yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - 27 กรรมชั่ว
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง

ใน ศาสนาพราหมณ์ คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าการอาบน้ำชำระกายในแม่น้ำคงคาซึ่งเป็นแม่น้ำ ศักดิ์สิทธิ์จะทำให้สามารถชำระล้างบาปได้ ในเมืองไทยชาวพุทธจำนวนไม่น้อยก็เชื่อต่อกันมาว่า การอาบน้ำพระพุทธมนต์จะช่วยชำระล้างเคราะห์กรรมของตนได้ ความเชื่อเช่นนี้มีความเป็นมาอย่างไร...


พระผู้มีประภาคตรัสตอบว่า

คนพาลมีกรรมชั่ว แม้จะไปยังแม่น้ำพาหุกา ท่าน้ำอธิกักกะ
ท่าน้ำคยาแม่น้ำสุนทรกา แม่น้ำสรัสสวดี ท่าน้ำปยาคะ
และแม่น้ำพาหุมตีเป็นประจำ ก็ยังบริสุทธิ์ไม่ได้
แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปคายะ แม่น้ำพาหุกา
จักทำอะไรได้
จะพึงชำระคนผู้มีเวร
ผู้ทำกรรมหยาบช้า ผู้มีกรรมชั่วให้บริสุทธิ์นั้น ไม่ได้เลย

         

เรื่องชะตา ชีวิต ใครคิดชี้    ผิดชั่วดี ที่ทำ จงจำหนา

 

ถ้าเธอทำ กรรมชั่ว ตัวเธอมา       เกิดผวา พาช้ำ ระกำทรวง

   ถ้าเธอทำ กรรมดี เป็นศรีศักดิ์         พ่อแม่จัก สบาย หมดคลายหวง

    แม้ชะตา ชีวิต โชคผิดดวง                     ถึงตกช่วง โชคร้าย กลายเป็นดี.

                                                           
...หยาดกวี..



ชีวิตนี้น้อยนัก

 



สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

พุทธศาสนาสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า

อัปฺปกญฺจิทํ ชีวิตมาหุธีรา – ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก

ทุก ชีวิต ไม่ว่าคนไม่ว่าสัตว์ มิได้มีเพียงเฉพาะชีวิตนี้ คือมิได้มีเพียงชีวิตในชาตินี้ชาติเดียว แต่ทุกชีวิตมีทั้งชีวิตในชาติอดีต ชีวิตในชาติปัจจุบัน และชีวิตในชาติอนาคต “ชีวิตนี้น้อยนัก” หมายถึงชีวิตในชาติปัจจุบันน้อยนัก สั้นนัก

ชีวิตคืออายุ ชีวิตในปัจจุบันชาติของแต่ละคนอย่างยืนนานก็เกินร้อยปีได้ไม่เท่าไหร่ ซึ่งก็ดูราวเป็นอายุที่ไม่ยืนมากนัก แม้ไม่นำไปเปรียบเทียบกับชีวิตที่ต้องผ่านมาแล้วในอดีต ที่นับชาติไม่ถ้วนนับปีไม่ได้ และชีวิตที่จะต้องเวียนวนเกิดตายต่อไปอีกในอนาคตที่จะนับชาติไม่ถ้วน นับปีไม่ได้อีกเช่นกัน

ที่ปราชญ์ท่านว่า “ชีวิตนี้น้อยนัก” นั้น ท่านมุ่งให้เปรียบเทียบกับชีวิตนี้กับชีวิตในอดีตที่นับชาติไม่ถ้วน และชีวิตในอนาคตที่จะนับชาติไม่ถ้วนอีกเช่นกัน สำหรับผู้ไม่ยิ่งด้วยปัญญา ไม่สามารถพาตนพ้นทุกข์สิ้นเชิงได้

ทุกชีวิตก่อนแต่จะได้มาเป็นคนเป็น สัตว์อยู่ในปัจจุบันชาติ ต่างเป็นอะไรต่ออะไรมาแล้วมากมาย แยกออกไม่ได้ว่ามีกรรมดีกรรมชั่วอะไรบ้าง ทำกรรมใดก่อน ทำกรรมใดหลัง ทั้งกรรมดีกรรมชั่วที่ทำไว้ในชาติอดีตทั้งหลาย ย่อมมากมายเกินกว่าที่ได้มากระทำในชาตินี้ ชีวิตนี้อย่างประมาณไม่ได้ และกรรมดีกรรมชั่วทั้งหลายเหล่านั้นย่อมให้ผลตรงตามเหตุทุกประการ แม้ว่าผลจะไม่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่อาจเรียงลำดับตามเหตุที่ได้กระทำแล้วก็ตาม แต่ผลทั้งหลายย่อมเกิดแน่ แม้เหตุได้กระทำแล้ว

เมื่อมีเหตุย่อมมีผล เมื่อทำเหตุย่อมได้รับผล และผลย่อมตรงตามเหตุเสมอ ผู้ใดทำผู้นั้นจักเป็นผู้รับผล เที่ยงแท้แน่นอน

http://www.buddhism-online.org/Images/Sect07B/PlanP01_01.gif
การจำแนกประเภทของกรรม

กรรมดี หรือ กรรมชั่วก็ตาม กระทำทางกาย วาจา หรือทางใจก็ตาม สามารถจำแนกอีก เป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบ ดังนี้

* กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) 4 อย่าง
* กรรมจำแนกตามหน้าที่ของกรรม (กิจจตุกะ) 4 อย่าง
* กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) 4 อย่าง
* กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) 4 อย่าง

การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง

กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี 4 อย่าง คือ

1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
2. อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
3. อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป
4. อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก

กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำสี่อย่าง คือ

1. ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด
2. อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม
3. อุปปีฬิกกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน
4. อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว

กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม(ปากทานปริยายจตุกะ) จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล 4 อย่าง

1. ครุกกรรม (หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม) หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม
2. พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน ให้ผลรองจากครุกรรม

3. อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น

4. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม หมายถึง กรรมสักแต่ว่าทำ กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอันอื่นให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผล

กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม(ปากฐาน จตุกะ) แสดงที่ตั้งแห่งผลของกรรมสี่อย่าง เป็นการแสดงกรรมโดยอภิธรรมนัย(ข้ออื่นๆข้างต้นเป็นการแสดงกรรมโดยสุตตัน ตนัย)

1. อกุศลกรรม
2. กามาวจรกุศลกรรม
3. รูปาวจรกุศลกรรม
4. อรูปาวจรกุศลกรรม

นอกจากเรื่องของกรรมดีกรรมชั่วแล้ว ยังมีการอธิบายกรรมอีกนัยหนึ่ง โดยอธิบายถึงกรรมดำกรรมขาว จำแนกเป็นกรรม 4 ประการ คือ

1. กรรมดำมีวิบากดำ ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายต่อพระตถาคต ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา

2. กรรมขาวมีวิบากขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็งอยากได้ มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ

3. กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน

4. กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำ เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาว และเจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เช่น ผู้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด โพชฌงค์เจ็ด

สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ (จูฬกัมมวิภังคสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔)


"พระอภิธัมมัตถสังคหะ".และ"อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา".
พระพุทธโฆษาจารย์. "คัมภีร์พระวิสุทธิมรรค".
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). "กรรมทีปนี".
"อัฏฐสาลินีอรรถกถา".
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต กรรมวรรค
จูฬกัมมวิภังคสูตร
วาเสฏฐสูตร
พระอภิธรรมออนไลน์.

กรรมคืออะไร ?


       สัตว์ ทั้งหลายย่อมสำเร็จการกระทำ โดยอาศัยธรรมชาติใด ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้สำเร็จการกระทำนั้น ชื่อว่า กรรม หรือหมายถึงการกระทำ ที่ประกอบด้วยความตั้งใจหรือจงใจที่จะทำ กรรม เป็นคำกลางๆที่ใช้ประกอบกับคำอื่น และแสดงความหมายไปตามคำนั้น เช่น กุศลกรรม แปลว่า กรรมดี อกุศลกรรม แปลว่า กรรมชั่ว เป็นต้น

 

      

ในฉักกนิบาตอังคุตร พระบาลีแสดงว่า

 

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุที่บุคคลมีความตั้งใจ เป็นเครื่องกระตุ้นแล้ว

       กระทำการงานนั้นสำเร็จลง ด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ด้วยเหตุนี้

       ตถาคต จึงกล่าวว่า เจตนานี้เป็นตัวกรรม

      ทางแห่งการทำกรรม จำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมชาติที่เป็นมูลเหตุมี 2 อย่าง คือ

       1. กรรมฝ่ายไม่ดีคือกรรมชั่ว เรียก อกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมบถ

       2. กรรมฝ่ายดี เรียก กุศลกรรม หรือ กุศลกรรมบถ

 

       คำว่า อกุศลกรรมบถ แยกศัพท์ได้ คือ อ = ไม่ กุศล = ดี, ฉลาด กรรม = การกระทำ บถ = ทาง รวมเรียกว่า ทางแห่งการทำวความไม่ดี หรือ ไม่ฉลาด มี 10 อย่าง ซึ่งฝ่ายดีที่เรียก กุศลกรรมบถ ก็มี 10 อย่าง เช่นเดียวกัน ในที่นี้จะกล่าวเพียงการกระทำฝ่ายที่ชั่วที่เรียกว่า อกุศล ซึ่งเหตุต้นที่ก่อให้เกิดผลของกรรมที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไปว่า กรรมเวร หรือเวรกรรม ตามความรู้สึกโดยทั่ว ๆ ไป เมื่อกล่าวคำว่า กรรม เพียงคำเดียว คนทั้งหลายจะหมายถึงผลแห่งการกระทำที่ออกมาไม่ดี ขอได้โปรดศึกษา ดังต่อไปนี้

 

       อกุศลกรรมบถ คือ ทางแห่งการทำที่ไม่ฉลาด หรือทำชั่ว อันเป็นการกระทำกรรมที่เป็นหนทางไปสู่อบายภูมิมี 10 อย่าง ได้แก่

       1.การทำชั่วทางกายมี 3 อย่าง ได้แก่

       1.1 การฆ่าสัตว์

       1.2 การลักทรัพย์

       1.3 การผิดประเวณี

       2.การทำชั่วทางคำพูด มี 4 อย่าง ได้แก่

       2.1 การพูดปด

       2.2 การพูดส่อเสียด

       2.3 การพูดคำหยาบ

       2.4 การพูดเพ้อเจ้อ

      3.การทำชั่วทางความคิด มี 3 อย่าง ได้แก่

       3.1 เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น

       3.2 คิดปองร้ายผู้อื่น

       3.3 มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)

 

      ลักษณะการทำกรรมทั้ง 10 ทาง มีราบละเอียดดังนี้

 

      1.การฆ่าสัตว์ คือทำให้สัตว์นั้นตายก่อนจะถึงอายุขัยของตน

       การกระทำที่ทำให้การฆ่าสำเร็จลง ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ

       1.สัตว์มีชีวิตอยู่

       2.รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต

       3.มีจิตคิดจะฆ่า

       4.ทำความเพียรเพื่อให้ตาย

       5.สัตว์ตายลงเพราะความเพียรนั้น

      ความเพียรพยายามในการฆ่า อันเป็ฯองค์ประกอบอย่างหนึ่งให้เข้าถึงอกุศลกรรมบถนั้น มคความเพียรพยายามอยู่ 6 ประการคือ

       1.พยายามกระทำด้วยตนเอง

       2.ใช้ให้ผู้อื่นกระทำ

       3.ด้วยการปล่อยอาวุธ มีการขว้างปา เป็นต้น

       4.พยายามโดยการสร้างเครื่องปรหารไว้อย่างถาวร มีการทำหรือหาซื้ออาวุธปืน มีด หรือขุดหลุมพรางดักไว้

       5.พยายามโดยใช้วิชาอาคม ไสยศาสตร์

       6. พยายามใช้อิทธิฤทธิ์ ที่เป็นกัมมัชชอิทธิฤทธิ์ของตนประหาร เช่นท้าวเวสสุวรรณระหว่างที่ยังมิได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล เคยฆ่าพวกยักษ์ที่เป็นบริวารด้วยการถลึงตาเป็นต้น

 

 

      2. การลักพรัพย์ คือ การยึดเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้อนุญาต

       การกระทำที่ได้ชื่อว่าลักพรัพย์นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ

       1.วัตถุสิ้งของนั้นมีเจ้าของ

       2.รู้ว่าวัตถุสิ้งของนั้นมีเจ้าของ

       3.มีจิตคิดจะลักพรัพย์

       4.การทำความเพียรเพื่อจะลักพรัพย์นั้น

       5.สิ่งของนั้นได้มาด้วยความเพียรครั้งนั้น

 

 

 

 

      ความเพียรพยายามในการลักพรัพย์มีอยู่ 6 ประการ คือ

       1.ลักทรัพย์ด้วยตนเอง

       2.ใช้ให้คนอื่นลักทรัพย์ด้วยวาจา หรือเขียนหนังสือ

       3.ทิ้งสิ่งของไว้หรือโยนให้คนอื่นพวกเดียวกัน หรือทิ้งของที่ต้องเสียภาษีออกไปให้พ้นเขต

       4.สั่งสมัครพรรคพวกไว้ ได้โอกาสให้พยายามลักทรัพย์นั้นมา

      5.ใช้เวทมนต์คาถาให้เจ้าทรัพย์หลงใหล หยิบยื่นทรัพย์นั้นให้ หรือใช้คาถาสะกดให้เจ้าทรัพย์หลับแล้วเข้าลักทรัพย์

       6.ใช้อิทธิฤทธิ์ต่างๆ

 

 

      3.  การผิดประเวณี คือ การประพฤติลามกในการเสพเมถุน

      การผิดประเวณีนี้ ย่อมสำเร็จได้ด้วยการกระทำด้วยกายฝ่ายเดียว มิใช่การกระทำด้วยวาจาหรือใจก็ได้

       การประพฤติผิดในกามนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ

       1.มีวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง

       2.มีจิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น

       3.มีความพยายามจะเสพเมถุน

       4.มีความพอใจในการประกอบมรรคซึ่งกันและกัน

      ส่วนความเพียรพยายามนั้น ได้แก่การกระทำด้วยตนเองอย่างเดียว

 

 

      4. การพูดปด คือ การพูดที่ไม่ตรงกับความจริง

       องค์ประกอบของการพูดปด มี 4 ประการ คือ

       1.สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่เป็นความจริง

       2.มีจิตคิดจะมุสา

       3.ทำความเพียรเพื่อจะมุสา

       4.ผู้อื่นเชื่อตามที่มุสานั้น

 

 

      ความเพียรพยายามที่ชื่อว่าพูดปดมี 4 ประการ คือ

       1.พยายามมุสาวาทด้วยตนเอง

       2.ใช้ให้ผู้อื่นมุสา

       3.เขียนเรื่องราวที่ไม่จริงส่งไปให้คนอื่น เช่นส่งจดหมาย บัตรสนเทห์ หรือประกาศทางวิทยุ

       4.เขียนเรื่องที่ไม่จริงประกาศไว้ พิมพ์เป็นหนังสือจารึกลงในแผ่นศิลา หรืออัดเสียงไว้เป็นต้น

 

   

 

 

 

 

 

      5. การพูดส่อเสียด คือ การพูดที่ทำให้เกิดแตกแยก

 

       องค์ประกอบของการพูดที่ทำให้เกิดการแตกแยก มี 4 ประการ คือ

       1.มีผู้ที่จะถูกทำให้แตกแยก

       2.มีเจตนามุ่งให้แตกแยกกัน

       3.ทำความเพียรให้แตกจากกัน

       4.ผู้ฟังรู้เนื้อความนั้น

      ความเพียรพยายามในการกระทำให้เกิดการแตกแยก มี 2 ประการ คือ

       1.การส่อเสียดโดยทางกาย มีการแสดงกิริยาท่าทางให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ความหมายของตน

       2.การส่อเสียดโดยทางวาจา คือ พูดยุแหย่ให้บุคคล 2 ฝ่ายแตกแยกกัน

 

 

 

      6. การพูดคำหยาบ คือ คำพูดที่หยาบ ได้แก่การด่าทอ บริภาษ หรือกล่าววาจาสาบแช่ง

วาจา ที่เป็นอย่างหยาบ ที่เรียกว่าผรุสวาจานี้ กล่าวโดยองค์ธรรมแล้ว ได้แก่เจตนาที่อยู่ในโทสมูลจิต ที่เป็นเหตุแห่งการด่า การแช่งต่าง ๆ

       องค์ประกอบของการพูดคำหยาบ มี 3 ประการคือ

       1.มีความโกรธ

       2.มีผู้ถูกด่า

       3.มีการกล่าววาจาด่าแช่ง

      ความพยายามในการแสดงคำหยาบ มี 2 ประการ คือ

       1.พยายามแสดงกิริยาหยาบคายต่าง ๆ ทางกาย ทำให้ผู้เห็นรู้สึกโกรธ อาย ไม่พอใจหรือเขียนหนังสือด่า เป็นต้น

       2.พยายามกล่าวคำหยาบทางวาจา ซึ่งเป็นผรุสวาจาคำหยาบโดยตรง

 

 

      7. การพูดเพ้อเจ้อ คือ การกล่าววาจาที่ทำลายประโยชน์และความสุข

       การ เล่าเรื่องภาพยนต์ โขน ละคร หรือพูดจาตลกคนอง ตลอดจนนักเขียนนวนิยาย จินตกวี เหล่านี้ จัดเป็นลักษณะเพ้อเจ้อทั้งสิ้น เพราะผู้ฟังก็ตาม ผู้อ่านก็ตาม มิได้รับประโยชน์ที่ก่อให้เกิดปัญญา และแก้ทุกข์ในชีวิตได้แต่อย่างใด เพียงแต่ให้จิตใจเพลินไปชั่วครั้งชั่วคราวที่ฟัง หรืออ่านอยู่เท่านั้น

       องค์ประกอบของการพูดเพ้อเจ้อ มี 2 ประการ คือ

       1.เจตนากล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์

       2.กล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์นั้น

      สฬายตนะสังยุตตพระบาลีว่า

       ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เมื่อได้มีการพบกันระหว่าง 2 องค์แล้ว การงานที่ควรประพฤตินั้นมี 2 ประการคือ กล่าวถ้อยคำที่เกี่ยวกับธรรมะ หรือมิฉะนั้นก็จงนิ่งเฉยเสีย

     

 

 

 

 8. ความเพ่งเล็งอยากได้ในทรัพย์สมบัติของผู้อื่น

 

       นิยาม : ธรรมชาติใด ย่อมคิดถึงทรัพย์สมบัติของผู้อื่นอยูเฉพาะหน้า ธรรมชาตินั้นชื่อว่า อภิชฒาความเพ่งเล็งอยากได้

 

องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ลัดษณะความโลภมี 2 อย่าง     

 

  1. ความอยากได้โดยชอบธรรม (สุจริต ซื้อ แลกเปลี่ยน ขอ)

 

  2. ความอยากได้โดยไม่ชอบธรรม (ทุจริต ขโมย ฉ้อโกง ปล้นจี้) นี้เป็นตัวอย่างของการเพ่งเล็งอยากได้

 

      องค์ประกอบของการเพ่งเล็งอยากได้ มี 2 ประการคือ

 

       1.ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น

 

       2.มีจิตคิดให้เป็นของตน

 

 

 

      9. พยาบาท คือ อาการที่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น

 

       นิยาม : ประโยชน์และความสุขอันใดย่อมเสียไปด้วยโทสะอันใด ฉะนั้นโทสะอันนั้นชื่อว่า พยาบาท

 

      พยาบาทที่เป็นมโนทุจริตนั้น ต้องเป็นโทสะชนิดหยาบมาก มีอาการมุ่งร้ายต่อผู้อื่น อันมีความปรารถนาที่จะทำลาย

 

      ประโยชน์ และความสุขของผู้อื่นให้เสียไป เช่นเมื่อโกรธแค้นผู้อื่น ก็อาฆาตคิดในใจ หาวิธีการทำให้ผู้นั้นพินาศฉิบหาย หรือนึกแช่งให้ผู้นั้ ได้รับอันตรายเสียหายต่างๆ โทสะชนิดหยาบนี้จึงจัดเป็นมโนทุจริต

 

      องค์ประกอบแห่งมโนทุจริต มี 2ประการคือ

 

       1. ผู้อื่น

 

       2. คิดให้ความเสียหายเกิดขึ้น 10. มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเป็นที่วิปริต หมายถึงความเห็นที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริง

 

       นิยาม : ธรรมชาติใด ย่อมมีความเป็นวิปริตไปจากความเป็นจริง ธรรมชาตินั้นชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ

 

      ทิฏฐิ คือ ความเป็นเป็นคตำกลางๆเพื่อประกอบกับคำอื่น เช่น

 

       1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาอันเป็นชอบหรือความเห็นถูก

 

       2. มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง

 

แยก ศัพท์ออกได้เป็น สอง ศัพท์ คือ มิจฉา แปลว่า วิปริต และทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น เมื่อรวมกันแล้วเป็นมิจฉาทิฏฐิ แปลว่าความเห็นที่วิปริต หมายถึง ความเห็นที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริงหรือ

 

       ธรรมชาติ ใดย่อมมีความเห็นที่วิปริตผิดไปจากความเป็นจริง ธรรมชาตินั้น ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐินี้พระพุทธองค์ได้แสดงไว้อย่างกว้างขวาง เช่น

 

      สัก กายทิฏฐิ ความเห็นผิดยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นเรา เป็นต้น มิจฉาทิฏฐิ 62 ประการแสดงไว้ใน พรหมชาลสูตร และ นิตยมิจฉาทิฏฐิ แสดงไว้ในสามัญผลสูตร

 

       สำ หรับมิจฉาทิฏฐิในที่นี้มุ่งหมายเอา นิตยมิจฉาทิฏฐิ 3 ประการ อันเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหยาบ ที่ให้สำเร็จเป็นอกุศลกรรมบถได้ ส่วนมิจฉาทิฏฐิอย่างอื่น เป็นเพียงทิฏฐิสามัญเท่านั้น

 

     

 

 

 

นิตยมิจฉาทิฏฐิ 3 ประการ คือ

 

      1. นัตถิกทิฏฐิ คือมีควาเห็นว่า ทำไรก็ตาม ผลที่พึงได้รับนั้นย่อมไม่มี ความเห็นผิดชนิดนี้ จัดเป็นอุจเฉททิฏฐิด้วย คือเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตายไปแล้วก็สูญไป ไม่มีการเกิดอีกในสามัญผลสูตร แสดงความเห็นผิดที่เป็นนัตถิกทิฏฐินี้ว่า ได้มาจากความเห็นผิด 10 อย่างคือ (พระพุทธองค์ตรัสดังนี้)

 

       ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย มีอยู่ สมณพราหมณ์ บางพวกมีวาทะอย่างนี้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

 

       1. การทำบุญไม่มีผล

 

       2. การบูชาต่างไม่มีผล

 

       3. การต้อนรับเชื้อเชิญ หรือการเคารพนับถือไม่มีผล

 

       4. ผลหรือวิบากของการทำดีทำชั่วไม่มีผล

 

       5. ชาตินี้ไม่มี

 

       6. ชาติหน้าไม่มี        7. บุญคุณของมารดาไม่มี่

 

       8. บุญคุณของบิดาไม่มี

 

       9. สัตว์ดลกที่ผุดเกิดและเติบโตทันที โดยไม่มีพ่อแม่ได้แก่สัตว์นรก, เปรต, เทวดา, พรหมนั้นไม่มี

 

       10. สมณพราหมณ์ที่รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง และสอนให้ผู้อื่นที่ถึงพร้อมด้วยสามัคคี ปฏิบัติตามโดยชอบไม่มี

 

      ดู ก่อนคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นอันหวังได้ว่า จะต้องเบื่อหน่ายในกุศลธรรมสาม คือ กายสุจริต วจีสุจริจ และมโนสุจริต และจะยึดถือปฏิบัติอยู่แต่ในอกุศลธรรมสาม คือ การทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุใด ก็เพราะสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นไม่เห็นโทษไม่เห็นความต่ำทราม ไม่เห็นความเศ่ร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เห็นอานิสงส์ในการออกจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เห็นคุณค่าแห่งความบริสุทธิ์ของกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ปรโลกมีอยู่แท้ๆเขากลับมีความเห็นว่า ปรโลกไม่มี ฉะนั้นความเห็นของเขา จึงจัดเป็นมิฉาทิฏฐิ ก็ปรโลกมีอยู่แท้ๆเขากลับคิดเห็นว่าปรโลกไม่มีฉะนั้นความคิดของเขาเป็นมิจฉา ทิฏฐิสังกัปปะ ก็ปรโลกมีอยู่แท้ๆเขากลับพูดว่าปรโลกไม่มี ฉะนั้คำพูดของเขาจึงจัดเป็นมิจฉาวาจา

 

       อนึ่ง พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมรู้ยู่แก่ใจว่า ปรโลกมีอยู่ ฉะนั้นผู้ที่ถือว่าปรโลกไม่มีจึงได้ชื่อว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอรหันต์ทั้งหลายอีกด้วย ในเมื่อตัวเองเชื่อถือเช่นนั้น และสอนให้คนอื่นเชื่อตาม ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ประกาศอสัทธรรม และด้วยอสัทธรรมที่ตัวเองประกาศออกไปเช่นนั้นย่อมจะเป็นเหตุให้ยกตนข่มคน อื่นอีกด้วย ย่อมละศีลได้ง่าย และประพฤติอยู่แต่ในทางทุศีล

 

       ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมก่อให้เกิดอกุศลธรรมไม่น้อยทีเดียว

 

       อนึ่ง ในเรื่องปรโลกนี้ ท่านคฤหบดีทั้งหลาย สำหรับคนที่ฉลาด เขาย่อมคิดอย่างนี้ว่าถ้าหากปรโลกไม่มีคนที่ทำบาปไว้ ก็นับว่าปลอดภัยไป แต่ถ้าหากปรโลกมีจริงคนที่ทำบาปตายไปแล้ว ก็จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือแม้จะไม่พูดถึงเรื่องปรโลก แต่คนที่มีความเห็นผิด และเป็นผู้เป็นผู้ทุศีลก็ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนในโลกนี้เอง เพราะฉะนั้น คนที่มีความเห็นผิดจึงต้องประสบผลร้ายถึง 2 ทางคือ ถูกติเตียนในโลกนี้ และเมื่อตายไปแล้วก็จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรกอีกด้วย

 

      2. อเหตุกทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ (จะชั่วดีมีสุข ทุกข์มีโชคอับโชค เกิดเพราะความบังเอิญ) หมายถึงความเห็นที่ว่าสัตว์ทั้หลาย ที่ได้รับความลำบาก หรือความสบายก็ตามไม่ได้อาศัยเหตุใดๆให้เกิดขึ้นเลย แต่เป็นไปเองทั้งนั้น ในสามัญผลสูตรแสดงไว้ดังนี้

 

       ดู ก่อนคฤหบดีทั้งหลาย มีอยู่ สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เหตุปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายไม่มี สัตว์ทั้งหลางไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ก็บริสุทธิ์ได้เอง กำลัง ความเพียร เรี่ยวแรง ความบากบั่น เพื่อความเศร้าหมอง หรือเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย่ เหล่านี้ไม่มีประโยชน์ เพราะสัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วก็ดีที่กำลังจะเกิดก็ดีสิ่งที่มีชีวิตทั้งปวง ก็ดี ทั้งหมดนี้ไม่มีอำนาจไม่มีกำลังไม่มีความเพียรในอันที่จะช่วยตัวเองให้เศร้า หมอง หรือบริสุทธิ์ แต่ทั้งหมดย่อมแปรเปลี่ยนไปตามโชคดีโชคร้าย และตามสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองไปเกิดอยู่ เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างไรในฐานะต่างๆก็เพราะโชคดี โชคร้าย และสภาพของสิ่งแวดล้อม

 

       ดู ก่อนคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังได้ว่า จะต้องเบื่อหน่ายในกุศลธรรมสามคือ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต และจะยึดถือปฏิบัติอยู่แต่ในอกุศลธรรมสาม เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมก่อให้เกิดอกุศลธรรมไม่น้อยทีเดียว ฯลฯ ในสามัญผลสูตรอรรถกถา แสดงไว้ว่า

 

      ผู้ที่เห็นว่า ความสุข-ความทุข์ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่เกี่ยวเนื่องมาจากเหตุก็เท่ากับว่าเป็นการปฏิเสธทั้งเหตุและผลพร้อมกันไปด้วย       3. อกิริยทิฏฐิ คือความเห็นว่า การกระทำไม่สำคัญ หมายถึงความเห็นที่ว่าการกระทำต่างๆของสัตว์ทั้งหลายนั้น ไม่เป็นบาป หรือเป็นบุญแต่ประการใด แสดงไว้ในสามัญผลสูตรดังนี้

 

       ดู ก่อนคฤหบดีทั้งหลาย มีอยู่สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่าทำเองก็ดีให้คนอื่นทำก็ดีตัดเองก็ให้คนอื่นตัดก็ดี เผาเองก็ดี ให้คนอื่นเผาก็ดี ทำให้เศร้าโศกเองก็ดี สั่งให้คนอื่นเศร้าโศกก็ดี ทำให้ลำบากเองก็ดี สั่งให้คนอื่นทำให้ลำบากก็ดีทำให้ดิ้นรนเองก็ดีสั่งให้คนอื่นทำให้ดิ้นรนก็ ดี ฆ่าสัตว์เองก็ดี สั่งให้คนอื่นฆ่าก็ดี ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ก็ดีตัดช่องย่องเบาก็ดี ขึ้นปล้นก็ดี แอบซุ่มอยู่ข้างทางก็ดี ประพฤติผิดในภรรยาคนอื่นก็ดีพูดเท็จก็ดี ผู้ที่กระทำดังกล่าวมานี้ ไม่เชื่อว่ากระทำบาป แม้หากว่าคนใดพึงฆ่าสัตว์ทั้งหลายบนพื้นปฐพีนี้ด้วยจักรอันคมกริบ จนกระทั่งทั่วแผ่นดินนี้เป็นสานแห่งเนื้อ บาปเพราะเหตุที่ฆ่าสัตว์ถึงปานนี้ไม่มี การมาของบาปไม่มี หรือแม้หากว่า จะพึงไปสู่ฝั่งทางทิศใต้ของแม่น้ำคงคา ฆ่าเองก็ดีหรือให้คนอื่ฆ่าก็ดี ตัดเองก็ดีให้คนอื่นตัดก็ดีเผาเองก็ดีให้คนอื่นเผาก็ดี บาปเพราะเหตุที่ทำเช่นนี้ไม่มีการมาของบาปไม่มีหรือแม้หากว่าจะพึงไปสู่ฝั่ง ทางทิศเหนือของแม่น้ำคงคา ให้ทางเองก็ดีสั่งให้คนอื่นทางก็ดี บูชาเองก็ดีสอนให้คนอื่นบูชาก็ดีบุญเพราะเหตุที่ทำเช่นนี้ไม่มี การมาของบุญย่อมไม่มีเพราะการให้ทานการข่มใจการสำรวมการพูดคำสัจ

 

      ดู ก่อนพฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะอย่างนี้มีความเห็นอย่างนี้สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นอันหวังได้ว่า จะต้องเบื่อหน่ายในกุศลธรรม ไม่นิยมยินดีในการที่จะทำให้ กาย วาจา ใจ อยู่ในความสุจริต จะยึดถือและปฏิบัติอยู่แต่ในทาง กาย ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุใดก็เพราะเขาไม่เห็นทาไม่เห็นความต่ำทรามไม่เห็นความเศร้า หมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เห็นอานิสงส์ในการออกจากอกุศลธรรม ไม่เห็นคุณค่าแห่งความบริสุทธิ์ ก็กรรมมีอยู่แท้ๆ เขากลับมีความเห็นว่ากรรมไม่มี ฉะนั้น ความเห็นของเขาจึงจตัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความคิดที่ว่ากรรมไม่มี จัดเป็นมิจฉาสังกัปปะ คำพูดที่ว่ากรรมไม่มี ก็จัดเป็นมิจฉาวาจา

 

       อนึ่ง! พระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่ากรรมมีอยู่ ผู้ที่กล่าวว่ากรรมไม่มี จึงได้ชื่อว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อพระอรหันต์ทั้งหลายไมเมื่อตัวเองเชื่อถือเช่น นั้นแล้วสอนให้คนอื่นเชื่อตาม ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ประกาศอสัทธรรมและด้วยอสัทธรรมที่ตัวเองประกาศออกไปเช่นนั้น ย่อมจะเป็นเหตุให้ยกตนข่มคนอื่นอีกด้วย ย่อมละศีลได้ง่ายและประพฤติอยู่แต่ในทางทุศีล

 

       ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมก่อให้เกิดอกุศลธรรมไม่น้อยทีเดียว

 

      ในสามัญผลสุตรอรรถกถาแสดงไว้ว่า เมื่อปฏิเสธการกระทำบาป-การกระทำบุญที่เป็นตัวเหตุแล้ว ก็เท่ากับปฏิเสธผลของการกระทำบาป-บุญนั้นด้วย

 

      ความ เห็นว่าเที่ยง คือ ความเห็นว่าอัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป เช่นเห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นที่ทรุดโทรมไปส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัส เป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำดนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่งตรงข้ามกับอุจเฉททิฏฐิ

 

อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นว่าขาดสูญ เช่นเห็นว่าคนและสัตว์ จุติจากอัตตภาพนี้แล้วขาดสูญ

 

      องค์ประกอบของมิจทิฏฐิ 2 ประการ

 

       1.เนื้อความที่ได้ยึดไว้นั้นผิดจากความเป็นจริง

 

       2.มีความเห็นว่าเป็นความจริง

 

      ความคิดที่เป็ฯเหตุให้เกิดทุจริตต่าง ๆ ได้แก่

 

      ความ เพ่งเล็ง ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการลักขโมย การทำผิดทางกาม การพูดปด การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ และความเห็นผิดจากความเป็นจริง (มิจฉาทิฏฐิ) พยาบาท ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการฆ่า การลักขโมย การพูดปด การพูดส่อเสียด พูดคำหยาบและพูดเพ้อเจ้อ

 

      มิจฉาทิฏฐิ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดทุจริตทั้ง 10 ประการ

 

      ผล ของอกุศลกรรมบถ 10 ประการข้างต้นนี้ ย่อมส่งผลให้ได้รับทั้งในปฏิสนธิกาล (คือ ในขณะไปเกิดในชาติใหม่) และปวัตติกาล (คือ ภายหลังการเกิดมาเป็นชีวิตใหม่แล้ว) การส่งผลในการไปเกิดในชาติใหม่ คือให้บังเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน ในนรกภูมิ เปรตภูมิ อสุรกายภูมิ และเดรัจฉานภูมิ ส่วนการส่งผลในภายหลังการเกิดมาแล้ว คือ ผลของการฆ่าผู้อื่นมี 9 ประการคือ

 

       1.ทุพพลภาพ

 

       2.รูปไม่งาม

 

       3.กำลังกายอ่อนแอ

 

       4.กำลังกายเฉื่อยชา กำลังปัญญาไม่ว่องไว

 

       5.เป็นคนขลาดหวาดกลัว

 

       6.ฆ่าตนเองหรือถูกฆ่า

 

       7.โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน

 

       8.ความพินาศของบริวาร

 

       9.อายุสั้น

 

 

 

  

 

   ผลของการลักทรัพย์ มี 6 ประการ คือ

 

       1.ด้อยทรัพย์

 

       2.ยากจน

 

      3.อดอยาก

 

       4.ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา

 

       5.พินาศในการค้า

 

       6.พินาศเพราะภัยพิบัติ มีอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัย เป็นต้น

 

      ผลของการประพฤติผิดประเวณี มี 11 ประการคือ

 

       1.มีผู้เกลียดชังมาก

 

       2.มีผู้ปองร้ายมาก

 

       3.ขัดสนทรัพย์

 

      4.อดอยาก ยากจน

 

       5.เกิดเป็นหญิง

 

       6.เป็นกะเทย

 

       7.เป็นขายในตระกูลต่ำ

 

       8.ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ

 

       9.ร่างกายไม่สมประกอบ

 

       10.มากด้วยความวิตกกังวล

 

       11.พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

 

      ผลของคำพูดที่ไม่ตรงกับความจริง มี 8 ประการคือ

 

       1.พูดไม่ชัด

 

       2.ฟันไม่เรียบ

 

       3.ปากมีกลิ่นเหม็นมาก

 

       4.ไอตัวร้อนจัด

 

       5.ตาไม่อยู่ในระดับปกติ

 

       6.กล่าววาจาด้วยปลายลิ้นและปลายปาก

 

       7.ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย

 

       8.จิตใจรวนเรคล้ายคนวิกลจริต

 

      ผลของคำพูดส่อเสียดมี 4 ประการ คือ

 

       1.ตำหนิตนเอง

 

       2.มักถูกล่าวหาโดยไม่เป็นจริง

 

       3.ถูกบัณฑิตติเตียนเสมอ

 

       4.แตกกับมิตรสหาย

 

      ผลของผุสวาจา (กล่าววาจาหยาบ)มี 4 ประการ คือ

 

      1.พินาศในทรัพย์

 

       2.ได้ยินเสียงก็เกิดไม่พอใจ

 

       3.มีกาย-วาจาหยาบ

 

       4.ตายด้วยอาการหลงใหล

 

      ผลของการพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไม่เป็นสาระ มี 4 ประการคือ

 

       1.เป็นบุคคลที่มีคำพูดไม่เที่ยงตรง

 

       2.ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูดของตน

 

       3.ไม่มีอำนาจ

 

       4.วิกลจริต

 

      ผลของความเพ่งเล็งอยากได้ในทรัพย์สินของผู้อื่น มี 4 ประการ คือ

 

       1.เสื่อมในทรัพย์และคุณความดี

 

       2.ไปเกิดในตระกูลต่ำ

 

       3.มักได้รับคำติเตียน

 

       4.ขัดสนในลาภสักการะ

 

      ผลของการที่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น มี 4 ประการ คือ

 

       1.มีรูปกายทราม

 

       2.มีโรคภัยเบียดเบียน

 

       3.อายุสั้น

 

       4.ตายด้วยถูกประหาร

 

      ผลของมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง) มี 4 ประการคือ

 

       1.ห่างไกลต่อรัศมีพระธรรม

 

       2.มีปัญญาทราม

 

       3.ไปเกิดในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร

 

       4.เป็นผู้มีฐานะต่ำไม่ทัดเทียมผู้อื่น

 

      อนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายของอาราณืที่ไม่น่าปรารถนา ในหมวดโลกธรรม 8

 

      โลกธรรม 8 คือธรรมอันเป็นธรรมดาของโลก มีประจำโลก แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่

 

      1.อิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ส่วนที่น่าปรารถนา 4 ประการ คือ 1.ได้ลาภ 2.ได้ยศ 3.ได้รับคำสรรเสริญ 4.ได้ความสุข

 

      2.อนิฏฐารมณ์ คืออารมณืส่วนที่ไม่น่าปรารถนา 4 ประการ คือ 1.เสื่อมลาภ 2.เสื่อมยศ 3.ถูกนินทา 4.มีความทุกข์

 

      นิวรณ์ คือ ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี หรือ อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมอง และทำปัญญาให้อ่อนกำลังลง มี 5 ประการคือ

 

      1.กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม หรือความต้องการกามคุณ

 

      2.พยาบาท คือ ความคิดปองร้าย และขัดเคืองแค้นใจ      

 

      3.ถีนทิทธะ คือความหดหู่และเซื่องซึม

 

      4.อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล

 

      5.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย

 

      อัตตา คือตัวตน ปุถุชน (คนมีกิเลส) ย่อมยึดมั้นมองเห็นขันธ์ 5 อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ 5 โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง

 

      การ เวียนว่ายในภูมิวิถีหก คือการที่จิตญาณที่มาจากแดนนิพพานต้องเวียนเกิดเวียนตาย เข้าร่างโน้น ออกจากร่างนี้เวียนไปเวียนมาเกิด ๆ ตาย ๆไปในภพภูมิต่างๆ ไม่สิ้นสุด การที่ดวงญาณต้องไปอุบัติในภพภูมิต่าง ๆ ก็ด้วยเหตุแห่งกรรมที่ตนได้ก่อไว้ในขณะที่เกิดมาเป็นคนในโลกกายเนื้อนี้ ตราบใดที่ยังไม่สามารถกลับสู่แดนนิพพานได้ก็ต้องเวียนอยู่ในภูมิวิถีต่างๆ ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งภพภูมิที่สัตว์โลกต้องไปเกิดไว้ทั้งหมด 31 ภูมิ คือ มนุษย์ 1ภูมิ อบายภูมิ 4 คือ นรก เปรต อสุรกายและเดรัจฉาน สุคติภูมิ คือสวรรค์มี 26 (ถ้ารวมนิพพานด้วยจะเป็น 28 ภูมิ) คือ เทวดา 6 ชั้นภูมิ พรหมที่มีรูป 16 ชั้นภูมิ และพรหมที่มีมีรูปอีก 4 ชั้นภูมิ (ศาสนาเต๋าแบ่งสวรรค์ออกเป็น 36 ภูมิ) พระอริยเจ้าเคยตรัสไว้ว่า

 

      การ บำเพ็ญธรรม อย่าถือตัวเลขมากน้อยเป็นเกณฑ์ เพราะว่าตัวเลขก็มาจาก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 จึงไม่พ้นจากเหตุผลของมหาสัทธรรม ดังนั้นจึงใช้สิบสองชั้นฟ้ามาอธิบายพอสังเขป เมื่อคูณด้วยสามก็จะเป็นสวรรค์ 36 ภูมิ ด้วยเหตุนี้ จำนวนตัวเลขในแดนสวรรค์จึงมีไม่สินสุด ถ้าหากนำมาบวกลบคูณหารด้วยแล้วก็จะแปรเปลี่ยนไม่รู้จบสิ้น ผู้ปฏิบัติธรรมควรเข้าใจให้ถ่องแท้เป็นใช้ได้

 

      ใน อนุตตรธรรม แบ่งภูมิวิถีการเวียนว่ายออกเป็น 6 ภูมิ คือ 1. นรก 2. เปรต 3. อสุรกาย 4. เดรัจฉาน 5. มนุษย์ 6.สวรรค์ (รวมเทวดา 6 ชั้น กับพรหม 20 ชั้นเรียกรวมกันว่า สวรรค์) พระพุทธองค์ตรัวเกี่ยวกับการเวียนว่ายในภูมิวิถีหก ดังนี้

 

      ดู ก่อนสุทัตตะ! สังสารวัฏนี้ หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อยๆ และการเกิดบ่อยๆ นั้น คถาครกล่าวว่าเป็นความทุกข์เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาก็คือ ความแก่ชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็ฯที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ อุปมาเปมือนเห็ดซึ่งโผล่ขึ้นมาจากดิน และนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเปมือนโค ซึ่งเทียมเกวียนแล้ว จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมา ก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบอยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว

 

      ดู ก่อนสุทัตตะ! เมื่อรากยังมั่นคง ต้นไม้แม้จะถูกตัดแล้วมันก็สามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกันเมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหาสุสัยขึ้นเสียจากดวงจิต ความทุกข์ก็เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ

 

      สะ ทัตตะเอย! น้ำตาของสัตว์ผู้ต้องร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ทองเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้ มีจำนวนมากเหลือคณา สุดที่จะกล่าวได้ว่า มีประมาณเท่านั้นเท่านี้ กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลนั้นเล่า หากนำมากองรวมๆ กันมิให้กระจักกระจาย คงสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ ไม่มีชองว่างเลยแม้แต่สักนิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกองกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็ฯที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์ เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น

 

      ดู ก่อนสุทัตตะ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งสิ้น สัตว์ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในกองเพลิง คือทุกข์ เหมือนเต่าอันเขาโยนลงไปแล้วในอกงไฟใหญ่ฉะนั้น

 

      เพราะ ฉะนั้นการเวียนว่ายในภูมิวิถีทั้งหลายจึงเป็นความทุกข์ การจะพ้นจากการเวียนว่าตายเกิดในโลกีย์ภูมิได้ก็ต่อเมื่อได้เข้าสู่แดน นิพพานอันเป๊นสันติสุขที่แท้จริงเท่านั้น

 

พระสูตรแห่งนิพพานความมหัศจรรย์ของการรู้แจ้ง : มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (ฟังเพลง)

 

กรรมชั่วที่เราทำ สามารถแก้ได้จริงไหม?


กรรม ชั่วที่ตัวเราก่อเอาไว้ ไม่ว่าจะกระทำกันมากี่ภพกี่ชาติ ก็ต้องมาชดใช้กันอยู่ดี ไม่สามารถจะหนีกรรมที่ตัวเองก่อเอาไว้ได้ เมื่อเราไปกระทำกรรมชั่วกับใครเอาไว้ ไม่ว่าจะคนหรือสัตว์ ทางกายก็ดี ทางใจก็ดี ทางวาจาก็ดี ล้วนเป็นกรรมชั่วที่จะติดตามผู้นั้นไป ทุกภพทุกชาติ จนกว่าผู้นั้นจะได้รับผลตอบแทนกรรมชั่วที่ตัวเองได้ก่อเอาไว้

ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เรื่องก่อกรรมชั่วที่ก่อให้เกิดเจ้ากรรมนายเวร คำว่า เจ้ากรรม นายเวร แปลความหมายได้ดังนี้

เจ้ากรรม หมายถึง ผู้ที่เคยไปกระทำกรรมชั่วอะไรกับใครเอาไว้ ให้เขาผูกเจ็บ พญาบาท อาฆาต จองล้าง เป็นต้น

นายเวร หมายถึง ผู้ที่ถูกกระทำ และมีความฝังใจแค้นที่ไม่ยอมให้อภัย และจะจองล้างตามไปทุกภพทุกชาติ เป็นต้น

เมื่อ "เจ้ากรรม" ไปกระทำกรรมชั่วกับ "นายเวร" ทำให้ "นายเวร" อาฆาตและจองล้าง "เจ้ากรรม" ว่า จะกระทำทุกอย่างเหมือนกับที่ "เจ้ากรรม" ได้เคยกระทำ กับ "นายเวร" เอาไว้ เช่น มีนักรบ A คนหนึ่ง ไปออกรบ และเห็นข้าศึกคนหนึ่งคือ นักรบ B หมดหนทางสู้ และได้ขอชีวิตต่อ นักรบ A แต่นักรบ A ไม่ฟังคำขอชีวิต จึงใช้ดาบยาว ฟันไปที่ศรีษะ ของนักรบ B ขาดออกจากตัว เมื่อวิญญานนักรบ B ออกจากร่าง ทำให้เกิดความเจ็บแค้น พญาบาท อาฆาต ต่อนักรบ A

ตอน นี้นักรบ A กลายเป็น "เจ้ากรรม" ไปแล้ว ส่วนนักรบ B กลายเป็น "นายเวร" เมื่อนักรบ A ยังมีชีวิตอยู่ ดวงวิญญาน นักรบ B ก็ติดตามนักรบ A ไปทุกที่ เพื่อรอจังหวะเวลาที่ นักรบ A ดวงตก กรรมชั่วส่งผล ก็จะเล่นงานทันที ถ้าเจอ "นายเวร" ที่ต้องการจะให้ตายทันที เขาก็จะกระทำในรูปแบบต่างๆ ให้เหมือนกับที่เขาโดนตัดศรีษะ แต่สมมติว่า ถ้าตอนที่นักรบ B มีชีวิตอยู่ เขามีลูกเมียต้องเลี้ยง แต่พอตาย ทำให้ลูกเมียเขาลำบาก วิญญาน ของนักรบ B เขาก็ไม่ยอมให้ นักรบ A ตายง่ายๆหรอก เขาก็จะพยายามไปกระทำ ต่อครอบครัว ของ นักรบ A ให้ลำบาก เหมือนกับที่ครอบครัวนักรบ B เป็นอยู่ และจะกระทำให้นักรบ A ปวดหัวปวดคอมากแบบหาสาเหตุไม่เจอ ดวงวิญญานของนักรบ B จะกระทำจองเวร กระทำไปเรื่อยๆ จนกว่านักรบ A จะตาย และเมื่อใดที่นักรบ A ตาย ก็ถือเป็นการชดใช้กัน แต่

ตรงนี้เรามาดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อ นักรบ A ตาย และออกจากร่างมาเจอนักรบ B

เมื่อ นักรบ A ตายจากความเป็นคน วิญญานก็ออกจากร่างไปเจอวิญญานนักรบ B เรื่องราวทั้งหมดที่ผ่านมานักรบ A ทราบด้วยจิตว่า หลังจากที่ตัดศรีษะนักรบ B ก็ถูกวิญญานนักรบ B จองเวร กลั่นแกล้งมาตลอดจนตาย ทำให้นักรบ A เกิดความอาฆาตแค้นและขอจองเวร ต่อนักรบ B กลับ ทำให้นักรบ A กลายเป็น "นายเวร" ไปซะแล้ว ส่วนนักรบ B กลายเป็น "เจ้ากรรม" ไปโดยปริยาย ทั้งๆที่ในความเป็นจริง ทั้งคู่ ใช้กรรมซึ่งกันและกันไปแล้ว ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายจองเวรกันต่ออีก

ถ้า อยู่ในโลกวิญญาน คงจะฆ่ากันไม่ได้ เพราะต้องแยกกันไปใช้กรรมดี กรรมชั่ว ตามมีตามเกิด ถ้าทำเพื่อปกป้องชาติ ก็ไปเสวยสุขที่สวรรค์ก่อน แต่อย่างไรการฆ่าคนก็บาป เมื่อหมดบุญก็ตกสวรรค์เพื่อไปใช้กรรมที่ฆ่าคนในนรกต่อ แล้วจึงค่อยไปเกิดตามแรงบุญ แรงกรรม

แต่ เมื่อใดที่มาเกิดเป็นคนหรือสัตว์ ทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่อโหสิกรรมให้กันและกัน มันก็จะจองล้างกันไปไม่หยุด ทำลายกันไปกันมาไม่มีหยุดหย่อน บางทีจองล้างกันแบบนี้หลายล้านชาติก็ไม่จบ บ้างก็มาเกิดเป็นพี่น้องกันเพื่อมาทำลายกัน บ้างก็เป็นเพื่อนกัน เป็นแฟนกัน มาอยู่ใกล้ๆกัน เพื่อจะได้กระทำกัน บ้างก็อยู่กันไกลคนละซีกโลก แต่สุดท้าย แรงกรรม ก็ต้องส่งให้มาเจอกันอยู่ดี

เพราะ ดวงตายังไม่เห็นธรรม แต่เมื่อใดที่ดวงตา เห็นธรรม ทั้งคู่ต่างอโหสิกรรมให้กันและกัน คำว่า เจ้ากรรม นายเวร คู่นี้ก็สิ้นสุดลง ต่างคนต่างไปตามมีตามเกิด

แต่ ในบางกรณีที่ฝ่ายหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นวิญญานนายเวร ถ้าโดนวิญญานนายเวรกระทำมาตลอด ให้ทุกข์อยู่ตลอดเวลา บางทีเราก็จำเป็นต้องหาผู้ที่สามารถสื่อจิต มาสอบถามให้แน่ชัดว่า วิญญานต้องการอะไร ต้องทำอย่างไรถึงจะอโหสิกรรมให้ เรื่องนี้ก็จำเป็นเหมือนกัน ไม่เช่นนั้นก็จะจองล้างแบบนี้ไปจนหมดกรรม บางทีผู้ที่สื่อจิต ก็สามารถช่วยแก้ปัญหาทั้งสองฝ่ายให้เป็นไปได้ด้วยดีก็มีมาก ส่วนตัวผมเคยเจอเยอะ เวลาผมไปสื่อจิตกับเจ้ากรรมนายเวร บางทีเขาก็ยอมอโหสิกรรมให้ บางทีก็เป็นวิญญานที่อาฆาตแรง ก็ต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไป

ถ้าถามว่าแก้กรรมได้ไหม?

ถ้า ทั้งสองฝ่ายอโหสิกรรมให้กันและกัน กรรมที่อาฆาต พยาบาท จองเวร ของทั้งสองฝ่ายก็จบกันในปัจจุบัน แต่กรรมชั่วที่ทำเอาไว้มันไม่จบ มันคงยังดำเนินต่อไป เพียงแต่แค่หนักอาจจะเป็นเบา แต่อย่างไรก็ต้องโดนอยู่ดี หนีไม่พ้น วิธีแก้ให้หนักเป็นเบาก็ง่ายๆ เจริญสมาธิวิปัสนา สามารถช่วยเรื่องการแก้กรรม ให้หนักเป็นเบา เบาเป็นพักได้เป็นอย่างดี  ดังนั้นเรื่องการแก้กรรม มีจริงไหม ก็ขอตอบว่ามีจริง แต่เป็นการแก้ให้หนักกลับกลายมาเป็นเบา เบามาเป็นพัก

(ที่ พัก เพราะผลบุญมาช่วยให้ พัก ไว้ก่อนนะ แต่อย่างไรก็ยังต้องรับผลของกรรมอยู่ดี แต่จะเป็นเมื่อไร ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้นั้นเอง ถ้าปฎิบัติธรรม ความดี มาตลอด ก็อาจจะยังไม่ส่งผล แต่ถ้าวันใดทำไม่ดี กรรมชั่วตามทัน ก็ต้องรับผลของกรรมนั้นทันที)

ปัจจุบัน ก็เห็นมีผู้ทรงศีลหลายท่านที่แก้กรรมให้ผู้ทุกข์ แต่มีบางท่านไม่เข้าใจ บอกว่าการแก้กรรมไม่มีจริง คุณอาจจะยังไม่เข้าใจ คำว่า "แก้กรรม" อย่างแท้จริง การที่ผู้ทรงศีลแก้กรรม ให้ หมายถึง ท่านช่วยเจรจา แผ่เมตตา ให้เจ้ากรรมนายเวรคุณ วิญญานคู่กรณีคุณ และชี้แนะให้คุณสร้างกุศลผลบุญ สร้างบุญ เจริญวิปัสนา กรรมฐาน เพื่อให้ กรรมจากหนักเป็นเบา หรือ อุทิศไปให้เจ้ากรรมนายเวร เพื่อให้เขาให้อภัยและอโหสิกรรมให้ แต่ท่านไม่ได้หมายถึง แก้กรรม ปุ๊บ กรรมหายปั๊บ อยากจะให้เข้าใจความหมายด้วยครับ ไม่เช่นนั้น เกิดไม่รู้จริง ไปนินทาผู้ทรงศีล ยิ่งจะทำให้คุณไม่ดีไปกันใหญ่

ส่วนท่านอื่น ที่บอกแก้กรรม ได้ปุ๊บ กรรมหายปั๊บ ผมก็คิดว่า ดวงจิตเขาคงยังไม่ไปถึงไหนหรอกครับ คงยังวนเวียนอยู่ในนรกอยู่

สุด ท้ายนี้ผมอยากจะฝากบอกว่า ถ้าชาตินี้คุณไปก่อกรรมอะไรใครเอาไว้ ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ก็ควรจะไปขอให้เขา อโหสิกรรมให้ จะดีกว่า เพราะคนเราไม่อาจจะรู้ได้เลยว่า ชาติหน้าจะได้ไปเกิดเป็นคนอีกหรือเปล่า ถ้าเกิดเป็นสัตว์  สัตว์เดรัจฉาน เขาอโหสิกรรมไม่เป็นนะบอกก่อน เพราะสัตว์ไม่รู้จักพระพุทธศาสนา ไม่รู้จักคำสอน เรื่องการอโหสิกรรมนะ เมื่อไม่รู้จักคำว่า อโหสิกรรม มันก็จะต้องจองล้างกันไปไม่มีหยุดไม่มีหย่อน เกิดๆตายๆ ตายๆเกิดๆ กี่ทีก็ไปจองล้างกัน

(เรื่อง ที่ผมกล่าวมาจริงๆมีมากกว่านี้ และละเอียดมากกว่านี้ แต่ขอย่อใจความสั้นๆมา บางข้อมูลอาจตกหล่นไป ก็สามารถเมลล์มาถามได้นะครับ เพราะบางประโยคผมอยากจะอธิบายมากกว่านี้)



ทำบุญกับใคร ได้ผลบุญดีที่สุด?

คำ ถามนี้เป็นคำถามที่ผมเจอมากที่สุด ทำบุญอะไรให้การงานดี ทำบุญอะไรให้รวย ทำบุญอะไรให้ประสบความสำเร็จ ควรจะตักบาตรดีไหม บริจาคเงินการกุศลดีไหม สร้างอุโบสถดีไหม ทำบุญกับพระอรหันต์ดีไหม และอื่นๆอีกมากมาย

ผม ขอตอบสั้นๆว่า ก่อนที่คุณจะไปทำบุญเสริมบารมีตัวเองกับผู้อื่น คุณเคยทำบุญกับพ่อแม่ถึงที่ สุดแล้วหรือยัง? ถ้ายัง ก็ควรเปลี่ยนวิธีในการทำบุญใหม่หมดได้แล้ว เพราะการทำบุญกับพ่อแม่ มีผลอานิสงค์มากมายมหาศาลที่สุด ที่ครอบคลุมทุกอย่างหมด ไม่ว่าจะ ชีวิตดี การงานดี ร่ำรวย ประสบความสำเร็จ ทุกอย่างล้วนอยู่ที่การทำบุญกับ พ่อแม่ ของคุณนั่นเอง ไม่ต้องมองหาที่อื่นไกลเลย

เวลา คุณมีเงินหรือเงินเดือนคุณออก คุณเคยคิดจะให้เงินพ่อแม่บ้างไหม การให้ ต้องให้ด้วยใจนะ ไม่ใช้สักแต่ให้แล้วก็จบ คุณเคยพาพ่อแม่ไปทานข้าวบ่อยๆไหม คุณเคยดูแลเอาใจใส่บ้างไหม เคยซื้อของให้พ่อแม่บ้างไหม คุณเลี้ยงดูพ่อแม่ให้สุขสบายตามฐานะของตนบ้างไหม

สิ่ง ที่ทำให้คุณ ประสบความสำเร็จในชีวิต กิจการดี การงานดี ร่ำรวย มั่นคง ลูกหลานดี สิ่งเหล่านี้จะเกิดกับคุณได้ ถ้าคุณทำบุญกับพ่อแม่ ในสิ่งที่ผมแนะนำไป ถ้าจะมีใครก็ตาม บอกให้คุณไป สะเดาะเคราะห์ เสียเงินไปเป็นหมื่นเป็นแสน คุณเปลี่ยนเอาเงินนั้น ไปทำบุญกับพ่อแม่ของคุณดีกว่า ผลานิสงค์ ของความกตัญญู จะส่งผลให้อะไรค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ

ผม เคยเจอมาเยอะลูกที่เอาแต่ไปทำบุญกับคนภายนอก ช่วยคนอื่นมากมาย ทอดผ้าป่า สร้างวัด ช่วยคนจน และอื่นๆ  แต่พ่อแม่ตัวเองในบ้านแท้ๆ ยังไม่เคยสนใจ ปล่อยให้เขาเศร้าใจอยู่แต่ในบ้าน แบบนี้ ชีวิตคุณหาดีไม่ได้หรอกครับ กรรม จะส่งผลให้การงาน การเงิน ชีวิต และอีกมากมายคุณมีแต่อุปสรรค แบบนี้ไม่ดีแน่นอน

บาง คนเป็นคนมีเงิน แต่ งก กับพ่อแม่ แต่ให้เงินพ่อแม่  เพราะความจำเป็นที่ต้องให้ตามหน้าที่ลูก ให้แบบไม่เต็มใจ  ถ้าเป็นแบบนี้ คุณก็จงรู้ไว้เลยว่า ถ้าคุณซื้อใจพ่อแม่ ของคุณให้มีความสุขจริงๆไม่ได้ บุญมันไม่เกิดหรอกครับ

ดัง นั้นถ้าอยากจะมี ชีวิตที่ดี การงานดี การเงินดี อื่นๆ ก็จงทำบุญกับพ่อแม่ของคุณด้วยความเต็มใจเถอะครับ แล้วอะไรจะส่งผลดีๆแก่ชีวิตคุณ ถ้าเป็นผม ระหว่างทำบุญกับพ่อแม่ หรือ พระอรหันต์ ถ้าให้เลือกได้อย่างเดียว ผมคงจะทำบุญกับพ่อแม่ ตนเองแน่นอนแบบไม่คิดเลย

แต่ ถ้าท่านไหน ทำบุญด้วยใจกับพ่อแม่อย่างดีที่สุดแล้ว และอยากจะทำบุญกับผู้อื่น แบบนี้ก็จะยิ่งดีมากๆเลยครับ จะยิ่งส่งผลให้ชีวิตคุณดียิ่งๆขึ้นไปอีก การทำบุญช่วยคน ถ้าเรารู้ว่าใครลำบากจริง เราอย่ารอให้เขาเอ่ยปาก แต่เราต้องเป็นคนเอ่ยปากที่จะช่วยเขาเอง ผลบุญไม่ไปไหนหรอกครับ ผลบุญก็เกิดกับคุณไปทุกภพทุกชาติ ไปที่ไหนๆก็จะมีแต่คนให้ความช่วยเหลือตลอด อานิสงค์การช่วยคน นั้นมีมากมายที่สุด เหมือนกับมหาเศรษฐีของไทยหลายคน ผมนั่งดูอดีตชาติก่อนของพวกเขา พวกเขาส่วนมาก ล้วนแต่ทำบุญช่วยคน สงเคราะห์คนทั้งนั้น ไม่ใช่สงเคราะห์แค่คนเดียวสองคนนะ แต่สงเคราะห์ทีนับร้อย นับพัน นับหมื่น นับแสน เป็นต้น มาชาติใหม่ ผลบุญที่ได้ทำจึงส่งผลแต่ความสุขสบาย เรื่องเงินเรื่องทองมีมากมายมหาศาล แต่การช่วยคน สงเคราะห์คน ก็ต้องเดินสายกลาง ไม่ตึงไป หย่อนไป พอดีกับตัวเองดีที่สุด และไม่ทำให้ใครเดือดร้อน

 

 
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden