yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - พุทธประวัติ
  พุทธประวัติ
  => พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง

buddha_003.gif (8203 bytes)


พระประสูติกาล

พุทธประวัติ

พระนางสิริมหามายาแห่งโกลิยวงศ์ พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งศากยวงศ์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นโกศล ขณะทรงพระครรภ์แก่ได้ทรงขอพระราชานุญาตจากพระสวามีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ กรุงเทวทหะอัน เป็นพระมาตุภูมิเพื่อให้การประสูติเป็นไปตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดาได้ทรงพระสุบินนิมิตว่า ช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม สิบเดือนหลังจากนั้นก็มีพระประสูติกาล ระหว่างเสด็จกลับพระมาตุภูมิ พระพุทธมารดาได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละในสวนป่าชื่อ ลุมพิและ มีพระประสูติกาลเป็นพระโอรสซึ่งต่อมาจะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระ พุทธเจ้า วันนั้นเป็นวันศุกร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนวิสาขะ ปีจอ ก่อนพุทธศักราชแปดสิบปี อนึ่ง ทั้งสวนป่าลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล

หลังจากที่มีพระประสูติกาลแล้วเจ็ดวัน พระพุทธมารดาก็เสด็จสวรรคาลัย ในปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสกล่าว ว่า เป็นเพราะพระครรภ์ของพระพุทธมารดาไม่ควรจะเป็นที่เกิดของสัตว์ใดอีก และเมื่อพระพุทธมารดาได้ให้พระประสูติกาลแก่พระพุทธเจ้าแล้วก็ไม่สมควรจะได้ ร่วมกามเมถุนอีก จึงเป็นพุทธมารดาประเพณีที่จะพระองค์จักต้องเสด็จสวรรคาลัย

นอก จากนี้ หลังจากมีพระประสูติกาลแล้วห้าวัน พระเจ้าสุทโธนะโปรดให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระประสูติกาลพระกุมาร ฤๅษีตนหนึ่งนามว่า "อสิตะดาบส" ได้เดินทางแต่เขาที่ตนพำนักมายังพระราชพิธีด้วย พระกุมารได้วางพระบาทเหนือศีรษะฤๅษีอสิตะเพื่อให้ชมดูรอยตำหนิแห่งการกำเนิด เมื่อพบว่าพระกุมารมีมหาปุริสลักษณะ ฤๅษีจึงประกาศว่าพระราชโอรสพระองค์นี้ในอนาคตกาลจะได้เป็นสมเด็จพระมหา จักรพรรดิหรือพระพุทธเจ้าเป็นแน่ อนึ่ง ในพระราชพิธี พราหมณ์แปดนายซึ่งได้รับเชิญมา เจ็ดนายในจำนวนนั้นทำนายเป็นเสียงเดียวกันอย่างคำประกาศของฤๅษีอสติะ เว้นแต่พราหมณ์ชื่อโกณฑัญญะว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ฝ่ายพราหมณ์โกณฑัญญะเมื่อเชื่อมั่นในคำทำนายของตนแล้วก็ออกบวชล่วงหน้าเพื่อ เตรียมตัวเป็นสาวกของพระกุมารเมื่อได้ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้วในอนาคต

ใน พระราชพิธีนี้ พระกุมารทรงได้รับพระนามว่า "สิทธัตถะ" หรือ "สิทธารถ" (/สิดทาด/) มีความหมายว่า ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือ ผู้ปรารถนาสิ่งใดย่อมได้สิ่งนั้น

เจ้าชายสืบราชสมบัติ

เจ้า ชายสิทธัตถราชกุมาร ทรงเจริญวัยด้วยความสุขยิ่ง เพราะกำเนิดในราชตระกูลภายใต้เศวตฉัตร และได้ทรงศึกษาในสำนักอาจารย์วิศวามิศ ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงที่สุด เจ้าชายได้ทรงศึกษาอย่างรวดเร็ว และจบหลักสูตรสิ้นทุกประการ คือจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 สาขาวิชาที่เปิดสอน

พระเจ้าสุ ทโธทนะ ทรงปริวิตกต่อคำทำนายของพราหมณ์หนุ่ม ที่ว่าเจ้าชายจะออกบวชแน่นอน จึงทรงจัดการเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์ พร้อมสร้างปราสาท 3 ฤดูให้อยู่ประทับ เมื่อพระชมน์ได้ 16 พรรษาได้เข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา ผู้เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ กษัตริย์ผู้ครองราชสมบัติกรุงเทวทหนคร เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขกับพระนางตลอดมา จนพระชนมายุได้ 29 พรรษา ก็มีพระราชโอรสองค์หนึ่งพระนามว่าราหุล ซึ่งแปลว่า บ่วง

เจ้าชายเสด็จออกบวช  เหตุการณ์ออกผนวชตามนัยอรรถกถา

เทวทูตทั้ง 4

เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นอรรถกถา (หลักฐานชั้นรอง แต่งโดยคัมภีราจารย์รุ่นหลังพระไตรปิฎก) กล่าวว่า หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยและอภิเษกสมรสล่วงมาได้ 29 พรรษาแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเสพสุขอยู่บนปราสาท 3 ฤดู มีความสุขทางโลกบริบูร จนวันหนึ่งทรงปรารถนาจะผ่อนคลายความจำเจ จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นทรงพบเทวทูตทั้ง 4 อันได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงบังเกิดความสังเวชในพระราชหฤทัย ใคร่เสด็จออกบรรพชาเป็นสม

ในวันที่เจ้าชายราหุลเกิดนั้น เป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา ด้วยทรงเบื่อในเพศฆราวาสอันเต็มไปด้วยกิเลส จึงทรงเห็นว่าเพศบรรพชาเท่านั้นที่ประเสริฐและเป็นเพศที่ สามารถจะหลุดพ้นจากความทุกข์ยากทั้งปวงได้ กระทั่งคืนที่เจ้าชายตัดสินพระทัยจะออกบวช ได้เสด็จไปเยี่ยมพระโอรสและมเหสี เมื่อพระองค์เห็นพระนางพิมพาบรรทมหลับสนิทพระกรกอดโอรสอยู่ทรงดำริจะอุ้มพระ โอรส ขึ้นชมเชยเป็นครั้งสุดท้าย ก็เกรงว่าพระนางพิมพาจะตื่นบรรทม เป็นอุปสรรคขัดขวางการเสด็จออกบรรพชา จึงตัดพระทัยระงับความเสน่หาในพระโอรสเสด็จออกจากห้อง เสด็จลงจากปราสาทพบกับนายฉันนะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง (ม้านามว่ากัณฑกะ) ไว้แล้ว เสด็จออกจากพระนครในราตรีกาล ทรงเสด็จออกพ้นพระราชวัง เข้าเขตแดน แคว้นโกศลและแคว้นวัชชี ครั้นเวลาใกล้รุ่ง เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที พระองค์ทรงม้าข้ามฝั่งแม่น้ำ แล้วเสด็จลงไป ประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลี ด้วยพระขรรค์ เปลี่ยนชุดทรงกษัตริย์เป็นผ้ากาสาวพัตร์ แล้วทรงตั้งจิตอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา เวลาเช้า ตรงกับวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหะ (วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน  จากนั้นทรงส่งนายฉันนะนำเครื่องทรงกษัตริย์กลับนคร แล้วเสด็จลำพังโดยพระองค์เดียว มุ่งพระพักตร์ ไปยังแคว้นมคธ

เหตุการณ์ออกผนวชตามนัยพระบาลี (พระไตรปิฎก)

(ตามนัยอรรถกถา) หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะหนีออกจากพระราชวัง ทรงตัดพระเมาฬีที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานทีเพื่ออธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต

เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นต้น คือ พระไตรปิฎก กล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะอายุได้ 29 พรรษา ได้ ทรงปรารภเหตุคือ ความแก่ เจ็บ ตาย ที่มีอยู่ทุกคนเป็นธรรมโลก ไม่มีใครจะรอดพ้นไปได้ แต่เพราะว่ามิได้ฟังคำสั่งสอนของผู้รู้ จึงทำให้มัวแต่มานั่งรังเกียจเหตุเหล่านั้นว่าเป็นของไม่ควรคิด ไม่ควรสนใจ ทำให้คนเราทั้งหลาย มัวมาแต่ลุ่มหลงอยู่ในกิเลสทั้งหลายเพราะความเมา 3 ประการ คือ เมาว่าตัวยังหนุ่มยังสาวอยู่อีกนานกว่าจะแก่ 1 เมาว่าไม่มีโรคอยู่และโรคคงจะไม่เกิดแก่เรา 1 เมาว่าชีวิตเป็นของยั่งยืน 1 มัวแต่ใช้ชีวิตทิ้งไปวัน ๆ กล่าวคือ ทรงดำริว่า

...มนุษย์ทั้งหลายมีความทุกข์เกิดขึ้นครอบงำอยู่ตลอดเวลาก็จริง เกลียดความทุกข์อยู่ตลอดเวลาก็จริง
แต่ทำไมมนุษย์ทั้งหลายยังมัวแสวงหาทุกข์ร้อนใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา แล้วทำไม เราต้องมามัวนั่งแสวงหาทุกข์ใส่ตัว (ให้โง่) อยู่อีกเล่า!

ด้วยความคิดเช่นนี้ ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะถึงกับตั้งพระทัยออกผนวชด้วยดำริว่า

เมื่อรู้ว่าการเกิดมี (ทุกข์) เป็นโทษแล้ว เราพึงแสวงหา "นิพพาน" อันไม่มีความเกิด อันเป็นธรรมที่เกษมจากเครื่องร้อยรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าเถิด

นอกจากนี้ ในสคารวสูตร มีพระพุทธพจน์ตรัสสรุปสาเหตุที่ทำให้ทรงตั้งพระทัยออกบรรพชาไว้สั้น ๆ ว่า

ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, ส่วนบรรพชาเป็นโอกาสแสงสว่าง; ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดดีแล้ว, โดยง่าย นั้นไม่ได้. ถ้าไฉนเราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน เถิด

ด้วยเหตุดังกล่าวทั้งหลายนี้พระองค์จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จออกผนวช โดยการเสด็จออกผนวชตามนัยพระไตรปิฎกนั้น มิได้ทรงหนีออกจากพระราชวัง แต่ทรงเสด็จออกผนวชต่อหน้าพระราชบิดาและพระราชมารดาเลยทีเดียว ดังในโพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ว่า

...เรายังหนุ่มเทียว เกสายังดำจัด บริบูรณ์ด้วยเยาว์อันเจริญในปฐมวัย, เมื่อบิดามารดาไม่ปรารถนาด้วย กำลังพากันร้องไห้ น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว...
สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. โพธิราชกุมารสุตฺต ราชวคฺค ม. มู. ๑๓/๔๔๓/๔๘๙

เหตุการณ์ จากนี้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาระบุตรงกันว่า เมื่อพระองค์ถือเพศบรรพชิตแล้ว ก็ทรงศึกษาในลัทธิคณาจารย์ต่างๆ ซึ่งสมัยนั้นนิยมกัน ส่วนเจ้าชายสิทธํตถะเมื่อครองเพศบรรพชิตแล้ว ทรงถือวัตรปฏิบัติของสมณะ คือปลงผมนุ่งผ้า ย้อมน้ำฝาด (สีเหลืองแก่นขนุน) เลี้ยงชีพด้วย อาหารบิณฑบาต ที่ผู้ต้องการบุญถวายให้ ทรงมีมีนามเรียกขานว่า พระสมณโคดม (คำว่าโคดม มาจากคำว่าโคตมะ ซึ่งเป็นชื่อโคตรของราช วงศ์ศากยะ) ในเบื้องต้น พระสมณโคดม ได้ไปฝากตนเป็นศิษย์ ในสำนักอาฬารดาบส ได้ฝึกจิตบำเพ็ญธรรมจนบรรลุความรู้ขั้นสูงสุดของอาจารย์ คือบรรลุฌานขั้นที่ 7

บำเพ็ญเพียรเพื่อการบรรลุธรรม

การบำเพ็ญทุกกรกิริยา

เมื่อ หมดความรู้ของอาจารย์อาฬารดาบสจึงอำลาไป เป็นศิษย์ในสำนักอุทกดาบส ซึ่งมีความรู้สูงกว่าอาฬารดาบสหนึ่งขั้น คือเป็นผู้บรรลุฌานขั้นที่ 8 ซึ่งพระสมณโคดม ใช้เวลาศึกษาไม่นานก็สิ้นภูมิรู้ของอาจารย์ ในที่สุด จึงอำลาไปค้นหาวิมุตติธรรม ตามแนวทางของพระองค์ ด้วยทรงประจักษ์ว่า นี่ไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้

พระองค์จึงได้ละทิ้งสำนักอาจารย์เหล่านั้นเสีย พระองค์ได้มุ่งหน้าสู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแคว้นมคธ โดยทรงเริ่มการบำเพ็ญเพียรขั้นอุกฤต ที่เรียกว่าทุกรกิริยา ซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน อาทิการกลั้นลมหายใจเข้าออก จนเหงื่อโทรมกายหูอื้อตาลาย การนั่งตากแดดจนผิวเกรียมไหม้ ครั้นฤดูหนาว ก็ลงไปแช่น้ำจนตัวแข็งพระองค์ได้ทดลองปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิมทุกวิถี ทาง ก็ยังไม่สามารถบรรลุแนวทางค้นพบสัจจธรรมได้

ขณะนั้นมีฤๅษี 5 รูป ชื่อว่า โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ตามมาปฏิบัติตนเป็น ศิษย์ ด้วยคาดหวังว่า เมื่อพระสมณโคดม ค้นพบ วิโมกขธรรม จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย

พระ สมณโคดม เริ่มบำเพ็ญทุกกรกิริยาขั้นสุดท้าย คือเริ่มลดอาหารที่ละน้อย ๆ จนถึงขั้นอด อาหาร จนร่างกายซูบซีดผอมแห้ง เหลือแต่หนังและเอ็นหุ้มกระดูก ทรงอาตมาบำเพ็ญเพียรถึงขั้นอุกฤตขนาดนี้ นับเป็นเวลาภึง 6 พรรษา ก็ยังไม่สามารถบรรลุวิมุตติธรรม

ความนี้ทราบถึงท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นจอมเทพแห่งดาวดึงส์สวรรค์ จึงทรงเสด็จมาเฝ้า และดีดพิณสามสายให้ทรงสดับ วาระแรกทรงดีดพิณสาย ที่ 1 ซึ่งขึ้นสายไว้ตึง พอลงมือดีดสายพิณก็ขาดผึงลง วาระที่ 2 ทรงดีดพิณสายที่สอง ซึ่งขึ้นสายไว้หย่อน ปรากฏเป็นเสียงที่ยืดยาดขาดความไพเราะ วาระที่ 3 ทรงดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึ้นสายไว้พอดี เป็นบทเพลงที่ไพเราะกังวาน พร้อมกับถวายบังคมลากลับไป

พระสมณโคดม ทรงสดับแล้วก็ทรงทราบถึงเหตุแห่งการมาของท้าวสักกเทวราช จึงได้แนวพระดำริว่า การบำเพ็ญทุกขกิริยานั้น เป็นการทรมาณตนให้ลำบากเปล่า เป็นข้อปฏิบัติที่ตึงเกินไปไม่ใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ การบำเพ็ญเพียรทางสมาธิจิตนั้น ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป น่าจะเป็นทางแห่งการตรัสรู้ได้ จึงเริ่มเสวยพระกระยาหารดังเดิมเพื่อให้ร่างกายคลายเวทนา มีสมาธิที่จะบำเพ็ญเพียรต่อไป

การตรัสรู้ยิ่ง

ทรงประทับนั่ง ขัดสมาธิ ผินพระพักตรสู่เบื้องบูรพาทิศ ตั้งจิตแน่แน่วว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาน จักไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ พญาวัสสวดีมาร เข้าทำการขัดขวางการตรัสรู้ ของพระมหาบุรุษ แต่พ่ายแพ้ไป ด้วยอำนาจบารมี ครั้นพญามารพ่ายแพ้กลับไปแล้ว พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้าฌาน เพื่อเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ จนเวลาผ่านไปจนถึงยามต้น ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุติญาณ คือ ทรงระลึกชาติในอดีต ทั้งของตนเองและผู้อื่นได้ ยามสอง ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ยามสาม ทรงบรรลุ อาสวักขญาณ คือ รู้วิธีกำจัดกิเลส (มาร) ด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงพบกับความสุขสว่างอย่างแท้จริง ซึ่งเรียกกันว่าทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ณ อุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองพาราณสี ขณะมีพระชนม์ได้ 35 พรรษา

การแสดงปฐมเทศนา

เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และได้แสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ณ วัน เพ็ญ เดือน 8 คือวันอาสาฬหบูรณมี ซึ่งกล่าวถึงที่สุด 2อย่าง อันบรรพชิต ไม่ควรปฏิบัติ คือการลุ่มหลงมัวเมาในกาม 1 การทรมาณตนให้ลำบากเปล่า 1 มัฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางที่ควรดำเนิน คืออริยสัจจสี่และมรรคมีองค์แปด 1

ท่านโกณฑัญญะ ก็ได้ “ธรรมจักษุ” คือดวงตาเห็นธรรม พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่าอัญญาสิ วตโกณฑัญโญ แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญาว่า อัญญาโกณฑัญญะ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรก


พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน

  พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน

พระองค์ ก็ได้เที่ยวสั่งสอนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดระยะเวลา 45 พรรษา เพื่อให้ศาสนิกชนได้พบเห็นทางที่นำไปสู่ความสุขอย่างแท้จริง ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคามใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี พระองค์เสวยสุกรมัททวะ ที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน

เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า

“ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่น ให้บริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

จนกระทั่งถึงดับขันธุ์ปรินิพาน ระหว่างใต้ต้นรังคู่ ณ แขวงเมืองกุสินารา ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น

หลักธรรม คำสอน

พระ พุทธเจ้าทรงเทศนา สั่งสอนพุทธบริษัทเรียกว่า พระธรรมวินัย พระธรรม คือคำสอนในสิ่งที่เป็นจริงของชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไปสู่จุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน

พระธรรมนั้นแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ คำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับ ชีวิตประจำวันของ ผู้คนทั่วไป เรียกว่าพระสูตร และคำสอนที่เป็น หัวข้อธรรมล้วนๆ เช่น ขันธ์ 5 ปัจจยา การ 12 เป็นต้นเรียกว่าพระอภิธรรม ส่วนวินัยสำหรับพระ ภิกษุแลภิกษุณี ได้แก่กฎระเบียบข้อปฏิบัติ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 7 วัน พุทธบริษัทได้ ร่วมกันรวบรวม พระสูตร พระอภิธรรมและพระวินัยจัดเข้าเป็น หมวดหมู่ได้ 84,000 หมวด รวมเรียกว่า พระไตรปิฎก



ศาสนาเดิมของศาสดา

  • โมเสส เคยนับถือศาสนาอียิปต์โบราณ เป็นศาสนาแรกเกิดที่นับถือ เปลี่ยนศาสนามาเป็นยิวเมื่อพบองค์พระเจ้าที่ถ้ำแห่งหนึ่ง
  • พระพุทธเจ้า เคยนับถือศาสนาฮินดู เป็นศาสนาแรกประสูติที่นับถือ เปลี่ยนศาสนามาเป็นพุทธเมื่อตรัสรู้ เมื่อ 35 พรรษา
  • พระเยซูคริสตเจ้า เคยนับถือศาสนาศาสนายิว เป็นศาสนาแรกสมภพที่นับถือ เปลี่ยนศาสนามาเป็นคริสต์เมื่อสั่งสอนประชาชนประมาณพระชนม์ 30 พรรษา (ความจริงพระองค์ยังไม่ใช่คริสต์อะไรหรอก ยังถือว่าเป็นยิว แต่ต่อมาศาสนาคริสต์กับยิวแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวยิวที่เชื่อในองค์พระเยซูเรียกว่าชาวคริสต์)
  • ท่านนบีมูฮีมหมัด เคยนับถือศาสนาพื้นเมืองอาหรับที่ชื่อว่ากุยร็อยช์ เป็นศาสนาที่เคารพรูปเคารพ เป็นศาสนาแรกเกิดที่นับถือ เปลี่ยนศาสนาเมื่อเริ่มประกาศธรรมเมื่ออายุ 40 ปี
  • ท่านคุรุนานัค เคยนับถือศาสนาฮินดูแต่อยู่ในสังคมของชาวมุสลิม เป็นศาสนาแรกเกิดที่นับถือ (ฮินดูและมีความรู้เรื่องของชาวมุสลิมอยู่ด้วย) เปลี่ยนศาสนาที่หายตัวไป เมื่ออายุ 30 ปี ไม่กี่วันต่อมาเขาก็กลับมา และเป็นชาวสิกข์


 
 






 
 
สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
พร้อมคำบรรยายประกอบภาพเขียนอันทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมและประเพณีไทย
สารบัญเนื้อเรื่อง
  คำนำ
ภาพที่ ๑
เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าชุมนุมกันอัญเชิญเทพบุตรโพธิสัตว์ให้จุติมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ภาพที่ ๒
ทรงรับคำเชิญ แล้วจุติมากำเนิดในตระกูลกษัตริย์ศากยะ ณ กรุงกบิลพัสดุ์
ภาพที่ ๓
พอประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ณ ป่าลุมพินีวัน ก็ทรงดำเนินได้ ๗ ก้าว
ภาพที่ ๔
อสิตดาบสมาเยี่ยม เห็นกุมารประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะก็ถวายบังคม
ภาพที่ ๕
พราหมณาจารย์รับพระลักษณะสมโภชพระกุมาร ถวายพระนามว่า พระสิทธัตถะ
ภาพที่ ๖
ทรงบรรลุปฐมฌานตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ขณะประทับใต้ร่มหว้าในพิธีแรกนาขวัญ
ภาพที่ ๗
ทรงประลองศิลปศาสตร์ยกศรอันหนัก ดีดสายศรเสียงสนั่นกระหึ่มเมือง
ภาพที่ ๘
พระบิดาทรงอภิเษกสมรสพระสิทธัตถะกับพระนางพิมพายโสธรา
ภาพที่ ๙
เสด็จประพาสสวน ทรงเห็นเทวฑูต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต
ภาพที่ ๑๐
ทรงสรงสนานน้ำในสระ ราชบุรุษไปทูลว่า พระนางพิมพาประสูติพระโอรสแล้ว
ภาพที่ ๑๑
ทรงเปลื้องสังวาลประทานนางกีสาโคตมีซึ่งสดุดีพระคุณ ขณะเสด็จขึ้นสู่ประสาท
ภาพที่ ๑๒
ตื่นบรรทมกลางดึกเห็นสาวสนมกรมในนอนระเกะระกะ ระอาพระทัยใคร่ผนวช
ภาพที่ ๑๓
เสด็จไปเยี่ยมพระนางพิมพา ซึ่งกำลังบรรทมหลับสนิทเป็นนิมิตอำลาผนวช
ภาพที่ ๑๔
ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้ากัณฐกะ เพื่อประทับเป็นพาหนะเสด็จออกบรรพชา
ภาพที่ ๑๕
พระยามารห้ามบรรพชาว่า อีก ๗ วันจะได้เสวยสมบัติบรมจักรแต่ไม่ทรงฟัง
ภาพที่ ๑๖
ทรงตัดโมลีถือเพศบรรพชา ณ ฝั่งน้ำอโนมา ฆฏิการพรหมถวายอัฐบริขาร
ภาพที่ ๑๗
เสด็จจาริกผ่านกรุงราชคฤห์ มหาชนเห็นแล้วโจษจันกันทั่วเมือง
ภาพที่ ๑๘
พระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปเฝ้า ทูลของปฏิญาณว่าถ้าตรัสรู้แล้วขอให้มาโปรดก่อน
ภาพที่ ๑๙
เสด็จไปศึกษาลัทธิฤาษีชีป่ากับอาฬารดาบส เห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้
ภาพที่ ๒๐
เสด็จถึงอุรุเวลาเสนานิคมอันสงัดเงียบ ทรงพอพระทัยประทับบำเพ็ญเพียรที่นั่น
ภาพที่ ๒๑
ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา ปัญจวัคคีย์เฝ้าปฎิบัติ พระอินทร์ดีดพิณถวายข้ออุปมา
ภาพที่ ๒๒
เช้าวันตรัสรู้ นางสุชาดากับทาสีมาถวายข้าวมธุปายาส โดยสำคัญว่าเทวดา
ภาพที่ ๒๓
ทรงลอยถาด ถาดจมลงไปกระทบกับถาดเดิม ๓ ใบ พญานาคก็รู้ว่า พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้
ภาพที่ ๒๔
เสด็จกลับจากลอยถาด ทรงรับหญ้าคาซึ่งพราหมณ์โสตถิยะถวายในระหว่างทาง
ภาพที่ ๒๕
ทรงลาดหญ้าคาประทับเป็นโพธิบัลลังก์ ตกเย็นพญามารก็กรีฑาพลมาขับไล่
ภาพที่ ๒๖
แม่พระธรณีบิดพระเกศา เกิดเป็นสมุทรธารา พระยามารก็พ่ายแพ้แก่พระบารมี
ภาพที่ ๒๗
พอรุ่งอรุณก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เทวดาฝ่ายฟ้อนร่อนรำถวายเป็นพุทธบูชา
ภาพที่ ๒๘
เสด็จไปประทับโคนต้นไทร สามธิดามารมาประโลมล่อให้หลง ก็ไม่ทรงใยดี
ภาพที่ ๒๙
ย้ายไปประทับโคนไม้จิก ฝนตกพรำ พญานาคมาขดขนดปกพระกาย กำบังฝน
ภาพที่ ๓๐
ขณะประทับโคนไม้เกด ท้าวโลกบาลถวายบาตร เทวดาบอกสองพาณิชให้ไปเฝ้า
ภาพที่ ๓๑
สองพาณิชถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง แล้วทูลปฎิญาณตนเป็นอุบาสกคู่แรกในโลก
ภาพที่ ๓๒
กลับมาประทับโคนต้นไทร ท้อพระทัยในอันโปรดสัตว์ สหัสบดีพรหมต้องทูลวิงวอน
ภาพที่ ๓๓
ทรงคำนึงเห็นอุปนิสัยเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่าจึงรับอาราธนา
ภาพที่ ๓๔
เสด็จพระพุทธดำเนินไปโปรดเบญจวัคคีย์ พบอุปกาชีวกในระหว่างทาง
ภาพที่ ๓๕
ถึงป่าอิสิปตนะ เบญจวัคคีย์เห็นแต่ไกล นัดกันว่าจะไม่ต้อนรับ แต่แล้วก็กลับใจ
ภาพที่ ๓๖
สำแดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดเบญจวัคคีย์ ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม
ภาพที่ ๓๗
ยสกุลบุตรหน่ายสมบัติ เดินไปสู่ป่าอิสิปตนะ พบพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรด
ภาพที่ ๓๘
เสด็จไปหาชฎิลอุรุเวลากัสสป ขอพักในโรงไฟ ชฎิลบอกว่ามีนาคร้ายก็ไม่ทรงฟัง
ภาพที่ ๓๙
ทรงทรมานนาคราชร้าย ขดกายพญานาคใส่บาตรให้ชฎิลดู ชฎิลก็ยังไม่เลื่อมใส
ภาพที่ ๔๐
วันหนึ่ง ฝนตักหนัก น้ำท่วม แต่ไม่ท่วมที่ประทับ ชฎิลเห็นอัศจรรย์จึงทูลขอบรรพชา
ภาพที่ ๔๑
พระอุรุเวลกัสสปประกาศตนเป็นพุทธสาวกต่อหน้าพระเจ้าพิมพิสาร ณ สวนตาลหนุ่ม
ภาพที่ ๔๒
พระเจ้าพิมพิสารเลื่อมใส ทรงหลั่งน้ำถวายวัดเวฬุวันเป็นปฐมสังฆาราม
ภาพที่ ๔๓
ท้าวเธอทรงบำเพ็ญกุศลให้พระญาติที่เกิดเป็นเปรต เปรตทั้งหลายต่างโมทนารับส่วนบุญ
ภาพที่ ๔๔
พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร อัครสาวกซ้าย-ขวามาทูลขอบรรพชาเป็นเอหิภิกขุ
ภาพที่ ๔๕
พระพุทธองค์ทรงประทาน โอวาทปาติโมกข์แก่พระอรหันต์สงฆ์ ในวันเพ็ญมาฆบูชา
ภาพที่ ๔๖
เสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ พระญาติผู้ใหญ่ถือว่าสูงอายุไม่ถวายบังคม
ภาพที่ ๔๗
ทรงแสดงปาฏิหารย์เหาะให้เห็น หมู่พระญาติก็สิ้นทิฐิมานะถวายบังคมพร้อมกัน
ภาพที่ ๔๘
เสด็จทรงบาตรในเมือง พระนางพิมพายโสธราเห็นจึงชี้ให้พระราหุลดู ตรัสว่า นั่นคือบิดาของเจ้า
ภาพที่ ๔๙
พระพุทธบิดาทราบข่าวก็เสด็จมาตัดพ้อ ทูลขอให้เสด็จไปประทับเสวยในวัง
ภาพที่ ๕๐
พระพิมพาพิลาปรำพันถึงพระพุทธองค์ เสด็จพุทธดำเนินไปโปรดถึงในปราสาท
ภาพที่ ๕๑
พระนันทะรับบาตรส่งเสด็จ นางคู่วิวาห์ร้องสั่งให้รีบกลับ พอถึงวัดกลับชวนให้ผนวช
ภาพที่ ๕๒
พระราหุลแสดงความรักซาบซึ้งในพระพุทธองค์ผู้เป็นบิดา จนลืมทูลขอราชสมบัติ
ภาพที่ ๕๓
ทรงมอบสมบัติพระนิพพานแก่พระราหุล โดยให้บรรพชาเป็นสามเณรองค์แรก
ภาพที่ ๕๔
ทรงพานันทะไปชมนางฟ้า พระนันทะใคร่จะได้เป็นชายา ทรงรับรองจะให้สมหวัง
ภาพที่ ๕๕
พระเทวทัตสำแดงฤทธิ์ให้อชาตศัตรูราชกุมารเลื่อมใส เพื่อให้รับเป็นโยมอุปัฏฐาก
ภาพที่ ๕๖
นายขมังธนูซึ่งพระเทวทัตส่งไปฆ่าพระพุทธองค์ ปลงอาวุธ ฟังธรรม สำเร็จมรรคผล
ภาพที่ ๕๗
พระเทวทัตได้สำนึกในความผิดของตน ใคร่ทูลขอขมา แต่ถูกธรณีสูบเสียก่อนเข้าเฝ้า
ภาพที่ ๕๘
พระแม่น้าทูลถวายเฝ้า โปรดให้ถวายอชิตภิกษุ ซึ่งต่อไปจะตรัสรู้
ภาพที่ ๕๙
ทรงห้ามพระญาติฝ่ายพระบิดากับฝ่ายพระมารดา ซึ่งแย่งกันทดน้ำเข้านามิให้วิวาทกัน
ภาพที่ ๖๐
พระพุทธบิดาประชวร เสด็จไปโปรดกระทั่งสำเร็จพระอรหันต์แล้วนิพพาน
ภาพที่ ๖๑
พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี นำนางกษัตริย์บริวารไปทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุณี
ภาพที่ ๖๒
ทรงสำแดงยมกปาฏิหาริย์ข่มพวกเดียรถีย์ที่ต้นมะม่วงคัณฑามพฤกษ์
ภาพที่ ๖๓
แล้วเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระพุทธมารดา
ภาพที่ ๖๔
ถึงวันมหาปวารณา เสด็จลงจากดาวดึงส์โดยบันไดแก้ว บันไดทอง บันไดเงิน
ภาพที่ ๖๕
ครั้นแล้วก็ทรงเปิดโลก บันดาลให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรกแลเห็นซึ่งกันและกัน
ภาพที่ ๖๖
ครั้งหนึ่งเสด็จไปจำพรรษา ณ ป่าปาเลไล โดยมีช้างกับลิง เป็นพุทธอุปัฏฐาก
ภาพที่ ๖๗
ถึงเพ็ญเดือน ๓ พรรษาที่ ๔๕ พญามารเข้าเฝ้าทูลให้เสด็จปรินิพพาน ทรงรับอาราธนา
ภาพที่ ๖๘
มีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท์ว่า ทรงปลงอายุสังขารแล้ว อีกสามเดือนจะนิพพาน
ภาพที่ ๖๙
รุ่งเช้าเสด็จกลับจากทรงบาตร เยื้องพระกายดูกรุงไพศาลี เป็นครั้งสุดท้าย
ภาพที่ ๗๐
เช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ทรงเสวยมังสะสุกรอ่อนที่บ้านนายจุนทะ นับเป็นปัจฉิมบิณฑบาต
ภาพที่ ๗๑
เสด็จไปกรุงกุสินารา ทรงกระหายน้ำ โปรดให้พระอานนท์ ไปตักน้ำมาถวาย
ภาพที่ ๗๒
ปุกกุสะบุตรแห่งมัลลกษัตริย์แวะเข้าเฝ้าถวายผ้าเนื้อเกลี้ยงสีทอง
ภาพที่ ๗๓
เสด็จถึงสาลวันกรุงกุสินารา โปรดให้พระอานนท์จัดที่บรรทมระหว่างไม้รังทั้งคู่
ภาพที่ ๗๔
พระอานนท์ไปยืนเหนี่ยวสลักเพชรพระวิหาร ร้องไห้รำพันถึงพระพุทธองค์
ภาพที่ ๗๕
ทรงแสดงธรรมโปรดสุภัททะปริพาชกให้สำเร็จมรรคผล นับเป็นปัจฉิมเวไนย
ภาพที่ ๗๖
ทรงยกพระธรรมวินัยไตรปิฎกเป็นศาสดา ประทานปัจฉิมโอวาทแล้วปรินิพพาน
ภาพที่ ๗๗
พระสงฆ์ปุถุชนได้ฟังข่าวปรินิพพานซึ่งอาชีวกบอกแก่พระมหากัสสปก็ร้องไห้
ภาพที่ ๗๘
พอพระมหากัสสปถวายบังคมบาทพระพุทธศพ เพลิงสวรรค์ก็บันดาล ลุกโชติช่วง
ภาพที่ ๗๙
โทณพราหมณ์แบ่งสรรพระบรมธาตุแก่พราหมณ์และกษัตริย์ ๗ พระนคร
ภาพที่ ๘๐
พระมหากัสสปกับพระอริยสงฆ์ยกปฐมสังคายนา สืบอายุพระศาสนามาถึงบัดนี้
ศัพทานุกรม




  มีบริวารสะอาด  
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง กา...
  03/10/2008
  ไม่มีข้าศึกศัตรูกำจัดได้  
              [๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจาก คำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต...
  03/10/2008
  ปวดศีรษะ  
        ใน กาลก่อนเราเป็นเด็ก(ลูก)ชาวประมง อยู่ในบ้านเกวัฏฏคาม เห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้วเกิดความโสมนัส(ยินดี) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะ(ปวดศีรษะ)ไ...
  03/10/2008
  ช้างดุจะมาทำร้าย  
        ใน กาลก่อน เราเป็นนายควาญช้าง ได้ไสช้างให้จับมัดพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้อุดมมุนี ในขณะที่กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วยวิบากกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีอันดุร้าย จึงวิ่...
  03/10/2008
  โดนใส่ร้าย ๒  
         โดนใส่ร้าย (๒) เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่า นันทะ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงท่องเที่ยวอยู่ในนรกสิ้นกาลนาน เราท่องเที...
  27/09/2008
  โดนใส่ร้าย ๑  
         โดนใส่ร้าย (๑) ในชาติอื่นในกาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อ ปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า สุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ  ด้วยวิบา...
  27/09/2008
  บำเพ็ญผิดทาง  
         บำเพ็ญผิดทาง… ในกาลก่อน เราชื่อว่า “โชติปาละ” ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้านามว่า “กัสสปะ” ในกาลนั้นว่า ท่านจักมี...
  27/09/2008
  ไม่ได้ดื่มน้ำในเวลาที่ต้องการ  
         ไม่ได้ดื่มน้ำในเวลาที่ต้องการ… [๓๙๒] พระผู้มีพระภาคผู้เป็นนายกของโลก แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก ประทับนั่งอยู่ที่พื้นหิ...
  27/09/2008
 
 
 




 
อีเมล์

 



--------------------------------------------------------------------------------

ปริศนาธรรม • จากพระพุทธรูป..


พระพุทธรูปเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า


ชาวพุทธให้ความเคารพศรัทธามากบางแห่งก็มีชื่อเรียกเฉพาะ
เช่น หลวงพ่อพุทธโสธร วัดโสธรวราราม
จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ
พระพุทธชินราชวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
เป็นต้น

ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปแต่ละองค์นั้น

มีตำนานเล่าขานกันมามากบ้างน้อยบ้างสุดแท้แต่ความศรัทธาของชาวบ้าน


แต่สิ่งที่เหมือนกันของรูปเปรียบหรือตัวแทนของพระพุทธเจ้านี้
ที่สังเกตเห็นได้มีอยู่ด้วย กัน 3 ประการ คือ


1. พระเศียรแหลม

มีคำถามว่า

ทำไมพระพุทธรูปจึงมีพระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นมนุษย์

ที่เป็นเช่นนี้เพราะเขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็นปริศนาธรรม
พระเศียรที่แหลมนั้นหมายถึง
สติปัญญาที่เฉียบแหลมในการดำเนินชีวิต
สอนให้ชาวพุทธแก้ปัญหาต่างๆ
ด้วยสติปัญญาไม่ใช่ใช้อารมณ์

หากใช้ปัญญาคิดพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงทำความผิดพลาด
เกิดขึ้นน้อย หรือไม่เกิดขึ้นเลย



2. พระกรรณยาน หรือ หูยาน

เป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนัก
คือมีจิตใจหนักแน่นมั่นคงนั่นเอง

ไม่เชื่ออะไรง่ายๆแต่คิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคาย
แล้วจึงเชื่อในฐานที่เป็น
ชาวพุทธก็ต้องเชื่อในกฎแห่งกรรม
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น
เชื่อว่าไม่มีอะไรทำให้ใครเป็นอะไรๆ

ทั้งนั้นแต่ตัวเราเองนั่นแหละทำให้เราเป็นสุขเป็นทุกข์

คนเราจะดีจะชั่วจะเสื่อมจะเจริญไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอก
หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ขึ้นอยู่กับการทำ

การพูดการคิดของตนเองนี้เป็นการเชื่อตามหลักของพระพุทธศาสนา



3. พระเนตรมองต่ำ


พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไปจะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์
อย่างในพระอุโบสถของวัดทั่วไป จะนั่งมองดูพระวรกาย

ไม่ได้มองดูหน้าต่างหรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง
นี้เป็นปริศนาธรรม
สอนให้มองตนเองพิจารณาตนเอง
ตักเตือนแก้ไขตนเองไม่ใช่คอยจับผิดผู้อื่น

ซึ่งตามปกติของคนแล้วมักจะมองเห็นความผิดพลาดของบุคคลอื่น

แต่ลืมมองของตนเองทำให้สูญเสียเวลาและโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง
ใครเล่าจะตักเตือนตัวเราได้ดี
กว่าตัวเราเองจึงมีพุทธพจน์ตรัสให้เตือนตนเองว่า

"อตฺตนา โจทยตฺตาน" = จงเตือนตนด้วยตนเอง

จงเตือนตนของตนให้พ้นผิด
ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน
ตนเตือนตนเตือนไม่ได้ใครจะเตือน
ตนแชเชือนรีบเตือนตนให้พ้นภัย

ที่กล่าวมาทั้ง 3
ประการนั้นเป็นการสอนโดยใช้ปริศนาธรรม
จากพระพุทธรูปเป็นสื่อการสอนใจตนเอง

ดังนั้น..

ชาวพุทธเมื่อมีปัญหาอะไรแก้ไขไม่ได้คิดไม่ตกก็เข้าวัดเสียบ้าง
นั่งประนมมือตรงหน้าพระพุทธรูป
หรือถ้าที่บ้านมีพระพุทธรูป
ก็นั่งประนมมือต่อหน้าพระพุทธรูป ที่บ้านนั่นแหละ
ค่อยๆเพ่งพินิจที่พระพักตร์ของพระพุทธเจ้า

ก่อนที่จะกราบ จะมองเห็นพระเศียรแหลม สอนใจตนว่า..

"อย่าแก้ปัญหาด้วยอารมณ์นะ ใจเย็นๆ ปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อยๆ คิด
ค่อยๆแก้ด้วยสติปัญญาที่เฉียบแหลม..

เหมือนพระพุทธเจ้าของเราที่พระองค์ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา"

เห็นพระกรรณยานก็บอกตนเองว่า..

"สุขุมเยือกเย็นมีเหตุผลเข้าไว้
อย่าปล่อยใจตามอารมณ์หรือหุนหันพลันแล่น
เดี๋ยวจะผิดพลาดได้ ต้องมีจิตใจหนักแน่นมั่นคง
เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผล"

เห็นสายพระเนตรที่มองต่ำก็บอกตนเองว่า..

"มองตนเองบ้างนะ
อย่าไปมองคนอื่นมากนักเลยเดี๋ยวจะไม่สบายใจ
และอาจมีปัญหาได้
การมองตนเองบ่อยๆ จะได้พิจารณาตนเองปรับปรุงตนเอง
และแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น"

จากนั้นก็ค่อยกราบ..
พระพุทธรูปด้วยสติปัญญาและจิตใจที่ชื่นบาน
นี้เรียกว่า "ยิ่งกราบยิ่งฉลาด" สมกับเป็นผู้รู้
ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ที่แท้จริง..


 



 

 
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden