|
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - 76.1 สังโยชน์ ๑๐
|
|
|
รวมความว่าสังโยชน์ ๑๐ ประการก็คือ
๑. สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี่มันจะไม่ตาย
ร่างกายสะอาด ร่างกายเป็นเราเป็นของเรา
เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา
๒. วิจิกิจฉา มีความสงสัยในพระพุทธเจ้า
ในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สงสัยในความดีของพระอริยสงฆ์
ไม่ตกลงว่าจะยอมรับนับถือหรือไม่
๓.สีลัพพตปรามาส ไม่ตั้งใจรักษาศีลอย่างจริงจัง
รักษาศีลประเภทศีลหัวเฒ่าคือผลุบเข้าผลุบออก
ประเดี๋ยวก็ทรงตัวบ้าง ประเดี๋ยวก็ไม่ทรงตัวบ้าง
สังโยชน์ข้อที่ ๔ กามฉันทะ
มีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม
รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ
นี่เรียกว่าติดหลงใหลใฝ่ฝันอยู่ในกามารมณ์
สังโยชน์ข้อที่ ๕ ปฏิฆะ มีอารมณ์ข้องใจไม่พอใจ
คือ มีความโกรธ มีความไม่พอใจอยู่เป็นปกติยังเหลืออยู่
สังโยชน์ข้อที่ ๖ รูปราคะ มีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปที่เป็นวัตถุ หรือรูปฌาน
สังโยชน์ข้อที่ ๗ สงสัยใฝ่ฝันในอรูป หรือสิ่งที่ไม่มีรูป
หรือ อรูปฌาน ว่าดีเลิศประเสริฐแล้ว
สังโยชน์ข้อที่ ๘ มานะ ยังมีการถือตัวถือตน ว่าเราดีกว่าเขา
เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา
สังโยชน์ข้อที่ ๙ อุทธัจจะ ยังมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
ไม่มั่นใจในตัวเองว่าเราจะไปนิพพานดีหรือไม่ไปนิพพานดี
ไปได้แน่หรือไปไม่ได้แน่ เอาแน่นอนไม่ได้
คือ จิตใจขาดความเข้มแข็ง
สังโยชน์ข้อที่ ๑๐ อวิชชา อวิชชานี้ยังมีความหลงใหลใฝ่ฝัน
ในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก
ยังเห็นว่ามนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกเป็นของดี
ต้องการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ
รวมความว่าสังโยชน์ ๑๐ ประการนี้
เป็นเครื่องดึงเราให้เวียนว่ายตายเกิด
ตายแล้วเกิดใหม่ เกิดแล้วตาย
ไม่ใช่เกิดจากมนุษย์ตายเป็นมนุษย์
ตายจากมนุษย์เกิดเป็นมนุษย์ไม่ใช่อย่างนั้น
ตายจากมนุษย์ แล้วอาจจะเป็นสัตว์นรกก็ได้
เปรตก็ได้ อสุรกายก็ได้ สัตว์เดรัจฉานก็ได้
เป็นเทวดาหรือพรหมก็ได้ เป็นอะไรก็ได้
สุดแล้วแต่ความดีหรือความชั่ว
ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัท หรือบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร
สามารถตัดสังโยชน์ได้ถึง ๑๐ ประการ
พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า "พระอรหันต์" เป็นผู้ตัดกิเลส
เป็น "สมุจเฉทปหาน"
ก็รวมความว่า เราจะไม่พบกับคำว่า การเกิดเป็นสัตว์นรก
เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน
การเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา หรือพรหมไม่มีอีกแล้ว
ไปอยู่นิพพานแห่งเดียวมีแต่ความสุขสำราญ
ไม่มีความทุกข์เป็นที่ไป
|
|
|
|
|