็มากขึ้น
มีความยึดมั่นในพระพุทธเจ้าในพระธรรมในพระอริยสงฆ์จริง
อย่างนี้ถือว่าคนนั้นมีอารมณ์ใจดิ่ง จะเข้าเขตเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้น
พระอริยเจ้าเบื้องต้น คือ พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี
ถ้ามีความมั่นคงในการเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระอริยสงฆ์ด้วยความจริงใจ และก็สามารถทรงศีลบริสุทธิ์จริง
มีปีติความอิ่มใจในการเจริญสมาธิและวิปัสสนาญาณ
ใจรักพระนิพพานเป็นที่สุด
อย่างนี้ถือว่าจะถึงหรืออาจจะถึงแล้วก็ได้ซึ่งพระโสดาบัน
อาตมาไม่ขอยืนยัน เพราะว่าอารมณ์แน่นบางทีก็เป็นกำลังฌาน
กำลังฌานโลกีย์มีอารมณ์แน่นมากหรือมีอารมณ์หนักหนักแล้ว
ก็แน่นที่เรียวกว่าหนักแน่นๆ การเคลื่อนไหวจะมีได้น้อย
แต่กำลังใจ เพราะอาศัยกำลังฌานโลกีย์โดยเฉพาะมีอารมณ์หนักๆ อย่างนี้
มั่นใจว่า ชีวิตนี้ต้องตายแน่
แต่ว่าไม่ฆ่าตัวตาย มีความหนักแน่นในการเคารพพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระอริยสงฆ์ หนักแน่นในการทรงศีล
มีปิติเป็นปกติความรู้สึกประเภทนี้เป็นความรู้สึกของผู้ทรงฌานโลกีย์
ยังไว้ใจอะไรไม่ได้ ถ้าพลาดหน่อยเดียว สมาธิไหลจ๊วก หล่นไปหมด
ศีลก็จะไหลไปง่าย ปัญญาก็ไหลง่าย

ทีนี้ถ้าหากอารมณ์ที่ทรงจริงๆ แต่เป็นอารมณ์เบาๆ
อารมณ์ใจเยือกเย็นสบายๆ ความหนักน้อยแต่ทรงตัว
ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปด้วยความเชื่องช้า
ในด้านความชั่วเกิดขึ้นเหมือนกัน ช้ามาก
ความรักในระหว่างเพศจะเกิดก็เกิดแบบช้าๆ เบาๆ ไม่รุนแรง
โมโหโทโสจะเกิดขึ้นบ้างก็เกิดเบาๆ ไม่รุนแรง หายง่าย
อารมณ์ฟุ้งซ่าน มีเหมือนกันแต่ก็ซ่านไม่นาน หันเข้ามาจับด้านของความดี
การสงสัยในคุณความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
สงสัยในผลของศีล สงสัยในทางไปนิพพานไม่มีอีกแล้ว
อย่างนี้ถือว่าเป็นอารมณ์ที่ข้ามจากโลกียวิสัย
เข้าไปใกล้ความเป็นพระอริยเจ้า หรืออาจจะเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้น
คือพระโสดาบัน หรือพระสกิทาคามีแล้วก็ได้
อาตมาก็มีความรู้เล็กน้อยไม่กล้าพยากรณ์
กำลังใจตอนนี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท
ตอนหลังนี่ไม่สำคัญ สำคัญตอนต้น
ตอนที่มีความหนักแน่น ในความรู้สึกว่าชีวิตนี้จะต้องตาย
หนักแน่นมากๆ ในการเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
หนักแน่นในการทรงตัว หนักแน่นในการคิดว่าจะไปนิพพาน
ตอนนี้เป็นฌานโลกีย์ ตอนนี้ถ้าเต็มอัตราแล้วก็จะก้าวเข้าสู่โลกุตตระ
คือ จะเป็นพระอริยเจ้า ตอนนี้ระวังบรรดาท่านพุทธบริษัท
ปิติมีอาการเกิดมาก ความปลื้มใจเกิดมาก ความชุ่มชื่นเกิดมาก
บางคนก็เจริญกรรมฐานไม่หยุดไม่หย่อน กลางคืนไม่ละ กลางวันไม่เว้น
ทำหามรุ่งหามค่ำไม่มีการพักผ่อนแน่นอน ไม่ช้าโรคประสาทก็เข้ามารบกวน
ในที่สุดโรคประสาทก็เกิดและก็ต้องไปโรงพยาบาลรักษาคนบ้า
อย่างนี้ไม่ใช่ถือว่าสมาธิทำให้บ้า
การปฏิบัติเครียดเกินไปทำให้บ้า

พระพุทธเจ้าทรงแนะนำแล้ว ขอให้ทุกคนจงจำว่า
การจะปฏิบัติให้ได้ผลในฌานโลกีย์ก็ดี โลกุตตระก็ดี
จะต้องละส่วนสุด ๒ อย่าง คือ

ประการที่ ๑ อัตตกิลมถานุโยค
การปฏิบัติเครียดเกินไป ไม่พักไม่ผ่อน ไม่หลับ ไม่นอน ตึงเกินไป
อย่างนี้จะเป็นโรคประสาท
ไม่มีผลในการปฏิบัติในด้านความดี คือ จะไม่ได้เป็นพระอริยเจ้า

ประการที่ ๒ กามสุขัลลิกานุโยค
ย่อหย่อนเกินไป หรืออยากได้เกินไป อย่างนี้ก็ไม่มีโอกาสได้เป็น
เพราะจิตฟุ้งซ่าน ต้องใช้ มัชฌิมาปฏิปทา คืออารมณ์กลางๆ


ในเมื่อเข้าถึงจุดอารมณ์เครียด ตอนนี้ก็ต้องถูกพิสูจน์
แต่การถูกพิสูจน์นี่มีน้อยคนไม่ใช่ทุกคน
ท่านที่จะถูกพิสูจน์อย่างหนักแน่นจริงๆ หนักมาก
ก็ต้องเป็นพวกที่มากจากพระโพธิสัตว์
ก็หมายความว่า อดีตเคยปรารถนาพุทธภูมิมาก่อน
อยากจะเป็นพระพุทธเจ้า การที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้
ก็ถือว่าเป็นจอมทัพ ท่านที่จะเป็นจอมทัพปราบฆ่าศึก คือ กิเลส
ต้องมีความเข้มแข็งมาก ท่านพวกนี้จะถูกพิสูจน์ด้วยเทวดา
ชั้นจาตุมหาราช เทวดาชั้นจาตุมหาราช เป็นเทวดาผู้ทรงฌาน
ในสมัยที่เป็นมนุษย์ท่านได้ฌาน ๑, ๒ หรือ ๓ ใน ๓ ณานนี้
ณานใดณานหนึ่งก็ได้ ทรงณาน อย่างแล้ว
ถ้าเวลาจะตายเข้าณานตาย การเข้าณานไม่ได้หมายความว่า ต้องนั่ง
อาจจะนอน หรือยืน หรือยืน หรือเดิน นอนตะแคงซ้าย ตะแคงขวา
ทำอะไรอยู่ก็ได้ พอตายปุ๊บปั๊บ แต่ว่าก่อนที่จะตายจิตเข้าน้อมนึกพระไตรสรณคมน์
มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือว่านึกถึงกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง
ที่เขาทำ อารมณ์ทรงตัว อารมณ์ทรงตัวนี่ไม่ใช่นั่งนิ่ง
ต้องนั่งหลับตาปี๋ ไม่ใช่อย่างนั่น
อาการทรงของสมาธิพูดกันอย่างนี้ก็ทรงตัวได้
ฌานก็ตั้งอยู่ได้ ฌาน ๑ กับ ฌาน ๒ ยังคุยกันสบาย
ไม่จำเป็นต้องไปนั่งหลับตาปี๋
ถ้าจิตเข้าถึงฌาณ ๔ พูดมีแต่เหตุและผลพูดไร้เหตุไร้ผลไม่มี
เพราะจิตสะอาดมาก จิตที่ทรงฌานอยู่พูดได้ คุยกันก็ได้
อยากจะรู้อะไร ในขณะที่คุยกับเพื่อน ปากก็คุยอยู่กับเพื่อน
แต่จิตส่วนหนึ่งสามารถไปรู้เรื่องต่างๆ ที่ต้องการได้
อย่างนั่งคุยกันอยู่ ๒ คน เพื่อนก็คุยว่าบ้านของฉันดีอย่างนั้น
มีไอ้นั่น มีไอ้นี่ หรือประวัติความเป็นมาของฉันเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้
ถ้าเราอยากจะรู้จริงๆ ก็เอาจิตตามเสียปากก็พูดกับเขา
ตามกิจที่จะต้องพูด ใจเราก็อยากจะรู้ความจริง
ไปค้นคว้าหาอดีตจากความจริงที่เขาเล่ามา เราจะพบว่าจริงหรือไม่จริง
จะพบได้ทันทีว่าท่านผู้นี้จริงหรือโกหก อย่างนี้มันหลอกกันไม่ได้

ทีนี้สำหรับการถูกล้อ ถูกทดลองจากเทวดาชั้นจาตุมหาราชนี่
ระหว่างที่พูด วันนี้ เป็นวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๘
เมื่อ ๒-๓ วันที่ผ่านมา พระที่วัดท่าซุงชื่อ พระสามารถ เป็นช่าง
เคยทำงานกรมศิลปากรมาก่อน และก็มาบวชอยู่
สละบ้านสละเรือนมีลูกมีเต้าแล้ว มีภรรยา ภรรยารูปร่างหน้าตาก็ดี
ลูกทั้งสองคนหรือ ๓ คนก็ไม่ทราบเห็น ๒ คน ทั้งหมดทั้งบ้านทั้งพ่อ
ทั้งแม่ ทั้งลูก ทรงทิพจักขุณาณได้ดีมาก สามารถพูดกับผี
เทวดาคุยกันได้สบายๆ ฌานโลกีย์บรรดาท่านพุทธบริษัท
อาจจะพลาดได้นะ ต้องระมัดระวัง
ท่านเกิดมีความเต็มกำลังใจว่า งานทางนี้ขอละ ภรรยาสามารถเลี้ยงลูกได้
ก็มาบวช กำลังใจท่านเข้มแข็ง ก็ถูกพิสูจน์ตลอดมา
พิสูจน์ด้วยกำลังของเทวดาเทวดาเขาจะพิสูจน์เราต่อเมื่อเราไม่กลัว

พอพูดอย่างนี้แล้วขอบรรดาญาติโยมพพุทธบริษัที่ยังมีความกลัวอยู่
ถ้ายังมีความกลัวอยู่เขาไม่มาหรอก เขาเสียเวลาเขา
ต้องคนที่มีความรู้สึกว่า ไม่กลัวจริงๆ
และท่านพวกนี้ต้องมาจากสายพุทธภูมิ สายสาวกภูมิเขาไม่ลองมาก
ถ้าขืนลองมากเดี๋ยวเป็นบ้าไปเลย ดีไม่ดีเดี๋ยวก็เลิก เพราะมีกำลังใจอ่อน
ถ้าเดิมมาจากพุทธภูมิ พวกนี้มีความเข้มแข็งมาก เขาก็ต้องลองหนัก
เมื่อลองหนัก ลองแล้วไม่มีอะไร อาจจะมีการหวั่นไหวบ้างเล็กๆ น้อยๆ
มีอย่างเดียวใครจะชนะใคร ไอ้การทดลองของเขาไม่มีการซ้ำแบบ
ถ้าเราคิดว่าเขาจะมาไม้นี้เขาไม่มาหรอก เขาก็มาไม้โน้น
เราคิดว่าจะมาท่านั้นเขาไม่มา เขาจะมาอีกท่าหนึ่งเป็นอย่างนี้
ถ้าบังเอิญเรากลัว เขาก็เลิก ถ้ารู้สึกว่ากลัวมีความหวาดหวั่นมากขึ้น
เขาก็เลิก ไม่รบกวนต่อไป ถ้าบังเอิญเราไม่รู่จักกลัว ไม่กลัวเสียจริงๆ
เขาก็เลิกเหมือนกัน ทั้งนี้เพราะอะไร
เพราะเขาไม่กล้าเล่นกับคนที่เรียกว่า เลยบาทเลยสลึง
คนที่ไม่กลัวไม่ใช่ไม่เต็มบาทนะ
ญาติโยมพุทธบริษัท คนที่เต็มบาทก็ยังหวาดหวั่นอยู่
ถ้าไม่กลัวจริงๆ นี่เลยบาท อาจจะถึงหกสลึงก็ได้
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่ากำลังใจของคน ทุกคนอาจจะสู้กันไปสู้กันมา
สู้ให้พ้นจากความตายเหมือนกับสู้กับข้าศึก ไม่มีใครสู้กับข้าศึก
สู้เพื่อให้ตัวตายอย่างนี้ไม่มี มีแต่เพียงคิดว่า
การสู้กันคราวนี้เราจะต้องฆ่าข้าศึกหรือศัตรูให้ได้
ศัตรูจะต้องตาย เราจะต้องไม่ตายเขาคิดกันอย่างนี้
อันนี้เรียกว่าคนเต็มบาท ถ้าคนเลยบาทคิดสู้เอาชีวิตเป็นเดิมพันว่า
ร่างกายนี่จะตายก็ช่างมัน แต่ความดีส่วนหนึ่งต้องเอาให้ได้
ถ้าความดีส่วนนี้เอาไม่ได้เพียงใด เราจะไม่ยอมเลิกเด็ดขาด
มันจะตายก็ตาย ยอมพลี เรียกว่า "รักธรรมะยิ่งกว่ารักชีวิต"
อย่างนี้เขาเรียกว่า "คนเกินบาท"
แต่ความจริงจะคิดว่าหกสลึงก็ไม่ถูก อาจจะถึง ๘ สลึง หรือ ๒ บาทเลยก็ได้
เพราะอะไร เพราะมีกำลังใจเข้มข้นมาก

ฉะนั้นก็ขอเตือนบรรดาท่านพุทธบริษัทว่า การพิสูจน์ของเทวดา
เขาจะพิสูจน์ต่อเมื่อ เราไม่มีความกลัว และมีความเข้มข้น
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พิสูจน์หนัก จะเป็นเฉพาะพวกพุทธภูมิเท่านั้น
หรือว่าเวลานี้ปฏิบัติ คือปรารถนาสาวกภูมิ
แต่ว่าเดิมมาจากพุทธภูมิด้วยกำลังเข้มข้น อย่างนี้เขาจึงจะพิสูจน์
ถ้าเราไม่กลัวก็ต้องพิสูจน์กันหนักจนกว่า จะรู้สึกว่ากลัว
แต่ในที่สุดเราไม่กลัวจริงๆ เทวดาก็กลัว เทวดาก็เลิก
หรือว่าถ้าพิสูจน์แล้วเราเกิดมีความกลัวขึ้น
มีความหวาดหวั่นเขาก็เลิกเหมือนกัน

รวมความว่า ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่านทราบตามความเป็นจริง
ว่าขอบรรดาพุทธบริษัทชายหญิง อย่าหวาดหวั่นในการพิสูจน์การทดลอง
คือว่า การพิสูจน์ของเขา เพื่อให้ทราบกำลังใจของเรา
ทุกอย่างน่ะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ต้องมีการพิสูจน์ความจริง จึงจะรู้
อย่างที่เราตัดราคะ คือ ความรัก
เราไปนั่งตัดในป่า มันก็ได้ จะเป็นไรไป มันไม่มีอะไร
ในป่าไม่มีราคะให้เราคิด ไม่มีราคะให้เราเห็น
สมมุติว่าท่านเป็นชาย ท่านจะไปนั่งวาดภาพว่า
ผู้หญิงแบบนั้นผู้หญิงแบบนี้สวยแบบนั้นแบบนี้
ที่ว่าต้องการ มันก็ไม่มีอะไรเกิดประโยชน์
มันนั่งแต่คิดทั้งนั้น ได้แต่คิด แต่การสัมผัสจริงๆ ไม่มี
ถ้าเป็นผู้หญิงนั่งอยู่คนเดียวในป่า คิดถึงผู้ชายแบบนั้น ท่าทางแบบนี้
มีความดีแบบนั้นมันก็ไม่มีอะไรเป็นประโยชน์
เราจะชนะหรือเราจะแพ้มีนก็ไม่แน่นัก
เราคิดว่าถ้าคนแบบนั้นมาเราจะตัดด้วยอารมณ์แบบนี้
การจะตัดราคะก็ต้องอาศัย อสุภกรรมฐาน ๑๐ อย่าง
กับกายคตานุสสติ ๑ อย่าง
ตัดโทสะด้วยพรหมวิหาร ๔
หรือกสิณ ๔ มีกสิณ สีเหลือง สีเขียว สีขาว สีแดง
ตัดโมหะกับวิตกจริงด้วย อานาปานุสสติ
สนับสนุนกำลังใจในด้านศรัทธา ด้วย ด้วยอนุสสติ ๖ ประการ
คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ เทวตานุสสติ
สนับสนุนความฉลาดด้วย อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัฏฐาน ๔ มรณานุสสติ กับ อุปสมานุสสติ
ที่พูดมาไม่แปล เพราะอะไร เพราะว่าเวลามันจะหมด
ถ้าเราไปนั่งฝึกจะตัดแบบนั้นแบบนี้ ใช้กรรมฐานแบบนั้นแบบนี้
โดยไม่มีการพิสูจน์ มันก็นึกได้ นึกไปนึกมาเดี๋ยวก็แพ้โครม
ดีไม่ดีแพ้โดยไม่รู้สึกตัว มันต้องพิสูจน์กัน


ฉะนั้นถ้าจะตัดราคจริต ความรักในระหว่างเพศ
หน้ามันจะต้องชนกับหน้าเพื่อนระหว่างเพศ คือ เพศตรงกันข้าม
คนที่เราเห็นว่าสวยว่างามที่เราชอบมาปรากฏ
ในเมื่อคุยกันไปคุยกันมาอารมณ์ราคะไม่เกิด อย่างนี้ใช้ได้
เราคิดว่าเราจะตัดโทสะ จะต้องไปสัมผัสกับวาจาที่เราไม่ชอบใจ
เมื่อสัมผัสกับอารมณ์นั้นได้จริงๆ แล้วจิตใจสบายอย่างนี้ใช้ได้ เราชนะ

ทีนี้การเจริญพระกรรมฐานของบรรดาท่านพุทธบริษัทก็เหมือนกัน
บางท่านก็คิดว่าเราเป็นผู้ชนะแล้ว เราต้องการนิพพานแล้ว
เราเป็นผู้เลิศแล้ว เวลานี้เราตายเมื่อไรไปนิพพานเมื่อนั่น
เขาก็ต้องลอง ก็ต้องสอบ ก็ต้องพิสูจน์ แต่การลอง
การพิสูจน์จะบอกล่วงหน้ากันไม่ได้
อย่างข้อสอบจะออกให้นักเรียนสอบ หรือท่านผู้สอบเลื่อนชั้นก็ตาม
ถ้าจะสอบก็บอกว่า ข้อสอบฉันจะออกแบบนั้นแบบนี้นะ
จะเขียนมาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ จากตำราเล่นไหนบ้าง
และก็วิธีตอบต้องตอบแบบนั้น แบบนี้จะจะสอบได้
อย่างนี้ใครก็สอบไม่ตก แล้วก็สอบได้หมด
ทีนี้การสอบจิตใจของนักเจริญกรรมฐานเทวดาก็เหมือนกัน
เทวดาจะต้องไม่มาตามแนวที่เราคิด
เราคิดว่าอาการอาจจะเกิดอย่างนี้ เขาจะไม่มาแบบนั้น
ต้องหลบกันไปเพื่อเป็นการพิสูจน์ความจริง

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง บทพิสูจน์ของเทวดา
ไม่เฉพาะพุทธานุสสติอย่างเดียว จะเจริญกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็เหมือนกัน ถ้าอารมณ์เข้าถึงขั้นใกล้จะเป็นพระอริยเจ้า
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง
ท่านนั้นเคยปรารถนาพุทธภูมิมาก่อนจึงจะมี
ถ้าไม่ปรารถนาพุทธภูมิมา อย่าไปนั่งนึก เรียกก็ไม่มีมา
เทวดาไม่พิสูจน์ เพราะเด็กเดินป้อแป้ ชกเขาผิด
อาจจะหลบหลงไปตายก็ได้ ก็ต้องพิสูจน์กับคนที่มีความเข้มแข็งจริงๆ

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง เรื่องนี้เล่าสูกันฟัง
เป็นการตัดท้ายพุทธานุสสติกรรมฐาน เพื่อเป็นการป้องกันไว้
วิธีป้องกันก็คือว่า เราไม่กลัว
ก่อนภาวนาหรือพิจารณาคิดว่า "มันจะตายเวลานี้ก็เชิญ
ถ้าตายเวลานี้อย่างเลวเราไปสวรรค์ อย่างกลางไปพรหมโลก
อย่างสูงสุดเราไปนิพพาน อะไรจะเกิดขึ้นอย่างไรก็ตาม
เราไม่ยอมหวั่นไหว ไม่ยอมแพ้" เท่านี้ก็พอแล้ว


เอาละบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว
เวลาบอกตรงเป๋งเส้นดำพอดีเมื่อเวลานี้ ๓๐ นาทีแล้ว ขอหยุดก่อน
ขอสาวกขององค์สมเด็จพระชินวร คือ พระพุทธเจ้า
จงมีแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
และจงเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ
มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ
หากทุกท่านพึงประสงค์สิ่งใดก็ขอให้ได้สิ่งนั้น
สมความปราถนาจงทุกประการ สวัสดี...



ตอนที่ ๑๑ เปิดประตูให้พบทางสวรรค์ พรหมและพระนิพพาน

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ประตูไปสวรรค์ พรหม นิพพาน
สำหรับตอนนี้เป็น ตอนที่ ๑๑ เป็นเรื่องของการปฏิบัติตน
เพื่อทำตนให้พ้นนรก หรือว่า "หนีนรก"
การปฏิบัติตนเพื่อหนีนรก ก็ขอพูดย่อๆ ว่า

๑. อย่าลืมความตาย อย่าประมาท
จงอย่าคิดว่าความตายจะถึงเราในวันพรุ่งนี้
ให้คิดว่าเราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ

๒. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ให้แน่นอน

ถ้ามีอารมณ์ทั้ง ๒ ประการนี้ อาจจะหนีนรกได้เพียงแค่ชาติเดียว
ในชาติต่อไปยังไม่แน่นอนนัก ถ้าหวังความแน่นอนในการหนีนรก
ก็ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทให้ปฏิบัติใน "ธัมมานุสสติกรรมฐาน"
ให้ครบถ้วน แต่ว่าการยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าก็ดี
ยอมรับนับถือพระธรรมก็ดี ยอมรับนับถือพระอริยสงฆ์ก็ดี
ถ้าเรานับถือเฉยๆ แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน
พระธรรม ก็คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า
แล้วก็พระธรรมนี่พระสงฆ์นำมาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท
ถ้ายอมรับนับถือเป็นส่วนตัว ก็สามารถพ้นนรกได้แน่นอนชาตินี้
แต่ชาติต่อไปเราก็ไม่แน่ แล้วการที่จะคิดว่าชาติต่อไป
เราอาจจะเกิดเป็นคน เราจะยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า
หรือพระอริยสงฆ์ต่อไปนี่ไม่แน่นอนนัก


เพราะการเกิดแต่ละชาติ เราไม่ได้รับแต่ผลของความดีฝ่ายเดียว
เป็นการรับผลทั้งความดีและความชั่ว
จะเห็นว่าคนที่เกิดมาแล้วนี่ ไม่ใช่มีความสุขฝ่ายเดียว
อารมณ์ที่ทำให้เกิดเป็นทุกข์ก็มีอยู่
หรือไม่ได้มีแต่ความทุกข์อย่างเดียว อารมณ์ที่เป็นสุขก็มีอยู่
ขณะใดที่อารมณ์ความเป็นสุขเกิดขึ้น ขณะนั้นถือว่า รับผลของกุศลเก่า
คือบุญเก่าที่เราทำไว้แล้วในชาติก่อนๆ มาสนองเรา เราก็มีความสุข

ผลของทานเป็นปัจจัยให้ได้ลาภสักการะ
ผลของการรักษาศีลให้เกิดความสุขหลายๆ ประการ
ผลของการเจริญภาวนาและศึกษาธรรม เป็นเหตุให้เกิดปัญญามีความฉลาด
ถ้าผลของความทุกข์ ผลของปาณาติบาต ทำให้คนมีอายุสั้นพลันตาย

ผลของอทินนาทาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
ผลของกาเมสุมิจฉาจาร ทำให้ลูกหรือบุคคลในปกครอง
ว่ายากสอนยาก ไม่อยู่ในโอวาท แนะนำอย่างไรก็ไม่เชื่อฟัง

ผลของมุสาวาท เกิดมาชาตินี้ในระหว่างนั้นให้ผล พูดดีเท่าไร ก็ไม่มีคนอยากรับฟัง

ผลของการดื่มสุราเมรัย ทำให้เป็นโรคปวดศีรษะไม่หาย
หรือเป็นโรคเส้นประสาทหรือว่าเป็นโรคบ้า

ทั้งหมดตามที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นผลจากความดี
หรือความชั่วในชาติก่อน ที่ยังตามมาสนองเรา

ถ้าบังเอิญเกิดในชาตินั้นยามจะตาย ผลของอกุศลก็ครอบงำจิตพอดี
เราก็ลืมพระพุทธเจ้า ลืมพระอริยสงฆ์ ทั้งนี้เพราะความมั่นคงของจิตไม่มี
ถ้าความมั่นคงของจิตมีต้องปฏิบัติในธรรม
ให้ธรรมทรงตัวทรงใจ หมายความว่า การจะพูดก็ดี การจะทำก็ดี
การจะคิดก็ดี อยู่ในขอบเขตของพระธรรม
เพราะว่า พระธรรมนั้นพระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราปฏิบัติ
ในด้านของความดี และก็พระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็สอนให้เราปฏิบัติในด้านของความดี
และก็พระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สอน
ก็ทรงสอนไว้ถึง ๘๔,๐๐๐ หัวข้อ เราจะปฏิบัติกันอย่างไรได้หมด
อันนี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท
อาจจะเป็นเครื่องอัดอั้นตันใจ สำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
เพราะว่าถ้าพูดถึงพระธรรมแล้ว ไม่รู้จะเอาตรงไหนดี ก็เอากันอย่างนี้ก็แล้วกัน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระธรรมวินัยที่พระองค์ตรัสไว้แล้วหลายหมื่นหัวข้อ
ถึง ๘๔,๐๐๐ หัวข้อ ท่านบอกว่าให้เลือกปฏิบัติตามที่เราเห็นสมควร
ที่พอจะปฏิบัติได้ เพราะการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มากๆ
ก็ทราบว่า อัธยาศัยของคนไม่เสมอกัน กำลังใจของคนไม่เสมอกัน
อัธยาศัยต่างกันอย่างหนึ่ง กำลังใจต่างกันอย่างหนึ่ง
ก็มีความจำเป็นต้องตรัสไว้มาก เพื่อความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

เวลานี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
กำลังฟังเรื่องการปฏิบัติตน เพื่อให้พ้นนรก
คำว่า "นรก" ก็หมายถึงเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
ต้องการจะหนีนรกกันแล้ว
เราก็ปฏิบัติกันอยู่ในขอบเขตของสังโยชน์ ๓ ประการ
ในเมื่อปฏิบัติอยู่ในขอบเขตของสังโยชน์ ๓ ประการ
ก็เอาพระธรรมวินัยที่อยู่ในขอบเขตของสังโยชน์ ๓ ประการ มาปฏิบัติ
ไม่ใช่ว่ากันดะไปทั้งหมด

พระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในขอบเขตของสังโยชน์ ๓ ประการ
ก็คือ "ศีลห้า และกรรมบถ ๑๐"
ถ้าการปฏิบัติศีลห้าครบถ้วน ก็ถือว่าได้ความดี
หนีนรกได้แบบหยาบๆ ชาตินี้มีความสุขน้อยไปหน่อย
ชาติหน้ามีความสุขแน่แต่ด้อยไปนิดหนึ่ง
กาลเวลาที่จะถึงนิพพานยังไกลอยู่


ฉะนั้น องค์สมเด็จพระบรมครูจึงได้ตรัสกรรมบถ ๑๐ ประการ
ให้ปฏิบัติอีกจุดหนึ่งถ้าปฏิบัติได้ในกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการด้วย
ในศีลห้าด้วยปฏิบัติครบถ้วน ตั้งแต่วันนี้ไปจนกว่าจะตาย
ความเป็นอยู่ในความเป็นมนุษย์นี่ ก็มีทุกข์ยาก
ส่วนใหญ่จะมีแต่ความสุข ความทุกข์มีบ้างแต่ไม่หนัก
ไม่ถึงกับเกิดความเร่าร้อนจุ้นจ้าน แต่ในด้านความสุขนี่มีมาก
ถ้าตายจากชาตินี้ไปแล้ว หากว่าไม่พบพระพุทธเจ้า
หรือพระอรหันต์ในสมัยที่เป็นเทวดาหรือพรหม
กลับมาเกิดเป็นคนอีกครั้งเดียวก็ไปนิพพาน

การที่จะปฏิบัติในศีลห้าก็ดี กรรมบถทั้ง ๑๐ ประการก็ดี
บรรดาท่านพุทธบริษัทก็ต้องมีหัวข้อขึ้นต้น
เพราะกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการนี้มีทั้งศีลและธรรม
ศีลห้า นี่ก็มีทั้งศีลและธรรมเหมือนกัน
แต่ฝ่ายธรรมะนี่คดๆ อยู่ข้างในมองไม่ค่อยเห็น
ถ้าไม่ใช่ปัญญาแล้วก็มองไม่เห็น
ถ้าใช้ปัญญาก็จะมองเห็น แต่ว่าปัญญาจะใช้ต้องใช้ให้ถูกต้อง
ถ้าใช้ไม่ถูกต้อง ก็ไม่เห็นเหมือนกัน

เป็นอันว่าเห็นหรือไม่เห็นก็ยังไม่ต้องพูดกัน มาว่ากันถึงว่า
หัวข้อคือบทต้น เรียกว่า "หน้าปก" ถือเอาหน้าปกก็แล้วกัน
ก่อนที่จะเข้าถึงศีล ก่อนที่จะเข้าถึงกรรมบถ ทั้ง ๑๐ ประการ
นี่ว่ากันเฉพาะฆราวาสนะ ถ้าพระหรือเณรมีศีลแค่ ๕
หรือมีกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการครบถ้วน ก็ไม่แคล้วอบายภูมิ
เพราะว่าสิกขาบทที่จะต้องปฏิบัติมากกว่านี้
สำหรับพระหรือเณรให้ปฏิบัติในสิขาบทของท่านด้วย
แล้วก็ต้องมีกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการครบถ้วนด้วย
เท่าที่เคยเห็นมาบางทีท่านก็เผลอๆ เหมือนกัน
บางท่านก็เผลอในศีล ๕ บางท่านก็เผลอในกรรมบถ ๑๐
หากว่าท่านผู้ใดเผลอในศีลห้าก็ดี เผลอในกรรมบถ ๑๐ ก็ดี
พระหรือเณรท่านนั้นโอกาสที่จะขึ้นสู่สวรรค์ไม่มีเลย
ทางที่จะไปก็มีทางเดียว คืออบายภูมิ มีนรกเป็นต้น

ขอประทานอภัยเถอะครับ ผมพูดเรื่องนรกอยู่เรื่อยๆ
ก็มีข่าวเข้ามาว่า พระสงฆ์ซึ่งเป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส
เป็นลูกของพระพุทธเจ้าหรือว่าสาวกของพระพุทธเจ้านั้นเองในปัจจุบัน
บางท่านๆ โกรธ ท่านบอกว่า
"อะไรก็นรกๆ คนที่เกิดมาก็เลยไม่ต้องไปสวรรค์กัน"

ก็ขอตอบเสียในที่นี้ว่า "คนที่เขาไปสวรรค์นะมีมากนะครับ
คนที่ไปพรหมก็มีมากและปัจจุบันคนที่จะไปนิพพานก็มีมาก
ที่ว่าจะต้องตกนรกกัน เพราะว่าท่านลืมทางไปสวรรค์
ลืมทางไปพรหมโลก ลืมทางไปนิพพาน"


ตอนนี้ก็จะขอเปิดประตูให้พบทางไปสวรรค์ ทางไปพรหมโลก
พบทางไปนิพพานซะก่อน เรื่องพระไม่อธิบาย
สำหรับพระสำหรับเณรนี่ปฏิบัติอย่างไรไม่อธิบายให้ฟัง
เพราะท่านเป็นปูชนียบุคคล เป็นบุคคลที่ชาวบ้านต้องไหว้
ต้องบูชาอยู่แล้ว ก็ต้องยอมรับนับถือว่า
ทุกท่านคงปฏิบัติความดีครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่ต้องอธิบายกัน
ก็มาพูดกับฆราวาส เพราะฆราวาสมีเวลาน้อยในการที่จะปฏิบัติความดี
เพราะต้องทำมาหากิน ไม่เหมือนกับพระกับเณร
ต้องอาศัยชาวบ้านเลี้ยงชีวิต จิตที่คิดในด้านของความดีมีมาก
มาพูดถึงชาวบ้านชาวเมืองกันดีกว่า

"ฆราวาส" ประตูที่จะเปิดเข้าสู่ทางสวรรค์ หรือทางพรหมโลก
ทางนิพพาน หรือว่าประตู ที่จะเข้าถึงศีลและธรรม
มีศีลห้า และกรรมบถ ๑๐ เป็นต้น และเขาก็ใช้ประตู ๒ บาน

บานที่ ๑ เรียกว่า "หิริ" คือความละอายต่อความชั่ว
บานที่ ๒ เรียกว่า "โอตตัปปะ" คือเกรงกลัวผลของความชั่ว

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ขอบรรดาท่านพุทธบริษัท
โปรดทราบว่า ประตูจริงๆ น่ะมี ๒ บาน
ที่จะเข้าถึงศีลกับธรรม บานที่ ๑ เรียกว่า "หิริ"
คือ ความละอายต่อความชั่ว หรือความละอายต่อบาปอกุศล
คือ บาปอกุศลนี่ ถ้าเราไม่อายมันก็โผล่หน้าเข้ามาถึงเรา
ในเมื่ออายแล้วก็พยายามหลบบาป หลบอกุศล
"อกุศล" นี่แปลว่า ไม่ฉลาด
"บาป" นั่นแปลว่าความชั่ว คือ หลบความชั่ว
หลบความโง่ ไม่ฉลาด ก็คือ โง่
"โอตตัปปะ" เกรงกลัวผลของความโง่
หรือเกรงกลัวผลของความชั่ว จะให้ผลเป็นทุกข์
เพราะความโง่ก็ดี ความชั่วก็ดีนำเราไปสู่อบายภูมิแน่นอน
นั่นคือว่า นำไปไหน นำไปนรกบ้าง
เบามาหน่อยก็นำไปเป็นเปรต เบามาหน่อยก็นำไปอสุรกาย
เบามาอีกนิดก็นำไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
เบากว่านั้นหน่อยก็เกิดเป็นคนที่หาความสมบูรณ์แบบไม่ได้

ก็เป็นอันว่าท่านทั้งหลาย ทุกท่านอันดับแรกตั้งกำลังใจไว้ว่า
นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะเป็นคนขี้อาย
เราจะเป็นคนกลับอายความชั่ว กลัวความชั่ว
แล้วก็ความชั่วที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระพุทธศาสนานี่มีมาก
อายหมวดไหนกันก่อน

อันดับแรก อายการละเมิดศีลห้า
อันดับที่ ๒ อายการละเมิดกรรมบถ ๑๐

และอันดับต่อไปก็กลัวผลของการละเมิดศีลห้า
กลัวผลของการละเมิดกรรมบถ ๑๐ จะให้ผลสนองเรา
เพราะการละเมิดศีลก็ดี การละเมิดกรรมบถ ๑๐ ก็ดีมีผลในชาติปัจจุบัน
นั่นหมายความว่า จะสร้างความทุกข์ให้เกิดแก่เราอย่างหนัก
แต่ว่าถ้าเราอายได้ เรากลัวได้ เราก็สามารถจะดึงเอาศีลห้าก็ดี
กรรมบถ ๑๐ ก็ดี มาไว้กับเรา ตอนนี้เราจะพบกับความสุขอย่างมหันต์
อย่างที่ท่านทั้งหลายจะไม่เคยมาในกาลก่อน
ชาตินี้มีความสุขหนักและชาติหน้าก็มีความสุขอย่างหนัก
และทุกๆ ชาติเราจะมีความทุกข์เล็กน้อยแต่มีความสุขมาก
ชื่อว่าทุกข์ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกายสัตว์เดรัจฉานไม่มีต่อไปอีก


ศีลห้า มีอะไรบ้าง ?

ข้อ ๑ ปาณาติบาต
พระพุทธเจ้าบอกว่า ทรงให้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต
ทางที่ก็เว้นจากการทรมานสัตว์เสียด้วย

ข้อ ๒ อทินนาทาน
ไม่ถือเอาทรัพย์สินที่บุคคลอื่นไม่ให้มาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม

ข้อ ๓ กาเมสุมิจฉาจาร
ให้เว้นจากการละเมิดความรัก คือ เป็นสามีและภรรยาของบุคคลอื่น
ยินดีเฉพาะสามีและภรรยาของตนเอง

ข้อ ๔ เว้นจาการมุสาวาท
คือ การไม่พูดให้ตรงตามความเป็นจริง
เป็นการทำลายประโยชน์ของบุคคลผู้รับฟัง

ข้อ ๕ เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย
เพราะข้อนี้หนักมาก ถ้าเมาเมื่อไหร่แย่เมื่อนั้น จำอะไรไม่ได้
ดีไม่ดีเห็นว่าพ่อเป็นเพื่อนไปอีก แต่บางคนเห็นว่าพ่อเป็นฟุตบอลไป
ก็มีเตะพ่อตีแม่ อย่างนี้ก็มี

เป็นอันว่าศีลทั้ง ๕ ประการมีตามนี้


ทีนี้ต่อไปก็มาพูดกันถึงกรรมบถ ๑๐

กรรมบถ ๑๐ นี่จริงๆ ก็เหมือนกับศีลห้า อยู่มาก
แตกต่างกันอยู่นิดหน่อยเท่านั้นเอง กรรมบถ ๑๐ ก็คือ

ข้อที่ ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์

ข้อที่ ๒. เว้นจาการลักทรัพย์ (เหมือนศีลห้า)

ข้อที่ ๓. เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
คือ เป็นชู้กับสามีภรรยาเขา (นี่สำหรับทางกาย ทางกายคือ
ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม)

ทางวาจา ท่านจัดไว้ ๔ ศีลห้าจัดไว้แค่ ๑
ทางกายเหมือนศีลห้าเปี๊ยบ ไม่ต่างกันเลย แต่ทางวาจาท่านจัดไว้ ๔

๑. "ไม่พูดปด" นี่คือ ศีลห้า ห้ามแค่นี้
กรรมบถ ๑๐ ห้ามต่อไป "ไม่พูดคำหยาบ"
และก็ "ไม่พูดวาจาส่อเสียด ยุยงเส่งเสริมให้เขาแตกร้าวกัน"
และก็ "ไม่พูดวาจาที่ไร้ประโยชน์"
มี ๔ ด้านจิตใจนี่ศีลห้า ไม่ได้บอกไว้
แต่ว่ากรรมบถ ๑๐ บอกไว้ว่าจิตใจ คือ

๑. จงอย่าอยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นใดมาเป็นของตน
คือ ไม่ขโมยด้วย และก็ไม่นึกด้วย
ศีลห้านี่ไม่ได้ขโมย แต่นึกอยากได้นี่ ไม่ผิด
กรรมบถ ๑๐ ไม่ขโมย แต่นึกอยากได้ ผิด

ต่อไปข้อที่ ๒ ของจิตใจความรู้สึกนึกคิด นั่นก็คือ
ไม่พยาบาทจองล้างจองผลาญใคร คือ ไม่จองเวรจองกรรมใคร
โกรธน่ะโกรธ แต่ทว่าโกรธแล้วก็หายไป
ต่อไปก็ไม่จองล้างจองผลาญใคร

แล้วข้อที่ ๓ ด้านจิตใจ มีความเห็นตรงตามคำสั่งสอน
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ไม่ขัดคอพระพุทธเจ้า
พูดกันง่ายๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตายแล้วเกิด
เราก็เชื่อว่าตายแล้วเกิด ไม่ใช่ตายแล้วสูญ อย่างนี้เป็นต้น
และสวรรค์มีจริง พรหมโลกมีจริง นิพพานมีจริง เราก็ไม่เถียง
เรายอมรับนับถือด้วยปัญญา
ถ้าทำบาปอกุศลก็ไปเกิดเป็นสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง
อสุรกายบ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง อันนี้เราก็ไม่เถียง
ยอมรับและการปฏิบัติอย่างไรจะให้พ้นจากความทุกข์
เสวยแต่ความสุข อันนี้เราก็ปฏิบัติตามอย่างนี้เรียกว่า "สัมมาทิฏฐิ"
มีความเห็นชอบ เป็นข้อที่ ๓ ของกรรมบถ ๑๐ ก็จะไม่พูดย้ำมาก

ต่อมาก็หันมาดูศีลข้อที่ ๑ ศีล ก็คือ กรรมบถ ๑๐ ก็ดี
จะอธิบายควบกันไป ถ้าแยกกันนี่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
มันจะยึดยาดมากเกินไป คือว่า อันนี้เวลานี้เราเข้ามาปฏิบัติ
ในข้อที่ว่า "วิจิกิจฉา" ข้อที่ ๒ ของสังโยชน์
(ขอนำเอาข้อที่ ๓ มาพูดรวมกัน)
ข้อที่ ๒ บอกว่า ไม่สงสัยในพระธรรมคำสั่งสอน
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยอมปฏิบัติตาม
ทีนี้พระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
"คำสั่ง" ก็คือ วินัย "คำสอน" ก็ได้แก่สาธารณะ
"คำสั่ง" หมายถึง ห้ามหรือเตือนว่า จงอย่าทำ จงเว้น
"คำสอน" หมายความว่า จงทำตามนี้ จงปฏิบัติตามนี้
จะมีความสุข (ขอนำมารวมกันกับข้อวิจิกิจฉา)
คือ ความสงสัยในสังโยชน์ข้อที่ ๒
เอาสีลัพพตปรามาสมารวมกันเลย ถ้าไม่รวมกันแล้วยุ่ง
ท่านก็ฟังกันยืดยาด ดีไม่ดีฟังกันเดือนก็ไม่จบ)

ก็รวมความว่า เวลานี้เรายอมรับนับถือในพระธรรม
ได้แก่ "หิริ" และ "โอตตัปปะ" นี่เป็นอันว่า ไม่ฝืน
อาย อายความชั่ว เกรงกลัวผลของความชั่ว
ไม่สงสัยในพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถ้าเราอาย เรากลัว ไม่มีจุดปฏิบัติ เราก็ท้อใจมาเริ่มปฏิบัติเริ่มแรก
เอากันในเรื่องของศีล สำหรับศีลนี่ข้อไหนเหมือนกับกรรมบถ
จะบอกว่าเหมือนกัน ข้อไหนที่แยกกันเป็นกรรมบถ
โดยเฉพาะจะบอกว่านี่แยกกัน
เพื่อสะดวกแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท


สำหรับศีลข้อที่ ๑ พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"จงอย่าฆ่าสัตว์ ทำลายชีวิตสัตว์" ที่เป็นให้ถึงกับตาย
แต่ว่าถ้านักปฏิบัติจริงๆ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ควรจะตั้งใจเสริมไว้สักนิดหนึ่ง
พระพุทธเจ้าคงไม่ว่า คือ เราไม่ฆ่าสัตว์ด้วย
ไม่ทำร้ายร่างกายของสัตว์ด้วย จะดีมาก
จะเรียกว่าจะทำร้ายหนักหรือเบาก็ตามที
ถ้าไม่มีความจำเป็นจงอย่าทำที่คำว่า "จำเป็น"
เพราะว่าเรายังเป็นปุถุชนคนที่ยังหนาแน่นไปด้วยกิเลส
ฉะนั้นญาติโยมพุทธบริษัท จงอย่าคิดว่า
อาตมาพูดถึงเฉพาะพวกท่านที่รับฟังนะ
เนื้อแท้จริงๆ อาตมาพาดพิงถึงอาตมาด้วย
เราต่างคนต่างก็ยังมีกิเลสด้วยกัน ของใครจะมากกว่ากัน
ของใครจะน้อยกว่ากันอันนั้นไม่ต้องวัด
ใครจะหนักด้านไหน ใครจะเบาด้านไหนก็ไม่ต้องวัด

คำว่า "กิเลส" เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต
ถ้าพูดกันตามภาษาไทยชัดๆ คือ ความสกปรกของจิต
จิตที่ชอบรู้สึกหรือนึกคิดในด้านของความสกปรกโสมม
ในด้านของความชั่ว ไอ้ความชั่วนี่ก็สกปกรก อย่างนี้เราเรียกว่า "มีกิเลส"
ท่านพุทธบริษัททั้งหลายก็ต้องยอมรับความจริงกัน
อาตมาก็ยอมรับความจริงว่า
จิตของอาตมาอาจจะสกปรกกว่าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทก็ได้
อันนี้รู้ไม่ได้ ญาติโยมที่นั่งฟังนี่ก็ไม่แน่ใจ
ดีไม่ดีฟังอย่างนี้ กลายเป็นเอามะพร้าวไปขายสวนก็ได้

ที่บอกว่ากรรมบถ ๑๐ มีธรรมะแทรกชัดบ่งชัดออกมาเลย
แต่ว่าศีลห้า มีธรรมเหมือนกันแต่คุดอยู่ข้างใน

คนที่ไร้ปัญญามองไม่เห็นหรือว่าคนที่ปัญญาดื้อนิดๆ ก็มองไม่เห็น
ดื้อแล้วก็สอนไปเท่าไรๆ ก็ตาม
ขยับไปนิดๆ ขยับไปหาความขยัน
หรือขยับเข้าไปหาความฉลาดจริงๆ ไม่ค่อยจะไป
อันนี้มองไม่เห็นเหมือนกัน

ศีลข้อที่ ๑ นี่ถ้าจะมีได้บรรดาท่านพุทธบริษัท
ต้องมีธรรมะที่คุดอยู่ภายในเข้ามากระตุ้นเตือน
ธรรมะที่คุดอยู่ภายใน ก็คือ เมตตา ความรัก
กรุณา ความสงสาร


ธรรมะ ๒ ประการนี้อยู่ใน "พรหมวิหาร ๔"
คือ พรหมวิหาร ๔ น่ะมี
๑. เมตตา ความรัก
๒. กรุณา ความสงสาร
๓. มุทิตา มีจิตอ่อนโยน
ไม่อิจฉาริษยาใคร เห็นคนอื่นได้ดีพลอยยินดีด้วย
๔. อุเบกขา วางเฉย เห็นใครเพลี่ยงพล้ำ ไม่ซ้ำเติม
ตอนนี้เอากันอย่างย่อๆ อย่างง่ายๆ

เอาตามสิ่งที่มีความจำเป็น เพราะเรายังเป็นปุถุชนอยู่
ถ้ามากนักแล้วก็จะไปไม่ไหว
ก็เอากันว่าต้องมีธรรมะ ๒ ประการ เข้าควบคุมใจ
คือ เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร
แต่ความรักใน ที่นี้ไม่ได้หมายถึง ความรักในด้านกามารมณ์
อย่างผู้ชายรักผู้หญิง ผู้หญิงรักผู้ชาย อยากจะแต่งงานกัน
นั่นคนละเรื่องกับความรักแบบนี้
เป็นความรักด้านเมตตาปรานี เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
มีความรู้สึกว่า เรารักร้างกายของเราเพียงใด
คนอื่น หรือสัตว์อื่นก็รักร่างกายเพียงนั้น
เราสงสารร่างกายของเราเพียงใด
เราก็สงสารร่างการของคนอื่นเพียงนั้น

คำว่า "สงสาร" สงสารร่างกายของเรา
คือ ไม่อยากให้ใครมาฆ่าเรา ไม่อยากให้ใครมาทรมานเรา
การรักร่างกายของเรา เราก็ต้องการให้ร่างกายของเรา
มีความสุขมีความสมบูรณ์แบบทุกอย่าง
นั่นก็หมายความว่า ใครจะมาทำอะไรนิดๆ หน่อยๆ เราไม่ต้องการ
ขึ้นชื่อว่า ความบกพร่องในร่างกาย
ความบกพร่องในจิตใจ ไม่ต้องการให้มี
เพราะการกระทำของบุคคลอื่น
อย่างนี้เรียกว่า เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร

ถ้าอารมณ์ทั้ง ๒ ประการนี้มีประจำใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท
ศีลข้อที่ ๑ ทรงตัวได้แน่นอน ทั้งนี้เพราะอะไร ?
เพราะว่าคนที่รักกัน ฆ่ากันก็ไม่ได้ ทำร้ายร่างกายก็ไม่ได้
คือ ไม่มีใครฆ่ากัน เพราะเขารักกัน ทำร้ายร่างกายก็ไม่มี
คนที่มีความสงสารกัน จะหยิกก็สงสาร จะเอามีดฟันก็สงสาร
จะเอาปืนยิงก็สงสาร ในเมื่อความสงสารปรากฏแล้ว
บรรดาท่านพุทธบริษัทก็ทำร้ายร่างกายกันไม่ได้
ฆ่ากันไม่ได้เช่นเดียวกัน


รวมความว่า ศีลข้อที่ ๑ มีธรรมะสิงอยู่ภายใน
ไม่ใช่อยู่ๆ ก็จะปฏิบัติกันได้เฉยๆ
โดยไม่มีธรรมะเข้าเป็นเครื่องค้ำจุน

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ตอนที่ ๑๑ นี้
ก็ต้องหยุดแต่เพียงแค่นี้เพราะเวลาหมดแล้ว ก็ต้องขอลาก่อน
ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแต่บรรดาท่านพุทธศาสนิชนทุกท่าน สวัสดี...



ตอนที่ ๑๒ การปฏิบัติตนในศีลข้อที่ ๑

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย
ในระหว่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
กำลังฟังเรื่องราวแห่งการหนีบาป ตอนที่ ๑๒
การหนีบาปบรรดาท่านพุทธบริษัท
พระพุทธเจ้าให้ทุกคนปฏิบัติตัดสังโยชน์ ๒ ประการ คือ

๑. มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตาย
เราก็ไม่ประมาทในการปฏิบัติในด้านของความดี
คิดว่าถ้าจะตายชาตินี้ก็ไม่ขอไปอบายภูมิ คือมีนรกเป็นต้น
หรือแม้ว่าชาติไหนเราก็ไม่ไปทั้งหมด
องค์สมเด็จพระบรมสุคตทรงกำหนด
ให้ยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้า
ความดีของพระธรรม ความดีของพระอริยสงฆ์
อันนี้เป็นคำแนะนำในบรรดาท่านพุทธบริษัทให้ยอมรับนับถือ
นี่ไม่ได้ทรงบังคับเป็นแต่เพียงบอกว่า
ถ้าใครต้องการจะพ้นจากทุกข์ แดนทุกข์ทั้ง ๔ แดน
ก็ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
ใครจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้าม
และต่อไปนี้ให้ปฏิบัติในศีลห้า หรือกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ
ทุกคนจะมีการพ้นทุกข์
ก็แค่นี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัทนี่เป็นอันว่าทรงอารมณ์ไว้ตามนี้

สำหรับเรื่องราวที่จะพูดต่อไปถ้ารอพูดจบ
อธิบายให้จบมันนานมาก
ก็ต้องเอาหัวข้อมาชี้แจงกันก่อน ว่าปฏิบัติจริงๆ

๒. มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตาย และอาจจะตายวันนี้ได้เสมอ
เร่งรัดทำความดีคือ ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
มีศีลห้าหรือกรรมบถ ๑๐ ครบถ้วนบริบูรณ์

ถ้าเป็นอย่างนี้หลังจากชาตินี้ไปแล้ว
ถ้ามีความจำเป็นจะต้องเกิดอีกกี่ชาติ
ขอยืนยันว่าอบายภูมิทั้ง ๔ ไม่มีการเกิดแน่
การเกิดเป็นสัตว์นรกก็ดี เป็นเปรตก็ดี
เป็นอสูรกายก็ดี เป็นเดรัจฉานก็ดี
ไม่มีกับท่านแน่นอนจนกว่าจะเข้านิพพาน


ต่อไปนี้ก็มาขอต่อตอนที่ ๑๑ ตอนที่ ๑๑ บอกไว้แล้วว่า
การที่จะปฏิบัติในศีลข้อที่ ๑ ศีลที่มีธรรมะแทรกอยู่ภายใน
และคิดว่าบรรดาท่านนักปราชญ์ทั้งหลายทราบ
แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบ
ที่ทราบแล้วก็ขออภัยที่ต้องมาพูดให้รำคาญใจ
แต่ว่าที่ยังไม่ทราบก็โปรดรับฟังๆ
แล้วจะปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตาม
มีความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็เป็นสิทธิของท่าน
ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า

"อักขาตาโร ตถาคตา" ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกเท่านั้น
เมื่อบอกแล้วท่านจะปฏิบัติตามหรือไม่เป็นเรื่องของท่าน


อาตมาก็เช่นเดียวกันในฐานะที่เป็นสาวก
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารุ่นจิ๋ว
ความจริงจิ๋วเฉยๆ ไม่ถูก จึงเรียกว่ากระจิ๋วหลิว
คำว่า "กระจิ๋วหลิว" นี่เล็กที่สุดหรือว่ามีเลวที่สุดก็แล้วกัน
แต่บอกว่าเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารุ่นเลวที่สุด
แต่ว่ายังเกาะชายจีวรหวิดๆๆๆ ไล่เกาะชายจีวรของท่าน
หมายถึงว่า พระพุทธเจ้าไปไหนก็จะไปบ้าง
แต่ก็วิ่งกวดไม่ค่อยทัน ทั้งนี้เพราะอะไร?
เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านไปนิพพาน
ท่านไปแล้วอาตมาก็ยังกระต้วมกระเตี้ยมๆ อยู่เมืองมนุษย์
และเวลานี้เป็นมนุษย์หรือเป็นคนก็จำไม่ได้เหมือนกัน
ถ้าเวลาไหนสร้างความยุ่งยากให้แก่บุคคลอื่น
โดยเจตนาร้ายเวลานั้นเป็นคน
เวลาไหนทำ จิตใจให้แก่คนทั้งหลายมีความแช่มชื่น
สัตว์ทั้งหลายมีความแช่มชื่นเวลานั้นเป็นมนุษย์
เรื่องนี้พูดทิ้งไปเดี๋ยวจะเลอะเทอะ

มาพูดกันถึงศีลข้อที่ ๑ ที่ว่ามีธรรมะสิงอยู่ภายในก็คือ
"๒ ใน ๔ ของพรหมวิหาร ๔"
ได้แก่ เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร
ก็รวมความว่าถ้าเรามีความรัก คนที่รักกันนะฆ่ากันไม่ได้แน่
หรือคนที่กำลังสงสารกันอยู่ก็ฆ่ากันไม่ได้แน่ อันนี้ไม่ต้องอธิบายมาก
จะบอกว่าผมเคยฆ่าคนที่ผมกำลังรัก กำลังสงสารอันนี้ไม่จริง
อย่างบอกว่า มีความจำเป็นมันอดมันอยากมากต้องฆ่าลูก
ทั้งๆ ที่กำลังน่ารักอยู่ หรือต้องฆ่าลูกทั้งๆ ที่กำลังสงสารอยู่
อันนี้ไม่มีเทวดาที่ไหนเขาเชื่อ
ถ้ารักกันจริงสงสารกันจริงก็ต้องไม่ฆ่ากัน ไม่ทำร้ายร่างกายกัน
วิธีอื่นที่ดีกว่านั้นถมไป เมื่อมันไม่มีจะกินจริงๆ อดก็ต้องยอมอด


และบรรดาท่านพุทธบริษัทมีใครบ้างไหมญาติโยมที่นั่งอยู่ที่นี่
ที่กำลังนึกในใจว่าจะร้องตะโกนขึ้นมาว่า
"ท่านเป็นคนไม่เคยอด ไม่รู้ชีวิตจิตใจของคนที่อดอยาก"
ถ้าญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายตะโกนมาอย่างนี้จริงๆ
อาตมาก็จะตะโกนตอบไปว่า อาตมานี่เคยอดขนาดหนักมาแล้ว
ขนาดไม่ใช่มีกินมื้ออดมื้อ ไม่ใช่อย่างนั้น
ในขั้นถึงกับ ๑๐ วันเศษๆ ไม่เจอะเม็ดข้าวเลย
ข้าวสุกหรือว่าข้าวเหนียวก็ตาม ไม่เคยเห็นแม้แต่เม็ดข้าว
หรือถ้าถามว่ากับข้าว กับข้าวต่างๆ ที่บริโภคกัน
อย่างน้ำพริกปลาร้านี่ เอาเป็นว่าอย่างต่ำที่สุดที่เขาว่าต่ำนะ
สมัยนั้นอาตมามันไม่ค่อยจะมีกิน ถือว่าน้ำพริกปลาร้านี่สูงที่สุด
ขนาด น้ำปลาจริงๆ ยังไม่มีสตางค์จะซื้อ ต้องทำน้ำปลากินเอง
ไอ้การทำน้ำปลากินเองนี่ก็หมายความว่า
เวลานั้นที่มันมีความอุดมสมบูรณ์เกิดขึ้นแล้ว
ยามที่อดจริงๆ เครื่องปรุงน้ำปลากินเองก็ไม่สามารถจะทำได้
ต้องเอาเกลือมาละลายแทนน้ำปลา
บางคราวอดขนาดไม่มีเกลือจะละลายน้ำ มันตกถึงยามคับแค้นจริงๆ

บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง ถึงอย่างนั้นถ้าถามว่ากินอะไร ?
ถึงแม้ว่าลำบากยากแค้นอย่างนั้น
ก็ยังไม่เคยคิดฆ่าบุคคลที่ติดตาม คือ ไปด้วยกันหลายคน
เรามีอำนาจสูงกว่า เรามีกำลังมากกว่า
ถ้าจะฆ่ากินเนื้อเสียเมื่อไหร่ก็ได้
หรือว่าจะฆ่าเพื่อบรรเทาทุกข์เรื่องอาหาร
เพราะว่าอาหารที่พึงจะหามาได้
แต่ราคามันแสนยาก ก็หามาได้น้อย ต้องแบ่งกันกิน
เขาเรียกว่าต้องกินเมื่อได้มาแล้วนะ
กินแค่ฝาลิ้น ฝาหม้อ ถ้านับกันจริงๆ ก็ได้ไม่กี่ช้อน
เอามาต้มกินใช้น้ำให้มาก หาของที่มีความเค็มนิดๆ เอามากินผสมกัน
แล้วก็ไปหาผักมา ไอ้ผักหญ้าทั้งหลายสมัยก่อนมันหาง่าย
ประเทศไทยเมื่อสมัยอาตมายังไม่บวช ยังหนุ่มอยู่หาง่ายมาก
ผักหญ้าที่ไหนก็มี เวลานี้มองแล้วมีเจ้าของไปหมด
เพราะหยิบเฉยๆ ไม่ได้ เอามาถึงแล้วก็ทำยังไง
เอาน้ำตั้งให้เดือดต้มรสอร่อยไม่ต้องถามกัน
กินส่งเดชให้ยังชีวิตให้ทรงตัว อาตมาเคยอดมาแล้ว
อดขนาดนี้แล้วอดหลายครั้งหลายคราวด้วย
บางครั้งก็ระยะยาวๆ ก็ยังอาศัยที่ยังมี เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร
แต่เวลานั้นยังไม่เคยคิดว่าจะฆ่าคนที่ติดตามไป
เพื่อบรรเทาการเปลืองอาหารเลย
ข้อนี้เป็นข้อยืนยันว่า
คนที่อดจริงๆ แต่มีความรักเมตตาในลูกหลานก็ไม่มีใครเขาฆ่า

ถ้าญาติโยมที่ยังฟังอยู่ ที่กำลังคิดจะเถียงก็โปรดทราบไว้ด้วยว่า
อาตมาเคยอดมาแล้ว แต่อาศัยธรรมะทั้ง ๒ ประการนี้บังเอิญมีในใจ
และถามว่าเวลานั้นบังเอิญสัตว์ตัวใดตัวหนึ่ง
อย่างเป็นไก่ป่าก็ดี เก้งก็ดี ละมั่งก็ดี
เนื้อสมันก็ดี และกวางก็ดี อะไรเป็นต้น
ถ้าเดินมาจะยิงไหม ความจริงไม่ต้องถามแล้ว
เห็นอยู่ทุกวัน แต่ไม่กล้ายิง ลูกน้องจะยิงก็บอกว่า อย่ายิงเลย
สัตว์กับเราก็มีความรู้สึกเหมือนกัน เวลานี้เราอดเราก็มีความทุกข์
ถ้าบังเอิญเสือเดินมาจะกินเรา เราจะเห็นชอบด้วยไหม ?
เพราะเสือก็หิว เสือก็ไปเดินหาอาหารจะกิน (เสือหิวเหมือนกัน)
เห็นเราเข้าเป็นอาหารที่โอชะกินเรา เราจะชอบไหม?
ทุกคนตอบว่า "ไม่ชอบ"
จึงได้แต่บอกว่าพวกเก้ง ละมั่ง พวกนี้ก็เช่นเดียวกัน
เนื้อสมันที่เราเห็น แกก็กำลังไปหากิน
แกก็กำลังหิวอยู่ ในเมื่อเราให้ความหิวเป็นเจ้าหัวใจ
ยิงสัตว์พวกนี้ตาย สัตว์พวกนี้อาจจะมีผัว มีเมียอยู่
ผัวเมียจะคอยอยู่ที่รังหรือมีลูกน้อยๆ ที่กำลังเลี้ยงดูอยู่
อาศัยพ่อ อาศัยแม่นำอาหารไปให้
เธอจะต้องพลอยลำบากจะต้องพลอยตายไปด้วย เราจะเห็นชอบไหม ?
ถ้าเราเป็นอย่างนี้ทุกคนก็เห็นชอบว่า ไม่ควรทำ

นี่รวมความว่า คนที่มีเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร
นี่ทำไม่ได้แน่ บรรดาท่านพุทธบริษัท ในเมื่อเราทรงศีลข้อที่ ๑ ได้
และพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า

"สีเลนะ สุคติง ยันติ" คนที่รักษาศีลบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ชาตินี้ก็มีความสุข ชาติต่อไปก็มีความสุข

สำหรับชาติต่อไปยังไม่พูดกัน พูดกันชาตินี้ก่อนดีกว่า
บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
(เรื่องเสียงสำนวนที่ ขอประทานท่านพุทธบริษัท
กำลังพูดอยู่นี่ยังป่วยอยู่มาก เป็นวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๘
อาการป่วยอย่างหนัก แต่วาระมันถึงต้องพูด
ถ้าไปคอยหายคงจะไม่ได้พูด อาจจะตายเสียก่อนก็ได้
เมื่อหน้าที่มีก็ทำๆ เพื่อความเข้าใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท)

สำหรับอานิสงส์ศีลข้อที่ ๑ ในชาติปัจจุบัน

เราไม่ฆ่าสัตว์ คำว่า "สัตว์" นี่หมายถึงทั้งคนและสัตว์เดรัจฉาน
ไม่ใช่หมายเอาเฉพาะสัตว์เดรัจฉานอย่างเดียว
คนก็เรียกสัตว์ "สัตว์มนุษย์" นอกจากสัตว์มนุษย์ก็เป็นสัตว์เดรัจฉาน
เราไม่ฆ่าเพราะความรัก เราไม่ฆ่าเพราะความสงสาร
เราก็ไม่ทำร้ายร่างกายเพราะความสงสาร
ในเมื่อเรามีความรักและมีความสงสาร
บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
สังเกตท่านเองก็แล้วกัน ขณะที่ท่านพบคนที่ท่านรัก
หรือว่าพบคนที่ท่านสงสารหน้าตาของท่านจะเป็นอย่างไร ?
จิตใจของท่านจะมีความรู้สึกอย่างไร ?
มันจะแช่มชื่นดีหรือว่าหน้าบึ้งตึงขึงจอ หรือยิ้มแย้มแจ่มใส
หรือหน้ากลายเป็นจวัก ลองวาดภาพดูซิ

รวมความว่าคนเราถ้าพบคนที่เรารักหรือคนที่เราสงสาร
จิตใจเราจะชุ่มชื่นพบคนที่รัก
แต่ความจริงคนที่เรารักไม่ทันจะเห็นหน้า
เพียงแต่คิดถึงชื่อเธอเท่านั้นแหละ
หรือนึกถึงจริยาของเธอที่แสดงออก
จิตใจก็สบายแล้ว เมื่อจิตใจสบายหน้าตาที่แสดงออก
ก็เป็นหน้าตาที่สบาย หรือหน้าตาที่มีความยินดีรื่นเริงหรรษา
ก็เป็นหน้าที่มีความอิ่มเอิบ เต็มไปด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส
แสดงถึงอาการสดชื่น เมื่ออาการอย่างนี้ปรกฏขึ้น
ทุกท่านลองวาดภาพของตัวเองว่า
ท่านเองนะถ้าเผอิญไปเจอะใครเขาแสดงออกอาการอย่างนั้นเข้า
ท่านจะปีติมีความอิ่มใจ ดีใจ ชื่นใจ
จิตใจสดใสหรือว่าเสียใจ มีใจหดหู่
ในเมื่อเขายิ้มให้เรา เราก็ชื่นใจ
ดีไม่ดีบางคน คนที่เราเกลียดน้ำหน้า
ไอ้คำเกลียดน้ำหน้า น้ำหน้ามันมีตรงไหน ที่มีน้ำตา
ที่เราเกลียดเขาก็แล้วกัน
พอเดินผ่านไปเขายิ้มให้เราก็ยังยิ้มรับ
อย่างน้อยที่สุดเวลานั้นเราก็หายเกลียดไปนิดหนึ่ง
เมื่อท่านยิ้มผ่านไปแล้ว เราอาจจะเกลียดใหม่ก็ยังได้
ถ้าเจอะหน้าเมื่อไรเราก็ลืมเกลียดไปทุกๆ ครั้ง
ถ้าเผอิญเขายิ้มให้บ่อยๆ ไอ้อาการที่หยุดเกลียดทุกๆ ครั้ง
ที่เราเห็นเขายิ้มมันก็จะค่อยๆ หายไปในที่สุด
ต่างคนต่างก็มีความสดชื่น
นี่เพราะอาการยิ้ม เราไม่ดีใจ เราไม่ชื่นใจ
ใจเฉยๆ เราก็ยิ้ม ต่อไปก็ฝึก เราไม่พอใจเราก็ยิ้ม

ถามว่า "ยิ้มหรือหัวเราะมีประโยชน์อย่างไร ?"

ก็ต้องตอบว่า "ทำให้สร้างความสดชื่นให้เกิดกับใจ"

ถ้าจะถามว่า "คนนั้นเกลียดอยู่นี่ เห็นหน้าก็เกลียด
เรายิ้มให้เราจะชื่นใจแบบไหน"

ก็ต้องตอบว่า "ต้องพยายามฝืนยิ้มไว้ก่อน
ตั้งใจฝืนยิ้มไว้ หักใจว่าเกลียดแสนเกลียด
โกรธแสนโกรธ เพื่อเป็นการรักษากำลังใจหัดยิ้มไว้หน่อยๆ
พอยิ้มมายิ้มไป ยิ้มไปยิ้มมาแบบนี้ไม่ช้า
ตัวเมตตากรุณาก็เกิดขึ้น
ตัวธรรมะก็เกิดขึ้นในใจโดยไม่รู้สึกตัว
อย่างนี้มีความมั่นคงมาก
หนักๆ เข้าก็จะกลายเป็นยิ้มจริงๆ
จะต้องใช้เวลาเป็นแรมปีก็ช่างเถอะ
ให้ยิ้มจริงมันโผล่เข้ามาได้อารมณ์ใจก็เป็นสุข"

เป็นอันว่า ในเมื่อเรากลายเป็นคนใจดี
มี เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร
ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่าน
เราก็กลายเป็นคนที่ไม่มีใครเกลียด
แต่คนที่จะเกลียดเรานี่ ห้ามไม่ได้แน่นะ
คำว่า "ไม่มีใครเกลียด" นี่อาตมาพูดไปตามตำรามากเกินไป
ขอพูดความเป็นจริงว่าคนที่เกลียดเราจะน้อยลงไปดีกว่า

ตามธรรมดาท่านบอกว่า "เราเมตตาท่าน ท่านก็เมตตาเรา"
หรือพูดภาษาไทยว่า "เรารักท่าน ท่านก็รักเรา
เราสงสารท่าน ท่านก็สงสารเรา"

นี่ตำราว่าอย่างนั้นนะ ตำรานี่คงไม่ใช่ของพระพุทธเจ้าแท้
เป็นคำอธิบายของคนภายหลัง แต่ของพระพุทธเจ้าแท้ท่านก็บอกว่า

"เวลาที่เราจะแผ่เมตตาความรักไปถึงบุคคลอื่นหรือสัตว์อื่น
อันดับแรกต้องเว้นคนที่เป็นศัตรูก่อน
เพราะถ้าไปนึกถึงคนที่เป็นศัตรูเข้า ไอ้ตัวเมตตามันจะหายไป
เลยกลายเป็นการอาฆาตมาดร้าย จองล้างจองผลาญโกรธขึ้นมามันจะไม่ดี"
นี่ตำราขององค์สมเด็จพระชินสีห์บอกว่า
"ถ้ากำลังใจยังอ่อน อย่าเพิ่งนึกถึงคนที่เป็นศัตรูกับเรา
ให้มีจิตเมตตากับคนและสัตว์ที่ไม่เป็นศัตรูกับเราก่อน
ต่อไปถ้ามีกำลังใจแก่กล้าถึงขั้นพระโสดาบัน
การเมตตากับศัตรูเริ่มมีขึ้นและก็สดชื่น
ถ้าถึงสกิทาคามีความสดชื่นยิ่งมีมากขึ้น
เห็นหน้าศัตรูมีความรู้สึกว่าเพื่อน คือไม่มีการหนักใจ
ถ้าถึงอนาคามีแล้วไซร้ไม่มีความรู้สึกว่าใครเป็นศัตรูเลย"

ความจริงก็รู้ว่าเขาเป็นศัตรูแต่จิตใจที่เป็นศัตรูกับใครน่ะ
ไม่มีแต่นี่ตามขั้นของบุคคล นี่เรามาพูดกันถึงว่าคนที่ยังเป็นปุถุชน
ยังหนาแน่นไปด้วยกิเลส ค่อยๆ ทำค่อยๆ ไป ต้องฝืนกำลังใจ


อันดับแรก เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร
มันเกิดขึ้นในใจก็จริงแหล่ แต่ทว่าเฉพาะคนที่ไม่เป็นศัตรูกับเรา
คนที่เคยเป็นศัตรูกับเราพยายามฝืนยิ้มให้ เอาปากเมตตา เอาตาเมตตา
ตามองในฐานะเป็นมิตร จิตอาจจะคิดเป็นศัตรูก็ได้
แต่ปากยิ้มปากก็เป็นมิตรเวลาพูดก็พูดดี
ยิ้มแย้มแจ่มใส ตาก็มองรู้สึกคล้ายๆ เป็นมิตร
แต่จิตคิดเป็นศัตรูก็ช่างมัน มันยังอยู่ข้างใน ให้หน้าฉากดีไว้ก่อน
ต่อไปถ้ายิ้มบ่อยๆ แสดงอาการความเป็นมิตรบ่อยๆ
ใจก็จะพลอยสลายตัวไปด้วยในความโกรธ
อาการที่เป็นศัตรูก็ค่อยๆ สลายไป
กลายเป็นว่า เราเห็นคนทุกคนกลายเป็นมิตร
คิดรักเขา คิดสงสารเขา เห็นคนและสัตว์มีสภาพเหมือนกัน
ถ้าในเมื่อเราเป็นคนใจดีอย่างนี้
บรรดาท่านพุทธบริษัทการมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับคน
ทั้งหลายก็หายาก อาการอย่างนั้นจะไม่มีเลย
การจะโต้เถียงกันบ้างด้วยเหตุผลบางประการ
นี่ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ไม่ใช่ทะเลาะกัน ทะเลาะกัน
ทะเลาะกันนี่มันโกรธ คนที่มีความโกรธเป็นคนไร้เหตุผล
ในเมื่อเราเป็นคนมีเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร
เหตุผลก็มีมาก ในเมื่อเป็นคนมีเหตุมีผลมาก ความรักมีมาก
การฆ่ากันไม่มี การทำร้ายกันไม่มี
ไปไหนก็มีแต่การยิ้มแย้มแจ่มใส แล้วก็มีมิตรมากกว่าศัตรู

สำหรับศัตรูก็คือ คนเลว
อย่างพระพุทธเจ้านี่ท่านดีแสนดี พระอรหันต์นี่ดีแสนดี
ยอดของความดีแล้ว พระพุทธเจ้าทรงเป็นจอมพระอรหันต์
พระอรหันต์เป็นลูกแถวของพระพุทธเจ้า
คือ เป็นกองทัพธรรม หมดความรู้สึกในการเป็นศัตรูกับใคร
มีพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วน จิตไม่มีกิเลส
แต่ทว่าองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ก็ดี
สาวกของพระองค์ก็ดีที่เป็นพระอรหันต์
ก็ยังมีศัตรูคอยประหัตประหารคอยหักล้าง
อย่างพระพุทธเจ้านี่มี เทวทัต เป็นต้น
ควบคู่กับ โกกาลิกะ กับเพื่อนพระอีก ๕-๖ องค์
เป็นศัตรูถึงขั้นคิดฆ่าพระพุทธเจ้า จ้างคนฆ่าและกลิ้งหินจะให้ทับตาย
อันนี้มีศัตรู ดีแสนดีแต่มีศัตรู
อย่างพระโมคคัลลาน์ ถึงกับถูกเดียรถีย์จ้างคนมาฆ่า
เป็นการตัดกำลังขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันนี้อย่างนี้ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชาวโลก
แต่ว่าคนที่รักท่านมีมากในเมื่อเราก็เป็นคนดีคนรักมาก
เราก็มีความสุขมาก อันนี้มาพูดกันถึงคนทั้งโลก


ถ้าทุกคนเชื่อพระพุทธเจ้า ต่างคนต่างไม่มีใจโหดร้าย
ไม่ฆ่ากัน ไม่ประทุษร้ายกัน โลกจะเต็มไปด้วยความสุข
โลกเวลานี้ไม่มีความสุข เพราะแย่งชิงดีชิงเด่นกัน
ทำสงครามแย่งพื้นที่กัน แย่งทรัพย์สินกัน
แต่สงครามที่ทำ คนที่คิดแย่งอำนาจวาสนา
ปรารถนาความเป็นใหญ่ แกไม่ได้ออกไปรบเอง
แกใช้ให้คนอื่นไปตายแทนแก บาดเจ็บแทนแก โลกจึงได้เป็นทุกข์

มาชาวบ้านเรา ถ้าหากว่าเราไม่คิดหักล้าง ไม่คิดประหัตประหารกัน
ต่างคนต่างรักกัน โลกจะเต็มไปด้วยความสุข
เพราะว่าทุกคนเห็นหน้ากันก็จะมีแต่ความยิ้มแย้มแจ่มใส
มีแต่ความเป็นเพื่อน จะหลับหรือตื่นก็เป็นสุข
นั่งหรือนอนไม่ต้องระแวดระวังภัย
นอกจากโลกจะเป็นสุขแล้ว โลกก็จะรวย

มีหลายท่าน มีคนหนึ่งบอกว่าจะมาทำวิทยานิพนธ์
เป็นด็อกเตอร์ เธอบอกว่า

"เขาพูดกันและเธอเองก็มีความเห็นว่า
พระพุทธศาสนาไม่ได้ช่วยโลกจริงจัง
แค่เปาะๆ ความช่วยไว้นิดๆ ไม่ตรงไปตรงมา"

เธอพูดอย่างนี้ เธอก็พูดตามความรู้สึกของเธอก็ไม่น่าตำหนิ
พราะคนเกิดมาในโลกนี้มีบารมีไม่เสมอกันอยู่แล้ว
"บารมี" หมายถึงกำลังใจ คือ
การใช้ปัญญาที่เรียกว่า "ปัญญาบารมี" ไม่เท่ากัน
อาตมาจะพูดให้ฟัง อย่างบางคนที่มีบารมีน้อยเหมือนกัน

ถ้าคนเราไม่ทะเลาะกัน ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน
ประเทศชาติจะตัดงบประมาณไปได้มาก คือ

งบประมาณเจ้าหน้าที่ตำรวจ
หรือว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองบ้านเมือง
ที่คอยปราบปรามพวกประทุษร้ายซึ่งกันและกัน
อันนี้ไม่ต้องเลย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ก็ไม่ต้องมี
อำเภอ จังหวัด ก็ไม่ต้องมี ตำรวจทหารก็ไม่ต้องมี
ถ้าไม่มีท่านทั้งหลายเหล่านี้
งบประมาณของเราก็ถูกตัดลงไปในการใช้จ่าย
ความสิ้นเปลืองน้อยไป ต่อมาก็อัยการเอย
ผู้พิพากษาเอย เจ้าหน้าที่ในโรงศาล
เจ้าหน้าที่เรือนจำ แล้วก็อาคารเรือนจำที่ก่อสร้างใช้เงินมาก
วัตถุดิบที่ใช้ก็ใช้เงินมาก นักโทษที่เข้าไปถูกขังทุกคนต้องกิน
แต่ละหัวตั้งงบประมาณไว้เท่าไหร่ ?
ถ้าหัวละ ๑๐ ต่อวัน ๑๐ คนก็ ๑,๐๐๐ บาท
๑,๐๐๐ คนก็หมื่นบาทต่อวันนะ
แล้วเจ้าหน้าที่ในเรือนจำต้องใช้จ่ายเท่าไร ?

ก็รวมความว่างบประมาณส่วนนี้ไม่ต้องใช้จ่ายเลย
เพราะไม่มีใครเขาทะเลาะกัน ไม่มีใครเขาฆ่ากัน
เป็นอันว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปราม
ฝ่ายตัดสินหรือว่าฝ่ายคุมขัง ควบคุมไม่ต้องมีเลย
ประเทศชาติจะรวยขึ้นมาตั้งเยอะ นี่ว่ากันถึงชาตินี้
นอกจากประเทศชาติจะมีความสุข
หรือว่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองมาก
เราก็ไม่ต้องเสียหายในทรัพย์สินในการซื้ออาวุธ
คนที่คิดประทุษร้ายกันต่างคนต่างมีอาวุธ
เงินที่ต้องจับจ่ายใช้สอยเรื่องอาวุธไม่ใช่เล็กน้อย
คนหนึ่งแค่มีมีดพับ ๑ เล่ม สมมติว่ามีดพับเล่มละ ๑ บาท
คนในประเทศไทย ๕๒ ล้านคน มีมีดพับ ๕๒ ล้านเล่ม
ก็หมดเงินไป ๕๒ ล้านบาท แล้วฝ่ายเจ้าหน้าที่
ฝ่ายปราบปรามก็ต้องมีอาวุธ ต้องมีพาหนะ
ต้องมีเบี้ยเลี้ยง จิปาถะไปหมด ก็จ่ายกันดะไป

รวมความว่า ถ้าคนทั้งชาติมีความเมตตาปรานีซึ่งกันและกัน
มีความสงสารซึ่งกันและกัน รัฐบาลก็มีความสุขใจ
การสิ้นเปลืองในการเงินการทองทั้งหลายก็ไม่มี
และบรรดาท่านพุทธบริษัทเอง
หรือญาติโยมพุทธบริษัทก็ตามที่เป็นฆราวาส
หรือเป็นพระก็ตาม ถ้าไม่เป็นศัตรูซึ่งกันและกัน
ทุกคนก็มีความสุข เงินที่ต้องจับจ่ายใช้สอย
เพื่อเป็นการประหัตประหารกันก็ไม่มี
ทรัพย์สินส่วนนี้ก็จะเป็น ทรัพย์สินนอนตัว
จะคงอยู่กับกระเป๋าของตนเอง
เป็นอันว่าความร่ำรวยเกิดขึ้นมาจุดหนึ่ง
จากการที่ ไม่คิดประทุษร้ายซึ่งกันและกัน


นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
ไม่สบายเสียงก็สั่นๆ ไปหน่อยก็ขออภัยด้วย
ไอ้จะพูดต่อไปก็เอาแค่นี้ก็แล้วกัน
เห็นผลในชาติปัจจุบันเล็กน้อย
สำหรับชาติในสัมปรายภพ คือชาติหน้า เอาไว้พูดกันงวดหลัง

สำหรับวันนี้เวลาหมดแล้ว
บรรดาท่านพุทธบริษัท ต้องขอลาก่อน
ขอความสุขสวัสดิ์ พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแต่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี...



ตอนที่ ๑๓ อานิสงส์ของการรักษาศีลข้อที่ ๑

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ ๑๓ ในรายการหนีบาป
ขอย้ำกับบรรดาท่านพุทธบริษัทไว้ก่อนว่า ถ้าฟังเรื่องราวกว่าจะจบมันนานนัก

การหนีบาปจริงๆ ให้ยึดสังโยชน์ ๓ ประการ ที่พระพุทธเจ้าตรัส
ก็คือ การทำลายสังโยชน์ ข้อที่ ๑
ได้แก่การมีความรู้สึกว่า ชีวิตนี้ต้องตาย
และก็จำคำแนะนำขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ที่ทรงแนะนำกับคณะของเปสการีว่า
"เธอทั้งหลาย ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง
แต่ความตายเป็นของเที่ยง จงอย่าประมาทในชีวิต
คิดว่าความตายจะเข้ามาถึงเราในวันพรุ่งนี้"
ข้อนี้องค์สมเด็จพระมหามุนีได้ทรงแนะนำ
ให้คิดว่าความตายอาจจะถึงเราในวันนี้ได้เสมอ
จะได้ไม่ประมาทในการสร้างความดีเพื่อหนีนรกกัน

แล้วข้อต่อไป องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา
ทรงแนะนำให้ยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้า
ความดีของพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์
และความดีของพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระจอมไตร
แนะนำให้ทุกคนทรงศีลห้าให้บริสุทธิ์

ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท
ทุกคนจะพ้นจากอบายภูมิ คือ นรกได้แน่นอน


ต่อไปนี้ก็ขอคุยกับบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระชินวร
ในเรื่องของอานิสงค์ของการรักษาศีลข้อที่ ๑
ตามที่พระท่านบอกว่า "ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ"
ก็แปลว่า "ข้าพเจ้าขอสมาทาน คือ งดเว้น
จะไม่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต"
ขอให้แถมว่า จะไม่มีการทรมานด้วย
เราไม่ฆ่าด้วย ไม่ทำร้ายร่างกายสัตว์ด้วย อย่างนี้จะดีกว่า


เมื่อตอนที่ ๑๒ ได้พูดถึงศีลห้า ข้อที่ ๑
แต่ยังไม่ทันจบก็หมดเวลาเสียก่อน
ตอนนี้ก็ขอต่อกับบรรดาท่านพุทธบริษัท
ส่วนที่ยังค้างอยู่ก็หมายถึงว่า การรักษาศีลห้า
ในชาติปัจจุบันเราก็ทราบแล้วว่า คนที่มีศีลห้าเป็นปกติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศีลข้อที่ ๑ เรียกว่า เว้นจากการฆ่าสัตว์
และการทรมานทำร้ายร่างกายสัตว์
ศีลทุกข้อจะมีธรรมะแทรกอยู่เสมอ ศีลข้อที่ ๑ นี่กับกรรมบถ ๑๐ เหมือนกัน
ธรรมะที่แทรกอยู่ในศีลข้อที่ ๑ หรือกรรมบถ ๑๐ ข้อที่ ๑
ก็ได้แก่ เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร


โทษของศีลห้าว่ามาแล้ว ทีนี้ว่ามาถึง "คุณ"

"คุณ" ที่บุคคลที่รักษาศีลข้อที่ ๑ ได้ในชาติปัจจุบัน
มีผลเป็นยังไง พูดมาแล้วในตอนที่ ๑๒
ตอนที่ ๑๓ นี่จะพูดถึง "คุณ" ที่พึงได้
หรือ "ผล" ที่จะพึงได้ในชาติต่อไป


ถ้าขณะใดจิตของบรรดาท่านพุทธบริษัท
ทรงอารมณ์ความดีและความเยือกเย็น
ได้แก่เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร
แล้วก็ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทรมานสัตว์
จิตใจของบุคคลนั้นจะมีความเยือกเย็นมาก
จะเห็นว่าบุคคลที่มีเมตตาความรักก็ดี มีกรุณาความสงสารก็ดี
ท่านทั้งหลายเหล่านี้หน้าตาแช่มชื่น
ยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นปกติ เห็นหน้าใครก็มีแต่อาการยิ้ม
การยิ้มนี้บอกว่าเป็นคนใจดี
แล้วคนเราทุกคน บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
อาตมาก็พูดไปว่าทุกคน แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคนก็ได้

สำหรับอาตมาเอง เห็นใครเขายิ้มเราก็ชื่นใจ
บางทีคนที่มีศักดิ์ศรีใหญ่มีวาสนาบารมีสูง พอที่เราจะพึ่งพาอาศัยได้
หรือคนที่มีรูปร่างหน้าตาสวยสดงดงามควรที่จะรักได้

แต่ว่าท่านหรือเธอทั้งหลายเหล่านั้น "ยิ้มไม่เป็น"
พวกเราก็ต้องเดินหลีก ท่านทั้งหลายจะหลีกหรือไม่หลีกอาตมาไม่ทราบ
แต่อาตมานี้หลีกแน่ คนยิ้มไม่เป็นนี้ไม่คบแน่
ถ้าขืนคบคนประเภทนี้เข้าเราก็กลุ้มไปด้วย
เห็นหน้าเธอ ทีไร หน้าเธอก็คล้ายๆ กับเสือในครัวบ้าง
หน้าวัตถุตักแกงบ้าง หน้าเหมือนภาชนะตักข้าวบ้าง
อย่างนี้ ดูไม่ไหว ถ้าสมัยก่อนเมื่อเป็นหนุ่มยังไม่แก่
หรือยังไม่บวช คนประเภทนี้ไม่คบเลย
แต่ว่าสมัยนี้ ความเป็นพระ ถึงแม้จะมีการคบหาสมาคมบ้าง
ก็ต้องคบกันอย่างผิวเผิน เพราะหน้าของเธอไม่ทำให้เราชื่นใจ
ท่านทั้งหลายฟังดังนี้ก็คิดว่า หลวงตาแก่นี้กิเลสมาก
ก็ต้องตอบว่ามีกิเลสจริงๆ เมื่อคลอดจากครรภ์มารดากิเลสเท่าพวกท่าน
หรือบางอย่างอาจจะมากกว่าพวกท่านก็ได้
การเกิดมานี่ทุกคนปฏิเสธ ไม่ได้ว่าไม่มีกิเลส
การที่จะมีกิเลสหรือไม่มีกิเลสก็ตาม
แต่มีจิตใจเดิม ความรู้สึกก็เหมือนความรู้สึกเดิม
เห็นหน้าคนที่มีการยิ้มแย้มแจ่มใส
ทุกคนก็ต้องมีความแช่มชื่นเหมือนกัน
อย่างพระอรหันต์ท่านคงจะชอบใจคนยิ้ม
แต่คงไม่เกลียดคนไม่ยิ้ม ถ้าเห็นคนยิ้มไม่เป็นคงจะไม่เกลียด
อาจจะสลดใจมากกว่า คงจะสงสารว่า
โอหนอ...คนนี้ไม่น่าจะฆ่าตัวเองเลย

ทั้งนี้เพราะอะไร ? เพราะว่า คนที่ยิ้มไม่เป็น
คนที่คบหาสมาคมก็มีน้อย คนที่มีความจำเป็นจริงๆ เขาจึงจะคบ
เขาหวังประโยชน์ในการช่วยเหลือเขา เขาจึงจะเข้าหา
แต่ถ้าประโยชน์ได้แล้ว เขาคงไม่เข้าไปหาคนหน้าไม่ยิ้มต่อไป
ถ้าจะเข้าไปหาใหม่ก็จะเข้าเพื่อต้องการความช่วยเหลือ

ก็รวมความว่า คนที่ไม่ยิ้มนี่ขาดทุน
หาคนรักยาก หาคนชอบใจยาก


มาพูดถึงอานิสงส์หน้ายิ้มปัจจุบัน
เพราะใจมีเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร
มีอยู่ประจำใจ จึงเว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นจากการทรมานสัตว์ เว้นจากการประทุษร้ายร่างกายสัตว์
(คำว่า "สัตว์" นี่หมายถึงคนด้วย)
ถ้าตายจากโลกนี้ไปแล้ว ขณะที่เธอจะตายหรือขณะที่ท่านจะตาย
ถ้ากำลังใจของท่านยังสดชื่นด้วยเมตตา
ความรัก กรุณา ความสงสาร จะไม่มีการประทุษร้าย
มีแต่จิตชื่นบาน รื่นเริงหรรษา ใจเปี่ยมชุ่มชื่นด้วยเมตตา
และกรุณาทั้ง ๒ ประการ ท่านประเภทนี้ตายแล้วลงนรกไม่เป็น
เอากัน ชาติเดียวนะ เอากันชาติปัจจุบันว่าตายแล้วลงนรกไม่เป็น
ถ้ากำลังใจของท่านอย่างต่ำ ก็ต้องเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นกามาวจรสวรรค์
ถ้ากำลังใจความเมตตาปรานีของท่านเข้มข้น ก็ต้องไปเกิดเป็นพรหม

ก็รวมความว่า ท่านตายเมื่อไร ท่านก็มีความสุขกว่าสมัยที่เป็นมนุษย์
เพราะสมัยที่เป็นมนุษย์นี่ เอาอะไรสุขจริงไม่ได้
ความหิวก็เป็นความทุกข์ การปวดอุจจาระปัสสาวะ ก็เป็นความทุกข์
การกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นอาการของความทุกข์
การประกอบกิจการงานมีความเหนื่อยยาก ก็เต็มไปด้วยความทุกข์
ความป่วยไข้ไม่สบาย ก็เต็มไปด้วยความทุกข์
"ปิยะโต ชายะเต โสโก ปิยะโต ชายะเต ภะยัง"
ความรักมีที่ไหน ความทุกข์มีที่นั่น ความรักมีที่ไหน อันตรายมีที่นั่น
กำลังใจนำไปหาอันตรายด้วยความทุกข์ ไม่เกิดประโยชน์
การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ก็เป็นทุกข์
การถูกทรมานร่างกายจากโรคภัยไข้เจ็บ
เข้ามาเบียดเบียนตามกาลเวลา ถ้าถึงวาระที่จะต้องตายอาการประเภทนั้น
จะทรมานมากที่สุด ทุกข์มากที่สุด แล้วก็ตาย

รวมความว่า การทรงชีวิตอยู่ไม่มีอะไรดี ก็จะมีดีอยู่อย่างเดียว
ถ้าเราเป็นคนฉลาดไม่ประมาทในชีวิตที่คิดว่าจะตายไว้เสมอ
ยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ทรงศีลให้บริสุทธิ์อย่างนี้ไปสวรรค์กันแน่

ฉะนั้น เมื่อท่านที่มีความเมตตาปรานี
ท่านตาย อย่างเลวที่สุดก็ไปสวรรค์
สวรรค์ก็มีความสุข พรหมก็มีความสุข
อย่างกลางท่านไปเป็นพรหม
การเกิดเป็นเทวดาก็ดี การเกิดเป็นพรหมก็ดี
ไม่มีคำว่า "เด็ก" เกิดปุ๊บร่างกายจะเป็นหนุ่มเป็นสาวทันที
ร่างกายของเทวดาหรือพรหมไม่มีการแก่
เกิดวันแรกหนุ่มสาวเท่าไร อยู่นานเท่าไรก็ตาม จะมีสภาพอย่างนั้น
ความหนาวในเทวดากับพรหมก็ไม่มี
ความหิวกระหายก็ไม่มี ความป่วยไข้ไม่สบายก็ไม่มี
ความแก่ก็ไม่มี ความเหน็ดเหนื่อยของร่างกาย
ของเทวดากับพรหมก็ไม่มี รวมความว่ามีสุขจริงๆ
ที่ท่านเรียกว่า "สุคติ" ไปสู่แดนของความสุข

อันนี้ก็เป็นอานิสงส์ของเมตตากรุณาทั้ง ๒ ประการ
ในศีลข้อที่ ๑ ในเวลาที่ท่านจะต้องจากความเป็นเทวดาหรือพรหม
ในเมื่อหมดบุญวาสนาบารมีลงมา คนที่มีเมตตานี่ไม่ไปอบายภูมิแน่
ก็ต้องมา ชนปั๋งอยู่ที่มนุษยโลก กลับมารับความทุกข์ในความเป็นมนุษย์ใหม่
แต่ว่าการทุกข์ในการเป็นมนุษย์ ไม่เท่าทุกข์ในอบายภูมิ

พอมาถึงโลกมนุษย์แล้วจะได้ อาการของความทุกข์เราไม่พูดกัน
ความรัก กรุณา ความสงสาร
เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการทรมานสัตว์
เว้นจากการทำร้ายร่างกายสัตว์อาการอย่างนี้
ผลที่จะได้ก็คือ ผลของเมตตาความรัก
ท่านผู้นั้นจะมีรูปร่างหน้าตา ทรวดทรงสะสวยมาก
ขอทุกคนโปรดทราบว่าคนที่เกิดมาแล้วเขาสวย
ทรวดทรงดี ดีไม่ดีก็ประกวดความงามชนะความงามเสียด้วย
ท่านประเภทนี้สมัยที่เป็นมนุษย์ชาติก่อน
ท่านมีเมตตาความรักเป็นปกติ
อารมณ์คิดประทุษร้ายบุคคลอื่นใดหายาก
จะตอบว่าอารมณ์ที่คิดประทุษร้ายคนอื่นไม่มีนั้นไม่ได้
เพราะยังไม่ใช่พระอนาคามี
ถ้าเป็นพระอนาคามีก็ไม่ต้องมาพบกับความเป็นมนุษย์อีก
ไปเป็นเทวดาหรือพรหมก็ต่อไปนิพพานไปเลย

ฉะนั้น คนที่มีเมตตาความรัก กรุณาความสงสาร
ในชาติก่อนที่จะเกิดเป็นมนุษย์
จากความเป็นมนุษย์ชาติก่อนของท่าน
ส่งผลเห็นชัดว่า ท่านเป็นคนทรงสวย รูปก็สวย
ผิวก็สวย คำว่า "ผิวสวย"
จะสวยในเขตที่เขาต้องการ
บางเขตต้องการผิวขาว ท่านก็จะขาว
บางเขตต้องการผิวเหลืองท่านไปเกิดในแดนผิวเหลือง
บางเขตต้องการผิวดำแต่ดำสนิท ไม่มีริ้วรอย
ก็จะเกิดในแดนนั้น รวมความว่าเกิดในแดนไหนก็ตาม
เป็นคนสวยของแดนนั้น ทรวดทรงก็สวย
ผิวพรรณก็สวย หน้าตาก็สวย
มีความยิ้มแย้มแจ่มใสติดมาจากชาติก่อน
ชาติทีหลังเกิดมาก็ยิ้มต่อไป
แล้วก็เป็นที่รักของบรรดาประชาชนทั้งหลาย
ทั้งคนและสัตว์เห็นเข้าก็รักในท่าน
เพราะอาศัยบุญบารมี เมตตา ความรัก
กรุณา ความสงสาร เดิมของท่านมีอยู่ติดตามมา
และในกาลต่อไปถ้าหากว่าไม่เคยฆ่าสัตว์เลย
หรือมีบ้างในการตีบ้างทรมานบ้างเล็กๆ น้อยๆ
ท่านผู้นี้จะไม่มีโรค ไม่มีภัยเลย
จะไม่มีการป่วยไข้ไม่สบายเลยในการเกิดมา
เพราะการป่วยไข้ไม่สบายนี้
บรรดาท่านพุทธบริษัท มาจากการฆ่าสัตว์หรือทรมานสัตว์
การไม่เคารพในศีลข้อที่ ๑ นี่แหละ
จะเป็นปัจจัยให้เกิดการป่วยไข้ไม่สบาย


ฉะนั้น บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย
ที่เคยมาพบอาตมาขอร้องว่าช่วยหน่อยเถอะ เวลานี้ป่วยไข้ไม่สบาย
บางท่านไม่ใช่ขอร้องและท่านทั้งหลายก็ไม่มาฟ้อง
ท่านทั้งหลายซ้อมอาตมาเข้าให้
และขอโทษนะในคำว่า "ซ้อม"
นี่ไม่ใช่เหมือนกับคนที่เขาชกกัน ไม่ใช่อย่างนั้น
ชกหรือตีต่อย หรือทุบไม่ใช่อย่างนั้น
จะว่าซ้อมหรือจะว่าต่อว่าก็ได้
แต่ความจริงท่านไม่ได้ซ้อมไม่ได้ต่อว่าแต่อาตมาผู้เดียว
ต่อว่ายันพระพุทธเจ้าเลย มีหลายท่านที่อายุมากแล้ว
ท่านป่วยเป็นไข้ไม่สบายอยู่มาก เห็นจะเป็นนานแสนนาน
ในที่สุดท่านมาถึงท่านก็ เอายังงี้ก็แล้วกัน
พอมาถึงก็ไม่รอดแล้ว "หลวงพ่อเจ้าคะ ทำไมถึงป่วยมากนัก
เป็นนานแล้วไม่รู้จักหาย กฐินก็ทอด ผ้าป่าก็ทอด
สังฆทานก็ทำ บาตรก็ใส่ ศาลาก็สร้าง โบสถ์ก็สร้าง
กุฏิก็สร้าง บุญทุกอย่างทำหมด
แต่ "พระ" ไม่เห็นช่วยปัดเป่าให้พ้นจากอันตราย
คือ ป่วยไข้ไม่สบายเลย"

ล่อ "พระ" เข้าให้ ท่านจวกพระ คำว่า "พระ"
คำเดียวนะบรรดาท่านพุทธบริษัทพระตั้งแต่องค์แรก
ก็คือ พระพุทธเจ้า ถึงองค์สุดท้ายพบกันเป็นแถวไปหมด
โดนต่อว่าอาตมานั้นไม่โกรธ
อย่านึกว่าอาตมาเป็นพระอรหันต์ หรือพระอนาคามีนะ
ที่ไม่โกรธนั้นเข้าใจว่าคนป่วยไข้ไม่สบายนี่
ย่อมมีอารมณ์เดือดร้อนเป็นธรรมดา
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาตมาก็เป็นคนป่วยเป็นปกติ
ขณะที่พูดอยู่ที่นี่ก็ป่วย เวลานี้ พ.ศ. ๒๕๒๘
ลงศาลาเวลาทำบุญวันพระไม่ได้มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พ.ค. ๒๕๒๘
จนกระทั่งถึงเดือนที่กำลังพูดอยู่นี่ เป็นวันที่ ๑๘ พ.ย. ๒๕๒๘
ยังไม่สามารถจะลงแสดงพระธรรมเทศนาที่ศาลาได้เลย
ปีนี้มันป่วยจริงๆ ป่วยจะเอาถึงขั้นตายก็หลายวาระถึง ๔ ครั้ง
มันทรมานอย่างหนัก อาตมาก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

ที่พูดอย่างนี้อย่าคิดว่า เป็นพระอรหันต์นะ จะผิด
หรือว่าจะผิดเป้าหมาย คำว่า "เรื่องธรรมดา"
ก็หมายความว่าป่วยเสียจนชิน วันไหนไม่ป่วยไม่มี
ตั้งแต่อายุ ๒๘ ปี เป็นต้นมา ป่วยเป็นปกติ หรือพูดง่ายๆ ก็เป็นอาชีพป่วย
ในเมื่ออาการป่วยเป็นปกติอย่างนี้ จึงเห็นใจคนป่วย
ฉะนั้นญาติโยมที่มาต่อว่านี้ จึงไม่นึกตำหนิท่านเลย แต่ว่าสงสารท่าน

สงสารเพราะอะไร เพราะว่าโทษปาณาติบาตในชาติก่อน
ท่านฆ่าสัตว์หรือทรมานสัตว์ไว้มาก ที่ฆ่าคงไม่มาก
แต่สัตว์ที่ถูกทำร้ายหรือถูกทรมานนั้นมาก
โทษอันนั้นจึงให้ผลมาป่วยมากแบบอาตมา
ทีนี้เวลาเทศน์ เขาหาว่ายกตัวไปเปรียบเทียบ
นี่ไม่ได้เทศน์นั่งคุยกัน นั่งคุยกันไม่ใช่ของแปลก
เรามาโชว์ความชั่วกัน อาตมานี่ชาติก่อนคงชั่วมาก
การป่วยไข้ไม่สบายหรือกระทบกระทั่งมาก

ก็รวมความว่า การทรมานสัตว์มาก เราก็ป่วยมากและก็ป่วยนาน
ถ้าการทรมานสัตว์น้อย เราก็ป่วยน้อยและก็ป่วยไม่นาน
นี่ในขั้นของการทรมานและทำร้ายนะ

ทีนี้ ว่ากันถึงการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เอากันตามเคย
ท่านบอกว่าบุคคลที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นอาจิณกรรม
ที่ท่านพูดเป็นคำพังเพยตามภาษาชาวบ้านว่า
"วันดีไม่ละ วันพระไม่เว้น"
ท่านประเภทนี้ ถ้าไปเกิดในชาติต่อไป
ท่านจะไม่เห็นแสงพระอาทิตย์เลย
แสงอาทิตย์หรือแสงพระจันทร์ไม่ได้เห็น
หน้าบิดามารดาท่าน ท่านไม่มีโอกาสโผล่มาเห็น
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะแท้งในท้อง
ไม่ทันเห็นเดือนเห็นตะวันท่านก็แท้งตาย ตายแล้ว

ต่อมาถ้ากำลังบาปเบากว่านั้นนิดหนึ่ง วันดีไม่ละ
แต่วันพระท่านประเภทนี้พอคลอดจากครรภ์มารดาก็ตาย
อาจจะคลอดปุ๊บตายปั๊บ หรืออาจจะคลอดออกมา
ได้วันสองวันตายก็ได้ คนประเภทนี้จำไว้ด้วยนะ
ต่อมาถ้าบาปน้อยกว่านั้นอีกหน่อย ฆ่าน้อยกว่านั้นอีกนิดแต่ก็ยังมากอยู่
เป็นเด็กพอเดินได้แข็งก็ตาย ฆ่าสัตว์น้อยกว่านั้นอีกนิดหนึ่งเป็นเด็กที่แข็งแรง
ใกล้จะหนุ่มสาวก็ตายน้อยกว่านั้นอีกหน่อย
พอหนุ่มสาวเต็มตัวก็ตายน้อยกว่านั้นอีกหน่อยหนึ่ง
พอไปวัยกลางคนก็ตาย น้อยกว่านั้นเหลือหน่อยๆ
เป็นบาปไม่มากนัก ฆ่าไม่มากนักอายุถึงอายุขัยจึงตาย
หรือเลยอายุขัยจึงตาย


นี่ว่ากันถึงด้านความตาย บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
มีหลายท่านมาคำนึงพึงคิดว่าคนที่เกิดตัวเล็กๆ ทำไมจึงตาย มาถามกันเยอะ
น่าสงสารเด็ก บางท่านก็บอกว่าเด็กมันมีบุญ
ยังไม่มีการทรมานมากมันตาย แต่ความจริงไม่ใช่
นั่นคือโทษปาณาติบาตติดตามมา โปรดทราบไว้ด้วย

ความจริง คนหรือสัตว์ที่ตายไม่น่าจะร้องไห้
เพราะว่าไม่มีใครอยากตาย มันตายของมันเอง
ในเมื่อเราเองก็ห้ามความตายไม่ได้ คนอื่นตายเราจะร้องไห้ทำไม
ไม่ควรจะถือประเพณีการร้องไห้ ควรจะเอาเป็นครูสอนว่า
"ถ้าเด็กกว่าเรามากเท่าไร เราก็ตั้งใจว่า
นี่ขนาดเด็กกว่าเราเขายังเด็ก เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่กว่าทำไมจะไม่ตาย
ความตายอาจจะถึงเราในวันพรุ่งนี้"
เอาเป็นครูไปเลย นี่ว่าถึงโทษ


ถ้าว่าถึงคุณบ้างล่ะ คุณของท่านไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
ไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลย อันนี้ เกิดมาใน ชาตินี้อายุยาวเลย
เรียกว่า "เลขอายุขัย" เวลานี้อายุขัย ๗๕ ปี
ท่านทั้งหลายเหล่านี้อาจจะ ๑๐๐ ปีเศษ
ทีนี้ท่านที่ไม่มีการป่วยไข้ไม่สบาย
หากว่ามีการฆ่าสัตว์น้อยอายุก็มากหน่อย
แต่อาจจะไม่เต็มอายุขัยเป็นต้น

รวมความว่า นอกจากจะเป็นคนสวยแล้ว
ก็เป็นคนมีอายุยืนนาน แล้วไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
ถ้าไม่ฆ่า ไม่ทรมาน และไม่ทำร้ายร่างกายสัตว์
จึงขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ผู้เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระจอมไตร
ท่านที่ต้องการหนีนรก การหนีนรกได้วิธีหนึ่ง
คิดว่าความตายจะถึงเราในวันนี้รวบรัดความดี
คือ ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์

อันนี้เราหนีนรกได้ชาติเดียว
ชาติต่อไปถ้าเราลืมอาการนี้มันก็ต้องลงนรกกันเหมือนกัน
นรกมันตามทัน ถ้าหากว่าเรารักษาศีลได้ทรงตัวทั้ง ๕ ข้อ
ถ้ารักษาได้ทั้ง ๕ ข้อ แสดงว่าเป็นการกั้นกำแพง ๕ ชั้น
ถ้าเรารักษาได้ข้อเดียวก็เป็นกำแพงชั้นเดียว
ถ้ากำแพงชั้นเดียวหรือตอนเดียวน่ะ
บังเอิญเดิน สุดกำแพงไปมันลงนรกได้เหมือนกัน

ฉะนั้น จึงขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
หากว่ายังจะทรงศีลได้ข้อเดียวก็ทรงให้มั่นคง
ทำกำลังใจให้ตรงข้ามขั้นของฌาน
คำว่า "ฌาน" เป็นยังไง? "ฌาน" แปลว่า "การเพ่ง"
ท่านแปลแบบนี้ แปลตามศัพท์ ไม่หนักใจ
แต่หนักปัญญานิดๆ ว่านั่งเพ่งกันจะไหวหรือ
หูตาแสบไปหมด มีหลายท่านบอก
ให้ไปดูภาพพระพุทธรูป นั่งเสียน้ำตาไหลไปเลยตาแสบ

ทีนี้ว่าถึงกำลังใจเมตตา กรุณา ความรัก
ทำถึงฌานเป็นอย่างไร ? "ให้จิตทรงอารมณ์"
ให้เข้าใจว่า "ฌาน" คือ อารมณ์ชิน ชินกับความรัก
ชินกับความเมตตา ชินกับการให้อภัย
กับคนหรือสัตว์ที่มีความผิด ไม่คิดอยากจะประทุษร้ายใคร
แต่อาจจะต้องคิดนะ ยังไม่เป็นอนาคามี
แต่ถึงอย่างไรก็ดี ถ้าคิดแล้วก็เลิกง่ายไม่ทำร้ายจริงๆ
ไม่ฆ่าจริงๆ ถ้าจิตใจทรงอยู่อย่างนี้
บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง
ยังไงๆ กำแพงชั้นที่หนึ่ง ก็สามารถกันนรกได้
แต่ยังไม่ถือว่าทุกชาติ เอากันแค่ชาติเดียวก่อน
ถ้ากันกำแพงถึง ๕ ขั้นนี่ กันนรกทุกชาติเลย
บาปตามไม่ทันแน่ ดันมาไม่ถึง


ในเมื่อมองดูเวลา บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
เวลาก็หมดแล้วก็ต้องขอลาบรรดาสาวก
ขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์
ที่กำลังฟังอยู่นี่ในงวดหน้าต่อไปฟังกันใหม่
ถ้ายังมีความประโยชน์ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
จงมีแต่ความสุขสวัสดิ์ พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
และจงเจริญด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ
มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ หากทุกท่านพึงประสงค์สิ่งใด
ก็ขอให้ได้สิ่งนั้นสมปรารถนาจงทุกประการ สวัสดี...



ตอนที่ ๑๔ ศีลและกรรมบถ ๑๐ ข้อที่ ๒

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย
สำหรับต่อไปนี้ก็ขอบรรดาท่านท่านพุทธบริษัท
ฟังความเป็นมาเรื่องราวตอนที่ 14 สำหรับตอนที่ 14 นี้
ตอนนี้ก็จะขอพูดเรื่องกรรมบถ 10 กับศีลห้า ควบกัน
เพราะว่า ข้อห้ามเหมือนกัน


ตอนที่ 14 นี้ ขอพูดถึงข้อ 2 ของศีลและกรรมบถ 10
กรรมบถ 10 ก็เป็นข้อที่ 2 ศีลห้า ก็เป็น ข้อที่ 2
ที่ท่านกล่าวว่า "อทินนาทานา เวรมณี" ซึ่งแปลเป็นความว่า
ให้งดเว้นจากการถือเอาทรัพย์สินของคนอื่นที่เขาให้เราโดยชอบธรรม
ก่อนที่จะอธิบาย บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ก็เตือนใจกันไว้ก่อน
รายการนี้เป็นรายการ "หนีนรก"


คำว่า "หนีนรก" มีจริง บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง
พระพุทธเจ้าทรงยืนยันมาอาตมาก็ขอยืนยันด้วย
ถ้าถามว่า "เห็นไหม?" บอกว่า "เห็นแล้ว" "
เคยไปไหมสมัยที่อาตมายังมีชีวิตอยู่นี่?" ต้องตอบว่า "เคยไปแล้ว"
เคยไปตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ตายไปแล้วกลับฟื้น
หลังจากนั้นก็ไปได้ตามปกติ จะไปเมื่อไรก็ไปได้เป็นอย่างนี้ทุกคน
อย่างท่านพลโทสมาน วีระไวทยะ ท่านก็เช่นเดียวกัน
ท่านตายไปเมื่อสมัยเป็นร้อยโท
กลับมาแล้วก็มีสิทธิ์ไปเที่ยวในแดนนั้นได้เป็นปกติ
เพราะเป็นแดนที่เคยไปแล้ว เมื่อท่านตายสมัยเป็นร้อยโทท่านกลับฟื้น
เขากลับมาส่ง แดนที่เคยไปคือแดนนรกเหมือนกัน
เมื่อกลับมาแล้วต่อไปก็ได้โอกาส ท่านให้โอกาส จะไปเมื่อไรก็ไปได้

จึงขอยืนยันว่า "ตายแล้วเกิด นรกสวรรค์มีจริง"
ถ้าถามว่าเอาตัวเข้ายัน ไม่กลัวใครเขาว่ารึ?
ก็ต้องตอบว่า คนที่เกิดมาในโลกนี้ไม่ถูกนินทาเลยไม่มี
ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "นัตถิ โลเก อนินทิโต"
คนไม่ถูกนินทาเลยไม่มีในโลก พระพุทธเจ้าเองยังถูกนินทา
อาตมาเป็นสาวกรุ่นจิ๋วของพระองค์ ทำไมจะไม่ถูกนินทา
เวลานี้คำนินทา คำติเตียนก็เกลื่อนโลก เต็มโลกไปหมด
ไม่เห็นหนักใจอะไร จะนินทาสักเท่าไหร่ก็ตาม ก็แก่ลงไปทุกวัน
ใครเขาสรรเสริญยังไงก็ตาม ก็ยังแก่ลงทุกวัน
นินทาก็แก่ สรรเสริญ ก็แก่

ฉะนั้น คำนินทาและสรรเสริญทั้ง 2 ประการนี้
ท่านพุทธบริษัท องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ทรงแนะนำว่า
จงอย่าถือเอาเลยทั้ง 2 อย่าง
ใครเขานินทามาก็ส่งคืนกลับเขาไป ไม่ใช่นินทาต่อนะ
ลองดูอีกนิดหนึ่งสะกิดดูหน่อยก็เร่าร้อน
บางท่านก็ดีพอถูกย้อนเข้านิดกลายเป็นพระอรหันต์ไปเลย
ที่ว่าเป็นพระอรหันต์ไม่ใช่อาตมา ทำให้ท่านเป็นพระอรหันต์นะ
ท่านกลับพูดว่า ท่านไม่สนใจคำนินทาว่าร้าย อันนี้ก็ดี
ต้องขอบคุณท่านและขอสรรเสริญในความดีของท่าน
ทีนี้เราทำอย่างนั้น เต็มใจทำหรือเปล่าก็ต้องบอกว่า ลองทำดู
เห็นท่านส่งมามากๆ ลองส่งกลับไปนิดหนึ่ง ดูซิว่าจะเดือดร้อนไหม
สำหรับอาตมาเองไม่เดือดร้อน
เพราะถูกนินทา ไม่เฉพาะแต่ลับหลัง
ข้างหน้านี่ก็ยังถูกว่า ถูกกล่าวเป็นปกติ
เรื่องความอกตัญญูไม่รู้คุณของบุคคลที่มีกิเลส
ก็ย่อมมีอยู่บ้างเป็นของธรรมดา
มีการนินทาหรือสรรเสริญ จึงไม่สนใจ
สนใจอย่างเดียวว่า ตายชาตินี้แล้วจะไปไหน
แก่ขนาดนี้แล้วยังไงๆ ก็ต้องตาย


ฉะนั้น ในเมื่อเราจะตาย บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
หา "กำแพง" มากันอบายภูมิไว้ก่อน ดีกว่า
คือ ยึดพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
ยอมรับนับถือท่าน เฉพาะฆราวาสเอา ศีลห้า เป็นกำแพงกั้นเข้าไว้
อบายภูมิจะมาไม่ถึง บาปเก่าๆ ที่ทำไปแล้วทั้งหมด
สมเด็จพระบรมสุคตบอกว่า จะตามให้ลงโทษเราไม่ได้เลย
เอาแค่นี้ก็แล้วกัน

ฉะนั้น บรรดาท่านพุทธบริษัท ฟังรายการนี้ถ้าต้องการหนีบาป ก็

1. อย่าลืมความตาย

2. ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์

3. ทรงศีลห้าให้บริสุทธิ์ ตั้งแต่บัดนี้ไป
แล้วก็ทรงไว้จนกว่าจะตาย
ถ้าตายเมื่อไร ไปสวรรค์ ไปพรหมเมื่อนั้น ดีไม่ดีก็ไปนิพพาน


ตอนนี้ก็มาคุยกันเรื่องศีล หรือ กรรมบถ 10 ข้อที่ 2
ท่านบอกว่าจงงดเว้นจากการลักขโมย
หรือยื้อแย่งคดโกงในทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาเป็นของเรา
เรื่องนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าว่ากัน ในชาติปัจจุบัน
ไม่ว่าใครทั้งหมด คนก็ดี สัตว์ก็ดี
คำว่า "สัตว์" หมายถึง สัตว์เดรัจฉาน
ก็ยังรักทรัพย์สินของตนเหมือนกัน
เคยเห็นสุนัขมันกินอาหาร ถ้ามีตัวอื่นเข้ามาแย่งมันสู้ใจขาด
สู้ได้หรือไม่ได้ก็ต้องสู้ เพราะว่าชีวิตจะทรงอยู่ได้เพราะอาหารเป็นปัจจัย
ถ้าขาดอาหารเสียอย่างหนึ่ง ความตายก็เข้ามาถึงเร็ว
ความจริงยังไงๆ ก็ต้องตาย แต่ก็ไม่มีใครอยากจะตาย
หากว่าบรรดามนุษย์ทั้งหลายไม่ละเมิดศีลข้อนี้
ต่างคนต่างยึดถือทรัพย์สินของตนสำคัญ
ยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่ตนหามาได้เองโดยชอบธรรม
ไม่ยื้อแย่ง ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ในทรัพย์สินของบุคคลอื่นใด
โลกก็จะมีแต่ความสุข


ความจริงเรื่องทรัพย์สินนี่เป็นเรื่องสำคัญมาก
แต่ว่าคนที่จะรักษาศีลข้อนี้หรือกรรมบถข้อนี้ได้
ก็ต้องมีอารมณ์ใจเหมือนกับข้อที่ 1
แต่แถมนิดหนึ่ง อารมณ์ใจข้อที่ 1 คือ เมตตา ความรัก
กรุณา ความสงสาร เป็นธรรมเข้าประจำใจ
แถมอีกอันหนึ่ง คือ สันโดษ
ยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่ตนหามาได้โดยชอบธรรม
ทรัพย์สินของบุคคลอื่นใดเราไม่สนใจ
อาจจะชอบใจบ้าง อาจจะอยากได้บ้างอย่างเขา
แต่ไม่อยากจะคิดลัก ไม่อยากจะขโมย ไม่อยากจะคดโกง
ต้องการจะหามาเองโดยชอบธรรม ตามความสามารถจะพึงหาได้

ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย หรือคนทั้งโลกรักษาศีลข้อนี้ไว้ได้
โลกจะรวยมาก คนเราก็จะรวยมากขึ้น ท่านถามว่าจะรวยยังไง?
เวลาที่พูดนี้เขาบอกว่าเศรษฐกิจตกสะเก็ด
คำว่า "เศรษฐกิจตกสะเก็ด" ทุกคนก็บ่นกันย่ำแย่
พ่อค้าแม่ค้าก็บ่นว่า ขายไม่ได้
ชาวเกษตรทั้งหลายก็บอกว่า แย่แล้ว
ของได้มากขายไม่มีราคา บางรายของไม่ได้เสียอีก
กลับร้ายหนักเข้าไปอีก ทำนาข้าวก็เสีย
แล้วท่านก็แถมต่อไป ภาษีก็ขึ้นราคา
สำหรับภาษีนี่พระไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะว่าไม่มีภาระ
ไม่มีเงินจะเสียภาษีกับเขา
มีชีวิตอยู่ได้เพราะอาศัยญาติโยมพุทธบริษัทเลี้ยง
ในเมื่อญาติโยมท่านพุทธบริษัทท่านแย่ พระก็เลยแย่ไปด้วย
ตามที่สมเด็จพระพุฒาจารย์วัดอนงค์ ท่านว่า
"ถ้าชาวบ้านเขาจน พระกับหมาก็ตายก่อน"
ไปถามท่านเข้า ถาม "ทำไมเป็นอย่างนั้นครับหลวงพ่อ"
ท่านบอกว่า "ในเมื่อชาวบ้านเขากินไม่อิ่ม
จะเอาข้าวที่ไหนมาใส่บาตร จะเอาข้าวที่ไหนไปให้หมา"
นี่จริงของท่าน ถ้าทุกคนเว้นไม่ละเมิดศีลข้อนี้
บรรดาท่านพุทธบริษัท ตามที่กล่าวมาแล้วว่า ตำรวจก็ไม่ต้องมี
นายอำเภอ ผู้ว่า พิพากษา อัยการ เรือนจำ ไม่ต้องมี ทั้งหมด
การรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกันเพราะทรัพย์สินก็ไม่มี

เวลานี้สงครามเกิดขึ้นทั้งโลกแต่ไม่ใช่สงครามโลกนะ
มีประเทศไหนบ้างที่บอกว่าไม่มีสงคราม
อาจจะมีบ้างแต่ไม่กี่ประเทศ ต่างคนต่างก็รบนอกประเทศก็มี
ที่รบกันอย่างนี้ เพราะอาศัยความโลภเป็นสำคัญ
อยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเป็นสำคัญ
จึงทำอย่างนั้น ในการรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกันใช้อะไรบ้าง?
ใช้อาวุธ ใช้คน ใช้อาหาร ใช้เบี้ยเลี้ยง ใช้อุปกรณ์ต่างๆ
กระสุนแต่ละนัด บรรดาท่านพุทธบริษัทกระสุนปืนนะ
แต่ละนัดราคาเท่าไร ลูกระเบิดแต่ละลูกราคาเท่าไร
ชีวิตของคนแต่ละคนราคาเท่าไร

รวมความว่าทรัพย์สินต้องเสียหาย เพราะความโลภ
อยากได้ของบุคคลอื่นมาเป็นสำคัญ นี่จุดหนึ่ง
เรื่องของประเทศเรื่องใหญ่มาก

ถ้ามาเรื่องส่วนตัวบุคคล ถ้าการลักการขโมยกันไม่มี
การปล้นสดมภ์ไม่มี การโกงไม่มี เป็นต้น
เอาง่ายๆ ว่า ถ้าขโมยไม่มีนี่ ค่าใช้จ่ายในบ้านน้อยลงไปมาก
ประการแรก บ้านก็ไม่ต้องทำแข็งแรงมั่นคงนัก
แค่บังแดดบังฝนได้ เท่านี้ก็พอ
ประการที่ 2 ไม่ต้องใช้เงินซื้อกุญแจ ประตูก็ไม่ต้องทำแข็งแรง
กุญแจแต่ละดอก ก็ไม่ต้องมี กุญแจแต่ละดอกที่ทำได้ต้องใช้เงิน
บ้านแต่ละหลังที่ทำแข็งแรงเพิ่มเงินเข้าไปมาก
แล้วก็อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ก็ไม่ต้องมี ไม่ต้องมีการระแวดระวัง
นอนหลับกันอย่างสบาย คนก็มีประสาทดี มีอารมณ์แห่งความสุข
ปัญญาก็มี เมื่อใจเยือกเย็นปัญญาก็เกิด
ใจเย็นเพราะ หนึ่งไม่ฆ่ากัน ตามศีลข้อที่ 1 ไม่ฆ่ากันไม่ประทุษร้ายกัน
ไม่ลักไม่ต้องระมัดระวังของ ไม่มีการลักไม่มีการขโมยกัน
อย่างนี้ทุกคนมีอารมณ์เป็นสุข

แล้วถามว่าจะรวยได้อย่างไร? ก็ลองคิดดู
ถ้ามีการลักการขโมยกันเป็นปกติ เจ้าของบ้านก็ต้องเผ้าทรัพย์
ต้องระวังทรัพย์ ประสาทก็มึน ร่างกายก็เพลีย
ร่างการเพลียลงไปนี่การงานก็ลดตัวลง มันสมองไม่ดี
ปัญญาที่หาทรัพย์สินก็น้อยลง การคล่องตัวก็มีน้อยไป
อันนี้อาจจะเห็นยากเอากันง่ายๆ
ถ้าบ้านไม่ต้องปลูกแข็งแรงนัก เพราะไม่มีขโมย
ค่าใช้จ่ายลดลงไปเท่าไร
สมมติว่าถ้าบ้านไม่ต้องมีกุญแจ ลูกกุญแจดอกหนึ่ง
เวลานี้ 10 บาทซื้อไม่ได้แล้ว
สมมติว่า ลูกกุญแจดอกละ 10 บาท 10 ล้านหลัง
นี่เข้าไป 100 ล้านแล้วต้องเสียหายเปล่าๆ
แล้วงบประมาณเจ้าหน้าที่ งบประมาณผู้ควบคุม
งบประมาณผู้พิพากษาอัยการ ศาลต่างๆ ที่ต้องสูญเสียไปมันเท่าไร
ถ้ารักษาศีลข้อนี้ได้ ประเทศชาติเจริญมาก มีความสุขมาก
รัฐบาลก็มีความเยือกเย็นใจมีรัฐบาลก็ได้ ไม่มีรัฐบาลก็ได้
เพราะคนไม่คิดฆ่ากัน ไม่คิดลักขโมยกัน
เราก็จะมีแต่ความสุข ไม่ต้องหาใครมาตัดสิน
การเป็นถ้อยร้อยความสู้คดีในโรงในศาล
นั่นหมายถึง ความบรรลัยแห่งทรัพย์สินมันเกิดขึ้น
ต้องจ่ายเงินทองเสียเวลาการงาน แล้วคดีจะแพ้ชนะหรือก็ยังไม่รู้
ถ้าแพ้ก็แย่ใหญ่ ถ้าชนะได้มากก็ไม่คุ้มค่าของการเป็นความ
เงินอาจจะได้มาคุ้มแต่เวลาที่เสียไป บรรดาท่านพุทธบริษัท

รวมความว่าศีลข้อ 2 คุ้มครองโลกให้มีความสุขมาก
ถ้าหากว่าเราสามารถรักษาศีลข้อนี้ได้ จะไปที่ไหนก็มีแต่คนไว้วางใจ
ในเมื่อเขาไว้วางใจ เขาก็รักในเรา เขารู้ว่า เราเป็นคนใจดีมีเมตตา
เป็นคนใจดีมีกรุณาความสงสาร อารมณ์ใจเราก็แช่มชื่น ใจดี
มีแต่ความสันโดษ ยินดีเฉพาะทรัพย์สินของตน
ไม่ต้องการทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรม
ไปบ้านไหนเขาก็ยินดีรับ เราก็มีความสุข เจ้าของบ้านก็มีความสุข
แขกผู้ไปหาก็มีความสุข มีแต่หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเข้าหากัน
ทรัพย์สินก็ไม่เปลือง นี่เป็นอันว่าในปัจจุบันก็มีความสุขแล้ว


ที่ท่านบอกว่า "สีเลนะ สุคติง ยันติ"
บุคคลที่ทรงศีลได้จะมีความสุข "สีเลนะ โภคสัมปทา"
ถ้าไม่มีการลักไม่มีการขโมยซึ่งกันและกัน
ไม่ประทุษร้ายซึ่งกันและกันทรัพย์สินก็ไม่หาย ทรัพย์สินก็ไม่เปลือง
ความอุดมสมบูรณ์ในความเป็นอยู่ก็มี แก่บุคคลทุกคน
ไม่ต้องไปนั่งกลัวโจรแบบสมัยปัจจุบัน
ในปัจจุบันนี้แม้แต่ในธนาคารเขายังปล้นเลย
ในเมื่อปล้นกระทั่งธนาคาร ขโมยของบ้านผู้พิพากษา
ขโมยของบ้านนายตำรวจ ชาวบ้านก็ย่ำแย่แล้ว

พูดอย่างนี้ไม่ใช่ตำหนิทั้งราชการ ไม่ใช่ตำหนิทั้งรัฐบาล
ไม่ว่าใครทั้งหมด ไม่ต้องการให้มีอาการอย่างนี้เกิดขึ้น
กำลังใจของชาวโลกเต็มไปด้วยความวิปริต
คิดว่า เมื่อเอาทรัพย์สมบัติของคนอื่นมาได้แล้ว จะมีความสุข
แต่ความจริง คนที่ลักขโมยเขากิน ก็ไม่มีความสุข
ต้องนั่งระแวงนอนระแวงอยู่เสมอ ได้ทรัพย์สินของเขามาแล้ว
บรรดาท่านพุทธบริษัท หาความสุขไม่ได้
เกรงว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะสืบรู้บ้าง
เกรงว่าเจ้าของเขาจะจำได้ เจ้าของเขาจะรู้ตัวบ้าง
จะนั่งจะนอนก็สะดุ้งอยู่เสมอ
นี่เป็นอาการที่ไม่มีความสุขเลย เพราะการละเมิดศีล
ถ้าทรงศีลข้อนี้ได้แล้วเราก็ไม่นอนสะดุ้ง
ไม่ต้องเกรงใครเขามา จับกุม

ก็รวมความแล้วว่า ถ้าหากปฏิบัติศีลข้อนี้ได้ในชาติปัจจุบัน
ทรัพย์สินที่เรามีอยู่ก็อุดมสมบูรณ์ขึ้น
ไม่หนักใจในความเป็นอยู่ ก็ไม่เสียเพราะการลักขโมย
ไม่เสียเพราะการปล้น ไม่เสียเพราะการถูกโกง
ไม่เสียไปเพราะถูกยักยอก ถ้าเราไม่เสียขนาดนี้
การเสียอย่างอื่นก็น้อยเต็มที การจะกินจะใช้มันเรื่องเล็กๆ
บรรดาท่านพุทธบริษัท เป็นของธรรมดาๆ
เรามีมากกินมาก มีน้อยกินน้อย
แต่พวกกลับขโมยนี่ซิ เรามีน้อยแกก็ลักหมด เรามีมากแกก็ลักหมด
เรามีมากแกก็โกงหมด เรามีน้อยแกก็โกงหมด ดีไม่ดีแกโกงเลยหมด
พวกปล้นจี้บางทีแกเอาปล้นจี้เลยหมด
หมดตัวแล้วยังเอาตัวไปเป็นประกัน เอาค่าไถ่
ก็หมายความว่า ถ้ามีที่ดินทรายอยู่บนพื้นที่อสังหาริมทรัพย์
เคลื่อนที่ไม่ได้ ยังต้องจำนำจำนองขายรับเอาเงินไปไถ่
กลัวเพื่อนและคนที่ถูกจับไปจะตาย

นี่ความเร่าร้อน เพราะการไม่เคารพในศีลข้อนี้เป็นอย่างนี้
ถ้าทุกคนเคารพศีลข้อนี้ก็มีแต่ความสุข นี่ว่ากันถึงปัจจุบัน

ถ้าสัมปรายภพ บรรดาท่านพุทธบริษัท
ถ้าตายไปแล้วในโลกหน้า คนที่ทรงศีลข้อนี้จะมีอาการเป็นอย่างไร?

ก็มาว่ากันถึงกำลังใจก่อนตายก่อน ก่อนที่เราจะตาย
บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าจิตของเรามีเมตตา ความรัก ความสงสาร
มีความสันโดษ ยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่หามาได้โดยชอบธรรม

คำว่า "สันโดษ" นี่ไม่ใช่ยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่มีอยู่นะ
หนังสือท่านเขียนไว้ว่า ยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่มีอยู่
นี่ก็หมายความว่า เราหาของเราได้เท่าไรยินดีเท่านั้น ไม่ใช่ไม่หาเลย
ความขยันหมั่นเพียร ไม่ใช่ความโลภ
ขยันหมั่นเพียร โดยไม่ทำผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม
อย่างนี้พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า "สัมมาอาชีวะ"
หาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม อย่างนี้ทำได้โดยไม่มีอะไรเป็นพิเศษ
ไม่มีอะไรเป็นบาป

ทีนี้ ในเมื่อท่านทั้งหลายก่อนจะตาย กำลังใจเป็นสุข

1. เมตตา ความรัก

2. กรุณา ความสงสาร

3. สันโดษ ยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่เราหามาได้โดยชอบธรรม
ก็ไม่มีอารมณ์สะดุดใจกับใคร จิตใจก็ชุ่มชื่น


ถ้าทรงความดีทั้ง 3 ประการนี้ได้ ก็เว้นจากการละเมิดศีลข้อ 2 แน่
คุณธรรมประเภทนี้ ถ้าก่อนจะตายใจยังทรงความเมตตาอยู่ เป็นต้น
ท่านผู้นั้นตายแล้วในชาตินี้ ชาติต่อไปที่เข้าถึงใหม่ก็ลงอบายภูมิ
คือ มีนรก เป็นต้น ไม่ได้แน่ ลงไม่ได้แน่นอน
ถ้าขืนลงไป เขาขับตีตายเลย
คนนรกเข้าไม่ต้องการเทวดาหรือพรหม เขาต้องการแต่คนเลว

ลงนรกไม่ได้ไปไหน? ก็ต้องไปเป็นเทวดาหรือพรหม
กำลังใจอ่อนก็เป็นเทวดา เข้มแข็งมาหน่อยก็เป็นพรหม
ต่อมาถ้าหมดบุญวาสนาบารมีจากการเป็นเทวดาหรือพรหมไปไหน?
ลงมาปั๊บก็ยับยั้งอยู่แค่มนุษยโลก ความดี 3 ประการก็ตามมาด้วย
ความดี 3 ประการ คือ เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร
สันโดษ ยินดีเฉพาะทรัพย์สินของตนที่หามาได้โดยชอบธรรม
ไม่คดไม่โกงใคร ก็ตามมา

เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร
ทำให้ท่านผู้นั้นเป็นคนสวย มาสวยอีกแล้ว
ถ้าจะไปที่ไหนก็ตาม จะได้รับความเมตตาปรานีจากคนทุกคน
ในที่ทุกสถาน อย่างที่เขาพูดกันว่า บางคนมีเสน่ห์เหลือเกิน
จะไปนั่งที่ไหน จะไปที่ไหนมีแต่คนต้อนรับ ยินดี
มีคนเมตตาปรานีเสมอ สงเคราะห์เสมอ

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะคุณแห่งความดี
คือ เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร ทั้ง 2 ประการนี้
เป็นปัจจัยให้เกิดกับท่านและต่อไป
นอกจากตัวจะสวย จะเป็นที่รักของคนทั้งหลายแล้ว
ทรัพย์สินยังเป็นสุข ว่าทรัพย์สินของท่านผู้นั้นอยู่เย็นเป็นสุข
คือทรัพย์สินของคนทั้งหลายที่มีความดีประเภทนี้
จะปลอดภัยทั้ง 4 ประการ


ทรัพย์สินของท่านจะไม่เสียหาย เพราะไฟเผาผลาญ
ไฟจะไม่ยอมไหม้ทรัพย์สินของท่านทั้งหลายเหล่านั้น
เรื่องไฟไหม้นี้เป็นเรื่องอัศจรรย์หลายวาระ
มีโยมท่านหนึ่งบอกว่า ท่านอยู่ทางด้านตลาดพลู บางสะแก
วัดสะแกละมั้ง อาตมาก็จำไม่ถนัด
ท่านมาพูดเสียตกใจ ไฟไหม้หลังที่ 1
บ้านหลังที่ 1 บ้านของท่านเป็นหลังที่ 2 ไฟไม่ยอมไหม้
เปลวไฟพุ่งข้ามหลังคาบ้านของท่านไปไหม้หลังที่ 3
ขณะที่อยู่ติดๆ กันยังไม่ยอมไหม้ ไปไหม้หลังที่ 3

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านที่รักษาศีลข้อ 2 ได้
หรือกรรมบถ 10 ก็เช่นเดียวกัน เหมือนกัน

ประการที่ 1 ไฟจะไม่ไหม้บ้านของท่าน

ประการที่ 2 น้ำจะไม่ทำลายทรัพย์สินของท่าน

ประการที่ 3 ลมจะไม่ทำลายทรัพย์สินของท่าน

ประการที่ 4 โจรขโมยมองไม่เห็นบ้านของท่าน
เขามองเห็นเหมือนกัน แต่ว่าเขาไม่อยากจะลักไม่อยากจะขโมย
ทั้งนี้เพราะอะไร?


เพราะว่าคุณความดีแก่ศีลข้อ 2 ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า
"สีเลนะ โภคสัมปทา" และท่านที่ทรงศีลข้อที่ 2 นี้
ได้ทรัพย์สมบัติที่ท่านจะพึงหามาจะหาได้ด้วยการคล่องตัวมาก
ไม่เสียหายเพราะเหตุ 4 ประการแล้ว
การหาทรัพย์สินคล่องตัวมาก จะทำอะไรก็ตาม
มีการทำมาค้าขึ้นอยู่เรื่อย การค้าขาย ถ้าใครเขาขาดทุน
คนประเภทนี้ขาดทุนไม่เป็น มีอย่างเดียวได้กำไรน้อยหรือกำไรมาก
ยังไงๆ ก็มีกำไรกันแน่ จะทำพืชไร่ต่างๆ
หรือทำนาต่างๆ ก็ตาม เสียหายยาก

มีบ้านอยู่บ้านหนึ่ง อาตมารู้จักมานาน บ้านนี้ก็มีเรื่องแปลก
ไม่ขอยกชื่อของท่านมา คือ ท่านมีความจริงใจอยู่มาก
เรียกว่า ทรัพย์สินของใคร ในชาตินี้นะ ทรัพย์สินของบุคคลอื่นใด
ท่านไม่แตะต้องจริงๆ เรื่องการคดโกง
มีอย่างเดียวคือ ให้ ใครขัดข้องขึ้นมาถ้าไม่เกินวิสัย ยืมแกก็ให้ยืม
กู้ให้กู้ กู้ดอกเบี้ยก็เอาไม่แพง ดีไม่ดีไม่เอาเลย
วัดวาทั้งหลายถ้าทำงานเกิดขึ้น ถ้าไม่เกินวิสัยท่าน
มีเครื่องกระแสไฟฟ้าก็ไปช่วย มีเครื่องสูบน้ำก็ไปช่วย
ตัวเองก็ช่วยตักน้ำ ช่วยต้มแกง
ทำงานทุกอย่าง เป็นที่รักของคนทุกกลุ่ม

บ้านนี้แปลก ทำไร่ บางปีชาวบ้านใกล้เคียงและทั้งบริเวณ
และตำบลร่วมกันเสียหายยับเยิน ข้าวไม่ได้สักต้นหนึ่ง
ผักไม่ได้สักต้นหนึ่ง สัตว์เพลี้ยกินหมด
แต่บ้านนี้ก็ต้องมีกำไร ปีนั้นก็หลายหมื่น
อย่างสมัยเงินแพงๆ กว่านี้ ค่าเงินสูงกว่านี้
ก๋วยเตี๋ยวชามละ 10 สตางค์ หรือ 5 สตางค์
เขาเสียหายหมด บ้านนี้มีกำไร 2-3 หมื่นบาท
ถ้าเขาได้กันบ้านนี้กำไรเป็นแสน นี้ผลของการทรงศีลข้อนี้
บรรดาท่านพุทธบริษัท แม้ในชาติปัจจุบันยังให้ผลขนาดนี้
ชาติต่อไปจะเป็นยังไง

ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายผู้ทรงไว้ซึ่งความดี
ซึ่งเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระชินสีห์ ต้องการหนีนรก
ทุกคนก็พยายามทรงศีลข้อที่ 2 ด้วยอีกข้อหนึ่งให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
ซึ่งไม่เกินวิสัย

เอาละตอนนี้เวลาก็หมดแล้ว ก็ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
จงมีความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแต่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี...



ตอนที่ ๑๕ ศีลและกรรมบถ ๑๐ ข้อที่ ๓

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ 15
ตอนที่ 15 นี้จะพูดกันถึงเรื่อง ศีลและกรรมบถ 10 ข้อที่ 3

สำหรับศีลและกรรมบถ 10 ข้อที่ 3 นี่
คือ ศีลก็เหมือนกับกรรมบถ 10 กรรมบถ 10 ก็เหมือนศีล
นั่นก็หมายความว่า เป็นข้อที่กล่าวถึง "กาเมสุมิจฉาจาร"
แต่สำรับศีลข้อนี้จะเป็นอย่างไรก็ขอเว้นไว้ก่อน
บรรดาท่านพุทธบริษัท ตอนนี้ก็มาขอเตือนกัน

เพราะว่ารายการนี้เป็นรายการ "หนีนรก" หรือว่า "หนีบาป"
บาป คือ ความชั่ว ผลของความชั่วทำให้ตกนรกเป็นต้น

การหนีบาปนี่ก็ย้ำกันไว้ตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระทศพล
คือ บาปทั้งหมดเราหนีไม่ได้ หนีแต่บาปหยาบๆ
แต่ว่าทำได้ ทุกชาติที่เกิดไปใหม่
ตายจากชาตินี้แล้วหรือเกิดชาติต่อๆ ไป แล้วตายใหม่
กรรมที่ว่าต้องลงนรก เป็นต้น จะไม่มีสำหรับพวกเราทั้งหมด
องค์สมเด็จพระบรมสุคตทรงยืนยัน

การหนีนรกก็คือ หนึ่ง อย่าประมาทในชีวิต
มีความรู้สึกตามความจริงว่า ชีวิตนี้มันต้องตาย
แล้วก็จงอย่าประมาทความตายของเรา
ถ้าเรายังไม่แก่ ยังไม่ตาย อันนี้ไม่ถูกต้อง
ท่านทั้งหลายจะเห็นว่า คนที่เกิดมาทีหลังเรา ตายไปก่อนเราตั้งเยอะ
ฉะนั้นความตายจะเข้ามาถึงเราเมื่อไรก็ไม่แน่
ท่านให้คิดว่า ความตายอาจจะถึงเราวันนี้ไว้เสมอ
ถ้าคิดอย่างนี้ก็จะสร้างแต่ความดี
เมื่อสร้างแต่ความดี สิ่งที่พึงได้ก็คือ ความสุขในปัจจุบันและสัมปรายภพ
ความดีที่พึงปฏิบัติ อันดับต้น ก็คือ ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นเกราะป้องกันตนไม่ให้ลงอบายภูมิ
แล้วต่อไป ก็ทรงศีล 5 ให้บริสุทธิ์
ถ้ามีกำลังใจดีขึ้น ก็ทรงกรรมบถ 10 ให้บริสุทธิ์
เพียงเท่านี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
คำว่า ต้องเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน
จะไม่มีกับท่านอีก บาปอกุศลกรรมต่างๆ ที่ทำมาแล้วทั้งหมด
จะไม่มีผลทำให้ท่านปรากฏว่า ต้องลงอบายภูมิ
นี่ก็หมายความว่า บาปตามท่านไม่ทันต่อไป
การเกิดของพวกท่านทั้งหมดจะมี มนุษย์ เทวดา กับพรหม
แล้วต่อไปถ้ากำลังบารมีเข้มข้นก็จะถึงนิพพานในที่สุด
ต่อไปนี้จะขอพูดเรื่องศีลข้อที่ 3


สำหรับศีลข้อที่ 3 นี้ กล่าวว่า "กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี"
ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ให้งดเว้นในการบริโภคกามคุณ
นอกเหนือจากสามีและภรรยาของตนเอง
เราจะไม่ไปยุ่งกับสามีหรือภรรยาของบุคคลอื่นเป็นอันขาด

สำหรับศีลข้อนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัทถ้าท่านทำได้ ศีลก็ดี ธรรมะก็ดี
ที่องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส
ไม่ใช่หวังผลเฉพาะชาติหน้าอย่างเดียว
ทั้งศีลและธรรม ถ้าปฏิบัติได้จะมีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
นั่นก็หมายความว่า จะมีผลตั้งแต่เริ่มปฏิบัติในวันแรก
จิตใจเริ่มเป็นสุขว่า เรามีโอกาสเว้นความชั่วได้ข้อหนึ่ง

สำหรับข้อ "กาเม" นี่ บรรดาท่านพุทธบริษัท
ถ้าจะว่ากันถึงโทษในอบายภูมิจะว่า หนักก็ไม่หนัก จะว่าเบาก็ไม่ได้
แต่ความจริงยังตกนรกขั้นเบา เฉพาะข้อนี้นะ ถ้าไม่มีข้ออื่นเจือปน
ตกนรกแค่ "สิมพลีนรก" เขาเรียก "นรกต้นงิ้ว" ไม่หนักนัก
แต่ทว่าโทษในชาติปัจจุบันนี่
บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าไปยุ่งกับภรรยาหรือสามีของคนอื่น
มีโทษถึง ประหารชีวิต

ถ้าบรรดาท่านทั้งหลายผู้รับฟังจะถามว่า เอากฎหมายที่ไหนมาอ้างกัน
มีโทษเป็นชู้กับสามีภรรยาของบุคคลอื่นมีโทษประหารชีวิต
เห็นจะเป็นกฎหมายของวัดท่าซุงกระมัง มันอาจจะสงสัยอย่างนี้ได้
บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท แต่ความจริงกฎหมายของวัดท่าซุง
ไม่ปรับโทษเลย ไม่ว่าใครทำละเมิดสิกขาบทของศีล หรือกรรมบถ 10
ข้อใดข้อหนึ่งก็ตาม วัดท่าซุงนี่ไม่ปรับโทษใครทั้งหมด เพราะอะไร?
เพราะไม่มีกฎหมายจะปรับ มีแต่ธรรมมะและวินัย

ทีนี้อาตมากล่าวว่า มีโทษถึงประหารชีวิตน่ะ
เป็นกันมาแล้วก็เป็นอันว่า เจ้าของเขา สามีก็ดี หรือภรรยาก็ดี
ผู้เป็นเจ้าของสามีและภรรยาที่ท่านเข้าไปละเมิด
เขามีความโกรธท่านผู้ละเมิดมีโทษถึงประหารชีวิต
คือ ถูกฆ่าตายมานับรายไม่ถ้วน
ถ้าจะพูดถึงกฎหมายของบ้านเมือง ท่านเขียนว่าอย่างไรอาตมาไม่ทราบ
ท่านผู้พิพากษา ท่านตัดสินว่าอย่างไร อาตมาก็ไม่ทราบ
แต่ว่าเจ้าของเขาตัดสินนี่หนักมาก บรรดาท่านพุทธบริษัท

และประการที่ 2 ถ้าเราเป็นคนเจ้าชู้แบบนั้น เขายังจับไม่ได้
ใจเราก็ไม่มีความสุข พอเจอะสามีหรือภรรยาของเขาเมื่อไร
จิตใจก็เริ่มไม่สบายใจ ถ้าเขาพูดเรื่องอย่างนี้ปรารภถึงเรื่องคนอื่น
เราก็อดสะดุ้งไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร?
เพราะเราเป็นคนผิด คิดชั่ว แล้วก็ทำชั่ว
ต้องพยายามเอาตัวออกห่างไว้เสมอ
ถ้าจะว่ากันตามประสาพระ บรรดาท่านพุทธบริษัท มันก็หนักไม่มาก
สำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัท ภาษาพระก็ถือว่า
การร่วมรักในด้านกามารมณ์
ไม่มีจุดหมายปลายทางแห่งความเป็นสุขเลย
มีแต่เรื่องเป็นทุกข์ทั้งหมด

สิ่งที่ท่านเห็นว่าดีก็คือ ร่างกาย มันก็เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก
แล้วในที่สุดรูปโฉมโนมพรรณที่ผ่องใสก็เหี่ยวแห้งลงไปทุกวันๆ
ในที่สุดความแก่เข้ามาถึง ความต้องการที่เราวาดไว้มันก็สลายตัว
ดอกไม้เหี่ยวไม่มีใครต้องการ
ข้อนี้ฉันใด ร่างกายของคนก็เหมือนกัน
ถ้าเวลาล้ากาลล้าสมัย บุคคลต้องการก็ไม่มี

เราที่ตะเกียกตะกายเสี่ยงชีวิต ถ้าเจ้าของเขายังจับไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
ถ้าจับได้ยอมตาย ทั้งๆ ที่เขาจับไม่ได้ เราก็หมดอาลัยในร่างกายนั้นแล้ว
ทั้งนี้เพราะอะไร? เพราะสิ่งสดใสที่ต้องการไว้ที่ปรารถนาไว้
มันเศร้าหมองลงไป

ถ้าพูดตามภาษาพระ นี่บรรดาท่านพุทธบริษัท
มันก็ขัดคอชาวบ้านเพราะว่า ท่านทั้งหลายที่มีความต้องการอยู่
ยังเห็นว่าดี แต่ขอให้ดีแบบประเภทแบบปลอดภัย
อย่าเสี่ยงอันตรายเกินไป เพราะสิ่งที่ได้มามีการสัมผัสนิดหน่อย
แล้วก็จากกันไป ความอิ่มเอิบทางกาย มันก็ไม่มี
จะมีบ้างก็ความอิ่มเอิบทางจิตใจ ก็ไม่มากมายอะไรนัก
ไม่ช้าไม่นานเท่าไร ก็เกิดการเบื่อหน่าย
ความจริงเรื่องของการเสพกามารมณ์
ในสามีและภรรยาของบุคคลอื่น ไม่มีอารมณ์อันเป็นสุข
มันจะเป็นสุขชั่วขณะจิตเดียว หลังจากนั้นแล้วเกรงเขาจะจับได้

ฉะนั้น ถ้ามีอารมณ์ใจประเภทนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท
ถ้าบุคคลอื่นใดเขารู้นิสัยใจคอของเรา รู้จริยาที่เราทำเข้าเมื่อไร
เมื่อนั้นแหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
เราเองก็จะเป็นที่รังเกียจของบุคคลทั้งหลาย
ไม่มีใครเขาปรารถนาอยากจะคบหาสมาคมด้วย
ทั้งนี้เพราะอะไร? ก็เพราะว่าไว้ใจไม่ได้ ให้เป็นเพื่อนบ้านไม่ได้
พยายามตีท้ายครัวอยู่เสมอ
แล้วสิ่งที่จะมาถึงข้างหน้าก็คือ ศักดิ์ศรีทรามไป
ความตายจะเข้ามาถึง นี่ว่า โทษกรรมในชาติปัจจุบัน

สำหรับในชาติสัมปรายภพ อันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทที่มีความสงสัยว่า
การตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด? อาตมาขอยืนยันอีกครั้งหนึ่ง
ตามคำยืนยันขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
ตายแล้วเกิดจริง นรกมีจริง เปรต อสูรกายมีจริง
สัตว์เดรัจฉานไม่ต้องพูดกัน เห็นกันอยู่แล้ว
สวรรค์หรือพรหมโลกมีจริง พระนิพพานก็มีจริง
ถ้าอยากจะถามว่า ที่พูดอย่างนี้พูดตามตำราใช่ไหม?
ก็ต้องขอยอมรับว่า พูดตามตำราจริงและก็ได้ปฏิบัติตามตำราจริง
แล้วก็เห็นจริงพบจริงตามตำรานั้น


ก่อนจะได้อ่านตำรา สมัยเป็นเด็ก ตายครั้งแรก ก็สามารถไปนรก
ได้แบบสบายๆ ต้องการเห็นสวรรค์ ต้องการเห็นพรหมโลก
ก็เห็นได้หมด คนที่ทำความดีเสวยผลความดีแบบไหน
เห็นมาแล้วตั้งแต่อายุ 10 ปีเศษ
คนที่ทำความชั่วตกนรกขุมไหน มีทุกข์มีโทษเป็นประการใด
มีทุกขเวทนาขนาดไหน เห็นมาแล้วตั้งแต่อายุ 10 ปีเศษ
จึงกล้ายืนยันตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์
แล้วก็ในชาติปัจจุบันนี้ คนในประเทศไทยนับแสน
เขาสามารถท่องเที่ยวไปในแดนต่างๆ ได้
และคนไทยที่อยู่ต่างประเทศ ฝรั่งที่อยู่ต่างประเทศแม้แต่พม่าและจีน
เขาก็สามารถไปกันได้ คนไทยที่อวดตัวว่า
นับถือพระพุทธศาสนาบางส่วน
ยังจะสงสัยอยู่อีกก็แปลกใจเหมือนกันว่า ทำไมจึงได้เป็นอย่างนั้น

ถ้าพูดถึงว่าการปฏิบัติอย่างนี้มีคนสงสัย ถ้าคนธรรมดาสงสัยไม่เป็นไร
คนผิดธรรมดาสงสัยว่า ทำไมมาปฏิบัติกันแบบไหน
ไม่เห็นมีแบบฉบับที่ไหน เป็นการกระทำนอกเหนือพระพุทธศาสนา
เคยได้ยินมาบ่อยๆ บรรดาท่านพุทธบริษัท ก็ขอตอบเสียในที่นี้เลย
เพราะว่าเทปอันนี้จะยืนยัน เป็นการทรงตัวอยู่ไม่ลบละ
จะพูดกันที่วัดท่าซุงทุกวันว่า การปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั่นน่ะ
ได้โปรดอย่างมเฉพาะเข็มเล่มเดียว หรือจะมองดูเฉพาะหนังสือจุดเดียว
แต่ความจริงศึกษากันมาแล้วน่ะ
ในหลักสูตรนักธรรมโทก็มีสุกขวิปัสสโก เตวิชโช
ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต อย่างนี้ศึกษากันมาแล้ว
แล้วทำไมไม่ลองทำบ้าง
การเรียนตำราทำกับข้าว หรือทำขนม อ่านเฉพาะตำรา
แล้วก็ทิ้งไปไม่สนใจและไม่ลองปฏิบัติทั้ง 4 ประการ
แล้วท่านจะรู้กันได้อย่างไร จะเห็นกันได้ยังไง
รวมความว่า เป็นการอ่านหนังสือหลอกตัวเองเท่านั้น

ความจริง การปฏิบัติเพื่อรู้ชาตินี้ชาติหน้า ตายแล้วไปเกิดหรือไม่เกิด
เป็นการปฏิบัติที่ไม่ยาก ใช้เวลาอย่างมากเพียง 3 วัน
3 วันนี่เขาถือว่า "ทื่อ" มากแล้วนะ จะบอกว่า "เลวมาก" ก็เกรงใจ
ใช้ศัพท์ว่า "ทื่อมาก" แล้วหาความคมไม่ได้แล้ว
แค่ 3 วันเขาสามารถทำได้
ในสมัยที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าดำรงอยู่
สมัยนั้นคนที่ไม่เคยพบองค์สมเด็จพระบรมครูเลย
เพียงแค่ฟังเทศน์จบเดียว เขาได้กันเป็นแถว

ขอประทานอภัยเถิดขอรับ อย่าเข้าฌาน หลับตาเพลินเกินไป
มองหน้ามองหลังมองซ้ายมองขวาได้รอบตัว
เท่านี้ท่านจะไม่สงสัยผลของการประพฤติปฏิบัติแบบวิชชาสาม
และอภิญญาหก มันเป็นของไม่ยากสำหรับคนดี
แต่คนที่ไม่สามารถจะมีวิชานี้ได้ก็สงสัยเหมือนกัน

ก็รวมความว่า ถ้าตายจากความเป็นมนุษย์ เพราะโทษกาเมสุมิจฉาจาร
เขาก็ให้ไปขึ้นต้นงิ้วสนุกสนานดีมาก เคยไปยืนชม
เจ้าหนามงิ้วก็เหมือนกับสปริง พุ่งตัวออกมาได้ท่านว่ายาว 16 องคุลี
ก็ยังไม่ทราบว่าองคุลีของใคร เพราะว่าเมื่อยืนดูใกล้ๆ

หนามงิ้วจะยาวกว่าตัวของอาตมาเอง มันยาวมาก
ทีแรกก็ลู่ติดนิดเดียว พอมีคนไต่ขึ้นไปมันก็พุ่งพรวดทะลุหลัง
ข้างล่างถ้าหล่นลงมา ถูกสุนัข (หมานรกนะ ไม่ใช่หมาธรรมดา)
ตัวใหญ่มาก กัดกินเนื้อ ขึ้นสูงขึ้นไปก็มีแร้งกาตัวใหญ่จิกกัดกินตี
หล่นลงมาหมากัดกินถูกนายนิรยบาลเอาหอกเสียบพุ่งขึ้นไปใหม่


ก็รวมความว่า โทษทัณฑ์ในชาติหน้าร้ายแรงเหลือเกิน
อย่าทำกันเลยบรรดาท่านพุทธบริษัท


ทีนี้มาว่ากันถึงคุณ ถ้าเราเว้นข้อกาเมสุมิจฉาจารนี้ได้
เรารักเฉพาะภรรยาหรือสามีของเรา
ในตอนนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทจะมองเห็นความสุข
ความสุขในบ้านจะเกิดขึ้น ก็รวมความว่า ต่างคนต่างไว้วางใจซึ่งกัน
ความรักความสามัคคีมันก็เกิดในบ้านมันจะเหมือนสวรรค์
มีแต่ความสุข การขัดคอกันเรื่องอื่นไม่หนักนัก
ทะเลาะกันเรื่องการเงินการทองประ เดี๋ยวก็เลิกได้
ขัดคอกันด้วยเหตุผลบางประการ เดี๋ยวก็เลิกได้
แต่ถ้าขัดใจกันเรื่องชู้สาวนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัท
ขัดใจเรื่องการนอกใจนี่เป็นผีเสียหลายราย


มามองดูถึงการไม่ขัดใจกัน เจอะหน้ากันก็มีความยิ้มแย้มแจ่มใส
ต่างคนต่างก็มีความสุข การปรารถนาในความรักจะจืดจางไปบ้าง
ก็อยู่ในขั้นเห็นใจซึ่งกันและกัน
ถึงแม้ว่าจะงดเว้นบ้างก็อยู่ในขั้นเห็นซึ่งกันและกัน
ถึงแม้ว่าจะงดเว้นบ้างจะขาดไปบ้าง แต่ไม่นอกใจก็ไม่เป็นไร
พ่อบ้านแม่บ้านก็ยังมีแต่อาการชุ่มชื่น
นี่เรียกว่า "ความสุขในบ้าน" บ้านเป็นสวรรค์เห็นได้ชัด
แล้วถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทไปคบหาสมาคมกับคนอื่น ไม่ว่าใครทั้งนั้น
ที่เราคิดว่า เราไม่เจ้าชู้ เราไม่นอกใจสามีและภรรยา
เป็นคนที่มีความรักสามีและภรรยา ซื่อตรงซึ่งกันและกัน
อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ก็เป็นอันว่าครอบครัวนี้
จะถือเป็นครอบครัวที่ชาวบ้านเชิดหน้าชูตายกย่องสรรเสริญ
เพราะความเป็นอยู่เป็นสุข
จะไปที่ไหนก็มีแต่คนชอบคบค้าสมาคมด้วย
เพราะว่าใครๆ เขาก็รักคนที่ไม่นอกใจสามีและภรรยา

ถ้าคนใดที่นอกใจสามีและภรรยา
ถ้าฝ่ายชายไปบ้านใคร เจ้าของบ้านนั้นเขาก็ไว้ใจไม่ได้
ดีไม่ดีย่องไปเจ้าชู้กับเมียเขา หรือเจ้าชู้กับลูกสาวของเขา
อันตรายมันก็มี เขาก็เกลียด
ถ้าฝ่ายสตรีเข้าไป ฝ่ายภรรยาเจ้าของบ้าน ก็ไม่ไว้วางใจ
ว่าคนนี้แกไม่เลือกไม่ว่าเป็นใคร ดีไม่ดีจะย่องมาแย่งสามีฉันเข้าก็ได้
ความไว้วางใจก็ไม่เกิดขึ้น ในเมื่อเขาไม่ไว้วางใจในเรา
ความสนิทสนมมันก็ไม่มี จะมีบ้างก็เป็นการยิ้มบังหน้าเท่านั้นเอง
เนื้อแท้จริงๆ ในใจมีแต่ความรังเกียจ
นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท
ในเมื่อเขา รังเกียจเรา บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
เราจะไปไหนคนไว้ใจไม่มี เราก็มีแต่ความทุกข์
ถ้าเกิดขาดแคลนสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา
ถ้าปรารถนาการช่วยเหลือของเพื่อนบ้านด้วยกันก็ยากเหลือเกิน
ไม่มีใครเขาอยากให้ เพราะเป็นคนเจ้าชู้มากเกินไป
นี่ว่ากันถึงความสุขและความทุกข์ในชาติปัจจุบัน

สำหรับสัมปรายภพคนเว้นจากการนี้ก็ไม่มีอะไร ไปสวรรค์แน่
ทั้งนี้เพราะอะไร?

เพราะว่าคนที่จะทรงอารมณ์อย่างนี้ได้
มีความรักเฉพาะในด้านกามารมณ์ เฉพาะสามีและภรรยาของตนเอง
ศีลทุกข้อที่บอกมาแล้วว่ามีธรรมะสิงอยู่ทั้งหมด
การปฏิบัติศีลไม่ใช่ว่าขาดธรรมะ


ธรรมะที่จะต้องสิงใจในศีลข้อที่ 3 ก็คือ

1. เมตตา ความรัก

2. กรุณา ความสงสาร

3. สันโดษ ยินดีเฉพาะสามีและภรรยาของตนเท่านั้น


ยินดีในด้านกามารมณ์นะ เห็นคนสวย เห็นคนปฏิบัติดี อันนี้เขาไม่ห้าม
จะชมคนอื่นได้แต่ชมเบาๆ อย่าให้พ่อบ้านแม่บ้านได้ยินบ่อยเกินไป
ประเดี๋ยวกำลังใจจะตก ชมใครก็ได้ แต่อย่าลืมหันมาชมในบ้าน
ถ้าชมผู้หญิงนอกบ้าน พูดไปพูดมาก็วกว่า ถึงดีก็ยังสู้แม่บ้านเราไม่ได้
แม่บ้านของเรามีความละเอียดอ่อนดีกว่านี้มาก
ถ้าหากฝ่ายหญิงจะชม ผู้ชายนอกบ้านก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
อย่างนี้มันก็มีความสุข เป็นของไม่ยาก ถ้ารู้จักเอาใจซึ่งกันและกัน
นี่ว่าศีลทุกข้อมีธรรมมะควบ
ข้อนี้มี เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร และก็ สันโดษ
ยินดีเฉพาะสามีและภรรยาของตนเองเท่านั้น


ที่ว่ามี เมตตา ความรัก ก็หมายความว่า รักตัวเราด้วย
รักสามีและภรรยาของเราด้วย รักจิตใจของบุคคลอื่นด้วย
ถ้าเราจะไปละเมิดสามีและภรรยาของบุคคลอื่น
เราก็ต้องดูใจเราว่า คนอื่นมาทำกับเราอย่างนั้นเราชอบไหม
ก็ต้องตอบได้เลยว่า เราไม่ชอบ
ในเมื่อเราไม่ชอบ เขาก็ไม่ชอบ
เราก็รักเขาแล้วก็รักตัวเรา เราไม่อยากเสี่ยงให้มันเสียจนเกินไป
แล้วก็รักสามีและภรรยาของเราด้วย
คิดว่าถ้าเราไปทำอย่างนั้นสามีและภรรยาของเราที่อยู่ทางบ้าน
เธอมีความซื่อสัตย์สุจริตในเรา
ถ้าเราไปทำแบบนั้นเข้าเธอจะซ้ำใจขนาดไหน
นี่เรียกว่ารักสามีและภรรยา

ต่อมาก็รักตัวเราเอง เมื่อเราเว้นอาการอย่างนั้น
เรามีความเมตตาอย่างนั้น ความเมตตาก็เข้ามาถึงเรา
เราก็ไม่ต้องเสี่ยงอันตราย
ไม่ต้องเป็นบุคคลที่คนทั้งหลายเขาประณามว่า เป็นคนเลว

กรุณา ความสงสาร อันดับแรกก็สงสารตัวเองว่า
กามารมณ์ไม่ใช่ของอิ่มเหมือนอาหาร ไม่มีความจำเป็นนัก
บ้านของเราก็มี เราสงสารสามีหรือภรรยาว่า จะต้องช้ำใจ
เราไม่ทำตามนั้น สงสารเพื่อนบ้านและบุคคลที่เราจะกระทำว่า
เขาต้องมาเสี่ยงถึงความเสียหายจากเราผู้เดียว
เพราะเราเป็นผู้กระทำ ในเมื่ออาการอย่างนี้มีขึ้น
ความชอกช้ำใจก็ไม่มีด้วยกันทั้งหมดทุกฝ่าย
ทั้งนี้ก็มาจากประโยชน์คือ คุณสมบัติของสันโดษ
คือ มีความยินดีเฉพาะสามีและภรรยา

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า
การประพฤติชั่วในข้อกาเม มีโทษเป็นประการใด


การพูดมานี่ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เวลาจำกัด
จะพูดเอาละเมียดไม่ได้ ใช้ปัญญาพิจารณาด้วยช่วยกันคิด
ถ้าเราทำความดี สาวกขององค์สมเด็จพระธรรมสามิสร
ถ้าเราเว้นได้ จะมีประโยชน์ขนาดไหน
ความสุขกายสุขใจจะมีทั้งเราและสามีภรรยาของบุคคลอื่นด้วย
บุตรธิดาของเราด้วย บุตรธิดาของบุคคลอื่นด้วย
ต่างคนต่างช่วยกันมีความสุข ต่างคนต่างช่วยกันมีความชื่นใจ
ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ความจริงก็ไม่เห็นจะมีอะไรมาก
สมเด็จพระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงห้ามเสียเลย เป็นเพียงแต่แนะนำว่า
อย่าทำนะมันจะผิดใจกันเท่านั้น ผิดใจกับอันตรายมันเยอะ
ดีไม่ดีไม่ทราบว่ามีดโต้มาถึงตัวเราเมื่อไร
ก็มีหลายรายที่นิ้วมือขาดไปไร้ประโยชน์ในการใช้นิ้วมือ
ทั้งนี้เพราะอะไร? เพราะว่าเจ้าของเดิมตัดนิ้วมือทิ้งไปว่า
เจ้านิ้วมือจัญไรแบบนั้นมันไปใช้ที่อื่น ไม่ได้ใช้ที่บ้าน

รวมความว่าโทษทัณฑ์ประเภทนี้ไซร้มาจากอะไร
มาจากขาดความสันโดษยินดีนอกบ้านใช้ไม่ได้
ขาดเมตตา ความรัก ขาดกรุณาความสงสาร

ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
หวังจะทรงศีลข้อนี้ให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
ก็ต้องเอาอารมณ์ธรรมะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า

1. เมตตา ความรัก รักตัวเรา เรารักสามีภรรยาของเรา รักคนอื่น

2. กรุณา ความสงสาร สงสารตัวเรา

3. สงสารสามีและภรรยาของเรา สงสารคนอื่น และก็

4. สันโดษ จำกัดความรักในประเภทนี้ เฉพาะสามีและภรรยาของเรา

เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
ทุกท่านจะมีแต่ความสุขหรรษา ไม่มีความต้องสะเทือนใจ
เดือดร้อนใจด้วยประการนี้ จะไม่มีต่อไป
และท่านทั้งหลายจะเป็นที่รักของบุคคลทั้งหลาย
เป็นที่เคารพของบุคคลทั่วไป


เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ตอนนี้เวลาก็หมดแล้ว
ก็ขอจบเพียงแค่นี้ก็ขอลาก่อน
ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแต่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี...



บทที่ ๑๖ คาถามหาเสน่ห์

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ ๑๖
สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ ๑๖ สำหรับตอนที่ ๑๖ นี้
ก่อนจะพูดเรื่องอื่นก็ขอเตือนกันไว้ก่อน
ว่ารายการนี้เป็นรายการ "หนีนรก" ตอนที่ ๑๕ หนีสิมพลีนรก
แต่ตอนที่ ๑๖ นี้ หนีทุกขุม ทั้งนี้เพราะอะไร?
เพราะว่าเป็นเรื่องของวาจาที่ต้องพูด

แต่ก่อนจะพูดถึงวาจาก็บอกลีลาการหนีนรกกันก่อน
การหนีนรกขอถือตามแบบฉบับขององค์สมเด็จพระชินวร
คือ พระพุทธเจ้า ที่ตรัสว่า

"ถ้าบุคคลใดละสังโยชน์ ๓ ประการได้
หรือว่าตัดสังโยชน์ ๓ ประการได้
ท่านผู้นั้นบาปเก่าทั้งหมดตามไม่ทัน ไม่สามารถลงโทษได้
แล้วก็ท่านผู้นั้นจะไม่มีการตกนรก ไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย
เป็นสัตว์เดรัจฉาน ต่อไปอีกทุกชาติที่เกิด
จะเกิดเมื่อไร จะตายเมื่อไรก็ตาม จะวนเวียนแต่เฉพาะเป็นมนุษย์
เทวดากับพรหม และต่อไปถ้ามีกำลังเต็มก็ไปนิพพาน"


การตัดสังโยชน์ ๓ ประการ ก็ขอบอกกันแบบง่ายๆ ย่อๆ
พูดมากก็ฟังยาก วิธีตัดง่ายๆ ก็คือ

๑. ให้มีความรู้สึกเสมอว่าชีวิตนี้มันต้องตาย
เราไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ

และก็เวลาเดียวกันนั้นก็ตั้งอารมณ์แห่งความดีทางไปสวรรค์
คือ เกาะสิ่งที่มีกำลังใหญ่ คือ พระพุทธเจ้า
ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าด้วยความจริงใจ
ยอมรับนับถือพระธรรมและพระอริยสงฆ์ด้วยความจริงใจ
หลังจากนั้นก็ทรงศีลห้าให้บริสุทธิ์
ถ้ามีกำลังใจละเอียดดีขึ้น ค่อยทรงกรรมบถ ๑๐ ให้บริสุทธิ์
อย่างนี้เวลาท่านเป็นมนุษย์ ท่านก็มีความสุข
ตายจากความเป็นมนุษย์ ก็ไม่พบความทุกข์
เพราะเทวดากับพรหม ไม่มีความทุกข์
ถ้ามีกำลังเต็มเมื่อไรไปนิพพานเมื่อนั้น
ก็พูดกันไว้แค่นี้ก็แล้วกัน เป็นการเตือนใจบรรดาท่านพุทธบริษัท

สำหรับวันนี้ก็จะแนะนำ "คาถามหาเสน่ห์"
ถ้าถามว่า "พระมีคาถามหาเสน่ห์ด้วยหรือ?" ก็ต้องตอบว่า "มี"
ถ้าถามว่า "ใครเป็นครู" ก็ต้องตอบว่า "พระพุทธเจ้าเป็นครู"
ถ้าจะมีคนถามว่า "พระพุทธเจ้าทรงตัดกิเลสได้แล้ว ยังมีเสน่ห์ด้วยหรือ?"
ก็ต้องตอบว่า "คนไหนถ้าตัดกิเลสได้มาก เสน่ห์ก็มาก
ตัดกิเลสได้น้อย เสน่ห์ก็น้อยลงมา
ถ้ายังตัดกิเลสไม่ได้ไม่ได้เลย ระงับสิ่งที่ไม่เป็นเสน่ห์
พยายามสร้างสิ่งที่เป็นเสน่ห์ขึ้นมา ก็มีเสน่ห์เหมือนกัน"


คำว่า "เสน่ห์" แปลว่า "ความรัก" ความรักซึ่งกันและกัน
เป็นเยื่อใยแห่งความรัก ที่ดึงกำลังใจของบุคคลอื่นให้มารักเรา
และก็เราเอง ถ้าคนอื่นเขาทำ เราก็รักเขาเหมือนกัน
ถ้าต่างคนต่างมีเสน่ห์ บรรดาท่านพุทธบริษัท โลกนี้จะมีแต่ความสุข
จะหาความทุกข์ไม่ได้ ความทุกข์จะมีบ้างก็แค่เรื่องของขันธ์ ๕
ขันธ์ ๕ คือร่างกาย มันก็ต้องแก่ มันป่วย เป็นเรื่องธรรมดาของขันธ์ ๕

คือร่างกาย แล้วมันก็ตาย เราจะมีทุกข์อยู่บ้างเมื่อความแก่เข้ามาถึง
เพราะร่างกายไม่ทรงตัว กำลังไม่ดี
ความเชื่องช้าก็ปรากฎก็หนักใจอยู่นิดหนึ่ง
ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้น มันก็มีความลำบากอยู่บ้าง
มีความทุกข์อยู่บ้าง ความตายจะเข้ามาถึงก็มีความทุกข์บ้าง
เพราะมีทุกขเวทนามาก แต่นอกจากอาการทั้ง ๓ อย่างนี้แล้ว
เราจะมีแต่ความสุข เพราะคนที่มีเสน่ห์มากก็มีคนรักมาก
ถ้าเราพบปะสังสรรค์กับสมาคมใด บุคคลใด เราเป็นคนมีเสน่ห์
สมาคมนั้นเขาไม่เกลียด ผู้ที่เกลียดก็คือว่า คนที่มีเสน่ห์ไม่เท่า
เขามีเสน่ห์น้อยเกินไปมีคนรักน้อยเกินไป
อาจจะมีการอิจฉาริษยากันได้ นี่เป็นของธรรมดา
แต่ถ้าพบหน้ากันเข้าจริงๆ บ่อยๆ
อาการอิจฉาริษยาก็จะหมดไป เหลือแต่ความรัก
คาถามหาเสน่ห์นี่มีอยู่ ๔ ข้อ ๔ คำ คือ

๑. ไม่พูดปด

๒. ไม่พูดคำหยาบ

๓. ไม่พูดส่อเสียด

๔. ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล


นี่แหละเป็นคาถามหาเสน่ห์ คำว่า "คาถา" นี่มาจากภาษาบาลี
แปลว่า "วาจาเป็นเครื่องกล่าว" ก็หมายถึง คำพูดที่เราพูดไปเอง
คำพูดที่เราพูดออกไปนี่ ภาษาบาลี ท่านเรียกว่า "คาถา"
(แต่คนไทยพูดเข้าเลยหาว่าเป็นคาถามหานิยมไปเลย
เป็นการเสกคาถาไป) ความจริงไม่ใช่ นี่พระพูด ไม่ใช่หมอไสยศาสตร์
หมอเสน่ห์เล่ห์ลมพูด พระพูดถือบาลีเป็นพื้นฐานเป็นหลัก
คาถาในที่นี้ถือว่า วาจาเป็นเครื่องกล่าว คือ คำพูด


อาตมาจำถ้อยคำของท่านสุนทรภู่ไว้ได้ตอนหนึ่ง ท่านกล่าวว่า

"คนเราจะชั่วหรือดีอยู่ที่ปาก จะได้ยากหิวโหยเพราะชิวหา"

หมายความว่า จะชั่วหรือดีอยู่ที่ปากพูด เสียงที่พูดออกไป
จะได้ยากหิวโหยเพราะชิวหา คือ ลิ้นเป็นเครื่องแต่งเสียง

(วันนี้ร่างกายไม่ดีมาก แต่ขอทำงานตามหน้าที่
เพราะปล่อยร่างกายดีก็ไม่ได้พูด
ถ้าไม่ได้พูดงานก็ไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจ
ก็ขอพูดทั้งๆ ที่เสียงก็ไม่ดีร่างกายก็ไม่ดี เพลียมากเหลือเกิน)

ก็รวมความว่า คนเราจะดีจะชั่วอยู่ที่ปาก การพูด
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ต้องการมีเสน่ห์

๑. อย่าพูดปดมดเท็จ

แต่คนพูดปดมดเท็จนี่ ถ้าเขาจับไม่ได้มันก็ดี การยอมรับนับถือยังมีอยู่
ถ้าจับคำพูดปดมดเท็จได้เมื่อไร
เมื่อนั้นแหละความเป็นที่เคารพนับถือก็ดี
ความเป็นมิตรสหายซึ่งกันและกันก็ดี ก็ต้องสลายตัวไป
เพราะอะไร? เพราะเราเป็นคนทำลายประโยชน์เขา
ในเมื่อเราเป็นคนพูดปด คนที่จะคบหาสมาคมด้วยก็หายาก
เพราะว่าถ้าพูดกิจการงานกับเขา
เขาก็หวังไม่ได้ว่า เราจะพูดตามความเป็นจริง
เรียกว่า เราจะต้องเป็นคนมีทุกข์มาก ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย

สำหรับคำพูดปดนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัท อาตมาลองซ้อมดูแล้ว
ความจริงข้อนี้ก็เป็นทั้งศีลทั้งธรรมนะ ศีลมีแค่พูดปด
กรรมบถ ๑๐ ก็เติมพูดหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล
ข้อนี้ก็รวมทั้งศีลและก็กรรมบถ ๑๐ ด้วย


สำหรับวาจานี่ บรรดาท่านทั้งหลาย อาตมาเคยถามว่า การรักษาศีลห้า
ระวังตอนไหน ส่วนมากจริงๆ บอกว่า หนักใจที่ มุสาวาท
เขาว่า เขาจำเป็นต้องโกหก เขาถือว่าจำเป็น อย่างการค้าขายนี้
บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าไม่โกหกมันก็ขายไม่ค่อยจะได้
บางทีไม่จำเป็นต้องโกหกก็ต้องโกหก
เดี๋ยวพ่อค้าฟังแล้วเขาจะเกลียดนี่หรือเปล่าก็ไม่ทราบ
ความจริงที่ว่า หนักใจก็ได้แก่พวกพ่อค้าแม่ค้า
บรรดาท่านสตรีทั้งหลายนี่หนักใจมาก ว่าศีล ๔ ข้อพอรักษาได้
บอกว่าข้อมุสาวาทนี่หนักใจ แต่ความจริงถ้าเราไม่พูดโกหกจะได้ไหม
ลองไม่พูดโกหกดู ดูซิจะขายของได้หรือไม่ได้
ของดีเราก็บอกว่า "นี่ของดีจริงๆ นะ" ไม่ได้หลอกลวงกัน
ไอ้ที่ดีขนาดกลางก็บอกว่า นี่ดีขนาดกลาง
ไอ้ที่ดีขนาดเลวก็บอกว่า นี่ดีขนาดเลว
ถ้าถามว่าขนาดเลวทำไมจึงว่าดี ก็เพราะยังเป็นของดีไม่แตกสลาย
ผ้าไม่ขาด ขันไม่แตก แก้วไม่แตก ก็เป็นของดี
แต่ว่าอัตราของมันเป็นของเลวหยาบไปหน่อย
สวยน้อยไปนิด เนื้อละเอียดน้อยไปหน่อย อย่างนี้เป็นต้น
ก็เรียกว่า ดีขนาดเลว เราก็บอกตามความเป็นจริง
ข้อนี้หวังว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิงคงไม่หนักใจ


มาอีกตอน เรื่องราคาของของ ราคาของของนี่จำเป็นต้องโกหกกัน
ถ้าไม่โกหกมันขายราคาแพงไม่ได้
แล้วก็มีปัญหาอยู่ว่า สมมุติว่าของชิ้นนี้ในท้องตลาด
เขาขายราคา ๑๐ บาท แต่ว่าต้นทุนจริงๆ
มันเป็นบาทหรือสองบาทเท่านั้นไม่มาก
ถ้ามีคนเขามาขอซื้อ เขาขอลด ไม่ใช่ต่อ
บอก ๑๐ บาท เขาขอลด ๙ บาทหรือ ๘ บาท
ถ้าต่อนั้นหมายความว่า ต้องเป็น ๑๑ บาทหรือ ๑๒ บาท
คงไม่มีคนซื้อคนใดเขาต่อให้มันสูงขึ้น มีแต่ว่าขอลดลง
ว่าขอลดลงมาอย่างนี้ ถ้าเราขายไปเราก็เสียราคาท้องตลาด
ถ้าขายถูกเกินไปนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัท
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ นี่อาตมาเคยพบมา
ตอนนั้นยังอยู่วัดประยุรวงศาวาส จะไปเทศน์ที่นครปฐม
ข้ามสะพานพระพุทธยอดฟ้ามาที่พาหุรัด เพื่อขึ้นรถยนต์ที่นั่น
รถโดยสาร ไปเจอกระเป๋าถือลูกหนึ่งชอบใจ ก็เข้าไปซื้อ
ตกลงกับเจ็ว่าตอนเย็นจะมาเอา เขาปิดราคาไว้
ถามเขาบอกว่า จะเอาไปแต่เอาไปไม่ได้เพราะไปเทศน์
จะให้สตางค์ก่อนเอาไหม? เถ้าแก่ก็บอกว่าไม่ต้อง
เห็นหน้ากันเกือบทุกวัน เขาไว้วางใจ
แต่พอกลับมาปรากฎว่าของในร้านทั้งหมด
เขาเขียนราคาสูงขึ้นไปหมด ราคาเดิมก็ไม่มี
สมมุติว่าราคาเดิมเป็น ๑๐ บาท ตอนเช้ามองดูแล้วมันเป็น ๑๐ บาท
แต่ว่าตอนเย็นกลับมามัยกลายเป็น ๑๓ บาทไป ของบางอย่าง
กระเป๋าลกนั้นประเภทเดียวกัน
ถามเขาเวลานั้นค่าเงินมันสูงเขาเอา ๒๐ บาท
ตอนเช้าเขียนราคา ๒๐ บาท
ในฐานะที่ชอบกันก็บอกว่า
"ฉันเอาลูกหนึ่งฉันไม่ขอลดล่ะ เถ้าแก่จะลำบากเพราะรู้จักกันดี"

เถ้าแก่เลยบอกว่า "ท่านไม่ขอลดผมจะลดให้ ผมเอา ๑๘ บาท"
แต่ตอนเย็นพอมาถึง ปรากฎว่ากระเป๋าประเภทนั้น
ราคาขึ้นไปเป็น ๒๕ บาท ก็เลยถามว่า

"เถ้าแก่ เมื่อเช้านี้มัน ๒๐ บาทน่ะ นี่แค่ตอนเย็นมัน ๒๕ บาท
ฉันจะเอาสตางค์ที่ไหนมาซื้อ"

เถ้าแก่ก็เลยบอกว่า "กระเป๋าของท่านอยู่ข้างในครับ
ผมไปเก็บไว้ข้างในแล้ว ราคาผมก็เขียนเท่านี้เหมือนกัน
แต่ผมรับสตางค์จริงๆ แค่ ๑๘ บาท"

ก็ถามว่า "ทำไมจำเป็นต้องขึ้นราคากันตามนี้ด้วยเล่า มันไวเกินไป"

เถ้าแก่ก็บอกว่า "หลังจากท่านขึ้นรถไปแล้วไม่นานนัก
ประมาณ ๑ ชั่วโมงเศษ ก็มีเจ้าหน้าที่เขามาแจ้งบอกให้ขึ้นราคาของ
ไปเท่านั้นเท่านี้ ต้องขึ้นราคาตาม
เขาว่า ของขึ้นไปกี่เปร์เซ็นต์ก็แล้วกัน
ให้ขึ้นราคาของไปอย่างละกี่เปอร์เซ็นต์ ต้องทำตามเขา"

ก็เลยถามว่า "ถ้าเราไม่ขายตามเขาล่ะ เราขายถูกเราจะขายได้ดี
เขาขายแพงขายไม่ได้ดี"

เถ้าแก่บอกว่า "ไม่ได้หรอกขอรับ ถ้าไม่ขายตามเขา
เราขายถูกเขาจะส่งคนมาซื้อหมด
เมื่อซื้อหมดแล้ว เราก็ไม่สามารถจะหาของราคาเท่านั้นมาขายได้อีก
เพราะเขาขายแพงขึ้น"

มันมีความจำเป็นต้องขายตามเขา
แต่ในที่สุดท่านเถ้าแก่ก็เอากระเป๋าให้มาแล้วรับเงิน ๑๘ บาทตามเดิม
เขามีความซื่อสัตย์ดี แต่ว่าป้ายที่เขียนไว้นั้นเป็นราคา ๒๕ บาท
เถ้าแก่แกก็สั่งไว้ว่า "ถ้าใครเขาถามท่านให้บอกว่า
เขาขายราคา ๒๕ บาทนะครับ ไม่งั้นผมเสียแน่"

แต่ความจริงอาตมามาถึงวัดคนนั้นถาม คนนี้ถามก็บอกว่า
"อย่าบอกราคากันเลย ราคาไม่ต้องบอกกัน
ป้ายเขาเขียนเท่านี้ก็เชื่อเท่านี้ก็แล้วกัน
ผมจ่ายเท่าไรเป็นเรื่องของผม ให้ถือว่าป้ายเขาเขียนไว้เท่านี้ก็แล้วกัน"

แต่นั้นมา ถึงญาติโยมพุทธบริษัทที่จะต้องบอกราคาเกิน
ความจริงถ้าบอก ของราคา ๒ บาท เราขาย ๑๐ บาท
เขาขอลด ๘ บาท แล้วก็บอกว่า

"ไม่ได้หรอก ฉันซื้อมา ๙.๕๐ บาท แล้วนี่ฉันได้ ๕๐ สตางค์เท่านั้นเอง
ถ้าจะลดก็ลดได้เพียง ๒๕ สตางค์ อย่างนี้โกหก เป็นมุสาวาท"

ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นมุสาวาท? ก็ต้องตอบเขาเฉยๆ ว่า
"ของต้นทุนมันแพงต้องขายเท่านี้
ถ้าจะลดได้ก็ลดได้แค่ ๕๐ สตางค์ หรือ ๒๕ สตางค์
ลดเกินกว่านั้นไม่ได้เพราะต้นทุนมันแพง"
ถ้าเขาถามว่า "ต้นทุนแพงราคาเท่าไร?"
ก็ตอบเฉยๆ ว่า "ของมันหลายชิ้นด้วยกัน ตอบยาก มันต้องเปิดตำรา"
เท่านี้ก็หมดเรื่องหมดราว ไม่เป็นมุสาวาท


ก็รวมความว่า คนที่พูดมุสาวาทเป็นคนไร้สัจจะ คนเกลียด
แต่พูดตามความเป็นจริง บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง
ไปที่ไหนใครก็ชอบ
คนทุกคนต้องการรับฟังวาจาที่ตรงตามความเป็นจริง
แต่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทชายหญิงก็ต้องระวังเหมือนกัน


การพูดตามความเป็นจริงนั้นต้องเลือกเวลา
อย่าพูดจนกระทั่งเขามีความเสียหายต่อหน้าประชาชนเกินไป
ต้องใช้ปัญญาด้วย
ความจริงข้อนี้เราควรจะพูดที่ไหน
แล้วเวลาพูดนั้นเป็นเวลาควรจะพูดแล้วหรือยัง?
ถ้าเป็นเครื่องสะเทือนใจของบุคคลผู้รับฟัง
เวลาที่เขาอารมณ์ไม่ดีอย่าเพิ่งพูดความจริง
รอเวลาอารมณ์ดีจิตใจเขาสบาย พูดอ้อมหน้าอ้อมหลังไปก่อน
เห็นท่าว่าเขาจะยอมรับแล้วก็ไม่โกรธ จึงควรพูด
ถ้าพูดไปแล้วผู้รับฟังโกรธ บรรดาท่านพุทธบริษัท
นั่นหมายถึงความตายจะเข้ามาถงผู้พูด
ตามที่เขาพูดกันว่า "วาจาจริงเป็นวาจาไม่ตาย
แต่คนพูดตามความเป็นจริงอาจจะตายได้" นี่ต้องระวังให้มาก
ก็ถือว่าถ้าเราพูดตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง
และบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทชายหญิง เลือกเวลาเหมาะเวลาสม
ใช้ปัญญาหน่อย อย่างนี้ถือว่า วาจาเป็นทิพย์ ท่านจะมีความสุขมาก
ในฐานะที่คนทั้งหลายมีความไว้วางใจในท่าน


สำหรับกรรมบถ ๑๐ และศีลข้อนี้อธิบายกันยาว
เพราะนี่มันยาวไปหน่อยนะ

ต่อไปข้อหนึ่ง คือ "วาจาหยาบ"
วาจาหยาบ เป็นเครื่องสะเทือนใจบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย
ถ้าไม่จำเป็นอย่าพูดเลย

แต่ความจริงบางโอกาส ก็จำเป็นต้องพูด จำเป็นต้องใช้
แต่ควรใช้เฉพาะบุคคลที่มีความจำเป็นของเรา
อย่างคนที่อยู่ในปกครอง จะเป็นลูกหรือจะเป็นใครก็ตามเถอะ


เพราะคนเรามีนิสัย ๒ อย่าง

คนที่มีนิสัยละเอียด นี่เป็นคนดีมาก
คนประเภทนี้ชอบปลอบ และค่อยพูดค่อยจามีเหตุผล
รับฟังแล้วปฏิบัติตาม คนประเภทนี้พูดจาหยาบตึงตังไม่ได้
เสียหายกันเลย ทั้งนี้เพราะอะไร? เพราะเธอมาจากสวรรค์

ถ้าบางคนเป็นคนนิสัยหยาบ เธอมาจากอบายภูมิ
ถ้าพูดอ่อนโยน อ่อนหวาน เสร็จแก ขี่คอแน่
คนประเภทนี้ไม่ต้องการวาจาดี ต้องใช้วาจาหยาบ
ตึงตังโครมคราม นี่เฉพาะคนในปกครองของเรา
มีความจำเป็นต้องใช้ให้เหมาะกับนิสัย
แต่สำหรับกับเพื่อนบ้าน บรรดาญาติโยมทั้งหลาย
อาตมาคิดว่า ใช้วาจาอ่อนโยนดีกว่า วาจาอ่อนโยน
และอ่อนหวานนี้เป็นประโยชน์มาก ทั้งนี้เพราะอะไร?
เพราะว่าจะพูดที่ไหนใครก็ชอบ จะพูดที่ไหนใครก็รัก


แต่ว่าสำหรับเพื่อนที่คบหาสมาคมกันสนิทก็ไม่แน่นัก
บางทีพูดเพราะๆ เข้าแกด่าเอาเลย หาว่าดัดจริต
ฉะนั้น คำว่า "วาจาหยาบ" นี่ต้องดูเฉพาะบุคคล
บางคนถ้าเป็นเพื่อน คบหาสมาคมมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก
อาตมาพบท่านๆ หนึ่ง สมัยที่ยังไม่แก่นัก
อาตมาก็ยังไม่แก่เกินไปนะเวลานั้น
เวลานี้มันหาหนุ่มไม่ได้อยู่แล้ว มีแรงมาพูดได้ก็บุญตัว
เวลานั้นยังไม่แก่เกินไป ไปพบคนๆ หนึ่ง
เคยเรียนหนังสือชั้นประถมมาด้วยกัน
เธอเป็นอธิบดีกรมๆ หนึ่งๆ พอไปพูดจาหวานๆ เข้า
แกชักกระชากเสียงว่า "ทำไมต้องพูดอย่างนี้
เมื่อสมัยเป็นเด็กอย่าลืมนะว่าเรียนหนังสือโต๊ะเดียวกัน
ความเป็นใหญ่เป็นโต สำหรับเพื่อนรักไม่มีสำหรับเรากับท่าน"
เขาว่าอย่างนั้น ว่าเพื่อนกันไม่มีอะไรใหญ่กว่ากัน
ห้ามยกย่องสรรเสริญกันแบบนั้น นี่แบบนี้เขาก็มีนะ

แล้วก็มีคนอีกคนหนึ่งเพื่อนกัน เขาเป็นฆราวาส
เขาก็ไปพบเพื่อนของเขาเหมือนกัน
คนนี้ออกมาจากโรงเรียนแล้ว ก็ไม่มีงานราชการทำ
เธอไม่อยากจะทำ อยากจะทำงานส่วนตัว
ก็เดินไปเดินมาแบบพ่อค้าหาบเร่ แต่ความจริงไม่เสียหาย
ติดต่อของที่โน่นเอามาขายที่นี่ ติดต่อที่นี่ไปขายที่โน่น
รู้สึกว่ารายได้ดี รายได้ของเธอดีมาก
บางวันสมัยนั้นค่าของเงินยังแพงอยู่ ก๋วยเตี๋ยวชามละ ๕ สตางค์
บางวันเธอได้กำไรเป็นร้อยๆ นับเป็นร้อยๆ บางวันถึงพัน
อย่างไม่ได้เลยก็ ๒-๓ ร้อยบาท นี่แค่เฉพาะกำไร
รวยมาก ดีกว่ารับราชการ เธอไปพบเพื่อนคนหนึ่งเป็นอธิบดีเหมือนกัน
(คำว่า "เหมือนกัน" ก็เหมือนกับเพื่อนอาตมาอีกคนหนึ่ง)
มาถึงก็ยกมือไหว้ "ท่านครับ" ครับผมเข้าให้
อธิบดีหันมาด่าเลย บอก "นี่..มึงอย่ามาพูดกับกูแบบนี้ กูไม่ใช่นายมึง
กูเป็นเพื่อนของมึง ทีหลังห้ามพูดนะ"
นายนั่นก็บอกว่า "ท่านเป็นอธิบดี"
แกก็เลยกระชากเสียงมาใหม่บอก "กูเป็นอธิบดีสำหรับคนอื่น
ไม่ใช่อธิบดีของมึง มึงเป็นเพื่อนกู ไปกินเหล้าด้วยกัน"
ชวนไปกินเหล้ากันเลย

รวมความว่า วาจาหยาบต้องดูเฉพาะบุคคลที่ควรไม่ควร
รวมความว่า แหม..ถ้าใช้หวานๆ เกินไป สำหรับเพื่อนก็ไม่ดีเหมือนกัน
ถ้ากร้าวเกินไปสำหรับเพื่อนบางคนก็ไม่ดีเหมือนกัน
ต้องเลือกวาจาใช้
รวมความว่าใช้วาจานิ่มนวลไม่หยาบคาย
มีประโยชน์กว่า เป็นที่รักของบุคคลทั่วไป
นี่ว่าสำหรับคนทั่วไปนะเป็น "คาถามหาเสน่ห์" เหมือนกัน


เวลามันเหลือน้อย ย้ำไปมาก ซอยไปมาก
มันจะยุ่งแล้วหลวงตา มันจะจบไม่ทัน
เสียงก็แห้งลงมาทุกที แรงมันหมด
มันยังไม่ตายก็พูดไปก่อน พูดให้มันขาดใจตายไปเลย

ก็รวมความว่า ต่อไป "วาจาส่อเสียด" เรื่องการยุแยงตะแคงรั่ว
บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย อย่าให้มีเด็ดขาด
อันนี้ไม่มีประโยชน์สำหรับเราเลยท่าน
เรายุให้เขาแตกแยกกันก็อย่าลืม หอกนั้นมันจะสนองเรา
อย่าลืมว่าคนทุกคนนะเขามีปัญญา

ทีแรกถ้าเขายังไม่พบหน้าซึ่งกันและกัน เขาอาจจะเชื่อเรา
และคนที่มีปัญญาเบาคือ จิตทรามไร้ปัญญาก็แล้วกัน
เมื่อรับฟังแล้วก็เชื่อเลยประเภทนี้ก็มี
แบบนี้สร้างความแตกร้าวให้เกิดขึ้นมาเยอะ
คนบางคนเขาใช้ปัญญาก็มีเหมือนกัน
ถ้าบังเอิญเขาพบกันเข้า ไต่สวนกันเข้าเมื่อไร
วาจาที่เรายุแยงตะแคงแสะไว้ มันไม่ตรงตามความเป็นจริง
ตอนนี้แหละ ญาติโยมพุทธบริษัทชายหญิง
เรื่องร้ายก็ตกกับเรา เขาเกลียดน้ำหน้า
ดีไม่ดีแทนวาจาจะต่อว่า กลายเป็นอาวุธไปก็ได้
เขาอาจจะจ้างคนมาฆ่าให้ตาย หรือเขาจะฆ่าเองก็ได้ ข้อนี้อย่าทำ

แล้วสำหรับอีกวาจาหนึ่ง คือ "วาจาเพ้อเจ้อเหลวไหล"
คือวาจาไร้ประโยชน์ นี่บรรดาท่านพุทธบริษัท อย่าให้มีเป็นอันขาด

พูดไปมันก็เหนื่อยเปล่า ถ้าคนเลวเขารับฟังก็ฟังได้
แต่ถ้าเป็นการเล่านิทานไม่เป็นไร ไม่ไร้ประโยชน์
สร้างความรื่นเริงบันเทิงใจให้เกิดแก่ผู้รับฟัง
นิทานใครๆ ก็ยอมรับว่า ไม่ใช่เรื่องจริง
แต่วาจาที่พูดกับเพื่อน ถึงแม้ว่าไม่ใช่วาจาที่เป็นงานเป็นการ
แต่พูดไปไร้เหตุไร้ผลนี่ บรรดาท่านพุทธศาสนิกชน อย่าพูดเลย
ทั้งนี้เพราะอะไร? เพราะพูดไป เราก็เป็นคนเสีย
วันหลังถ้าไปเจอะหน้ากันเข้าหรือเข้าไปพบกัน
เขาไปพบกับคนอื่นใดเขาจะกล่าวว่า
"ไอ้หมอนั่น อีหมอนี่มันไม่ดี พูดส่งเดชไร้ประโยชน์"
ต่อไปข่าวนี้กระจายมากไปเท่าไรก็ตามที เราก็เป็นคนเสียเท่านั้น
ทีหลังจะพูดอะไรกับใครเขา เขาก็ไม่อยากจะฟัง
ถ้ามีความทุกข์ปรารถนาจะขอความช่วยเหลือ เขาก็ไม่อยากช่วย
เพราะเขาไม่เชื่อวาจาของเรา

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ตามที่ท่านสุนทรภู่ท่านว่าไว้ว่า
"จะชั่วหรือดีอยู่ที่ปาก จะได้ยากหิวโหยเพราะชิวหา" นี่เป็นความจริง
ถ้าเราเป็นคนพูดที่

๑. พูดตามความเป็นจริง

๒. ไม่พูดหยาบคาย ใช้วาจาไพเราะ

๓. ไม่ส่อเสียด ไม่ยุยงส่งเสริมเขาให้แตกร้าวกัน

๔. ใช้วาจาเฉพาะที่วาจาที่เป็นประโยชน์

ทั้ง ๔ ประการนี้ คำว่า "โทษ" ไม่มีกับเรา มีแต่คุณเท่านั้น

จะไปที่ไหน จะพูดที่ไหน ใครก็อยากรับฟัง เขาถือว่า วาจาเป็นทิพย์


เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี่แรงก็จะหมดพอดี
พูดไปเสียงก็กลั้วไปเสียงก็แห้งไป
เวลาก็หมดก็ขออำลาแต่เพียงเท่านี้
ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแด่บรรดาท่านพุทธบริษัทศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี



ตอนที่ ๑๗ ศีลข้อที่ ๕

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย
สำหรับวันนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทฟัง
เรื่องหนีนรก ตอนที่ ๑๗
สำหรับตอนที่ ๑๗ นี้ ก็มีศีลห้าโดยเฉพาะ
และอาจจะมีกรรมบถ ๑๐ ต่อท้ายอีก
คือว่าที่พูดมาแล้วนั้นทั้งหมดเป็นศีลห้า ควบกรรมบถ ๑๐
แต่ก็เป็นการบังเอิญอย่างยิ่งที่กรรมบถ ๑๐
ไม่มีบทสุราอยู่ด้วย คือไม่มีข้อว่าสุรา
ฉะนั้นวันนี้ ในตอนต้นนี้จะขอพูดเรื่องข้อสุรา
แต่ในการพูดต่อไปนี้ บรรดาท่าพุทธบริษัท
เห็นจะไม่ต้องอธิบายมาก เพราะคำว่า สุราเมรัย
นี่บรรดาท่าพุทธบริษัททั้งหลายรู้จักดีอยู่แล้ว
และก็โทษของสุราและเมรัยเป็นยังไง
ก็ทราบกันอยู่แล้วในปัจจุบัน
แต่ก่อนจะพูดว่าถึงข้อสุราและเมรัย
การดื่มน้ำเมา "สุรา" นี้แปลว่า ของกลั่น
"เมรัย" นี้ยังไม่ได้กลั่น เช่น น้ำขาวอุ น้ำตาลเมาเป็นต้น
ก่อนจะพูดถึงเรื่องนี้ก็ขอพูดเรื่อง การหนีนรกอย่างย่อไว้ก่อน
คำว่า "ย่อ" ก็หมายความว่าย่อเฉพาะคำพูด แต่สูตรจริง ๆ เต็มอัตรา


การหนีนรก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ว่า
ให้ตัดสังโยชน์ ๓ ประการ ซึ่งเป็นกิเลสใหญ่เป็นเครื่องผูกพัน
กำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทให้ลงอบายภูมิ
สังโยชน์จริง ๆ มีความรู้สึกตามนี้ คิดว่าชีวิตนี้จะไม่ตาย
และก็มีความสงสัย ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม และพระอริยสงฆ์
ไม่ยอมใช้ปัญญาพิจารณาความดีของท่าน
ไม่ยอมรับนับถือเลย และก็ละเมิดศีลห้า
คือ การรักษาศีลไม่จริงไม่จัง
สักแต่ว่าสมาทานแล้วก็เลิกกันไป
อย่างนี้ถือว่า คนตกอยู่ในขอบข่ายของกิเลส
คือ สังโยชน์ ที่คอยร้อยรัดบรรดาท่านพุทธบริษัท
ที่ไม่ปฏิบัติตนจริงให้ลงอบายภูมิ
ถ้าเราจะหนีกันพระพุทธเจ้าแนะนำไว้ว่า
ให้เข้าใจตามความเป็นจริงว่า
ชีวิตนี้มันต้องตายและสมเด็จพระจอมไตรทรงแนะนำว่า
จงอย่าประมาทในชีวิต
จงอย่าคิดว่าความตายจะเข้ามาถึงเราในวันพรุ่งนี้
ให้มีความรู้สึกว่า ความตายอาจจะถึงเราในวันนี้ไว้เสมอ
จะได้สร้างความดี

ความดีอันดับแรกที่สามารถจะดึงเราให้พ้นนรกชั่วคราว
นั่นก็คือ ยอมรับนับถือในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
และก็มาการปฏิบัติตรงต่อศีลห้า
รักษาศีลห้าให้ครบถ้วน อย่างนี้เป็นปกติ
เท่านี้ละบรรดาท่านพุทธบริษัท ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง ๔
คือ ๑ นรก ๒ เปรต ๓ อสุรกาย ๔ สัตว์เดรัจฉาน
จะไม่มีแก่ท่านทุก ๆ ชาติไป
ถ้าการเกิดของท่านยังมีกี่ชาติ
แดนทั้ง ๔ นี้ท่านจะไม่ได้กลับมาอีก
บาปกรรมเก่า ๆ ที่บรรดาท่านพุทธบริษัททำไว้แล้ว
จะเป็นบาปหนักบาปเบาขนาดไหนก็ตาม
ไม่สามารถจะดึงท่านลงอบายภูมิต่อไป

ความจริงความรู้สึกการตัดอารมณ์ทั้ง ๓ ประการ นี้ก็รู้สึกว่าไม่ยาก
เพราะคนที่มีปัญญา ถ้าไม่ไร้สติสัมปชัญญะ
ไม่มีความประมาทเพราะการดื่มสุราและเมรัย
ก็เข้าใจตามความเป็นจริงได้ว่า ชีวิตนี้ตายแน่
และความตายก็ไม่ใช่ว่าต้องรอแก่ตาย
ท่านทั้งหลายก็เห็นแล้วว่า เด็กที่เกิดมาภายหลังเรา
ตายไปแล้วไม่รู้ว่าเท่าไรเหลือแต่เราเท่านั้น
ที่ความตายจะเข้ามาถึงเมื่อไรก็ไม่ทราบ ข้อนี้ก็เป็นของคิดถึงง่าย ๆ

สำหรับพระพุทธเจ้าก็ดี พระธรรมก็ดี พระอริยสงฆ์ก็ดี
เราจะเชื่อก็เชื่อกันด้วยศีล พิจารณาดูว่าศีลห้า มีประโยชน์กับเราไหม
การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เราอาจจะชอบทำเขาก็ได้
แต่ว่าถ้าเขาทำเราบ้าง เราก็ไม่ชอบ ถ้าละเมิดข้อนี้ก็มีแต่ศัตรู
ข้อที่ ๒ การลักการขโมยของชาวบ้าน
นี่อันตรายใหญ่ก็มีกับเรา เราคิดถึงใจเราบ้าง
ว่าทรัพย์สินที่เราหามาโดยยาก
ถ้าใครเขาทำแบบนั้นเข้า เราจะมีความรู้สึกยังไง
เราก็ไม่ชอบใจเหมือนกัน
และก็ข้อต่อไป คือ กาเมสุมิจฉาจาร
สามีภรรยาของเราที่เรารัก
ถ้าใครมาละเมิดความรักเราจะพอใจไหม
เราไม่พอใจ ถ้าไปทำกับเขา เขาก็ไม่พอใจ เราก็สร้างศัตรู
วาจามุสาวาท คนที่มีจิตสะอาดจริง ๆ เขาไม่พูดโกหกมดเท็จ
เพราะเป็นปัจจัยให้เพื่อนที่รักเขาจะเป็นศัตรูกับเรา
เพราะเกลียดน้ำหน้าที่เราพูดไม่จริง
ในการดื่มสุราเมรัยเป็นปัจจัยให้เกิดความประมาท
ทำชั่วทุกอย่างได้ นี่ละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ถ้าละเมิดศีล มันก็ชั่วแบบนี้ มีแต่ความเร่าร้อน


รวมความว่า การจะรักษาศีลเป็นของไม่หนัก
ต่อนี้ไปก็ขอพูดถึง ศีลข้อที่ห้าสำหรับศีลข้อที่ห้า
ท่านกล่าวว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมนี
เราจะงดเว้นไม่ดื่มสุราและเมรัย
อันเป็นฐานะที่ตั้งแห่งความประมาท
เพราะการดื่มสุราและเมรัย บรรดาท่านพุทธบริษัท
ถ้าพูดกันตามภาษาชาวบ้านจริง ๆ เพื่อความเข้าใจ
ถ้าพูดภาษาพระก็รู้สึกว่า จะนิ่มนวลเกินไปเข้าใจยาก
เวลานี้กำลังคุยกับบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท
ขอพูดภาษาชาวบ้านก็แล้วกัน

คนกินเหล้า หรือคนกินสุราและเมรัยก็ถือว่า
คนนั้นตั้งในเป็นคนบ้า โกรธไหม
ท่านที่ดื่มสุราและเมรัยท่านโกรธหรือเปล่า
เวลาท่านไม่เมา ลองมองดูเพื่อนของท่านที่เมาดูก็แล้วกัน
ตามปกติเธออาจจะมีจริยานิ่มนวลมาก
พูดจามีเหตุผลกำการงานดีพอกินเหล้าเมา
พอเมาขั้นต้น เรียกว่าเมาพอเซนิด ๆ
จิตก็หวั่นไหว สุราแปลว่า กล้าสามารถ กล้าทำความชั่วได้ทุกอย่าง
เรียกว่าความชั่วทุกอย่างทำได้หมด
กล้าแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เห็นความกล้าครั้งแรกอ่อนที่จะซื้อเหล้า
ครั้งแรกจะต่อแล้วต่ออีกหาว่า เหล้าหรือสุรามันแพงเกินไป
ลดเท่านั้นได้ไหม ลดเท่านั้นได้ไหม
ตอนนี้ยังไม่กล้า เพราะยังไม่ดื่ม
แต่พอดื่มเข้าไปมืน ๆ ความกล้าปรากฏ
ตอนนี้เอามาเลย เท่าไรเท่ากัน
หมดเท่าไรหมดไป นี่ความกล้าเกิดขึ้นแล้ว
แต่กล้านี้ไม่ใช่กล้าดี กล้าสร้างความฉิบหายขายตน
ให้เกิดขึ้นแก่ตนเองและครอบครัว
เงินมันสิ้นไปและก็สามารถกล้าทำความชั่วได้ทุกอย่าง
คนที่เคยดื่มสุราและเลิกดื่มสุราแล้ว
เขารายงานให้ทราบ ว่าเกลียดคนดื่มสุรามาก
เคยถามว่า สมัยที่คุณดื่มสุราคุณมีความรู้สึกอย่างไร
เขาตอบว่า จริยาแบบนั้นที่ทำไปมันภูมิใจ
นี่จะเห็นได้ว่า คนมึนเมานี่สามารถสร้างความเลวได้ทุกอย่าง

ตอนนี้โทษของการดื่มสุราและเมรัย
อาตมาจะไม่พูดมาก เพราะคนรู้จักอยู่แล้ว
ไอ้เงินที่ดื่มสุราและเมรัยนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัท
ถ้าเราจะเก็บไว้ไม่ใช้มันเลยเก็บฝากธนาคารไว้
เข้าใจว่าดอกเบี้ยจะงอกปีหนึ่งก็ได้หลายบาท
ถ้าหากว่าเราเป็นคนฐานะไม่ค่อยดีนัก ก็ไม่เก็บไว้ละ
จะใช้แต่ใช้ซื้อกับข้าว ซื้ออาหารบริโภค
ให้ลูกไปโรงเรียนเอวเงินจำนวนนี้เสียค่าเล่าเรียน
ถ้าลูกเรียนมัธยมหรือมหาวิทยาลัย
เข้าใจว่าสามารถจะช่วยลูกได้ดี
อาตมาเองก็ไม่เคยดื่มสุรามาตั้งแต่เกิด
จนกระทั่งเวลานี้ยังไม่รู้รสสุราจริง ๆ เป็นยังไง
และเขาดื่มสุรากันวันละเท่าไรก็ไม่ทราบ

สมมุติว่าเวลานี้ค่าของเงินมันตก
หากว่าท่านจะดื่มสุราและเมรัยสักวันละ ๑๐ บาท
เข้าใจว่าไม่อยู่นะถ้าคอสุรา คนที่ดื่มสุราด้วยความจำเป็น
อันนี้ไม่เป็นไร คนดื่มสุรา คอสุราจริง ๆ วันละ ๑๐ บาท
ไม่อยู่แน่สมมุติวันละ ๑๐ บาท
ถ้า ๑๐ วัน ท่านต้องเสียไป ๑๐๐ บาท
ถ้า ๓๐ วัน ท่านเสียไป ๓๐๐ บาท
ถ้าปีหนึ่งท่านเสียไป ๓ พันเศษ
สามพันหกร้อยเท่าไรก็ตามเป็นวันของปี

รวมความว่าปีหนึ่งท่านต้องสูญเสียเงินไปเฉย ๆ สามพันบาทเศษ
ถ้าวันละ ๑๐ บาท เป็นอย่างน้อย
นอกจากนั้นยังเสียเวลาทำมาหากินอีก
หากว่าท่านจะใช้เวลาดื่มสุราและเมรัย
มาอยู่สร้างความเป็นสุขกับลูกกับเมีย
หรือกับผัวที่บ้านไม่ดีกว่าหรือ
หรือว่าเอาเวลานั้นมาประกอบกิจการงานเล็ก ๆ น้อย ๆ
ชาวบ้านจักตอกบ้าง ปลูกผักบ้าง รดน้ำพรวนดินผักบ้าง
ให้ความสะดวก ให้ความปลอดภัยกับผัก
ต้นไม้ของท่านอย่างนี้จะมีประโยชน์กว่า
หรือว่าท่านทั้งหลายจะเอาเงินค่าสุรา
มาเช่าที่เล็ก ๆ แล้วก็ซื้อพันธุ์ผักน้อย ๆ ตามกำลังเงิน
สามพันบาทเศษต่อหนึ่งปี
เอามาปลูกขายหรือปลูกดอกไม้ขายนี่เงินมันจะงอก
มันสามารถจะสร้างความร่ำรวยให้แก่ท่านได้
แต่ว่าท่านทั้งหลายเป็นที่น่าเสียดาย
ถ้าพระพูดแบบนี้นะมันก็เป็นการไม่ถูกใจคนดื่มสุรา
อาตมาก็ขออภัยด้วยจะพูดให้เข้าใจสำหรับคนที่ท่านไม่ติดสุรา
คนที่ชอบสุราจริง ๆ ก็ไม่เป็นไร ตามใจท่าน
เพราะว่าพระก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดี มีหน้าที่แค่แนะนำเท่านั้น
แต่การแนะนำวันนี้อาจจะแรงไปนิดหนึ่งต้องขออภัยด้วย

ทีนี้มาว่ากันถึงโทษของการดื่มสุราและเมรัยอีกชั้นหนึ่ง
เป็นเหตุให้ถูกชาวบ้านเขาเหยียดหยามว่าเป็นคนเลว
จริง ๆ แล้วคนดื่มสุราเมรัยไม่มีศักดิ์ศรีอะไร
ใครจะคบหาสมาคมด้วย ก็แค่ประโยชน์ของเราเท่านั้น
ถ้าจะคบอย่างเป็นมิตรแท้
นี่หายากบรรดาท่านพุทธบริษัทอาตมารู้จิตใจ
คือ รู้จากชาวบ้านที่ไม่ดื่มสุราและเมรัย
ถ้าเวลามีความจำเป็นเรื่องจะเป็นจะตายเกิดขึ้น
เขาจะไปแนะนำหรือไปหาท่านไปขอร้องท่านในยามปกติ
เขาก็รู้สึกเหยียดหยาม บางทีไม่มีความรู้สึก
แต่ใจพูดออกมาทางปากได้ยินเสมอ ๆ
ก็รวมความแล้วว่าการดื่มสุรานี่ไม่ดี
สำหรับชาติปัจจุบัน ถ้าจะพูดสัมปรายภพ
ไอ้ชาติข้างหน้านี่ เรามองไม่เห็น
จะบอกอานิสงฆ์ชาติก่อนของท่านที่มารับผลในชาตินี้

อานิสงฆ์ในการดื่มสุราก็คือ
ดื่มอย่างแบบเบา ๆ ไม่เมามายมากนัก
เกิดมาชาตินี้เป็นคนเป็นโรคปวดศีรษะบ่อย ๆ
ถ้ามากไปหน่อยจะปวดศีรษะเป็นปกติ
ถ้าดื่มสุราปานกลาง โทษสุราปานกลางจะเป็นโรคเส้นประสาท
ถ้าดื่มสุราขนาดหนักที่เรียกว่า ด๊อกเตอร์สุราก็จะเป็นโรคบ้า
บอกประโยชน์ให้อย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท
ฉะนั้นความเมาขอแนะนำไว้เพียงเท่านี้


นอกจากเท่านี้แล้วการดื่มสุราและเมรัย
ทำให้ทุกอย่างในความชั่ว
ขอแนะนำว่าถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ต้องการหนีนรก ให้ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐
และศีลตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด
แต่ก็ยังไม่หมดนะบรรดาท่านพุทธบริษัท
วันนี้ขอตีควบจะไม่พูดยาวนัก
ต่อไปก็เป็นกรรมบถ ๑๐ ด้านจิตใจ
ด้านจิตใจ คือ ความรู้สึกนี่มี ๓ อย่าง

๑. อภิชณา เพ่งเล็งอยากจะได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น
มาเป็นของตน ตัดข้อนี้ทิ้งไป
ถ้าเข้ากรรมบถ ๑๐ ตัดความรู้สึกอยากจะได้
ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นมาเป็นของตน
โดยไม่ชอบธรรมออกจากใจ
คือ เป็นคนที่มีกำลังใจ
ไม่อยากจะได้ทรัพย์สินของใครมาโดยไม่ชอบธรรม

๒. พยาบาท มีการจองล้างจองผลาญ
ความโกรธน่ะมีแน่ แต่ตัดความโกรธอาจจะมี
เพราะเรายังไม่ใช่พระอนาคามี
ต้องมีแต่ว่าตัดความจองล้างจองผลาญออกไป
โกรธหายแล้วก็แล้วกันถือว่า เป็นเรื่องธรรมดา

๓. สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกเห็นชอบ
ตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันนี้ก็ขอตีย่อกันเพราะแรงไม่ค่อยมี
ตอนที่ ๑๗ อ๋อขอโทษตอนที่ ๑๖ ที่ผ่านมาพูดไป
พูดมาเกือบหมดแรงเกือบหมดจริง ๆ
เกือบจะไม่จบเรื่องจะไม่จบตอน
แต่ตอนนี้พักผ่อนแล้วก็มีแรงบ้าง
แต่ก็ไม่แน่ใจนักว่า จะพูดหนักไปสักเท่าไร ใช้เวลาเท่าไร
สำหรับกรรมบถ ๑๐ ที่บอกแล้วว่า มีทั้งศีลและธรรม
ศีลก็คือว่า ศีลทุกขอที่ผ่านมาแล้ว
ฝ่ายธรรมชัด ๆ ก็คือ มโนกรรม
ที่ไม่อยากได้ทรัพย์สมบัติของใครอย่างหนึ่ง
ไม่พยาบาทจองล้างจองผลาญอย่างหนึ่ง
มีความเห็นถูกตามพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอย่างหนึ่ง
ความจริงธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ ถ้าอย่างอ่อน ๆ ก็เป็นพระสกิทาคามี

ถ้าปฏิบัติได้อย่างกลาง ๆ ก็เป็นอนาคตมี
ถ้าปฏิบัติได้อันดับสูงสุด เป็นอรหันต์เลย
ธรรมะ ๓ ประการนี้ไม่ใช่ของเล็กน้อย หนักหนา ใหญ่มาก
มีคุณมีประโยชน์มากก็มาพูดกันตรงไปตรงมาตีไม้สั้น
ว่าการอยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น
แต่มันยังไม่ได้หยิบเอามานี่ทำไมจะต้องมีบาปด้วยมือ
อย่าลืมว่าบาปนี่ แปลว่าชั่ว
ถ้าคิดอยากจะได้ทรัพย์สมบัติของเขาโดยไม่ชอบธรรม
ลักบ้างขโมยบ้าง อยากจะแย่งบ้าง อยากจะโกงบ้าง เป็นต้น
อย่างนี้ถือว่า คิดบาป จิตเป็นบาป คิดชั่ว
ถ้าจิตมันคิดชั่วแล้วทุกสิ่งทุกอย่างมันขึ้นกับใจหรือจิต
กายก็ดีวาจาก็ดี ขึ้นกับจิตหรือใจ จิตก็ได้ ใจก็ได้
เพราะชาวบ้านชอบพูดใจ บางคนก็ชอบพูดจิต
เพราะจิตหรือใจมีอำนาจสั่งการ
ถ้าจิตคิดเลวกายก็ทำเลวและจิตก็มีอำนาจสั่งวาจา
ถ้าจิตคิดเลววาจาที่พูดก็พูดเลว
ถ้าจิตคิดดีกายก็ทำดี วาจาก็พูดดี
ฉะนั้นการที่ท่านเอาจิตเข้าไปคิดแล้วก็บอกว่า ยังไม่ได้ทำ
จะมีโทษจะมีบาปไหม ต้องขอตอบว่าโทษน่ะมีแน่
การลักการขโมย การยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น
โทษที่จะพึงได้กับท่านในชาติปัจจุบัน
คือ ชาวบ้านเขาเกลียดและก็มีอารมณ์ไม่เป็นสุข
โทษในสัมปรายภพคือ ชาติหน้า
ดูกันชาตินี้ก็ได้ว่า
คนที่มีจิตคิดอยากจะได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น
โดยไม่ชอบธรรม โกงบ้าง หลอกบ้าง
อะไรก็ตามเรียกว่า ยื้อแย่งเขามาได้โดยไม่ชอบธรรมก็แล้วกัน
เขาไม่เต็มใจให้ก็เอามาจนได้ด้วยเล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ
โทษทัณฑ์ที่จะพึงได้ในกาลต่อไปก็คือ

๑. ตั้งใจให้ไฟไหม้บานเผาผลาญทรัพย์สินต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้พินาศไป

๒. เป็นการตั้งใจให้ลมพัดบ้านให้ฟัง

๓. ตั้งใจให้ผู้ร้าย คือขโมย ฉกชิงวิ่งราวลักของ ปล้นและจี้เป็นต้น

๔. ตั้งใจให้ผู้ร้าย คือขโมย ฉกชิงวิ่งราวลักของ ปล้นและจี้เป็นต้น

โทษของอทินนาทานเป็นอย่างนี้
ถ้าจิตเราคิดได้อทินนาทาน
ก็เป็นการคิดให้อาการอย่างนี้เกิดขึ้นกับเรา
เพราะโทษของอทินนาทานที่ทำมา
ญาติโยมทั้งหลายโดยถ้วนหน้าพึงทราบ
ไฟที่ไหม้บ้านเพราะโทษอทินนาทาน
โกงเข้าบ้าง หลอกเข้าบ้าง จี้ปล้นเขาบ้างอย่างนี้เป็นต้น
และน้ำท่วมบ้านของเสียหาย
ลมพัดให้บ้านพังของเสียหาย
หรือว่าถูกโจรผู้ร้ายปล้น มาจากโทษอทินนาทานทั้งสิ้น

และอทินนาทานคือลักขโมย แย่งจี้เขา ปล้นเขา มันจากอะไร
ร่างกายของเราจริง ๆ มันไม่ต่างจากไม้ซีกและไม้ซุง
คือถ้าจะมีสภาพให้ใกล้เคียงกันจริง ๆ ก็อยู่ในสภาพของหุ่น
หุ่นถ้าคนไม่ชักไม่นำมันเต้น มันก็ไม่เต้น มันจะนอนเฉย ๆ
ถ้าคนไปยกขึ้นมันก็ยืน ถ้าเอาวางตะแคงลงมันก็นอน
เอาหัวลงเอาขาขึ้น มันก็เอาหัวลงเอาเท้าชี้ฟ้า
หุ่นมันไม่มีความรู้สึก ที่มันเป็นไปได้อย่างนั้น
เพราะคงบังคับ ข้อนี้อุปมาฉันใด
จิตใจก็คล้ายร่างกายก็เหมือนหุ่น ในเมื่อจิตใจบังคับร่างกายมันก็ทำ

ถ้าถามว่า จิตใจบังคับแบบนั้น ตายแล้วจะไปอบายภูมิได้ยังไง
อย่าลืมว่า อยากได้ทรัพย์สินของเขา คือ อยากจะโกงบ้าง
อยากจะจี้ อยากจะปล้นบ้าง อย่างนี้เป็นต้น
จิตมันคิดแรงมากกว่าที่จะพูดต่อไป
ตัวอย่างที่จะพึงเห็น อย่างท่านโกตุหลิกะ
ขณะที่นั่งกินข้าวอยู่เธอเป็นคนจน เข้ามาในบ้านของท่านคหบดี
ท่านคหบดีก็ให้ข้าวที่คนรับใช้กิน
ข้าวที่คนรับใช้กินมันก็ดีสำหรับท่านผู้นี้อยู่แล้ว
เพราะท่านผู้นี้เป็นคนจน
เดินลัดป่ามาหลายวันอดข้าวมานานหลายวัน ๓ - ๔ วัน
คนอดนาน ๆ มีความหิวจัด
มีความอยากจัด ๆ ประเภทนี้แม้แต่ข้าวบูดก็พร้อมที่จะกินได้
แต่บ้านคหบดีหรือเศรษฐี อาหารคนใช้เขาไม่เลว
อย่างเลวที่สุดเขาอาจมีแกงปลา แกงหมู แกงไก่
และอาหารประเภทนี้ไซร้ เป็นของเลวสำหรับมหาเศรษฐี
แต่คนจนถือว่าเป็นของดีชั้นเลิศ
ท่านให้อาหารที่คนรับใช้กินเขาก็กินแบบเอร็ดอร่อย
แต่ว่าท่านคหบดีกลับกินข้าวมธุปายาส
ข้าวแบบนี้มันแพงถนัดใจ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
คนปกติธรรมดาอาจจะกินได้
อย่างฐานะอย่างอาตมาจะกินข้าวมธุปายาส
ต้องเก็บเงินที่บรรดาท่านพุทธบริษัทถวายเป็นส่วนตัวหลายปี
เพราะมันแพงจัด

อาตมาก็มีความรู้สึกว่า ของที่เขาว่าดีนะ มันก็ไม่สำคัญ
สำคัญแค่กินอิ่ม แต่ความรู้สึกของคนที่ไม่ได้กิน
มันต้องเป็นอย่างนั้น และข้าวมธุปายาสอันนี้
ท่านกินแล้วท่านก็แบ่งให้สุนัข
ซึ่งเป็นสุนัขตัวเมีย มันหมอบอยู่ใกล้ ๆ
แบ่งให้กินบ้าง ท่านก็กินบ้าง แบ่งให้สุนัขกินบ้าง
โกตุหลิกะลองแล้วก็มีความรู้สึกว่า
เจ้าสุนัขตัวนี้มันมีบุญ เราเป็นคนเสียอีกยังไม่ได้กินข้าวมธุปายาส
แต่เจ้าหมาตัวนี้มันดีทายาด
สามารถกินข้าวมธุปายาสได้เท่ามหาเศรษฐี
ขณะนั้นยังมีจิตใจปลื้มปิติยินดีกับสุนัขอยู่
เขาก็ขาดใจตายไปในขณะนั้นจิตออกจากร่างของเขา
ไปสู่ครรภ์ของนางสุนัข เลยเป็นลูกหมาไป

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ขณะใดที่มีจิตกังวลอยู่ในเรื่องอะไร
เมื่อจิตใจของท่านก่อนจะออกจากร่างมันจะไปจุดนั้น


และก็ตัวอย่างอีกท่านหนึ่งอย่างท่านติสสะซึ่งเป็นพระ
พระองค์นี้อาตมาสงสัยว่าจะเป็นพระอริยเจ้า
ท่านก็สนใจจีวรแพรของท่านเหมือนกัน
ขณะที่พี่สาวเอาจีวรแพรมาให้ท่านชอบใจอยากจะห่ม
แต่เวลานั้นมันก็ป่วยหนักไม่สามารถจะห่มได้
จิตใจก็มีความข้องใจมีความปรารถนาอยู่
แต่ทว่าสาวขององค์สมเด็จพระบรมครูพระองค์นี้
เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก
ความจริงผ้าแพรผืนนั้นมันก็ผ้าของท่านเอง
เดิมทีเดียวมันเป็นผ้าเนื้อหยาบ ให้พี่สาวไปเย็บไปย้อม
พี่สาวเห็นว่า หยาบเกินไป เลยทำเสียใหม่
ดึงด้ายมากอรใหม่จัดการเสียใหม่ เสร็จก็นานหน่อย
เป็นผ้าเนื้อบาง ๆ เขาเรียกว่า "ผ้าสาฎก"
ผ้าสาฎกจริง ๆ อาตมาไม่รู้จัก ก็เลยล่อจีวรแพร จีวรไหม
เข้าไปเลยก็หมดเรื่องหมดราวไป เป็นผ้าชั้นดีที่หนึ่งสมัยนั้น
ท่านก็ชอบ ท่านคิดอยากจะห่มจีวรนั้น
แต่มันก็ไม่หายเสียที นอนลุกไม่ขึ้น
ก็พอดีขณะที่พี่สาวเอาผ้าจีวรเนื้อดีมาให้
ท่านบอกว่านี่ไม่ใช่ผ้าของฉันพี่ ผ้าของฉันเนื้อหยาบ
พี่หยิบผ้าผิด ผ้าเนื้อดีอย่างนี้ฉันรับไม่ได้
พี่สาวก็บอกว่าไม่ใช่มันเป็นผ้าของคุณเอง
แต่พี่ไปทำให้มันดีขึ้น ท่านจึงยอมรับ
รับแล้วก็ไม่กล้าที่จะห่ม เพราะลุกไม่ขึ้น
คิดว่าถ้าหายมีแรงเมื่อไรจะห่มผ้าเมื่อนั้น
ในที่สุดท่านก็ตายไปเสียก่อน
หลังจากตายแล้วก็ไปเกิดเป็นเล็นอยู่ในตะเข็บของจีวร
เล็นตัวเล็ก ๆ นิด ๆ มองเห็นยาก
๗ วันก็ตายจากเล็นไปเกิดบนชั้นดุสิต

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท
เห็นว่าถ้าจิตเราคิดประเภทไหนมันได้อย่างนั้น
เวลาตายไปตัวไม่ได้ไปจิตไป

ในเมื่อท่านทั้งหลายอยากจะได้ทรัพย์สินของบุคคลอื่น
เข้ามาเป็นสมบัติของตนโดยไม่ชอบธรรม
ก็ถือว่า เป็นการอยากให้ไฟไหม้บ้าน
คิดอยากให้ลมพัดบ้านพังทรัพย์สินเสียหาย
อยากให้น้ำท่วมให้ทรัพย์สินเสียหาย
อยากให้โจรปล้นของท่าน ลักขโมยปล้นจี้เป็นต้น


เอาละบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน ก็เลยไม่ได้พูดถึงคุณกัน
พูดแต่โทษเวลาก็หมดพอดี
สำหรับคราวนี้ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้
ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล
จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี...
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden