yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - koon1
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง

 




โรงเรียนวัดหนองแวงวิทยา
ยินดีต้อนรับ

  


 
พระมหาธาตุแก่นนคร ที่วัดหนองแวง



พระมหาธาตุแก่นนคร อีกภาพ



ถ่ายผ่านบึงแก่นนครทางทิศ ตะวันออก

ประวัติเมืองขอนแก่นและท้าวเพียเมืองแพน
ในปี พ.ศ. 2332 ท้าวเพียเมืองแพน ได้พาบุตรพร้อมด้วยผู้คนประมาณ 330 ครอบครัว อพยพจากบ้านชีหล่น
แขวงเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด)
มาตั้งอยู่ที่บ้านบึงบอน (บ้านเมืองเก่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น ปัจจุบันนี้)
เดิมขึ้นอยู่กับพระยานครราชสีมา ต่อมามีใบบอกลงมายังกรุงเทพฯและพระบาทสมเด็จพระพุทธย อดฟ้าจุฬาโลก
มีพระบรมราชโองการยกฐานะบ้านบึงบอนขึ้นเป็น "เมืองขอนแก่น" เมื่อ พ.ศ. 2340 ตั้งให้
"ท้าวศักดิ์" ซึ่งเป็น "ท้าวเพียเมืองแพน" เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น มีนามว่า
"พระนครศรีบริรักษ์บรมราชภักดี" หรือผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่นคนแรก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
การตั้งชื่อเมืองขอนแก่นแต่เดิมท้องถิ่น บ้านขาม ( ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ในปัจจุบัน) มีเนินดินอยู่ตรงกลางทุ่ง
มีน้ำลอมรอบในหน้าน้ำและมีต้นมะขามต้นหนึ่งตายไปนานแ ล้วเหลือแต่ตอที่เป็นแก่น
เมื่อมีการสร้างพระธาตุพนม
พระยาหลังเขียวและพระอรหันต์ทั้ง 9
พร้อมด้วยข้าราชบริพารจะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าไป บรรจุที่พระธาตุพนม
แต่การเดินทางมาค่ำมืดที่ตรงดอนที่มีน้ำล้อมรอบ จึงหยุดและวางสัมภาระตลอดจนพระอังคารไว้บนตอมะขาม
ขณะพักผ่อนหลับนอน พอรุ่งขึ้นจึงเดินทางต่อไป
เมื่อไปถึงพระธาตุพนมปรากฏว่าได้สร้างเสร็จแล้ว
จะเอาอะไรเข้าบรรจุอีกไม่ได้จึงพากันนมัสการพระธาตุพ นมแล้วเดินทางกลับมาตามทางเดิม
เมื่อมาถึงเนินดินที่เคยพักผ่อน
ต้นมะขามที่ตายไปเหลือแต่แก่นกลับผลิใบเขียวชอุ่มเป็ นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก
พระอรหันต์ทั้ง 9 พร้อมด้วยพระยาหลังเขียวจึงตกลงสร้างเจดีย์คร่อมต้นม ะขามไว้
แล้วบรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าลงไว้ ชาวบ้านเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า "พระธาตุขามแก่น"
เมื่อท้าวเพียเมืองแพนอพยพมาจากบ้านชีหล่น มาตั้งอยู่ที่บ้านบึงบอน จึงได้ถือเอาปูชนียสถานแห่งนี้
เป็นชื่อเมืองขอนแก่น เพราะท่อนไม้แห้ง ๆ เหลือแต่แก่นนั้น ชาวพื้นเมืองจะเรียกว่า "ขอน"
ท้าวเพียเมืองแพน ผู้เป็นปฐมเจ้าเมืองจึงได้ตั้งชื่อเมืองว่า "ขอนแก่น"
เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว ท้าวเพียเมืองแพน ได้สร้างวัดขึ้น 3 วัด คือ วัดใต้ (ปัจจุบันคือ
วัดธาตุพระอารามหลวง) วัดกลาง (ปัจจุบันคือ วัดกลางเมืองเก่า) และวัดเหนือ (ปัจจุบันคือ
วัดหนองแวงพระอารามหลวง) เมืองขอนแก่น ตั้งอยู่บ้านดอนพันชาดเป็นเวลา 27
ปีและได้มีการย้ายที่ตั้งหลายครั้ง ที่นานที่สุดคือตั้งที่ตำบลพระลับ 55 ปี
จากนั้นจึงย้ายมาที่ศูนย์ราชการปัจจุบัน มีตำแหน่งที่เรียกว่าพระนครศรีบริรักษ์ 7 คน ที่สำคัญ คือ
ท้าวอิน ท้าวมุ่ง นางน้อย พระนครศรีบริรักษ์ (ท้าวจาม)
จังหวัดขอนแก่น ได้สร้างอนุสาวรีย์ท้าวเพียเมืองแพน บริเวณสนาม เจ ซี (เดิม)
ริมบึงแก่นนครข้างที่ตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ขอนแก่นเดิม เมื่อปี 2545
ได้มีการปรับปรุงบูรณะอนุสาวรีย์และบริเวณโดยรอบจนสว ยงาม
และมีการทำพิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์ท้าวเพียเมืองแพน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี และเมื่อปี 2547
ได้มีพิธีบวงสรวงในช่วงการจัดงานเทศกาลไหมฯ ด้วยเนื่องจากเริ่มมีการแสดง แสง-เสียง
เล่าตำนานเมืองลือเรื่องนครขอนแก่น ณ เวทีกลาง เป็นครั้งแรก

ประวัติวัดหนองแวงพระอารามหลวง


วัดหนองแวง
เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2332 พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) พ.ศ.2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา
  
ปัจจุบันนตั้งอยู่เลขที่ 593 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2442 โดยพระยานครศรีบริรักษ์(อู๋) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มีเนื้อที่ดินที่ตั้งวัด 26 ไร่ 65 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์เป็นโฉนด 713 เลขที่ 28 หน้าสำรวจ 794 เล่มที่ 8 หน้า 13 
 
อาณาเขต
ทิศเหนือ ยาว 135 เมตร จดถนนหนองแวงพัฒนา
ทิศใต้ ยาว 160.50 เมตร จดล่องน้ำและที่ดินนายพิศ วรราช
ทิศตะวันออก ยาว 151.40 เมตร กับ 120.80 เมตร จดถนนรอบบึงแก่น
นคร และที่ดิน นางทองม้วน บุตรกสก
ทิศตะวันตก ยาว 246.70 เมตร ติดถนนกลางเมือง

ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบ
เป็นที่ราบเรียบ เป็นลักษณะ 6 เหลี่ยม มีหมู่บ้านล้อมรอบสามด้าน และมีบึงแก่นนครอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ.2524
เป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง ปี พ.ศ. 2527
 
แบ่งออกเป็น 9 ชั้น ชั้นที่ 1 มีพระบรมสารีริกธาตุอยู่บนบุษบกตรงกลาง ต้นเสาเขียนลวดลายสีเบญจรงค์ เพดานเขียนภาพเทพพนมปีกค้างคาวดาวล้อมเดือน จตุเทพดารา โดยเฉพาะบานประตูใหญ่แกะสลักเป็น 3 มิติ

ชั้นที่ 2 บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์ภาพนิทานเรื่อง สังข์ศิลป์ชัย

ชั้นที่3 หอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนภาพนิทานเรื่อง นางผมหอม

ชั้นที่ 4 หอปฏิบัติธรรม บานประตูหน้าต่างเขียนภาพพระประจำวัน

ชั้นที่ 5 หอพิพิธภัณฑ์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธประวัติ

ชั้นที่ 6 หอพระอุปัชฌายาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่อง พระเวสสันดร

ชั้นที่ 7 หอพระอรหันตสาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่อง เตมีย์ใบ้

ชั้นที่ 8 หอพระธรรม รวบรวมพระธรรมคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา บานประตูหน้าต่างแกะสลักพรหม 16 ชั้น

และชั้นที่ 9 หอพระพุทธ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุตรงกลางบุษบก และยังเป็นชั้นที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองขอนแก่นได้อย่างสวยงาม ทางวัดเปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ข้อมูลจาก manager online































































 

 


A ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น
B วัดหนองแวง
http://3.bp.blogspot.com/_HwvmPRKK6mk/Rn6-HFxaWoI/AAAAAAAAAKM/OaGjLle3s7Q/s400/stupakhonkaen.jpg

http://touronthai.com/gallery/photo/45001002/knkpagoda08.jpg

http://www.hamanan.com/tour/khonkaen/nongwangtemple/nongwangtemple2.jpg


นักเรียนโรงเรียนการกุศลวัดหนองแวง..เด็กดีที่ต้องชม

ด้วยความบังเอิญที่ต้องไปรถตู้คันเดียวกันกับทีมอาจารย์จาก  ม.มหิดล  หลังจากจบการสัมมนา UKM 9    ก่อนที่จะถึงเวลารอเครื่องบินกลับกรุงเทพฯ  ก็พอมีเวลาไปทานข้าวเที่ยง  และไปแวะที่วัดหนองแวง  อ.เมือง จ.ขอนแก่น

 

   นอกจากความงดงามของสถาปัตยกรรมแล้ว  สิ่งหนึ่งที่ประบใจผมครั้งนี้   ก็คือ  มัคคุเทศก์น้อย  จากโรงเรียนการกุศลวัดหนองแวง    2 หนุ่มน้อยในชุดเรื่องแบบนักเรียน  ทราบว่าทั้งสองกำลังเรียนอยู่ระดับชั้น ป.4    นำคณะของเราไปชมแต่ละชั้น   คอยอธิบายภาพบนฝาผนัง  อาทิ  ภาพคะลำ  (พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ)   เครื่องมือทำมาหากินของถิ่นอิสาน  อาทิ   เครื่องมือหาปลา  เครื่องทอผ้า เครื่องสังฆภัณฑ์เก่าๆที่วางอยู่แต่ละชั้น  และยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากมายที่ทั้งสองหนุ่มต้องคอยตอบคำถามจากผู้มาเยือน

จากการบอกเล่าของสองหนุ่ม  ได้ความว่าโรงเรียนการกุศลวัดหนองแวง นั้นได้จัดเวรให้เด็กนักเรียนแต่ละชั้นมาทำหน้าที่คอยต้อนรับแขกที่มาเยือน ที่วัด  และเข้าใจว่ามีการแบ่งหน้าที่กันทำในหลายๆอย่าง  เช่น  เป็นมัคคุเทศก์  ขายหนังสือ  เป็นต้น   อย่างเช่นวันนี้   วันที่ผมไปมานั้นเป็นวันเสาร์  ซึ่งเป็นวันที่โรงเรียนปิด  แต่ก็มีนักเรียน 5 คน มาประจำอยู่ที่นี

เด็กนักเรียนโรงเรียนการกุศล วัดหนองแวง  จึงต้องถูกฝึกให้รู้จักทำหน้าที่เป็นคนดูแลศาสนสถานของชุมชน    ต้องรู้เรื่องราวทั้งในด้านศาสนา เรื่องราวของชุมชน   เรียนรู้สิ่งดีๆ ผ่านการทำหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติกันจริงๆ     ฝึกให้เป็นคนที่ซื่อสัตย์   ครั้นเมื่อผู้มาเยือนประทับใจให้เงินเล็กๆน้อยๆเป็นทิป   ผมก็มองดูตามหนุ่มน้อยทั้งสองที่เอาเงินที่ได้มาไปเก็บ  ณ  จุดหนึ่ง  เข้าใจว่าเป็นจุดที่ทุกคนเมื่อได้ทิป  ก็จะเอาเงินมารวมกัน

เด็กที่ ถูกฝึกในลักษณะนี้   ผมมีความเชื่อว่า  เขาเหล่านั้นกำลังเรียนรู้ "ความดี"   ผ่านการทำงานในโลกของความเป็นจริง    เป็นบทเรียนทีมีหลายวิชาผนวกอยู่ด้วยกัน  เด็กได้เรียนรู้ผ่านการทำหน้าที่เหล่านั้น    เด็กจะได้พบผู้คนที่หลากหลาย  ได้ฝึกการนำเสนอตั้งแต่วัยเยาว์   ลองหลับตานึกดูว่าหลังพวกเขาจบ ป.6  ไปแล้ว  เด็กเหล่านี้ได้สะสมประสบการณ์การนำเสนอไปตั้งกี่ครั้ง    เป็นวิธีการการเรียน การสอนที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่งครับ  


http://gotoknow.org/file/wiratkmsr/WatNongWaengSchool.jpg
สามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนวัดหนองแวงวิทยา วัดหนองแวง(พระอารามหลวง) ต.ในเมือง จ.ขอนแก่น มีสามเณรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 19 รูป เข้าสอบมหา วิทยาลัยในระบบแอดมิชชั่น ได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยทั้งหมด 19 รูป คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน

ผลงานดีเด่นของโรงเรียนวัดหนองแวงวิทยา
 

ผลงานโรงเรียน                 
๑.  โรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้
๒.  โรงเรียนแกนนำด้านสิ่งแวดล้อม
๓.  โรงเรียนแกนนำด้านกิจกรรม ๕ ส
๔.  โรงเรียนส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

ผลงานดีเด่นของบุคลากร
๑.  ผู้บริหารโรงเรียน
๑.๑  ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม รุ่นที่ ๕/๒๕๔๐
๑.๒  เลขานุการกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดขอนแก่น ปี ๒๕๔๘
๑.๓  ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดขอนแก่น ปี ๒๕๔๙
๑.๔  ผู้บริหารดีเด่นโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดขอนแก่น ปี ๒๕๕๐

๒.  ครูผู้สอน
๒.๑  ครูผู้สอนดีเด่น ปี ๒๕๔๖
๒.๒  ครูต้นแบบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๔
๒.๓  ครูต้นแบบด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒.๔  ครูผู้สอนดีเด่นกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดขอนแก่น ปี ๒๕๕๐
๒.๕  ครูผู้สอนดีเด่นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ปี  ๒๕๕๒
๒.๖  ครูดีศรีปริยัติธรรมกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดขอนแก่น ปี ๒๕๕๒

๓. ผลงานดีเด่นของนักเรียน
๓.๑  โล่รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ ระดับช่วงชั้นที่ ๓ ในการแข่งขันทักษะทางวิชาการ จัดโดย กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมจังหวัดขอนแก่น
๓.๒  โล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันตอบปัญหาทักษะวิชาการ จัดโดย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
๓.๓  โล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันตอบปัญหาทักษะวิชาการในการแข่งขันทักษะทางวิชาการ จัดโดย กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม
๓.๔  โล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันการสวดสามเณรสิกขาในโครงการปริยัติธรรมสัมพันธ์ จัดโดย กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมจังหวัดขอนแก่น
๓.๕  โล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการวิชาพระพุทธศาสนา จัดโดย กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม
๓.๖  โล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันเทศน์ทำนองอีสานในโครงการปริยัติธรรมสัมพันธ์ จัดโดย กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมจังหวัดขอนแก่น
๓.๗  โล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ ระดับช่วงชั้นที่ ๔ในโครงการปริยัติธรรมสัมพันธ์ จัดโดย กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมจังหวัดขอนแก่น
๓.๘  รางวัลชมเชย การแข่งขันบรรยายธรรม ช่วงชั้นที่ ๓ จัดโดยกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม กลุ่มที่ ๗
๓.๙  รางวัลชมเชย การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ ๓ จัดโดย กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม กลุ่มที่ ๗
๓.๑๐  รางวัลชมเชย การแข่งขันวาดภาพศิลปะแนวพุทธ ช่วงชั้นที่ ๔จัดโดยกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมกลุ่มที่ ๗
๓.๑๑  รางวัลชมเชย การแข่งขันตอบปัญหาทักษะวิชาการ ช่วงชั้นที่ ๔จัดโดยกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม
๓.๑๒  รางวัลชนะเลิศอันดับ  ๑  วิชาการสามัญ  ช่วงชั้นที่  ๓  จัดโดยกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม
๓.๑๓  รางวัลชนะเลิศอันดับ  ๑  การเขียนเรียงความช่วงชั้นที่  ๔  จัดโดยกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม
๓.๑๔  รางวัลชนะเลิศอันดับ  ๑  โครงงานวิทยาศาสตร์  จัดโดย  กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม
๓.๑๕  รางวัลชนะเลิศอันดับ  ๑  ประเภทสิ่งประดิษฐ์  ช่วงชั้นที่  ๓  จัดโดยกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม
๓.๑๖  รางวัลชนะเลิศอันดับ  ๑ นักธรรมชั้นโท  ช่วงชั้นที่  ๔  จัดโดยกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม
๓.๑๗  รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง  การเขียนโฮมเพจ  ช่วงชั้นที่  ๓  จัดโดย สพท.ขอนแก่น  เขต  ๑
๓.๑๘  รางวัลรองชนะเลิศเหรียญเงิน  โครงงานคณิตศาสตร์  ช่วงชั้นที่  ๔  จัดโดย  สพท.ขอนแก่น  เขต  ๑
๓.๑๙  รางวัลรองชนะเลิศเหรียญเงิน  วาดภาพศิลปะ  ช่วงชั้นที่  ๔  จัดโดย  สพท.ขอนแก่น  เขต  ๑
๓.๒๐  รางวัลรองชนะเลิศเหรียญทองแดง  ร้อยมาลัย  ช่วงชั้นที่  ๓  จัดโดย  สพท.ขอนแก่น  เขต  ๑



http://www.siladhamma.com/images/2.JPG
 

ชื่อและที่ตั้ง


โรงเรียนวัดหนองแวงวิทยา  แผนกสามัญศึกษา  ตั้งอยู่  ณ  เลขที่   ๕๙๓  วัดหนองแวงพระอารามหลวง  ถ.กลางเมือง  ต.ในเมือง  อ.เมือง  จ.ขอนแก่น   ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น มีเนื้อที่  ๓  งาน  ๓๘  ตารางวา  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของวัดติดกับชุมชนวัดหนองแวง  เมืองเก่า สภาพชุมชนโดยรอบเป็นชุมชนเมือง  บริเวณโดยรอบของโรงเรียนมีบึงแก่นนครและมหาธาตุแก่นนครอนุสรณ์สาธุชน ซึ่งจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนของโรงเรียนด้วย

ประวัติโรงเรียนวัดหนองแวงวิทยา


โรงเรียนวัดหนองแวงวิทยาเป็นโรงเรียนขนาดกลาง  เดิมเป็นศาสนศึกษาที่เปิดสอนเฉพาะแผนกธรรมและภาษาบาลี  ต่อมาได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา สังกัดกรมศาสนา  กระทรวงศึกษาธิการ  ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาสังกัดยังกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติตามแผนปฏิรูประบบราชการ  ใบอนุญาตจัดตั้งเลขที่ ๑๑๕/๒๕๓๖  เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเมื่อวันที่  ๑๕  พฤษภาคม  ๒๕๓๘  และได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  เมื่อวันที่  ๑๐  กันยายน  ๒๕๓๖
ปัจจุบัน มีพระเดชพระคุณพระเทพวงศาจารย์  (คูณ ขนฺติโก)  อายุ ๘๐ ปี  วุฒิการศึกษา ป.ธ.๔,ครู พ.ม.  เจ้าอาวาสวัดหนองแวง(พระอารามหลวง)  เป็นผู้จัดการ  และมีพระมหาอดุลย์  กิตฺติญาณเมธี อายุ ๓๔ ปี วุฒิการศึกษา ป.ธ.๗,พธ.บ.,ศษ.ม. เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน  ปัจจุบันโรงเรียนวัดหนองแวงวิทยา  เปิดดำเนินการเรียนการสอนการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ๒  ระดับ  คือ  ระดับช่วงชั้นที่  ๓  และระดับช่วงชั้นที่  ๔  มีจำนวนนักเรียน ๓๕๐ รูป มีครูประจำ ๑๕ รูป/คน ครูพิเศษ ๑๑ คน พนักงานขับรถ ๑ คน เจ้าหน้าที่ทำความสะอาด ๒ คน

สภาพชุมชน


ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย  รับจ้าง  ทำงานตามห้างร้านและบริษัทและรับราชการ  มีสภาพความเป็นอยู่แบบปานกลาง  มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยแบบญาติพี่น้อง ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการถวายการอุปถัมภ์ด้วยปัจจัย  ๔  และได้รับการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนเป็นอย่างดี  เนื่องจากนักเรียนที่เข้ามาเรียนโรงเรียนวัดหนองแวงวิทยาไม่ได้มาจากชุมชน ในละแวกนี้  เป็นนักเรียนที่มาจากทั่วทุกสารทิศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือบาง ส่วน ซึ่งครอบครัวมีฐานะยากจน  พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถส่งให้เข้าเรียนในระบบการเรียนปกติได้  จึงได้นำมาฝากไว้เพื่อทำการอบรมบ่มนิสัยและศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนแห่ง นี้

 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2553 ณ วัดหนองแวง พระอารามหลวง จังหวัดขอนแก่น ได้มีพิธีทำบุญอายุวัฒนมงคล 81 ปี 61 พรรษา ของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระเทพวงศาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองแวงพระอารามหลวง ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9   ที่ปรึกษาประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ   รองประธานสำนักงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและความมั่นคงของสถาบันชาติพระ ศาสนาและพระมหากษัตริย์   โดยนายปราโมทย์ สัจจรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานจุดธูปเทียนพระรัตนตรัย และกล่าวอวยพรมุทิตาสักการะ นายพีระพล พัฒนะพีระเดช นายกเทศมนตรีเทศบาลนครขอนแก่น กล่าวรายงานประธานในพิธี และนายจุลนพ ทองโสภิต รองนายกเทศมนตรี นำ สาธุชนกล่าวถวายผ้าป่าสักการะ 

                ในการนี้ พระเดชพระคุณพระเทพวงศาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองแวง มอบปัจจัยแด่ รอง ศาสตราจารย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์   เพื่อบำรุงโรงพยาบาล โดยมี ศาสตราจารย์ภิเศก ลุมพิกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ รองศาสตราจารย์วิทูรย์   ประเสริฐเจริญสุข รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมรับมอบใน ครั้งนี้ด้วย  ในนามโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอกราบขอบพระคุณผู้มีจิตศรัทธา มา ณ โอกาสนี้

 


 

พิธีแสดงมุทิตาจิตสักการะ วันคล้ายวันเกิดหลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก

DSC_0639.JPG

พระธรรมฐิติญาณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด และเจ้าคณะภาค 10 พร้อมด้วย พระเทพปริยัติวิมล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พระญาณวิเศษ เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุติ พระเทพวงศาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองแวง (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่นและ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 พระราชธรรมโกศล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ฝ่ายธรรมยุติ พระราชกิติรังษี รองเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายมหานิกาย พระครูศิริธรรมานุกร เจ้าอาวาสวัดถ้ำจันทน์ อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย พระมหาสัณฐ์ สุจิณโณ เจ้าคณะอำเภอเมืองศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุติ ได้นำพระเถระ พระสงฆ์ สามเณร พุทธศาสนิกชนจากทั่วประเทศหลายหมื่นคน มาร่วมในพิธีแสดงมุฑิตาจิตเนื่องในวันคล้ายวันเกิดหลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก ประธานสงฆ์วัดป่าขันติธรรมและประธานมูลนิธิส่งเสริมคุณธรรมและคุณภาพชีวิต ที่วัดป่าขันติธรรม บ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 17-18 ก.ย. 51



 ในระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย เดินทางไปที่ขอนแก่นเพื่อทำบุญและสะเดาะเคราะห์ ที่วัดหนองแวง พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ปรากฏว่า มีบรรดาบริวารทั้งหลายไปให้การต้อนรับอย่างหนาแน่น ทั้งเนวิน ชิดชอบ, ยงยุทธ ติยะไพรัตน์, พงศ์เทพ เทพกาญจนา, จำลอง ครุฑขุนทด, อดิศร เพียงเกษ, เสริมศักดิ์ พงษ์พานิชย์ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิชย์

                       


พงศกร อรรณนพพร รมช.กระทรวงศึกษา กำลังปฏิบัติราชการ (อยู่ก้นทักษิณ) เวลา 09.00 น. วันที่ 21 เม.ย. ณ วัดหนองแวง ขอนแก่น

         ที่สำคัญมีพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยศึกษาธิการ ธีระชัย แสนแก้ว รัฐมนตรีช่วยคมนาคม เดินทางไปร่วมต้อนรับด้วย

                                  

         บริเวณวัดหนองแวง พระอารามหลวง สถานที่ประกอบพิธี มีประชาชนประชาชน และข้าราชการกว่า 1,000 คน มารอรับ ตั้งแต่ประตูทางเข้าวัดจนถึงประตูเข้าพระเจดีย์ 9 ชั้น พร้อมกับชูป้ายให้กำลังใจ พ.ต.ท.ทักษิณ เช่น "ชาวขอนแก่นรักทักษิณ" เป็นต้น พร้อมทั้งมอบดอกไม้ ผ้าขาวม้าซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาวอีสาน

         พ.ต.ท.ทักษิณ เดินเข้าไปภายในพระเจดีย์ 9 ชั้น เพื่อทำพิธีจุดเทียนชัย บริเวณด้านหน้าพระสารีริกธาตุ จากนั้น พระเถระ จำนวน 9 รูปได้สวดพระคาถาจุดเทียนชัย จากนั้นก็เดินวนขวารอบพระสารีริกธาตุ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าทั้งเก้าปรางค์ พร้อมกับถวายเครื่องสักการะ พานพุ่มดอกไม้ทั้ง 9 ปรางค์ ก่อนจะเดินมากราบพระประธาน และจึงไปถวายราชสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แล้วเปิดกรวย ถวายราชสักการะ  จึงมากราบนมัสการพระเถระ 9 รูป แล้วมานั่งประจำที่นั่งที่ทางวัดได้เตรียมไว้ให้ เพื่อรอรับการอาราธนาศีลจากพระเถระ

        หลังจากรับการอาราธนาศีลเสร็จ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ถวายผ้าไตรพร้อมกับอ่านคำถวายผ้าบังสุกุลจีวร ผู้ร่วมในพิธีกล่าวตาม เมื่อกล่าวจบจึงถวายผ้าบังสุกุลจีวร พร้อมต้นผ้าป่าจำนวน 9 ต้น และจตุปัจจัย เมื่อถวายเสร็จพระเถระทั้ง 9 รูปพิจารณารับผ้าบังสุกุลจีวร แล้วจึงสวดอนุโมธนา ต่อมาพระเทพวงศาจารย์ หรือหลวงพ่อมหาคูณ ขนฺติโก ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 และเจ้าอาวาสวัดหนองแวง พระอารามหลวงได้มอบพระพุทธรูปปรางค์สมาธิขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว พร้อมด้วยพระเลี่ยมทอง 3 องค์ ติดกับสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท ให้เป็นของขวัญ

       จากนั้นจึงทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ผูกด้าย เพื่อเป็นการเรียกขวัญตามความเชื่อของภาคอีสาน ก่อนจะออกมาจุดธูปบายศรีจำนวน 9 ดอก ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าประตูทางเข้าพระเจดีย์ 9 ชั้น ก่อนจะเดินทักทายประชาชนแล้วขึ้นรถเพื่อเดินทางไปทำพิธีต่อที่ จ.กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ดต่อไป

          สำหรับการเดินทางไปทำบุญ สะเดาะเคราะห์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จ.ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ดครั้งนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1 ได้ส่งกำหนดการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ ของพงศกร อรรณนพพร รมช.ศึกษาธิการ ให้กับสื่อมวลชน โดยระบุว่า เป็นการร่วมงานทอดผ้าป่าการกุศล ณ พระธาตุแก่นนครอนุสรณ์สาธุชน วัดหนองแวง พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ขอนแก่น และปฏิบัติราชการในพื้นที่ จ.มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์

         กำหนดการ และรายละเอียดในพิธีเป็นรายการ และเวลาเดียวกับการทำพิธีทำบุญ และสะเดาะเคราะห์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทุกประการ โดยรายละเอียดการเดินทางของนายพงศกร และคณะจะเดินทางจากกทม.ด้วยเครื่องบิน บ.การบินไทย จำกัด(มหาชน)เที่ยว ทีจี 1040 ถึง ท่าอากาศยานขอนแก่น เวลา 07.10 น. วันที่ 21 เม.ย. 2551 และกำหนดกลับ เที่ยวบิน ทีจี 1047 ออกจากสนามบินขอนแก่นเวลา 20.25 น.ในวันเดียวกัน  ซึ่งเที่ยวบินทั้งไปและกลับเป็นเที่ยวเดียวกับการเดินทางของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร.

27มกราคม 2553 นี้
ขอกราบถวาย มุทิตาสักการะเนื่องในวาระวันคล้ายวันเกิด พระเดชพระคุณ
พระเทพวงศา จารย์ (คูน ขนฺติโก)
ที่ปรึกษาชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดหนองแวงวิทยา
ผู้ จัดการโรงเรียนวัดหนองแวงวิทยา
ผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ โรงเรียนการกุศลวัดหนองแวง
เจ้าอาวาสวัดหนองแวง พระอารามหลวง ขอนแก่น
ที่ ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙
ที่ปรึกษาสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ


ขอ อำนาจคุณพระศรีอาริยเมตตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่หลวงพ่อเคารพ นับถือ จงมาปกปักรักษาให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณ พระเทพวงศาจารย์ มีแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยอายุ วรรณ สุข พละ มีกำลังกายกำลังใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ และเป็นร่มโพธิ์ทองร่มไทรงาม ให้แก่ลูกพระหลานเณร พี่น้องชาวชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดหนองแวงวิทยา และคณะศิษยานุศิษย์ทุกรูป/คนด้วยเทอญ

5. ชื่อวัด : วัดหนองแวง
วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๓ พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) หลังสร้างเมืองหลวงใหม่คือกรุงเทพมหานคร แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านบึงบอน (เมืองเก่า) ขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น ทรงพระราชทานเลื่อยศท้าวเพี้ย เมืองแพน ผู้สร้างเมืองขอนแก่นเป็นพระนครศรีบริรักษ์ในคราวสร้างเมืองขึ้นนั้น พระนครศรีบริรักษ์ได้สร้างวัดหนองแวงพร้อมกับสร้างเมืองขอนแก่นและอุปถัมภ์ มาโดยตลอด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗
เมื่อครั้งเมืองขอนแก่นครบ ๒๐๐ ปี ใน ปี พ.ศ.๒๕๓๒ พระราชปริยัติเมธี (คูณ ขันติโก ป.ธ.๔) เจ้าอาวาสวัดหนองแวง พระอารามหลวง จังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยคณะสงฆ์และสาธุทั้งปวง ได้พร้อมใจกันก่อสร้าง “พระมหาธาตุแก่นนครอนุสรณ์สาธุชน” ขึ้น เพื่อเป็นอนุสาวรีย์กตัญญูกตเวทีต่อบุพการีชนต้นตระกูลของเมืองขอนแก่น และเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา โดยกราบเรียนอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) มาเป็นองค์ประธานเปิดงาน และได้กราบทูลอาราธนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จมาเป็นองค์ประธานทรงยกเสาเอกเสาโท ตั้งแต่วันที่ ๘-๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒
พระราชปริยัติเมธี (หลวงพ่อคูณ ขนฺติโก) เจ้าอาวาสวัดหนองแวง เป็นผู้มีความมุ่งมั่นศรัทธาแรงกล้าที่จะก่อสร้างพระมหาธาตุแก่นนคร และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งนี้ ท่านได้ระดมทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาคสมทบทุนร่วมก่อสร้างพระ มหาธาตุฯ จนเป็นผลสำเร็จตามโครงการโดยใช้งบประมาณ จำนวน ๔๗,๘๐๔,๘๘๘ บาท นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือในการออกแบบและระดมทุนก่อสร้างจากคณะ สถาปัตยกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กรมการศาสนา และกรมศิลปากร ตลอดจนหน่วยงานเอกชนและภาคประชาชนเข้ามาร่วมกันจัดตั้งจนเสร็จเรียบร้อยด้วย ดี ซึ่งชาวบ้านและชุมชนรอบ ๆ วัด ได้เข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรมเสริม ได้แก่ การจัดสินค้าพื้นเมืองมาจำหน่ายเป็นรายได้เข้าสู่ชาวบ้านและชุมชน นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากสภาวัฒนธรรมจังหวัด ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด วัด โรงเรียนในท้องถิ่นและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งได้ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมาโดย ตลอด
ชื่อเจ้าอาวาส : พระเทพวงศาจารย์(คณู ขนฺติโก)
ที่อยู่ : ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น
เบอร์โทรศัพท์ : ๐ ๔๓๒๒ ๑๖๖๔
 

พระมหาธาตุแก่นนครอนุสรณ์สาธุชน (หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดหนองแวง)
   

สถานที่ตั้ง

๕๙๓ วัดหนองแวง (พระอารามหลวง) ถ.กลางเมือง ต.ในเมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
โทรศัพท์ ๐๔๓-๒๒๑๖๖๔ โทรสาร ๐๔๓-๒๒๒๔๔๘

 
   

คำ ขวัญ/สัญลักษณ์

"สะอาด สว่าง สงบ เสียสละ สามัคคี มีมารยาท"

   

ประวัติความ เป็นมา

เมื่อครั้งเมืองขอนแก่นครบ ๒๐๐ ปี ใน ปี พ.ศ.๒๕๓๒ พระราชปริยัติเมธี (คูณ ขันติโก ป.ธ.๔) เจ้าอาวาสวัดหนองแวง พระอารามหลวง จังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยคณะสงฆ์และสาธุทั้งปวง ได้พร้อมใจกันก่อสร้าง “พระมหาธาตุแก่นนครอนุสรณ์สาธุชนขึ้น เพื่อเป็นอนุสาวรีย์กตัญญูกตเวทีต่อบุพการีชนต้นตระกูลของเมืองขอนแก่น และเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา โดยกราบเรียนอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) มาเป็นองค์ประธานเปิดงาน และได้กราบทูลอาราธนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จมาเป็นองค์ประธานทรงยกเสาเอกเสาโท ตั้งแต่วันที่ ๘-๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒

การจัดตั้งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ได้แก่ สภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดขอนแก่น หอวัฒนธรรมอิสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์วัฒนธรรม
 
พระราชปริยัติเมธี (หลวงพ่อคูณ ขนฺติโก) เจ้าอาวาสวัดหนองแวง เป็นผู้มีความมุ่งมั่นศรัทธาแรงกล้าที่จะก่อสร้างพระมหาธาตุแก่นนคร และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งนี้ ท่านได้ระดมทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาคสมทบทุนร่วมก่อสร้างพระ มหาธาตุฯ จนเป็นผลสำเร็จตามโครงการโดยใช้งบประมาณ จำนวน ๔๗,๘๐๔,๘๘๘ บาท นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือในการออกแบบและระดมทุนก่อสร้างจากคณะ สถาปัตยกรรม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กรมการศาสนา และกรมศิลปากร ตลอดจนหน่วยงานเอกชนและภาคประชาชนเข้ามาร่วมกันจัดตั้งจนเสร็จเรียบร้อยด้วย ดี ซึ่งชาวบ้านและชุมชนรอบ ๆ วัด ได้เข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรมเสริม ได้แก่ การจัดสินค้าพื้นเมืองมาจำหน่ายเป็นรายได้เข้าสู่ชาวบ้านและชุมชน นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากสภาวัฒนธรรมจังหวัด ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด วัด โรงเรียนในท้องถิ่นและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งได้ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมาโดย ตลอด
   

วัตถุประสงค์ของการจัด ตั้ง


๑.
เพื่อ น้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์สาวก
๒.
เพื่อทูลถวาย เป็นพระราชสักการะ มหามงคลเทิดพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
๓.
เพื่อทูลถวายเป็นพระสักการแด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๙ ในวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา และสมเด็จพระสังฆราชทุก ๆ พระองค์
๔.
เพื่อเป็นมหามัง คลานุสรณ์ ครบ ๒๐๐ ปี เมืองขอนแก่น
๕.
เพื่อเป็น อนุสรณ์สาธุชนต้นตระกูลของแต่ละตระกูล
๖.
เพื่อเป็นสถาน ศึกษา อบรมพระปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรมและปฏิเวชธรรม
๗.
เพื่อเป็นศูนย์ รวมศิลปวัฒนธรรม
๘.
เพื่อเป็นมรดกแก่อนุชน
๙.
เพื่อเป็นปูชนีย สถานทัศนศึกษาดึงดูดนักท่องเที่ยวมาสู่ท้องถิ่น
   


เนื้อหาและรูปแบบการจัดแสดงภายในหอวัฒนธรรมนิทัศน์



พระมหาธาตุแก่นนครอนุสรณ์สาธุชน มหามงคลเทิดพระเกียรติครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี และมหามังคลานุสรณ์ ๒๐๐ ปี เมืองขอนแก่น เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจะบังเกิดสารัตถประโยชน์อย่างยิ่ง แก่สาธุชนทั่ว ๆ ไป ดังต่อไปนี้

ชั้นที่ ๑ เป็นหอประชุม มีพระบรมสารีริกธาตุอยู่บนบุษบกตรงกลาง มีองค์ประธานประดิษฐาน ๓ องค์อยู่ตรงกลาง ต้นเสาเขียนลวดลายสีเบญจรงค์ ลายกรวยเชิงดอกพุดตานและดอกบัว คานชื่อเขียนภาพเทพชุมนุมล้อมรอบ เพดานเขียนภาพเทพพนมปีกค้างคาว ดาวล้อมเดือนจตุเทพดารา บัวหัวเสา, คาน , ขื่อ, เพดาน ชั้นที่ ๒,๓,๔,๕,๖ ปิดทองลายฉลุ ชั้นที่ ๗,๘,๙ เขียนลวดลายเบญจรงค์ ฝาผนังชั้นที่ ๙ เขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ บานประตูหน้าต่างแกะสลัก ๒ มิติ ๓ มิติภาพนิทานเรื่องจำปาสี่ต้น โดยเฉพาะบานประตูใหญ่แกะสลักแบบ ๓ มิติ และผนังทั้ง ๔ ด้านรอบพระธาตุจะจัดแสดงภาพเขียนเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของเมือง ขอนแก่น ตลอดจนประเพณีและวิถีชีวิตในอดีตถึงปัจจุบัน
ชั้นที่ ๒ เป็นหอพัก บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์ภาพนิทานเรื่อง
สังสินไช
ชั้นที่ ๓ เป็นหอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์ภาพนิทานเรื่องนางผมหอม

ชั้นที่ ๔ เป็นหอปฏิบัติธรรม บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์ภาพพระประจำวันเทพประจำทิศ ตัวพึ่งตัวเสวย
ชั้นที่ ๕ เป็นหอพิพิธภัณฑ์ บานประตูหน้าต่างแกะสลัก ๑ มิติภาพพุทธประวัติ
ชั้นที่ ๖ เป็นหอพระอุปัชฌายาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลัก ๑ มิติ นิทานชาดกเรื่อง พระเวสสันดร
ชั้นที่ ๗ เป็นหอพระอรหันตสาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลัก ๑ มิตินิทานชาดกเรื่องเตมีใบ้
ชั้นที่ ๘ เป็นหอพระธรรม รวบรวมพระธรรมคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนามีพระไตรปิฏกเป็นต้น บานประตูแกะสลัก ๓ มิติรูปพรหม ๑๖ ชั้น ถึงชั้นที่เก้า
ชั้นที่ ๙ เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบกเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บานประตูแกะสลัก ๓ มิติ รูปพรหม ๑๖ ชั้น และเป็นหอชมวิวทิวทัศน์ตัวเมืองขอนแก่นทั้ง ๔ ด้าน โดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกติดบึงแก่นนครสวยงามมาก
   

สิ่งน่าสนใจ หรือจุดเด่น ของหอวัฒนธรรมนิทัศน์

มีพระมหาธาตุแก่นนครรูปทรงสี่เหลี่ยมทรงตากแหซึ่ง เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของศิลปกรรมอีสาน นอกจากนี้ภายในชั้นที่ ๙ ขององค์พระธาตุเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ถือเป็นหัวใจของสถานที่แห่งนี้

วัน และเวลาเปิดทำการ

วันเปิดทำการ คือ วันจันทร์ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ น.

 

ติดต่อ ประสานงาน

พระครูสุจิตรคุณสาร วงษ์ชารี (ประธานดำเนินการหอวัฒนธรรมนิทัศน์)
รองเจ้าอาวาส วัดหนองแวง (พระอารามหลวง)
โทรศัพท์ ๐๖-๒๑๙๒๔๘๕, ๐๔๓-๒๒๔๔๗๙
โทรสาร ๐๔๓-๒๒๒๔๔๘

 

เบื้องหลัง พินัยกรรมหลวงพ่อคูณ ทำไมไม่ให้เก็บศพไว้บูชาเหมือนเกจิรูปอื่นๆ


 


เปิดพินัยกรรมหลวงพ่อคูณ บริจาคศพให้คณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนนำมาฌาปนกิจแบบเรียบจ่าย ห้ามขอพระราชทานเพลิงศพ อัฐิ อังคารลอยแม่น้ำโขง

พินัยกรรมก่อนตายของหลวงพ่อคูณเขียน เอาไว้เมื่อประมาณ ๔ ปีที่ผ่านมา โดยพินัยกรรมดังกล่าวมีพยานรับรอง ๔ คน คือ ๑.ร.ศ.สุขชาติ เกิดผล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒.นายประทีป วงษ์กาญจนรัตน์ ๓.นายธวัช เรืองหร่าย ไวยาวัจกรวัดบ้านไร่ และ ๔.นายเนาวรัตน์ สังการกำแหง นิติกร ๘ (ชำนาญการ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สำหรับเนื้อหาพินัยกรรมดังกล่าวมีข้อความว่า อาตมาหลวงพ่อคูณ อายุ ๗๗ ปี ถิ่นพำนักวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๓ ขอทำพินัยกรรมกำหนดการ เผื่อถึงการมรณภาพ เกี่ยวกับเรื่องการจัดงานศพของอาตมา ภายหลังที่อาตมาถึงมรณภาพลง

๑.ศพของอาตมา ให้มอบแก่มหาวิทยาลัยขอนแก่นภายใน ๒๔ ชั่วโมง หลังจากมรณะภาพลง เพื่อให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มอบให้กับภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำไปศึกษาค้นคว้าตามวัตถุประสงค์ของภาคต่อไป

๒.พิธีกรรมศาสนา การสวดอภิธรรมศพ ให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำพิธีสวด พระอภิธรรมศพ ที่คณะแพทยศาสตร์ ๗ วัน ตั้งแต่ถึงวันมรณภาพลง

๓.การจัดทำพิธีบำเพ็ญกุศลเมื่อสิ้น สุดการศึกษาค้นคว้าของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว ให้จัดงานแบบเรียบง่าย ละเว้นการพิธีสมโภชน์ใดๆ และห้ามขอพระราชทานเพลิงศพ โกฏิและพระราชพิธีอื่นๆ เป็นกรณีพิเศษเป็นการเฉพาะ โดยให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทำพิธีเช่นเดียวกับการจัดพิธีศพของอาจารย์ใหญ่นักศึกษาแพทย์ประจำปีร่วม กับอาจารย์ใหญ่ท่านอื่น แล้วเผา ณ ฌาปนสถานวัดหนองแวง พระอารามหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น หรือวัดอื่นใดที่คณะแพทยศาสตร์เห็นสมควรและเหมาะสม โดยทำพิธีเผาให้เสร็จสิ้นที่จ.ขอนแก่น

๔.เมื่อดำเนินตามข้อ ๓ เสร็จสิ้นแล้ว อัฐิ เถ้าถ่าน และเศษอังคารทั้งหมด ให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นนำไปลอยที่แม่น้ำโขง จ.หนองคาย ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม

 
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden