yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง
คุณธรรม ๖ ประการ 

คุณธรรมที่ทำให้มั่นใจว่าจะบรรลุธรรมในชาติปัจจุบันอีก 6 ประการ คือ …

 

1. จะต้องเป็นบุคคลที่ไม่อนันตริยกรรม 5 ประการเป็นเครื่องกั้น คือ

 

 

- ไม่ทำร้ายพระพุทธองค์ให้ห้อเลือดหรือเจ็บปวด

 

 

- ไม่ฆ่าหรือทำร้ายพระอรหันต์ให้ถึงแก่อนิจกรรรม

 

 

- ไม่ฆ่ามารดาให้ถึงแก่กรรม

 

 

- ไม่ฆ่าบิดาให้ถึงแก่กรรม และ

 

 

- ไม่ทำสงฆ์ให้แตกความสามัคคีกัน

 

 

2. จะต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีวิบากกรรมเป็นเครื่องกั้นกล่าวคือ เป็นชายจริงหญิงแท้ ไม่ใช่กระเทย เกย์ ตุ๊ด ดี้ ทอม ไม่ใช่พญานาคแปลงร่างมาเป็นมนุษย์ ไม่พิกลพิการต่างๆ ไม่เป็นใบ้บ้า สติวิปลาส ไม่เป็นโรคร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ แต่มีอาการครบ 32 ประการ

 

 

3. จะต้องเป็นบุคคลที่มีศรัทธา มีความเพียร มีฉันทะ มีความรัก ความพอใจที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ไม่เกียจคร้าน ไม่เห็นแก่กิน แก่นอน แก่เที่ยว ไม่เห็นแก่สนุกสนาน เพลิดเพลินในกามคุณ

 

 

4.จะต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีมารยาทเจ้าเล่ห์ โอ้อวด อยากเด่นอยากดัง เป็นคนเปิดเผยความชั่ว ความเลวของตนอย่างเปิดเผย ไม่มักเปิดเผยความดีเพื่อโอ้อวดคุณธรรมของตน เพื่อความอยากเด่นอยากดัง

 

 

5. จะต้องเป็นบุคคลที่มีธาตุในร่างกายสมบูรณ์บริบูรณ์ ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป ไม่เป็นคนขี้โรค สามวันดีสี่วันไข้ เจ็บๆป่วยๆอยู่เป็นประจำ

 

 

6. จะต้องเป็นบุคคลที่มีปัญญาพอสมควร ไม่ใช่โง่เขลาจนฟังธรรมอะไรไม่รู้เรื่องจำอะไรก็ไม่ได้เลย สอนอะไร ท่องอะไร ก็จำไม่ได้

 


พรหมวิหารธรรม 20 ประการ
( ธรรมที่อุปการะแก่สมาธิภาวนา )

 

1. เป็นผู้บำเพ็ญไตรสิกขา

2. เป็นผู้อาจหาญ

3. เป็นผู้ซื่อตรง

4. เป็นผู้ว่าง่าย

 

 

5. เป็นผู้อ่อนโยน

6. เป็นผู้ไม่เย่อหยิ่ง

 

 

7. เป็นผู้สันโดษ

8. เป็นผู้เลี้ยงง่าย

 

 

9. เป็นผู้มีกิจน้อย

10. เป็นผู้มีความประพฤติเบา

 

 

11. เป็นผู้มีอินทรีย์อันสงบ

12. เป็นผู้มีปัญญารักษาตน

 

 

13. เป็นผู้ไม่คะนอง

14. เป็นผู้ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

 

 

15. เป็นผู้ไม่ทำให้ผู้รู้ติเตียน

16. เป็นผู้ไม่ข่มขู่สัตว์

 

 

17. เป็นผู้แผ่เมตตาจิตให้สัตว์ทั้งหลายเป็นสุข

18. เป็นผู้ไม่ปรารถนาทุกข์แก่กันและกันเพราะความโกรธ

 

 

19. เป็นผู้เจริญเมตตาในสัตว์ทั้งปวงหาประมาณไม่ได้ 20. เป็นผู้ปราศจากความง่วงเหงา ตั้งสติไว้เป็นนิตย์

 

 

 

 

 

โพธิปักขิยธรรม 37

 

 

 

โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ คือคุณธรรมต่างๆที่จะช่วยส่งเสริมการปฏิบัติให้สำเร็จดังนี้

 

 

1. จงเตรียมความเพียรพยายาม (สัมมัปปธาน 4) อันถูกต้องชอบด้วยธรรม 4 ประการ

 

- ความเพียรพยายามกำจัดบาป ความชั่ว อกุศล ทางกาย ทางวาจา และทางจิตใจ ให้หมดไปด้วยความเพียรอัน แน่วแน่ไม่หวั่นไหวใ อุปสรรค

 

 

- ความเพียรพยายามระมัดระวัง ไม่เผลอ ไม่ประมาท ปล่อยให้มีการ ทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่ว เกิดขึ้นมาอีก เมื่อ กำจัดหรือละได้แล้ว

 

 

- ความเพียรพยายามทำบุญกุศล ความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจให้เจริญขึ้น เกิดขึ้นให้มากที่สุดและมั่น คงตลอดไป

 

 

- ความเพียรระมัดระวังไม่เผลอ ไม่ประมาทให้บุญกุศล ความดีที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ปล่อยให้เสื่อมไป หมดไป สลายไป

 

 

 

 

2. จงเตรียมหัวใจแห่งความสำเร็จกิจทั้งปวง 4 ประการ (อิทธิบาท 4)

 

- ฉันทะ ความรักความพอใจ ความศรัทธาที่จะบำเพ็ญภาวนา ให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ให้สำเร็จให้จงได้ไม่ทอดทิ้งธุระไปเสียก่อน

 

 

- วิริยะ ความเพียร ความขยัน ความเอาจริง ความแน่วแน่ ไม่ท้อถอยความไม่หมดกำลังใจ ความบากบั่นให้ก้าวหน้า ความริเริ่ม ความไม่หยุด    อยู่กับคุณธรรมเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ความเพียรจนกว่าจะบรรลุมรรค ผล นิพพาน

 

 

- จิตตะ ความตั้งใจมั่นคงไม่คลอนแคลน ไม่โลเล ไม่เปลี่ยนใจ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หดหู่ ไม่ระแวงสงสัยในการบำเพ็ญธรรม ถึงแม้ปัจจุบันไม่ประสบความสำเร็จก็อธิษฐานจิตเพื่อบำเพ็ญต่อชาติหน้าอีก

 

 

- วิมังสา ความใคร่ครวญพิจารณา ความไตร่ตรอง ความเพ่งพินิจกายในกาย จิตในจิต ธรรมในธรรม เวทนาในเวทนา เพื่อให้เห็นสัจธรรมแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 

 

 

3. จงเตรียมพละกำลัง (พละ 5) อันยิ่งใหญ่เพื่อให้ประสบความสำเร็จ 5 ประการ คือ

 

- ศรัทธาพละ กำลังคือความศรัทธาแนวแน่มั่งคงต่อจิตตภาวนาเพื่อให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ให้จงได้

 

 

- วิริยะพละ กำลังคือความเพียรยิ่งใหญ่ 4 ประการ ต่อการบำเพ็ญจิตตภาวนา เพื่อให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ให้จงได้

 

 

- สติพละ กำลังคือความมีสติไม่เผลอไม่ประมาทต่อบาป อกุศล ความชั่วต่อกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ต่อกิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด ทั้งปวง

 

 

- สมาธิพละ กำลังคือความมีจิตตั้งมั่นสงบเป็นเอกัคคตาจิต ไม่ปรุงแต่งไม่ฟุ้งซ่าน ปราศจาก นิวรณ์ 5

 

 

- ปัญญาพละ กำลังคือความรอบรู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์

 

 

 

4. จงเตรียมอำนาจความเป็นใหญ่แห่งใจ (อินทรีย์ 5)ให้ถึงพร้อม 5 ข้อ

 

-  สัทธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางใจ คือเชื่อมั่น ศรัทธา จะต้องให้ถึงพร้อม ไม่สงสัยระแวงใดๆ ต่อการบำเพ็ญสมณธรรม

 

 

- วิริยินทรีย์ ความเป็นใหญ่แห่งใจ ความเพียรพยายามอย่างแน่วแน่เด็ดเดี่ยวมั่นคงต่อการบำเพ็ญต่อการบำเพ็ญสมถธรรม ให้ถึงที่สุดคือ นิพพาน

 

 

- สตินทรีย์ ความเป็นใหญ่แห่งใจ คือความมีสติไม่เผลอไม่ประมาทต่อความยินดี ความยินร้าย ความหลงติด ยืดมั่นสิ่งทั้งปวง

 

 

- สมาธินทรีย์ความเป็นใหญ่แห่งใจ คือความมีจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งในการบำเพ็ญจิตตภาวนา
จนเป็นสัทธรรมแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 

 

- ปัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่แห่งใจ คือปัญญาความรอบรู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์

 

 

 

5. จงเตรียมมหาสติ (สติมหาปัฏฐาน 4) ไม่เผลอ ไม่ประมาท 4 ประการ

 

-  กายในกาย ความมีสติไม่เผลอไม่ประมาทในการพิจารณา มหาพิจารณา กายในกาย ให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เห็นความไม่สะอาดไม่งามแห่งกาย เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายความยินดี ความพอใจ ความยึดมั่นในกายทั้งปวง

 

 

- เวทนาในเวทนา ความมีสติไม่เผลอไม่ประมาทในการพิจารณา มหาพิจารณา เวทนาในเวทนา ให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในเวทนาทั้งปวง เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายความยินดี ยินร้าย ความยึดมั่นในเวทนาทั้งปวง

 

 

- จิตในจิต ความมีสติไม่เผลอไม่ประมาทในการพิจารณา มหาพิจารณา จิตในจิต เพื่อให้เห็นความจริงว่า จิตของตนนั้นเกิดกิเลส 1500 ตัณหา 108 นิวรณ์ 5 อุปาทาน 4 ในจิตหรือไม่ แล้วกำจัดออกไปจากจิต โดยเห็นความจริงว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วคลายความยินดี ยินร้ายลง

 

 

- ธรรมในธรรม ความมีสติ ไม่เผลอไม่ประมาทในในการพิจารณา มหาพิจารณา ธรรมในธรรม ให้เห็นความจริงว่า จิตของตนขณะนี้เกิดกุศลธรรม หรืออกุศลธรรม หรืออัพยากตธรรม แล้วให้ละอกุศลกรรม เจริญกุศลธรรมให้ยิ่งๆขึ้นไป จนจิตผ่องใส ว่างจากอาสวะ กิเลส ธุลีทั้งปวง จนถึงวิมุตติจิต สุญญตาธรรม

 

 

 

6. จงเตรียมองค์ธรรมให้ตรัสรู้ (โพชฌงค์ 7) สัทธรรมความจริง 7 อย่าง

 

- สติสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมให้ตรัสรู้คือ ความมีสติ ไม่เผลอ ไม่ประมาทในทางกาย ทางวาจา และทางใจ โดยเฉพาะไม่เผลอยินดี(ราคะ) ยินร้าย(โทสะ) ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ และไม่เผลอหลงคิด ยึดมั่นถือมั่น (โมหะ) ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์

 

 

- ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมให้ตรัสรู้คือ การใคร่ครวญพิจารณา มหาพิจารณาให้เห็นสัทธรรมความจริงว่า อะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุแห่งทุกข์ อะไรคือความดับทุกข์ และอะไรคือทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ โดยการใคร่ครวญ พิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม

 

 

- วิริยะสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมให้ตรัสรู้คือ ความเพียรกระทำติดต่อไม่ทอดธุระเสียในระหว่างมีความริเริ่ม มีความก้าวหน้า
มีความแน่วแน่มั่นคงต่อการบำเพ็ญเพียรภาวนาให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ให้จงได้ แม้เลือด เนื้อ ชีวิตจะถึงแตกดับจิตใจจะไม่ทอดธุระต่อการทำความเพียรต่อไป

 

 

- ปิติสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมให้ตรัสรู้คือ ความอิ่มใจความสุขใจ ความปิติสุขเมื่อตนได้ทำความเพียรได้ทำหน้าที่ของการเป็นนักพรต นักบวชอย่างบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง ไม่ทุจริตเศร้าหมองใดๆ ในศีลวินัยที่พระศาสดาตรัสไว้ดีแล้วไม่ละเมิดคำสอนของพระพุทธองค์ประพฤติปฏิบัติตนสมควรแก่ธรรมยิ่งๆขึ้นไป ไม่หยุดอยู่แค่นั้นเกิดปิติสุข

 

 

- ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมให้ตรัสรู้คือ ความสงบระงับจากนิวรณ์ธรรมคือ ราคะ พยาบาท ความฟุ้งซ่าน รำคาญ ความเกียจคร้านเห็นแก่นอน ความสงสัย ไม่ปลง ไม่เชื่อ จนได้สมาธิ ฌานสมาบัติ อันเป็นความสุข ความสงบอย่างยิ่ง

 

 

- สมาธิสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมให้ตรัสรู้คือ จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งไม่ฟุ้งซ่าน จิตมั่นคงอยู่กับ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม จิตมั่นคงอยู่กับที่สมถกรรมฐาน 40 ,วิปัสนากรรมฐาน 16 จิตมั่นคงอยู่กับ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ และสุญญตาสมาธิ

 

 

- อุเบกขาสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมให้ตรัสรู้คือ การวางเฉย ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ติด ไม่ยึดมั่น ถือมั่นสิ่งทั้งปวง ธรรมทั้งปวง ทั้งกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม จนจิตหลุดพ้นจาก กามคุณ รูปฌาน อรูปฌาน ในที่สุดก็หลุดพ้นจาก กามภพ รูปภพ อรูปภพ เสวยสุขอย่างยิ่งในนิพพาน

 

 

 

7. จงเตรียมหนทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ (อริยะมรรค สิ้นกิเลสตัณหา 8 ประการ

 

1) ความเห็นชอบ(สัมมาทิฐิ) คือ ความเห็นสัทธรรมความจริงว่า

 

 

- ทุกข์ทั้งปวง อันเกิดจากผลของเหตุ

 

 

- สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง คือ อวิชชา 8,สังขาร 3, วิญญาณ 6,รูปนามขันธ์ 5, อายตนะ 6, ผัสสะ 6 ,เวทนา 3,อุปาทาน 4, ภพ 3 , ชาติ,ทุกข์ ทั้งปวง

 

 

- นิโรธ ความดับทุกข์ทั้งปวงคือ การดับอวิชชาด้วยวิชา เมื่อวิชาเกิดก็ดับอวิชชา ,ดับสังขาร 3,ดับวิญญาณ6, ดับรูปนามขันธ์ 5,ดับอายตนะ 6,ดับผัสสะ 6,ดับเวทนา 3,ดับอุปาทาน 4,ดับภพ 3 ,ดับชาติ และในที่สุดทุกข์ทุกข์ทั้งปวงก็ดับสนิท

 

 

2) ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) คือความดำริไม่ได้เกิดความยินดี (ราคะ โลภะ) ความดำริไม่ให้เกิดความยินร้าย(โทสะ) และความดำริไม่ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น(โมหะ) ในกามทั้งปวง ในภพทั้งปวง ในมิจฉาทิฐิทั้งปวง และในอวิชชาความหลงใหลในสิ่งทั้งปวง

 

 

3) การเจรจาชอบ (สัมมาวาจา) คือการพูดที่เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดคำหยาบ คำนินทา คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อไร้สาระ พูดแต่สัทธรรม พูดแต่สิ่งที่เป็นสาระช่วยให้หลุดพ้นจากทุกข์ โทษ ภัย เวร อันตรายทั้งปวง พูดมีประโยชน์ในปัจจุบันประโยชน์อนาคต และพูดถึงประโยชน์อย่างยิ่งคือการพูดให้เกิดวิมุตติ หลุดพ้นจากวัฎฏสงสาร

 

 

4) การชอบงาน กุศลกรรม (สัมมากัมมันตะ) คือการทำงาน การประกอบแต่สิ่งที่เป็นกุศลกรรม เว้นอกุศลกรรม เช่น เว้นจากผิดศีล ผิดวินัย ผิดกฎหมาย ผิดประเพณีวัฒนธรรม กล่าวคือ

 

 

- เว้นจากทำบาปทางกาย การฆ่าคนฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักขโมย เว้นจากการผิดในทางเป็นชู้

 

 

- เว้นจากการทำบาปทางวาจา พูดเท็จ พูดหยาบ พูดนินทา พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ่อไร้สาระ

 

 

- เว้นจากการทำบาปทางใจ การละโมบอยากได้ อยากทุจริต การคิดร้าย ให้ทุกข์ให้โทษ เบียดเบียนผู้อื่น ความคิดที่เต็มไปด้วยราคะ โทสะ โมหะ

 

 

 

5) การเลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ) คือการเลี้ยงชีวิตด้วยปัจจัยอันได้มาจากอาชีพการงานสุจริต เว้นจากการเลี้ยงชีวิตปัจจัยอันได้มาจากทุจริตมิชอบธรรม

 

 

6) ความเพียรพยายามชอบ(สัมมาวายามะ) คือความเพียรละบาป อกุศล ความชั่ว ความเลว เว้นจากการผิดศีล ผิดวินัย สิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งปวง ความเพียรพยายามระมัดระวัง มิให้บาป อกุศล ความชั่ว ความเลว การผิดวินัย สิ่งอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นมาอีก และความเพียรพยามยามระมัดระวัง ไม่เผลอ ไม่ประมาท ให้บุญกุศล ความดี วิชชา วิมุติทั้งหลายที่มีอยู่แล้วเสื่อมไปสูญไปโดยเด็ดขาด

 

 

7) ความมีสติชอบ (สัมมาสติ) คือความมีสติระลึกอยู่แต่กายในกาย เวทนาในเวทนา ธรรมในธรรม และจิตในจิต จนเห็นสัทธรรมความจริงว่าสิ่งทั้งปวงคือ กายก็ดี เวทนาก็ดี จิตก็ดี ธรรมในธรรมก็ดี ล้วนมีสภาพเป็นอนิจจตา ทุกขตา อนัตตา อนิมิตตา อัปปณิหิตตา สุญญตา ธรรมธิติตา ตถาตา อิทัปปัจจยตา อตัมยตา

 

 

8) ความมีสมาธิชอบ (สัมมาสมาธิ) กล่าวคือความมีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวมีความแน่วแน่อยู่กับ

 

 

- อนิมิตตสมาธิ สมาธิที่ไม่ติดอยู่กับนิมิตหมายใดๆ ทั้งปวง เพราะสิ่งทั้งปวงล้วน อนิจจังไม่เที่ยง

 

 

- อัปปณิหิตสมาธิ สมาธิที่ไม่มีความปรารถนาต้องการอยากได้อะไรในโลกทั้งปวง เพราะเห็นสิ่งทั้งปวงล้วนมีสภาพทุกขัง เป็นทุกข์ เป็นโทษ มีความวิบัติ ฉิบหาย หายนะในที่สุด

 

 

 

- สุญญตาสมาธิ สมาธิที่มีความว่างเปล่า ปราศจากตัวตน เรา เขา สัตว์ บุคคลเพราะธรรมทั้งปวง สิ่งทั้งปวงล้วนเป็นอนัตตา สุญญตาในที่สุด

 

 

อัธยาศัย 7 ประเภท

 

 

 

อัธยาศัย หรือ อัชฌาสัย หมายถึง จริตนิสัยใจคอ

 

นักบำเพ็ญ นักปฏิบัติธรรมเพื่อให้สิ้นความทุกข์ สิ้นกิเลสตัณหา มิจฉาทิฐิ อวิชชา สังโยชน์ เพื่อนิพพาน ย่อมมีวาสนาที่อบรมมาตั้งแต่อดีตชาติของแต่ละคนไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน มีอัธยาศัยจริตนิสัยสันดานแต่ละคนไม่เหมือนกันแตกต่างกันไป ซึ่งยากที่ปุถุชนคนธรรมดา แม้ตัวเองก็ไม่รู้ว่าตัวเองเคยบำเพ็ญและมีอัธยาศัยอย่างไรชอบใจในการบำเพ็ญแบบใดในอดีตชาติมาก่อน แม้พระอรหันต์ฝ่ายปัญญาวิมุตติ ก็รู้ผู้อื่นไม่ได้ มีแต่พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวในโลกเท่านั้น ที่ทรงทราบอัธยาศัยจริตสันดานของพระพุทธสาวกได้อย่างถูกต้องตามจริต นิสัยสันดานที่เคยบำเพ็ญมาแต่อดีตชาติปางก่อน

 

 

พระพุทธองค์ทรงตรัสอัธยาศัยของบุคคลไว้ 7 จำพวก คือ
1. อุภโตภาควิมุตติบุคคล หมายถึง บุคคลที่เคยบำเพ็ญมาทางสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กันมาอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อดีตชาติปางก่อน ชาติสุดท้ายแห่งการบรรลุพระอรหันต์ จึงได้สำเร็จสมาธิถึงอำนาจรูปฌาน 4 และ อรูปฌาน4 ( สมาบัติ ) แล้วเจริญโสฬสญาณ 16 ( วิปัสสนาญาณ ) จนบรรลุธรรมสูงสุดคือ พระอรหันต์พร้อมทั้งได้วิชชา 3 หรือบางองค์ได้อภิญญา 6 หรือได้ปฏิสัมภิทาญาณ 4

 

 

วิชชา 3 คือ

 

  • 1. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้

  • 2. จุตูปปาตญาณ มีตาทิพย์และรู้การเกิดและการตายของสัตว์โลกว่าเกิดจากเหตุอะไร

  • 3. อาสวักขยญาณ วิชชาทำอาสวะกิเลสให้สิ้นจากกายใจ)

 

อภิญญา 6 คือ

 

  • 1. อิทธิวิธี แสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์ได้

  • 2. ทิพพโสตญาณ มีหูทิพย์ได้ยินเสียงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยิน

  • 3. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้

  • 4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้

  • 5. ทิพจักขุญาณ ตาทิพย์

  • 6. อาสวักขยญาณ ทำกิเลสอาสวะให้สิ้น

 

ปฏิสัมภิทาญาณ 4 ( ตามแตกฉานธรรม ) คือ

 

  • 1. อัตถปฏิสัมภิทา ความเข้าใจแจ่มแจ้งในอรรถะ คือ เนื้อความ ใจความ ความหมาย ความมุ่งหมาย ผล และประโยชน์ทั้งปวงพร้อมทั้งสามารถขยายความย่อๆให้พิสดารได้

  • 2. ธรรมปฏิสัมภิทา ความเข้าใจแตกฉานในธรรมทั้งปวงแล้ว สามารถเรียบเรียงเป็นเรื่องราว เป็นหนังสือเป็นหัวข้อเทศได้เป็นอย่างดีวิเศษ

  • 3. นิรุตติปฏิสัมภิทา ความเข้าใจแตกฉานในภาษาพูด ภาษาเขียนให้ผู้อ่านผู้ฟังรู้เรื่อง เข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน หมดความสงสัย

  • 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน มีไหวพริบ ฉลาดในการพูดปราศรัยการโต้ตอบปัญหาธรรม พร้อมทั้งสามารถเปรียบเทียบให้เข้าใจได้อย่างดี

 

จึงเห็นชัดเจนแล้วว่า อุภโตภาควิมุติ ท่านหลุดพ้นจากวัฏสงสารพ้นจากกิเลสตัณหาด้วยฌาน และสมาบัติ แล้วยกจิตสู่วิปัสสนาญาณจนสำเร็จอรหันต์พร้อมทั้งได้ญาณวิเศษ คือ วิชชา 3 บ้าง,อภิญญา 6 บ้าง,ปฏิสัมภิทาญาณ 4 บ้าง แล้วแต่อัธยาศัยที่ท่านเหล่านี้เคยอธิษฐานไว้แต่ชาติบางก่อน ซึ่งเมื่อบรรลุธรรมสูงสุดแล้ว วิชชา ญาณวิเศษเหล่านี้ จะเกิดขึ้นเองอัตโนมัติเมื่อบรรลุอรหันต์ แม้ไม่ตั้งใจอยากได้ก็เกิดขึ้น ห้ามไม่ได้

2. ปัญญาวิมุตติบุคคล ( สุขวิปัสสโก ) หมายถึง บุคคลที่เคยบำเพ็ญมาแต่เฉพาะวิปัสสนาญาณไม่เคยบำเพ็ญมาทางอำนาจสมาบัติมาก่อนในอดีตชาติ เพราะฉะนั้นบุคคลประเภทนี้ เมื่อวาสนาบารมีแก่กล้าสมบูรณ์แล้วชาติสุดท้าย แม้เพียรพยายามบำเพ็ญทางฌานสมาบัติมากเท่าไร ก็ไม่สำเร็จฌานสมาบัติ 4 เลย แต่พอเจริญวิปัสสนาญาณถูกต้องจึงบรรลุธรรมสูงสุดสำเร็จเป็นพระอรหันต์ โดยไม่ได้ฌานวิเศษหรือวิชชา 3 หรืออภิญญา 6 แต่บางองค์อาจจะแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณ 4 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ไม่เหมือนกันทุกองค์แล้วแต่แรงอธิฐานชาติปางก่อนของท่านนั้นๆ บุคคลประเภทนี้จึงหลุดพ้นจากวัฏสงสารหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาด้วยอาศัยปัญญาล้วนๆ

3. สัทธาวิมุตติบุคคล หมายถึง บุคคลที่เคยมีการเลื่อมใสศรัทธามั่นคงต่อการบำเพ็ญพรต การประพฤติพรหมจรรย์มาอย่างสูงตั้งแต่อดีตชาติปางก่อน เคยมีความศรัทธามาอย่างสูงมาตั้งแต่ชาติปางก่อน เคยมีความศรัทธาอย่างยิ่ง ที่จะได้เป็นพระอริยะเจ้าหรือได้พบพระพุทธองค์ พบพระศาสดา เพื่อจะได้ฟังพระสัทธรรมคำสอน เพื่อสร้างสมบุญบารมีให้ได้พบพระพุทธองค์ หรือได้พบพระอรหันต์แล้ว จึงมีความศรัทธาสูงยิ่ง เมื่อได้ฟังพระสัทธรรมปรมัตถ์แล้วก็น้อมใจเชื่อถือ ปล่อย สละ ละ ว่าง วางเฉย ตามพระสัทธรรม ได้อย่างรวดเร็ว หากพระพุทธองค์หรือพระอริยะเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติอย่างไร ก็จะปฏิบัติอย่างไม่มีความสงสัยใดๆ จนบรรลุธรรมตามลำดับ คือ พระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ด้วยการฟังธรรมพระพุทธองค์ หรือพระอรหันต์ ชนิดไม่ต้องการอาศัยการบำเพ็ญเพียรฌานสมาบัติ หรือเจริญวิปัสสนาญาณที่ยาวนานเลย จึงเป็นบุคคลที่หลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร หลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ด้วยอาศัยตามศรัทธาน้อมใจเชื่อโดยส่วนเดียว บุคคลประเภทนี้บางองค์ อาจจะได้วิชชา 3 หรืออภิญญา 6 หรือแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณ 4 ไม่เหมือนกันทุกองค์ แล้วแต่แรงอธิษฐานในชาติปางก่อนซึ่งส่วนใหญ่จะสำเร็จด้วยปัญญาวิมุตติ ไม่ได้วิชชา 3 ไม่ได้อภิญญา 6 หรือปฏิสัมภิทาญาณ 4 เป็นพระอรหันต์ อนาคามี สกิทาคามี โสดาบันประเภทสุขวิปัสสโก เสียมากกว่า

4. กายสักขีบุคคล หมายถึงบุคคลที่ได้อาศัยกัลยามิตร มิตรที่ดี เป็นบัณฑิต เป็นผู้รู้ เป็นสัตบุรุษ เป็นพระขีณาสพ หรือพระพุทธองค์แนะนำอบรม สั่งสอนให้บำเพ็ญเพียรภาวนา เป็นสัมมาปฏิบัติถูกต้องชอบธรรมแล้วทำให้สำเร็จฌาณสมาบัติบางชนิดแล้ว สามารถเจริญวิปัสสนาญาณ จนบรรลุมรรคผลบางชนิด คือพระโสดาบัน สกิทาคามี หรืออนาคามี ชนิดหนึ่งชนิดใด ถ้ายังไม่สำเร็จพระอรหันต์ ก็ต้องทำความเพียรศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป กายสักขีบุคคลเป็นบุคคลที่ใกล้พระนิพพานแล้ว และจะบรรลุนิพพาน แล้ว และจะบรรลุนิพพานได้แน่นอนที่สุด ไม่ชาติปัจจุบันก็ชาติหน้าต่อไปตามวาสนาบารมีของแต่ละท่านที่อบรมมาไม่ เหมือนกัน มีอบายภูมิ 4 สิ้นแล้ว หากเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ

5. ทิฎฐิปปัตตบุคคล หมายถึง บุคคลที่ได้อาศัยกัลยาณมิตร มิตรที่ดีเป็นบัณฑิต ผู้รู้ สัตบุรุษ เช่น พระพุทธองค์ หรือพระขีณาสพ อบรมแนะนำสั่งสอนให้ทำความเพียรภาวนา ฟังธรรมศึกษาธรรม ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ จึงเกิดความเห็นชอบเป็นสัมมาทิฐิ คลาย ละ มิจฉาทิฐิเสียได้เป็นส่วนมาก โดยไม่ประสบความสำเร็จอำนาจฌานสมาบัติ แต่ด้วยอาศัยความเห็นชอบสัมมาทิฐิ จึงทำให้อาสวะกิเลสบางชนิดสิ้นไปจนบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน หรือ สกิทาคามี หรืออนาคามีบุคคลได้ แต่ยังไม่ถึงกับสำเร็จพระอรหันต์ จึงยังต้องศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไปแต่ก็มีกระแสนิพพานใกล้ต่อการบรรลุธรรมสูงสุดได้ ไม่ชาติปัจจุบันก็ชาติหน้าต่อไปแต่พ้นจากอบายภูมิแน่นอน

6. ธัมมานุสารีบุคคล
หมาย ถึงบุคคลที่หมั่นศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรมปฏิบัติตนชอบด้วยศีลสมาธิ ปัญญา มีกายกรรมบริสุทธิ์ มีวจีกรรมบริสุทธิ์ มีมโนกรรมบริสุทธิ์ มีกายสุจริต และมโนสุจริต เป็นบุคคลที่มีความเห็นถูกต้อง ความดำริถูกต้องการเจรจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ มีความเพียรชอบ มีสติชอบ และมีสมาธิชอบจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ดำเนินไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม จนทำให้อาสวะกิเลสตัณหาเบาบางลงแต่ไม่สำเร็จฌานอำนาจฌานสมาบัติชั้นสูง แต่อาจบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันหรือสกิทาคามี หรืออนาคามีบุคคล อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยอาศัยปัญญา แต่ยังต้องศึกษาประพฤติปฏิบัติต่อไปเพราะยังไม่สำเร็จอรหันต์ ยังไม่หมดสิ้นกิเลสตัณหา แต่ก็อยู่ในกระแสนิพพานก็อยู่ในกระแสแห่งนิพพาน อาจจะสำเร็จในชาติปัจจุบัน หรืออนาคตต่อไปได้แน่นอน ไม่ไปกำเนิดในอบายภูมิอย่างเด็ดขาด และเที่ยงแท้ที่จะเกิดในสวรรค์ หรือพรหมโลก

 

7. สัทธานุสารีบุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในเหล่าพระขีนาสพ ในผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยธรรมบางท่าน แล้วเกิดจิตเลื่อมใส คอยสดับพระสัทธรรมคำสอนด้วยความเคารพเลื่อมใสอย่างจริงใจ เมื่อเวลาใดได้ฟังพระสัทธรรมคำสอนแล้วจะเกิดความศรัทธา เมื่อเกิดความศรัทธาก็จะเป็นเหตุให้เกิด โยนิโสมนสิการ การน้อมนำเอาสัทธรรมที่ฟังมาไตร่ตรอง พิจารณาด้วยใจอย่างเลื่อมใสจนเกิดสติสัมปชัญญะ เมื่อสติสัมปชัญญะ เกิดก็เป็นเหตุให้เกิดความสำรวมไม่ประมาท เมื่อมีความสำรวมไม่ประมาท กายก็สุจริต วจีก็สุจริต มโนก็สุจริต ก็เป็นเหตุให้เกิดสติปัฏฐาน 4 การพิจารณากายในกาย จิตในจิต ธรรมในธรรม เวทนาในเวทนา จนเป็นปัจจัยให้เกิดโพชฌงค์ 7 มีสติ มีธรรมวิจัย มีวิริยะ มีปิติ มีปัสสัทธิ มีสมาธิ และมีอุเบกขา จนในที่สุดก็ทำให้เบาบางจาก อาสวะกิเลสตัณหาบางชนิดได้ โดยไม่สำเร็จฌาน สมาบัติชั้นสูงใด ๆ แต่อาจจะบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี หรืออนาคามีบุคคลได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสัทธานุสารีบุคคลนี้เที่ยงแท้ที่จะบรรลุธรรมสูงสุดได้ ไม่ชาติปัจจุบันก็ชาติหน้าต่อไป และจะไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ 4 คือ นรก เปรต อสูรกายและสัตว์เดรัชฉาน อีกต่อไปชั่วนิรันดร์ เพราะอำนาจการบรรลุธรรมชั้นพระโสดาบันขึ้นไปอย่างต่ำสุดอาจเกิดในมนุษย์อีกเพียง 1-7 ชาติเท่านั้น ก็จะบรรลุอรหันต์เข้าสู่นิพพาน.
จึงขอให้นักปฏิบัติธรรมที่ต้องการคลายทุกข์ สิ้นกิเลสตัณหา เห็นสัทธรรมความจริงว่าการบำเพ็ญภาวนาสมถะกรรมฐานก็ดี วิปัสสนากรรมฐานก็ดี เป้าหมายสุดยอดคือความสิ้นทุกข์ สิ้นกิเลส ตัณหา อุปาทาน มิจฉาทิฐิ อกุศลกรรมชั่วทั้งปวงเพื่อให้ได้ความสงบเย็น สุขอย่างยิ่งคือนิพพาน ไม่ใช่บำเพ็ญภาวนาสมถวิปัสสนาเพื่ออิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ความอยากเด่น อยากดัง ด้วยเดรัจฉานวิชา ด้วยฤทธิ์ของอำนาจฌานสมาบัติ ส่วนการได้วิชชา 3 (เตวิชโช), อภิญญา 6 (ฉฬภิญโญ), ปฏิสัมภิทาญาณ 4 นั้นเป็นรางวัลพิเศษของแต่ละท่านที่จะเกิดขึ้นเองเมื่อสำเร็จจอรหันต์ แต่ถ้าหากไม่ได้ญาณวิเศษดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร เพราะความสำคัญที่สุดคือ จิตที่หลุดพ้นจากกิเลสตัณหา มีความสุขอย่างยิ่ง รู้แจ้งนิพพานต่างหาก

 

 

 

 

ดูปัจจุบันชาติ

 

คุณธรรมที่ทำให้มั่นใจว่าจะสำเร็จมรรคผลนิพพานในชาติปัจจุบันชาติ ผู้มีสิทธิ์ มีวาสนา บารมี จะบรรลุธรรมในชาติปัจจุบันจะต้องมีคุณธรรมต่อไปนี้ให้ครบถ้วนบริบูรณ์เสียก่อน คือ ไม่มีมิจฉาทิฐิ 10 ประการ

 

 

1. จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเห็นชอบว่า การเสียสละให้ทานย่อมมีผล มีอานิสงส์ ทั้งในปัจจุบัน และปรภพชาติหน้า ไม่ใช่ไม่มีผลอะไร

 

 

2. จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเห็นชอบว่า การบวงสรวง การบูชายัญเทวดา ย่อมมีผล มีอานิสงส์ ทั้งในปัจจุบันและปรภพหน้า ไม่ใช่ไม่มีผลอะไร

 

 


3. จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเห็นชอบว่า การบูชาด้วยอามิสบูชาและการปฏิบัติบูชาย่อมมีผล มีอานิสงส์ ทั้งในปัจจุบันและในปรภพชาติหน้า ไม่ใช่ไม่มีผล

 

 

4. จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเห็นชอบว่า บิดาผู้ให้กำเนิดย่อมมีคุณควรตอบแทนคุณไม่ใช่ไม่มีคุณ จึงไม่ยอมตอบแทนคุณท่าน

 

 

5. จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเห็นชอบว่า มารดาผู้ให้กำเนิดย่อมมีคุณควรตอบแทนคุณ ไม่ใช่ไม่มีคุณ แล้วไม่ยอมตอบแทนคุณท่าน

 

 

6. จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเห็นชอบว่า การทำดีย่อมให้ผลเป็นสุข การทำชั่วย่อมให้ผลเป็นทุกข์ ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ทั้งในปัจจุบันและปรภพ

 

 


7. จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเห็นชอบว่า สัตว์ที่เวียนมาเกิดในภพนี้โลกนี้ มีจริงและสัตว์ที่เวียนไปเกิด ในภพหน้า โลกหน้ามีอยู่จริง ไม่ใช่โลกนี้ไม่มี ไม่ใช่โลกหน้าคือ นรกสวรรค์ และพรหมโลกไม่มี

 

 


8. จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเห็นชอบว่า สัตว์โลกหรือ โอปปาติกะ ผู้แสวงหาที่เกิด หรือจิตวิญญาณที่ ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ มีอยู่จริง ไม่ใช่ตายแล้วสูญ ไม่มีจิต วิญญาณ ไม่มีโอปปาติกะ ไม่มีสัตว์ผุดเกิด

 

 

 

9. จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเห็นชอบว่า บุคคลผู้ศึกษาศีลธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาแล้ว ลงมือ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ถูกธรรม ถูกวินัย เป็นสัมมาปฏิบัติแล้ว ย่อมมีผล ย่อมมีอานิสงส์ให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้สำเร็จมีอยู่จริง ไม่ใช่ไม่มีผู้บรรลุธรรม

 

 

10. จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเห็นชอบว่า มีความเชื่อมั่นตนเองว่า เมื่อตนมีคุณธรรมพร้อมสมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว ตนมีสิทธิ์ที่จะบำเพ็ญสมณธรรมให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในปัจจุบันชาตินี้ ไม่ใช่ไม่มีสิทธิ์จะบรรลุธรรมใดๆ มิใช่จะต้องรอพระพุทธองค์มาโปรด เป็นต้น นี่คือคุณธรรม 10 ประการเบื้องต้นอันเป็นสัมมาทิฐิจะให้บุคคล บำเพ็ญสมณธรรม แล้วจะได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ในชาติปัจจุบัน “ พระพุทธองค์ทรงสนับสนุน ให้พุทธสาวกบูชาพระองค์ ด้วยการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มิใช่การบูชาด้วยอามิส ” …ผู้เว้นความชั่วด้วยความละอาย มีน้อยในโลก…

 

 

ตรวจอัธยาศัย

 

 

คุณธรรมอีก 6 ชนิด ที่ทำให้มั่นใจว่ามีกระแสนิพพานในจิต
1. เนกขัมมัชฌาสัย หมายถึง มีจิตใจเบื่อหน่ายในการครองเรือน บริโภคกามคุณใคร่ที่จะหนีจากการครองเรือนอย่างเต็มทน ใคร่ที่จะประพฤติพรหมจรรย์ด้วยเห็นโทษของการครองเรือนเห็นการประพฤติพรหมจรรย์เป็นทางปลอดภัย
2. วิเวกกัชฌาสัย หมายถึงท่านที่มีจิตใจใคร่ที่จะแสวงหาความวิเวก ความสงบใจ ความไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ ด้วยเห็นทุกข์ โทษ ภัยมากมายกับการอยู่ร่วมกับหมู่ชนหมู่คณะ จึงเห็นว่า ความวิเวก ความไม่คลุกคลีกับหมู่ชน ความสงบเป็นทางแห่งความปลอดภัยไม่มีทุกข์ ไม่มีปัญหายุ่งวุ่นวาย
3. อโลภัชฌาสัย หมายถึง ท่านมีจิตใจเป็นทุกข์ โทษ ภัย อันตรายจากความละโมบเห็นแก่ได้ มองเห็นความมักมาก ความไม่มักน้อยสันโดษเป็นภัย เป็นทุกข์โทษ ใคร่ที่หลีกหนีจากความโลภ ความมักมากอยากได้ จึงมองเห็นว่า ความมักน้อยสันโดษ ความไม่โลภ คือทางแห่งความปลอดภัย สิ้นทุกข์ สิ้นความวุ่นวาย
4. อโทสัชฌาสัย หมายถึง ท่านมีจิตใจเป็นทุกข์ โทษ ภัย เวร อันตราย อันเกิดจากความโกรธ ความแค้น ความอาฆาต พยาบาท ความปองร้อย ความคิดร้ายต่างๆ แล้วมองเห็นความจริงว่า การหลุดพ้นจากความโกรธ ความแค้น ความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้ายว่าเป็นความสุข
เป็นความสงบเย็น จึงใคร่ที่จะหลุดพ้นจากความโกรธ แค้น อาฆาต พยาบาท ปองร้าย ให้จงได้
5. อโมหัสฌาสัย หมายถึง ท่านมีจิตใจเห็นทุกข์ โทษ ภัย เวร อันตราย อันเกิดจากความลุ่มหลง ความมัวเมา ความยึดมั่นถือมั่นในลาภ ยศ สรรเสริญ เกียรติ กาม แล้วใคร่อย่างยิ่งที่จะหลุดพ้นจากโมหะ ความหลง ความมัวเมา ความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง เพราะเห็นในความจริงว่าการหลุดพ้นจากโมหะ ความหลง ความมัวเมา ความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง เพราะเห็นความจริงว่าการหลุดพ้นจากโมหะ ดังกล่าว คือความสุขอย่างยิ่ง
6. นิสรณกัชฌาสัย หมายถึง ท่านมีจิตใจมองเห็นโทษของการเกิดแห่งชีวิตมองเห็นความจริงว่า ชีวิตคือความทุกข์
หากหลุดพ้นจากการเกิดได้ ก็หลุดพ้นจากความทุกข์ จึงใคร่พยายามอย่างยิ่งที่จะบำเพ็ญเพียรภาวนา ให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร คือพ้นจาก นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ สวรรค์ และพรหมโลก เพื่อเสวยสุขอย่างยิ่งคือนิพพาน
เมื่อนักปฏิบัติตรวจสอบแล้ว เห็นว่าตนมีคุณธรรมที่จะสำเร็จมรรคผล นิพพานในชาติปัจจุบันแล้วก็จะต้องตรวจจริตนิสัยของตนว่า ปัจจุบันชาติว่ามีจริตทางใดใน 6 ทางจริต

 

 

สมถกรรมฐาน 40

สมถกรรมฐาน แปลว่า ฐานแห่งการบำเพ็ญเพื่อให้เกิดความสงบ ให้เกิดอำนาจฌานและอำนาจสมาบัติ อันเป็นพละกำลังสำคัญในการช่วยให้เกิดอำนาจฌาน ความหยั่งรู้ เห็นแจ้ง รู้จริงในสัทธรรมต่อไป

 

 

“ ฌาน ” คือ ความสงบ ความปราศจากราคะ กิเลส ปราศจาก กิเลส ปราศจากพยาบาท ความโกรธ ปราศจากความฟุ้งซ่านความหดหู่ ท้อแท้หมดกำลังใจ หรือความง่วงนอน เห็นแก่นอน ปราศจากความระแวงสงสัย เข้าใจผิด อำนาจแห่งฌาน 1-4 จึงให้เกิดความสุขกายสุขใจยิ่งกว่า กามโลกีย์สุขมากนัก

 

 

“ สมาบัติ ” คือ ความสงบระงับอย่างยิ่ง สุขสงบเย็นยิ่งกว่าอำนาจฌาน 1-4 เพราะสมาบัติเป็นความสงบที่ยิ่งอาศัยรูปและนาม

 

 

“ ญาน ” คือความหยั่งรู้ ความรู้แจ้ง ความรอบรู้ ความเห็นจริงในอริยะสัจจะ ตามความเป็นจริงโดยปรมัตถ์จนทำให้เกิด มรรค ผล และนิพพาน

 

 

สมถกรรมฐาน เป็นเหตุให้เกิด “อำนาจฌาน” และอำนาจสมาบัติและด้วยอำนาจแห่ง ฌาน 1-4 และสมาบัติ 1-4 จะเป็นเหตุให้เกิด “ อำนาจญาณ ” และด้วยอำนาจแห่งฌาน1-8 จะเป็นเหตุให้เกิด มรรค ผล นิพพาน สำเร็จเป็นอริยะบุคคล โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์

 

 

สมถกรรมฐาน 40 โดยแบ่งเป็นหมวดๆ ได้ 7 หมวด

1.กสิณ 10 เป็นการเพ่งมอง ดิน น้ำ ลม ไฟ และแสงสีต่าง ๆ

 

 

2.อสุภะ 10 เป็นการเพ่งมองภาพซากศพที่น่าเกลียดต่าง ๆ

 

 

3.อนุสติ 10 เป็นการระลึกถึงในสิ่งที่จะช่วยเตือนสติต่าง ๆ

 

 

4.อัปปมัญญา 4 เป็นการระลึกถึงพรหมวิหาร 4

 

 

5.อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1เป็นการพิจารณาอาหารว่าน่าเกลียด

 

 

6.จตุธาตุววัตถาน 1 ชนิด เป็นการพิจารณา ธาตุ 4 ในกาย

 

 

7.อรูป 4 ชนิด เป็นการเพ่งพิจารณานามธรรมในขันธ์ 5

 

 

 

กสิณ 10

1. ปฐวีกสิณ หมายถึง การเพ่งดิน การจดจ่อแน่วแน่อยู่กับของแข็งคือดินต่างๆโดยใช้ดินสีอรุณ คือ สีคล้ายสีส้มแดง หรือ สีดินเผาหรือใช้กระเบื้องโมเสคสีขาว สีส้มแดง หรือสีเหลือง โดยทำวัตถุหรือรูปดินทำให้เป็นแผ่นวงกลมขนาด 3-6 นิ้ว แล้วทำให้เสมอราบเรียบ เหมาะที่จะนำหรือเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวกเวลาบำเพ็ญภาวนากสิณดิน ให้เอาแผ่นกสิณดินมาวางให้สายตามองเห็นได้ชัดเจนไม่ไกลเกินไป พอให้สายตามองเห็นอย่างพอเหมาะจนติดตา ระหว่างกลางคิ้วหรืออุณาโลม

 

 

คำบริกรรมสำหรับกสิณดินให้บริกรรมว่า “ เราจะทำจิตให้สงบไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ทั้งปวง ดุจดินทั้งหลายในโลกที่ไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งต่างๆ ทั้งที่สะอาดและไม่สะอาดที่มนุษย์ทั้งหลายทำบนพื้นดิน ” แล้วภาวนาสั้นๆว่า “ ปฐวีกสิณัง ”ๆๆๆ หรือ “ ดินคือชีวิตชีวิตคือดิน ” ๆๆๆ หรือ “ แข็งหนอ ” แล้วเพ่งกสิณดินให้ติดตาใน ติดใจอยู่ มองไม่เห็นก็ให้ลืมตามองใหม่จนติดตาในหรือใจ เมื่อหลับแล้วมองเห็นกสิณดินชัดเจน

 

 

เมื่อภาพกสิณดินติดตาในแล้ว ให้พยายามประคองกสิณดินให้ติดอยู่ให้นานที่สุด โดยวางใจให้นิ่งเฉยต่ออารมณ์ทั้งปวง อย่าปล่อยให้ใจเกิดนิวรณ์ คือราคะ กามกิเลส พยาบาท ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ท้อแท้ ง่วงนอน และความระแวงสงสัย เข้าใจผิดเกิดขึ้นบนจิตใจได้เมื่อหมั่นเพียรกระทำติดต่ออย่างนี้เป็นประจำทุกๆวัน แล้วไซร้ก็จะทำให้อำนาจฌาน 1-4 ได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง (กสิณดินนี้เหมาะกับจริตทุกชนิด ไม่มีโทษ)

 

 

2. อาโปกสิณ หมายถึงการเพ่งกสิณน้ำ, การจดจ่ออยู่กับน้ำ โดยอาจจะนั่งอยู่บนริมสระน้ำที่ใสสะอาด หรือเอาภาชนะใส่น้ำสะอาดแล้วนำเอาน้ำสะอาดมาวางใกล้สายตา ให้สามารถนมองเห็นได้ชัดเจนระหว่างกลางคิ้วอุณาโลม หรือ อาจจะมองน้ำบนใบบัวอันสะอาด หรือถ่ายภาพน้ำบนใบบัวแล้วพยายามเพ่งมองหยดน้ำบนใบบัวจนติดตาติดใจ เมื่อหลับคาในแล้วก็ยังเห็นภาพหยดน้ำบนใบบัวได้อย่างชัดเจน หากตาในมองไม่เห็น
มืดไปหมดก็ต้องลืมตาเพ่งมองจนกว่าตาในจะมองเห็นภาพหยดน้ำได้ชัดเจน

 

 

ขณะมองกสิณน้ำให้บริกรรมภาวนาว่า “เราจะทำจิตเราให้สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากราคีเศร้าหมอง ดุจน้ำบนใบบัวที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีราคีสิ่งสกปรกฉันนั้น” แล้วภาวนาสั้นๆ ว่า “อาโป กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ เย็นหนอ ๆๆๆ” หรือ “ใสหนอๆๆๆ” หรือ “น้ำคือชีวิต ชีวิตคือน้ำ ๆๆๆ”

 

 

หากมองน้ำตามสระ ตามคลอง ตามลำธาร ตามน้ำทะเล หรือน้ำในหนอง คลองบึงทะเลหรือทะเลสาบก็ให้นึกบริกรรมภาวนาใจจิตว่า
“เราจะทำจิตใจของเราให้สงบไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ดีอารมณ์ร้ายดุจน้ำทั้งหลายที่ไม่หวั่นไหวต่อ สิ่งสกปรก ไม่สะอาด หรือสิ่งปฏิกูลที่มนุษย์ทั้งหลายทิ้งลงในน้ำฉันนั้น” แล้วบริกรรม “อาโป กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ เย็นหนอ ๆๆๆ” หรือ “ใสหนอๆๆๆ” หรือ “น้ำคือชีวิต ชีวิตคือน้ำ ๆๆๆ”

 

 

ให้บริกรรมเช่นนี้จนกว่าติดตาใน คือหลับตาแล้ว หยดน้ำอันใสสะอาดยังคงติดตาในให้นานที่สุดแล้วให้ประคองรักษาไว้
หากจิตไม่สงบจากนิวรณ์ 5 คือ ราคะ พยาบาท ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ เกียจคร้านเห็นแก่นอน และปราศจากการระแวงสงสัยไม่แน่ใจ
แล้วภาพหยดน้ำนี้จะติดตาจนเกิดอำนาจฌาน 1-4 ได้นานที่สุด (กสิณน้ำนี้เหมาะกับบุคคลผู้มีจริตทุกชนิด ทำได้หมด ไม่มีโทษอะไร)

 

 

3. เตโชกสิณ หมายถึง การเพ่งการจดจ่อกับกสิณไฟ การนิ่งเฉยแน่วแน่อยู่กับ กสิณไฟ โดยการ

 

 

มองกองไฟที่มีไฟลุกโชนอยู่จากการจุดกองฟืน กองใบไม้ กองหญ้าต่างๆหรืออาจจะใช้ตะเกียงน้ำมัน หรือเทียนจุดไฟให้สว่างแล้วมองแสงสว่างจากไฟนั้นให้ติดตาติดใจ จนสามารถหลับตาในแล้วตาตาในยังเห็นแสงสว่างไหวอยู่ได้นานๆ หากหลับตาในแล้วมืดไม่เห็นแสงสว่างของไฟก็ให้เพ่งมองใหม่จนกว่าหลับตาแล้วยังเห็นแสงสว่างจากไฟได้ชัดเจน

 

 

ขณะนั่งเพ่งมองให้แสงไฟติดตาระหว่างกลางคิ้ว หรืออุณาโลมอยู่นั้น ให้บริกรรมภาวนาในใจตลอดว่า “เราจะทำจิตใจของเราให้สงบ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ต่ออารมณ์ดีและอารมณ์ร้ายของมนุษย์ทั้งปวงดุจกองไฟทั้งหลายที่ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่อสิ่งสกปรกเน่าเหม็นไม่สะอาด สิ่งปฏิกูล ไฟพอใจที่จะทำลายสิ่งทั้งปวงให้มลายหายสูญไปจนไม่มีอะไรเหลือฉันใด เราก็จะทำจิตใจเราให้ว่างสูญจากกิเลส ตัณหา สิ่งเศร้าหมองฉันนั้น” แล้วบริกรรมสั้นๆว่า “ เตโช กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ ร้อนหนอ ๆๆๆ ” หรือ “ ชีวิตคือไฟ ไฟคือชีวิต ๆๆๆ”

 

 

ให้หมั่นนึกภาวนาอยู่อย่างนี้ขณะเพ่งมองไฟ จนกว่าจิตใจจะสงบนิ่งเฉยอยู่กับกสิณไฟอย่างเดียวจนเกิดอำนาจฌาน 1-4 แล้วจะเกิดความสุขอย่างยิ่ง (กสิณไฟนี้เหมาะกับจริตนิสัยทุกชนิดไม่มีโทษใดๆ)

 

 

4.วาโยกสิณ หมายถึง การเพ่งมองลม การจดจ่อ แน่วแน่อยู่กับการเพ่งมองลมที่พัดไปมา กระทบกิ่งไม้ ใบไม้จนหวั่นไหวไปตามแรงลม หรือเพ่งมองลมที่พัดพาเอาเมฆหมอกให้เคลื่อนไหว ไปตามแรงลม โดยการนั่งในที่กลางแจ้งที่ปลอดโปร่ง ไม่มีกำบังใดๆหรือนั่งตามเนินเขา
ตามหน้าผา ตามภูเขาสูงแล้วเพ่งจดจ่อกับการเคลื่อนไหวของลมที่พัดพาให้กิ่งไม้ใบไม้หรือเมฆหมอกให้เคลื่อนไหว

 

 

แล้วบริกรรมภาวนาในใจว่า “เราจะกระทำจิตใจของเราให้ไม่ติดใจยึดมั่นกับสิ่งสิ่งใดๆในโลกทั้งปวง ดุจลมทั้งหลายที่ไม่ติดใจ พอใจ ยึดติดกับสิ่งใดๆ ในโลกฉันนั้น” แล้วบริกรรมสั้นๆ ว่า “ วาโย กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ เบาหนอ ๆๆๆ ” “ ลมคือชีวิต ชีวิตคือลม ”ๆๆๆ

 

 

แล้วหลับตาลงจนเห็นภาพลมพัดกิ่งไม่ใบไม้เคลื่อนไหว หรือมองเห็นภาพเมฆหมอกเคลื่อนไหวไปมาจนติดใจนิ่งเฉยสงบเย็นไม่มีกิเลส ตัณหา
เมื่อนั้นอำนาจ ฌาน 1-4 ก็เกิดขึ้น(กสิณลมนี้บุคคลมีจริตต่างๆ ภาวนาได้ไม่มีโทษภัยอะไร) อยู่แต่สถานที่บำเพ็ญนั้นๆ เหมาะสมที่จะภาวนาเช่นนี้หรือไม่เท่านั้น เมื่อถึงฌาน 4 แล้วก็จะเกิดความสว่าง

 

 

5.นิลละกสิณ หมายถึง การเพ่งกสิณสีเขียวใบไม้ การจดจ่อแน่วแน่อยู่กับสีเขียวอ่อน วิธีการปฏิบัติให้หาวัสดุ คือกระดาษหรือผ้าสีเขียวอ่อน หรือสีเขียวใบไม้มาตัดทำเป็นวงกลม ขนาด 3-6 นิ้ว แล้วนำไปติดลงในกระดาษ หรือสีน้ำเงินเข้มเกือบมืดเพื่อให้กสิณสีเขียวเด่นชัดยิ่งขึ้น หรืออาจใช้ใบไม้ดอกไม้ ต้นไม้ที่ใบขึ้นดก พอที่จะทำให้สบายตามองเห็นได้ชัดเจน อยู่ระหว่างอุณาโลมระหว่างคิ้ว ได้พอเหมาะพอควร

 

 

ขณะนั่งเพ่งมองให้บริกรรมภาวนาว่า “ธรรมชาติสีเขียวใบไม้ซึ่งให้ความเย็นตา เย็นใจ สบายจิต สบายใจจริงหนอ” แล้วบริกรรมว่า “ นิลละ กสิณัง ๆๆๆ ”หรือ “ สบายหนอ ๆๆๆ ” หรือ “ เขียวหนอๆๆๆ ”

 

 

พยายามระงับจิตใจให้สงบเย็น ไม่ให้เกิดนิวรณ์ 5 แล้วลืมตามองสีเขียวให้ติดตาและติดใจขนาดหลับตาแล้ว ก็ยังเห็นภาพวงกลมสีเขียวติดใจ
เมื่อหมั่นบริกรรมภาวนาไปนานๆ ก็จะเกิดอำนาจ ฌาน 1-4 ก็จะเกิดความสว่างไสว ดุจประกายเพชรในที่สุด กสิณสีเขียวเหมาะสำหรับบุคคลที่มักมีโทสะจริต ความมักโกรธ อาฆาต พยาบาท มากที่สุด

 

 

6. ปิตะกสิณ หมายถึง การเพ่งกสิณสีเหลืองสีเหลือง หรือสีทอง การจดจ่อแน่วแน่อยู่กับกสิณสีเหลือง หรือสีทอง โดยให้หาวัสดุคือกระดาษ
หรือผ้าหรือดอกไม้สีเหลือง หรือสีทองมาทำให้เป็นรูปวงกลม ขนาด 3-6 นิ้ว แล้วประกอบลงในพื้นสีน้ำเงินเข้มจนเกือบมืด เพื่อให้วงกลมสีเหลืองหรือสีทองลอยเด่นอยู่ตรงกลาง หรืออาจใช้แผ่นทองคำบางๆ ทำให้เป็นรูปวงกลมขนาด 3-6 นิ้ว แล้วนำภาพวัสดุสีเหลืองหรือสีเหลืองหรือสีทองมาเพ่งมองโดยวางในระยะพอเหมาะแก่สายตาขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนอยู่ระหว่างคิ้วหรืออุณาโลม

 

 

ขณะเพ่งมองเพื่อให้ติดตาและติดใจ ขนาดหลับตาแล้วก็ยังเห็นภาพสีเหลืองหรือสีทองได้อย่างชัดเจน โดยใช้คำบริกรรมว่า “โอ้ธรรมชาติแห่งสีทองหรือสีเหลือง ซึ่งเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ปราศจากสิ่งเศร้าหมอง เราจะภาวนาให้จิตใจเราสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจาก ราคะ กิเลส ตัณหาให้สงบลงให้ได้” หรือภาวนาว่า “ ปิตะกสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ เหลืองหนอ ๆๆๆ” หรือแบบสั้นๆของหลวงพ่อกบ วัดเขาสาลิกา จ.นครนายก ว่า “ใจบริสุทธิ์เหมือนทองๆๆๆ ทองหนึ่ง ทองหนึ่งๆๆๆ” ก็ได้สั้นดีซึ่งหมายถึงความบริสุทธิ์ ปราศจากการมีสิ่งเจือปนเหมือนกัน

 

 

ให้ภาวนาดังนี้ไปจนกว่าภาพสีทองหรือเหลืองติดตาติดใจอยู่ได้นานจนจิตใจสงบเย็นเกิดอำนาจ ฌาน 1-4 เมื่อถึงฌาน 4 แล้วก็จะเกิดความสว่างไสวดุจประกายเพชร ฉันนั้นกสิณสีทองหรือสีเหลืองนี้เหมาะสำหรับบุคคลผู้มีจิตใจมักโกรธ ขี้โกรธ มักอาฆาตพยาบาทมากที่สุด

 

 

7. โลหิตตะกสิณ หมายถึงการเพ่งกสิณ สีแดงเข้ม การจดจ่อแน่วแน่กับกสิณสีเลือด โดยวิธีการ

 

 

นำเอากระดาษ หรือผ้า หรือดอกไม้สีแดงเข้ม สีเลือด สีแดง นำมาตัดทำให้เป็นรูปวงกลม ขนาด 3-6 นิ้ว แล้วหากระดาษรองพื้น สีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำมาประกอบ เพื่อให้สีเลือด สีแดงชัดเจนยิ่งขึ้น หรือใช้ภาพถ่ายดอกไม้สีแดง ภาพดอกกุหลาบแดง
หรืออาจจะใช้ดอกไม้สีแดงจริงๆก็ได้ แล้วนำมาวางให้สายตามองเห็นชัดเจนอยู่ระหว่างอุณาโลมระหว่างคิ้ว เพ่งมองให้ติดตาติดใจ ขนาดหลับตาแล้วก็ยังเห็นภาพสีเลือดชัดเจน

 

 

ขณะเพ่งมองให้บริกรรมภาวนาว่า “ชีวิตสัตว์โลก ดำรงอยู่ได้ก็เพราะมีโลหิตเป็นส่วนประกอบ เมื่อโลหิตถึงความแตกสลายหมดไป
ชีวิตก็ถึงความดับไป ไม่มีอะไรเหลือจึงควรหยุด ความรัก ความยินดี พอใจในสังขารทั้งปวงเสียเถิด” หรือภาวนาสั้นๆว่า “โลหิตต กสิณังๆๆๆ” หรือ “ แดงหนอ ๆๆๆ ” หรือ “โลหิต คือ ชีวิต ชีวิต คือ โลหิต”ๆๆๆหมั่นภาวนาจนกว่าภาพสีโลหิตติดตาติดใจ จิตใจสงบเย็นจนเกิดฌาน 1-4
เมื่อถึงฌาน 4 แล้ว ก็จะเกิดความสว่างไสวดุจประกายเพชร กสิณสีโลหิตนี้ก็เหมาะกับกับบุคคลที่มี โทสะจริตมาก ให้เพ่งติดตาติดใจได้ยิ่งดี

 

 

8. โอทาตะกสิณ หมายถึง การเพ่งกสิณสีขาว การจดจ่อแน่วแน่อยู่กับสีขาวสะอาดบริสุทธิ์นี้ โดย

 

 

มีวิธีการปฏิบัติดังนี้คือ นำเอากระดาษหรือผ้าขาวสะอาดบริสุทธิ์มาตัดเป็นรูปวงกลม ขนาด 3-6 นิ้ว แล้วนำไปติดตรงกลางกระดาษรองพื้นสีน้ำเงินเข้า หรืออาจใช้ดอกไม้สีขาว เช่น ดอกบัวหลวง ดอกกุหลาบขาว โดยนำวัสดุดังกลาาวมาวางให้สายตามองเห็นชัดเขนอยู่ระหว่างคิ้วอุณาโลม
แล้วเพ่งมองให้ภาพสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ ติดตาติดใจขนาดหลับตาก็ยังเห็นภาพสีขาวติดตาติดใจอยู่ได้นานและนิ่ง

 

 

ขณะเพ่งมองก็ให้บริกรรมภาวนาในใจว่า “สีขาวบริสุทธิ์จริงหนอ เราจะทำจิตใจให้สะอาดปราศจากกิเลส ตัณหา เครื่องเศร้าหมองทั้งปวง
ให้บริสุทธิ์ดุจผ้าขาวนี้ให้จงได้” แล้วบริกรรมสั้นๆ ว่า “ โอทาตะ กสิณังๆๆๆ” หรือ “ ขาวหนอ ๆๆๆ” หรือ “บริสุทธิ์หนอ ๆๆๆ ” หรือ “ สะอาดหนอ ๆๆๆ ” เพ่งมองให้นานจนกว่าจิตใจจะสงบนิ่งเกิดอำนาจ ฌาน 1-4 เมื่อถึงฌาน 4 แล้วสีขาวจะใสบริสุทธิ์ดุจสีประกายเพชร กสิณสีขาวนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีโทสะจริตเป็นนิสัยเมื่อมองความมะอาดบริสุทธิ์ ก็อาจจะทำให้จิตใจสงบเย็นลงได้

 

 

9. อากาสกสิณ หมายถึง การเพ่งมองอากาศ หรือเพ่งมองความว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย การจด

 

 

จ่อแน่วแน่กับกสิณอากาศนี้ ไม่ต้องใช้วัตถุอะไรเลย เพียงแต่นั่งในที่กลางแจ้ง ให้มองในความว่างเปล่าที่ไม่มีอะไรเลย เช่นมองท้องฟ้า เหนือทะเลอันว่างเปล่าไกลสายตา

 

 

แล้วบริกรรมภาวนาในใจว่า “ธรรมชาติว่างเปล่าดุจอากาศที่ไม่มีอะไรเลย เราควรจะคลายความรักความยินดี พอใจ ในสิ่งทั้งปวงเสียเถิด” หรือภาวนาสั้นๆ ว่า “อากาส กสิณัง ๆๆๆ” หรือ “ ว่างหนอ ๆๆๆ ” หรือ “ สิ่งทั้งปวงว่างเปล่าจริงหนอ ๆๆๆ , สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นจริงหนอ ๆๆๆ ”

 

 

ภาวนาจนกว่าจิตใจจะสงบเย็น เห็นภาพความว่างเปล่าติดตาอยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะเกิดอำนาจฌาน 1-4 เมื่อถึง ฌาน 4 แล้วจะเกิดความสว่างไสวดุจประกายเพชรกสิณนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีโทสะจริต หากไม่ได้เห็นอะไรเสียนั่นแหละจึงจะสงบอารมณ์อื่นได้สำเร็จ

 

 

10. อาโลกสิณ หมายถึง การเพ่งมองความสว่างไสว การจดจ่ออยู่กับความสว่างไสว โดยมีวิธี

 

 

การปฏิบัติ คือหากเป็นเวลากลางวัน ให้อยู่ในห้องมิดชิด แล้วเจาะรูให้สว่างลอดทะลุเข้ามาในห้องเป็นรูปวงกลมขนาด 3-6 นิ้ว หรืออาจจะใช้กล่องกระดาษกล่องไม้ แล้วใส่หลอดไฟฟ้าชนิดสีขาวหรือสปอตไลท์หรือหลอดนีออนให้เจาะรูขนาด 3-6 นิ้ว แล้วให้แสงสว่างลอดออกมาได้ หากเป็นเวลากลางคืน นั่งที่กลางแจ้งแล้วเพ่งมองดาวฤกษ์หรือแสงไฟในระยะไกลๆ โดยให้เลือกแสงไฟ แสงสว่างดวงเดียว กะประมาณให้แสงสว่างตั้งอยู่กลางอุณาโลมแล้ว เพ่งมองจนติดตาติดใจขนาดหลับตาแล้ว แสงสว่างยังติดใจอยู่ได้นาน

 

 

ขณะเพ่งมองให้บริกรรมภาวนาว่า “เราจะชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสดุจแสงสว่างนี้ให้จงได้” แล้วบริกรรมภาวนาสั้นๆ ว่า “ อาโล กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ สว่างหนอ ๆๆๆ ” หรือ “ใจเราสว่างแล้วหนอ ๆๆๆ ใจเราผ่องใสแล้วหนอ ๆๆๆ ”

 

 

ภาวนาไปจนกว่าจิตใจสงบเย็น เกิดอำนาจฌาน 1-4 เมื่อถึงฌาน 4 ก็จะเกิดความสว่างไสวดุจกลางวัน ดุจประกายเพชร กสิณนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีโทสะจริตมาก หากได้เห็นแสงสว่างแล้วอาจจะทำให้จิตใจสงบเย็นลงได้สำเร็จ และเหมาะสำหรับบุคคลทุกประเภทใช้ได้ไม่มีภัยใดๆ

 

 

รูปแบบของกสิณ
อสุภะ 10 อสุภะกรรมฐาน
อสุภกรรมฐาน หมายถึง กรรมฐานที่ใช้ซากศพ หรือ สิ่งที่ไม่งามเป็นกสิณภาวนามี 10 ชนิดคือ

 

 

 

1 อุทธุมาตกอสุภะ หมายถึงการเพ่งพิจารณาซากศพหญิงหรือชายที่สิ้นใจตายแล้วจนขึ้นฟองลอยน้ำได้ มองให้เห็นติดตาติดใจ ขนาดหลับตาลงแล้วเห็นซากศพติดใจอยู่ได้นาน

 

 

แล้วให้บริกรรมภาวนาในใจขณะเพ่งมองพิจารณาว่า “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ! มีความเกิดขึ้นแล้วมีความเสื่อมไป ดับไป ตายไป เป็นธรรมดาควรเบื่อหน่ายคลายความรัก ความใคร่ ยินดี พอใจ ในสังขารทั้งปวงเสียได้ เป็นความสุขอย่างยิ่งหนอ”

 

 

แล้วพยายามกำหนดภาพซากศพ อันน่าเกลียดนั้นให้นานที่สุด จนติดใจเกิดความเบื่อหน่ายคลายความรัก ความใคร่ คลายความเสน่หา
ในสังขารทั้งชายทั้งหญิงทั้งปวงเสียได้ จิตใจก็สงบลงจนราคะหมดไปจากจิตใจ ก็ทำให้เกิดอำนาจฌาน 1 เพราะฉะนั้น อสุภะกรรมฐานจึงเหมาะสำหรับบุคคลที่มากด้วยราคะจริต

 

 

2. วินีลกอสุภะ หมายถึง การเพ่งพิจารณาซากศพหญิง หรือชายที่ตายมาแล้วหลายวัน จนขึ้นฟองมีสีเขียวดูแล้วน่าเกลียดน่ากลัว ให้เพ่งมองซากศพนี้ให้ติดตา และติดใจ ขนาดหลับตาลงแล้วมองซากศพนี้ก็ยังติดใจไม่ลืมเลือน

 

 

ขณะเพ่งพิจารณาอยู่ให้บริกรรมภาวนาในใจว่า “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอมีการเกิดขึ้นแล้ว มีความเสื่อมไป มีความดับไป มีการตายไปเป็นธรรมดา การสงบคลายความยินดียินร้าย ยึดมั่นถือมั่น ในสังขารทั้งปวงเสียได้เป็นสุขจริงหนอ”

 

 

แล้วจึงพยายามกำหนดภาพซากศพให้ติดตาติดใจให้นานที่สุด จนจิตใจเกิดความเบื่อหน่ายคลายความยินดียินร้าย หลงติด ยึดมั่น ถือมั่นในสังขารเสียได้ ราคะ กิเลสก็ถึงความสงบ จึงเหมาะสำหรับผู้มีราคะจริตมากเป็นพิเศษ และทำให้ได้อำนาจฌาน 1

 

 

3. วิปุพพกอสุภะ หมายถึง การเพ่งพิจารณาซากศพหญิงหรือชายที่ตายหลายวันจนขึ้นพอง มีน้ำเหลือง น้ำหนองไหลออกที่ซากศพ มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไปทั่ว ให้เพ่งมองพิจารณามองให้ติดตาติดใจ ขนาดหลับตาลงแล้ว ภาพซากศพก็ติดตาติดใจ มิลืมเลือน

 

 

ขณะเพ่งมองพิจารณาให้บริกรรมภายในใจว่า “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอมีการเกิดขึ้นแล้ว มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ไม่มีใครๆในโลกจะหลีกหนีพ้นไปได้ การสงบคลายความยินดี ความยินร้าย ความหลงผิด ยึดมั่น ถือมั่นในสังขารทั้งปวงเสียได้ เป็นความสุขอย่างยิ่งหนอ”

 

 

เมื่อเพียรบริกรรมเช่นนี้เป็นประจำทุกๆวันแล้วจะทำให้ราคะ กิเลสเบาบางไปจนถึงกับหมดราคะกิเลสได้ในที่สุด จึงเหมาะสำหรับบุคคลที่ยังไม่สิ้น ราคะ กิเลส และเมื่อภาวนาจนติดค่าติดใจได้นานๆแล้ว จะทำให้ได้อำนาจ ฌาน 1

 

 

4. วิจฉิทกอสุภะ หมายถึง การเพ่งพิจารณาซากศพที่ตายแล้วเป็นหญิงหรือชาย ที่ถูกอาวุธตัดขาด เป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ จนมองดูแล้ว น่าเกลียดน่ากลัว น่าขยะแขยง มองจนให้ติดตาติดใจขนาดหลับตาลงแล้ว ภาพซากศพก็ติดตาติดใจ มิลืมเลือน

 

 

ขณะเพ่งมองพิจารณาให้บริกรรมภายในใจว่า “สังขารทั้งหลาย ทั้งเขาและเราล้วนไม่เที่ยงหนอ มีการเกิดขึ้นแล้ว มีความเสื่อมไป ดับไป ตายไป เป็นธรรมดา ไม่มีใครในโลกจะหลีกหนีพ้นไปได้ การสงบระงับคลายความยินดี คลายความยินร้าย คลายความหลง ยึดมั่น ถือมั่นในสังขารทั้งปวงเสียได้ เป็นความสุขอย่างยิ่งหนอ”

 

 

เมื่อเพียรบริกรรมเช่นนี้เป็นประจำทุกๆวันแล้วจะทำให้ราคะ กิเลสเบาบางไปจนถึงกับหมดราคะกิเลสได้ในที่สุด จึงเหมาะสำหรับบุคคลที่ยังไม่สิ้น ราคะ กิเลส และเมื่อภาวนาจนติดค่าติดใจได้นานๆแล้ว จะทำให้ได้อำนาจ ฌาน 1

 

 

 

5. วิกขิตตกอสุภะ หมายถึง การเพ่งพิจารณาซากศพหญิงหรือชายที่ตายแล้วมีมือ เท้า ศีรษะ อยู่คนละทิศละทาง ดูแล้วน่าเกลียดน่ากลัว น่าขยะแขยงเอามากๆ มองจนติดตาติดใจ ขนาดหลับตาแล้วภาพซากศพยังมิลืมเลือน

 

 

ขณะเพ่งมอง ก็ให้บริกรรมภาวนาว่า “สังขารทั้งหลาย ทั้งสัตว์โลก ทั้งเราล้วนแต่ไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้นแล้ว มีความเสื่อมไป ดับไป ตายไปเป็นธรรมดา ไม่มีใครในโลกจะหลีกพ้นไปจากความตายได้ การสงบระงับความยินดี คลายความยินร้าย คลายจากความยึดมั่นถือมั่น ในสังขารทั้งปวงเสียได้ เป็นความสงบสุขจริง”

 

 

เมื่อหมั่นพิจารณาบริกรรมเป็นประจำทุกๆวัน จนภาพอสุภะนี้ติดใจอยู่ได้นานแล้ว ราคะ กิเลส จะค่อยๆเบาบางลงไปได้ในที่สุด จึงเหมาะสำหรับบุคคลที่ยังไม่สิ้นกิเลส ราคะ และเมื่อภาวนาจนติดตา ติดใจแล้ว ก็จะช่วยให้เกิดอำนาจ ฌาน 1

 

 

6. วิกขายิตกอสุภะ หมายถึง การเพ่งพิจารณาซากศพหญิงชายที่ตายแล้ว มีมือ เท้า ศรีษะ อยู่คนละทิศละทาง ดูแล้วน่าเกลียดน่ากลัว น่าขยะแขยงเอามากๆ มองจนติดตาติดใจ ขนาดหลับตาแล้วภาพซากศพยังมิลืมเลือน

 

 

ขณะเพ่งมอง ก็ให้บริกรรมภาวนาว่า “สังขารทั้งหลาย ทั้งสัตว์โลก เขาและเราล้วนแต่ไม่เที่ยงหนอ มีการเกิดขึ้นแล้ว มีความเสื่อมไป ดับไป ตายไปเป็นธรรมดา ไม่มีใครๆในโลกจะหลีกพ้นไปได้ การสงบระงับความยินดี คลายความยินร้าย คลายจากความยึดมั่นถือมั่น ในสังขารทั้งปวงเสียได้ เป็นความสงบสุขจริง”

 

 

เมื่อหมั่นพิจารณาบริกรรมเป็นประจำทุกๆวัน จนภาพอสุภะนี้ติดใจอยู่ได้นานแล้ว ราคะ กิเลส จะค่อยๆเบาบางลงไปได้ในที่สุด จึงเหมาะสำหรับบุคคลที่ยังไม่สิ้นกิเลส ราคะ และเมื่อภาวนาจนติดตา ติดใจแล้ว ก็จะช่วยให้เกิดอำนาจ ฌาน 1

 

 

7. หตวิกขิตตกอสุภะ หมายถึง การเพ่งพิจารณาที่ถูกสับฟัน มีบาดแผลมากมาย ยับเยิน จนดูแล้วน่าเกลียดน่ากลัว น่าขยะแขยงยิ่งนัก ให้มองจนติดตาติดใจ ขนาดหลับตาแล้วภาพซากศพยังไม่ลืมเลือน

 

 

ขณะเพ่งมองก็ให้บริกรรมภาวนาว่า “สังขารทั้งหลาย ทั้งเขาและเราล้วนไม่เที่ยงหนอ มีการเกิดขึ้นแล้วมีความเสื่อมไป ดับไป ตายไป
เป็นธรรมดาไม่มีใครในโลกจะหลีกหนีหลุดพ้นไปจากความตายได้ การสงบระงับ คลายความยินดี คลายความยินร้าย คลายความหลงติดยึดมั่นถือมั่นในสังขารทั้งปวงนี้เสียได้ เป็นความสงบสุขจริงหนอ”

 

 

เมื่อหมั่นภาวนาด้วยอสุภะนี้ไปทุกๆวันมิได้ขาดแล้วไซร้จะทำให้ราคะ กิเลสเบาบางลงและถึงความดับไปได้ในที่สุด จึงเหมาะสำหรับบุคคลที่ยังไม่สิ้นราคะ และเมื่อภาวนาจนติดตาติดใจแล้ว ก็จะช่วยให้ได้อำนาจฌาน 1

 

 

8. โลหิตกอสุภะ หมายถึง การเพ่งการพิจารณาซากศพที่ตายแล้วมีโลหิตไหลอาบทั่วร่างกาย จนมีกลิ่นคาวโลหิตฟุ้งไปทั่ว ดูแล้วเกิดความน่าเกลียดน่ากลัว น่าขยะแขยงเมื่อเพ่งมองจนติดตา ติดใจแล้ว ขนาดหลับตาก็ยังเห็นภาพศพนี้ติดตาอยู่ได้นาน

 

 

เมื่อขณะเพ่งมองก็ให้บริกรรมภาวนาในใจว่า “สังขารทั้งหลายไม่ว่าชายหญิงล้วนอนิจจังไม่เที่ยงหนอ มีการเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีความเสื่อมไป ดับไป ตายไป เป็นธรรมดาไม่มีใครๆ ในโลกจะหลีกหนีหลุดพ้นไปได้ การสงบระงับคลายความยินดีความยินร้าย คลายความหลงยึดมั่นในสังขารทั้งปวงเสียได้ เป็นความสุขสงบอย่างยิ่ง”

 

 

เมื่อภาวนาเช่นนี้ทุกๆวัน เป็นประจำมิได้ขาดแล้วไซร้จะทำให้ ราคะ กิเลส เบาบางลงไปจนถึงคลายความยินดีในราคะ กิเลสได้หมดในที่สุด
จึงเป็นเป็นกรรมฐานภาวนาเพื่อการบรรลุธรรมสำเร็จเป็นอนาคามีบุคคล เหมาะสำหรับคนที่มีราคะจริตมาก

 

 

9. ปุฬุวกอสุภะ หมายถึง การเพ่งการพิจารณาซากศพที่มีหนอนไชอยู่ทั่วซากศพชนิดมองเห็นกระดูกทั่วร่างกาย
มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป มองจนติดตาติดใจขนาดหลับตาลงแล้วภาพอสุภะนี้ก็ยังติดใจมิลืมเลือน

 

 

ขณะเพ่งมองก็ให้บริกรรมภาวนาในใจว่า “สังขารทั้งหลายไม่ว่าหญิงชายทังเขาและเราล้วนอนิจจังไม่เที่ยงเช่นนี้ มีการเกิดขึ้นแล้วมีความเสื่อมไป ดับไป ตายไปเป็นธรรมดาใครๆในโลกไม่สามารถหลุดพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้ การเข้าไปสงบระงับ ดับความยินดี ความยินร้าย ความหลงติด ยึดมั่นถือมั่นในสังขารทั้งปวงเสียได้ เป็นความสุขสงบอย่างยิ่ง”

 

 

เมื่อหมั่นบริกรรมภาวนาอยู่เป็นประจำทุกๆวัน มิได้ขาดแล้วไซร้ จะทำให้เบาบางจากราคะ และถึงความสิ้น ราคะ กิเลส เมื่อได้บรรลุอนาคามีบุคคล

 

 

10. อัฏฐิกอสุภะ หมายถึง การเพ่งการพิจารณาซากศพที่เหลือแต่โครงกระดูก 300 ท่อน ไม่มีเลือด ไม่มีเนื้อใดๆ เหลือติดอยู่เลย ใครเพ่งมองให้เห็นแต่กระดูก 300 ท่อน ให้ติดตาติดใจ ขนาดหลับตาแล้วก็ยังเห็นภาพกระดูก300 ท่อน ติดใจอยู่

 

 

แล้วบริกรรมภานาในใจว่า “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไป ดับไป ตายไปเป็นธรรมดา ใครๆในโลกพร้อมทั้งเรา ก็หนีไม่พ้นความเป็นเช่นนี้ การเข้าไปสงบระงับดับความยินดี คลายความยินร้าย ความหลงติดยึดมั่นถือมั่นในสังขาร ทั้งปวงเสียได้สำเร็จ เป็นความสุขสงบเย็นอย่างยิ่ง”

 

 

 

 

ให้หมั่นบริกรรมภาวนาเช่นนี้ทุกๆวัน อย่าได้ขาดก็จะทำให้เบาบางจากราคะ และถึงความสิ้นราคะกิเลสเมื่อบรรลุอนาคามีบุคคล

จริตหรือนิสัยสันดาน

 

ผู้ปฏิบัติธรรม ก่อนจะลงมือประพฤติปฏิบัติ สมถะและ วิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้สิ้นทุกข์
หมดกิเลส ตัณหา เพื่อนิพพานเป็นที่สุด จะต้องรู้จริตนิสัยสันดานของตนเองว่า
มีจริตนิสัยสันดานหนักไปทางด้านใด ดังต่อไปนี้ คือ

 

 

1. ราคะจริต
2. โทสะจริต
3. โมหะจริต
4. สัทธาจริต
5. พุทธิจริต
6. วิตกจริต

 

 

 

1. ราคะจริต มีลักษณะนิสัยอาการให้สังเกตรู้ได้ดังนี้

 

 

- เป็นผู้มีอิริยาบทเรียบร้อยนุ่มนวล ไม่รีบร้อนในกิจการงาน รักสวยรักงาม
รักความสะอาดเป็นระเบียบ มีนิสัยชอบรูปสวย รูปงาม เสียงไพเราะอ่อนหวานนุ่มนวล
ชอบกลิ่นหอม มักติดใจพอใจในรสอร่อยแห่งอาหารการกิน ชอบสัมผัสอันนุ่มนวลสบายกาย
และชอบแต่อารมณ์ที่จะทำให้สบายใจ

 

 

- บุคคลที่มีราคะจริตมักจะมีอกุศลกรรมต่อไปนี้เป็นเจ้าเรือน เช่น มักจะเป็นคนเจ้าเล่ห์
มีความถือตัวว่าสวยงามดีเลิศมีความปรารถนาลามกในกามารมณ์
มีความปรารถนาอยากเป็นใหญ่มีอำนาจ ต้องการได้รับคำสรรเสริญเยินยอ ยกย่อง ให้เกียรติ
ไม่มีความมักน้อยสันโดษ ไม่รู้จักพอ ในเครื่องอุปโภคบริโภค มักเป็นคนมีแง่มีงอน เก่ง
เป็นคนโลเล ไม่ค่อยจะเชื่อมั่นตัวเอง ชอบประดิษฐ์ประดอยตกแต่งพิถีพิถันในร่างกาย
เครื่องนุ่มห่มให้สวยงามอยู่เสมอ

 

 

บุคคลนักปฏิบัติธรรมเมื่อรู้ว่าตนเองมีราคะจริต เป็นสันดานแล้ว
หากจะบำเพ็ญสมถธรรมให้ถึงทางสิ้นทุกข์ หมดกิเลสตัณหา ก็ควรเริ่มด้วย อสุภะกรรมฐาน 10
ชนิด และกายคตาสติกรรมฐานให้มากเสียก่อน แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป หากไม่ได้สมาธิ
ไม่ได้ฌาน ไม่สงบด้วยอสุภะและกายคตาสติ ก็ให้เจริญกสิณภาวนา คือ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ
เตโชกสิณ วาโยกสิณ อากาสะกสิณ อาโลกสิณ

 

 

 

2. โทสะจริต มีลักษณะอาการนิสัย สันดาน ให้สังเกตได้ดังต่อไปนี้คือ

 

 

- ทำอะไรพรวดพลาด รวดเร็ว กระด้าง ทำการงานหยาบ ไม่สะอาด ไม่เรียบร้อย ไม่สำรวม
มักผิดพลาดอยู่บ่อย ๆ มีนิสัยชอบตีรันฟันแทง ชกต่อยต่อสู้ เกเรรุกราน ก้าวร้าว เบียดเบียน
ไม่กลัวความเจ็บปวด การทะเลาะวิวาท มักมีความโกรธง่าย ผูกโกรธนานๆ ผูกอาฆาตพยาบาท
มักลบหลู่บุญคุณท่าน มักเนรคุณไม่รู้คุณคน มักตีเสมอหรือยกตนเทียบท่าน
ไม่ให้ความเคารพหรือให้เกียรติใคร มักมีจิตอิจฉาริษยา เห็นผู้อื่นได้ดีแล้วทนไม่ได้ มีความตระหนี่
ไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือใครๆ

 

 

หากนักปฏิบัติธรรมรู้ตัวเองว่ามีนิสัยสันดาน หนักไปทางโทสะจริตแล้วก็ควรรีบบำเพ็ญสมณะธรรม
ด้วยการเจริญ “ พรหมวิหาร 4 ” คือเมตตาภาวนา กรุณาภาวนา มุทิตาภาวนา และอุเบกขาภาวนา
จนกว่าจิตใจจะสงบ ได้สมาธิ ได้ฌาน 1-4 หากไม่สงบไม่ได้สมาธิ จากการเจริญพรหมวิหาร 4
ก็ให้เจริญกสิณภาวนา คือโลหิตกสิณ ปิตะกสิณ นิละกสิณ โอทาตะกสิณ
ก็จะประสบความสำเร็จคือได้ฌาน 1-4 แล้วก็เจริญวิปัสสนาภาวนาต่อไปจนกว่าจะได้บรรลุ มรรค
ผล นิพพาน

 

 

 

3. โมหะจริต มีลักษณะอาการ นิสัย สันดานให้รู้ได้ดังต่อไปนี้ คือ

 

 

- เป็นคนเขื่องๆ ซึมๆ ตาเหมอลอย จิตใจมักเหม่อลอย ไม่มีจุดที่สิ้นสุด มีกิจการงานหยาบ
ทำงานไม่ละเอียด ไม่รอยคอบ มักเอาดีเอาสวยเอางามไม่ค่อยได้ มักมีนิสัยใครว่าไม่ดีก็ไม่ดีด้วย
โดยไม่คิดพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ใครว่าดีก็ดีด้วยชนิด ไม่รู้มารยา เจ้าเล่ห์
จึงเป็นคนไม่มีเหตุ ไม่มีผล เชื่อใครๆได้ง่าย มักง่วงนอนหรือเห็นแก่นอน
ไม่มีความอดทนเอาจริงกับการงานต่างๆ
มักมีความฟุ้งซ่านรำคาญใจอยู่เสมอโดยไม่มีสาเหตุมักเป็นคนชอบระแวงสงสัยเข้าใจอะไรผิดๆ
อยู่เสมอ เป็นคนติดใจอะไรแล้วก็จะยืดมั่นถือมั่นชนิดไม่ปล่อยวางเอาเลย
เมื่อถือความคิดเห็นอะไรผิดๆแล้ว ก็จะถอดถอนความคิดเห็นผิดๆได้ยากยิ่ง
และเป็นคนมีมิจฉาทิฐิมาก ยากต่อการสละ ละ วาง ได้โดยง่ายๆ

 

 

นักปฏิบัติธรรมคนใด หากรู้ตนเองว่ามีโมหะจริตนี้แล้ว ก็ต้องลงมือประพฤติปฏิบัติธรรมโดยใช้
อานาปานสติภาวนาให้มากๆ จนกว่าจิตใจจะสงบได้ฌาน แล้วจึงเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป

 

 

 

4. สัทธาจริต มีลักษณะอาการ นิสัย สันดาน ให้สังเกตรู้ได้ดังต่อไปนี้

 

 

- มีอิริยาบทแช่มช้อยละมุนละม่อม สำรวมระวังไม่ประมาท ไม่มักเผลอในกิจการงานมากนัก
มีกิจการงานเรียบร้อย สวยงามเป็นระเบียบ มักมีนิสัยชอบความเรียบๆ ง่ายๆ ชอบความสงบ
ไม่วุ่นวาย ไม่ชอบโลดโผน เสี่ยงภัย มีนิสัยในทางกุศลธรรมคือ เป็นคนเสียสละอะไรได้ง่ายๆ
ไม่มีความอาลัยอาวรณ์ ห่วงใยเมื่อเสียสละไปแล้วเป็นคนมีศรัทธา
อันแรงกล้าที่จะพบพระอริยะเจ้าเพื่อความพ้นทุกข์
มีจิตใจปรารถนาอันแรงกล้าที่จะทำตนให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร
เป็นคนที่มีความปรีดาปราโมทย์อย่างแรงกล้า เมื่อได้ยินพระอริยะเจ้าแสดงธรรม
หรือพบเห็นพระอริยะเจ้าทั้งหลาย ไม่เป็นคนโออวดมารยาเจ้าเลห์ มักจะเปิดเผยความชั่ว
ความเลวของตน ไม่เปิดเผยความดีของตน เป็นคนมีความสัมมาคาระวะ
มีความเคารพนอบน้อมต่อครูบาอาจารย์ บิดา มารดา รู้คุณ ตอบแทนคุณ ไม่เนรคุณ

 

 

นักปฏิบัติธรรมคนใดคิดว่าเป็นคนมีสัทธาจริตแล้ว
กรรมฐานที่เหมาะจะบำเพ็ญภาวนาให้สำเร็จมรรคผล นิพพาน คือ พุทธานุสติกรรมฐาน
ธัมมานุสติกรรมฐาน สังฆานุสติกรรรมฐาน จาคานุสติกรรมฐาน สีลานุสติกรรมฐาน
และเทวตานุสติกรรมฐาน

 

 

 

5. พุทธิจริต มีลักษณะอาการ นิสัย สันดาน ให้สังเกตรู้ได้ดังต่อไปนี้

 

 

- มีอิริยาบทว่องไว เรียบร้อย ทำกิจการงานใดๆ เป็นระเบียบแบบแผน ยืดหลักศีลธรรม คุณธรรม
จารีตประเพณีอันดีงาม และเป็นสาระมีประโยชน์ มักมีทัศนะดูอะไรโดยมีเหตุผล
เป็นคนว่าง่ายโดยไม่ดื้อรั้น หากผู้รู้แนะนำสั่งสอน มีสติสัมปชัญญะดี ไม่ประมาท
มีความพยายามสูง ชอบที่จะคบหาสมาคมแต่ผู้รู้ นักปราชญ์ บัณฑิต ที่มีคุณธรรมสูงกว่าตน
หรือเสมอกับตน ไม่คบหาสมาคมแต่คนพาล เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอุปโภค ไม่มักมาก
เห็นแก่ตัว เห็นแก่ความโลภมาก มักมีความสังเวชสลดใจ
เมื่อได้ยินได้ฟังชีวิตทุกข์ทรมานของสัตว์โลก แล้วจิตเกิดมีความเบื่อหน่าย
ใคร่ที่จะหลุดพ้นจากทุกข์คือชีวิต

 

 

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นปัจจัยให้บุคคลที่มีพุทธิจริต มักจะแสวงหาหนทาง
วิถีทางดับทุกข์โดยการศึกษาธรรมอย่างจริงจังและจริงใจ ไม่ล้มเลิกความตั้งใจ เมื่อมีอุปสรรคต่างๆ
เกิดขึ้น กรรมฐานภาวนาที่เหมาะสมกับพุทธิจริต คือ มรณัสติกรรมฐาน , อาหาเรปฏิกูลสัญญา ,
จตุธาตุววัตถานกรรมฐาน และอุปสมานุสติกรรมฐาน ก็จะประสบความสำเร็จมรรค ผล นิพพาน
ได้โดยไม่ยาก

 

 

 

6. วิตกจริต มีลักษณะอาการ นิสัย สันดาน ให้สังเกตได้ดังต่อไปนี้คือ

 

 

- มักมีอิริยาบทเชื่องช้าคล้ายโมหะจริต มีกิจการงานไม่สม่ำเสมอ เอาแน่นอนอะไรไม่ค่อยได้
ดีแต่คุยอวด เวลาปฏิบัติมักทำอะไรไม่สำเร็จ จิตใจมักจะคล้ายคนหมู่มาก นิสัยโลเล เดี๋ยวโกรธ
เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวทำ เดี๋ยวไม่ทำ ชอบคลุกคลีกินเหล้าเมายากับมิตรสหาย ชอบที่จะสังสรรค์เฮฮา
ไม่ทำอะไรแน่นอน มีความคิดเรื่องบุญกุศลน้อย ไม่สนใจที่จะรักษาศีล ให้ทาน บำเพ็ญภาวนาใด ๆ
เป็นคนไม่เป็นตัวของตัวเอง ใครชวนไปในทางชั่วทางบาปแล้วไม่ปฏิเสธ
ชอบความพลุกพล่านในสังคมแสงสีเสียง ร้องรำทำเพลง มีความคิดฟุ้งเฟ้อ ใหญ่โต
สร้างวิมานชนิดเป็นไปไม่ค่อยได้ จิตใจฟุ้งซ่านชนิดเป็นชิ้นเป็นอันไม่ค่อยได้ นี้คือวิตกจริต

 

 

ซึ่งใครมีจริตนิสัยนี้แล้ว หากเกิดศรัทธาจะประพฤติปฏิบัติธรรมให้ได้ฌาน ก็จะต้องเริ่มด้วย
อานาปานสติกรรมฐาน ก่อนกรรมฐานอื่นๆ ก็อาจจะสำเร็จได้หากมีความเพียรอย่างจริงจัง

 

 

 

เมื่อนักปฏิบัติธรรมได้อ่านจริต ทั้ง 6 ชนิดแล้ว ก็ให้สำรวจตัวเองว่ามีจริตใดดังกล่าวมาแล้ว
ก็ลงมือปฏิบัติสมถกรรมฐานตามจริตนิสัยแห่งตนต่อไป ด้วยความศรัทธาจริงจัง
ถ้าหากว่าพยายามตรวจจริตนิสัยแห่งตนเองแล้ว เห็นว่าไม่ตรงกับจริตใดจริตหนึ่งโดยเฉพาะ
แต่เข้ากันได้กับหลายจริตนิสัยดังกล่าว จะปฏิบัติสมถกรรมฐานประเภทใดก่อน
ให้พิจารณาเอาอารมณ์ขณะปัจจุบันว่า ตนมีจิตใจหนักไปทางใดมากที่สุด เช่น

 

 

หากอารมณ์ปัจจุบันจิตใจมากไปด้วย “ราคะ” ความกำหนดในความรัก ความใคร่ ในกามคุณ 5
ก็ให้เจริญ อสุภะกรรมฐานและกายคตาสติกรรมฐานเป็นหลัก

 

 

หากอารมณ์ในปัจจุบันกำลังเต็มไปด้วย “โทสะ” ความโกรธความแค้นความอาฆาต
ความพยาบาท ความขัดเคืองไม่พอใจ ก็ให้เจริญ เมตตาภาวนา กรุณาภาวนา
มุทิตตาภาวนา และอุเบกขาภาวนา หรือเจริญวรรณกสิณ 4 คือ สีแดง สีเหลือง
และสีขาว

 

 

หากเวลาอารมณ์ในปัจจุบันหนักไปใน “วิตกจริต” คือ
มีความคิดฟุ้งซ่านมากเรื่องโดยจับสายปลายเหตุไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร
ทำไมจึงฟุ้งซ่านมากมายก็ให้เจริญ กสิณดิน กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ กสิณแสงสว่าง
กสิณอากาศ กสิณสีแดง สีเหลือง สีขาว สีเขียว

 

 

หากอารมณ์ปัจจุบันเกิดความหดหู่ท้อแท้ไม่มีกำลังใจจะปฏิบัติธรรม
ก็ให้เจริญมรณานุสติกรรมฐาน หรือ พุทธานุสติกรรมฐาน หรือ ธัมมานุสติกรรมฐาน
หรือสังฆานุสติกรรมฐาน หรือ เทวตานุสติกรรมฐาน หรือ อุปสมานุสติกรรมฐาน

 

 

การปฏิบัติกรรมฐานให้อารมณ์ปัจจุบันเป็นหลักแล้ว
โดยเลือกเอากรรมฐานให้ตรงกับจริตและเหมาะสมกับอารมณ์ปัจจุบัน
ก็จะทำให้สำเร็จได้เร็ว

 

 

 

 

อนุสติ 10

 

 

อนุสติ แปลว่า ความระลึก ความตรึกตรอง ความนึกคิด ความใคร่ครวญ พิจารณามหาพิจารณาจนเป็นเหตุให้เกิดอุปจารสมาธิ และอนุสติบางชนิดก็เป็นเหตุให้เกิดอัปปนาสมาธิ คือ สมาธิถึงฌาน 4 หรือฌาน 5

 

 

 

 

อนุสติ 10 คือ

 

 

1. พุทธานุสติ ความระลึกนึกคิดตรึกตรอง ใคร่ครวญถึง คุณพระพุทธเจ้า เป็นอารมณ์ ซึ่งสามารถได้อุปจารสมาธิ

 

 

2. ธัมมานุสติ ความระลึกนึกคิดตรึกตรอง ใคร่ครวญถึง คุณพระธรรม เป็นอารมณ์ ซึ่งสามารถได้อุปจารสมาธิ

 

 

3. สังฆานุสติ ความระลึกนึกคิดตรึกตรอง ใคร่ครวญถึง คุณพระสงฆ์ เป็นอารมณ์ ซึ่งสามารถได้อุปจารสมาธิ

 

 

4. สีลานุสติ ความระลึกนึกคิดตรึกตรอง ใคร่ครวญถึง คุณแห่งศีล เป็นอารมณ์ ซึ่งสามารถได้อุปจารสมาธิและได้ ฌาน 1

 

 

5. จาคนุสติ ความระลึกนึกคิดตรึกตรอง ใคร่ครวญถึง อานิสงส์แห่งความเสียสละ บริจาคให้ทาน เป็นอารมณ์ซึ่งสามารถได้อุปจารสมาธิ

 

 

6. เทวตานุสติ ความระลึกนึกคิดตรึกตรอง ใคร่ครวญถึง คุณธรรม อันเป็นเหตุให้ได้จุติเป็นเทพ เทวดา นางฟ้า เป็นอารมณ์ ซึ่งสมารถได้อุปจารสมาธิ

 

 

7. มรณสติ ความระลึกนึกคิดตรึกตรอง ใคร่ครวญถึง ความตายทุกลมหายใจเข้าออก เป็นอารมณ์ ซึ่งสามารถได้ฌาน 1

 

 

8. กายคตาสติ ความระลึกนึกคิดตรึกตรอง ใคร่ครวญถึง กายในกาย สังขารในสังขาร รูปในรูป จนแจ้งเป็นอารมณ์ สามารถได้ฌาน 1

 

 

9. อุปสมานุสติ ความระลึกนึกคิดตรึกตรอง ใคร่ครวญถึง ความสูญจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ทิฐิ ซึ่งความสุขอย่างยิ่งเป็นอารมณ์ สามารถได้ ฌาน 1

 

 

10. อานาปานสติ ความระลึกนึกคิดตรึกตรอง ใคร่ครวญพิจารณา มหาพิจารณาอยู่กับลมหายใจเข้าออก เป็นอารมณ์ สามารถได้ ฌาน 4

 

 

การบำเพ็ญจิตในขั้นแรก ก็เหมือนกับเด็กเกิดใหม่นั่นแหละ ต้องพยายามหาวิธีทำให้จิตนิ่ง เพื่อสะสมพลังอำนาจทิพย์ให้แก่กล้า

 

 

 

1. พุทธานุสติ สมถกรรมฐานกองนี้ อาจารย์ท่านสอนให้ระลึกนึกคิดตรึกตรอง ใคร่ครวญ ถึงคุณงามความดีของพระพุทธองค์ เพราะคุณความดีของพระพุทธองค์นั้นมีมากมายสุดจาระไนได้หมด
บุคคลใดก็ตาม ระลึก ตรึกตรอง นึกคิดถึงคุณความดีของพระพุทธองค์แล้วย่อม เป็นเหตุให้จิตใจว่างจากบาป อกุศล ความชั่ว ยกจิตใจของผู้ภาวนาให้ได้ความสุข ความสงบ ความบริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส ไร้ราคีแห่งกิเลสตัณหาได้ การระลึกนึกคิดตรึกตรอง กระทำได้หลายแบบ กล่าวคือก. “ พระพุทธคุณ 3 ”นักปฏิบัติธรรมผู้หวังความสงบ ความพ้นทุกข์เมื่อได้สถานที่ปฏิบัติธรรมอันเป็นที่สัปปายะแล้ว จะนั่ง ยืน เดิน หรือนอน ภาวนาอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม
1. ย่อมระลึกนึกคิดตรึกตรองถึง พระบริสุทธิคุณ ความบริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส ไร้ราคี สิ่งเศร้าหมองของพระพุทธองค์ เพราะทรงเป็นบุคคลแรกในโลกที่ทรงกำจัดอาสวะ กิเลส ตัณหาได้สิ้น พระพุทธองค์ทรงไม่มีบาป อกุศล ความชั่วใดๆ ทางกาย ทางวาจาและทางใจเหลืออยู่เลย
ทรงหยุดแล้วจากความชั่วทั้งปวง เจริญด้วยกุศลความดีทั้งปวง และทรงมีจิตใจบริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้ราคี สิ่งเศร้าหมองใดๆทั้งปวง
2. ย่อมระลึกนึกคิดตรึกตรองถึง พระปัญญาคุณ อันยอดเยี่ยมเฉียบพลันเป็นยอดบุรุษอาชาไนย พระพุทธองค์มีพระปัญญาที่จะโปรดสัตว์ ให้พ้นจากวัฏสงสาร โดยวิธีการง่าย ๆ พระพุทธองค์มีพระปัญญาในการเผยแผ่ พระธรรมจักร ที่ทำให้สัตว์โลกได้ดวงตาเห็นธรรมพระพุทธองค์มีพระปัญญาเลิศกว่า มนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ พระพุทธองค์ทรงมีพระปัญญาทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง พร้อมปฏิปทาให้ถึงโลกทั้งปวง ฯลฯ
3. ย่อมระลึกนึกคิดตรึกตรองถึง พระมหากรุณาธิคุณ มื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้บรรลุวิมุติถึงความสิ้นทุกข์ สุขอย่างยิ่งแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงมีพระกรุณาทรงก้าวออกมาช่วยโปรดสัตว์โลก ที่กำลังจมอยู่ในทะเลทุกข์ ให้พ้นจากทะเลทุกข์ ให้หลุดออกจากวัฏสงสาร
การเวียนว่ายตายเกิดที่เต็มไปด้วยทุกข์ หากพระพุทธองค์ไม่มีพระกรุณาแล้วไซร้ พระพุทธศาสนาก็คงไม่ดำรงมาถึงเราทั้งหลายจนทุกวันนี้ข. “พระพุทธคุณ 9”อิติปิโส ภะคะวา , อะระหัง ,สัมมาสัมพุทโธ , วิชชา จะระณะ สัมปัณโณ , สุคะโต , โลกะวิทู , อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ , สัตถา เทวะมะนุสสานัง , พุทโธ , ภะคะวา ติ ฯ
1. อรหัง แปลว่า ท่านผู้ไกลจากกิเลส ตัณหา ซึ่งพระพุทธองค์ทรงสิ้นแล้วจากกิเลส 1500 ,ตัณหา 108,อุปาทาน 4 ,ทิฐิ 62,กรรม 12 ,สังโยชน์ 10, นิวรณ์ 5, ภพ 3 ,อวิชชา 8 เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างแท้จริง ไกลจากอาสวะเครื่องเศร้าหมองชนิดถาวรชั่วนิรันดร์
2. สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ตรัสรู้เองโดยชอบ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ ,สมุทัย, นิโรธ และมรรค ซึ่งยังไม่มีศาสดาใดในสมัยพุทธองค์ตรัสรู้ก่อนกล่าวคือทรงตรัสรู้ความจริงว่า
- ทุกข์ทั้งปวง เกิดขึ้นที่กายกับใจ หรือรูปกับนาม นั่นหมายถึงกาย เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ คือที่เกิดของทุกข์ทั้งปวง 10 ประการ
- สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงเกิดจากจิตมีตัณหา อุปาทาน ทิฐิ อวิชชา กิเลส กรรม สังโยชน์ นิวรณ์
- นิโรธ ความดับทุกข์ทั้งปวง เกิดจากการดับตัณหา อุปาทาน ทิฐิ อวิชชา กิเลส กรรม สังโยชน์ นิวรณ์ ได้สิ้น
- มรรค หนทางแห่งความพ้นทุกข์ ดับทุกข์ทั้งปวง คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ การเพียรพยายามชอบ การมีสติชอบ การมีสมาธิชอบ
3. วิชชา จะระณะสัมปันโณ แปลว่า พระพุทธองค์ทรงถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ คือพระพุทธองค์ทรงมี ความรอบรู้ และความประพฤติครบถ้วนสมบูรณ์
3.1 วิชชา แปลว่า ความรู้แจ้ง ความเห็นจริง ความเห็นสัทธรรมอันสูงสุดอันเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติ ตามหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ประสบกับความสุขอย่างยิ่ง คือพระนิพพานซึ่งได้แก่ วิชชา 8
วิชชา 8 คือ
1. วิปัสสนาญาณ พระองค์ทรงรู้แจ้งในเรื่องขันธ์ 5 เหตุเกิดแห่งขันธ์ 5 ปฏิปทาให้ถึงความดับขัน 5 อันเป็นวิปัสสนาญาณความรู้ให้ถึงความสิ้นทุกข์สุขอย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน
2. มโนมยิทธิญาณ ญาน คือฤทธิ์ทางใจ พระพุทธองค์ทรงสามารถแยกกายทิพย์ หรือถอดกายทิพย์ออกจากกาย แล้วไปปรากฏ ณ ภพภูมิ
3. อิทธิวิธีญาณ พระพุทธองค์ทรงสามารถแสดงฤทธิ์เดชปาฏิหารย์ได้มากมายอย่างอัศจรรย์ สุดที่ชาวโลกจะกระทำได้เสมอเหมือน
4. ทิพโสตญาณ พระพุทธองค์ทรงมีหูทิพย์ทรงได้ยินเสียงทิพย์ทั้งมนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ทั้งใกล้-ไกล ทั้งโลกนี้และโลกอื่นๆ
ได้ตามความเป็นจริงอันชาวโลกส่วนใหญ่รู้เองไม่ได้
5. ปรจิตตญาณ หรือ เจโตปริยญาณ พระพุทธองค์ทรงสามารถรู้วาระจิตของสัตว์โลกได้ตามความเป็นจริง คือ ทรงรู้ใจ ทรงรู้ความนึกคิดของสัตว์โลกได้หากพระองค์ทรงต้องการ ซึ่งชาวโลกส่วนใหญ่รู้ไม่ได้
6. ปุฟเพนิวาสานุสสติญาณ พระพุทธองค์ทรงมีความรู้ที่ชาวโลกส่วนใหญ่ไม่รู้ คือ ความระลึกชาติได้อย่างไม่มีสิ้นสุด ทรงมีความชำนาญในการระลึกชาติได้ทั้งอดีตของพระองค์เองและของชาวโลกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
7. ทิพยจักษุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ พระพุทธองค์ทรงมีตาทิพย์ สามารถรู้การเกิดการจุติของสัตว์โลกว่า อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสัตว์โลกในภพภูมิต่างๆได้ตามความเป็นจริง สัตว์โลกตายจากโลกนี้แล้ว ไปเกิด ณ ภพภูมิอื่นๆ ได้ด้วยกรรมอันใด พระพุทธองค์ก็ทรงมีความรู้แจ้งเห็นจริง ซึ่งสุดที่ชาวโลกส่วนใหญ่จะรู้แจ้งได้ด้วยตนเอง
8. อาสวักขยญาณ พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้ง จนทำอาสวะกิเลส ตัณหา อุปาทาน ทิฐิ อวิชชา สังโยชน์ กรรม ให้สิ้นจากกายใจ ได้อย่างสะอาดบริสุทธิ์ไร้ราคี
3.2 จรณะ หมายถึงความประพฤติ พระพุทธองค์ทรงมีความประพฤติครบถ้วนบริบูรณ์ สมบูรณ์ อย่างยอดเยี่ยม กล่าวคือ
1. พระพุทธถึงพร้อมด้วย ศีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยมีศีลปาฏิโมกข์ ไม่ด่างพร้อยผิดพลาดเศร้าหมองใด อันผู้รู้จะตำหนิติเตียนได้ตลอดชีวิต
2. อินทรีย์สังวร พระพุทธองค์ทรงถึงพร้อมด้วยความสำรวมระมัดระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส กายกระทบโผฏฐัพพะ ใจกระทบอารมณ์ พระพุทธองค์ก็ทรงระมัดระวังไม่ให้เกิดความกำหนัดยินดี ยินร้าย และหลงติดได้เลยตลอดชีวิต
3. โภชเนมัตตัญญุตา พระพุทธองค์ทรงรู้ประมาณในการบริโภคใช้สอยปัจจัย 4 ไม่ทรงมักมาก สะสมปัจจัย 4 ใดๆ เลยตลอดชีวิต
4. ชาคริยานุโยค พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้มีสติตื่นอยู่ตลอดเวลา โดยการอยู่ด้วยอานาปานสติบ้าง ทรงอยู่ด้วยฌาน 1-4 บ้าง อยู่ด้วย สุญญตา บ้าง
5. ศรัทธา พระพุทธองค์ทรงมีความศรัทธามั่นคงต่อพระธรรมวินัย ที่พระองค์ทรงตรัสรู้เองอย่างไม่คลอนแคลนใด ตลอดชีวิต
6. หิริ พระพุทธองค์ทรงมีปกติแห่งความละอายต่อบาป อกุศลแม้เพียงเล็กๆน้อยๆ ตลอดชีวิต
7. โอตตัปปะ พระพุทธองค์ทรงมีความเกรงกลัวต่อผลแห่งการกระทำบาปทางกาย ทางวาจา และทางใจ ตลอดชีวิต
8. พาหุสัจจะ พระพุทธองค์ทรงถึงพร้อมด้วยความเพียร ความแน่วแน่ที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นจากวัฏทุกข์ ให้ถึงความสุขอย่างยิ่งพระนิพพาน
9. วิริยะ พระพุทธองค์ทรงถึงพร้อมด้วยความเพียร ความแน่วแน่ที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นจากวัฏทุกข์ให้ถึงความสุขอย่างยิ่งคือพระนิพพาน
10. สติ พระพุทธองค์ทรงถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีสติสมบูรณ์ไม่ประมาท ไม่เผลอ ยินดี ยินร้าย หรือหลงติดสิ่งใดๆในโลกทั้งปวงตลอดชีวิต
11. ปัญญา พระพุทธองค์ทรงถึงพร้อมด้วยปัญญา ทั้งโลกียปัญญาและโลกุตรปัญญาหาใครเสมอเหมือนไม่ได้อีกแล้ว
12. ปฐมฌาน และ อรูปฌาน 1 พระพุทธองค์ทรงฝึกฝนจนถึงพร้อมสมบูรณ์ตลอดชั่วชีวิต
13. ทุติยฌาน และอรูปฌาน 2 พระพุทธองค์ทรงฝึกฝนจนถึงสมบูรณ์บริบูรณ์ตลอดเวลาชั่วชีวิต
14. ตติยฌาน และ อรูปฌาน 3 พระพุทธองค์ทรงฝึกฝนจนถึงพร้อมสมบูรณ์ บริบูรณ์ตลอดเวลาชั่วชีวิต
15. จตุตถฌาน และ อรูปฌาน 4 พระพุทธองค์ทรงฝึกฝนจนถึงพร้อมสมบูรณ์บริบูรณ์ตลอดเวลาชั่วชีวิต
นี่คือ จรณะ หรือ จริยวัตร อันงดงามบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์ตลอดชั่วชีวิต จนทำให้พระพุทธองค์ทรงอยู่อย่างมีความสงบเย็น อยู่อย่างมีความสุขแล้วเป็นแบบอย่างให้สาวก สาวิกา เอาเยี่ยงอย่างในทางที่ดีตลอดมา
4. สุคะโต แปลว่า พระพุทธองค์ เสด็จไปดีแล้ว ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเสด็จไป ณ สถานที่ใด ก็ทรงนำแสงสว่างบอกทางแห่งความสุข ความหลุดพ้นจากทุกข์ยังให้สัตว์โลกเกิดดวงตาเห็นธรรม ถึงธรรม รู้ธรรม แจ้งธรรม จนประสบความสุข ความเจริญ ในมรรค ผล นิพพาน พระพุทธองค์เสด็จไปที่ใด ย่อมเป็นที่สักการะ เคารพบูชาของสัตว์โลกทุกชนิด
5. โลกะวิทู แปลว่า พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวงตามความเป็นจริง กล่าวคือทรงรู้จักกามภพ ซึ่งได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ สวรรค์ พร้อมทั้งเหตุปัจจัยให้เกิด ทรงรู้แจ้งรูปภพ ซึ่งได้แก่รูปพรหม 16 ชั้น พร้อมทั้งเหตุปัจจัยให้เกิด ทรงรู้แจ้งอรูปภพ คืออรูปพรหม 4 ชั้น พร้อมทั้งเหตุปัจจัยให้เกิด และพระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งนิพพานอันเป็นสุขอย่างยิ่ง พร้อมทั้งเหตุปัจจัยให้เกิด
6. อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นนายสารถี ผู้ฝึกที่ไม่มีนายสารถีใดจะมีความสามารถฝึก มนุษย์ เทวดา เทพ พรหม ได้เหมือนพระพุทธองค์ พระพุทธองค์เป็นยอดครูผู้ฝึกให้สัตว์โลก พร้อมเทวดา อินทร์ พรหมได้รู้แจ้งธรรมได้อย่างยอดเยี่ยมหาใครเสมอทัดเทียมมิได้
7. สัตถา เทวะมะนุสสานัง แปลว่าพระพุทธองค์ เป็นครูผู้สอนของ เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ อสูร มนุษย์ ซึ่งไม่มีครูผู้สอนคนใดในโลกจะสอนมนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ให้บรรลุมรรคผล นิพพานได้อย่างยอดเยี่ยมเท่าพระพุทธองค์
8. พุทโธ แปลว่า พระพุทธองค์เป็น ผู้รู้ เป็นผู้ตื่น เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้สะอาด บริสุทธิ์ผ่องใส หาใครๆ ในโลกเสมอเหมือนมิได้
9. ภะคะวา แปลว่า พระพุทธองค์ ทรงมีโชค ได้ประสบพบกับความสุขอย่างยิ่งก่อนใครๆ พระองค์ทรงสิ้นทุกข์ทั้งปวงก่อนใครๆ ในโลก พระองค์ทรงทำลายวัฏสงสารก่อนใครๆ ในโลก พระองค์ทรงกำจัดกิเลส ตัณหา อุปาทาน ทิฐิ อวิชชา ได้หมดสิ้นก่อนใครๆ
จึงสรุปได้ว่า นักปฏิบัติธรรมที่เข้าสู่ป่า สู่สถานที่วิเวกอันน่ากลัว ควรเจริญพุทธานุสติโดยเจริญพระพุทธคุณ 9 บท ดังกล่าวมาก็ได้หรือจะสาธยาย
ชื่อของพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ก็ได้ จะทำให้ความกลัว ความสดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าหมดสิ้นไปจากใจ บุญกุศล ความดี ความสงบเย็นก็จะเกิดขึ้น อานิสงส์มากมายจะติดตามมา
*บทเจริญสาธยาย ชื่อพระพุทธเจ้า 28 พระองค์*
นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวิโร เมธังกะโร มะหายะโส
สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ
สุมะโน สุมะโนธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโณ
โสภิโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชนุตตะโม
ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระสาระถี
ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัตโต ปิยะทัสสี นะราสะโภ
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะวะทะตังวะโร
ปุสโส จะวะระโท พุทโธ วิปัสสี จะอะนูปะโม
สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
กะกุสันโท สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว
บุคคลใด ได้สวดสาธยายพุทธมนต์บทนี้แล้ว ย่อมอยู่ยงคงรอด อยู่ยอดปลอดภัย จากภัยพิบัติทั้งปวง ย่อมแคล้วคลาด ปราศจากอุปสรรคอันตรายจาก ภูต ผี ปีศาจ คุณไสย เสน่ห์ยาแฝด วิชชาสายดำทั้งปวง
ผู้กล่าวตู่ตถาคต คือ
1. บุคคลผู้ประทุษร้าย มีโทสะอยู่ภายใน
2. ผู้มีศรัทธากล่าวตู่ ด้วยถือเอาความหมายผิด
2. ธัมมานุสติ ธัมมานุสติ หรือ ธรรม ในที่นี้หมายถึง การระลึก
นึกคิดตรึกตรองใคร่ครวญ ถึง พระสัทธรรม ความจริงแท้แห่งชีวิต แม้แต่พระพุทธองค์ ซึ่งเป็นพระศาสดาผู้ให้กำเนิดพุทธศาสนาก็ทรงตรัสว่า “พระพุทธองค์ก็ทรงให้ความเคารพบูชา โดยน้อมเอาพระธรรม และวินัยมาเป็นศาสดา ที่พึ่ง ที่เคารพ ตลอดพระชนม์ชีพอยู่” การระลึกนึกถึงพระสัทธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ให้เริ่มด้วยการสรรเสริญคุณของพระธรรม 6 ประการเสียก่อนคือ
สวาขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ,
สันทิฏฐิโก , อะกาลิโก ,
เอหิปัสสิโก ,
โอปะนะยิโก,
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ติ
คุณธรรม 6 ประการ
1. สวากขาโต ภควตา ธัมโม ซึ่งแปลว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว ซึ่งได้แก่ พระสูตร 21,000 พระธรรมขันธ์ , พระวินัย 21,000 พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรม 42,000 พระธรรมขันธ์ซึ่งย่อลงมาเหลือ อธิศีล ,อธิจิต,อธิปัญญา
-อธิศีล ได้แก่ ศีล 5, ศีล 10 ,ศีล 227, ศีล 311 ข้อ เป็นธรรมข้อห้ามหยุดบาป ทางกาย ทางวาจา จนมีกาย บริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์
-อธิจิต ได้แก่ การบำเพ็ญสมาธิจิตจนได้ ฌาน 1-2-3-4 และการบำเพ็ญสมาธิจิตจนได้ รูปฌาน 1-2-3-4
-อธิปัญญา ได้แก่ การเจริญวิปัสสนาภาวนา จนสำเร็จมรรค ผล นิพพาน สิ้นกิเลส ตัณหา อุปาทาน ทิฐิ
ถึงความสิ้นทุกข์ สุขอย่างยิ่งชั่วนิรันดร์ พระธรรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ สุขอย่างยิ่ง สงบเย็น คือ
โพธิปักขิธรรม 37 ประการ อันได้แก่ สติปัฏฐาน 4, สัมมัปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5 ,พละ 5 ,โพชฌงค์ 7 ,อริยมรรค 8
2. สันทิฏฐิโก ซึ่งแปลว่า เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเองอันหมายถึงพระพุทธองค์ทรงตรัส ธรรมที่เป็นกุศล เป็นสัมมาทิฐิ บุคคลใดปฏิบัติย่อมเห็นผล คือ ความสุข ความเจริญ ความร่มเย็นได้ด้วยตนเอง ส่วนบุคคลใดปฏิบัติธรรมที่เป็นอกุศล บาป ความชั่วด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมอง เป็นทุกข์ วิบัติได้ด้วยตนเอง ใครๆ จะเป็นผู้รับผลของกุศลธรรม อกุศลธรรม ของผู้อื่นหาได้มีไม่
3. อะกาลิโก ซึ่งแปลว่า ผู้ปฏิบัติธรรม ย่อมเสวยผลของการปฏิบัติไม่เลือกกาลไม่เลือกสมัย ปฏิบัติธรรมสมัยใดย่อมได้รับผลปัจจุบันทันตาสมัยนั้น ผู้ปฏิบัติไม่บกพร่องผิดพลาดในศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสัมมาปฏิบัติก็สำเร็จมรรค ผล นิพพาน ในปัจจุบันชาตินี้ ไม่ต้องรอชาติหน้าต่อไป พระพุทธองค์ตรัสเมื่อมีปริยัติแล้วลงมือปฏิบัติตาม ปริยัติ ทุกขั้นตอนก็ย่อมเกิดผล คือ ปฏิเวธ ได้แก่ มรรค ผล นิพพาน นั่นเอง
4. เอหิปัสสิโก ซึ่งแปลว่า ควรเรียกมาให้ดู เพราะธรรมะของพรพุทธองค์ย่อมคงทนต่อการพิสูจน์ คงทนต่อการท้าทาย เป็นสัทธรรมที่มั่นคงไม่หวั่นไหว ใครๆ จะทำลายแก้ให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ สัทธรรมก็ยังเป็นสัทธรรมมั่นคงอยู่ชั่วนิรันดร์
5. โอปะนะยิโก ซึ่งแปลว่า นักปฏิบัติธรรม ควรน้อมธรรมเข้ามาสู่ตนเพราะที่พึ่งอันใดในโลกนี้ พึ่งไม่ได้ถาวรชั่วนิรันดร์ ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ต้องการที่พึ่งอันประเสริฐ ที่พึ่งที่เป็นอมตะธรรมไม่ตาย ก็ควรน้อมธรรมเข้ามาสู่ตนให้ได้มากที่สุด
6. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ติ ซึ่งแปลว่า อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน ผู้ปฏิบัติธรรมจนถึง มรรค ผล นิพพานแล้ว ย่อมรู้ได้เฉพาะตนเองว่าสิ้นทุกข์แล้ว สุขอย่างยิ่งสงบเย็นยิ่ง ซึ่งไม่เคยมีความสุขเช่นนี้มาก่อนเลยชั่วชีวิต

 

 

 

 

*************************************************
คติธรรมที่พึงระลึกถึงอยู่เนือง ๆ
บุคคลพึงควรรีบทำความดี พึงห้ามจิตจากบาป อกุศล ความชั่วเสียเถิด เพราะหากทำบุญ กุศล ความดี ช้าไป ใจย่อมยินดีในบาป อกุศล ความชั่ว หากจำเป็นต้องทำบาป อกุศล ความชั่ว แล้วไซร้ ไม่พึงทำบาป อกุศล ความชั่วบ่อยๆ ไม่พึงทำความพอใจในบาปอกุศล ความชั่วนั้นๆ เพราะการสั่งสมบาป อกุศล ความชั่ว นำความทุกข์มาให้ หากบุคคลพึงทำบุญแล้วไซร้ พึงทำบุญกุศล ความดีนั้นบ่อยๆ เพราะการสั่งสมบุญ กุศล ความดี ย่อมนำความสุขมาให้ ถึงแม้ว่าคนพาล คนใจบาปหยาบช้า ลามกยังเจริญรุ่งเรืองอยู่ เพราะกุศลกรรมเก่ายังให้ผลอยู่ตราบเท่าที่บาป อกุศล ความชั่วยังไม่ส่งผล แต่เมื่อใดบาป อกุศล ความชั่ว แต่ก็สายเสียแล้ว
บุคคลอย่าพึงดูหมิ่นบาป อกุศล ความชั่วว่าเล็กๆน้อยๆ ว่าไม่มีผล จะไม่มาถึงตน เพราะแม้แต่หม้อน้ำยังสามารถรองรับน้ำที่ตกลงที่ละหยดๆ จนเต็มได้ฉันใด นักปราชญ์ควรสั่งสมบุญแม้ที่ละเล็กทีละน้อย ย่อมจะเต็มไปด้วยบุญได้ฉันนั้น
บาปย่อมไม่มีแก่คนผู้ไม่ได้ทำความชั่ว ผู้ใดประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง บาปทั้งปวงย่อมย้อนกลับถึงผู้ประทุษร้ายผู้คนพาลนั้นเอง ดุจธุลีละเอียดที่บุคคลซัดทวนลมไป ย่อมย้อนกลับมาเข้าตาบุคคลผู้ซัดทวนลมฉันนั้น ฉะนั้นคนพาล คนใจบาป หยาบช้าย่อมเข้าถึงครรภ์บ่อยๆ ย่อมเข้าถึงนรก ส่วนผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีศีลธรรมย่อมไปสู่สวรรค์ ส่วนผู้ไม่มีกิเลสอาสวะเครื่องเศร้าหมอง ย่อมปรินิพพาน

ตถาคตกล่าวว่า ผู้ไม่มีความหวังทั้งโลกนี้และโลกหน้า
ไม่มีตัณหาความทะเยอทะยานอยากได้ ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองว่า
เป็นพราหมณ์ผู้สำเร็จกิจพรหมจรรย์

 

 

ตถาคตกล่าวว่า ผู้ไม่มีความอาลัยติดใจสิ่งทั้งปวง, ไม่เคลือบแคลงสงสัย มรรค ผล
นิพพาน เพราะรู้ธรรมทั้งปวงทั่วแล้ว จิตใจหยั่งลงสู่ความเป็นอมตะ บรรลุ มรรค ผล
ตามลำดับว่า เป็นพราหมณ์ผู้เสร็จกิจพรหมจรรย์แล้ว

 

 

ตถาคตกล่าวว่า ผู้ละทั้ง บาป บุญ คุณโทษ ลุล่วงกิเลส เครื่องขัดข้องในโลกนี้
ผู้ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี บริสุทธิ์ว่า เป็นพราหมณ์ผู้เสร็จกิจแล้ว

 

 

ตถาคตกล่าวว่า ผู้หมดความเพลิดเพลินยินดีในภพทั้งสิ้นแล้ว มีจิตบริสุทธิ์ผ่องใส
ไม่ขุ่นมัวเหมือนพระจันทร์ ปราศจากมลทินนั้นว่า เป็นพราหมณ์ผู้เสร็จกิจแล้ว

 

 

ตถาคตกล่าวว่า ผู้ล่วงทางลื่น ทางที่ไปโดยยาก(ทางนิพพาน)
ละสงสารและโมหะนี้เสียได้ เป็นผู้ข้ามพ้นแล้วซึ่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ ถึงฝั่งคือนิพพาน
เพ่งฌานไม่หวั่นไหวไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย ดับแล้วซึ่งความยึดมั่นว่า
เป็นพราหมณ์ผู้เสร็จกิจธุระแล้ว

 

 

ตถาคตกล่าวว่า ผู้ละกามคุณทั้งหลายในโลกนี้โลกหน้าเป็นผู้ไม่มีเรือน
งดเว้นได้แล้วมีกามและภพ หมดสิ้นแล้วว่า เป็นพราหมณ์ผู้สำเร็จกิจธุระแล้ว

 

 

ตถาคตกล่าวว่า ผู้ละโยคะ การประกอบตนในกาม ในภพ
ในทิฐิในอวิชชาถอนตนให้หลุดจากความเป็นมนุษย์ และความเป็นเทพ พรหม
หลุดพ้นแล้วจากเครื่องขัดข้องทั้งปวงทั้งโลกนี้และโลกหน้าว่า เป็นพรหมผู้เสร็จกิจแล้ว

 

 

ตถาคตกล่าวว่า ผู้ละความยินดี ความยินร้าย
ความหลงติดยึดมั่นถือมั่นได้แล้วเป็นผู้สงบเย็น ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้เวียนว่ายตายเกิด
คลายละ ปล่อยวางซึ่งโลกทั้งปวง เป็นผู้ไม่กลัวต่อความตายว่า
เป็นพราหมณ์ผู้เสร็จกิจธุระแล้ว

 

 

ตถาคตกล่าวว่า ผู้รู้เหตุจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งปวงได้โดยประการทั้งปวง ผู้ไม่ข้องอยู่
ไปดี ตรัสรู้แล้วว่า เป็นพราหมณ์ผู้เสร็จกิจธุระแล้ว

 

 

ตถาคตกล่าวว่า ผู้ที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์รู้คติของเขาไม่ได้
มีอาสวะสิ้นแล้วเป็นอรหันต์ว่า เป็นพราหมณ์ผู้เสร็จกิจธุระแล้ว

 

 

ตถาคตกล่าวว่า ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลในขันธ์ทั้งหลาย
ที่เป็นอดีตปัจจุบันและในอนาคต ไม่มีความกังวล ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า
เป็นพราหมณ์ผู้เสร็จกิจแล้ว

 

 

ตถาคตกล่าวว่า ผู้องอาจแกล้วกล้าประเสริฐ แสวงหาคุณอันใหม่
ชนะเสร็จแล้วไม่หวั่นไหวชำระกิเลส ตรัสรู้แล้วว่า
เป็นพราหมณ์อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทั้งปวง

 

 

****************************************

 

 

 


อันสตรี ไม่มีศีล ก็สิ้นสวย

 

 

บุรุษด้วย ไม่มีศีล ก็สิ้นศรี

 

 

ภิกษุท่าน ไม่มีศีล ก็สิ้นดี

 

 

ข้าราชการ ศีลไม่มี ก็เลวทราม

 

 

 

 

 

3. สังฆานุสติ

 

 

 

สังฆานุสติภาวนา คือ การระลึกถึงคิดตรึกตรองถึงคุณงามความดีของพระสงฆ์
โดยเฉพาะพระอริยะสงฆ์ประเภทพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ซึ่งเป็น

 

 

สุปะฏิบันโน - ท่านเป็นผู้ปฏิบัติตน ดีแล้ว

 

 

อุชุปะฏิปันโน - ท่านเป็นผู้ปฏิบัติตน ตรงแล้ว

 

 

ญายะปะฏิปันโน - ท่านเป็นผู้ปฏิบัติตน เป็นธรรมจริงแท้

 

 

สามีจิปะฏิปันโน - ท่านเป็นผู้ปฏิบัติตน สมควรแก่การเคารพบูชา กราบไหว้

 

 

ถวายไทยทานต่างๆ

 

 

พระอรหันต์ที่เป็นเลิศควรระลึกนึกถึง คือ

 

 

1. พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระอรหันต์องค์แรกในโลก

 

 

2. พระสารีบุตร เป็นพระอรหันต์เลิศทางด้านปัญญา

 

 

3. พระมหาโมคคัลลานะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางมีฤทธิ์

 

 

4. พระมหากัสสปะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางพูดยกย่องธุดงค์

 

 

5. พระอนุรุทธะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางมี ทิพยจักษุ (ตาทิพย์)

 

 

6. พระภัททิยะ กาฬิโคธายบุตร เป็นพระอรหันต์เลิศในทางมีสกุลสูง

 

 

7. พระลกุณฏกะ ภัททิยะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางมีเสียงไพเราะ

 

 

8. พระปิณโฑละภารทวาชะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางบรรลือสีหนาท

 

 

(เปล่งวาจาอย่างองอาจ)

 

 

9. พระปุณณะ มันตานีบุตร เป็นพระอรหันต์เลิศในทาง แสดงธรรม

 

 

10. พระมหากัจจานะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางจำแนกอรรถ แห่งภาษิตโดย

 

 

พิสดาร

 

 

11. พระจุลลปันถกะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางงนิรมิตกายอันสำเร็จด้วย

 

 

ใจ(มโนมยิทธิ) และเป็นเลิศในธรรมที่ไม่เวียนว่ายฝ่ายสมาธิ

 

 

12. พระมหาปันถกะ เป็นพระอรหันต์เลิศในธรรมที่ไม่เวียนฝ่ายปัญญา

 

 

13. พระสุภูติ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางเป็นผู้อยู่ด้วยธรรมอันไม่มี กิเลสและเป็นผู้เลิศในทางควรแก่ของถวายไทยทาน

 

 

14. พระเรวตะ ขทิรวนิยะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทาง อยู่ป่าเป็นวัตร

 

 

15. พระกังขาเรวตะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางง เข้าฌาน

 

 

16. พระโสณะ โกลิวิสะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทาง ปรารถนาความเพียร

 

 

17. พระโสณะ กุฏิกัณณะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางกล่าววาจาไพเราะ

 

 

18. พระสิวลี เป็นพระอรหันต์เลิศในทางลาภมาก

 

 

19. พระวักกลิ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางน้อมใจไปตามความเชื่อ

 

 

20. พระราหุล เป็นพระอรหันต์เลิศในทางใคร่ต่อการศึกษาเล่าเรียน

 

 

21. พระรัฏฐปาละ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางบวชด้วยความศรัทธา

 

 

22. พระกุณฑธานะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางจับฉลากได้เป็นองค์แรก

 

 

23. พระวังคีสะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางมีปฏิภาณ

 

 

24. พระอุปเสนะ วังคันตบุตร เป็นพระอรหันต์เลิศในทางทำให้เกิดความเลื่อมใสทั่วไป

 

 

25. พระทัพพะ มัลลบุตร เป็นพระอรหันต์เลิศในทางจัดเสนาสนะ(ที่อยู่อาศัย)

 

 

26. พระปิลินทวัจฉะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางเป็นที่รักที่พอใจของเทวดา

 

 

27. พระพาหิยะ ทารุจีริยะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทาง ตรัสรู้ได้รวดเร็ว

 

 

28. พระกุมารกัสสปะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางกล่าวธรรมอันวิจิตรด้วยอุปมา

 

 

29. พระมหาโกฏฐิตะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางปฏิสัมภิทา (แตกฉานในธรรมะ)

 

 

30. พระอานนท์ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางพหุสูต (สดับรับฟังมาก)

 

 

- เป็นเลิศในทางมีสติ (ความระลึกได้ ความทรงจำ)

 

 

- เป็นพระอรหันต์อุปัฏฐาก รับใช้พระพุทธองค์

 

 

31. พระอุรุเวลกัสสปะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางมีบริวารมาก

 

 

32. พระกาฬุทายี เป็นพระอรหันต์เลิศในทางทำให้สกุลเลื่อมใส

 

 

33. พระพักกุละ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางมีอาพาธน้อย

 

 

34. พระโสภิตะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางระลึกชาติได้มาก

 

 

35. พระอุบาลี เป็นพระอรหันต์เลิศในทางทรงจำพระวินัยได้มาก

 

 

36. พระนันทกะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางให้โอวาทแก่นางภิกษุนี

 

 

37. พระนันทะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางสำรวมอินทรีย์ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

 

 

38. พระมหากัปปินะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางให้โอวาทแก่ภิกษุ

 

 

39. พระสาคตะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางธาตุไฟเก่ง (ในการเข้าสมาบัติ มีธาตุไฟเป็นอารมณ์)

 

 

40. พระราธะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางทำให้เกิดปฏิภาณ (ในการแสดงพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า)

 

 

41. พระโมฆราชะ เป็นพระอรหันต์เลิศในทางทรงจีวรสีหมอง

 

 

 

การบวชนั้น หมายความว่า ตัดแล้วซึ่งโลกียะ บวชเพื่อบำเพ็ญให้ถึงจุดแห่งพุทธะ แล้วนำเอาหลักแห่งการ

 

 

บำเพ็ญให้ถึงจุดแห่งพุทธะ ที่องค์พระสมณโคดมได้วางไว้มาเผยแพร่ สอนคนอื่นต่อไป

 

 

* หลวงปูทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด)
คาถาภาวนานมัสการพระอรหันต์ 8 ทิศ
สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกญฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคคะเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปะลิ จะ
ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อีสาเนปิ จะ ราหุโล
อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน ฯ
อิจเจวะมังจัน ตะนะมัสสะเนยยัง
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ

 

 

 

คาถาบูชาพระสีวลี (ให้ร่ำรวย)
สีวลี จะมะหาเถโร ชัยยะสิทโธ มะหิทธิโก เถรัสสะนุภาเวนะ
คาถาภาวนาบูชาพระศรีอริยเมตตรัย
เมตตานะ ศรีอริยเมตโต พุทธา นะมะ สันติเกโล อนาคามิ สาธุ สาธุ สาธุ

 

 

 

คาถาภาวนาบูชาหลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด)
อิติ อิติ โพธิสัตว์ อิติ อิติ โพธิสัตว์ อิติ อิติ โพธิสัตว์
คาถาภาวนาบูชาท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ (พระอรหันต์ ศิษย์พระโมคคัลลานะ)
ชินนะปัญจะระ ชินนะปัญจะระ ชินนะปัญจะระ

 

 

 

คาถาภาวนาบูชาหลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
นะโมโพธิสัตว์โต พรหมรังษี นะโมโพธิสัตว์โต พรหมรังษี นะโมโพธิสัตว์โต พรหมรังษี

 

 

 

คาถาภาวนาบูชาเจ้าแม่กวนอิม
นะโม โพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร นะมะพะทะ
นะโม โพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร นะมะพะทะ
นะโม โพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร นะมะพะทะตัวอย่าง

พระอริยสงฆ์ ที่น่าเคารพบูชา
ประวัติ สุภูตติเถระ
พระอริยะสุภูติเถระ เป็นบุตรของสมุนเศรษฐีในพระนครสาวัตถี วันหนึ่งเมื่ออนาถบัณทิกเศรษฐีได้ทำการฉลองพระเชตวันมหาวิหาร ท่านสุภูติมาณพก็ได้ไปสู่วิหารนั้นด้วย เมื่อสุภูติมาณพได้ฟังธรรมเทศนาจบแล้ว ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาปรารถนาจะอุปสมบทในพระศาสนา จึงได้ขออนุญาตบิดา มารดาออกอุปสมบทจนสำเร็จแล้ว พระศาสดาจึงทรงอนุญาตให้อุปสมบท จากนั้นก็ได้ประพฤติปฏิบัติด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ในสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในป่า ไม่ช้าไม่นานก็สำเร็จพระอรหันตผล
พระสุภูติเภระ เป็นพระสุปะฏิปันโนที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว จึงได้รับความเป็นเลิศจากพระพุทธองค์ว่า
เป็นพระอริยสงฆ์ที่เลิศในการเป็นอยู่อย่างไม่มีกิเลส เครื่องเเศร้าหมองแห่งจิตใจเป็นผู้อยู่อย่างบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสตัณหา มิจฉาทิฐิ
เป็นผู้ควรได้รับทักษิณาทานจากญาติโยมอย่างยิ่ง ญาติโยมท่านใดได้ทำบุญได้ระลึกนึกถึงย่อมได้บุญกุศลมากมายสุดจาระไน
เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติคนใดหมั่นระลึกนึกถึงพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเป็นสัมมาทิฐิ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมย่อมจะได้อานิสงส์
ได้บุญกุศลความดีและได้เจริญรอยตามพระอริยเจ้า ผู้ไกลจากกิเลสตัณหา และตนย่อมพลอยได้รับความสิ้นกิเลส ตัณหา ตามบ้างไม่มากก็น้อย

 

 

ธรรมที่เป็นอันตรายแก่สมาธิ 8 ประการ
1. กามฉันทะ ความชอบใจ ติดใจในกาม
2. พยาบาท ความขัดเคือง
3. ถีนมิทธะ ความหดหู่ ท้อถอย
4. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
6. อวิชชา ความไม่รู้
7. อรติ ความไม่ยินดี
8. อกุศลธรรมทั้งปวง

 

 

 

ธรรมที่อุปการะแก่สมาธิ 8 ประการ
1. เนกขัมมะ ความออกจากกาม
2. อพยาปาท ความไม่ขัดเคือง
3. อาโลกสัญญา ความกำหนดหมายแสงสว่าง
4. อวิกเขปะ ความไม่ฟุ้งซ่าน
5. ธัมมะวัตถานะ ความกำหนดธรรม
6. ญาณ ความหยั่งรู้
7. ปามุชชะ ความปราโมช
8. กุศลธรรมทั้งปวง

 

 

 

 

 

4. สีลานุสติ
สีลานุสติภาวนา คือ การระลึกนึกคิดตรึกตรองถึงความบริสุทธิ์ ความไม่ด่างพร้อย ความไม่เศร้าหมอง แห่งศีล วินัย เพราะ
ศีล แปลว่า เจตนา เครื่องเว้นจาก บาปทางกาย ทางวาจา
ศีล แปลว่า ความสำรวม ทางกาย ทางวาจา ให้บริสุทธิ์ไม่เศร้าหมอง
ศีล แปลว่า ปกติ ของคนดีที่ไม่กระทำบาป ทางกาย ทางวาจา
ศีล แปลว่า ความไม่ประมาท ความไม่เผลอ กระทำบาปทางกาย ทางวาจา

 

 

ฆราวาส ปกติ ควรมี ศีล 5 คือ
1. หยุดฆ่ามนุษย์ และสัตว์ทุกชนิด
2. หยุดลัก ขโมย ฉ้อโกง ทุจริต คอรัปชั่น
3. หยุดเป็นชู้ ผิดสามี ภรรยาผู้อื่น (ผู้ถือศีล 8 ต้องรักษาพรหมจรรย์)
4. หยุดกล่าวคำเท็จ คำหยาบ นินทา ส่อเสียดต่อผู้อื่น
5. หยุดเสพสุรายาเมา สิ่งเสพติด ทุกชนิด
อุบาสก-อุบาสิกา (นั่งใกล้พระรัตนตรัย) ควรมีศีล 8 โดยมีศีล 5 แล้วเพิ่มอีก 3 ข้อ คือ
6. หยุดรับประทานอาหารตังแต่เที่ยงวันไปแล้ว โดยทานอาหารไม่เกิน 2 มื้อ
7. หยุดฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และหยุดประดับตกแต่งร่างกาย ด้วยเครื่องหอม ของมีค่า มีราคา ทุกชนิด
8. หยุดนั่งนอน ที่นอนสูงใหญ่ภายในบรรจุนุ่น สำลี
สามเณร (ผู้รับใช้พระ) ควรมีศีล 10 คือ ศีล 8 แบ่งออกได้ 9 ข้อ แล้วเพิ่มข้อ 10 คือ
10. ไม่ยินดี ติดใจ พอใจกับการรับเงินทอง สิ่งมีค่า หรือไม่สะสมปัจจัยคือเงินทองสิ่งมีค่าทุกชนิด
ภิกษุ-สมณะ (ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร) ควรมีศีล 227 ข้อ พอสรุปได้เป็น 8 ข้อใหญ่ๆ คือ
1. ปาราชิก 4 ข้อ (ขาดจากความเป็นพระ จะบวชอีกไม่ได้)
2. สังฆาทิเสส 13 ข้อ (อาบัติหนักรองจากอาบัติปาราชิก)
3. อนิยต 2 ข้อ (วิธีปรับอาบัติเพราะนั่งในที่ลับหูหรือลับตากับ(หญิง 2 ต่อ 2)
4. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของก่อนจึงแสดงอาบัติตก)
5. ปาจิตตีย์ 92 ข้อ (อาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
6. ปาฏิเทสนียะ 4 ข้อ (สิ่งที่พึงแสดงคืน)
7. อธิกรณ์สมถะ 7 ข้อ (การระงับ อธิกรณ์)
8. เสขิยวัตร 75 ข้อ (ธรรมเนียม วัตร มารยาทของภิกษุ) นักปฏิบัติธรรม จะเป็นฆราวาส อุบาสก อุบาสิกา สามเณร ภิกษุ สมณะ ก็ตามเมื่อได้ระลึก
นึกถึง ตรึกตรองถึงความบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ความไม่ด่างพร้อย ความไม่บกพร่องแห่งศีล วินัย ของตนแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้เกิดศีลบริสุทธิ์
- ศีลบริสุทธิ์ เป็นเหตุให้เกิด ความไม่เดือดร้อน
- ความไม่เดือดร้อน เป็นเหตุให้เกิด ความปราโมทย์
- ความปราโมทย์ เป็นเหตุให้เกิด ความปิติ ความอิ่มใจ
- ความปิติ ความอิ่มใจ เป็นเหตุให้เกิด ปัสสัทธิ ความสงบกาย วาจา ใจ
- ความสงบกาย วาจา ใจ เป็นเหตุให้เกิด ความสุข ความสบายใจ
- ความสุข ความสบายใจ เป็นเหตุให้เกิด สมาธิ จิตตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน
- สมาธิ เป็นเหตุให้เกิด ยถาภูตญาณทัสสนะ การเห็นสัทธรรมตามความจริง
- ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นเหตุให้เกิด นิพพิทาวิราคะ ความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
- นิพพิทาวิราคะ เป็นเหตุให้เกิด วิมุตติติญาณทัสสนะ ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา
ฉะนั้น นักปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ เพื่อหวังความสุขแท้จริง คือพระนิพพานแล้วไซร้ เมื่อมาระลึก นึกคิด ตรึกตรอง ถึงศีล วินัย อันบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ไม่บกพร่อง ไม่ผิดพลาด ไม่ด่างพร้อยของตนแล้วไซร้ ย่อมเป็นเหตุให้หลุดพ้นจากทุกข์ ประสบความสุขออย่างยิ่งคือ พระนิพพาน ได้ดังปรารถนา

 


รวมความว่า วันหนึ่งเราก็นั่งใคร่ครวญถึงความดีของพระพุทธเจ้าตามหนังสือที่มีมา จับใจตรงไหนยึดตรงนั้นเป็นอารมณ์ อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็น พุทธานุสสติ การนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ถ้าปฏิบัติตามนี้สำหรับพุทธานุสสติ และตามคิดแบบนี้จะทรงอารมณ์อยู่ได้แค่อุปจารสมาธิ นี่เป็นแบบหนึ่ง

และอีกแบบหนึ่ง ไม่ปฏิบัติอย่างนั้น ท่านสอนให้ภาวนา พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ การหายใจกำหนดตามสบาย ๆ เป็นการควบกับอานาปานุสสติกรรมฐาน ทำอารมณ์ใจให้สบาย จิตใจชื่นบาน นึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระพิชิตมาร แล้วจับใจว่า พุทโธ พุทโธ ภาวนาไว้

แล้วขณะใดที่จิตผูกพันว่า พุทโธ หรือลมหายใจเข้าออก ขณะนั้นก็ชื่อว่าจิตเราเป็นสมาธิ การภาวนาแบบนี้สมาธิมีอารมณ์สูงเข้าถึงฌานสมาบัติได้

การพิจารณาว่า พุทโธ ก็จะขอข้ามอารมณ์ต่าง ๆไป ถ้ากำลังใจของเราทรงมั่น ถ้าจะมีนิมิตปรากฏขึ้นโดยเฉพาะ นิมิตต่าง ๆ ก็คือ ต้องเห็นเป็นพระพุทธรูป หรือว่าเห็นเป็นรูปของพระสงฆ์ แต่มีรัศมีกายผ่องใส อย่างนี้เขาเรียกว่า นิมิตในพุทธานุสสติกรรมฐาน อย่างนี้จับเอาได้

ถ้านิมิตอย่างนี้ปรากฏขึ้นเมื่อไร ในกาลต่อไปข้างหน้า ถ้าเราจะภาวนาพุทโธ ก็ให้จิตน้อมนึกถึงภาพนั้นไว้เป็นปกติ อย่างนี้เรียกว่า เกิดอุคคหนิมิต

ถ้านิมิตนั้นเปลี่ยนแปลง ทีแรกเราเห็นเป็นพระพุทธรูปดำบ้าง ขาวบ้าง เหลืองบ้าง แต่ไม่แจ่มใส ต่อไปถ้ามีสมาธิ สมาธิสูงขึ้นก็เห็นเป็นพระพุทธรูปใสขึ้น ใหญ่โตขึ้นเปลี่ยนแปลงมีความงดงามกว่า อย่างนี้เรียกว่า อุปจารสมาธิระดับสูง นี่จิตนึกถึงภาพนะ ภาพปรากฏชัดภายในใจ ไม่ใช่ไปนั่งหาภาพที่จะมาปรากฏใหม่

ต่อไปเมื่อจิตนึกถึงภาพขององค์สมเด็จพระจอมไตรเกิดมีรัศมีกาย มีอารมณ์ผ่องใสแทนที่จะเป็นสีเหลือง หรือสีเขียวหรือสีดำ สีแดง อะไรก็ตาม สีนั้นเปลี่ยนไปทีละน้อยจากเหลืองเข้มเป็นเหลืองอ่อน ๆ มีความใส ต่อไปก็เป็นแก้ว แก้วใสเป็นประกายพรึกเต็มดวง หรือคล้ายกับกระจกเงาที่สะท้อนแสงพระอาทิตย์ มีความชุ่มชื่น จะนึกให้ใหญ่ก็ได้ นึกให้เล็กก็ได้อย่างนี้เรียกว่าเป็น ปฏิภาคนิมิต นั่นระดับฌาน

ถ้าจิตจับอยู่แค่นี้จิตใจของเราชื่นบาน จิตจะทรงฌานไปด้วยอำนาจพุทธานุสสติกรรมฐาน จะมีอารมณ์เป็นสุขตลอดกาล แล้วเมื่อได้ภาพอย่างนี้ จงอย่าคลายภาพนี้ทิ้งไป ให้ดำรงภาพนี้เข้าไว้

ขณะใดที่จิตยังนึกเห็น ไม่ใช่เห็นเฉย ๆ นึกเห็น เห็นภาพอยู่ตราบใด ขณะนั้นเรียกว่า จิตทรงสมาธิ จิตของท่านจะมีแต่ความสุข

ถ้าหากว่าทำจิตได้ถึงระดับนี้แล้วปรากฏว่า ปัญญาก็จะเกิด คำว่า อริยสัจ ก็จะปรากฏขึ้นแก้ใจของบรรดาท่านทั้งหลาย ความรู้เท่าของคำว่า การเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ อย่างนี้มันจะเกิดขึ้นแก่ใจเอง ความเบื่อหน่ายในการเกิดก็จะปรากฏ

ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเราไว้บอกว่า นี่เป็นอธรรมเป็นความไม่ดี จิตใจของเราจะเห็นน้อมไปตามกระแสพระสัทธรรมขององค์สมเด็จพระชินศรี ด้วยอำนาจของปัญญาอย่างแจ่มใส

ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาบอกควรประพฤติปฏิบัติ ควรทำให้เกิดมีขึ้น เพราะธรรมนั้นจะสร้างความชุ่มชื่น คือ ความสุขให้เกิดขึ้นกับใจ

ใจ คือปัญญาของเราก็จะเห็นธรรมนั้นได้แบบผ่องใสไม่เคลือบแคลง เกิดเป็นคุณประโยชน์

การเจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน พระอัตถกถาจารย์ กล่าวว่า เป็นกรรมฐานที่สามารถสร้างความดีให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ง่าย

สำหรับพุทธานุสสติกรรมฐานโดยย่อ ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ต่อแต่นี้ไป ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ จนกว่าจะได้ยินเสียงสัญญาณบอกหมดเวลา สวัสดี


ที่มา ธรรมะประทานพร


Paang

06-26-2006, 04:33 AM

http://www.agalico.com/imghost/photo/img/390099138b9c67bdd383eb58c407de43/flower99zx.jpg

วันนี้ จะได้พูดถึง พุทธานุสสติกรรมฐาน ต่อ เมื่อวานนี้ได้พูดมาถึงการเจริญกรรมฐานด้านพุทธานุสสติกรรมฐานจากระบบ ปฏิบัติตามแบบที่พิจารณาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือใคร่ครวญตามความดีที่องค์สมเด็จพระชินศรี ทรงสั่งสอนตามแบบนี้ที่ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า


การเจริญพุทธานุสสติกรรมฐานย่อมมีกำลังแค่อุปจารสมาธิ แต่สำหรับพระอาจารย์ผู้สอนที่มีความฉลาด ท่านสอนต่อ ๆกันมาคือ สามารถดัดแปลงเอาพุทธานุสสติกรรมฐานให้เป็นฌานสมาบัติ จนกระทั่งเข้าถึงฌาน 4 ได้ วันนี้ก็จะได้อธิบายการเจริญพระกรรมฐานในด้านพุทธานุสสติกรรมฐานจากอารมณ์ อุปจารสมาธิเป็นฌาน 4 การเจริญพระกรรมฐานถ้ามีความเข้าใจ กรรมฐานทุกกองก็ทำเป็นฌาน 4 ได้เหมือนกันหมด แล้วก็ต่อเป็นสมาบัติ 8 ก็ได้

การเจริญพุทธานุสสติกรรมฐานให้เป็นฌาน ท่านก็ใช้คำภาวนาเป็นพื้นฐาน คือ ใคร่ครวญตามความดีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนตามแบบที่กล่าวมาแล้ว ถ้าต้องการให้เป็นฌานอย่างยิ่ง ก็งดการพิจารณานั้นเสีย จิตน้อมยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้านี่ เราไม่ได้ถือเนื้อ ถือหนัง ถือรูปกายของท่านเป็นสำคัญ เนื้อหนังรูปร่างของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามิได้ถือว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะความเป็นพระพุทธเจ้ามาจากบรรลุธรรมะพิเศษ ไม่ใช่ว่าเกิดมาเป็นคนแล้วก็เป็นพระพุทธเจ้า

ฉะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ ในตอนที่จะเข้าสู่การดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานที่ระหว่างนางรังทั้งคู่ว่า

"อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เมื่อเรานิพพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่เราสอนเธอทั้งหมดนี่ จะเป็นศาสดาสอนเธอ" (ศาสดา นี่แปลว่า ครู)

นี่เราจะเห็นได้ว่า ความเป็นมาของพระพุทธเจ้า ก็คือพระธรรมคำสั่งสอนนั่นเอง

เรามาเปลี่ยนแปลงจากการพิจารณาความดี เอาจิตเข้ามาจับความดีจุดเล็ก คือ แทนที่จะเป็นการใคร่ครวญ กลับมาภาวนา นึกว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณยิ่งใหญ่ เราจะผูกใจของเราไปจับอยู่เฉพาะความดีของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ท่านจึงสอนให้ใช้คำภาวนาแทนที่จะพิจารณา แต่ว่าเราก็ไม่ทิ้งคำพิจารณาความดีของพระพุทะเจ้า ให้จิตเข้าถึงความดีของพระองค์ เป็นการสร้างธรรมปีติ ความมั่นใจในความดีก่อน

เมื่อเราพิจารณาความดี ใคร่ครวญความดีของพระองค์แล้ว เมื่อใจสบายก็จับอารมณ์เป็นสมาธิพิเศษ คือใช้อานาปานุสสติควบกันไป โดยใช้คำภาวนาว่า พุทโธ นี่ง่ายดี ความจริง การภาวนาในด้านพุทธนุสสติกรรมฐานนี่ว่าได้หลายอย่าง อิติปิโส เบื้องต้นทั้งหมด 9 ข้อ เราว่าได้ทุกข้อ จะว่าข้อใดข้อหนึ่งก็ตาม ก็ชื่อว่าเป็น พุทธานุสสติกรรมฐานทั้งนั้น แต่ว่าการที่ท่านตัดเอาใช้คำว่า พุทโธ เพราะเป็นการสะดวกแก่บุคคลผู้ฝึกจิตในตอนแรก

ในตอนต้น ให้พิจารณาลมหายใจเข้าออกพร้อมคำภาวนา เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ อันดับแรกจับเอาแค่จมูกก่อน หายใจเข้าก็นึกว่า พุท หายใจออกก็ โธ แค่นี้ให้จิตสบาย พอจิตมีความสบาย มีกำลังสมาธิสูงขึ้น จิตจะรู้ลมกระทบสัมผัสภายใน หายใจเข้าลมจะกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ หายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบริมฝีปากหรือจมูก

ถ้าปรากฏว่าลมกระทบ 3 ฐานมีความรู้สึกแบบสบายหรือมีจิตใจละเอียดไปยิ่งกว่านั้น รู้สึกลมไหลลงไปตั้งแต่ยันท้อง ไหลจากท้องมายันจมูก ออกทางจมูกอย่างนี้ก็ยิ่งดีใหญ่ ที่จะมีความรู้สึกอย่างนี้ต้องปล่อยลมหายใจเข้าออกตามธรรมดา อย่าหายใจแรง ๆยาว ๆ หรือบังคับให้หนัก ๆ อันนี้ไม่ได้ ต้องปล่อยลมหายใจไปตามกฏธรรมดา ที่เราจะรู้ได้ก็อาศัยสติสัมปชัญญะของเรามันดีหรือมันเลวเท่านั้น ถ้าสติสัมปชัญญะของเราดี จิตเป็นสมาธิมากก็รับสัมผัสได้ 3 ฐาน ถ้ามีอารมณ์ละเอียดไปกว่านั้น ก็รู้ลมไหลเหมือนกับน้ำไหลเข้าน้ำไหลออก

ถ้ารู้ลมสามฐานก็ดี หรือรู้ลมไหลออกไหลเข้าตลอดเวลา อย่างนี้ชื่อว่าจิตเป็นฌาน เรียกว่า ปฐมฌาน พร้อมกันก็ทรงคำภาวนาไว้ด้วย

ถ้าภาวนาไปภาวนาไป รู้สึกว่าลมหายใจเบาลง เบาลง จิตใจมีความชุ่มชื่น คำภาวนาหายไปหยุดภาวนาไปเฉย ๆ แต่มีใจสบาย ลมหายใจอ่อนลง มีความชุ่มชื่นมากกว่า จิตทรงมากกว่า อย่างนี้เป็น ฌานที่ 2

ถ้าต่อไปความชุ่มชื่นหายไป มีแต่อาการเครียด จิตใจสบาย ลมหายใจเบาลง ได้ยินเสียงภายนอกน้อยลงไป เบาลงไปมาก จิตใจทรงตัวดิ่ง มีอาการไม่อยากเคลื่อน มีร่างกายคล้ายกับมีอาการทรงตัวเหมือนหลักปักแน่น ๆ หรือว่าใครเขามัดตัวตรึงไว้เฉย ๆ ไม่อยากเคลื่อน ใจสบาย แนบนิ่ง นิ่งสนิท จิตไม่อยากจะขยับเขยื้อนไปไหน อันนี้เรียกว่า ฌานที่ 3 นี่คำภาวนาไม่มีเหมือนกัน คำภาวนานั้นมีแค่ตั้งแต่ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือ ปฐมฌานเท่านั้น

ต่อไปเริ่มต้นเราจับคำภาวนา แล้วก็ต่อมาปรากฏว่าจิตมีอารมณ์สว่างสดใจ มีจิตใจชุ่มชื่น มีอารมณ์ทรงตัวเป็นปกติไม่เคลื่อนไหวไปไหน ทรงตัวแบบสบาย หรือความโพลงอยู่ในใจ เป็นความสว่างมาก แต่ว่าไม่ปรากฏลมหายใจ หูไม่ได้ยินเสียงภายนอก แม้จะเอาปืนใหญ่ หรือพลุมาจุดใกล้ ๆ ก็ไม่ได้ยิน อย่างนี้เป็นอาการของ ฌานที่ 4

ถ้าจะถามตอบกันตามแบบฉบับของการเจริญสมาธิ ไอ้เรื่องยุงกินริ้นกัดนี่ มันไม่กวนใจเราตั้งแต่อุปจารสมาธิ พอจิตผ่านปีติเข้าถึงสุข มันจะมีความสุขเยือกเย็น มีความสบาย ไอ้เรื่องเสียงที่เราได้ยินก็เหมือนกัน มันก็ไม่กวนใจ ใจเราก็มีความสบาย ร่างกายก็ไม่ปวดไม่เมื่อย ไม่มีอะไรทั้งหมดมันสุขจริง ๆ มีแต่จิตใจชุ่มชื่น ยุงกินริ้นกัดหรือเปล่า อันนี้ไม่รู้กัน ไม่รู้ว่ายุงมันกินหรือเปล่า

แต่ว่าส่วนมากยุงไม่กวน แต่บางท่านก็กวนเหมือนกัน บางทีนั่งพอเลิกแล้วเป็นตุ่มหมดทั้งตัวปรากฏว่ายุงกัด แต่เวลาขณะที่ปฏิบัติทรงจิตเป็นสมาธิไม่รู้สึกว่ายุงกัด

นี่ความจริง เรื่องการสัมผัสกับอาการภายนอก แต่จิตไม่ยอมรับสัมผัสจากประสาท เริ่มมีตั้งแต่ตอนสุข เพราะคำว่าสุข นี่มันต้องไม่มีคำว่า ทุกข์ มันสุขจริง ๆ หาตัวทุกข์ไม่ได้ ถ้าเมื่อยมันก็ไม่สุข ถ้ารู้ว่ายุงมากวนที่หูมันก็ไม่สุข ถ้ารู้ว่ายุงกินแล้วคัน หรือ เจ็บมันก็ไม่สุข มันเป็นทุกข์ นี่คำว่า สุข ตัวนี้ก็ตัดอาการเหล่านี้ไปทั้งหมด

ความจริงเรื่องเสียงก็ดี ที่เราจะรำคาญภายนอก หรือยุงกินริ้นกัดก็ดี มันตัดกันแค่สุขยังไม่ถึงปฐมฌาน แต่ว่าอาการของความสุขและปฐมฌาน นี่มันใกล้เคียงกันมาก เขาบอกว่า ห้างกันแค่เส้นผมผ่า 8 เท่านั้น

ขอบรรดาทุกท่านจำได้ด้วย ถ้าว่าใครเขาถามละก็ ตอบเขาแบบนี้ ถามว่ายุงกินไหม บอกบางองค์กินบางองค์ไม่กิน ถามว่าทำไมยุงกินหรือไม่กิน กัดหรือไม่กัดไม่เหมือนกัน บางองค์ก็ถูกกวนบางองค์ก็ไม่ถูกกวน ก็ต้องตอบว่า

ถ้าองค์ใดหรือท่านใดมีพรหมวิหาร 4 ครบถ้วน มีจิตทรงพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ ท่านผู้นั้นยุงไม่กินริ้นไม่กัด ถ้าบกพร่องในพรหมวิหาร 4 มันกัดแน่ มันกินแน่ นี่ตอบเขาอย่างนี้ แล้วก็ตอบตัวเราเองเสียด้วย

นี่เป็นอาการของฌาน 4 ตามปกติ เมื่อถึงฌาน 4 แล้วก็พยายามทรงฌาน ทรงสมาธิ จะเป็นอันดับไหนก็ตาม ให้มันมีการคล่องตัวที่เรียกว่า วสี จะเป็นฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 อะไรก็ตาม ให้มันคล่องจริง ๆ นึกขึ้นมาเมื่อไรจิตเป็นสมาธิทันที เดินไปเดนมา เหนื่อย ๆ นั่งปั๊บจิตจับปุ๊บเป็นสมาธิทันที ทำงานมาเหนื่อย หาบน้ำหาบท่ามาอย่างหนัก ทำงานหนักวางของปั๊บนั่งปุ๊บ จิตจับเป็นสมาธิทันที ทรงตัวได้ทันที

ถ้าทำกันส่งเดชได้บ้างไม่ได้บ้าง เขาไม่ถือว่าได้ แต่ก็ยังดีตายเป็นเทวดาได้ แต่เป็นพรหมไม่ได้

ถ้าจิตเราสามารถจะทรงฌานได้ทุกขณะจิตละก็ เป็นพรหมได้แน่นอน เพราะเวลาที่ป่วยไข้ไม่สบาย เกิดทุกขเวทนามาก เราก็เอาจิตจับเข้าฌานทันที ทุกขเวทนามันก็คลายตัว ดีไม่ดีไม่รู้สึกตัว เพราะจิตและประสาทมันไม่ยอมรับรู้ซึ่งกันและกัน มันแยกจากกันเด็ดขาด

หากว่าเราจะทรงฌานด้านพุทธานุสสติกรรมฐานเข้าถึงฌาน 8 เราจะทำอย่างไร

แบบท่านบอกไว้ว่า พุทธานุสสติกรรมฐานและอนุสสติทั้งหมด เว้นไว้แต่อานาปานุสสติ จะเข้าถึงอุปจารสมาธิเท่านั้น ท่านว่าไว้อย่างนั้น เราก็ดัดแปลงให้เข้าถึงฌาน 8 เสียให้หมดมันจะเป็นยังไงไป ทำเป็นเสียอย่างเดียวมันก็ทำได้ เข้าใจแล้วก็ทำได้ พระพุทธเจ้าไม่ได้จำกัด

ถ้าเราจะทรงฌาน 8 ทำยังไง

แทนที่เราจะภาวนาเฉย ๆ เราก็จับพระพุทธรูปกำหนดภาพไว้ ลืมตาดูภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ ที่เราต้องการ เรามีความเลื่อมใสพอใจอยู่ เวลาจับลมหายใจเข้าออกภาวนาว่า พุทโธ ก็นึกถึงภาพขององค์สมเด็จพระบรมครูจะเป็นพระพุทธรูปก็ได้ ให้ปรากฏอยู่ในใจ ไม่ใช่ไปนั่งคอยให้ภาพลอยมาแบบนี้ใช้ไม่ได้ ภาวนาไปแล้วก็นึกภาพไปด้วย จะนึกอยู่ในอก ให้เห็นอยู่ในอก หรือเห็นภายนอกก็ได้ไม่จำกัด

ถ้านึกถึงภาพนั้นตามภาพเดิม อย่างนี้เรียกว่า อุคคหสมาธิ หรือ อุคคหนิมิต

ถ้าภาพเดิมนั้นขยายไปเปลี่ยนแปลงไปชักจะใหญ่ขึ้น จะสูงขึ้น จะเล็กลง แล้วก็มีสีสันวรรณะ เริ่มเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย ๆ จากสีเดิมกลายเป็นสีจางไปนิดหน่อย จางลงไปจางลงไป แต่เรารู้สึกอารมณ์จิตนึกเห็นชัด จนกระทั่งปรากฏเป็นแก้วใส อย่างนี้ก็ชื่อว่า เป็นอุปจารสมาธิตอนกลาง


ตอนนี้แก้วใสที่กลายเป็นแก้วประกายพรึก แพรวพราวไปทั้งองค์ จิตใจสามารถจะบังคับให้ภาพนั้นเล็กก็ได้ จะให้ใหญ่ก็ได้ นึกอย่างไร ภาพนั้นปรากฏไปตามนั้น มีความสะอาดสุกใสเป็นกรณีพิเศษ อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ ท่านกล่าวว่าเป็น ปฐมฌาน

การจับภาพนี่จับให้สนิท ให้คิดอยู่เมื่อไรเห็นได้เมื่อนั้นเดินไปบิณฑบาต เดินไปธุระ นั่งอยู่ นึกเห็นเมื่อไรเห็นได้ เมื่อนั้นทันที นี่อย่างนี้เป็นกสิณ ด้วยเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ด้วย

ถ้าการเห็นภาพแบบนี้ปรากฏว่า คำภาวนาว่าพุทโธ หายไป ภาพใสขึ้นผิดกว่าเดิม อันนี้เป็น ฌานที่ 2 แต่มีจิตชุ่มชื่น อาการของจิตมันเหมือนกัน

ภาพใสสะอาดขึ้น มีการทรงตัวมากขึ้น มีความแจ่มใสขึ้น ความชุ่มชื่นหายไป มีอาการเครียด จิตทรงตัวแนบนิ่งสนิท แล้วก็ลมหายใจน้อย ได้ยินเสียงภายนอกเบา อันนี้เป็น ฌานที่ 3

การเห็นภาพชัดเจนแจ่มใสมากเป็นกรณีพิเศษ สว่างไสวคล้ายกับพระอาทิตย์ทรงกลด หรือว่าคล้ายกับกระจกเงาที่สะท้อนแสงแดดดวงใหญ่ ใจไม่ยุ่งกับอารมณ์อย่างอื่น เป็นอุเบกขารมณ์ทรงสบาย เห็นแนบนิ่งสนิท จะนั่งนานเท่าไร ก็เห็นได้ตามความปรารถนา หูไม่ได้ยินเสียงภายนอก ไม่ปรากฏลมหายใจ อย่างนี้เป็นฌาน 4 ก็ยังเป็นรูปฌานอยู่

ทีนี้ถ้าหากว่าเราจะทำเป็นอรูปฌาน จะทำอย่างไรเราจะทำถึงฌาน 8 กันนี่ นี่เป็นวิธีแนะนำปฏิบัติตามผลแห่งการปฏิบัติจริง ๆ ไม่ใช่เกาะตำรากันเสียจนแจ แล้วไปไหนไม่พ้น เขาทำแบบนี้

จับภาพพระพุทธเจ้าองค์นั้นแหละ ที่เป็นประกายพรึกอยู่ เพ่งจับจุดให้จิตจับดี เมื่อจิตทรงอารมณ์ดีแล้วก็เพิกภาพนั้นให้หายไป คำว่าเพิก เป็นภาษาโบราณ คือ นึกว่าขอภาพนี้จงหายไป จับ อากาสานัญจายตนะแทน คือ พิจารณาอากาศว่า อากาศนี้หาที่สุดมิได้ มันเวิ้งว้างว่างเปล่า ไม่มีจุดจบ จับอากาศเป็นอารมณ์อย่างนี้ เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ

จิตทรงอยู่ในด้านของฌาน 4 จับอากาศ ความหวั่นการเคลื่อนไหวของอากาศว่า ว่างมาก โลกนี้หาอะไรเป็นที่สุดมิได้ หานิมิตเครื่องหมายอะไรไม่ได้เลย หาจุดจบไม่ได้ จนกระทั่งจิตทรงอารมณ์ทรงตัวดีแล้ว อย่างนี้จัดเป็น อรูปฌานที่ 1 ถ้าจะเรียกกันว่าฌาน ก็เป็นที่ 5 สมาบัติที่5

เมื่อจับอารมณ์ของอากาศได้แบบสบาย ๆ ใจสบาย นึกขึ้นมาว่าอากาศมันเวิ้งว้าง ทุกอย่างมันว่างเปล่าเป็นอากาศไปหมด โลกทั้งโลกไม่มีอะไรทรงตัว คนเกิดมาแล้วก็ตาย สัตว์เกิดมาแล้วก็ตาย ต้นไม้ ต้นไม้เกิดมาแล้วก็ตาย ภูเขาไม่ช้ามันก็พัง บ้านเรือนโรงก็พัง ผลที่สุดมันก็ว่างไปหมด อย่างนี้เรียกว่า จิตเข้าถึงอากาศได้เป็นอย่างดี เป็นอากาสานัญจายตนะ

ทีนี้ก็มาเป็นวิญญานัญจายตนะ นึกถึงวิญญาณ คือ จิต สภาวะของจิต ที่มีอารมณ์คิดเป็นปกติ มันก็ไม่มีอาการทรงตัว มันหาที่สุดไม่ได้ มันไม่มีอะไรทรงอยู่เฉพาะแน่นอ เดี๋ยวมันก็คิดอย่างนี้ เดี๋ยวมันก็คิดอย่างโน้น ขึ้นชื่อว่าเอาจิตมีอารมณ์เกาะว่า นั่นเป็นเรา นี่เป็นเรา นี่ไม่ใช่มีอะไรจริง




ความจริงจิตมีสภาพไม่นิ่ง จิตมีสภาพไม่แน่นอน เดี๋ยวมันก็ชอบอย่างนั้น เดี๋ยวมันก็ชอบอย่างนี้ เดี๋ยวมันก็ต้องการอย่างโน้น จึงถือว่าอารมณ์ของจิตนี่หาที่สุดมิได้

นี่เราไม่มีความต้องการอารมณ์อย่างนี้ จนกระทั่งอารมณ์จิตของเรานี้ มีความแนบแน่นสนิท ไม่มีความผูกพันอะไร ในด้านร่างกายก็ดี ในวัตถุก็ดี ไม่เอา แล้วก็ไม่สนใจ ต้องการอย่างเดียวอากาศคือ ความว่างเปล่าปราศจากแม้แต่จิต

ถ้าถือว่าว่าขณะใดยังมีขันธ์ 5 ยังมีภาพอยู่ ยังมีจิตเป็นเครื่องเกาะ มันมีความทุกข์อย่างนี้ ถ้าจิตมันทรงอยู่ได้ตลอดเวลา นึกขึ้นมาเมื่อไร อารมณ์ว่างไม่เกาะอะไรทั้งหมด มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน สภาวะทั้งหลายในโลกไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเราเลย มันไม่มีอะไรทรงตัว มีอารมณ์ว่างหาที่สุดมิได้ ถ้าเราเกาะโลกอยู่เพียงใด ก็ชื่อว่าเราเป็นผู้มีทุกข์

นี่ อาการอย่างนี้คล้ายคลึงวิปัสสนาญาณมาก อย่างนี้เรียกว่าได้วิญญาณัญจายตนะฌาน นี่เป็นอารมณ์ เราพูดกันถึงอารมณ์ ถ้าไปอ่านตามแบบบางทีจะค้านกัน

เมื่อเราได้วิญญาณัญจายตนะแล้ว ก็ชื่อว่าได้สมาบัติที่ 6 อย่าลืมนะ เราต้องจับภาพพระพุทธรูปเป็นกสิณก่อน ต่อมาเราก็เพิกให้หายไป ถือเอากสิณนำให้จิตมันจับเป็นอารมณ์ทรงตัวก่อนนั่งเอง เพราะกสิณเป็นของหยาบ จับให้ทรงตัวแล้ว จงนึกว่าขอภาพนี้จงหายไป

ทีนี้ก็มาพิจารณาฌานที่ 7 สมาบัติที่ 7 คือ อากิญจัญญายตนะญาณ พิจารณาว่า โลกนี้ไม่มีอะไรเหลือเลย นี่ มันพังหมดมันสลายตัวหมด ตึกรามบ้านช่อง เขาสร้างขึ้นมาอย่างดี ๆ ก็พัง บ้านเมืองเก่า ๆ เขาสร้างแข็งแรงก็พัง กำแพงเมืองใหญ่อย่างกำแพงเมืองจีน กำแพงเมืองไทย กำแพงเมืองฝรั่ง เขาสร้างแข็งแรงมากที่สุด มันก็พัง ภูเขามันก็พัง ภูเขามันก็มีอาการผุ เขาเอาดินมาทำลูกรัง มันก็ผุจมหายไปหมด คนก็ดี สัตว์ก็ดี เรือนโรงก็ดี

นี่เมื่อถึงที่สุดแล้วไม่มีอะไรเหลือ อากิญจัญญายตนะ นี่เขาแปลว่า หาอะไรเหลือไม่ได้ จิตใจว่างจากอารมณ์ เลยไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด

อะไรเล่าที่เป็นสาระสำหรับเราไม่มี แม้แต่ร่างกายของเรานี้ ไม่ช้ามันก็พัง การทรงร่างกายอยู่อย่างนี้มันเป็นทุกข์ เราไม่ต้องการมีร่างกายอีก

ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงตัวได้ดีแล้ว ก็ชื่อว่าเราได้ อากิญจัญญายตนะฌาน เป็น สมาบัติที่ 7

ที่นี้มาสมาบัติที่ 8 จับภาพพระพุทธรูปเป็นอารมณ์ ทรงอารมณ์แจ่มใสให้ใจสบาย เป็นอุเบกขารมณ์ อรูปฌาน นี่ก็ทรงฌาน 4 นั่นเอง แต่มาจับเป็นส่วนอรูปฌาน อารมณ์มันเท่ากัน มาจับ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน


เรามีสัญญาความรู้สึก ทำตนเหมือนคนไม่มีสัญญา เพราะเห็นว่าร่างกายไม่มีสาระ ร่างกายไม่มีแก่นสาร ร่างกายเป็นปัจจัยของความทุกข์ วัตถุทั้งหมดไม่มีอะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ไม่มีอะไรเป็นที่อาศัยจริงจัง ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้

ทีนี้เวลาร่างกายมันจะหิว มันมีอาหารกินก็กิน ไม่มีกินก็ทำสบาย รู้สึกว่าหิวแล้วทำเหมือนว่าไม่หิว มันหนาว มันไม่มีอะไรจะเป็นเครื่องปกปิด ก็นอนมันเฉย ๆ มันหนาวก็หนาวไป ทำเหมือนว่าเป็นคนไม่หนาว ร้อนก็ทำเป็นเฉย ๆ ทำเหมือนว่าเป็นคนไม่ร้อน

ใครเขาด่าว่าอะไรก็ทำเหมือนว่าไม่มีคน ไม่สนใจกับอะไรทั้งหมด มีสัญญาก็เหมือนกับคนไม่มีสัญญา คือ ความจำมันมีอยู่ แต่ทำเหมือนกับคนที่ไม่มีความจำ

ทำแบบนี้แล้วจิตมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ จิตมันเป็นสุขถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา หนาวก็หนาวไป ช่างหัวมัน ไม่สนใจ ร้อนก็ร้อนไป มันอยากหิว หิวก็หิวไป ไม่มีจะกินแล้วไป มีกินก็กิน ไม่มีกินก็ไม่กิน มันอยากจะแก่ก็แก่ไป มันอยากจะป่วยก็ป่วยไป มันจะตายเมื่อไรก็ช่างหัวมัน ขันธ์ 5 ไม่ดีไม่มีประโยชน์


เพราะเรามีขันธ์ 5 คือ มีร่างกาย เราจึงมีร้อน มีหนาว มีสุข มีทุกข์ มีหิว มีกระหาย มีปวดอุจาระปัสสาวะ ขันธ์ 5 มันไม่ดี เราไม่ตั้งใจจะคบเลย ไม่ต้องการจำอะไร มันทั้งหมด ไม่สนใจอะไรกับมันเลยทั้งหมด อย่างนี้เรียกว่า เป็น สมาบัติที่ 8 นี่อาการมันใกล้วิปัสสนาญาณเต็มที

ฉะนั้น องค์สมเด็จพระชินศรีจึงกล่าวว่า คนที่ได้สมาบัติ 8 แล้ว ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณ พระโบราณาจารย์ สมัยโบราณท่านบอกว่า เพียงแค่เคี้ยวหมากแหลกเดียวก็เป็น พระอรหันต์

หากว่าเราได้สมาบัติ 8 แบบนี้แล้ว ใช้สมาบัติ 8 เป็นพื้นฐาน พิจารณาในด้านสังโยชน์ 10 คือ มีสักกายทิฏฐิ เป็นต้น หรือว่าพิจารณาอริยสัจ 4 วิปัสสนาญาณ 9 หรือ พิจารณาขันธ์ 5 ก็ตาม ประเดี๋ยวเดียวมันก็เป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคา

พอเข้าถึงพระอนาคามี เราก็ได้ปฏิสัมภิทาญาณ มีกำลังครอบงำวิชชา 3 อภิญญา 6 ทั้งหมด เราได้ไปหมดเลย ไม่ต้องไปฝึกกันเหมือนสมัยเป็นฌานโลกีย์
อะไรก็ตามที่ พระวิชชา 3 ทำได้ เราก็ทำได้ พระอภิญญา 6 ทำได้ เราก็ทำได้ การรู้ภาษาคน ภาษาสัตว์ ไม่ต้องเรียน รู้หมด เข้าใจหมดทุกอย่าง มีความฉลาดในการย่อข้อความที่เยิ่นเย้อ ข้อความที่ยาวเราย่อให้สั้นแบบได้ความ เขาพูดมาสั้น ๆ เราขยายออกไปให้ได้ความชัดเจน เราทำได้อย่างดี อย่างนี้เรียกว่า ปฏิสัมภิทาญาณ


เอาละ บรรดาทุกท่านวันนี้เราพูดถึง พุทธานุสสติกรรมฐาน ถึงจุดนี้ สมาบัติ 8 ซึ่งท่านทั้งหมายไม่เคยฟังมาก่อน แต่ว่าผมทำมาก่อน ผมทำได้ ที่พูดให้ฟังนี่ ผมทำได้ แต่ว่าทำตามอาจารย์สอน ไม่ใช่ว่าผมสร้างขึ้นมาเอง

ความจริง ความรู้นี้องค์สมเด็จพระบรมครูก็ทรงแนะนำไว้ แต่ว่าไม่มีใครนำมาสอนกัน ไม่ใช่ว่าไม่มีใครเลยนะ มีใครมาสอนกันผมไม่รู้

ที่ผมรู้ขึ้นมาได้ ก็เพราะอาจารย์รุ่นก่อนท่านมีความฉลาด สามารถดัดแปลงคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ ไม่ใช่ดัดแปลงหรอก เอามารวมกันเอา อนุสสติ คือ พุทธานุสสติ อานาปานุสสติ กสิณ เข้ามารวมกัน เข้าหมดเป็นจุดเดียวกัน

เมื่อได้เข้าถึงฌาน 4 แล้ว ก็จับเอาภาพพระพุทธรูปเป็นกสิณยืนโรง แล้วก็เพิก จับอรูปฌาน นี่ความฉลาดของการเจริญพระกรรมฐานมีคุณแบบนี้

เอาละ สำหรับวันนี้ การพูดสำหรับวันนี้ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ต่อแต่นี้ไปขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา สวัสดี

พุทธานุสสติกรรมฐาน กรรมฐานกองนี้ท่านสอนให้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า การระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ระลึกได้ไม่จำกัดว่าจะต้องระลึกตามแบบของท่านผู้นั้นผู้นี้ที่สอนไว้โดยจำกัด เพราะพระพุทธคุณ คือคุณความดีของพระพุทธเจ้านั้นมีมากมายจะพรรณนาอย่างไรให้จบสิ้นนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้

ตามพระบาลีท่านมีอยู่ว่า ถึงแม้ว่าจะปรากฏมี พระพุทธเจ้าขึ้้นมา ๒ องค์ นั่งถามกันตอบกันถึงความดีของพระพุทธเจ้าที่ทรงอุบัติขึ้นมาแล้วในโลก แม้แต่สิ้นเวลา ๑ กัป ก็ไม่จบความดีของพระพุทธเจ้าได้

ฉะนั้น ท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า "พุทโธ อัปปมาโณ" คุณของพระพุทธเจ้า หาประมาณมิได้

 

ระลึกตามแบบ

ระลึกตามแบบ หมายความถึงการนั่งนอนระลึกนึกถึง พระพุทธคุณ ของพระพุทธเจ้า โดยยกเอาพระคุณของพระองค์ มาระลึกถึง เช่นระลึุกถึงพระคุณสามประการ คือ

๑. ระลึกถึงความบริสุทธิ์ของพระองค์ ที่ทรงกำจัดกิเลสได้เด็ดขาด ไม่มีความชั่วเหลืออยู่ในพระกมลสันดาน พระองค์ทรงบริสุทธิ์ผุดผ่องจริงๆ เป็นความดี ที่เราควรปฏิบัติตาม

๒. ระลึกถึงพระปัญญาอันเฉียบแหลม เฉลียวฉลาดของพระองค์ ด้วยพระองค์มีความรู้ ความฉลาดยอดเยี่ยม กว่าเทวดา พรหม และมนุษย์ทั้งหลาย เพราะนอกจากจะทรงรู้ ในหลักวิชาการต่างๆ ตามความนิยมของปกติชนแล้ว พระองค์ยังทรงรู้ที่มา ของความทุกข์ และรู้การปฏิบัติเพื่อทำลายต้นตอ ของความทุกข์นั้นๆ ได้แก่ ทรงรู้ในอริยสัจ ๔

๓. ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ คือพระองค์เมื่อทรงเป็นผู้รู้ เลิศแล้ว พระองค์ มิืได้ปกปิดความรู้นั้นเพื่อพระองค์เองโดยเฉพาะ พระองค์นำความรู้มาสั่งสอน แก่หมู่มวลชน อย่างเปิดเผย ไม่ปกปิดความรู้แม้แต่น้อย พระองค์ทรงทรมานพระวรกาย เพราะสั่งสอนพุทธเวไนยให้เกิดความรู้ความฉลาด เพื่อกำจัดเหตุชั่วร้ายที่ฝังอยู่ในสันดานมานาน มีสภาพคล้ายผีสิง เหตุชั่วร้ายนั้นก็คือ

ความโลภ อยากได้สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน
ความโกรธ คือความพยาบาท ความโหดร้ายที่ฝังอยู่ในใจ คิดที่จะประหัตประหาร ทำอันตรายผู้อื่นให้ได้รับความพินาศ
ความหลง คือความโง่เขลาที่คอยกระตุ้นเตือนใจให้ลุ่มหลงในสรรพวัตถุ จนเกินพอดี คือคิดปลูกฝังใจในวัตถุ โดยไม่คิดว่า ของนั้นจะต้องเก่า จะต้องพังไปในสภาพสุดท้าย

พระองค์ทรงพระกรุณาสอนให้รู้ทั่วกันว่า การมุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของผู้อื่น มาเป็นของตนนั้น เป็นความเลวร้ายที่ควรจะละ เพราะเป็นเหตุของการสร้างศัตรู การคิดประทุษร้าย ด้วยอำนาจโทสะ เป็นเหตุบั่นทอนความสุขส่วนตน เพราะผู้คิดนั้น เกิดความทุกข์ตั้งแต่เริ่มคิด คือกินไม่อิ่มนอนไม่หลับ ทำให้สุขภาพของตนเสื่อมโทรม ยังไม่ทันทำอันตรายเขา ผู้คิดก็ค่อยๆ ตายลงไปทีละน้อยๆ แล้ว เพราะเหตุที่กินน้อย นอนน้อย การหลงในทรัพย์เกินไป ที่ไม่คิดว่ามันจะต้องเก่า ต้องทำลาย ตามสภาพ เป็นเหตุให้เกิดความคับแค้น คือเสียใจ เศร้าใจ ทำให้ชีวิตไม่สดใส สดชื่น มีความเศร้าหมอง มีทุกข์ประจำใจเป็นปกติ

เมื่อความโลภอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของของตนเกิดขึ้น พระองค์ทรงสอนให้รู้จักการให้ทาน เป็นการแก้ความรู้สึกเดิม เพราะทานเป็นการสละออก มีอาการตรงข้ามกับการคิดอยากได้ ผลทานนี้ก็มีผลเป็นเครื่องบันดาลความสุขในปัจจุบัน เพราะผู้รับทานย่่อมมีความรัก และเคารพในผู้ให้ทาน การให้ทานเป็นการสร้างมิตร ตรงกันข้ามกับการคิดอยากได้ดังผู้อื่น เป็นเหตุของความทุกข์ เป็นเหตุของการสร้างศัตรู

ท่านสอนให้รักษาศีลเป็นเครื่องบั่นทอนกำลังพยาบาท เพราะมาจากโทสะ ความคิดประทุษร้ายเป็นสมุฏฐาน สำหรับการรักษาศีลนั้น มีเมตตา ความแสดงออกถึงความรัก ความสงสารเป็นสมุฏฐาน เมื่อรักษาศีล ก็ต้องมีเมตตา กรุณา ถ้าเมตตา กรุณา ไม่มีแล้ว ศีลก็ทรงตัวไม่ได้ ฉะนั้น ที่พระองค์ทรงสอนให้รักษาศีล ก็คือฝึกจิตให้มีเมตตาปรานี นั่นเอง ซึ่งมีคติตรงข้ามกับพยาบาท และเป็นอารมณ์หักล้้างพยาบาทเป็นเหตุของความสุข เพราะคนที่มีความเมตตาปรานีนั้น ย่อมเป็นที่รักของมวลชน แม้สัตว์เดียรัจฉานก็รัก

เราจะเห็นได้ว่า บ้านที่มีสุนัขดุๆ ใครๆ ก็เข้าไม่ได้ ถ้าเราหมั่นเอาอาหารไปให้สุนัขตัวนั้นบ่อยๆ ไม่ช้าก็เชื่อง เป็นมิตรที่ดี ไม่ทำอันตราย คนมีเมตตา มีความสุขเพราะเป็นที่รักของชนทั่วไปอย่างนี้ เป็นการแก้เหตุของความทุกข์ ให้เป็นเหตุของความสุข จัดว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างมหันต์

ความหลง คือความโง่ ที่มีความคิดว่า อะไรที่เรามีแล้ว ต้องมีสภาพคงที่ ไม่เก่า ไม่ทำลาย พอของสิ่งนั้นเก่า หรือ ทำลาย ความเสียใจก็เกิดขึ้น กฎข้อนี้เป็นปกติธรรมดาก็จริง ที่พอจะรู้ได้ไม่ยาก แต่คนในโลกนี้ก็ไม่ค่อยคิดตาม กลับคิดฝืนกฎธรรมดา จนเป็นเหตุของความทุกข์อย่างมหันต์ เพราะคนเกิดแล้วต้องตาย ชาวบ้านชาวเมืองตายให้ดูเยอะแยะ ไม่จดจำ แต่พอตัวจะตาย ญาติตาย เกิดทุกข์ร้องไห้เสียใจ ความจริงความตายนี้เป็นของปกติธรรมดา ไม่มีใครพ้น แต่คนไม่คิด มีแต่ความผูกพัน คิดว่าจะอยู่ตลอดกาล

พระองค์เห็นว่าคนทั่วโลกโง่อย่างนี้ จึงทรงแก้ด้วยการสอนวิปัสสนาญาณ คือสอนให้รู้กฎของความเป็นจริง ยอมรับนับถือตามความเป็นจริง เป็นการเปลื้องอุปาทาน คือความโง่ ออกเสียจากความรู้สึก เป็นการสร้างความสบายใจให้เกิดแก่มวลพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ท่านจะคิดใคร่ครวญถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าตามนี้ก็ได้ หรือจะคิดอย่างอื่นก็ได้ แต่ขอให้อยู่ในข่ายระลึกนึกถึงความดี ของพระพุทธเจ้าเป็นใช้ได้

ระลึกตามบทพระพุทธคุณ ๙
อย่าง

การระลึกตามแบบพระพุทธคุณ ๙ อย่างนี้ เป็นการระลึกถึงผลที่พระองค์ทรงบรรลุ จะไม่นำมาเขียนไว้เห็นท่าจะไม่เหมาะ ขอนำมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้

๑. อรหัง คำว่า อรหัง นี้ แปลว่า ท่านผู้ไกลจากกิเลส หมายความว่า พระพุทธองค์ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองอยู่ในพระหฤทัยเลย เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องจริงๆ

๒. สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ตรัสรู้เองโดยชอบ ความหมายนี้ หมายความว่า พระองค์ทรงรู้อริยสัจทั้ง ๔ คืิอรู้ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ รู้สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ตัึณหา ๓ ประการ คือ

กามตัณหา ทะยานอยากได้ในสิ่งที่ยังไม่เคยมี อยากให้มีขึ้น
ภวตัณหา สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว อยากให้คงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่อยากให้เก่าไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง
วิภวตัณหา อยากให้สิ่งที่จะต้องสลายตัวนั้น ที่เป็นไปตามกฏธรรมดา มีความปรารถนาไม่ให้กฏธรรมดาเกิดขึ้น คือ ไม่อยากให้สลาย และไม่อยากเสื่อม ไม่อยากตาย นั่นเอง

ความรู้สึกอย่างนี้เป็นความรู้สึกที่ฝืนกฎธรรมดา เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ ทรงนิโรธะ คือความดับสูญไปแห่งความทุกข์ และทรงทราบมรรค คือปฏิปทาที่ปฏิบัติให้เข้าถึงความทุกข์ คือทุกข์นั้นสูญสิ้นไป ได้แก่ทรงทราบมรรคคือข้อปฏิบัติที่จะให้เข้าถึงความดับสูญไปแห่งทุกข์นี้ อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

๓. วิชชาจรณสัมปันโน แปลว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วย วิชชา และ จรณะ คือทรงมีความรู้รอบ และความประพฤติครบถ้วน

วิชชา แปลว่า ความรู้ หมายถึงรู้ในวิชชาสาม ที่สามัญชนไม่สามารถจะรู้ได้ คือ

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทรงมีความรู้ในการระลึกชาติ ที่ล่วงแล้วมาได้อย่างไม่จำกัด ไม่มีผู้อื่นใดจะระลึกชาติได้มากเท่าพระองค์ และพระองค์ทรงมีความชำนาญในการระลึกชาติได้อย่างเยี่ยม

จุตูปปาตญาณ
พระองค์ทรงมีความรู้ความเกิด และความตายของสัตว์ โดยทรงรู้ว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้ไปเกิด ณ ที่ใด มีความสุขความทุกข์เป็นประการใด เพราะผลกรรมอะไรเป็นเหตุ และทรงทราบว่า สัตว์ที่เกิดมาแล้วนี้มาจากไหน ที่มีความสุข ความทุกข์อยู่นี้ เพราะอาศัยกรรมอะไรเป็นเหตุ

อาสวักขยญาณ
ทรงรู้วิชชาที่ทำอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป

จรณะ หมายถึงความประพฤติ พระองค์มีความประพฤติครบถ้วน ยอดเยี่ยม อันได้แก่ จรณะ ๑๕

๔. สุคโต แปลว่า เสด็จไปดีแล้ว หมายความว่า พระองค์เสด็จไป ณ ที่ใด พระองค์นำแต่ความสุขไปใ้ห้เจ้าของถิ่น คือนำความรู้อันเป็นเหตุของความสุขไปให้ ไม่เคยสร้างความเดือดร้อน ให้แก่ผู้ใด ใครก็ตาม บูชาพระองค์แล้ว ไม่เคยผิดหวังที่จะได้รับความสุขในทางปฏิบัติ

๕. โลกวิทู แปลว่า รู้แจ้งโลก หมายความว่า โลกทุกโลกมียมโลก คือโลกแห่งการทรมาณ ได้แก่นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก และพระนิพพาน อันเป็นดินแดนพ้นโลก พระองค์ทรงทราบตลอดหมดสิ้น แม้แต่ปฏิปทาที่จะให้ไปเกิดในโลกนั้นๆ

๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ แปลว่า เป็นนายสารถีผู้ฝึก ไม่มีนายสารถีใด มีความสามารถฝึกได้เสมอเหมือนพระองค์ ทั้งนี้หมายความถึงการฝึกธรรมปฏิบัติ พระองค์ทรงมีญาณพิเศษที่เรียกว่า เจโตปริยญาณ ทรงรู้ใจคนว่า ผู้นี้ควรสอนอย่างไร จึงได้ผล พระองค์ทรงฝึกสอนตามที่รู้ด้วยพระญาณนั้น จึงมีความสามารถฝึกได้ดีเป็นพิเศษ

๗. สัตถา เทวมนุสสานัง แปลว่า พระองค์ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ ทั้งนี้ หมายความว่า การสั่งสอนเพื่อมรรคผลนั้น พระองค์มิได้ทรงสั่งสอนแต่มนุษย์เท่านั้น แม้เทวดาและพรหม พระองค์ก็ทรงสั่งสอน การสอนมนุษย์ ท่านอาจไม่สงสัย แต่การสอนเทวดานั้น ท่านอาจจะแปลกใจ ข้อนี้ขอให้อ่านพุทธประวัติจะทราบ ว่าพระองค์ทรงสั่งสอนเทวดาและพรหม เป็นปกติเกือบทุกวัน เช่นเดียวกับสอนมนุษย์เหมือนกัน

๘. พุทโธแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้ว ได้เหมือนกัน ความหมายของ พุทโธ ก็มีอย่างนี้ คือ หมายถึงพระองค์ทรงรู้พระองค์ ด้วยความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย สติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

๙. ภควา แปลว่า ผู้มีโชค หมายถึงพระองค์เป็นผู้มีโชคก่อนใครๆ ที่พระองค์เป็นผู้รู้เท่าทันอวิชชา คือความโง่เขลาเบาปัญญา ความโง่ไม่สามารถครอบงำ พระองค์ได้ โดยอาศัยที่พระองค์ทรงค้นพบอริยสัจ ๔ จึงสามารถทำลายอำนาจอวิชชา คือความโง่ให้สลายตัวไปเสียได้ เหลือไว้แต่ความฉลาดหลักแหลม ความโง่ไม่สามารถจะบังคับบัญชา พระองค์ให้หลงใหลไปในอำนาจกิเลส และตัณหาได้ต่อไป พระองค์ทรงพบความสุขที่ยอดเยี่ยม ไม่มีความสุขอื่นยิ่งกว่า ความสุขที่ว่านี้ คือ พระนิพพาน

พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้ พระอาจารย์รุ่นเก่าท่านประพันธ์ไว้ให้บรรดาพุทธศาสนิกชน ระลึกนึกถึง จัดเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน คือตั้งอารมณ์ข่มนิวรณ์ ปรารภถึงความดีของพระพุทธเจ้า เมื่อพระโยคาวจร คือท่านนักปฏิบัีติพระกรรมฐาน ได้คำนึงถึงความดีของพระพุทธเจ้า ตามที่เขียนมานี้ทั้งหมด หรือข้อใดข้อหนึ่ง หรือจะนึกถึงความดี ของพระพุทธเจ้า ในลักษณะอื่น แต่เป็นไปตามแบบพระพุทธจริยาแล้ว จนจิตมีความเคยชิน ระงับนิวรณ์ห้าเสียได้ จิตตั้งอยู่ในอุปจารสมาธิ แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านว่าท่านผู้นั้น สามารถจะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ เพราะอาศัยความเลื่อมใสในพระพุทธจริยา จัดว่าเป็นผู้มีโชคอย่างยิ่ง คือจะได้สำเร็จมรรคผลได้โดยฉับพลัน

พุทธานุสสติกรรมฐานนี้ ที่กล่าวมาแล้วนั้น กล่าวตามแบบแผนที่ท่านสอน และเป็นแบบตรงตามพระพุทธประสงค์ เพราะอาศัยที่พุทธานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์คิด จึงมีกำลังเพียงอุปจารฌาน ไม่สามารถจะเข้าให้ถึงระดับฌานได้ แต่ที่ท่านสอนกันในปัจจุบัน ในแบบพุทธานุสสตินี้ ท่านสอนแบบควบหลายๆ อย่างรวมกัน

จากหนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

พุทธานุสสติถึงสมาบัติ


แทนที่เราจะภาวนาเฉยๆ เราก็ จับภาพพระพุทธรูป กำหนดภาพไว้ ลืมตาดูภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ ที่เราต้องการ เรามีความเลื่อมใสพอใจอยู่ เวลาจับลมหายใจเข้าออก ภาวนาว่า พุทโธ ก็นึกภาพขององค์สมเด็จพระบรมครู จะเป็นพระพุทธรูปก็ได้ ให้ปรากฏอยู่ในใจ ไม่ใช่ไปนั่งคอยให้ภาพลอยมาแบบนี้ใช้ไม่ได้ ภาวนาไปแล้วก็นึกถึงภาพไปด้วย จะนึกอยู่ในอก ให้เห็นอยู่ในอก หรือเห็นภายนอกก็ได้ไ่ม่จำกัด ถ้านึกถึงภาพนั้นตามภาพเดิม อย่างนี้เรียกว่า อุคคหสมาธิ หรือ อุคคหนิมิต

 

ถ้าภาพเดิมนั้นขยายไป เปลี่ยนแปลงไปชักจะใหญ่ขึ้น จะสูงขึ้น จะเล็กลง แล้วก็มีสีสันวรรณะ เริ่มเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยๆ จากสีเดิมกลายเป็นสีจางไปนิดหน่อย จางลงไปจางลงไป แต่เรารู้สึกอารมณ์จิตนึกเห็นชัด นึกเห็นนะไม่ใช่ภาพลอยมา อารมณ์จิตนึกเห็นจนกระทั่งปรากฏเป็นแก้วใส อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็น อุปจารสมาธิตอนกลาง

ตอนนี้แก้วใสที่กลายเป็นแก้วประกายพรึก แพรวพราวไปหมดทั้งองค์ จิตใจสามารถจะบังคับให้ภาพนั้นเล็กก็ได้ จะให้ใหญ่ก็ได้ สูงก็ได้ ต่ำก็ได้ ตั้งอยู่ข้างหน้าก็ได้ ข้างหลังก็ได้ ตามใจนึก นึกอย่างไร ภาพนั้นปรากฏไปตามนั้น มีความใสสะอาดสุกใสเป็นกรณีพิเศษ อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ ท่านกล่าวว่าเป็น ปฐมฌาน

การจับภาพนี่จับให้สนิท ให้คิดอยู่เมื่อไรได้เมื่อนั้น เดินไปบิณฑบาต เดินไปธุระ นั่งอยู่ นึกเห็นเมื่อไรเห็นได้เมื่อนั้นทันที นี่อย่างนี้เป็น กสิณ ด้วย เป็นพุทธานุสสติกรรมฐานด้วย ถ้าการเห็นภาพแบบนั้นปรากฏว่า คำภาวนาว่า พุทโธ หายไป ภาพใสขึ้นผิดกว่าเดิม อันนี้เป็น ฌานที่ ๒ แต่มีจิตชุ่มชื่น อาการของจิตมันเหมือนกัน ภาพใสสะอาดขึ้น มีการทรงตัวมากขึ้น มีความแจ่มใสขึ้น ความชุ่มชื่นหายไป มีอาการเครียด จิตทรงตัวแนบนิ่งสนิท แล้วก็ลมหายใจน้อย ได้ยินเสียงภายนอกเบา อันนี้เป็น ฌานที่ ๓

การเห็นภาพชัดเจนแจ่มใสมากเป็นกรณีพิเศษ สว่างไสว คล้ายกับพระอาทิตย์ทรงกลด หรือว่าคล้ายกับกระจกเงาที่สะท้อนแสงแดดดวงใหญ่ ใจไม่ยุ่งกับอารมณ์อย่างอื่น เป็นอุเบกขารมณ์ ทรงสบาย เห็นแนบนิ่งสนิท จะนั่งนานเท่าไรก็เห็นได้ตามความปรารถนา หูไม่ได้ยินเสียงภายนอก ไม่ปรากฏลมหายใจ อย่างนี้เป็น ฌานที่ ๔ ก็ยังเป็นรูปฌานอยู่

ทีนี้ถ้าหากว่าเราจะทำเป็นอรูปฌาน จะทำอย่างไรเราจะทำถึงฌาน ๘ กันนี่ นี่เป็นวิธีแนะนำปฏิบัติตามผลแห่งการปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่เกาะตำราเสียจนแจแล้วไปไหนไม่พ้น การทำให้ถึงฌาน ๘ เขาทำแบบนี้

จับภาพพระพุทธเจ้าองค์นั้นแหละ ที่เป็นประกายพรึกอยู่ เพ่งจับจุดให้จิตจับดี เมื่อจิตทรงอารมณ์ดีแล้ว ก็เพิกภาพนั้นให้หายไป คำว่าเพิก เป็นภาษาโบราณ คือนึกว่าขอภาพนี้จงหายไป จับ อากาสานัญจายตนะ แทน คือพิจารณาอากาศว่า อากาศนี้หาที่สุดมิได้ มันเวิ้งว้างว่างเปล่า ไม่ีมีจุดจบ จับอากาศเป็นอารมณ์อย่างนี้ เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ จิตทรงอยู่ในด้านของฌาน ๔ จับอากาศ ความหวั่นการเคลื่อนไหวของอากาศว่า ว่างมาก โลกนี้หาอะไรเป็นที่สุดมิได้ หานิมิตเครื่องหมายอะไรไม่ได้เลย หาจุดจบไม่ได้ จนกระทั่งจิตทรงอารมณ์ทรงตัวดีแล้ว อย่างนี้จัดเป็น อรูปฌานที่ ๑ ถ้าจะเรียกกันว่าฌาน ก็เป็น ฌานที่ ๕ หรือ สมาบัติ ๕

เมื่อจับอารมณ์ของอากาศได้แบบสบายๆ ใจสบาย นึกขึ้นมาว่าอากาศมันเวิ้งว้าง ทุกอย่างมันว่างเปล่าเป็นอากาศไปหมด โลกทั้งโลกไม่ีมีอะไรทรงตัว คนเกิดมาแล้วก็ตาย สัตว์เกิดมาแล้วก็ตาย ต้นไม้เกิดมาแล้วก็ตาย ภูเขาไม่ช้ามันก็พัง บ้านเรือนโรงก็พัง ผลที่สุดมันก็ว่างไปหมด อย่างนี้เรียกว่า จิตเข้าถึงอากาศได้เป็นอย่างดี เป็น อากาสานัญจายตนะ

ทีนี้ก็มาเป็นวิญญานัญจายตนะ นึกถึงวิญญาณ คือจิต สภาวะของจิต ที่มีอารมณ์คิดเป็นปกติ มันก็ไม่มีอาการทรงตัว มันหาที่สุดไม่ได้ มันไม่มีอะไรทรงตัวอยู่เฉพาะแน่นอน เดี๋ยวมันก็คิดอย่างนั้น เดี๋ยวมันก็คิดอย่างนี้ เดี๋ยวมันก็คิดอย่างโน้น ขึ้นชื่อว่าเอาจิตมีอารมณ์เกาะว่า นั่นเป็นเรา นี่เป็นเรา นี่มันไม่ใช่มีอะไรจริง ความจริงจิตมีสภาพไม่นิ่ง จิตมีสภาพไม่แน่นอน เดี๋ยวมันก็ชอบอย่างนั้น เดี๋ยวมันก็ชอบอย่างนี้ เดี๋ยวมันก็ต้องการอย่างโน้น จึงถือว่าอารมณ์ของจิตนี่หาที่สุดมิได้

นี่เราไม่มีความต้องการอารมณ์อย่างนี้ จนกระทั่งอารมณ์จิตของเรานี้ มีความแนบแน่นสนิท ไม่มีความผูกพันอะไร ในด้านร่างกายก็ดี ในวัตถุก็ดี ไม่เอา แล้วก็ไม่สนใจ ต้องการอย่างเดียว อากาศ คือความว่างเปล่า ปราศจากแม้แต่จิต ถ้าถือว่าขณะใดยังมีขันธ์ ๕ ยังมีภาพอยู่ ยังมีจิตเป็นเครื่องเกาะ มันมีความทุกข์อย่างนี้ ถ้าจิตมันทรงอยู่ได้ตลอดเวลา นึกขึ้นมาเมื่อไร อารมณ์ว่างไม่เกาะอะไรทั้งหมด มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน สภาวะทั้งหลายในโลกไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเราเลย มันไม่มีอะไรทรงตัว มีอารมณ์ว่าง หาที่สุดมิได้ ถ้าเราเกาะโลกอยู่เพียงใด ก็ชื่อว่าเราเป็นผู้มีทุกข์

นี่อาการอย่างนี้คล้ายคลึงวิปัสสนาญาณมาก อย่างนี้เรียกว่าได้ วิญญาณัญจายตนะฌาน นี่เป็นอารมณ์ เราพูดกันถึงอารมณ์ เราพูดกันถึงอารมณ์ ถ้าไปอ่านตามแบบบางทีจะค้านกัน เมื่อเราได้วิญญาณัญจายตนะแล้ว ก็ชื่อว่าได้ สมาบัติที่ ๖ หรือ ฌานที่ ๖ อย่าลืมนะว่า เราต้องจับภาพพระพุทธรูปเป็นกสิณก่อน ต่อมาเราก็เพิกให้หายไป ถือเอากสิณนำให้จิตมันจับเป็นอารมณ์ทรงตัวก่อนนั่นเอง เพราะกสิณเป็นของหยาบ จับให้ทรงตัวแล้ว จงนึกว่าขอภาพนี้จงหายไป

ทีนี้ก็มาพิจารณา ฌานที่ ๗ หรือสมาบัติที่ ๗ คืออากิญจัญญายตนะฌาน พิจารณาว่า โลกนี้มันไม่มีอะไรเหลือเลยนี่ มันพังหมดมันสลายตัวหมด ตึกรามบ้านช่อง เขาสร้างขึ้นมาอย่างดีๆ ก็พัง บ้านเมืองเก่าๆ เขาสร้างแข็งแรงก็พัง กำแพงเมืองใหญ่อย่างกำแพงเมืองจีน กำแพงเมืองไทย กำแพงเมืองฝรั่ง เขาสร้างแข็งแรงมากที่สุด มันก็พัง ภูเขามันก็มีอาการผุ เขาเอาดินมาทำลูกรัง มันก็ผุจมหายไปหมด คนก็ดี สัตว์ก็ดี ต้นไม้ก็ดี เรือนโรงก็ดี เมื่อถึงที่สุดแล้วไม่มีอะไรเหลือ อากิญจัญญายตนะ นี่เขาแปลว่า หาอะไรเหลือไม่ได้ จิตใจว่างจากอารมณ์ เลยไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด อะไรเล่าที่เป็นสาระสำหรับเราไม่มี แม้แต่ร่างกายของเรานี้ ไม่ช้ามันก็พัง การทรงร่างกายอยู่อย่างนี้มันเป็นทุกข์ เราไม่ต้องการมีร่างกายอีก ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงตัวได้ดีแล้ว ก็ชื่อว่าเราได้ อากิญจัญญายตนะฌาน เป็นสมาบัติที่ ๗

ทีนี้มาสมาบัติที่ ๘ จับภาพพระพุทธรูปเป็นอารมณ์ ทรงอารมณ์แจ่มใสให้ใจสบาย เป็นอุเบกขารมณ์ อรูปฌานนี่ก็ทรงฌาน ๔ นั่นเอง แต่มาจับเป็นส่วนอรูป อารมณ์มันเท่ากัน มาจับเนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน เรามีสัญญาความรู้สึก ทำตนเหมือนคนไม่มีสัญญา เพราะเห็นว่าร่างกายไม่มีสาระ ร่างกายไม่มีแก่นสาร ร่างกายเป็นปัจจัยของความทุกข์ วัตถุทั้งหมดไม่มีอะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ไม่มีอะไรเป็นที่อาศัยจริงจัง ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้

เวลาร่างกายมันจะหิว มันมีอาหารกินก็กิน ไม่มีกินก็ทำสบาย รู้สึกว่าหิวแล้วทำเหมือนว่าไม่หิว มันหนาวมันไม่มีอะไรจะเป็นเครื่องปกปิด ก็นอนมันเฉยๆ มันหนาวก็หนาวไป ทำเหมือนว่าเป็นคนไม่หนาว ร้อนก็ทำเฉยๆ ทำเหมือนว่าเป็นคนไม่ร้อน ใครเขาด่าว่าอะไรก็ทำเหมือนว่าไม่มีคน ไม่สนใจกับอะไรทั้งหมด มีสัญญาก็เหมือนกับคนที่ไม่มีสัญญา คือความจำมันมีอยู่ แต่ทำเหมือนกับคนที่ไม่มีความจำ ทำแบบนี้แล้วจิตมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ จิตมันเป็นสุข ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา หนาวก็หนาวไป ช่างหัวมันไม่สนใจ ร้อนก็ร้อนไป มันอยากหิว หิวก็หิวไป ไม่มีจะกินก็แล้วไป มีกินก็กิน ไ่ม่มีก็ไม่กิน มันอยากจะแก่ก็แก่ไป มันอยากจะป่วยก็ป่วยไป มันจะตายเมื่อไรก็ช่างหัวมัน ขันธ์ ๕ มันไม่ดี เราไม่ตั้งใจจะคบเลย ไม่ต้องการจำอะไรมันทั้งหมด ไม่สนใจอะไรกับมันเลยทั้งหมด อย่างนี้เรียกว่าเป็น ฌานที่ ๘ หรือสมาบัติที่ ๘ นี่อาการมันใกล้วิปัสสนาญาณเต็มที

ฉะนั้นองค์สมเด็จพระชินศรีจึงกล่าวว่า คนที่ได้สมาบัติ ๘ แล้ว ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณ พระโบราณาจารย์ สมัยโบราณท่านบอกว่า เพียงแค่เคี้ยวหมากแหลกเดียวก็เป็น พระอรหันต์ หากว่าเราได้สมาบัติ ๘ แบบนี้แล้ว ใช้สมาบัติ ๘ เป็นพื้นฐาน พิจารณาวิปัสสนาญาณในด้านสังโยชน์ ๑๐ คือมีสักกายทิฏฐิ เป็นต้น หรือว่าพิจารณา อริยสัจ ๔ วิปัสสนาญาณ ๙ หรือพิจารณาขันธ์ ๕ ก็ตาม ประเดี๋ยวเดียวมันก็เป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคา พอเข้าถึงพระอนาคามี เราก็ได้ปฏิสัมภิทาญาณ

จากหนังสือ กรรมฐาน ๔๐ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

พุทธานุสสติแบบหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

 

เริ่มต้น ท่านให้พิจารณาขันธ์ ๕ ก่อน โดยพิจารณาว่า ขัน ๕ นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ ๕ จนละเอียด แล้วสั่งให้พิจารณาไป

ท่านบอกว่าการพิจารณาอย่างนี้ ถ้าพิจารณาได้ตลอดไปโดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ท่านให้พิจารณาเรื่อยไป ท่านบอกว่าพิจารณาได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณ เพียงแต่บอกว่า ก่อนภาวนาควรพิจารณาขันธ์เสียก่อน และไม่ต้องรีบภาวนา ถ้าใครพิจารณาจนเห็นว่าร่างกาย ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมเป็นร่าง เป็นที่อาศัยชั่วคราวของจิต จนละความห่วงใยในขันธ์ ๕ เสียได้โดยที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็ยิ่งดี

ต่อเมื่อจิตจะส่าย พิจารณาไม่ได้ดี ท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้

 

 

กำหนดลมหายใจไว้สามฐาน คือ ที่จมูก อก และศูนย์เหนือสะดือ ลมจะกระทบ สามฐานนี้ ให้กำหนดรู้ทั้งสามฐาน เพื่อลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา พร้อมกันนั้น ท่านก็ให้ภาวนาว่า พุทธ ภาวนาเมื่อสูดลมหายใจเข้า โธ เมื่อหายใจออก แล้วท่านให้นึกถึงภาพพระพุทธ ที่ผู้ปฏิบัติเคารพมาก จะเป็นพระพุทธรูปวัดใดองค์ใดก็ได้ ตามใจสมัคร

ท่านสอนดังนี้ ผู้เขียนเรียนกับท่าน ไม่เคยรู้เลยว่า ตอนแรกท่านให้เจริญวิปัสสนาญาณ คิดว่าเป็นสมถะ ตอนที่ภาวนา คิดว่าเป็นพุทธานุสสติล้วน ต่อมาถึงได้ทราบว่า ท่านให้กรรมฐาน ๔ อย่างรวมกัน คือ ตอนพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นวิปัสสนาญาณ ตอนกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นอานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนภาวนา เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตอนเพ่งรูปพระเป็นกสิณ ท่านมีความฉลาดสอนรวมคราวเดียว ๔ อย่าง กำลังพุทธานุสสติ มีเพียงอุปจารฌาน อานาปาน์และกสิณ มีกำลังถึงฌาน ๔ รู้สึกว่าท่านฉลาดสอน ท่านสอนเผื่อเหนียวไว้พร้อมมูล หากพบท่านที่มีอุปนิสัยสุกขวิปัสสโกเข้า ท่านเหล่านั้นก็พอใจในวิปัสสนาญาณ ท่านก็จะพากันได้มรรคผลไปตามๆ กัน

มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร


เรื่องราวมีอยู่ว่า ท่านมัฏฐกุณฑลี นี่ความจริง ตระกูลนี้ไม่ใช่ตระกูลนับถือพระพุทธศาสนา เป็นตระกูลพราหมณ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็เป็นพราหมณ์ที่เหยียดหยามพระพุทธศาสนาด้วย ไม่มีความเคารพ บิดาของของท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรก็เป็นอาจารย์ของพราหมณ์ เป็นคณาจารย์ใหญ่ แต่ว่าอยู่ในฐานะคหบดี คือ คนรวยมาก ท่านผู้นี้มีลูกชายคนเดียว คือ ท่านมัฏฐกุณฑลี

ต่อมาลูกชายป่วยท่านพ่อแสนจะขี้เหนียว คือเพียงจะซื้อยาให้ลูกชาย หรือจะหาหมอรักษาให้ลูกชายก็สามารถจะทำได้ แ่ต่ท่านไม่ทำ เพราะเป็นคหบดีนี่มีทรัพย์นับเป็นสิบโกฏิ ไม่ใช่นับเป็นร้อย กลับเสียดายสตางค์ที่มีอยู่ ไปถามหมอว่า "ลูกชายฉันเป็นโรคผิวเหลือง จะรักษาด้วยยาอะไรดี" หมอเขาก็บอกยากลางบ้านแบบธรรมดาๆ แกได้ตำรายากลางบ้านมาแล้ว ก็ปรากฏว่า มาตำ มาต้ม มาโขลก ให้ลูกชายกินมันก็ไม่หาย ไข้ก็ทรุดลงตามลำดับ

 

 

 

เมื่อลูกชายไข้ทรุดมาก ท่านก็มีความรู้สึกว่า เวลานี้ลูกชายนอนอยู่ในห้องที่เป็นมงคล เป็นสิริ คือห้องสวยๆ ข้างในมีทรัพย์สินมาก มีเครื่องประดับประดามาก เขาก็จะมาเยี่ยมแต่คนที่มาเยี่ยมนั้น ถ้าบังเอิญเห็นของที่ชอบใจของเรา ถ้าไม่ให้กัน ก็เป็นการขัดใจกัน ทางที่ดีหลบเรื่องนี้ เพื่อเป็นการไม่ทะเลาะกัน หลบเสีย จึงเอาลูกชายมานอนที่ระเบียงบ้าน ซึ่งไม่มีทรัพย์สินอะไรเป็นเครื่องประดับ ลูกชายก็อาการป่วยหนักขึ้นทุกวัน ทวีคูณขึ้น พ่อก็ไม่ยอมหายาอย่างดีมารักษาโรค ตำยา ต้มยา ตามที่หมอกลางบ้านเขาบอกธรรมดาๆ

ต่่อมา อาการทรุดหนักขึ้น แม้แต่แขนขาก็ยกไม่ขึ้น ความตายปรากฏชัด แต่ทว่าพ่อหนุ่มน้อยมัฏฐกุณฑลี เธอก็ไม่อยากจะตาย ไม่มีความรู้สึกว่าเวลานี้จะต้องตาย คิดแต่เพียงในใจว่า เราต้องหายจากโรคนี้ แต่ว่าจะหันไปหาพ่อหาแม่ ก็หมดทางที่พ่อแม่จะช่วยเหลือ พ่อแม่ก็ไม่สนใจเท่าทรัพย์สินที่มีอยู่

ในที่สุดทุกขเวทนาเครียดมาก จึงมีความรู้สึกว่า ชาวบ้านเขาลือกันว่า พระสมณโคดมท่านเป็นพระใจดีมาก มีเมตตาสูง ย่อมสงเคราะห์ไม่ว่าใคร แต่เวลานี้เราป่วยหนัก อยากจะให้องค์สมเด็จพระจอมไตร คือพระสมณโคดมมารักษา เราจะได้หายจากโรค

ขอให้พิจารณาด้วยว่า ความรู้สึกของมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ไม่ได้มีความรู้สึกยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า ในด้านของความดีอย่างอื่น แต่เขามีความรู้สึกว่า พระองค์มีเมตตา ไม่เลือกบุคคล แต่ใจของเขาเวลานั้นก็นึกอยากจะให้พระพุทธเจ้ามาช่วยรักษาโรค อาศัยที่เจตนาตั้งใจยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าให้เป็นหมอรักษาโรค ความจริงถ้าเพ่งดูจริงๆ แล้ว มันไม่ตรงกับบุญด้านการยอมรับนับถือในความดีปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่าน แต่นี่เปล่า เขาไม่ได้คิดอย่างนั้น เขาต้องการให้มาช่วยรักษาโรคให้หาย

แต่พระพุทธเ้จ้าก็มีพระมหากรุณาธิคุณ ในตอนเช้าทรงเสด็จมาบิณฑบาตกับพระอานนท์ผ่านบ้านพราหมณ์ บ้านนั้นเขาก็ไม่ไหว้พระพุทธเจ้า ไม่ยอมใส่บาตรด้วย ไม่ยอมยกมือไหว้ เมื่อพระพุทธเจ้าผ่านไป เวลานั้นมัฏฐกุณฑลีนอนตะแคง เอาหน้าเข้าหาฝา เห็นแสงสว่างประกาายพุ่งมาเข้าตาของเธอ ก็สะดุดใจ เหลียวไปเห็นองค์สมเด็จพระจอมไตรกับพระอานนท์กำลังเดินบิณฑบาต เธอจับภาพพระพุทธเจ้าขณะเดินบิณฑบาต กับภาพพระอานนท์ กับแสงที่ปรากฏกับตาของเธอ นึกถึงพระพุทธเจ้าว่า ขอพระสมณโคดม จงสงเคราะห์ให้ข้าพเจ้าหายจากโรคเดี๋ยวนี้เถิด

 

ขณะที่เธอนึกอยู่อย่างนั้น แทนที่มันจะหายจากโรค กลับหายจากความเป็นคน นั่นก็คือ ตายจากความเป็นคน เธอตายเวลานั้นก็ไม่ผ่านสำนักของพระยายม เพราะนึกถึงพระพุทธเจ้า ตรงไปสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก ได้วิมานทองคำสูงมาก ใหญ่มาก แล้วเธอก็เป็นเทวดาประจำที่นั้น มีต่างหูเกลี้ยง จึงมีนามว่า มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็นบริวาร

หลังจากลูกชายตายปรากฏว่าเวลาตอนเช้าๆ ท่านพ่อก็ไปที่ปากหลุมฝังศพของลูก ไปยืนพรรณนา ขอให้ลูกชายกลับมาเกิดใหม่ เพราะเป็นลูกคนเดียว ต่อไปจะไม่มีใครรับมรดก เป็นผู้ปกครองทรัพย์สมบัติ เธอไปพรรณนาอยู่นั้น กี่วันก็ไม่ทราบ บาลีไม่ได้บอกชัด บอกไว้แต่เพียงว่า มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร เห็นพ่อไปยืนพรรณนาอยู่ที่นั่น ตั้งใจให้กลับมาเกิดใหม่ เป็นลูก ก็มีความรู้สึกในใจว่า พ่อของเรานี่เป็นคนพาล

คำว่า พาล บรรดาพุทธบริษัท เขาแปลกันว่า โง่ เป็นคนพาล คือ เป็นคนโง่ ไม่ยอมรับนับถือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเวลาเรามีชีวิตอยู่ก็ี้ขี้เหนียว แสนจะเหนียว จะกินจะใช้ ก็ไม่ค่อยกิน ไม่ค่อยใช้ มีเท่าไรเก็บหมด ยอมอดมื้อกินมื้อ ยอมกินของเล็กๆ น้อยๆ หมายความว่า ของที่มีค่าไม่สูง แม้จะมีรสไม่อร่อย ก็พร้อมกิน เพื่อเก็บรักษาทรัพย์สิน เวลาเราป่วยไข้ไม่สบาย ก็ไม่ประสงค์จะรักษา ค่ายาซึ่งเป็นของไม่มากนัก ค่าหมอ เป็นของไม่มากนัก ในบ้านมีเงินตั้งหลายสิบโกฏิ ก็ไม่ยอมเสียสละเงินค่ายาเพื่อเรา ไม่ยอมหาหมอรักษาเรา ปล่อยให้เราต้องนอนทุกขเวทนา ใช้ยากลางบ้านซึ่งไม่ถูกกับโรคกิน ในที่สุดเราก็ต้องตาย แต่ว่าการที่มาได้ อาศัยพระสมณโคดมบรมครู คือพระพุทธเจ้า ทรงสงเคราะห์เราขณะที่เสด็จไปทรงบิณฑบาต แผ่แสงให้ปรากฏชัด

เมื่อเราเห็นองค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์แล้ว จึงได้มีความนับถือ ยอมรับนับถือ คิดว่าขอพระองค์ช่วยให้หายจากโรค แต่อาการร่างกายมันเกินวิสัยที่จะทรงอยู่ อาศัยที่นึกถึงองค์สมเด็จพระบรมครู ถึงแม้จะไม่ตรงกับความเป็นบุญนัก คือ นึกต้องการให้ช่วยรักษาโรค มันไม่ใช่ตรงความเป็นบุญถนัด แต่ถึงกระไรก็ดี แม้แต่เพียงบุญเล็กน้องเพียงเท่านี้ ก็สามารถทำให้เราเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่ มีเครื่องประดับเป็นทิพย์ มีร่างกายเป็นทิพย์ มีความเป็นอยู่อย่างเป็นทิพย์ มีความสุขมาก แต่พ่อของเรานี้จมปราณอยู่กับความโง่ เราต้องไปทรมานพ่อ ให้มีความรู้สึกเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ มีความเห็นถูกคลายจากความโง่

เมื่อท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร คิืดอย่างนี้แล้ว ก็ลงมา แปลงเป็นคนเหมือนรูปเก่า เหมือนรูปเดิม เห็นพ่อยืนร้องไห้อยูปากหลุม เธอก็มายืนร้องไห้บ้าง ใกล้ๆ กับพ่อ ท่านพราหมณ์เห็นมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร มายืนอย่างนั้นก็เข้าใจว่า ชายคนนี้เหมือนลูกชายของเรา ถ้าได้ไว้เป็นลูกจะดีมาก จึงเข้าไปใกล้ ถามว่า "พ่อคุณเอ๋ย .. เธอร้องไห้ทำไม" มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรก็ถามว่า "คุณลุงร้องไห้ทำไม" คุณลุงก็ตอบว่า "ฉันร้องไห้คิดถึงลูกชายของฉัน ลูกชายของฉันกำลังเป็นหนุ่มเป็นแน่น เป็นคนน่ารัก เป็นคนดีมาก แต่ทว่าเธอต้องมาตายซึ่งอายุยังน้อย ฉันมีลูกคนเดียวไม่มีใครปกครองทรัพย์สิน ถ้าลูกฉันอยู่ จะมีโอกาสได้ปกครองทรัพย์สิน แต่ถ้าหากว่าลูกของฉันที่ตาย ถ้าเธอกลับมาได้ ฉันจะให้ปกครองทรัพย์สินใหม่ หรือมิฉะนั้น ถ้าเธอไม่รังเกียจ เป็นลูกบุญธรรมของฉัน ฉันจะให้ปกครองทรัพย์สินแทนลูกชายของฉัน"

ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรได้ฟัง ก็นึกในใจว่า พ่อของเราเมื่อเราอยู่ ยาก็ไม่หา ไม่ยอมซื้อที่ถูก หมอก็ไม่รักษา ขี้เหนียวที่สุด แต่เวลานี้ กลับเห็นเราซึ่งเป็นคนอื่น จะยอมมอบทรัพย์สมบัติให้กับบุคคลนั้น รวมความว่า ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ฟังแล้วก็คิดว่าตายจริง พ่อเรานี่โง่มาก คนตายแล้วมันเกิดได้เมื่อไหร่ และท่านลุงก็ถามว่า "เธอร้องไห้ทำไม"

ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ก็ตอบว่า "ฉันร้องไห้นี่ เพราะว่า ฉันมีรถทองคำอยู่คันหนึ่ง สวยมาก แต่ยังหาล้อที่เหมาะสมไม่ได้" ท่านคหบดีก็ถามว่า "เธอต้องการอะไร ต้องการล้อเงิน หรือล้อทอง ฉันจะจัดให้ตามความประสงค์" มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรก็คิดว่า นี่เราคนอื่น เธอกลับจะให้ล้อเงินกับล้อทอง แต่ว่าเวลาที่อยู่ไม่ยอมรักษาให้ ทรัพย์สมบัติก็ไม่ให้ จะไปไหนก็ขี้เหนียว สตางค์ก็ไม่ค่อยให้ จึงแกล้งบอกว่า "ฉันต้องการ ดวงจันทร์ กับดวงอาทิตย์ มาเป็นล้อทั้งสองข้าง ดวงอาทิตย์ล้อข้างหนึ่ง ดวงจันทร์ข้างหนึ่ง"

ท่านพราหมณ์ก็เอะใจ คิดว่าได้เจ้าเด็กนี่บ้า ก็เลยบอกว่า "เธอบ้า เพราะว่าดวงจันทร์ กับดวงอาทิตย์ใครจะนำมาได้" ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ก็ถามว่า "โภ ปุริสสะ ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ คนที่ต้องการสิ่งที่มองเห็น กับคนที่ต้องการสิ่งที่มองไม่เห็น ใครจะบ้ามากกว่ากัน เวลานี้ลูกชายของท่านอยู่ที่ไหน ท่านทราบไหม" พราหมณ์ก็บอกว่า "ไม่ทราบ" "ในเมื่อฉันต้องการดวงจันทร์ กับดวงอาทิตย์ที่ฉันเห็นได้ แต่ท่านต้องการลูกชายที่เห็นไม่ได้ ผมกับท่านใครจะบ้ามากกว่ากัน"

เป็นอันว่า พราหมณ์ยอมรับว่า บ้ามากกว่าเขา ในที่สุด มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ก็แสดงตนเป็นเทวดาประกาศให้ทราบว่าตัวท่านคือ มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร เป็นลูกชายของท่านพราหมณ์ เวลานี้ไปอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก พราหมณ์ก็ถามว่าไปได้เพราะเหตุใด

ท่านก็ตอบว่า ก่อนจะตายเห็นพระสมณโคดมกับพระอานนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นึกถึงพระสมณโคดม ขอให้มาช่วยรักษาโรคให้หาย แต่ก็เป็นการบังเอิญ มันไม่หาย แค่นึกถึงชื่อองค์สมเด็จพระจอมไตร ตายจากความเป็นคน ก็ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางฟ้าเป็นบริวารพันคน มีวิมาณทองคำเป็นที่อยู่ จึงแนะนำว่า

"ต่อนี้ไป ขอพ่อโปรดเคารพองค์สมเด็จพระบรมครู จงถวายทานในสำนักของท่าน จงรักษาศีลในสำนักของท่าน จงฟังเทศน์ในสำนักของท่าน ตายแล้วจะไปสวรรค์" ท่านมัฏฐกุณฑลีว่าแล้ว ก็ลากลับไป

หลังจากนั้น พราหมณ์ ก็เพื่อเป็นการพิสูจน์ กลับไปบ้าน ดีใจ บอกแม่บ้านว่า "วันนี้ฉันจะไปนิมนต์พระสมณโคดมกับพระสาวก มาฉันภัตตาหารที่บ้าน ทำกับข้าวให้มาก" แล้วก็หลีกไป ครั้นเมื่อไปพบองค์สมเด็จพระจอมไตรแล้ว เวลานั้นปรากฏว่า มีชาวบ้านหลายพวก สองฝ่าย พวกของพราหมณ์บ้าง พวกพุทธศาสนาบ้าง ต่างคนต่างตามไป พวกของพราหมณ์คิดว่าวันนี้เราต้องการดู อทินกบุพกพราหมณ์ คือพ่อของ มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร
ย่ำยีพระสมณโคดม สำหรับพุทธบริษัทก็คิดว่า วันนี้เราจะดูลีลาพระพุทธเจ้าที่สอนพราหมณ์ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ คนทั้งสองฝ่ายก็ไปยืนร่วมกันที่นั่น

เมื่อไปถึงแล้วเขาก็ยกมือไหว้องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ แล้วกล่าวว่า "พระสมณโคดม ผมอยากจะทราบว่า คนที่ไม่เคยใส่บาตรกับท่าน ไม่เคยฟังเทศน์ ไม่เคยรักษาศีล ไม่เคยยกมือไหว้ในสำนักของท่าน นึกถึงชื่อท่านอย่างเดียว ตายแล้วไปสวรรค์ มีไหม"

องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ตรัสว่า
"พราหมณะ ดูก่อนพราหมณ์ คนที่ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยฟังเทศน์ ไม่เคยยกมือไหว้ นึกถึงชื่อตถาคตอย่างเดียว ตายแล้วไปสวรรค์ ไม่ใช่นับร้อย นับพัน แต่นับเป็นโกฏิ"

หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงเรียกมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ให้มาพร้อมวิมาน มัฏฐกุณฑลีมาแล้ว ก็ลงจากวิมานมากราบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงเทศน์โปรด เมื่อเทศน์จบ มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ก็เป็นพระโสดาบัน คนที่ยืนฟังอยู่นั่น ต่างบรรลุมรรคผลไปตามๆ กัน

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ที่นำเรื่องนี้มา อาจจะยาวไปหน่อย ก็เพราะว่า ต้องการให้ท่านทั้งหลายทราบว่า คนที่ตั้งใจนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ถึงแม้ว่ากาลก่อนจะไม่เคยยอมรับนับถือมา แต่เวลใกล้จะตาย ก่อนจะตายถ้านึกถึงชื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา อย่างมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร อย่างนี้ตายแล้วไปสวรรค์แน่นอน ไม่ต้องผ่านสำนักพระยายม

 

 

 

แต่ว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ได้เปรียบกว่ามัฏฐกุณฑลีเทพบุตรมาก เพราะว่า ทุกคนยอมรับนับถือพระพุทธเจ้ามาในกาลก่อน และัปัจจุบันก็ยังยอมรับนับถืออยู่ เวลานี้ทุกคนก็ยังมีความเคารพในองค์สมเด็จพระบรมครู ถ้าหากว่าทุกท่านจะซ้อมความรู้สึกนึกถึงพระพุทธเจ้า คือตื่นขึ้นจากที่นอนสัก ๒ ถึง ๓ นาทีว่า ความดีขององค์สมเด็จพระชินศรีที่มีแล้ว ยอมรับนับถือด้วยความจริงใจ แล้วก็ตั้งใจรักษาความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง สมมติว่า ตั้งใจจะให้ทาน พระพุทธเจ้าแนะนำว่า ทานเป็นของดี ก็คิดในใจว่า เราต้องการให้ทาน ถ้าโอกาสจะพึงมี เพียงเท่านี้ จิตใจของท่านจะตั้งอยู่ใน พุทธานุสสติกรรมฐาน กับจาคานุสสติกรรมฐาน ถ้าเวลาตาย บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน อย่างเลวที่สุด ก็เกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก ถ้าอย่างสูงที่สุด ก็เห็นจะต้องเป็น นิพพาน เพราะว่า พระพุทธโฆษาจารย์ รจนาวิสุทธิมรรค ท่านกล่าวว่า "บุคคลใดเจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน เป็นประจำ คนนั้นไปนิพพานง่ายที่สุด"

๏ การสร้างพระพุทธรูป จัดว่าเป็นพุทธบูชา ถ้าในเรื่องกรรมฐาน จัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าตายจากคนไปเกิดเป็นเทวดา มีรัสมีกายสว่างไสวมาก ถ้าถวายปัจจัยถวายเป็นของสงฆ์ จัดว่าเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา จัดเป็นจาคานุสสติกรรมฐาน เกิดมาชาติหน้าก็รวย การสร้างพระถวาย ด้วยอำนาจพุทธบูชา ทำให้มีรัศมีกายมาก เป็นคนสวยเช่นนางวิสาขามหาอุบาสิกา ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พุทธบูชา มหาเตชวัณโต" การบูชาพระพุทธเจ้า มีเดชอำนาจมาก

๏ อานันทะดูก่อนอานนท์ บุคคลใดเกิดมาทันในสมัยที่ตถาคตมีชีวิตอยู่ บุคคลเหล่านั้น เขาแม้แต่ว่าจะเกาะชายสังฆาฏิของตถาคตอยู่ก็ตาม แต่ว่าท่านผู้นั้นไม่ได้เจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน ตถาคตถือว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้ไม่เคยเห็นตถาคตเลย เพราะอะไร เพราะนั่งเกาะชายสังฆาฏิ เห็นแต่เนื้อเห็นแต่ร่างกายของท่าน ไม่ได้เห็นความเป็นพระพุทธเจ้า ความเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ที่ขันธ์ ๕ ความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่การบรรลุมรรคผล อยู่ที่ความดีของจิต

ต่อไปองค์สมเด็จพระธรรมสามิศร ได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า อานันทะดูก่อนอานนท์ บุคคลใดเกิดมาทันในสมัยที่ตถาคตยังมีชีวิตอยู่ก็ดี หรือว่าเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วก็ดี ถ้าบุคคลผู้นั้นเจริญพุทธานุสสติกรรมฐานอยู่เป็นปกติ ตถาคตถือว่า เขาผู้นั้นเป็นผู้เกาะชายสังฆาฏิของตถาคตอยู่




 
Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden