yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - การปกครองสงฆ์ไทย
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง

๑. การปกครองคณะสงฆ์สมัยพุทธกาล 
การปกครองระยะต้นๆ พระพุทธเจ้าทรงกระทำด้วยพระองค์เองทุกอย่าง พอระยะต่อมาให้พระสาวกช่วยกระทำบ้าง เป็นการแบ่งเบาภาระและฝึกหมู่สาวก เพื่อที่จะรับช่วงงานจากพระองค์ ครั้นต่อมาตอนใกล้ปรินิพพานทรงมอบความเป็นใหญ่ให้หมู่พระสงฆ์สาวก ส่วนพระองค์ก็ทรงดูแลทั่วไปและทำงานด้านการสอนอย่างเดียว เป็นทำนอง “บิดาอบรมบุตรธิดาให้รู้จักการงาน” บั้นปลายชีวิตก็มอบทรัพย์สมบัติให้ 

๒. ตอนหลังสมัยพุทธกาล 

คณะสงฆ์แตกแยกออกเป็นหลายคณะ พระพุทธเจ้าทรงแนะนำหลักการป้องกันการวิวาทไว้ เช่น หลักแห่งสามัคคีธรรม และหลักแห่งการระงับอธิกรณ์ของสงฆ์ เป็นต้น 
หลักแห่งการป้องกันความแตกแยกนั้น พระองค์ทรงแนะไว้ ๔ ประการ คือ 

๑. ให้มีเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรม ในเพื่อนบรรพชิตทั้งที่ลับและที่แจ้ง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง 
๒. ให้มีความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อต่อกัน ไม่ตระหนี่ในปัจจัย ๔ แบ่งปันกันใช้ตามที่มี 
๓. ให้มีความเสมอกันโดยศีล 
๔. ให้มีความเสมอกันโดยทิฏฐิ 



๓. การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัย 

".....พ่อขุนรามคำแหง กระทำโอยทาน แก้มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรหลวก(รู้) กว่าปู่ครูในเมืองนี้ทุกคน ลูกแต่เมืองสีธรรมราชมา.........." เป็นต้น 
พระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย เป็นนิกายมหายาน เพราะสืบทอดมาจากสมัยขอมมีอำนาจ ครั้นถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระองค์ขยายอำนาจไปทางใต้ ทรงเลื่อมใสในพระเถระนิกายเถรวาท ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากลังกา จึงทรงอาราธนาพระเถระจากเมืองนครศรีธรรมราชเพื่อมาปรับปรุงพุทธศาสนาและพระ สงฆ์ในสุโขทัย เมื่อคณะสงฆ์ทางใต้ขึ้นไปปรับปรุง คณะสงฆ์สุโขทัยจึงหันกลับมาถือนิกายหินยาน หรือเถรวาทมากขึ้น 



คณะสงฆ์สุโขทัยแบ่งออกเป็น ๒ คณะใหญ่ๆ คือ 


๑. คามวาสี ( นิกายเดิม) เป็นพระที่มีอารามอยู่ใกล้บ้านใกล้เมืองหรืออยู่ในบ้านในเมือง เล่าเรียนคันถธุระ(ศึกษาพระไตรปิฎก) 

๒. อรัญญวาสี มาจากลังกา ทางลังกานิยมเรียกคณะนี้ว่า "วนวาสี" แปลว่า "ผู้อยู่ป่า" ปรากฏในศิลาจารึกว่า พระเจ้าแผ่นดินซึ่งครองกรุงสุโขทัย 

ทรงจัดให้พระมหาสวามีสังฆราช ที่มาจากลังกาอยู่ในอรัญญิกประเทศ คือ อัมพวันวนาราม วัดสวนมะม่วง นอกพระนครเป็นพระอยู่ในอารามป่า เล่าเรียนวิปัสสนา 



ลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ 

๑. การปกครองคณะสงฆ์ มิได้แบ่งการปกครอง เป็นการปกครองร่วมกันบังคับบัญชาตามลำดับชั้น 
๒. พระสังฆราช เป็นตำแหน่งสูงสุดของการปกครองคณะสงฆ์ 
๓. "ปู่" คงจะเป็นตำแหน่งรองจากสังฆราช(ปัจจุบันเรียกว่า พระครู) 
๔. "มหาเถระ" คงได้แก่ พระผู้มีพรรษา ผู้คงแก่เรียน รู้ธรรมวินัยทั่วไป แต่มิใช่ตำแหน่งที่กษัตริย์แต่งตั้ง อาจจะมีตำแหน่งทางการปกครองเป็นเจ้าคณะหมู่ หมวด หรือสมภารวัดก็ได้ 
๕. สมัยสุโขทัยตอนปลายได้มีประเพณีพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์คงรับมาจากลังกา 
๖. ในสมัยสุโทัยบางครั้งเรียก "คณะคามวาสี"ว่า ฝ่ายขวา "คณะอรัญญวาสี" ว่า ฝ่าย ซ้าย แต่ชื่อคณะคามวาสีและคณะอรัญญวาสีคงมีใช้ต่อมาจนถึงสมัยอยุธยา 
เข้าใจว่า "ตำแหน่งสังฆราช" กับ "ปู่ครู" เป็นสมณศักดิ์ในสมัยนั้น สุโขทัยมีสังฆราชหลายพระองค์แต่การปกครองไม่มีเอกภาพเหมือนกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะหัวเมืองใหญ่ที่เป็นประเทศราชเจ้าเมืองก็ตั้งสังฆราชเป็นประมุขในแต่ละ เมืองเป็นประมุขในสมัยหลังปรากฏเรียกตำแหน่งพระเถระเจ้าคณะเมืองว่า "สังฆราชา" อยู่หลายแห่ง สังฆราชจึงมิใช่มีองค์เดียว ส่วนปู่ครูนั้น เมืองใหญ่ๆ อาจมีหลายองค์ ถ้าเมืองเล็กมีองค์เดียว ขึ้นตรงต่อสังฆราช 


๔. การปกครองคณะสงฆ์สมัยอยุธยา 

ยังคงถือแบบอย่างสุโขทัย แต่เพิ่มขึ้นมาอีกคณะคือ "คณะป่าแก้ว" สืบเนื่องจากตามตำนานโยนก กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ.๑๙๖๕ พระเถระชาวเชียงใหม่ ๗ รูป พระเถระชาวอยุธยา ๒ รูปและพระเถระชาวเขมร ๑ รูป เดินทางไปลังกาและได้บวชแปลงเป็นสิงหลนิกายในสีมาน้ำ แม่น้ำกัลยาณี ในสำนักพระวันรัตนมหาเถระ เมื่อบวชใหม่แล้วก็ปฏิบัติอยู่ในลังกานานหลายปีจึงเดินทางกลับ ขากลับนิมนต์พระเถรชาวลังการมาด้วย ๒ รูป เมื่อถึงอยุธยาแล้วก็แยกย้ายกันไปเผยแผ่ ตั้งนิกายขึ้นมาใหม่เรียกว่า "ป่าแก้ว" (วนรัตน = ป่าแก้ว) คณะนี้ยังปรากฏที่นครศรีธรรมราชและพัทลุง เช่น วัดเขียนคณะป่าแก้ว เป็นต้น คณะนี้ปฏิบัติเคร่ง ประชาชนจึงสนับสนุนมาก 
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา(พิมพ์ พ.ศ.๒๔๕๕) ว่า ".....มูลเหตุแห่งการแยกคณะสงฆ์ออกเป็น ๒ เกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ราว พ.ศ.๒๔๒๗ พระองค์ทรงระลึกถึงพระมหาเถรคันฉ่อง (ชาวมอญ) จึงโปรดให้เป็นสังฆราช ครองวัดมหาธาตุ มีพระทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศญาณฯ ครั้งนั้นคณะสงฆ์แยกเป็ย ๒ คณะ คือ คณะเหนือให้ขึ้นต่อสมเด็จพระอริยวงศญาณฯ คณะใต้ขึ้นต่อสมเด็จพระวันรัตน์(สังฆราชาเดิมคือ คณะป่าแก้ว) 

ผู้รู้เห็นว่า พระมหาเถรคันฉ่อง เป็นพระมอญ แม้จะมีความดีมากแต่คงไม้ได้เป็นใหญ่ถึงขั้นสังฆราช อาจปกครองเฉพาะพระชาวมอญเท่านั้น คณสงฆ์นั้นสันิษฐานว่าน่าจะแบ่งออกเป็น ๓ คณะ คือ 

         ๑. คณะคามวาสีฝ่ายขวา 
         ๒. คณะอรัญวาสี 
         ๓. คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย 


ลักษณะการปกครองของคณะสงฆ์ 

๑. สมณศักดิ์ในสมัยอยุธยาเพิ่มเป็น ๓ ขั้น คือสังฆราช กับ พระครู ยังเอาแบบสุโขทัย เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช บังคับบัญชาคณะสงฆ์ทั่วอาณาจักร แบ่งการปกครองดังนี้ 
          ๑.๑ สมเด็จพระสังฆราช ว่าการทั่วราชอาณาจักร 
          ๑.๒ พระสังฆราช ว่าการหัวเมืองใหญ่ๆ 
          ๑.๓ พระครู ว่าการหัวเมืองเล็ก หรือในราชธานี 
ต่อมาจึงยกพระครูให้สูงเท่ากับพระสังฆราชหัวเมือง ที่เราเรียกว่า "พระราชาคณะ" อยู่ทุกวันนี้ 

๒. คำว่า "สมเด็จ" เป็นภาษาเขมรที่นำมาใช้ ตำแหน่งสมเด็จในสมัยพระนารายณ์มหาราช ปรากฏในหนังสือของลาลูแบร์ "เรื่องเมืองไทย" ว่า พระวันรัตน์เป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มหาสังฆปรินายก ปกครองคณะสงฆ์ทั้งปวง 
แต่ในหนังสือเก่าๆ มีชื่อ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายคามวาสี ส่วนสมเด็จพระวันรัตน์ เป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี รูปใดมีพรรษามากรูปนั้นก็เป็นสมเด็จพระสังฆราช 


๕. การปกครองพระสงฆ์ในสมัยกรุงธนบุรี 

อาณาจักรสมัยกรุงธนบุรีตกอยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด เพราะถูกพม่าทำลาย หลังจากพระเจ้ากรุงธนบุรีรวบรวมอำนาจได้แล้ว ก็มิได้ปรากฏว่า ได้พระราชาคณะครั้งกรุงเก่ามาเป็นประมุขสงฆ์พระที่มาเป็นสังฆราช ก็เป็นเพียงพระอาจารย์ดี วัดประดู่ องค์ที่ ๒ คือ พระอาจารย์ศรี วัดพน้ญเชิง ซึ่งมิใช่พระราชาคณะ รูปที่ ๓พระสังฆราชชื่น ซึ่งคงเป็นพระที่ทรงสมณะเก่าสมัยกรุงอยุธยาพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เชิญมาจาก เมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก เดิมคงเป็นพระครูสุธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าคณะเมืองระยอง แต่ภายหลัง ในรัชกาลที่ ๑ ถูกลดยศลงจากพระสังฆราชลงมาเป็นพระธรรมธีรราชมหามุนี ว่าที่พระวันรัตน์ 

สรุป การปกครองสงฆ์ยุคนี้เอาแบบอย่างมาจากอยุธยา และในตอนกลางรัชกาล การคณะสงฆ์เจริญมาก แต่ตามพงศาวดารกล่าวว่า ในตอนปลายรัชกาลก็เสื่อมลง เพราะพระเจ้ากรุงธนบุรีสำคัญผิดไป แต่ก็นับว่าพระองค์ก็ทรงได้กอบกู้ฐานะพระสงฆ์ไว้เท่าๆกับการกอบกู้เอกราชของ ชาติไว้นั้นเอง 

๖. การปกครองคณะสงฆ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 

๖.๑ รัชกาลที่ ๑ ทรงปรับปรุงคณะสงฆ์พอสรุปได้ดังนี้ 
(๑) ให้พระภิกษุบางรูปลาสิกขา เพราะทรงปฏิบัติไม่เหมาะในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และโปรดเกล้าให้ตั้งแต่งใหม่หมด สมเด็จพระสังฆราช(ศรี) วัดบางหว้าใหญ่ ซึ่งถูกถอดยศในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพรสังฆราชอีก นับว่าเป็นสังฆราชองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 
(๒) รัชกาลที่ ๑ ได้ออกกฏหมายสงฆ์ เพิ่มขึ้นจากวินัยสงฆ์อีกด้วย กฏหมายที่ออกมามี ๑๐ ฉบับ ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ ฉบับสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๔ นับเป็นกษัตริย์องค์แรกที่ออกกฏหมายคณะสงฆ์ เนื่องจากอยู่ระหว่างการฟื้นฟูบ้านเมืองและเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของบ้านเมือง 
(๓) สมณศักดิ์ของพระสงฆ์ แบ่งออกเป็น ๒ อันดับ คือ พระราชาคณะผู้ใหญ่ และพระราชาคณะสามัญ พระราชาคณะผู้ใหญ่กำหนดไว้ ๔ ชั้น คือ 
      ๓.๑ สมเด็จพระสังฆราช ซ้าย-ขวาได้แก่สมเด็จพระอริยวงศ์และสมเด็จพระวันรัตน์ 
      ๓.๒ พระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี พระพุทธโฆษาจารย์ ผู้ช่วยสังฆปรินายก พระพิมลธรรม เจ้าคณะรองฝ่ายซ้าย พระธรรมวโรดม เจ้าคณะรองฝ่ายขวา 
      ๓.๓ พระพรหมมุนี พระธรรมเจดีย์ คณะเหนือ พระธรรมไตรโลก คณะใต้ 
      ๓.๔ พระเทพกวี คณะเหนือ พระเทพมุนี คณะใต้ พระญาณไตรโลก เจ้าคณะรองอรัญวาสี นอกจากนี้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญทั้งหมดคือ พระเทพโมลี พระธรรมโกษา พระโพธิวงศ์ เป็นต้น แต่พระโพธิวงศ์ ยกเป็นชั้นเทพในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือรัชกาลที่ ๑ ส่วนพระราชาคณะยังไม่มี 


๖.๒ รัชกาลที่ ๒ 

คณะสงฆ์ยังไม่เปลี่ยนแปลง สมณศักดิ์ที่น่าสนใจ คือ รัชกาลที่ ๒ ทรงตั้งพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าวาสุกรี ซึ่งผนวชอยู่ที่วัดพระเชตุพนเป็น "พระองค์เจ้าพระราชาคณะ กรมหมื่นนุชิตชิโนรสศรีสุคตขัตติยวงศ์" แต่มีสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นสามัญ 


๖.๓ รัชกาลที่ ๓ 
ทรงปฏิรูปคณะสงฆ์ขึ้น เหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับคณะสงฆ์มีดังนี้ 
(๑)โปรดให้รวมพระอารามหลวงและอารามราษฎร์ในกรุงเข้าเป็นคณะหนึ่งต่างหาก เรียกว่า "คณะกลาง" ขึ้นในกรมหมื่นนุชิตชิโนรส 
(๒) คณะสงฆ์เพิ่มขึ้นมี ๔ คณะ คือ 
       ๒.๑ คณะเหนือ 
       ๒.๒ คณะใต้ 
       ๒.๓ คณะกลาง 
       ๒.๔ คณะอารัญวาสี 
(๓) มีคณะใหม่เกิดขึ้นในรัชกาลนี้อีก คือ คณะธรรมยุติ ครั้งแรกจำนวนน้อยอาศัยอยู่กับคณะกลาง

๖.๔ รัชกาลที่ ๔ 

คณะสงฆ์เริ่มดีขึ้น จำนวนพระสงฆ์เริ่มมากขึ้นตั้งแต่คร้งรัชกาลที่ ๓ ทั้งยังมีคณะใหม่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นทางการคือ คณะธรรมยุติและคณะอรัญวาสีเดิมกลับหายไปไม่ทราบชัดว่าหายไปไหน ตอนเริ่มรัชกาลยังมีอยู่ คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศเป็นเจ้าคณะ แต่ชื่ออรัญวาสีค่อยๆ หายไปในภายหลัง ด้านสมณศักดิ์รัชกาลนี้เพิ่มมากขึ้น และทรงเห็นว่า กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ทรงคุณธรรมยิ่งกว่าสังฆนายกอื่นๆ จึงโปรดตั้งพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก สถาปนาขึ้นเป็น "กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส" เป็นประธานสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร และทรงสถาปนาพระพิมลธรรม (อู่) วัดสุทัศน์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณอนัโรมตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๓ ที่จะให้เป็นสังฆราช แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เป็นสังฆราช เป็นเพียงเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือเท่านั้น และทรงยกพระพุทธโฆษาจารย์(ฉิม) เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ด้วย ส่วนการปกครองหัวเมืองแต่เดิมตำแหน่งเป็นพระสังฆราชา รัชกาลที่ ๔ โปรดให้เปลี่ยนเป็น สังฆปาโมกข์ มียศเทียบเท่าพระครู แต่บางเมืองก็มียศเท่าพระราชาคณะ ใช้ราชทินนามเหมือนกรุงเทพฯ 

๖.๕ สมัยรัชกาลที่ ๕ 

เป็นระยะที่กิจการทุกส่วนของประเทศได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากระบบ เก่าสู่ระบบใหม่ ด้านศาสนาก็เช่นเดียวกัน มีการปฏิรูปขึ้นในทุกๆ ด้านเวลานั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ได้ทรงช่วยในด้านการคณะสงฆ์เป็นอย่างดี 
ด้านสมณศักดิ์ มีที่น่าสนใจคือ ในรัชกาลนี้ได้เพิ่มสมณศักดิ์ชั้น "ราช" ขึ้นใหม่ ครั้นก่อนพระราชาคณะมี ๔ ชั้น คือ พระราชาคณะสามัญ ๑ ชั้น เมื่อเพิ่มชั้นราชขึ้น จึงมี ๕ ชั้น ส่วนชั้นสามัญกลายเป็นชั้นที่ ๖ จึงเรียงตามลำดับใหม่ได้ดังนี้ 

          ๑. ชั้นสมเด็จ 
          ๒. ชั้นรองสมเด็จ 
          ๓. ชั้นธรรม 
          ๔. ชั้นเทพ 
          ๕. ชั้นราช 
           ๖. ชั้นเทพ 
และต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะของบางตำแหน่ง เช่นเลื่อนพระพรหมมุนีจากชั้น ๓ ขึ้นเป็นชั้น ๒ เลื่อนพระธรรมโกษาจารย์จากชั้นสามัญเป็นชั้นที่ ๓ เป็นต้น เรื่องสำคัญในวงการสงฆ์ คือการมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์อย่างจริงจังขึ้น ซึ่งควรจะรู้โดยละเอียดไว้ดังนี้ 

พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ 
ก่อนพระราชบัญญัติฉบับนี้ เราทราบมาแล้วว่าคณะสงฆ์จัดเป็น ๓ นิกาย คือ 
          ๑. มหานิกาย 
          ๒. ธรรมยุติกนิกาย 
          ๓. รามัญนิกาย 
ทั้งหมดนี้สืบมาจากทักษิณนิกายหรือเถรวาท แต่ก็มีอุตรนิกายหรือมหายานอยู่บ้างคือ พระญวนกับพระจีนฝ่ายหลังนี้มิได้รับการยกย่องเป็นพระภิกษุสงฆ์ คงถือว่าเป็นนักพรตเท่านั้น มาถึงรัชกาลที่ ๕ จึงทรงตั้งหัวหน้าฝ่ายญวนเป็นพระครู และฝ่ายจีน เป็นพระอาจารย์ ก่อนพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ยังคงมี ๔ คณะเหมือนรัชกาลที่ ๓,๔ คือ 
๑. คณะเหนือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(แสง) วัดราชบูรณะ เป็นเจ้าคณะใหญ่ โดยมากรวมเอาวัดทางเหนือมาขึ้นกับคณะนี้ และคณะนี้ก็ขึ้นตรงต่อมหาดไทย 
๒. คณะใต้ สมเด็จพระวันรัตน์ (ฑิต) วัดมหาธาตุเป็นเจ้าคณะใหญ่ รวมเอาวัดทางใต้มาขึ้นกับคณะนี้ และขึ้นต่อกรมพระกลาโหมและกรมท่า 
๓. คณะกลาง สมเด็จพระพำฒาจารย์ (หม่อนเจ้าสังฆฑัต) วัดพระเชตุพน เป็นเจ้าคณะใหญ่ รงมเอาวัดในส่วนกลางและนครเขื่อนขันธ์ (อ.พระประแดง) มาขึ้นในคณะนี้ แต่ที่ปรากฏจริงวัดในส่วนกลางไปขึ้นต่อคณะเหนือก็มี คณะใต้ก็มีสับสนอยู่ 
๔. คณะธรรมยุติ เวลานั้นยังไม่มีสมเด็จเจ้าคณะใหญ่ มีพระศาสนโสภณเป็นเจ้าคณะรอง รวมเอาวัดธรรมยุติทั่วราชอาณาจักรขึ้นคณะนี้ ผู้ปกครองต่อมาเป็นพระราชาคณะที่เป็นเจ้าเสียส่วนมากก สมเด็จเจ้าคณะใหญ่ของคณะนี้มีฐานานุกรมเป็นพิเศษกว่าคณะอื่นๆ 

การปกครองแบ่งเป็นคณะ ๔ คณะนี้ที่น่าสนใจก็คือ ม่ทราบเหตุใดจึงแบ่งเช่นนี้เข้าใจว่า เปลี่ยนมาจากคณะคามวาสีฝ่ายซ้าย คณะอรัญวาสีและคณะคามวาสีฝ่ายขวา ครั้งกรุงเก่าคือ 

           - คณะเหนือ = คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย 
          - คณะใต้ = คณะคามวาสีฝ่ายขวา 
          - คณะอรัญวาสี 
          - คณะกลาง 
ทั้งหมดนี้มีมาแล้วครั้งรัชกาลที่ ๓ ต่อมาคณะอรัญวาสีค่อยๆ หายไปรวมกับคณะคามวาสี จึงเหลือเพียง ๓ คณะ ครั้นต่อมาจึงมีคณะธรรมยุติขึ้นจึงเป็น ๔ คณะอีก 

ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๕ (ร.ศ.๑๒๑) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ตรา พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติธรมวินัย ให้สอดคล้องกับการปกครองบ้านเมือง พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้มีเจ้าคณะใหญ่อีก ๔ คณะ รวมเป็น ๘ รูป ทั้ง ๘ รูปนี้เป็น "กรรมการมหาเถรสมาคม" ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางกานปกครองคณะสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร พ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดให้มีสมเด็จพระสังฆราชองค์เดียวเป็นผู้บัญชาเด็ดขาด เป็นประธานของมหาเถรสมาคม การปกครองแบ่งออกเป็นมณฑล เมือง แขวง และวัด ทั้งหมดนี้แบ่งกันขึ้นตามคณะใหญ่ทั้ง ๔ พ.ร.บ.นี้มี ๔๕ มาตรา และให้เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือ ร.ม.ต.กระทรวงศึกษา) รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ 

สำหรับคณะธรรมยุตินั้น เดิมรวมอยู่กับคณะกลางและได้แยกเป็นคณะต่างหาก ครั้งแรกนั้นไม่มีเจ้าคณะใหญ่ พ.ศ. ๒๓๙๓ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ จึงได้ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่ ต่อมาก็คือ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส 


๖.๖ สมัยรัชกาลที่ ๖-๗ 

การคณะสงฆ์ดำเนินตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ตลอด แต่ตอนปลายรัชกาลที่ ๗ คณะสงฆ์กลุ่มหนึ่ง แสดงสังฆมติจะให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับนี้ การเคลื่อนไหวขยายวงกว้างออกไป จนต้องมีการเปลี่ยนแปลงในครั้งรัชกาลที่ ๘ 


๖.๗ สมัยรัชกาลที่ ๘ 


คณะรัฐบาลปฏิวัติ ซึ่งมีพ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ก็พยายามแก้ไข พ.ร.บ.เก่า และต้องการจะรวมนิกายทั้ง ๒ คือมหานิกายกับธรรมยุตินิกายเข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๘๔ พระยาพหลฯ ได้อุปสมบท ณ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อรวมนิกาย การอุปสมบทครั้งนี้นิมนต์พระนั่งอันดับ ๕๐ รูป มีพระมหานิกาย ๓๔ รูป พระธรรมยุติ ๑๕ พระรามัญ ๑ เมื่อพระยาพหลฯ ลาสิกขาบทไปแล้ว คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติก็ครองวัดมหาธาตุเสีย การรวมนิกายจึงไม่สำเร็จ 
อย่างไรก็ตาม ความพยายามรวมนิกายก็มีผลบ้าง คือ สภาผู้แทนได้ออกกฎหมายสงฆ์เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๘๔ นั่นคือ " พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔" มี ๖๐ มาตรา ไม่มีมาตราใดแบ่งแยกการปกครอง พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกอบด้วย คณะสังฆมนตรี สังฆสภา พระธรรมธร(อัยการ) พระวินัยธร(ผู้พิพากษา) เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาส อำนาจสูงสุดอยู่ที่ สมเด็จพระสังฆราช นอกนี้ยังแบ่งส่วนในคณะสังฆมนตรีออกเป็นองค์การใหญ่ๆ ๔ องค์การ คือ 
          ๑. องค์การปกครอง ทำหน้าที่ฝ่ายปกครอง 
          ๒. องค์การศึกษา ทำหน้าที่ฝ่ายการศึกษา 
          ๓. องค์การเผยแผ่ ทำหน้าที่เผยแผ่อบรม 
          ๔. องค์การสาธารณูปการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้างบูรณะ 
พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นฉบับประชาธิปไตย คณะสงฆ์สอดคล้องกับบ้านเมืองทุกประการ ด้านการศึกษาสมัยนี้เจริญมาก เพราะองค์การศึกษาดูแลควบคุมตั้งแต่ส่วนกลางไปถึงส่วนภูมิภาค ด้านอื่นๆ ก็ได้รับการเอาใจใส่เช่นเดียวกัน 

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ สมัยที่พณฯ จอมพล ส. ธนรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี(รัฐบาลปฏิวัติ) ต้องการให้ใช้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์เป็นไปอย่างรวดเร็วทันการ รัฐบาลจึงยกเลิก พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ๒๔๘๔ เสีย และให้ออก พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ๒๕๐๕ แทนโดยให้อำนาจเด็ดขาดกับฝ่ายปกครอง(เจ้าหน้าที่บ้านเมือง) และพระปกครองมากขึ้น แต่ด้านการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมนั้นด้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จึงปรากฏว่าการศึกษาในระยะหลังนี้ไม่ก้าวหน้าเหมือนสมัย พ.ร.บ.๒๔๘๔ 

๖.๘ สมัยรัชกาลที่ ๙ (พ.ร.บ.๒๕๐๕) 

สมเด็จพระสังฆราช เป็นประมุข มหาเถรสมาคม แบ่งการปกครองออกเป็น ๕ คือ หนเหนือ หนใต้ หนกลางหนตะวันออก และคณะธรรมยุติและแยกการปกครองออกเป็นภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล และเจ้าอาวาส

 
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden