กรรมวิบากเป็น "
อจินไตย" ไม่สำเร็จด้วยกาีรคิด แต่รู้ได้ ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า"
ฌานสมาบัติ" แล้วเกิด "
อภิญญา"
ด้านการระเบิดจิตนั้น ถ้าทำได้เองหรือใครทำให้ได้ รับรองว่าคนที่โดนระเบิดจิต ไม่มีสิทธิ์มีชีวิตได้ จิตก็รวมไม่ได้ ความหมายคือวิญญาณแตกสลาย จะรวมตัวได้ก็อย่างน้อย ๑ พุทธกัปล์ แล้วเริ่มใช้กรรมใหม่ต่อไป คนที่ทำเช่นนั้นกับในได้ต้องศึกษาทางอวิชชา ถึงขั้นสมาบัติ ๕-๘ แล้วล่ะ
อนึ่งคนที่สามารถล่วงรู้อดีตชาติ รู้กรรมเก่าตนเองนั้น มี ๒ ประการ คือ ๑ ล่วงรู้เองโดยบังเอิญด้วยทุนกรรมดีที่ฝากธนาคารไว้เสริมส่ง ๒ ล่วงรูปด้วยตนเองสามารถฝึกจิตสมาธิถึงขั้นเข้าสมาบัติได้ดีระดับสูงแล้ว หรือบรรลุโสดาปฏิบัติแล้ว
การแก้กรรมนั้นแก้ไขไม่ได้เพราะว่ายังไม่มีใครที่ย้อนอดีตชาติไปแก้ไขตนเอง ได้เลย แม้นแต่พระโพธิสัตว์ หรือพระอรหันต์ มีแต่การใช้กรรมที่กระทำไว้ ซึ่งการใช้กรรมมี ๒ แบบคือ ๑ ใช้กรรมเต็ม คือไปเสวยกรรมที่ตนกระทำไม่ดีไปรับกรรมนั้นก่อน และเสวยกรรมดี หรือเสวยกรรมดีก่อนแล้วค่อยไปเสวยกรรมไม่ดี ตามอายุกรรมของตน ๒ การใช้กรรมแบบทอนกรรม คือใช้กรรมที่ไม่ดีในขณะมีชีวิตอยู่ในส่วนหนึ่งก่อน หรือใช้กรรมดีบางส่วนในขณะมีชีวิตอยู่ บางคนแย้งว่า ไม่น่าใช่... อธิบายเพิ่มว่าได้แน่นอน มีวิธีทอนกรรม แล้วแต่ใครจะมีโอกาสได้รับการชี้แนะให้ทอนกรรมเหล่านั้น เหมือนการรับโทษประหาร ได้รับอภัยโทษเหลือตลอดชีวิต ต่อมาเรื่อยกลับอยู่ในคุกประมาณ ๑๐ ปีก็พ้นโทษ นั่นคือการทอนกรรมที่ให้เห็นเป็นตัวอย่างในโลกปัจจุบัน และในโลกซ้อนโลกนั้น คือกรรมที่จะเสวยในภพหน้า ก็ทอนได้ แต่ต้องมีวิธีกรรมที่ถูกต้อง นั่นหมายถึงเจ้ากรรมนายเวรของตนยินดีละกรรมให้ทอนกรรมได้ เปรียบง่ายๆ ความผิดอย่างไรก็ต้องผิดเสมอ แต่จะรับโทษสถานหนักตามเหตุของโทษเลยหรือมีเหตุลดหย่อน..ฉันใดก็ฉันนั้น ...
คนเราเกิดมามีกรรมกำหนด เพราะเราได้ทำกรรมกับใครก็ต้องชดใช้กรรมกับเขาผู้นั้น จะหนักหรือเบาอยู่ที่เหตุของกรรมประการแรก และประการต่อมานั้น เจ้าของกรรมนั้นอภัยทาน(อโหสิ) ให้จึงมีเหตุลดหย่อนกรรม จึงเป็นเหตุใด้คนเราบางครั้งก็ทำดี แต่ไม่ได้รับผลดีตอบแทน แต่คนทำไม่ดี แต่เจริญก็มี เพราะว่าช่วงนั้นเขาเสวยกรรมหนึ่งอยู่ต่างหาก และคนหลายคนมีเหตุรับกรรมมาเรื่อยๆ จนแทบจะทนไม่ได้ ทั้งๆที่ทำดียังไม่ได้รับผลดี...เพราะไม่ได้รับการแนะนำให้ทอนกรรมที่ถูก วิธีต่างหาก...ตัวอย่างมีมาสมัยพุทธกาล ยกตัวอย่างให้ ๒ ชื่อนะครับ พระโมคคัลลานะ มีฤทธิ์มาก ทำไมจึงปล่อยให้โจรทำร้ายจนกระดูกหักทั่วร่างกาย ก่อนที่ตนเองจะนิพาน องคุลีมาล ฆ่าคนมามากมาย ทำไมสำเร็จอรหันต์ในชาตินั้น... ตรองด้วยเหตุและผลนะครับ...เพราะศาสนาพุทธให้พิจารณาด้วยเหตุและผล รวมทั้งการเอากรรมเป็นที่ตั้ง
การหมดเคราะห์กรรมในศาสนาพุทธ คือการนิพาน ดังนั้นจงตั้งมั่นฝากธนาคารความดีสะสมไว้ดีกว่า ถ้ากรรมหนักอยู่ อยากใช้กรรมนานๆ ด้วยการทอนกรรม ก็ลองค้นหาคำตอบดูนะครับ.. ถ้าอยากใช้เวรกรรมแบบรวดเดียว ก็ควรสร้างกรรมดีให้มาก เมื่อพ้นกรรมไม่ดีแล้วจะได้เสวยกรรมดี สุดท้ายจะได้เข้าสู่ขั้นพ้นกรรม....
ไม่มีใครที่จะหนีรอด ทำได้เพียงผ่อนหนักให้เป็นเบา ก็เหมือนมีหนี้ก็ต้องชดใช้แต่ถ้ายอมรับสารภาพไม่หนีก็ได้รับการลดหย่อนผ่อน เบาได้ แต่ในขณะเดียวกัน การเร่งทำบุญให้มากขึ้นเรื่อยๆก็จะเป็นการผ่อนให้ร้ายทุเลาลงได้มาก..
เคยมีคนกล่าวไว้ว่า หากหมั่นสร้างบุญกุศลมากๆจนผลบุญทั้งเก่าและใหม่รวมกันแล้วมากกว่า-แรงกว่าผลกรรมเก่า ก็จะทำให้กรรมเก่าตามไม่ทัน
กรรมเป็นเรื่องของการกระทำ ไม่ว่ากระทำเมื่อไหร่เวลาไหนก็เป็นกรรมถ้าเป็นอกุศลจิต หรือมิจฉาทิฐฐิ กรรมเป็นเครื่องกำหนด กรรมเป็นเผ่าพันธ์ คิดเป็นชู้กับเขา วินาทีแรกที่คิดก็เป็นกรรมแล้ว วิบากก็คือเส้นทางของกรรม ที่เป็นจริง การหลุดพ้นวิบากนี้ได้ต้องอาศัยการปฎิบัติเท่านั้น...การปฎิบัติเป็นไปเพื่อ ให้ถึงทางหลุดพ้น...นิพพาน.....ความว่างเปล่า
กรรม และวิบากกรรม(ผลของกรรม) มีจริง โดยแยกกรรมและวิบากกรรมเป็นฝ่ายบุญ กับฝ่ายบาป
การเชื่อในเรื่องนี้ถือเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม ที่จุดเริ่มต้นของ "
สัมมาทิฏฐิ"
หนีกรรมกับพ้นกรรม?
หนีกรรม ก็คือ หากอยากอยู่เย็นเป็นสุข ก็คือหนีกรรมชั่ว-บาป ที่เคยทำไว้ทั้งหมด ด้วยการทำดี-บุญ ให้มากๆ(ครุกรรมฝ่ายกุศล สูงสุดคือ การฝึกจิตให้เกิดสมาธิกระทั่งได้ฌานสมาบัติ ส่วนบุญแบบอื่นๆก็ทำให้มากเข้าไว้)
ทำดี-บุญแล้วดีอย่างไร
บุญ-บาป ให้ผลตามลำดับความหนักเบา เช่น บุญหนัก ก็ให้ผลก่อนบุญเล็ก
เป็นต้น ที่นี้ หากเราทำบุญหนักๆไว้มากๆ บุญเหล่านี้ก็รอคิวให้ผล(รอเข้าพบเรา)
ที่นี้ เกิดผิดพลาดทำผิดบาปเล็กๆน้อยๆ พวกนี้จะเข้าพบเราก็ไม่ได้ เพราะมีเด็กเส้นใหญ่ฝ่ายบุญรอเข้าพบเราอยู่เพียบไง แม้บาปอื่นๆก็เช่นกัน(หากไม่ใช่อนันตริยกรรม) หากเป็นบาปธรรมดา ก็จะเข้าพบเราไม่ได้ เพราะมีบุญเส้นใหญ่รอคิวเข้าพบเราอยู่ ก็เป็นอันว่า ชีวิตนี้ พบแต่เรื่องดีๆ เพื่อนดีๆ สำเร็จสมหวัง ประสบแต่ความสุขความเจริญ ใครๆก็อิจฉา อิอิ
(จะเรียกว่าเรือของเราเป็นเรือ-บุญ-เดินสมุทร ก็บรรทุกภาระได้มาก โดยไม่จม แต่หากเป็นเรือแจว ปูน-บาป-สิบกระสอบ ก็จมแล้ว ฯลฯ นี่คือเหตุผลว่าทำบาปเท่ากัน แต่ให้ผลต่างกัน หรือทำบุญเท่ากันแต่ได้รับผลต่างกัน)
หลุดพ้น? ก็ในระหว่างที่บุญให้ผลอยู่ เราก็รีบใช้ัต้นทุนให้เป็นประโยชน์ ศึกษาปฏิบัติธรรม ไตรสิกขา คือ เสาหลักของชีวิต หากหลุดพ้นก็พ้นบ่วงกรรมได้ในที่สุด(ก็เหมือนว่า เราพ้นสนามโน้มถ่วงโลกแล้ว ก็พ้นแล้วจากแรงโน้มถว่งโลก)
แต่หากไม่สำเร็จในภพนี้ ก็ติดตัวไป ให้ผลในทางที่ดี เกิดสัมมาทิฐฏิได้เองในทุกภพชาติที่ไปเกิด
ก็พยายามอธิบายนะเผื่อว่าจะได้บุญบ้าง(บุญสำเร็จด้วยการสนทนาธรรม)
การประพฤติปฏิบัติตนของคุณพ่อคุณแม่ ที่ต้องเป็นคนทำทาน รักษาศีล ปฏิบัติวิปัสสนา มาก่อนจะคิดมีลูก ลูกดีก็จะมาเกิดกับพ่อแม่ดี (บางกรณีอาจจะมีบ้างที่พ่อแม่ดีๆ ต้องมาเจอลูกไม่ดี เพราะมีกรรมต่อกันมา ซึ่งเรื่องของกรรมซึ่งมีความซับซ้อนเกินกว่าที่คนทั่วไปจะอธิบายได้) และการทำทาน รักษาศีล และปฏิบัติวิปัสสนา ไม่ใช่ว่าจะทำตอนที่จะมีลูก ของแบบนี้ต้องสะสม เริ่มทำเสียตั้งแต่วันนี้ ไม่ว่าจะมีลูกหรือไม่มีลูก ก็มีผลดีต่อชีวิตของเราเองทั้งนั้นนะคะ
นอกเหนือจากเรื่องกรรม แล้ว เรื่องการเลี้ยงดูก็สำคัญมากค่ะ ถ้าเราเลี้ยงเขาให้เป็นคนดี รู้จักการสละออกด้วยการทาน ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นด้วยการรักษาศีล ส่งเสริมให้รู้จักการปฏิบัติภาวนา ก็จะเป็นการเติมกรรมใหม่ที่ดี ที่สร้างความสว่างให้กับชีวิตของลูก ก็นับเป็นทางดีที่สุดในการสร้างกรรมดีใหม่ๆ ให้สู้กับกรรมเก่าที่แต่ละคนต่างมีมากันคนละมากๆ ได้