yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - 109 การประเคน
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง
การประเคนและการรับประเคน
โดย..พระครูศรีโชติญาณ




การประเคนและการรับประเคน
โดย..พระครูศรีโชติญาณ


คำว่า "ประเคน" คำนี้ เดิมเป็นคำที่มาจากภาษาเขมร ที่เรานำเอามาใช้เป็นภาษาไทยในเรื่องการถวายของแก่ภิกษุ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการให้ของแก่ฆราวาส เพราะตามหลักของพระวินัยแล้ว ภิกษุจะฉันอาหารที่ไม่ได้รับประเคนไม่ได้ ถ้าขืนฉัน ก็จะต้องอาบัติโทษตามสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งโภชนวรรคที่ ๔ ความว่า ภิกษุกลืนกินอาหารทุกชนิดที่ควรกลืนกินให้ล่วงลำคอลงไป โดยที่มิได้รับประเคนต้องอาบัติปาจิตตีย์

คำที่ท่านใช้ในบาลีว่า "ที่เขามิได้ให้" นั้น หมายถึงการยกให้ การยกให้จึงได้กินความไปถึงการให้ด้วยวาจาคือการพูดด้วย ส่วนของที่นอกจากอาหาร เช่นหมากพลูและบุหรี่เป็นต้นที่ไม่ใช่อาหาร เขากล่าวให้ด้วยวาจาก็ได้
เช่น ทายกเขาพูดว่า "ของเหล่านี้ นิมนต์เอาไปอย่างหนึ่งเถิดขอรับ" อย่างนี้ภิกษุเอาอย่างหนึ่งได้ แต่มีข้อยกเว้นไว้ว่า เนื้อดิบ ปลาดิบ ภิกษุรับประเคนไม่ได้ เรื่องการรับประเคน ท่านกำหนดหลักไว้ดังนี้

๑. เวลากาลที่จะรับประเคน
๒. องค์ของการรับประเคน
๓. อาการของภิกษุผู้จะรับประเคน
๔. อายุของอาหารที่ได้รับประเคนไว้แล้ว
๕. กำหนดระยะคำว่า "หัตถบาส" ระหว่างผู้ประเคนกับผู้รับ
๖. น้ำหนักของที่จะรับประเคน

๑. เวลากาลที่จะรับประเคน
ถ้าภิกษุจะรับประเคนอาหารที่มีผู้ศรัทธามาถวาย จะรับได้ตั้งแต่เวลารุ่งอรุณแล้วไปจนกระทั่งถึงเที่ยงวัน จะรับประเคนให้เกินเวลสดังกล่าวนั้นไม่ได้
เรื่องของเวลานั้น มีการตีความกันหลายอย่าง แต่จะอย่างไรก็ตาม เราควรจะหนักไปในการรักษาพระวินัยไว้ ดีกว่าตีความให้อ่อนลงมา เช่นตีความว่าเที่ยงแล้วยังต่อได้อีก ๑๘ นาทีเป็นต้น
สมัยโบราณใช้เงาแดด เพราะยังไม่มีนาฬิกาใช้ แต่สมัยนี้มีนาฬิกาใช้แล้ว เมื่อเวลาเลยเที่ยงไปเพียงนาทีเดียวก็ใช้ไม่ได้แล้ว ถ้าภิกษุรับประเคนไว้ ก็เป็นสันนิธิคือเป็นการสะสม ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ในเวลานำเอามาฉัน
หรือเวลาที่เลยเที่ยงวันไปแล้ว ถ้ามีผู้ศรัทธานำเอาอาหารมาถวาย ภิกษุก็รับไว้ไม่ได้ จำเป็นต้องบอกแก่กัปปิยการกรหรืออนุปสัมบันรับแทนไว้ แล้วจึงนำเอามาประเคนให้ฉันในวันรุ่งขึ้นจึงจะใช้ได้ แม้กระนั้นผู้รับใช้ก็จะต้องรอบรู้ในเรื่องของพระวินัย ไม่จำเป็นจะต้องให้ภิกษุบอกก่อนแล้วจึงทำฯ

๒. องค์ของการรับประเคน

ภิกษุจะรับประเคนของที่มีผู้นำมาถวาย จะต้องรับให้ถูกต้องตามหลักของพระวินัยดังนี้
ก. ผู้ถวายและผู้รับ จะต้องอยู่ภายในหัตถบาสของกันและกัน คำว่า "หัตถบาส" นั้น แปลกันว่า "บ่วงมือ" คือห่างระหว่างผู้ประเคนและผู้รับไม่เกิน ๑ ศอก ถ้าเกินกว่านั้น ก็ไม่ชอบด้วยพระวินัย
ข. อาการที่ถวาย จะต้องน้อมตัวลงให้ปรากฏโดยอาการของความเคารพ ไม่ใช่ถวายด้วยอาการของการโยนให้ หรือเสือกให้ เพราะอาการดังกล่าวนั้นเป็นอาการที่ไม่งามเลย
ค. ผู้ถวาย จะเป็นใครก็ได้ จะเป็นหญิงหรือชาย โดยที่สุดแม้เป็นเดียรัจฉานก็ได้ เช่นอย่างช้างปาลิเลยยกะ ถวายกระบอกน้ำแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และลิงถวายรวงผึ้งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น
ง. การรับ จะต้องรับด้วยตนเอง จากมือของผู้ชาย หรือด้วยของเนื่องด้วยจากมือของผู้หญิงจึงจะใช้ได้ เช่นใช้ผ้ากราบที่ปิดหน้าผ้าไตรวางทอดลง แล้วใช้มือทั้งสองจับตรงมุมผ้ากราบทั้งสองข้างด้านในของตัวโดยหงายมือจับรับ ประเคน อย่างนี้จะดูสวยงามดี การที่จะรับมือเพียงมือเดียว หรือคว่ำมือจับมุมผ้ารับอย่างนี้ ดูแล้วไม่สมเหตุผล เพราะผู้ถวายของสองมือ แต่ผู้รับรับเพียงมือเดียว ดูเหมือนไม่เต็มใจรับ หรือรับโดยไม่เคารพ ยิ่งคว่ำมือจับมุมผ้ารับด้วยแล้ว ยิ่งไม่ถูกต้อง เพราะการรับของ เขาหงายมือรับกันทั้งนั้น

ข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับการตีความเรื่องการรับประเคนของภิกษุจาก "สตรีเพศ " ของพระภิกษุไทยกับภิกษุชาวพม่าและลังกาซึ่งเป็นฝ่ายเถรวาทด้วยกัน
สำหรับภิกษุชาวพม่าและลังการับประเคนของจากสตรีเพศ เขาจะรับด้วยมือของตนเองเลย โดยที่ไม่ต้องมีผ้าซึ่งเป็นของเนื่องด้วยกายเหมือนกับพระไทยเรา ที่เป็นเช่นนี้ เราจะกล่าวว่าเขาทำผิดพระวินัยก็ไม่ได้
เพราะตามประวัติเท่าที่เป็นมาแต่โบราณกาล แม้พระพุทธเจ้าเองก็ทรงรับภัตตาหารจากมือของนางวิสาขา โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าซึ่งเป็นของเนื่องด้วยกายรับแบบพระไทยเรา ตามที่สังเกตมา ส่วนใหญ่เขาจะอ้างบาลีเท่าที่เคยมีมาแล้ว แต่ของไทยเราถือประณีตมากกว่านั้น จึงได้ถือปฏิบัติสืบๆ มา เรื่องนี้ก็จะต้องแล้วแต่ความเหมาะสม เพราะพระวินัยบางอย่าง ถ้าสังคมยอมรับจนเป็นแบบสำหรับปฏิบัติสำหรับสงฆ์แล้ว ก็เป็นอันว่าอนุวัตรตามความนิยมของสังคมนั้นๆ

เช่น การโกนคิ้ว ของพระไทยเป็นต้น ความจริงแล้วตามหลักพระวินัยก็มีว่า "เกสมสฺสุโวโรหน" ที่แปลว่า ปลงผมและหนวด เท่านั้น ไม่ได้โกนคิ้วด้วย
การที่ภิกษุชาวพม่าและลังกาไม่โกนคิ้วก็เป็นว่าเขาทำถูกแล้ว แต่ภิกษุไทยเราถือประณีตยิ่งกว่านั้นก็โกนคิ้วเสียด้วย และก็เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ไทยไปแล้ว ทุกรูปที่บวชเป็นพระภิกษุสามเณรก็จะต้องโกนเหมือนกัน ถ้าใครไม่โกน ก็มีโทษทางสังคม
หรือเหมือนกับการบวชเณร เมื่ออายุเกิน ๒๐ ไปแล้ว ไทยเราไม่นิยมบวชเณรนิยมบวชพระทีเดียว เพราะฉะนั้น เมื่อายุครบบวชพระแล้วแต่จะกลับมาบวชเณรอีก เจ้าอาวาสส่วนใหญ่ท่านจะไม่ยอม เมื่อความนิยมไม่มี ขืนไปทำเข้าถึงไม่ผิดก็เป็นเหมือนผิด เพราะส่วนใหญ่แล้วเขาไม่นิยมกระทำกัน ดังนั้น การโกนคิ้วก็เช่นเดียวกัน
ตามประวัติที่เล่าต่อๆ กันมาว่า สมัยต้นๆ รัตนโกสินทร์เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงบาตรก็มีพวกสาวชาววังติดตามเป็นบริวาร ทรงบาตรด้วย มีภิกษุบางรูปที่เข้าไปรับบาตรในวังเป็นพระเจ้าชู้เห็นสาวชาววังออกมาตัก บาตรด้วย เวลาพระรับบาตรแทนที่จะสำรวมตา แต่กลับสอดส่ายสายตาไปดูสาวชาววังกำลังตักบาตรแล้วก็ไปยักคิ้วเข้า ความทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว ก็เลยเกิดมีบัญญัติให้ภิกษุโกนคิ้วตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้น เรื่องการโกนคิ้ว หรือไม่โกน จึงเป็นเรื่องที่น่าพิจารณากันมากอยู่
อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่น่าจะนำเอามาพูดกัน เกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศของพระภิกษุ โดยเฉพาะสหภาพพม่าและอินเดีย เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเงินทองที่ใช้กันอยู่ในสองระบบ คือระบบรัฐบาลกับตลาดมืด
เช่นเงินพม่าเป็นต้น ถ้าเป็นระบบรัฐบาลที่แลกเปลี่ยนกัน ๑ จ๊าตพม่าเท่ากับเงินไทย ๔ บาท แต่ถ้าระบบตลาดมืด ขณะนี้ (พ.ศ.๒๕๓๓) ๑ บาทไทย จะเท่ากับเงินจ๊าต ๓ จ๊าตเศษ แม้เงินรูปีอินเดียก็เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ พ่อค้าจึงมีการหลบเลี่ยงเพื่อค้ากำไรกันมาก
คราวนี้เรามาพูดกันถึงเรื่องเงิน ๒ ระบบอย่างว่านี้ จึงน่าคิดพิจารณามากทีเดียว จึงขอฝากความรู้สึกกับภิกษุที่เดินทาง แล้วทำการแลกเปลี่ยนแบบพ่อค้าที่เขาทำกัน เพราะพระเรามีราคาเพียง ๕ มาสกหรือบาทเดียวเท่านั้น ไม่ได้มากมายอะไรเลยฯ

๓. อาการของภิกษุผู้จะรับประเคน

อาการของภิกษุที่จะรับประเคนของจากผู้ถวายนั้นก็จะต้องมีหลักดังนี้
ก. ภิกษุผู้รับประเคน จะยืนหรือนั่งก็ตาม จำเป็นจะต้องอยู่ภายในหัตถบาส และขณะรับก็ต้องน้อมกายลงเล็กน้อยด้วยอาการที่น่าเลื่อมใส
ข. ขณะรับของจากสตรีเพศ จะต้องวางผ้าซึ่งเป็นของเนื่องด้วยกายพร้อมกับน้อมกายลงเล็กน้อยโดยอาการ เคารพในทาน และจะต้องหงายมือจับที่มุมของชายผ้ารับทั้งสองด้านในที่ติดกับตัว ไม่ใช่คว่ำมือจับ เพราะการรับของจากคนอื่นต้องหงายมือรับ ไม่ใช่คว่ำมือรับ

๔. อายุของอาหารที่ได้รับประเคนไว้แล้ว

อายุของอาหารที่ได้รับประเคนไว้แล้ว ก็มีอยู่ด้วยกัน ๔ ชนิด คือ

ก. ยาวกาลิก คือของที่ทรงอนุญาตให้ฉันได้ชั่วกาล คือตั้งแต่อรุณขึ้นเป็นต้นไปจนถึงเที่ยงวัน ก็คำที่ว่า "อรุณขึ้น" นั้น การตีความของสงฆ์ไทยกับพม่าไม่เหมือนกัน ของไทยเราจำเป็นจะต้องมีแสงสว่างให้เห็นลายมือ ลายเท้าเสียก่อนจึงจะใช้ได้ ส่วนพม่านั้นถือบาลีที่ว่า "อรุโณ อุคฺคโต" ที่แปลว่า "อรุณขึ้นไปแล้ว" หมายถึง ๕.๓๐ น. พอแสงเงินแสงทองปรากฏที่ท้องฟ้าเพียงนิดหน่อยเท่านั้นก็เป็นอันว่า ฉันยาคูคือข้าวต้มกันได้แล้ว
แม้ยาคูที่แปลว่าข้าวต้มก็แตกต่างกันอีก ข้าวต้มของเราเมื่อต้มสุกแล้วยังมีข้าวเป็นเม็ดๆ อยู่ แต่ข้าวต้มพม่านั้นละเอียดยิ่งกว่าโจ๊กอีกด้วยซ้ำไป เห็นจะเป็นเพราะเหตุนี้เองในบาลีท่านจึงได้ใช้กิริยาว่า "ยาคุ ปวติ" ที่แปลว่า "ดื่มข้าวยาคู" ข้าวต้มของไทยเราถ้าขืนดื่มก็คงติดคอแน่ๆ เรื่องฉันข้าวต้ม ๕.๓๐ น. แม้พระไทยเราก็เคยได้ไปร่วมฉันกันมาแล้วบางท่าน เมื่อสมัยไปร่วมทำสังคายนาที่สหภาพพม่าปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หรือ ๒๕ ศตวรรษ
อนึ่ง ตามหลักพระวินัย ท่านห้ามไม่ให้ภิกษุหุงต้มฉันเอง เพราะเป็น "อันโตปักกะคือทำให้สุกในภายใน สามปักกะคือทำให้สุกเอง" และห้ามไม่ให้ภิกษุซื้อของเอามาใช้หรือฉัน ถ้าขืนซื้อเอามาใช้หรือฉันแล้ว ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ จำจะต้องเสียสละเสียก่อน ถ้ายังมิได้เสียสละ เอาไปฉันหรือใช้เข้าก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องของกัปปิยกุฎี ก็ทรงอนุญาตไว้เหมือนกัน ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการที่จะมิให้เกิดความน่าเกลียดแก่ผู้ที่ผ่านไปมาประการ หนึ่ง คืออนุญาตให้มีเรือนไฟสำหรับทำครัวได้ในที่ที่เป็นเอกเทศลับๆ ส่วนหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้กลิ่นอาหารอบอวลในที่อาศัยอยู่ และกันมิให้ควันฟุ้งหลังคาที่อยู่อาศัยดำนั่นเอง
ดังนั้น จึงทรงอนุญาตให้ทำเป็นกัปปิยกุฎีคือเรือนครัวเสียต่างหากจากที่อยู่ก็ได้ แต่ถ้าภิกษุไม่ทำในที่เช่นนั้น ขืนไปทำในที่อยู่เข้า ท่านจึงปรับอาบัติในฐานะเป็น "อันโตวุฏฐะ" คือทำภายในที่อยู่อาศัยเข้า ถ้าทำในกัปปิยกุฎีไม่เป็นไรฯ

ข. ยามกาลิก คือของที่ทรงอนุญาตให้ฉันได้ชั่วคราวหมายถึงฉันได้ ๒๔ ชั่วโมง คือวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ในข้อนี้ ทรงหมายถึงน้ำปานะ ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่หรือหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะทราง น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น น้ำเง่าบัว น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
ของเหล่านี้ควรใช้ให้อนุปสัมบันทำจึงสมควร ถ้าภิกษุทำฉันเองจะฉันได้เพียงเช้าชั่วเที่ยงวันเท่านั้น และการทำก็ห้ามไม่ให้ทำให้สุกด้วยไฟ จะทำได้เฉพาะสดๆ เท่านั้น ฯ

ค. สัตตาหกาลิก คือของที่ใช้ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น ถ้าเก็บไว้ฉันเกินกว่า ๗ วันไปก็ต้องอาบัติ อันนี้ท่านหมายถึงเภสัชที่ใช้ต่างยา ๕ อย่างคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยฯ

ง. ยาวชีวิก คือของที่ฉัน ได้ตลอดชีวิต เช่นรากไม้ที่ใช้เป็นยา น้ำฝาดเช่นน้ำบอระเพ็ดเป็นต้น ใบไม้ ผลไม้ที่ใช้เป็นยา ยางไม้ที่ใช้เป็นยา แม้เกลือที่ใช้เป็นยาก็ได้ รายละเอียดเหล่านี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายไว้แล้วในวินัยมุขเล่ม

๒ ผู้ต้องการโปรดตรวจดูได้ในที่นั้นฯ
การรับประเคนตามอรรถกถานัย


เรื่องของการรับประเคนที่จะทำให้ขาดประเคนตามนัยแห่งอรรถกถาสมันตัปปาสาทิกาก็ดี ภาษาฎีกาก็ดี ท่านได้วางหลักไว้ถึง ๖ ประการคือ

๑. ภิกษุรับประเคนไว้แล้ว แต่ยังไม่ทันได้ฉัน ให้คนอื่นเสียด้วยเหตุบางอย่าง ก็เป็นอันว่าของนั้นขาดประเคนไปแล้ว

๒. รับประเคนไว้แล้ว ตนเองยังไม่ทันได้จัดการอะไรกับของที่รับประเคนนั้น แต่ลาสิกขาคือสึกไปเสีย เช่นนี้ของนั้นก็เป็นอันว่าขาดประเคนเหมือนกัน

๓. รับประเคนไว้แล้ว แต่มีเหตุที่ต้องทิ้งไปเสียทั้งๆ ที่ยังมิได้ฉันอย่างนี้ของนั้นก็เป็นอันว่าขาดประเคนเหมือนกัน

๔. รับประเคนไว้แล้ว แต่ถูกอนุปสัมบันแย่งหรือหยิบหลุดมือไปเสียอย่างนี้ก็ขาดประเคนเหมือนกัน

๕. รับประเคนไว้แล้ว แต่ยังมิได้ฉัน ตนมรณภาพคือตายไปเสียก่อน ก็เป็นอันว่าขาดประเคนไป

๖.รับประเคนไว้แล้ว ยังไม่ทันได้ฉัน แต่กลับกลายเพศเป็นหญิงไปเสียอย่างโสเรยยภิกษุเป็นต้น ก็เป็นอันว่าขาดประเคนเหมือนกัน (สำหรับข้อ ๖ นี้ ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่เรื่องก็เคยปรากฏมาแล้วในคัมภีร์ขุททกนิกาย)

ข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับการประเคน
เรื่องการประเคน ส่วนใหญ่ท่านมักจะมุ่งหมายเอาการผูกใจในของขบฉันมากกว่า เช่นของที่ทายกเขาประเคนไว้แล้ว ยังมิได้ทอดทิ่งความผูกใจในของฉันนั้น แต่บังเอิญมีอนุปสัมบันมาถูกต้องของที่รับประเคนด้วย

เหตุจำเป็น แม้ไม่ต้องรับประเคนอีกก็ฉันได้ ไม่ถือว่าขาดประเคน เพราะเรายังผูกใจอยู่ เพราะทายกเขาตั้งใจถวายแล้ว ยังไม่ทอดทิ้งความผูกใจในของฉันนั้น
แม้ของที่มีผู้ศรัทธามาถวายแล้ว แต่ยังไม่ถึงเวลาฉัน เราจะบอกให้อนุปสัมบันยกเอาของที่รับประเคนนั้นไปเก็บไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาฉัน จะเอามาฉันเองโดยที่ไม่ต้องรับประเคนอีกท่านว่าฉันได้ ไม่ถือว่าขาดประเคน ดังมีตัวอย่างปรากฏอยู่ในอรรถกาว่า
"ภิกษุมีกิจจำเป็นต้องเดินทางไปยังต่างถิ่นกับโยมมารดา บิดา หรือกับสามเณร ด้วยความเอื้อเฟื้อจะเตรียมอาหารไปเพื่อโยมหรือสามเณร พอถึงเวลาเพล โยมหรือสามเณรจะยกเอาของนั้นมาประเคนให้ตนฉันเสียก่อนตนก็สามารถฉันได้ไม่ เป็นอาบัติ เพราะอาหารนั้น ตนไม่ได้ตั้งใจที่จะนำเอามาฉันเอง"
อีกอย่างหนึ่ง ที่ภิกษุนิยมใช้กันอยู่คือภิกษุนำของที่ตนจะฉัน นำเอาไปเอง แต่พอถึงเวลาฉันก็บอกให้อนุปสัมบันประเคนพระรูปอื่นในวงเดียวกันแล้วตนเองก็ ฉัน อย่างนี้ถ้ามองในแง่ของพระวินัยก็ไม่น่าจะใช้ได้ เพราะตนเองยังผูกใจในของนั้นอยู่ ขอนักวิจัยจงใคร่ครวญดูเถิดฯ

๕. กำหนดระยะคำว่า "หัตถบาส" ระหว่างผู้ประเคนกับผู้รับ

คำว่า "หัตถบาส" คำนี้ แปลกันว่า "บ่วงมือ" หมายความว่าเราเอานิ้วมือซ้ายและมือขวาประสานติดกันมันจะมีเป็นบ่วงอยู่ใน ระหว่างมือทั้งสอง นั่นแหละเขาเรียกว่ากันว่า "หัตถบาส"
คราวนี้ เมื่อภิกษุจะรับประเคนของจากผู้ที่ถวายก็จะต้องอยู่ไม่ให้ห่างเกินไปกว่า บ่วงมือดังกล่าวนั้น เพราะบางคนเวลาจะประเคนของพระ ตัวเองออกไปอยู่เสียห่างเกินหัตถบาสไป อย่างนี้เรียกว่า ไม่ครบองค์ประเคน ของที่รับประเคนนั้นก็ไม่ค่อยจะถูกพระวินัยนัก
เพราะฉะนั้น เวลาจะรับประเคนของจากทายกผู้ถวาย ก็จะต้องแนะให้ผู้ถวายเขารู้เรื่องของพระวินัยว่าควรจะอยู่ห่างกันประมาณ เท่าไร จึงจะถูกต้องตามลักษณะของการประเคน

๖. น้ำหนักของที่จะรับประเคน

สำหรับของที่ภิกษุจะรับประเคนนั้น ส่วนใหญ่ก็จะต้องเป็นของที่ยกคนเดียวไหว การประเคนจึงจะดูสวยงาม เพราะเวลาจะประเคน จำเป็นจะต้องน้อมกายลงเล็กน้อย แสดงว่าเป็นผู้มีความเคารพในของที่จะประเคนนั้น แต่ถ้าของนั้นหนักจนเกินไป จนตนยกแทบไม่ค่อยจะขึ้น การที่จะไปแสดงความอ่อนน้อมก็ยาก เพราะตนเองจะต้องใช้กำลังยก
มีเรื่องการรับประเคนของเท่าที่เคยได้เห็นมาในสหภาพพม่า ที่เขากำลังปฏิบัติกันอยู่ในหมู่ชาวพุทธของพม่า เช่นเวลามีการถวายอาหารสงฆ์มากๆ โดยมากจะเลี้ยงเป็นโต๊ะกลม บางทีจุพระได้ถึง ๘ รูป หรือบางทีก็ ๑๐ รูป เช่นเลี้ยงโต๊ะจีนเป็นต้น แต่เวลาจะประเคนทายกเขาก็ช่วยกันยกทั้งสี่ด้านขึ้นถวาย แล้วก็พระก็ช่วยกันรับประเคนหลายๆ รูป อย่างนี้ก็เป็นอันว่าใช้ได้เหมือนกัน
อีกประการหนึ่ง การประเคนของถวายที่เป็นอสังหาริมทรัพย์เช่นถวายบ้าน ถวายที่ดิน ถวายถนน และถวายศาลาเป็นต้น ในการถวายท่านนิยมใช้หลายวิธีด้วยกัน เท่าที่ได้เคยเห็นมาบางทีก็ใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกเข้าที่ศาลาหรือที่กุฎีสงฆ์ แล้วก็ล่ามจับกันไปจนหมดทั่วทุกคนแล้ว ก็กล่าวคำถวาย พอสงฆ์รับว่า "สาธุ" แล้ว ทายกก็ยกพานถวายเจ้าอาวาสแทนในนามสงฆ์ก็ได้
หรือมิฉะนั้นก็กล่าวคำถวายโดยระบุสถานที่ที่จะถวายนั้นๆ โดยจะถวายแยกหรือรวมเป็นรูปของทวันทวสมาสก็ได้ เมื่อถวายเสร็จแล้วพอพระสงฆ์รับว่า "สาธุ" แล้ว จากนั้นท่านเจ้าภาพผู้ถวายก็จะนำเอาที่กรวดน้ำมาที่หน้าเจ้าอาวาส จากนั้นก็หลั่งน้ำจากภาชนะนั้นลงบนฝ่ามือของท่านเจ้าอาวาสผู้รับแทนสงฆ์ ส่วนพระสงฆ์ที่เหลือก็เจริญชัยมงคลคาถาขึ้นพร้อมๆ กัน อย่างนี้ก็เป็นอันว่าใช้ได้เหมือนกันฯ

จบเรื่องการประเคนและการรับประเคน
 
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden