yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - 116 แขวนพระเพื่ออะไร
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง
แขวนพระ-คล้องพระ-ห้อยพระ-เพื่ออะไร?
โดย จ.ส.อ. เอนก เจกะโพธิ์

( หน้า 1/1)

แขวนพระ-คล้องพระ-ห้อยพระ-เพื่ออะไร?

คนเราเกิดมาทุกคนนั้นไม่ว่ายากดีมีจนชนิดไหนอย่างไร ล้วนมีเวรมีกรรม
แต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่มีกรรมอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ การถึงแก่กรรม (การตาย)
มีประจำอยู่ในตัวทุกคน ทุกเวลานาที ทุกวันทุกเดือนทุกปี จะต้องถึงตัวเราคือ แก่ เจ็บ
และตาย เราเรียกว่ากรรมเหล่านี้มีเท่ากันหมด แต่การประกอบกรรมของบุคคล
เรานั้นไม่เหมือนกัน การประกอบกรรมมีสองประการกล่าวคือ

1. การประกอบกรรมดี และ
2. การประกอบกรรมชั่ว (กรรม=การกระทำ)

การประกอบสัมมาอาชีพที่สุจริต และการประกอบสัมมาอาชีพที่สุจริต
ก็ คือกรรมอย่างหนึ่งของบุคคลนั้นๆ จะเลือกประกอบ คนที่ชอบประพฤติปฏิบัติดี ประกอบสัมมาอาชีวะเลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต กรรมนั้นจะสนองตอบด้วย
ความดี ส่วนคนชอบพระพฤติปฏิบัติแปลกแหวกแนวประกอบสัมมาอาชีพด้วยการ
ทุจริต กรรมนั้นก็จะสนองตอบตามความประพฤตินั้นทั้งความชั่วและความดี กรรมเสมือนประกาศนียบัตร เกียรตินิยมอันดับหนึ่งของชีวิตคนเราเท่าเทียมกันหมด


ทุกคนที่เกิดมาต่างก็อยากจะกระทำความดี ความงามด้วยกันทุกคน แต่กรรมที่ประจำตัวของแต่ละคนนั้นก็มีไม่เหมือนกัน
อีกนั่นแหละ เราเรียกควาไม่เหมือนกันนั้นว่า "ดวง" ดวงของคนเราต่างคนต่างไม่เหมือนกันอีก คือ บางคนร่ำรวยล้นฟ้า บางคน
ยากจนถึงกับขอทาน ถ้าเราเอาทั้งดวงและกรรม มารวมกันเข้าก็จะได้คำจำกัดความเพียงสั้นๆ ว่า "ดวงกรรม" คือดวงของคน
ที่มีกรรมแต่ละอย่างแต่ละชนิดประจำชีวิตของตนไม่เหมือนกัน มีเหมือนกันอยู่อย่างเดียวคือ "ถึงแก่กรรม" คือการตายของ
แต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกันอีก บางคนคนถูกรถชนตาย, บางคนถูกยิงตาย, บางคนตกเครื่องบินตาย, บางคนออกไปทอดแห
หาปลาจมน้ำตาย ,บางคนหัวใจวายตาย, บางคนเป็นโรคเอดส์ตาย, บางคนตายด้วยพิษต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีการตายไม่ค่อย
ตรงกันหรือเหมือนกันก็เพราะเวรกรรมหรือดวงกรรมของคนเราที่มีอยู่ในตัวไม่เหมือนกัน ทุกคนที่ประกอบกรรมดีและกรรมชั่ว
นั้น มีความตายเป็นที่พึ่งครั้งสุดท้ายของชีวิตทุกคนไป ไม่ว่าจะเป็นไพร่ผู้ดี หรือยากจนเข็ญใจมีความตายของแต่ละคนเท่าเทียม
กันหมด เว้นไว้แต่ว่าจะตายช้าหรือตายเร็วเท่านั้น สรุปแล้วทุกคนต้องตาย

การตายมีหลายชนิด อาทิเช่น ตายวาย, ตายวอด, ตายจอด,ตายจม,ตายงมกระดูก,ตายผูก,ตายพันธ์,
ตายงก,ตายตก,และตายตาม

คนเราเกิดมาพอรู้ความพ่อแม่ พี่น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือญาติสนิทมิตรสหายก็จะนำเอาพุทธโอวาทปาฏิโมกข์
ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (เจ้าของพระพุทธศาสนา) นำมาบอกกล่าวสั่งสอนให้ผู้คนทั้งหลายทั้ปวงประพฤติดีประพฤติชอบ
ประพฤติควร ทั้งกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในศีลในธรรม อย่าสร้างเวรสร้างกรรมหรือกระทำในสิ่งตรงกันข้าม หลักธรรมอย่างแรกนั้น
องค์ สัมมาสัมพุทธเจ้าอบรมสั่งสอนมนุษย์ที่เกิดมาในโลกทั้งปวงพึงปฏิบัติ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงมาจากคำว่า พระพุทธศาสนา คือพระพุทธเจ้านั่นเอง

ชนชาติทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้มีศาสนาประจำชาติของตนเอง เช่น ศาสนาพุทธ,ศาสนาพราหมณ์,ศาสนาคริสต์,
ศาสนาฮินดู,ฯลฯ คนเหล่านี้มีความเคารพสัการะบูชาและเชื่อมั่นในคำสอนของแต่ละศาสนานั้นๆ คล้ายคลึงกัน เพราะแต่ละ
ศาสนา สั่งสอนให้คนเรากระทำความดีทั้งนั้น และเกิดนับถือสิ่งแทนศาสนา เช่นรูปเคารพต่างๆ อาทิ รูปไม้กางเขน,
รูปพระบูชา,พระเทวรูป พระพุทธรูปหรือสิ่งซึ่งแทนการเคารพสักการะในแต่ละศาสนานั้น

รูปเคารพสักการะแทนศาสนาของชาวพุทธเรานั้น ได้แก่ "พระพุทธรูป" มีทั้งขนาดใหญ่ที่สุดถึงขนาดเล็กที่สุด การสร้าง
พระบูชาหรือพระเครื่องทั้งในอดีตและปัจจุบัน ตลอดไปจนถึงอนาคตนั้นเราสร้างขึ้นเพื่อทดแทนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตาม
เรื่องราวพระพุทธประวัติ อิทธิพลทางศาสนา และได้มีการสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยังมีพระชนม์ชีพอยู่

ปฐมเหตุหรือสาเหตุแห่งการสร้างมีขึ้นนั้น"มีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปโปรด
พุทธมารดาเบื้องบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าประเสนทิราชา แห่งกรุงโกศลรัฐมิได้ทรงเห็นพระพุทธเจ้า
มาเป็นเวลาช้านาน และทรงมีพระทัยระลึกถึง จึงมีพระราชบัญญชารับสั่งให้ช่วงเอาไม้แก่นจันทร์แดงมาแกะสลักทำเป็น
พุทธรูปแล้ว ทรงให้ประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่สมเด็จพระพุทธองค์เคยประทับ

ครั้นเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จพุทธดำเนินกลับลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาถึงที่ประทับนั้น
ด้วยอำนาจพระพุทธานุภาพบันดาลให้พระพุทธรูปที่จำลองขึ้นด้วยไม้แก่นจันทร์แดง ขยับเขยื้อนเลื่อนหนีออกไป
จากพระพุทธอาสนะประจักษ์แก่ตาคนทั้งหลาย สมเด็จพระชินศรีจึงทรงรับสั่งให้เก็บพระพุทธรูปนั้นไว้เพื่อเอาไว้เป็น
แบบอย่างแก่พุทธศาสนิกชนที่ต้องการ จะสร้างพระพุทธรูปขึ้นไว้ สำหรับสักการะบูชาภายหลังเมื่อสมเด็จพระพุทธองค์
ได้เสด็จพระปรินิพพานแล้วนั่นเอง นี่คือปฐมเหตุหรือต้นเหตุแห่งที่มาที่ทำให้เกิดมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นดังกล่าว

ภายหลังเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว การสร้างพระพุทธรูปเพื่อไว้สักการะ
บูชาแทนพระพุทธองค์ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก ส่วนมากนิยมสร้างวัตถุต่างๆ แทน เช่น สร้างพระสถูปเจดีย์
พระเสมาธรรมจักร หรือรอยพระพุทธบาท ไว้เป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์แทน จวบจนกระทั่งพระพุทธศักราชล่วงไป
แล้วเกือบ 400 ปี การนิยมสร้างพระพุทธรูปขึ้นไว้ ทำการสักการะบูชาแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้แพร่หลาย
ออกไปอย่างกว้างขวาง เจริญรอยตามกันมาตลอดจนตราบเท่าทุกวันนี้

เนื่องจากศาสนาพราหมณ์ได้ถือดำเนิดมาก่อนพระพุทธศาสนา และคติตามไสยาศาสตร์ของพราหมณ์ซึ่งถือเอาเทพเจ้า
เป็นสรณะคือที่พึ่ง บรรดาเทพเจ้าผู้เป็นผู้ใหญ่ทั้งหลายสามารถบันดาลความสุขสวัสดีหรือความพิบัติได้ จึงได้เกิดมีพิธี
การบวงสรวงกระทำยัญขึ้น ผู้ใดทำการบวงสรวงบูชายัญแก่เทพเจ้า เทพเจ้าก็จะบันดาลให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขสวัสดิ์
พิพัฒนมงคล "ผู้ใดละเว้น" เทพเจ้าก็จะพิโรธ บันดาลให้ได้รับความทุกข์ จะมีภัยพิบัตินานัปการ ดังนั้นเมื่อพระพุทธศาสนา
ได้กำเนิดขึ้นและเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ บรรดาผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ในสมัยนั้น ได้หันเห มาให้ความเคารพนับถือ
ในพระพุทธศาสนา จึงได้นำเอาคติประเพณีทางศาสนาพราหมณ์มาดัดแปลงแทรกคติทางพระพุทธศาสนาลงไป เป็นการ
ผสมผสานความศรัทธาเชื่อถือของตน โดยนับเหตุว่าคติศาสนาของพราหมณ์นั้นยังมีอานุภาพเป็นที่เชื่อถือกันอยู่แล้ว
ถ้าหากรวมคติทางพุทธศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าเป็นของจริงแน่แท้ อันอาจพิสูจน์ได้ทุกกาลสมัย
เข้าไปในคติลัทธินั้นย่อมจะเรืองอานุภาพกว่าเป็นแน่แท้

โดยคติทางศาสนาพราหมณ์ถือว่า บรรดามนุษย์ที่ได้อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ ย่อมมีเทพเจ้าเข้าคุ้มครองรักษาตั้งแต่เกิด
มาทีเดียว เมื่อคตินี้ได้เข้ามาปะปนในพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีพิธีการบวงสรวบูชายัญ ดังนั้นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนของเรา
นั้น ก็ไม่มีอะไรจะดีไปกว่า พระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้า (รูปแทนองค์พระพุทธเจ้า), พระธรรม (คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า),
พระสงฆ์ (คือสาวกของพระพุทธเจ้า) เป็นสรณะที่พึ่ง ของพุทธศาสนิกชนเรามาทั้งในอดีตและปัจจุบันนี้

จึงเกิดการสร้างพระพุทธรูปประจำวันปางต่างๆ และพระเครื่องตามนัยคตินี้ ท่านโบราณจารย์จึงได้นำเอาพระพุทธคุณ
พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เข้ามาเป็นเครื่องนำบำบัดทุกข์ภัยและส่งเสริมความสุขสวัสดิพิพัฒมงคล อันเกี่ยวกับผลที่เทพยดา
แต่ละองค์เข้ามาเสวยอายุหรือเข้ามาแทรก โดยกำหนดตกแต่งพระปริตรแต่ละบท มาเป็นเครื่องสวดมนต์คุ้มครองป้องกันภัย
ให้เข้ากับเรื่องของเทพยดาแต่ละองค์ไป ทั้งยังกำหนดเอาพระพุทธรูป เพราะเครื่องปางต่างๆ ให้เป็นพระพุทธรูปประจำวัน
ให้ตรงกับเทพยดาที่เข้ามาเสวยและเข้ามาแทรกเป็นรายองค์ไป เพื่อที่พุทธศาสนิกชนจะได้สร้างพระพุทธรูปประจำวันเกิด
ของตนเองไว้สักการะบูชา เพื่อขจัดปัดเป่าทุกข์ภัยพิบัติ ให้เกิดความสุขสวัสดิ์พิพัฒมงคลแก่ตน ซึ่งถ้าได้ทำการสักการะบูชา
เป็นกิจวัตรแล้วจะเกิดโชคลาภผลศุภมงคลสวัสดิมีชัยทุกค่ำคืน

พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะสร้างด้วยวัสดุอะไรก็ตามที เราไม่สามารถจะนำพกติดตัวไปไหนมาไหนได้ทุกกาลเวลา
เราเรียกว่า
"พระพุทธรูปบูชา" ส่วนพระที่มีขนาดเล็ก เราสามารถนำติดตัวไปไหนมาไหนได้ทุกกาลเวลา เราเรียกพระชนิดนี้ว่า
"พระเครื่อง" ไม่จำกัดว่าจะสร้างด้วยวัสดุอะไรเราจำลองแบบมาจากพระพุทธประวัติ หรือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นการแทนรูปลักษณะของพระพุทธองค์ มีปางต่างๆ มากมายหลายขนาด มีพระอริยบถหลายรูปลักษณะ แล้วแต่ผู้สร้าง
เป็นผู้ออกแบบสร้าง แต่ต้องมีหลักเกณฑ์อยู่ว่า ต้องเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธประวัติทั้งหมดทั้งสิ้น

ถ้านอกเหนือไปจากนี้เห็นทีจะเป็นเรื่องแปลก เราท่านทั้งหลายคงจะได้ยินได้ฟังหรืออ่านหนังสือพิมพ์หลายฉบับลงข่าว
ว่า มีพระปางพิสดาร "เหยียบโลก" ขึ้นในประเทศไทย ผู้คนต่างก็ฮือฮาแสดงการคิดเห็นกันมาหลายอย่าง ผมไม่เห็นจะเป็น
เรื่องพิลึกกึกกืออะไรหนักหนา คนไทยเราชอบตื่นข่าวเดี๋ยวเดียวก็ลืมเป็นปลิดทิ้งและไม่เฉพาะพระเหยียบโลก ในปัจจุบัน
อาจจะเกิดศาสนาเจ้าแม่กวนอิมขึ้นในประเทศไทยก็ได้นา (เป็นความคิดของผมเอง) เพราะตามวัดตามวาต่างๆ มีเจ้าแม่ที่ว่านี้
หลายแห่งก็เป็นเรื่องของการเลื่อมใส ไม่สามารถจะบังคับใครได้ ความศรัทธาของคนแล้วแต่ละคนไปว่าจะศรัทธามาก
หรือไม่ศรัทธาเลยก็ได้ ไม่มีใครหวงไม่มีใครห้าม สำหรับเรื่องศาสนานั้นทุกคนมีสิทธิในตัวเองอยู่แล้วว่าใครจะนับถือศาสนา
อะไรก็ได้ ไม่มีการบังคับหรือขู่เข็ญแต่ประการใดทั้งปวง

แขวนพระ, คล้องพระ, ห้อยพระ, เพื่ออะไร เป็นข้อใหญ่ใจความของเรื่องนี้ถ้าถามแต่ละคนที่แขวนพระ, คล้องพระ,
ห้อยพระ ก็จะได้รับคำตอบที่แตกต่างกันไปคนละอย่าง การนำพระที่เรานับถือศรัทธาและเลื่อมใส มาภาวนาหรืออาราธนา
โดยตั้งจิตอธิษฐานถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราควรจะตั้งนะโม 3 จบ และกล่าวคำอาราธนาพระว่า พุทธฺ อาราธนานํ
ธมฺมํอาราธนา สงฺฆํ อาราธนานํ กล่าวคำรำลึกถึงพระคุณบิดามารดา ครูอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายอันได้แก่ พระแก้ว
มรกด พระหลวงพ่อโตวัดไชโย พระพุทธชินราช หลวงพ่อพุทธโสธร เจ้าพ่อพระกาฬ เจ้าพ่อหลักเมือง พระเสื้อเมือง
พระทรงเมือง ที่เรืองฤทธิ์ ลูกขออำนาจบุญบารมีอันศักดิ์สิทธิ์และอิทธิฤทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงจงดลบันดาลให้ข้าพเจ้า ....
ให้ปลอดภัยต่อภยันตรายทั้งหลายด้วยเถิด สาธุ

คนแขวนพระ,คล้องพระ, ห้อยพระแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบแขวนพระเนื้อผงปางคนชอบแขวนพระเนื้อดิน
บางคนชอบแขวนพระเนื้อชิน แต่ละอย่างแต่ละคน คล้องพระแต่ละอย่างไม่ค่อยเหมือนกัน บางคนชอบแขวนเหรียญ
รูปเหมือนหลวงพ่อต่างๆ ....บางคนชอบประเภทเครื่องรางของขลัง(ที่รู้อาจารย์ปลุกเศก) พระเครื่องแต่ละอย่างแต่ละชนิด
มีอิทธิปาติหาริย์และประสบการณ์จากผู้ใช้ไม่เหมือนกันอีก บางชนิดสามารถให้ความคุ้มครองในเรื่องกันปืนได้ บางชนิด
มีเมตตามหานิยมบางชนิดแขวนแล้วมีโชคมีลาภ บางชนิดคล้องคอแล้วอยู่ยงคงกระพันชาตรี ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าแขวนพระ,
คล้องพระ, ห้อยพระ, คำทั้ง 3 คำมีความหมายเดียวกัน แต่ก่อนพระเครื่องขอกันได้ให้กันฟรีๆ แต่ปัจจุบันไม่ได้แล้วต้องเป็น
เงินเป็นทองทั้งนั้นโดยให้เช่าบูชา พูดภาษาตลาดก็คือซื้อขายนั่นเอง

ถ้าถามคนทั้งหลายว่าคล้องพระ, แขวนพระ,หรือห้อยพระ, เพื่ออะไร? คนที่ถูกถามจะต้องตอบว่า คล้องเพื่อเป็น
เครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ถ้าถามคนต่อไปว่าแขวนพระเพื่ออะไร? คนที่ถูกถามจะตอบว่าเพื่อความปลอดภัยต่อภยันตราย
ทั้งหลายทั้งปวง ถ้าถามคนต่อไปอีกว่า ห้อยพระเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดความมีเสน่ห์ เมตตามหานิยม ถ้าถามคนทั้งหมดที่
ชอบ พระต่างก็จะได้รับคำตอบที่ไม่เหมือนกับแค่คล้ายคลึงกัน ถ้าถามผมว่าแขวนพระเพื่ออะไร คำตอบของผมก็คือ แขวนพระเพื่อความเคารพสักการะบูชาในองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นมงคลชีวิต

 
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden