ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
แสดง
ธรรมจักกัปวัฒนสูตร คือการหมุนพระธรรมจักรไปข้างหน้าไม่ถอยหลัง
...พระ
ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า "ธรรมจักร
กัปปวัฒนสูตร"
... ตำบลอิสิ
ปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศ
อินเดีย ... ดังนั้น
ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมม
จักกัปปวัตตน
สูตร ...พระบรมศาสดาได้ทรงประกาศ
ธรรม “พระธัมม
จักกัปปวัตน
สูตร” เป็นครั้งแก่พระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิ
ปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ทำให้พระอัญญาโกณฑัญญะบังเกิด “ดวงตาเห็น
ธรรม” ... เริ่มต้นจากชมพูทวีป ประเทศอินเดีย และเนปาล พระธรรมจักร หรือจักรแห่งธรรม
วัดพุทธคยานี้ยังเป็นที่พระพุทธองค์ประทานพุทธานุญาต บวชพระนางมหา
ปชาบดี
โคตรมี ... สถานที่ทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก ...
อิทัง โข ปะนะ ภิกขุเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แล เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ
ชาติปิ ทุกขา
ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา
เมื่อความแก่เข้ามาถึงก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง
เมื่อความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
เมื่อพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง โน ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
และแม้ปรารถนาสิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนาก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปปาทานักขันธา ทุกขา
กล่าวโดยย่อก็คือ การคิดว่าร่างกายเป็นของตัวเรานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดความทุกข์อย่างแท้จริง
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีที่สิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้น เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อย่างแท้จริง
โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทีนิ เสยยะถีทัง กามะตัณหา
คือมีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์
ภะวะตัณหา
สิ่งใดที่ยังไม่มี คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์
วิภาวะตัณหา
และเมื่อมีทุกอย่างสมความปรารถนแล้ว ก็อยากให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป
เมื่อมันต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นมาอีก
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยสัจจัง ฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ
อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการละ วาง ปล่อย
และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด
คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจอย่างแท้จริง
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา
สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสออกให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ
ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ
คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดไปจากกิเลส และดับความทุกข์ได้อย่างแท้จริง ฯ