yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - 18 อภิญญา
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง
  อภิญญา

จิตที่พัฒนาสูงขึ้นจนได้ฌานจัดเป็นจิตที่มีพลังสูงมาก เพราะสามารถกำจัดกิเลสอย่างกลางได้หมด ยิ่งได้ฌานในระดับสูงขึ้นก็ยิ่งมีพลังสูงขึ้น โดยปกติแล้วผู้ได้ฌานสามารถได้อภิญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง

อภิญญา แปลว่า " ความรู้ยิ่ง " คือ มีความรู้ความสามารถยิ่งกว่ามนุษย์ธรรมดา เป็นปรากฎการณ์ทางจิตในระดับสูง จิตที่ได้อภิญญานั้น เป็นจิตที่มีความสามารถสูงอย่างมหัศจรรย์ ซึ่งมนุษย์ทั่วไปไม่อาจจะมีได้

อภิญญา มี 5 อย่าง คือ

1. อิทธิวิธี...................แสดงฤทธิ์ได้
2. ทิพพโสต................หูทิพย์
3. เจโตปริยญาณ..........รู้ใจผู้อื่นได้
4. ปุพเพนิวาสานุสสติ.....ระลึกชาติได้
5. ทิพพจักขุ.................ตาทิพย์


อภิญญา ทั้ง 5 ประการนี้ สามารถเกิดขึ้นได้แก่ปุถุชนผู้ได้ฌานสมาบัติ แต่ถือว่าเป็นเพียงผลพลอยได้ (By-product) จากการฝึกจิต หรือจากการพัฒนาจิตเท่านั้นเอง ไม่ใช่จุดมุ่งหมายหรือจุดหมายปลายทางของการฝึกอบรมจิตในพระพุทธศาสนา เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการทำจิตให้เป็นสมาธิหรือได้ฌานในพระพุทธ ศาสนานั้น ก็เพื่อมุ่งกำจัดกิเลสอย่างกลางเป็นสำคัญ แล้วใช้สมาธิหรือฌานที่ได้นั้นให้เป็นบาทหรือเป็นทางที่จะก้าวขึ้นไปสู่ ปัญญาเพื่อกำจัดกิเลสให้หมดในที่สุด

แต่อย่างไรก็ตาม อภิญญาทั้ง 5 ประการนี้ แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นสิ่งที่นักฝึกจิตต้องการได้กันไม่น้อยเช่นกัน เพราะทำให้บุคคลผู้ได้ให้เป็นผู้มีความพิเศษเหนือมนุษย์ทั่วไป และสามารถแสดงหรือทำสิ่งที่คนทั่วไปไม่อาจทำได้ เป็นความสำเร็จขั้นสูงทีเดียว แม้จะไม่ถึงขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนาก็ตาม

อภิญญาทั้ง 5 ประการนี้ ในปัจจุบันก็ยังมีผู้ทำกันได้อยู่ แม้แต่นักบวชนอกพระพุทธศาสนา เช่น พวกฤษี หรือ พวกนักบำเพ็ญสมาธิในอินเดีย แม้ในประเทศไทยก็ยังมีผู้แสดงอภิญญาได้บางข้อ เช่น อิทธิวิธี และเจโตปริยญาณ เป็นต้น แต่ท่านเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุ และไม่ค่อยปรากฎตัวให้คนทั่วไปได้ทราบ จึงรู้จักกันในหมู่คนที่รู้จักท่านบางคนหรือบางกลุ่มเท่านั้น

อภิญญาทั้ง 5 ประการนี้ ไม่ใช่ว่าผู้ได้ฌานแล้วจะได้ทุกคน แต่จะได้เพียงบางท่านเท่านั้น และการที่จะได้นั้นก็จะต้องฝึกจิตให้ชำนาญเพื่อให้ได้อภิญญาข้อนั้นๆ และอภิญญาทั้ง 5 ประการนี้จะนำมากล่าวเพียงสังเขปเท่านั้น

1. อิทธิวิธีแสดงฤทธิ์ได้

อิทธิวิธี เป็นการแสดงฤทธิ์และอภินิหารต่างๆ เช่น การเดินไปบนน้ำ, การล่องหนหายตัว, การแปลงร่าง, การนิรมิตสิงของต่างๆ, คนเดียวทำให้เป็นหลายคน, การบันดาลให้เกิดไฟ, การบันดาลให้ฝนตกและให้เกิดลม, การย่นระยะทาง และการไปอย่างรวดเร็วเหมือนลัดนิ้วมือ เป็นต้น

การที่จะให้ได้อภิญญาข้อนี้ ผู้ปฏิบัติจะต้องมีอิทธิบาท 4 คือ ความพอใจ (ฉันทะ) ความเพียร (วิริยะ) ความมีใจจอจ่อ (จิตตะ) และการใช้ปัญญาไตร่ตรอง (วิมังสา) พร้อมกับสมาธิแน่วแน่ มั่นคง ไม่หวั่นไหว เมื่อจิตมั่นคงดีแล้วก็เข้าฌานสมาบัติ ตั้งแต่ปฐมฌาณจนถึงจตุตถฌาน ออกจากฌานแล้วอธิษฐานว่า จะต้องการฤทธิ์หรือปาฏิหาริย์ชนิดใดแล้วเข้าฌานอีก พอออกจากฌานก็อธิษฐานอีกครั้งหนึ่ง ฤทธิ์หรือปาฏิหาริย์ก็จะเกิดขึ้นตามที่อธิษฐาน

2. ทิพพโสต หูทิพย์

ทิพพโสต เป็นฌานที่ทำให้หูทิพย์ สามารถจะได้ยินเสียงต่างๆทั้งใกล้และไกล ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนหรือเสียงสัตว์ หรือเสียงวัตถุใดๆเกินที่สามัญมนุษย์จะได้ยิน โดยสามารถกำหนดให้ได้ยิน เฉพาะเสียงเดียวโดยเฉพาะได้ การที่จะได้ยินทิพยโสต ผู้ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติทำนองเดียวกับการที่จะได้อิทธิวิธี แล้วเข้าสมาธินึกถึงเสียงที่อยู่ใกล้และหยาบก่อน แล้วค่อยๆขยายออกไป นึกถึงเสียงที่อยู่ห่างออกไปและที่ละเอียดขึ้นโดยลำดับ จนกระทั่งได้ยินทิพยโสต


3. เจโตปริยญาณ รู้ใจผู้อื่นได้

เจโตปริยญาณ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " ปรจิตตวิชชา-วิชารู้ใจผู้อื่น " เป็นญาณที่กำหนดรู้ใจคนอื่นด้วยใจตนเอง ผู้ใดคิดอย่างไร ก็สามารถทายใจหรือรู้ใจของผู้นสั้นไปหมด จนถึงกับศิษย์บางท่านไม่อาจอยู่กับอาจารย์กรรมฐานที่รู้ใจผู้อื่นได้ เพราะตนเองคิดอย่างไร ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง อาจารย์รู้หมด ต้องระวังตัวอยู่มาก

ผู้ใดมี่จิตประเภทใด คือ โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่าน ผ่องใส ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ท่านผู้ได้เจโตปริยญาณ สามารถรู้ได้หมด ท่านกล่าวว่า การที่จะทำให้สำเร็จญาณนี้ได้ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าฌานโดยการเพ่งอาโลกกสิณ คือ แสงสว่างเป็นอารมณ์ แต่ที่ทราบ แม้ท่านผู้ที่กำหนดอารมณ์กรรมฐานอื่น เช่น อานาปานสติ ก็สามารถรู้ใจคนอื่นได้ เช่นกัน



4. ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้

ปุพเพนิวาสานุสสติ บางทีท่านเรียกว่า " ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แปลว่า ญาณที่ให้ระลึกชาติหนหลังได้ " คืออภิญญาจิตข้อนี้ ทำให้สามารถระลึกได้ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยในภพก่อนๆ คือ การระลึกชาติได้นั่นเอง

การที่จะได้อภิญญาข้อนี้ ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าฌาน 4 ตามลำดับ เมื่อออกจากฌานแล้วนึกถึงการเข้าฌานก่อน ย้อนไปหาการกระทำก่อนนั้นขึ้นไปตามลำดับ จนกระทั่งนึกถึงการกระทำในวันก่อน เดือนก่อน ปีก่อน และชาติก่อนตามลำดับ บางท่านสามารถระลึกได้เพียงชาติเดียวหรือ 2 ชาติ แต่บางท่านสามารถระลึกย้อนไปไกลถึง 100 ชาติ 1,000 ชาติ ก็ยังมีการที่จะระลึกได้ไกลเพียงใดนั้น อยู่ที่บุญบารมีที่ได้สั่งสมมา

แต่การระลึกชาติได้นี้ แม้ท่านที่ไม่ได้ฌานก็ระลึกได้ แต่ส่วนมากระลึกได้เพียงชาติเดียวและมีคนระลึกได้อยู่ทั่วโลก ส่วนมากจะระลึกได้เมื่ออยู่ในปฐมวัย เพราะยังจำเหตุการณ์ของตนเมื่อชาติก่อนได้ดีอยู่ แต่เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ส่วนมากมักจะลืมเสีย แม้ในประเทศไทยเรามีผู้ระลึกชาติได้มากราย ปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ ผู้สนใจในเรื่องเช่นนี้ย่อมทราบดี


5. ทิพพจักขุ ตาทิพย์

อภิญญาข้อนี้ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เรียกว่า " จุตูปปาตญาณ แปลว่า ญาณรู้จักจุติและกำเนิดของสัตว์ทั้งหลาย " แต่ในคัมภีร์ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย เรียกอภิญญาข้อนี้ว่า " ทิพพจักขุ " คือ มีตาทิพย์ บริสุทธิ์กว่าตาสามัญมนุษย์ สามารถมองเห็นสิ่งที่ถูกปิดบังหรือถูกกั้นไว้ได้ แม้ที่เล็กละเอียดหรืออยู่ไกลก็สามารถเห็นได้ รวมทั้งรู้จักจุติและกำเนิดของสัตว์ที่กำลังตายและที่กำลังเกิดอยู่ในภพภูมิ ต่างๆได้ด้วย

การที่จะบรรลุอภิญญานี้ได้ ท่านกล่าวว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าฌาน โดยเพ่งเตโชกสิณ (ไฟ) โอทาตกสิณ (ของสีขาว) หรืออาโลกกสิณ (แสงสว่าง) อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ แต่เท่าที่ทราบแม้ผู้ที่เจริญกรรมฐานอย่างอื่น เช่น อานาปานสติ ก็สามารถบรรลุอภิญญาข้อนี้ได้

อภิญญาทั้ง 5 ประการนี้ไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้ง่ายเลย เพราะต้องผ่านฌาน รวมทั้งต้องใช้ความเพียรพยายาม และบุญญาธิการที่สั่งสมไว้เมื่อชาติปางก่อนสนับสนุนด้วย แต่ก็ยังมีท่านผู้ทำได้อยู่ ผู้ใดสามารถได้อภิญญาจิต จัดว่าเป็นผู้มีบุญควรแก่การเคารพบูชา เพราะเป็นผู้มีความสามารถพิเศษเหนือสามัญมนุษย์ทั่วไป เนื่องได้พัฒนาจิตของตนขึ้นสู่ระดับสูง จนมีมหิทธานุภาพในตัวเอง อันสามารถใช้คุ้มครองตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความสงบสุขและปลอดภัยได้ ในขอบข่ายที่กว้างขวาง



ผู้ใดฝึกจิตจนเกิดอภิญญา ย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้นั้น ไม่ว่าแบบใดๆ มากน้อยเพียงใดก็ตาม....

ผู้นั้นย่อมมีระบบประสาทที่มีพลัง มีการรับรู้ที่รวดเร็ว ที่ละเอียดอ่อน ฉันใดก็ฉันนั้น เปรียบกับรถยนต์ยิ่งวิ่งเร็ว ยิ่งคล่องตัว ยิ่งย่อมต้องมีระบบเบรคที่ดีขึ้นตาม ต้องมีระบบช่วงล่างที่ดีขึ้นตามไปด้วย จิตที่มีอภิญญา ย่อมต้องฝึก ต้องมี "สติรู้ตัวทั่วพร้อม" ให้มากขึ้นด้วย มิเช่นนั้นก็อาจจะยิ่งพาเราเดินไปผิดเส้นทางแห่งธรรมก็ได้ ยิ่งกว่าผู้ที่ไม่มีอภิญญาด้วยซ้ำไป

เพียงพึงตระหนักว่าประโยชน์สูงสุดของการมีอภิญญาคือได้เห็น ได้ยิน ได้รับรู้ สิ่งต่างๆที่ละเอียดขึ้น เร็วขึ้น เพื่อจะได้นำมาพิจารณา วิปัสสนาได้ชัดเจนขึ้น ได้ลึกซึ้งขึ้น เมื่อพิจารณาได้แล้ว ตระหนักแล้ว รู้แล้ว ถึงหนทางแห่งธรรม อภิญญาที่มีอยู่ก็ไม่สำคัญแล้ว รู้จักใช้แล้ว จะใช้หรือไม่ใช้แล้วแต่แล้ว เพราะมีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ปกติสุขแล้ว....ธรรมะ ธรรมชาติอยู่รอบตัวเรา ให้ฝึก ให้เรียนรู้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะฝึกด้วยวิธีใดๆ

อภิญญาก็เป็นเพียงความสามารถชนิดหนึ่งที่เกิดจากการฝึกฝนเป็นประจำ และต่อเนื่อง ทุกคนย่อมฝึกได้ อาจจะช้าเร็วต่างกัน เปรียบเหมือนนักกีฬา หากไม่ฝึกฝนก็ไม่มีความสามารถ แต่ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬาระดับชาติ ระดับโลกก็ตาม ควรพึงตระหนักว่า กีฬานั้น ประโยชน์แท้จริงก็เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เมื่อรู้ว่าร่างกายแข็งแรงเป็นสิ่งที่ดีแล้ว จะเป็นนักกีฬาอีกหรือไม่ ก็แล้วแต่แล้ว เพราะตระหนักแล้วและรู้ว่าควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงก็พอแล้ว....ไม่ ว่าจะด้วยวิธีใดๆก็ได้แล้ว


.....อภิญญา.....เป็นเพียงผลพลอยได้ในการปฏิบัติ.....

.....เป็นเพียงเครื่องนำพาสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์.....

.....ทั้งที่ปรากฎเป็นกายมนุษย์.....และ...............

.....ถึงแม้....จะไม่ปรากฎเป็นการมนุษย์หรือไม่ก็ตาม.....

.....เปรียบเหมือนนักกีฬา...หากหมั่นฝึกฝน.....ผลที่ตามมา.....

.....ก็คือความสามารถและสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์

.....หากแต่.....ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมายามนุษย์นี้..

.....ย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา....................

.....หาได้มีสิ่งใดให้ยึดถือเป็นแก่นสารสาระได้เลย...

ขอธรรมะคุ้มครองคุรุผู้ประเสริฐ คุรุผู้เมตตาธรรมทุกท่าน

ขอธรรมะคุ้มครองสรรพสัตว์ทุกชีวิตในโลกมายามนุษย์นี้ด้วยเถิดหนา สวัสดี



หน้าแรก

 

 หลักสูตร มโนมยิทธิ

 

หลักสูตร อภิญญาหก

 

พระกรรมฐาน๔๐กอง

 

เสียงธรรมเทศนา

 

อภิญญา , อุมาฑันตี

อภิญญา เล่ม ๑

อภิญญา เล่มที่๒

การฝึกอภิญญา ตอนที่ ๑


 

( ๑๘ ก.พ. ๒๕๒๘ )




การที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ตั้งใจจะมาฝึกพระกรรมฐาน พระกรรมฐานที่บรรดาท่านฝึกอยู่นี่ เป็นการเตรียมตัวเพื่อ " อภิญญาหก " คือ มันสูงกว่าวิชชาสาม กรรมฐานนี่ความจริงถ้าเราจะฝึกกันจริง ๆ ตามแบบ มันก็มีหลายพันแบบด้วยกัน แต่ว่าทุกแบบต้องมาลงใน ๔๐ แบบ ที่เรียกว่า " กรรมฐาน ๔๐ "

กรรมฐาน ๔๐ นี่เป็นต้นแบบใหญ่ อย่าลืมว่ากรรมฐานไม่ได้มีแบบเดียวนะ แล้วแต่ละ ๔๐ แบบ แยกเอาการฝึกออกไปเป็นข้อปลีกย่อยได้เป็นพัน ๆ จะเป็นการฝึกข้อปลีกย่อยกี่พันแบบ หรือต้นฐาน ๔๐ แบบก็ตาม ก็ย่อเป็นกรรมฐาน ๔ หมวด ต้องเข้าหมวดใดหมวดหนึ่งให้ได้ ถ้าเข้าหมวดใดหมวดหนึ่งไม่ได้ นั่นคือ ไม่ใช่กรรมฐานของพระพุทธเจ้าที่สอนไว้



หมวดที่ ๑ เรียกว่า " สุกขวิปัสสโก " บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายฝึกกันเป็นปกติ หมวดนี้ไม่มีความเป็นทิพย์ของจิต ไม่สามารถเห็นสวรรค์ เห็นเทวดา เห็นพรหมโลกได้ ไม่สามารถจะไปได้ แต่ว่ามีฌานสมาบัติได้ เป็นพระอริยเจ้าได้ ไปนิพพานได้

หมวดที่ ๒ เรียกว่า " เตวิชโช " หมวดนี้พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว แล้วก็ฝึก ทิพจักขุญาณ เมื่อฝึกทิพจักขุญาณได้แล้ว ต้องเข้าไปฝึก ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ระลึกชาติได้ เมื่อได้ทั้ง ๒ ประการแล้ว ใช้กำลังญาณทั้ง ๒ ประการเข้าช่วยวิปัสสนาญาณเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ เรียกว่า " พระวิชชาสาม " หมวดนี้สามารถเห็นสวรรค์ นรก เห็นพรหมโลก หรืออะไรก็ได้ทั้งหมด แต่ไปไม่ได้ ได้แต่เห็นอย่างเดียว นั่งตรงนี้คุยกับเทวดาหรือพรหมก็ได้ นั่งตรงนี้คุยกับสัตว์นรกก็ได้ อย่างนี้เรียกว่า " วิชชาสาม "

หมวดที่ ๓ ที่บรรดาท่านพุทธบริษัทปฏิบัติกันอยู่นี่ เป็นหมวด" อภิญญาหก " อภิญญาหกนี่เราไปไหนไปได้ตามใจชอบ จะไปสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปนิพพาน ไปนรก เปรต อสุรกาย ไปได้หมด ประเทศต่าง ๆ ไกลแสนไกลแค่ไหน ประเทศในมนุษยโลกนี่มันไม่ไกลหรอก เราสามารถไปได้ ดวงดาวต่าง ๆ ที่ฝรั่งจะไปเราก็ไปได้ไม่ต้องลงทุน อย่างนี้เป็น " อภิญญาหก "

สำหรับ หมวดที่ ๔ " ปฏิสัมภิทาญาณ " นี่มีความรู้ฉลาดมาก ปฏิสัมภิทาญาณมีความสามารถคลุมหมด คลุมสุกขวิปัสสโกด้วยเอาไว้ในตัว เอาวิชชาสามเข้าไว้ด้วย แล้วเอาอภิญญาหกเข้าไว้ด้วย แล้วก็ฉลาดมาก คือว่า ฉลาดในธรรมะขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกอย่าง เรียกว่า " ปฏิสัมภิทาญาณ "

สำหรับในตอนนี้ขอนำเรื่องของ " อภิญญาหก " มาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท คือว่า ทุกคนเวลานี้เป็นการเตรียมตัวเพื่ออภิญญาหก " มโนมยิทธิ " นี่เขาถือว่าเตรียมตัวเพื่ออภิญญาหก เหมือนกับนักเรียนเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย เตรียมตัวไว้ก่อนซ้อมไว้

 

อภิญญาหกจริง ๆ บรรดาท่านพุทธบริษัท อาจจะทำได้จนเป็นสาธารณะ ต่อเมื่อถึง " พ.ศ. ๒๕๔๓ "

 

ตอนนั้นถ้าคนไม่ขี้เกียจ จะสามารถทำอภิญญาหกได้ เวลานี้จะได้เป็นบุคคลบางคน อย่างนักเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ เวลานี้เธอสามารถใช้กำลังอภิญญาหกได้บางส่วน คือ ไปไหนก็ไปทั้งตัว จะไปนรก ไปสวรรค์ ไปพรหมโลก ก็ยกตัวร่างกายไปเลย แต่ว่ากำลังของอภิญญาหกจริง ๆ ยังใช้หมดไม่ได้ ใช้ได้เฉพาะไปแค่รู้

 

เพราะกำลังจริง ๆ จะเข้ามาถึง " พ.ศ. ๒๕๔๓ " ถ้าถึง " พ.ศ. ๒๕๔๕ อันนี้เป็นสาธารณะจริง ๆ

สำหรับอภิญญาหก บรรดาท่านพุทธบริษัท ก็เราก็ไปกันอย่างที่เราฝึกนี่แหละ! เราสามารถแสดงฤทธิ์แสดงเดชได้ ต้องการจะทำอะไร แค่นึกมันก็เกิดขึ้นทันที ถ้าเราเป็นคนแก่ อยากจะให้คนอื่นเห็นเป็นคนหนุ่มสาว นึกว่าให้เห็นอย่างคนขนาดนั้น อายุแบบนั้น รูปร่างแบบนี้มันก็เป็นทันที เอากันแค่นึก ...

อภิญญาหกนี่เขาใช้แค่นึกเท่านั้นนะ ไม่ใช่ไปนั่งเข้าสมาธิเสียเวลา ๑ นาที อันนี้ใช้ไม่ได้ แค่นึกปั๊บมันจะเป็นทันที นึกอยากจะไปไหนร่างกายถึงทันทีทันใด มันเร็วกว่าลัดนิ้วมือหนึ่ง จะไปสวรรค์ จะไปนรก จะไปประเทศไหนก็ตาม พอนึกปั๊บมันจะไปถึงเลย นี่เป็นกำลังของอภิญญาหกส่วนหนึ่ง

วันนี้ก็ขอแนะนำบรรดาท่านพุทธบริษัท ในด้านการเตรียมตัวก่อน การเตรียมตัวเวลานี้เราใช้กำลังของมโนมยิทธิยังไม่เต็มกำลัง ที่ใช้เวลานี้เป็นกำลังส่วนหน้า ส่วนหน้าที่ขึ้นเป็นกำลังของวิชชาสาม ถ้าใช้กำลังของอภิญญาจริง ๆ เราไปกันไม่ได้ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้ลดกำลังส่วนหน้าลง คือ ใช้กันแค่ " อุปจารสมาธิ "

 

ถ้าเป็นกำลังของอภิญญาจริง ๆ ต้องใช้กำลังของ " ฌาน ๔ " เป็นพื้นฐาน

แต่ว่าถึงแม้จะได้ครึ่งกำลังก็ถือว่าเป็นการเตรียมตัวเหมือนนักเรียนเตรียมปีแรก ต่อไประหว่างพรรษานี้จะเริ่มฝึกเต็มกำลัง ใครทำได้ก็ได้ ไม่ได้ก็แล้วไป ครูมีหน้าที่สอนเป็นเรื่องความฉลาดของคน ใครโง่มากก็ไม่ได้เลย โง่น้อยก็ได้บ้าง ถ้าไม่โง่เลยได้ทั้งหมด ถ้าหากว่าฝึกเต็มกำลังได้ นี่ถือว่ากำลังจิตของเราได้ครึ่งหนึ่งของอภิญญาหก พอหลังจากนั้นก็ไปฝึกฝนอภิญญาหกต่อไป ค่อย ๆ ฝึก

สำหรับเบื้องต้น บรรดาท่านพุทธบริษัทที่ได้แล้วก็ดี เพิ่งจะฝึกก็ดี หรือตั้งใจจะมาฝึกก็ดี ให้ใช้กำลังใจตามนี้ไว้ก่อน รักษาความดีไว้ คือ :-

๑. พยายามไม่สนใจในจริยาของบุคคลอื่น ใครเขาจะดีใครเขาจะเลวแบบไหน มันเรื่องของเขา เราสนใจเฉพาะกำลังใจของเราเอง กำลังใจของเรามันดีหรือมันเลว ถ้าเรายังสนใจในจริยาของบุคคลอื่น แสดงว่าเรายังเลวมาก เพราะเราไมได้ห่วงตัวเอง เราไปห่วงคนอื่นเขาประโยชน์อะไรจะเกิดกับเรา คนอื่นเขาเลวก็เป็นเรื่องของเขา คนอื่นเขาดีก็เป็นเรื่องของเขา ถ้าเราไปสนใจเขา เราก็ทิ้งความดีไปหาความเลว

อันดับแรก ให้ห่วงใจตัวเอง ว่าเวลานี้กิจที่เราจะพึงทำน่ะมันพร้อมแล้วหรือยังที่จะรักษาความดี คือ มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา คำว่ามีศรัทธาในพระพุทธศาสนานี่ ความเชื่อในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ของเราพร้อมแล้วหรือยัง ถ้าวันไหนมีความสงสัยขึ้นมาให้ชื่อว่าเราเลวเสียแล้ว...

การกำจัดความชั่วด้านความโลภ คือ การคิดอยากได้ในทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นเขามาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม และจิตไม่คิดในการเผื่อแผ่มันเกิดขึ้นกับใจของเรา ถ้ามีก็เตือนใจบอกเราเลวไปแล้ว คือ กำลังใจของเรามี ให้คิดว่า ขึ้นชื่อว่าทรัพย์สมบัติของใครก็ตามที เราไม่สามารถจะได้มาโดยชอบธรรมเราไม่เอา แล้วกำลังใจเป็น " จาคานุสสติ " คิดว่าถ้าใครเขามีทุกข์ ถ้าไม่เกินวิสัยที่เราจะช่วย เราจะช่วย ถ้ากำลังใจทั้ง ๒ ประการนี้ยังอยู่ประจำใจเสียแล้ว แสดงว่าความดีด้านโลภะ การกำจัดโลภะของเรามีในใจ โลภะ ความโลภมันก็ออกจากใจ นี่ดีมาก ทั้งหมดนี้เป็นข้อที่ ๑

๒.การคิดประทุษร้ายบุคคลอื่นมีไหม อยากจะคิดให้คนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ อยากจะคิดเข่นฆ่า อยากจะคิดทรมานเขามีไหม ถ้ามันมีถือว่าใช้ไม่ได้ เลว! ต้องคิดว่า คนเกิดมา คนก็ดี สัตว์ก็ดี เกิดมามันต้องตายกันหมด ถ้าเราจะทรมานเขาให้ลำบากก็ไม่ต้องไปทรมาน มันลำบากอยู่แล้ว ทุกคนมีความหิว ทุกคนมีความร้อน มีความกระหาย มีการป่วยไข้ไม่สบาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ มีการงานที่จะต้องทำ มีความแก่ลงไปทุกวัน มีความตายในที่สุด เขาถูกทรมานอยู่แล้ว ไม่ต้องไปช่วยเขา ถ้าไปช่วยเขาเราจะเลวมากขึ้น คิดอย่างเดียวว่าเราจะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั้งโลก แต่ก็เผลอบ้างอะไรบ้างเป็นของธรรมดา ถ้าจิตยังไม่ถึงที่สุด คิดไว้อย่างนี้ชื่อว่าความดีเข้าถึงใจเรา เป็นการทำลายความโกรธ

๓. ทำลายความหลง เราเมาในร่างกายเกินไปไหม เมาในทรัพย์สินเกินไปไหม ชีวิตที่เกิดมานี่มันต้องตาย จิตเราเคยคิดถึงความตายไหม ถ้ายังไม่คิดถึงความตายนี่มันเลวที่สุด เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว สมบัติที่จะพึงได้คือ แก่ทุกวัน ไอ้กำลังความแก่มีอยู่ ไอ้ความแก่ของเรานี่มันจะแก่ถึงไหนก็ไม่แน่ จะไปคิดว่าอายุ ๖๐ - ๗๐ - ๘๐ ตายน่ะไม่แน่! ให้คิดว่าความตายจะมาถึงเราในวันนี้ไว้ก่อน มันแก่มาแค่นี้ถือว่าแก่นานแล้ว แต่วันนี้อาจจะตายก็ได้ ให้กำลังใจพร้อมไว้ คือ ไม่เมาในชีวิต

อย่างนี้องค์สมเด็จพระธรรมสามิสรกล่าวว่า " เป็นผู้ทำลายความหลงในจิต " เอากันอย่างย่อนะ

ถ้าเราคิดว่าความตาย ตื่นขึ้นมาตอนเช้าคิดว่าความตายอาจจะมีกับเราในวันนี้ เราทำอย่างไร เราอยากจะสวรรค์ หรือ เราอยากจะไปพรหมโลกเวลาตาย หรืออยากจะไปนิพพาน

แต่ว่าสมาคมนี้ไม่ต้องการสวรรค์ ไม่ต้องการพรหมโลก ต้องการ " นิพพาน "

ถ้าเราต้องการนิพพานก็ทบทวนความดีของเรา ที่เราฝึกกรรมฐานน่ะ วิมานของเราที่นิพพานมีหรือเปล่า .. ถ้าวิมานของเรามีที่นิพพานน่ะ! บารมีเราเต็มแล้ว เราก็ไม่ควรจะสละสิทธิ์ เพราะว่าคนที่มีบารมีเต็ม มีวิมานที่นิพพานน่ะ คนนั้นมีสิทธิ์จะไปนิพพานในชาตินี้ แต่ว่าที่ไม่ไปกันก็มีเยอะ มัวเมาในชีวิตเกินไป สละสิทธิ์นิพพานไปชาติต่อไป อันนี้โง่มาก...

ถ้าเราคิดว่าวิมานที่นิพพานของเรามี เวลาเช้ามืดตื่นขึ้นมา ร่างกายเรามันเพลียไม่อยากนั่งก็ไม่ต้องนั่ง นอนแบบนั้นแหละ รวบรวมกำลังใจ ตัดสินใจว่าร่างกายอย่างนี้ไม่ต้องการมันอีก ความเป็นมนุษย์มีแต่ความวุ่นวาย มีแต่ความทุกข์ ไม่ต้องการมันอีก เราต้องการจุดเดียวคือ " นิพพาน " เพียงเท่านี้พุ่งใจไปนิพพานทันที ไปนั่งอยู่ข้างหน้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยก็ดี เข้าวิมานของเราก็ได้ ถ้าเข้าในวิมานของเราถ้าเราไม่เห็นพระพุทธเจ้า พอนึกถึงท่านปั๊บท่านจะมาทันที เราก็ตัดสินใจว่า ถ้าร่างกายมันตายวันนี้หรือเมื่อไรก็ตาม ขอมาที่นี่จุดเดียว แค่นี้บรรดาท่านพุทธบริษัท ก่อนจะตายวันนั้นท่านต้องเป็นพระอรหันต์ก่อน เป็นยังไง มันเป็นเอง ไม่ต้องห่วงหรอก ทำจิตอย่างนี้กันทุกวันเป็นอรหันต์เอง แค่นี้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ต้องทำให้ได้!

ต่อนี้ไปก็จะพูดถึงการปฏิบัติที่บรรดาพุทธบริษัทเข้ามาใหม่ ๆ อันดับแรก ทุกคนต้องมี " ศรัทธา " ไว้ก่อน เรื่องของพระพุทธศาสนานี่ไม่มีศรัทธาความเชื่อนี่ ไม่มีผลเลย

ประการที่สอง ฝึกตัดกังวล ขณะที่มาอยู่ที่วัดนี่ไม่ห่วงอะไรเลยที่บ้าน ถ้าคนฉลาดนี่เขาไม่ห่วง ไอ้คนห่วงน่ะคนโง่ ใช้ปัญญาคิดนิดหนึ่งว่า เรานั่งอยู่ตรงนี้ทางบ้านมันมีอะไรเกิดขึ้น เราเห็นไหม เรารู้ไหม เรารู้ไม่ได้ เห็นไม่ได้ แต่ว่าถ้าเราได้มโนมยิทธิ ถ้าเราห่วงเราย่องไปประเดี๋ยวหนึ่งก็ได้ และเวลานี้ต้องตัดความห่วงให้หมด ถ้าความกังวลคือ ความห่วงไม่มี จิตมันก็เริ่มเป็นสมาธิ หรือว่านิวรณ์ไม่กวนใจ

หลังจากนั้นทุกคนคุมศีลให้บริสุทธิ์ ตั้งแต่บัดนี้ไปจนกว่าจะถึงวันตาย ไม่ใช่เฉพาะวันนี้และไม่ใช่อยู่ที่วัด ถ้าหากว่าคุมศีลไม่ได้วันไหน ฌานมันก็หล่น ปฏิบัติอย่างนี้คือ :-

๑. จะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง

๒. จะไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล

๓. จะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว

หลังจากนั้น ถ้าเรายังไม่เป็นพระอนาคามี นิวรณ์มันยังตัดไม่ได้ เอาแค่ระงับชั่วคราวคือ :-

๑. กามฉันทะ ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย และในเพศตรงกันข้าม ยามปกติต้องมีและก็ต้องใช้ ก่อนจะทำกรรมฐานมันก็มีแล้วก็ใช้ เลิกกรรมฐานแล้วก็มีแล้วก็ใช้ อันนี้ไม่มีใครเขาว่า แต่ว่าเวลาที่เราจะเริ่มทำจิตเป็นสมาธิ ตัดกำลังนี้ออกจากใจไปชั่วคราว เราเวลานี้เราไม่ต้องการอะไรทั้งหมด

๒. ความไม่พอใจ อย่าให้มี

๓. ไอ้ความง่วงนี้ ถ้าเราโง่มันก็ง่วง ไม่โง่ก็ไม่ง่วง แล้วเวลาจะทำอย่าให้ดึกเกินไป ใช้เวลาหัวค่ำ กลางวันเวลาไหนก็ได้ เวลาทำต้องเป็นคนไม่มีเวลาแน่นอน เวลาไหนเราก็ทำได้ เวลาที่มันง่วงเพลียจัด เราก็อย่าไปทำมันซิ ไม่ให้มีความง่วง

๔. ควบคุมกำลังใจว่า เวลานี้ฉันจะภาวนา เวลานี้ฉันจะพิจารณา เวลานี้ฉันจะรู้ลมหายใจเข้าออก อย่างอื่นอย่าเข้ามายุ่งกับฉัน

๕. เราจะไม่สงสัยในผลของการปฏิบัติ

หลังจากนั้นสมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ ให้ฝึกตื่นขึ้นมาเช้าคิดไว้เสมอว่า วันนี้เราจะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั่วไป บุคคลใดมีความทุกข์ เราจะเกื้อกูลให้มีความสุข ถ้าหากว่าถ้ามีใครเพลี่ยงพล้ำเราจะไม่ซ้ำเติม

แค่นี้แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัท กำลังใจทรงแค่นี้ เราถือว่าเป็น " ผู้ทรงฌาน " ถ้ารักษาอารมณ์อย่างนี้ไว้ได้ ฌานทุกอย่างจะไม่มีเสื่อม มีแต่ก้าวหน้า

ต่อไปเป็นการรักษากำลังใจ นี่เป็นเรื่องเบื้องต้นของมโนมยิทธิ จะไม่อธิบายถึงผล ผลต่าง ๆ ก็คือ ครูฝึกให้แล้ว ถ้าทรงกำลังได้อย่างนี้ คำว่าเสื่อม คำว่าถอยหลัง ไม่มี ต่อไปที่บอกไว้ในเบื้องต้นว่า การฝึกแบบนี้เป็นการเตรียมตัวเพื่ออภิญญาหก ทีนี้คำว่า " อภิญญาหก " นี่มันต้องมี อาสวักขยญาณ คือ ตัดกิเลส ถ้าตัดกิเลสไม่ได้ เขาเรียกว่า " อภิญญาห้า " อภิญญาห้านี่! เราจะฝึกกันทำไม ฝึกกันเท่าไรมันก็ยังคงลงนรกอยู่ อย่าง พระเทวทัต ได้อภิญญาห้าเหาะลงนรกไปเลย มันต้องเป็นอภิญญาหก คือ ตัดกิเลสให้ได้ ตัดกิเลสนี่มี ๓ ตอน คือ " สังโยชน์ ๑๐ " มีการตัดจริง ๆ ๓ ตอน ทีแรกตัดตอนต้นให้ได้

ตอนต้น คือ อารมณ์ของพระโสดาบันและสกิทาคามี ถ้าคนที่มีวิมานที่นิพพานแล้วถ้าทำไม่ได้อย่างนี้ ภาษาจะพูด ภาษาไม่หยาบก็จะไม่พูดแต่จะพูดให้ฟังที่ว่าอยากจะพูดว่า เลวกกว่าหมานี่ นี่ไม่ได้พูดหรอก บอกให้ฟัง คือว่า ถ้ามีวิมานอยู่ที่นิพพานนี่กำลังใจของเรา บารมีมันถึงนิพพานแล้ว สังโยชน์ ๓ ตัดไม่ได้ก็เลวเต็มที สังโยชน์ ๓ มีอะไรบ้าง กำลังของพระโสดาบันกับสกิทาคามีนี่ต้องได้ กำลังของพระโสดาบัน สกิทาคามี เขามีความรู้สึกอย่างไร เอาความรู้สึกที่มีอยู่ประจำตัว คือ :-

๑. มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้มันต้องตาย จะตายเมื่อไรก็ช่าง คิดว่าอาจจะต้องตายวันนี้ไว้เสมอ คุมความดีไว้ แค่นี้คิดไม่ได้ก็เลวเต็มที

๒. ใช้ปัญญาพิจารณาความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ว่าเราควรเคารพนับถือไหม แค่นี้ถ้ายังสงสัยก็เลวอีกแล้ว

๓. ทรงศีลให้บริสุทธิ์ตามฐานะของตัว ฆราวาสนี่แค่ ศีล ๕ พอ พระก็ ๒๒๗ และก็มากกว่านั้นนะ คือ อภิสมาจารนี่มีอีกเยอะ ธรรมะนี่มีอีกเยอะ สามเณรนี่ศีล ๑๐ พร้อมกับเสขิยวัตร ๗๕ เฉพาะฆราวาสนี่แค่ศีล ๕ ทรงให้ได้ ถ้าทรงศีล ๘ ได้ก็ดี ถามว่าทรงตอนไหน ทรงตั้งแต่เวลานี้ไปจนกว่าจะหมดลมหายใจเข้าออก อารมณ์ของพระโสดาบัน สกิทาคามี มีแค่นี้เป็นพระอริยเจ้าแล้ว ตัดกิเลสเบื้องต้นได้แล้ว ถ้าได้อภิญญาคือ เป็นอภิญญาหกอีก ๒ จุด จะไม่พูดถึง ไม่จำเป็น เอาแค่นี้ให้ได้ก่อน หลังจากนั้นเป็นการซักซ้อมไว้เพื่ออภิญญา

ฉะนั้น การฝึกอภิญญานี่มันมี ๒ แบบ

คนที่ไม่เคยได้มาในชาติก่อน เราฝึกอีกแบบหนึ่ง

คนที่เคยได้แล้วในชาติก่อน เราก็ฝึกอีกแบบหนึ่ง

วันนี้จะพูดเฉพาะคนที่ได้แล้วในชาติก่อน และคนที่ได้มโนมยิทธิมาแล้ว ทุกคนมันเคยได้มาแล้วทั้งนั้น ถ้ากาลเวลามาถึงทำไม่ได้ แสดงว่าคบความโง่ไว้มากกว่าความฉลาด เพราะเคยได้มาแล้วนี่ก็ต้องเอาของเก่ามาใช้ให้ได้ เวลานี้ " มโนมยิทธิ " ที่ฝึกได้แล้วต้องทำให้เข้มข้น อย่าปล่อย เพราะมันเป็นก้าวแรกที่จะเข้าสู่ .. " อภิญญา "

วิธีปฏิบัติเบื้องต้น มีความสำคัญต้องทำ ให้ทรงกำลังใจตามนี้ คือ ไม่ต้องไปไล่หน้ากสิณ ทีแรกคิดว่าจะไล่กสิณเล่นโก้ ๆ พระท่านบอก

" ไม่จำเป็น! คนพวกนี้ไม่จำเป็นต้องไปไล่กสิณ เพียงแค่กำลังใจเข้าถึงฌานเท่านั้นแหละ คือ เข้าถึงเต็มกำลัง อภิญญาเก่าจะเข้าทันทีใช้ได้หมดเลย... "

แต่ว่าต้องเป็น " พ.ศ. ๒๕๔๓ " ขึ้นไป ให้เริ่มใช้ตั้งแต่เวลานี้ เริ่มใช้ตั้งแต่เวลานี้จิตจะได้ทรงตัว ถ้าคนก็จะเป็นคนดี ถ้าพระก็จะเป็นพระดี ไอ้พระเลว ๆ ที่มันเลวมันไม่ได้ทำ ถ้าพระวัดนี้พระองค์ไหนเลวไม่พลาด " อเวจี " หรือ " โลกันตนรก "

อย่าลืมนะ! นี่วิธีปฏิบัติกำลังใจเพื่ออภิญญา

เมื่อตอนที่ " องค์ปฐม " ท่านมา ท่านบอกใช้อย่างนี้ ให้จับภาพพระพุทธเจ้าเป็นปกติ ให้จิตทรงกำลังฌาน ๔ เป็นปกติ ไอ้ทรงฌาน ๔ เป็นปกติ ฌาน ๔ นี่เวลาเราออกจากร่างกายนี่เราเป็นฌาน ๔ แล้ว แต่นั้นเป็นฌาน ๔ เบื้องต้นที่มีกำลังอ่อน ต้องใช้ให้มีกำลังเข้มข้น นั่นก็คือ นึกถึงภาพพระพุทธเจ้าเมื่อไหร่ นึกปั๊บเห็นทันที นึกจับพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ชัดเจนแจ่มใส ตามกำลังให้ได้ทุกวัน ทุกวันและทุกเวลาที่เราต้องการ ไม่ใช่นั่งรอเวลาเงียบสงัด ไม่ใช่อย่างนั้น เดินไปเดินมา ทำงานอยู่นึกปั๊บให้เห็นเลย เห็นแล้วอธิษฐานพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงโตขึ้น ใหญ่ขึ้น สว่างกว่านี้ เล็กลง อยู่ข้างบน สูงมาก สูงน้อย เราทำอย่างนั้น อย่าคิดว่าเป็นการปรามาสพระรัตนตรัย ไม่ใช่ นี่อาตมาแนะนำเอง

ขอให้ทรงกำลังใจอย่างนี้ให้เป็นปกติ เพราะการเดินไปเดินมา พระก็ตาม เวลาเดินไปบิณฑบาต เดินไปทำงานทำอะไรอยู่ก็ตาม ให้เห็นภาพพระพุทธเจ้าเป็นปกติที่ต้องการจะเห็น ถ้าอย่างนี้ทุกคนจะอยู่ในเกณฑ์สำรวม ความวุ่นวายจะไม่มีอยู่ในจิต ความเลวของคนของพระจะไม่มี ญาติโยมสังเกตไว้นะ!

ถ้าพระองค์ไหนมันเลว มันไม่ทำแบบนี้หรอก ถ้าจับแบบนี้อารมณ์เลวไม่มี แล้วงานจะต้องเป็นไปตามปกติ นักเจริญกรรมฐานนี่เขาเคร่งครัดในการงาน เพราะต้องเป็นคนเคร่งครัดในกาลเวลา ถ้าไม่เคร่งครัดในกาลเวลามันทำไม่ได้ แม้แต่ในกรรมฐานเบื้องต้นเขาก็เคร่งครัดในกาลเวลาหรือการงาน

รวมความว่า ถ้าจับภาพพระให้เป็นปกติ สำหรับเรื่องกสิณไม่ใช่ของแปลก และจะลองเล่นกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งไว้เป็นอดิเรก อย่าใจร้อน..

อันดับแรก จับภาพพระพุทธเจ้าให้ชัดเจน ต้องฝึกตัวนี้ก่อน เดินไปเดินมานึกเมาอไรเห็นปั๊บทันที นอนหลับตื่นก็เห็นชัด ต้องอย่างนี้อภิญญา ไม่ใช่มานั่งทำ เขาเดินทำ เขาวิ่งทำกัน การทรงกำลังของสมาธิ เมื่อได้ทุกขณะแล้วอย่าใจร้อน เมื่อได้ตามความต้องการนึกเมื่อไรเห็นชัด ต่อจากนั้นไปก็เอากสิณอย่างใดอย่างหนึ่งมาเล่นเป็นงานอดิเรก กสิณลมนี่มันเล่นยาก ความจริงอยากจะให้เล่นกสิณลม กสิณลมนี่มันเหาะได้นะ โก้ดี แต่มันเล่นยาก ถ้าไม่ฉลาดนี่มันเล่นยาก เอาง่าย ๆ ดีกว่า เอาปฐวีกสิณก็ได้ หรือ อาโปกสิณก็ได้ เอาง่าย ๆ ..

ถ้าปฐวีกสิณ ก็จับดินขึ้นมา เอาดินสีอรุณขึงไว้ทำวงกลมให้โตพอที่ตามองเห็น แล้วไม่เห็นขอบวงกลม จับภาพให้ทรงตัว แต่ก็ไม่สะดวกอีก ต้องอาโปกสิณดีกว่า

อาโปกสิณ เล่นง่าย ถ้ามันทำได้อย่างใดอย่างหนึ่งมันได้หมด ถ้าอาโปกสิณเอาน้ำมาใส่แก้วหรือใส่ขัน จับภาพพระพุทธเจ้า เดินไปเดินมาก็เห็นชัด นั่งก็เห็นชัด พอจับภาพพระพุทธเจ้าเห็นชัดเจนแจ่มใส แพรวพราวเป็นระยับเป็นฌาน ๔ ทรงตัว ขอพระองค์โตขึ้น เล็กลง อย่างนี้สะดวกมากได้แน่นอน จิตไม่วอกแวกตามกำลัง ตั้งเวลาไว้ ๑๐ นาที ๒๐ นาที ๓๐ นาที ให้ทรงตัวให้ได้ ถ้า ๓๐ นาทีมันไหลไป อย่างนี้จิตใช้ไม่ได้แล้ว ยังเล่นกสิณไม่ได้ ถ้ามันทรงตัวได้จริง ๆ ภาพทรงตัว เวลานั้นก็เอาน้ำมาตั้ง จับภาพพระพุทธเจ้าให้ชัดเจนแจ่มใสเต็มกำลังของฌาน ๔ คือ แพรวพราวเป็นระยับของฌาน ๔

หลังจากนั้นถอยหลังมา ขอกำลังบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า น้ำในแก้วหรือในขันนี้ขอให้แข็ง จิ้มไปตรงไหนตรงนั้นแข็ง แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ จับภาพพระพุทธเจ้าใหม่ทำใจเฉยไว้ ถอยหลังมาอีกทีทรงจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ อธิษฐานว่าน้ำนี้จงแข็ง แล้วจิ้มปั๊บมันแข็งหรือยัง ยังไม่แข็งก็แล้วไป เพราะเวลามันยังไม่ถึง ซ้อมไว้จนกว่าจะถึง " พ.ศ. ๒๕๔๓ " ทำไปทุกวัน ๆ เล่นแบบนี้ เล่นเป็นปกติ ไม่ช้าก็จะมีการทรงตัว พออธิษฐานไปอธิษฐานมา น้ำเกิดแข็งมาตามความชอบใจ เราต้องใช้เวลาอยู่ ยังเป็นกำลังของอภิญญาไม่ได้ ยังอ่อนมากไป

ถ้าจะเป็นกำลังของอภิญญาจริง ๆ ก็จับน้ำมา น้ำที่ไหนก็ตาม น้ำในแม่น้ำ น้ำในคลอง น้ำในบ่อก็ตาม นึกว่าน้ำที่จับไปจงแข็ง แหย่ปั๊บทันที แข็งทันที อย่างนี้เป็นตัวอภิญญาแน่ หลังจากนั้นก็ใช้กำลังของกสิณให้พอใจ กำลังของกสิณก็คือ :-

๑. ปฐวีกสิณ อธิษฐานของอ่อนให้เป็นของแข็ง อยากจะเดินบนน้ำก็อธิษฐานว่า เท้าที่เราก้าวไปตรงไหนให้น้ำแข็งเหมือนดิน เฉพาะที่เท้าก้าวนะ อย่าไปเสือกอธิษฐานให้หมดทั้งคลองนะ! มันไม่ถูก..การจราจรเขาเสีย อย่างนี้ก้าวไปได้สบาย อยากจะเดินไปในอากาศ อธิษฐานว่าเท้าที่ข้าพเจ้าก้าวไปในอากาศ เหยียบตรงไหนให้แข็งเหมือนดิน เดินได้สบาย...

๒. อาโปกสิณ ทำของแข็งให้เป็นของอ่อน หินมันแข็งทำให้เป็นของอ่อน เหล็กมันแข็งให้มันอ่อน แล้วฝนไม่ตกทำให้ฝนตกได้ทุกอย่าง

๓. เตโชกสิณ ไฟนี่! ถ้ามันหนาวเกินไป อธิษฐานเตโชกสิณ ให้มีความอุ่นแค่นั้นแค่นี้ ต้องการให้ไฟลุกล้อมใครเสียก็ได้ ใครพูดไม่ดีอธิษฐานให้ไฟล้อม มันเดินไม่ได้อยู่ตรงนั้นแหละ ถ้ามันไม่ขอขมาก็ไม่เลิกกัน อย่าไปเล่นแบบนี้นะ ถ้าไปเล่นแบบนี้กสิณเสื่อม หรือบางทีความมืดก็ใช้เตโชกสิณช่วยให้แสงเกิด

๔. วาโยกสิณ กสิณเหาะ! นึกอยากจะให้เราไปไหน นึกแป๊บเดียวมันจะไปถึงทันที นึกอยากจะให้ใครมาหาเรา ก็คิดถึงวาโยกสิณปั๊บหอบคนนั้นมา มันจะมานั่งปุ๊บนั่งข้างหน้าเลย เอาแค่นึกไม่ใช่ตั้งท่านะ ตั้งท่าใช้ไม่ได้

๕. ปีตกสิณ ถ้าของสีดำ สีแดงก็ตาม ต้องการคิดให้เป็นสีเหลือง สีทอง และแผ่นดินนี่ต้องการให้เป็นสีทองเมื่อไหร่ มันจะเป็นทองได้ทันที ไอ้บ้านหลังนี้ถ้าเป็นตึกเป็นไม้ เราคิดจะให้เป็นสีเหลือง สีทอง มันก็เป็น...

๖. โอทาตกสิณ โอทาตกสิณนี่ถ้าของมันขาว มันเขียว มันแดงนี่ ต้องการให้มันขาว นึกให้มันขาวมันจะขาวเลย

แต่ก็มีกสิณอีกเยอะ! รวมความว่ากำลังของกสิณทั้งหมดเป็นเรื่องเล็ก ๆ ถ้าเราทำเบื้องต้นได้

ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายเตรียมฝึกเพื่ออภิญญา เวลานี้จะเตรียมใช้กำลังใหญ่ไว้ได้เลย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าทำอย่างนี้มโนมยิทธิของทุกคนจะไม่มีคำว่าเสื่อม จะมีความทรงตัวแล้วจะเข้มแข็งขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังที่จะตัด " สังโยชน์ ๓ " ต้องทำให้ได้ อันนี้ไม่ใช่คำขอร้อง เป็น " คำสั่ง " ว่าคนที่ต้องการความดีถึง " นิพพาน " หรือ " อภิญญา " ก็ตาม ต้องทำ " สังโยชน์ ๓ " ให้ได้ คือ :-

๑. มีความรู้สึกไว้ทุกวัน เวลาตื่นเช้าว่าชีวิตนี้มันต้องตาย ถ้าตายแล้วเราไม่ยอมไปอบายภูมิ

๒. เราจะยึดพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง เป็นกำลังใจของเราด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

๓. จะทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์

เท่านี้แหละ! แล้วหลังจากนั้นก็ใช้กำลังใจของพระอรหันต์ไว้ประจำใจ คือ ขึ้นชื่อว่ามนุษยโลกมันเป็นทุกข์เราไม่ต้องการมันอีก พรหมโลกกับเทวโลกสุขจริง แต่ไม่นาน ไม่ต้องการมันอีก เราต้องการจุดเดียวคือ .. " นิพพาน " อย่างนี้เป็นอารมณ์พระอรหันต์ รักษากำลังใจตามนี้ไว้ เมื่อถึงอายุขัยเมื่อไร ก่อนจะตายจะเป็นอรหันต์เมื่อนั้น เมื่อตายเมื่อไรก็ไปนิพพาน ...

ถ้ายังไม่ไปนิพพานเพียงใด ถ้าโอกาสมี ถ้าเราสามารถใช้อภิญญาได้ แต่ว่าการใช้อภิญญานี่ต้องใช้ให้ถูกต้อง พระพุทธเจ้าท่านห้ามพระ ถ้าไม่มีคนเห็นใช้ได้ ถ้ามีคนเห็นใช้ไม่ได้ แล้วก็มีประโยชน์มาก

สำหรับคำแนะนำการฝึกอภิญญาหก ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ สวัสดี


สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน, ฌาน, ญาณ, อภิญญา

ญาณ มี 7 อย่างคือ

1) บุเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาที่สามารถระลึกชาติในอดีตของคนหรือสัตว์ได้

2) จุตูปปาตญาณ ปัญญาที่รู้ว่าคนหรือสัตว์ก่อนจะมาเกิดเป็นอะไรมาก่อน เมื่อตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร

3) เจโตปริยญาณ ปัญญาที่รู้ใจคน รู้อารมณ์ความคิดจิตใจของคนและสัตว์

4) อตีตังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในอดีต เหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้ว ทั้งในอดีตชาติ ปัจจุบันชาติ ของคนและสัตว์

5) ปัจจุปปันนังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในปัจจุบันว่าขณะนี้ใครทำอะไรอยู่ และมีสภาพอย่างไร

6) อนาคตตังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในการต่อไปว่า คน สัตว์ สรรพวัตถุ เหล่านี้ต่อไปจะเป็นอย่างไร รู้ได้ตามภาพที่ปรากฏ ถ้าภาพที่ปรากฏไม่ชัดเจน ก็อธิษฐานถามก็จะรู้ชัดและไม่ผิด

7) ยถากัมมุตญาณ ปัญญาที่รู้ผลกรรม คือ รู้ว่าคนเราที่ทุกข์หรือสุขทุกวันนี้ ทำกรรมอะไรมาในอดีตชาติ และปัจจุบันชาติจึงเป็นเช่นนี้ และจะแก้ไขได้หรือไม่ประการใด

อภิญญาหก อภิญญา แปลว่า ความรู้อย่างยิ่งสูงกว่า ญาณมี 6 อย่าง

เมื่อเราฝึกการใช้ฌาณทั้ง 7 จนคล่องแคล่วชำนาญดีแล้ว อภิญญาจะค่อยๆ เกิดตามมา อภิญญาทั้ง 6 ได่แก่

1) อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น อยู่ยงคงกระพัน ล่องหนหายตัว ย่นระยะทางได้ เหาะเหินเดินอากาศ ดำดิน เดินบนผิวน้ำ หรือเดินลงไปในน้ำได้

2) ทิพยโสต มีหูทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกลหรือเสียงอมนุษย์ ได้ยินเสียงสัตว์ เสียงเทพ เสียงพรหม รู้เรื่อง

3) จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์ แต่รู้หมดทุกภพทุกชาติ ถ้าฌาณธรรมดาจะรู้เพียง 4-5 ชาติ แต่อภิญญารู้หมดทุกภพทุกชาติ

4) เจโตปริยญาณ รู้วาระจิต รู้ความคิดในใจของคนและสัตว์ได้

5) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ของคนหรือสัตว์ได้ทุกภพทุกชาติ

6) อาสวักขยญาณ ปัญญาที่ขจัดอาสวกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไป อภิญญาข้อนี้เองจะเป็นหนทางให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้



สมถะ แปลว่า ความสงบ กาย วาจา ใจ วิปัสสนา แปลว่า การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง กรรมฐาน คือ การกระทำตั้งมั่นอยู่ สมถะวิปัสสนากรรมฐาน คือ การกระทำตั้งมั่นอยู่เพื่อเกิดความสงบทาง กาย วาจา ใจ เป็นการทำปัญญาให้เห็นแจ้ง


ฌาน คือ การหยั่งรู้หรือการเพ่งในองค์กรรมฐาน ฌานนั้นมี 4 รูปฌาน และ 4 อรูปฌาน รวมกันเราเรียกว่า สมาบัติ 8 และอุปสรรคขวางกั้นฌานคือ นิวรณ์ 5

พระพุทธเจ้าสอนให้เราเริ่มจากทาน คือรู้จักการให้ เพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนี่ยวหรือละความโลภก่อน แล้วจึงมาถึงศีลคือ การไม่เบียดเบียนกัน สมาธิคือการฝึกจิตตั้งมั่นในการบำเพ็ญเพียรภาวนาจนเกิดฌาน คือ การหยั่งรู้ แล้วจะเกิดฌาน คือ ปัญญานั่นเอง อย่างที่เราเรียกว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา

ฌานนั่นมี 4 รูปฌาน และ 4 อรูปฌาน

ฌานหนึ่งหรือปฐมฌาน มีองค์ประกอบ 5 อย่างคือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์

วิตก : คือ ยังภาวนาพุทโธอยู่

วิจาร : คือ การคิดว่าพุทหายใจเข้า โธหายใจออก

ปิติ : มีอาการ 5 อย่างคือ ขนลุก น้ำตาไหล ตัวโยก ตัวลอย ตัวขยายใหญ่ขึ้น (อาจมีเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง)

สุข : จิตที่อิ่มในอารมณ์

เอกัคคตารมณ์ : จิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน

ฌานสองหรือทุติยฌาน จะมีเพียงแค่ ปิติ สุข และเอกัคคตารมณ์

ฌานสามหรือตติยฌาน จะมีเหลือเพียง สุข กับ เอกัคคตารมณ์

ฌานสี่หรือจตุตถฌาน คนเราส่วนมากมักจะติดอยู่ในฌานสาม จะมีแต่สุขกับเอกัคคตารมณ์ หรือจิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เมื่อสุขแล้วก็ไม่อยากคิดอะไร จึงติดอยู่ในสุขไปไหนไม่ได้ ฌานหนึ่งถึงฌานสามเรียกว่าสมถะกรรมฐาน คือ ความสงบในกาย วาจา ใจ ถือเป็นสมถะกรรมฐาน เราต้องใช้วิปัสสนาด้วย วิปัสสนาคือ การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง เมื่อจิตสงบอยู่ในฌานสาม ให้รีบพิจารณา พิจารณาอะไร พิจารณาพระไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

ลักษณะ 3 อย่าง คือถ้าเรานั่งสมาธิไปนานๆ มันจะเกิดความปวดเมื่อย ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เราเรียกว่า ทุกขัง คือ ภาวะที่ทนได้ยาก อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง เราจะนั่งอยู่อย่างนี้ทั้งวันทั้งคืน ทั้งเดือน คงจะไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงจากนั่งเป็นยืน เดิน นอน การเปลี่ยนแปลงนี้เราเรียกว่า อนิจจัง ความไม่เที่ยง

อนัตตา คือ กายนี้ไม่ใช่ของเรา ถ้าเป็นของเรา เราจะต้องไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่แก่ ไม่เฒ่า เพราะกายนี้ไม่ใช่ของเรา เป็นอนัตตา ตัวไม่ใช่ตนของเรา ความตายไม่มีใครหนีไปได้

พระพุทธเจ้าทรงถามพระอานนท์ว่า อานนท์เธอคิดถึงความตายอย่างไร พระอานนท์ตอบว่า คิดถึงทุกวันเลยพระองค์ท่าน พระพุทธเจ้าก็ทรงเฉย พระอานนท์ก็ตอบอีกว่า คิดถึงวันละ 3 เวลาเลยพระองค์ท่าน พระพุทธเจ้าทรงส่ายพระพักตร์ ตรัสว่า เธอควรคิดถึงความตาย ทุกลมหายใจเข้าออก เพื่อความไม่ประมาท

ในเมื่อเรารู้แล้วว่า เราหนีความตายไปไม่พ้น ตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง แล้วเราจะโลภ จะโกรธ จะหลงไปทำไม เมื่อจิตไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่อยาก ก็จะเข้าสู่อุเบกขา คือการวางเฉย ในฌานสี่ มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างคือ อุเบกขา และเอกัคคตารมณ์

ฌานห้าหรืออรูปฌานหนึ่ง เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ ฌานที่ไม่มีรูป สังขาร ร่างเหมือนอากาศที่ว่างเปล่า เมื่อได้ฌานสี่หรือจตุตฌาน เราสามารถถอดกายได้ วิธีการถอดกายอย่าถอดกายออกจากฐานกระหม่อมเบื้องบน เพราะถ้ากายทิพย์ลอยออกจากกระหม่อม เราก้มลงมาเห็นกายหยาบนั่งอยู่จะตกลงมาทันที ให้พยายามถอดกายออกจากด้านข้าง หรือทางด้านหน้า ถอดออกแล้วอย่าไปไหน ให้พยายามมองดูตัวเองที่นั่งสมาธิอยู่ มองดูกายหยาบจนเห็นชัด เห็นแล้วให้รีบพิจารณาอสุภกรรมฐาน มองดูตั้งแต่ เส้นผม หนังศีรษะ กะโหลก มันสมอง เส้นขน ผิว หนัง เนื้อ กระดูก ซี่โครง หัวใจ ตับไต ไส้พุง มองพิจารณาให้เห็นเป็นอสุภกรรมฐาน มองจนสลายกลายเป็นเถ้าถ่านไป เรียกว่า ฌานห้าหรืออรูปฌานหนึ่ง

ฌานหกหรืออรูปฌานสอง เรียกว่า วิญญาณัญจายตนะ ให้พยายามมองดูที่ดวงจิตที่ใส เหมือนดวงแก้ว มองจนดวงจิตนั้นหายไปเรียกว่า วิญญานัญจายตนะ ไม่มีวิญญาณ

ฌานเจ็ดหรืออรูปฌานสาม เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ ให้มองที่กาย มองดูที่จิตพร้อมกันทั้งสองอย่างมองจนกระทั่งหายไปทั้งกายและดวงจิต เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ ไม่มีกาย ไม่มีจิต

ฌานแปดหรืออรูปฌานสี่ เรียกว่า เนวะสัญญานาสัญญายตนะ กายทิพย์นั้นจะกลับเข้าสู่ร่างเดิม แต่จะชาหมด ลมหายใจเหลือแผ่วๆ เบามากจนแทบไม่มีการหายใจ ไม่รับรู้อะไรทั้งหมด ชาไร้ความรู้สึกเหมือนท่อนไม้

เมื่อเราได้ฌานแปดหรือสมาบัติแปด ญาณหรือปัญญาจะเกิด ญาณนั้นมี 7 อย่าง บางคนอาจจะไม่ได้ถึงฌานแปด อาจจะได้ฌานหนึ่ง สอง หรือสาม ก็สามารถเกิดญาณหรือปัญญาได้ หรือบางคนอาจจะไม่ได้ฝึกสมาธิเลยก็มีญาณเกิดขึ้นได้ ถือว่าเป็นฌานหรือตัวรู้ ที่ติดตัวมาแต่ชาติปางก่อน เช่น เราอาจจะเคยพบคนที่สามารถรู้อะไรว่าจะเกิดล่วงหน้า และก็เกิดตามที่คิดนึกรู้นั้น บางคนเรียกว่า ลางสังหร ความจริงแล้วเป็นญาณอย่างหนึ่ง เรียกว่า อนาคตตังญาณ คือปัญญาที่จะรู้เหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

การอบรมสมาธิเพื่ออภิญญา
๑. ผู้ที่มีอภิญญาได้นั้น ตามปกติต้องเป็นผู้ที่ได้ฌานและมีวสีภาวะจนสามารถเข้าฌานสมาบัติได้ทั้งรูป ฌานและอรูปฌาน ครบถ้วนทั้ง ๙ ฌาน มีบ้างเป็นส่วนน้อยที่ได้เพียง รูปฌานสมาบัติ ๕ ก็มีอภิญญาได้ แต่ว่า ฌานลาภี ที่ได้ไม่ถึงรูปฌานทั้ง ๕ นั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีอภิญญา
๒. แม้แต่ ฌานลาภีบุคคลที่ได้ฌานสมาบัติทั้ง ๙ แล้ว จะมีอภิญญาโดยทั่วหน้าก็หาไม่ จะมีอภิญญาได้ก็ต่อเมื่อได้ฝึกฝนอบรมกันเป็นพิเศษอีกถึง ๑๔ นัยก่อน ดังต่อไปนี้
(๑) กสิณานุโลมโต เข้าฌานตามลำดับกสิณ ชั้นแรกเข้าฌานใดฌานหนึ่งด้วยปฐวีกสิณ ออกแล้วเข้าฌานนั้นด้วยอาโปกสิณ แล้วเตโช วาโย ต่อ ๆ ไปตามลำดับ จนกระทั่งถึงโอทาตกสิณ ฝึกอย่างนี้ตั้ง ๑๐๐ ครั้ง ๑๐๐๐ ครั้ง จนกว่าจะเป็น วสี (ดิน น้ำ ไฟ ลม สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว)
(๒) กสิณปฏิโลมโต เข้าฌานย้อนกสิณ เริ่มต้นเข้าฌานใดฌานหนึ่งด้วย โอทาตกสิณ ออกแล้ว ย้อนมาเข้าด้วยโลหิตกสิณ ย้อนมาปีตกสิณ ย้อนมานีลกสิณ ย้อนมาต้นเรื่อยไปจนถึงปฐวีกสิณ ฝึกจนให้ชำนิชำนาญเป็นอย่างดียิ่ง
(๓) กสิณานุโลมปฏิโลมโต เข้าฌานใดฌานหนึ่งตามลำดับกสิณและย้อนกสิณ คือ ทำอย่าง (๑) หนึ่งเที่ยว แล้วทำอย่าง (๒) หนึ่งเที่ยว แล้วทำ (๑), (๒), (๑), (๒), สลับกันเช่นนี้ไปจนกว่าจะเป็นวสี
(๔) ฌานานุโลมโต เข้าตามลำดับฌาน โดยเริ่มแต่ปฐมฌาน แล้วทุติยฌาน ตติยฌาน เรื่อยไปจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฝึกอย่างนี้จนเป็นวสี
(๕) ฌานปฏิโลมโต เข้าย้อนลำดับของฌาน ตั้งต้นที่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วย้อนทวนมา อากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน ทวนมาถึงต้นจนถึง ปฐมฌาน จนกว่าจะเป็นวสี
(๖) ฌานานุโลมปฏิโลมโต เข้าตามลำดับฌาน และย้อนลำดับฌาน คือ ทำอย่าง (๔) หนึ่งเที่ยว จบแล้วทำอย่าง (๕) หนึ่งเที่ยว แล้วทำ (๔), (๕), (๔), (๕), อย่างละเที่ยวสลับกันไป จนกว่าจะเป็นวสี
(๗) ฌานุกฺกนฺติกโต เข้าฌานโดยข้ามลำดับของฌาน คือ
เข้าปฐมฌาน โดยเพ่งปฐวีกสิณ
ข้ามทุติยฌานไปเข้า ตติยฌาน โดยเพ่งปฐวีกสิณ
ข้ามจตุตถฌานไปเข้า ปัญจมฌาน โดยเพ่งปฐวีกสิณ
ข้ามอากาสานัญจายตนฌานไปเข้า วิญญาณัญจายตนฌาน โดยเพ่ง วิญฺญาณํ อนนฺตํ
ข้ามอากิญจัญญายตนฌานไปเข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยเพ่ง เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ
ต้องฝึกอบรมอย่างนี้จนกว่าจะเป็นวสี
(๘) กสิณุกฺกนฺติกโต เข้าฌานโดยข้ามลำดับกสิณ คือ
เพ่งปฐวีกสิณ เข้าปฐมฌาน
ข้ามอาโปกสิณ เลยไปเพ่งเตโชกสิณ เข้าปฐมฌาน
ข้ามวาโยกสิณ เลยไปเพ่ง นีลกสิณ เข้าปฐมฌาน
ข้ามปีตกสิณ เลยไปเพ่ง โลหิตกสิณ เข้าปฐมฌาน
ฝึกอย่างนี้จนเป็นวสี
(๙) ฌานกสิณุกฺกนฺติกโต ข้ามทั้งกสิณและข้ามทั้งฌานด้วย คือ
เพ่ง ปฐวีกสิณ เข้า ปฐมฌาน
เพ่ง เตโชกสิณ เข้า ตติยฌาน
เพ่ง นีลกสิณ เข้า ปัญจมฌาน
เพ่ง วิญฺญาณํ อนฺนตํ เข้า วิญญาณัญจายตนฌาน
เพ่ง เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ เข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
อบรมจนเป็นวสี
(๑๐) องฺคสงฺกนฺติโต เข้ารูปฌาน ๕ โดยก้าวล่วงองค์ฌานไปตามลำดับ คือ
เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าปฐมฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๕
เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าทุติยฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๔ โดยก้าวล่วงวิตก
เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าตติยฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๓ โดยก้าวล่วงวิจาร ได้อีก
เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าจตุตถฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๒ โดยก้าวล่วงปีติ ได้อีก
เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าปัญจมฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๒ โดยก้าวล่วงสุข ได้อีก
ฝึกจนเป็นวสี
(๑๑) อารมฺมณสงฺกนฺติโต เข้าฌานโดยเปลี่ยนอารมณ์กัมมัฏฐาน คือ เพ่ง ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง อาโปกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง เตโชกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง วาโยกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง นีลกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง ปีตกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง โลหิตกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง โอทาตกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน
ฝึกจนเป็นวสี
(๑๒) องฺคารมฺมณสงฺกนฺติโต เข้าตามลำดับฌานและตามลำดับกสิณด้วยคือ
เพ่ง ปฐวีกสิณ เข้า ปฐมฌาน
เพ่ง อาโปกสิณ เข้า ทุติยฌาน
เพ่ง เตโชกสิณ เข้า ตติยฌาน
เพ่ง วาโยกสิณ เข้า จตุตถฌาน
เพ่ง นีลกสิณ เข้า ปัญจมฌาน
เพ่ง ปีตกสิณ เพิกปีตกสิณ มีอากาสที่ว่างเปล่า ที่ชื่อว่า อากาสบัญญัติ เพ่งอากาสบัญญัตินี้จนเป็น อากาสานัญจายตนฌาน
เพ่ง โลหิตกสิณ เพิกโลหิตกสิณ มีอากาสที่ว่างเปล่า แต่ไม่สนใจในอากาสบัญญัตินี้ กลับไปสนใจในอากาสานัญจายตนฌานที่เกิดในสันดานของตน ด้วยการพิจารณาว่า วิญฺญาณํ อนนฺตํ จนเป็น วิญญาณัญจายตนฌาน
เพ่ง โอทาตกสิณ เพิกโอทาตกสิณ คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่ไม่สนใจในอากาสบัญญัติกลับไปสนใจในนัตถิภาวบัญญัติด้วยการพิจารณาว่า นตฺถิ กิญฺจิ จนเป็นอากิญจัญญายตนฌาน
เพ่ง อาโลกกสิณ เพิกอาโลกกสิณ คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่ไม่สนใจในอากาสบัญญัติ กลับไปสนใจในอากิญจัญญายตนฌานที่เกิดในสันดานของตน ด้วยการพิจารณาว่า เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ จนเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ฝึกอบรมจนเป็นวสี
หมายเหตุ มีข้อสังเกตที่ควรกล่าวตรงนี้ว่า ในการอบรมสมาธินี้ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๑ ได้กล่าวถึงองค์กสิณแต่เพียง ๘ มี ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ ครั้นถึงข้อ ๑๒ นี้กล่าวเลยไปถึง อาโลกกสิณด้วย ทั้งนี้เพราะ
ก. กสิณทั้ง ๑๐ นั้น อาโลกกสิณนี้สงเคราะห์เข้าใน โอทาตกสิณอยู่แล้ว และอากาสกสิณก็ไม่สามารถที่จะช่วยอุดหนุนแก่การเข้าอรูปฌานได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องกล่าวถึงกสิณทั้ง ๒ คือ อากาสกสิณ และอาโลกกสิณนี้ด้วย
ข. ในข้อ ๑๒ นี้ แสดงรูปฌานโดยปัญจกนัย จึงมี ๕ ฌาน อรูปฌานอีก ๔ ฌาน รวมเป็น ๙ ฌานด้วยกัน กสิณเพียง ๘ จึงไม่พอ ก็ต้องยกอาโลกกสิณ มา กล่าวด้วย เพื่อให้มีจำนวนพอดีกัน แต่ถ้าจะแสดงรูปฌานโดยจตุกนัย ก็ไม่ต้องกล่าวถึงอาโลกกสิณด้วย
ค. แม้ว่าอากาสกสิณ ไม่สามารถที่จะอุดหนุนแก่การเข้าอรูปฌาน แต่ก็เป็นกัมมัฏฐานให้เกิดรูปฌานได้ทั้ง ๕ ฌาน และใช้เพ่งเพื่อประโยชน์ในอันที่จะเนรมิตอากาศให้เกิดขึ้นในแผ่นดิน หรือในน้ำ จนสามารถดำดินและอยู่ในน้ำได้
(๑๓) องฺคววฏฺฐาปนโต กำหนดรู้องค์ฌานไปตามลำดับ คือ
พิจารณารู้ว่า ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
พิจารณารู้ว่า ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๔ ได้แก่ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
พิจารณารู้ว่า ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ ได้แก่ ปีติ สุข เอกัคคตา
พิจารณารู้ว่า จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ สุข เอกัคคตา
พิจารณารู้ว่า ปัญจมฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา
พิจารณารู้ว่า อากาสานัญจายตนฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา
พิจารณารู้ว่า วิญญาณัญจายตนฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา
พิจารณารู้ว่า อากิญจัญญายตนฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา
พิจารณารู้ว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานมีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา
ทั้งนี้จนกว่าจะเป็นวสี
(๑๔) อารมฺมณววฏฺฐาปนโต กำหนดรู้อารมณ์กัมมัฏฐาน คือ
เมื่อเข้าปฐมฌาน โดยมีปฐวีกสิณเป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณารู้ว่า ปฐวีกสิณ นี่แหละเป็นอารมณ์ของปฐมฌาน
เมื่อเข้าปฐมฌาน โดยมีอาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ หรือ โอทาตกสิณ เป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณารู้ว่า กสิณนั้น ๆ แหละเป็นอารมณ์ของปฐมฌาน
เมื่อเข้า ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน โดยมีกสิณใดเป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณาว่า กสิณนั้น ๆ เป็นอารมณ์ของฌานนั้น ๆ ตามนัยที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นนี้
เมื่ออากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีอากาสบัญญัติเป็นอารมณ์
เมื่อวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามี อากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์
เมื่ออากิญจัญญายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์
เมื่อเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีอากิญจัญญายตนฌาน เป็นอารมณ์
ทั้งนี้ต้องฝึกฝนอบรมจนเป็นวสี
สรุปความว่า การอบรมสมาธิเพื่อให้สามารถทำอภิญญาได้ดังที่กล่าวมาแล้วรวม ๑๔ นัยนี้ ก็ประสงค์จะให้ฌานลาภีบุคคลนั้น มีความชำนิชำนาญในกระบวนการเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ให้เข้าฌานได้แคล่วคล่องว่องไว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะก่อให้จิตมีสมาธิเข้มแข็งเป็นพิเศษ เป็นเหตุให้มีอำนาจจนสามารถให้รูปาวจรปัญจมฌานอภิญญาเกิดขึ้นตามความปรารถนา การฝึกฝนอบรมสมาธิให้กล้าแข็งนี้ ฌานลาภีบุคคลจะมีวิธีอื่นใดเพิ่มขึ้นอีกก็ได้ 


อัชฌาสัยของท่านผู้มีฤทธิ์ หรือท่านผู้ทรงอภิญญา ๖
อภิญญา ๖ นี้ เป็นคุณธรรมพิเศษสำหรับนักปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องฝึกฝนตนเป็นพิเศษ
ให้ได้คุณธรรมห้าประการก่อนที่จะได้บรรลุมรรคผล หมายความว่าในระหว่างที่ทรงฌานโลกีย์นั้น ต้อง
ฝึกฝนให้สามารถทรงคุณสมบัติห้าประการดังต่อไปนี้
๑. อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
๒. ทิพยโสต มีหูเป็นทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกล หรือเสียงอมนุษย์ได้ยิน
๓. จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์
๔. เจโตปริยญาณ รู้ความรู้สึกในความในใจของคนและสัตว์
๕. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ที่ล่วงมาแล้วได้
ทั้งห้าอย่างนี้ จะต้องฝึกให้ได้ในสมัยที่ทรงฌานโลกีย์ ต่อเมื่อฝึกฝนคุณธรรมหกประการนี้
คล่องแคล่วว่องไวดีแล้ว จึงฝึกฝนอบรมในวิปัสสนาญาณต่อไป เพื่อให้ได้อภิญญาข้อที่ ๖ คือ
อาสวักขยญาณ ได้แก่การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป
วิธีฝึกอภิญญา
วิธีฝึกอภิญญานี้ หรือฝึกวิชชาสาม และปฏิสัมภิทาญาณ โปรดทราบว่า เอามาจากวิสุทธิมรรค
ไม่ใช่ผู้เขียนเป็นผู้วิเศษทรงคุณพิเศษตามที่เขียน เพียงแต่ลอกมาจากวิสุทธิมรรค และดัดแปลง
สำนวนเสียใหม่ให้อ่านง่ายเข้าใจเร็ว และใช้คำพูดเป็นภาษาตลาดที่พอจะรู้เรื่องสะดวกเท่านั ้นเอง
โปรดอย่าเข้าใจว่าผู้เขียนแอบเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิ ทาญาณไปเสียแล้ว นรกจะเล่นงานผู้เขียนแย่
ส่วนใหญ่ในข้อเขียนก็เอามาจากวิสุทธิมรรค และเก็บเล็กผสมน้อยคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์บ้าง
ตามแต่จะจำได้ สำหรับอภิญญาข้อ ๓ ถึงข้อ ๕ ได้อธิบายมาแล้วในวิชชาสาม สำหรับในอภิญญานี้
จะอธิบายเฉพาะข้อ ๑ กับข้อ ๒ เท่านั้น

อิทธิฤทธิ์

ญาณข้อ ๑ ท่านสอนให้ฝึกการแสดงฤทธิ์ต่างๆ การแสดงฤทธิ์ทางพระพุทธศาสนานี้
ท่านสอนให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
ท่านให้เจริญคือฝึกในกสิณแปดอย่างให้ชำนาญ กสิณแปดอย่างนั้นมีดังนี้
๑. ปฐวีกสิณ เพ่งธาตุดิน
๒. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
๓. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
๔. วาโยกสิณ เพ่งลม
๕. ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง
๖. นีลกสิณ เพ่งสีเขียว
๗. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
๘. โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว
เหลือกสิณอีกสองอย่างคือ อาโลกสิณ เพ่งแสงสว่าง และอากาสกสิณ เพ่งอากาศ ท่านให้เว้น
เสีย ทั้งนี้จะเป็นเพราะอะไรท่านไม่ได้อธิบายไว้ แต่สำหรับท่านที่ทรงอภิญญาจริงๆ ที่เคยพบในสมัย
ออกเดินธุดงค์ท่านบอกว่า ท่านไม่ได้เว้น ท่านทำหมดทุกอย่างครบ ๑๐ กอง ท่านกล่าวว่า กสิณนี้ถ้าได้
กองแรกแล้ว กองต่อไปไม่มีอะไรมาก ทำต่อไปไม่เกิน ๗ วันก็ได้ กองยากจะใช้เวลานานอยู่กองแรก
เท่านั้นเอง ต่อไปจะได้อธิบายในการปฏิบัติกสิณพอเป็นตัวอย่าง

ปฐวีกสิณ

กสิณนี้ท่านให้เพ่งดิน เอาดินมาทำเป็นรูปวงกลม โดยใช้สะดึงขึงผ้าให้ตึงแล้วเอาดินทา
เลือกเฉพาะดินสีอรุณ แล้วท่านให้วางไว้ในที่พอเหมาะที่จะมองเห็นไม่ใกล้แล ะไกลเกินไป เพ่งดูดิน
ให้จำได้แล้วหลับตานึกถึงภาพดินนั้น ถ้าเลือนไปจากใจก็ลืมตาดูดินใหม่ จำได้ดีแล้วก็หลับตานึกถึง
ภาพดินนั้น จนภาพนั้นติดตา ต่อไปไม่ต้องดูภาพดินภาพนั้นก็ติดตาติดใจจำได้อยู่เส มอ ภาพปรากฏ
แก่ใจชัดเจน จนสามารถบังคับภาพนั้นให้เล็ก โต สูง ต่ำ ได้ตามความประสงค์อย่างนี้เรียกว่าอุคหนิมิต
หยาบ ต่อมาภาพดินนั้นจะค่อยๆ เปลี่ยนสีไปที่ละน้อย จากสีเดิมไปเป็นสีขาวใส จนใสหมดก้อน และ
เป็นประกายสวยสดงดงามคล้ายแก้วเจียระไน อย่างนี้เรียกว่าถึงอุปจารฌานละเอียด ต่อไปภาพนั้น
จะสวยมากขึ้นจนมองดูระยิบระยับจับสามตา เป็นประกายหนาทึบ อารมณ์จิตตั้งมั่นเฉยต่ออารมณ์
ภายนอกกายคล้ายไม่มีลมหายใจ อย่างนี้เป็นฌาน ๔ เรียกได้ว่าฌานปฐวีกสิณเต็มที่แล้ว
เมื่อได้อย่างนี้แล้ว ท่านผู้ทรงอภิญญาท่านนั้นเล่าต่อไปว่า อย่าเพิ่งทำกสิณกองต่อไป เรา
จะเอาอภิญญากัน ไม่ใช่ทำพอได้ เรียกว่าจะทำแบบสุกเอาเผากินไม่ได้ต้องให้ได้เลยทุกอ ย่าง
ได้อย่างดีทั้งหมด ถ้ายังบกพร่องแม้แต่นิดหนึ่งก็ไม่ยอมเว้น ต้องดีครบถ้วนเพื่อให้ได้ดีครบถ้วน
ท่านว่าพอได้ตามนี้แล้ว ให้ฝึกฝนเข้าฌานออกฌาน คือเข้าฌาน ๑. ๒. ๓. ๔. แล้วเข้าฌาน ๔. ๓.
๒. ๑. แล้วเข้าฌานสลับฌาน คือ ๑. ๔. ๒. ๓. ๓. ๑. ๔. ๒. ๔. ๑. ๒. ๓. สลับกันไปสลับกันมา
อย่างนี้จนคล่อง คิดว่าจะเข้าฌานระดับใดก็เมื่อใดก็ได้
ต่อไปก็ฝึกนิรมิตก่อน ปฐวีกสิณเป็นธาตุดิน ตามคุณสมบัติท่านว่า สามารถทำของอ่อน
ให้แข็งได้ สำหรับท่านที่ได้กสิณนี้ เมื่อเข้าฌานชำนาญแล้ว ก็ทดลองการนิรมิต ในตอนแรก
ท่านหาน้ำใส่แก้วหรือภาชนะอย่างใดก็ได้ ที่ขังน้ำได้ก็แล้วกัน เมื่อได้มาครบแล้วจงเข้าฌาน ๔
ในปฐวีกสิณ แล้วออกฌาน ๔ หยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน คือ พอมีอารมณ์นึกคิดได้
ในขณะที่อยู่ในฌานนั้น นึกคิดไม่ได้ เมื่อถอยจิตมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌานแล้วอธิษฐานว่า
ขอน้ำตรงที่เอานิ้วจิ้มลงไปนั้น จงแข็งเหมือนดินที่แข็ง แล้วก็เข้าฌาน ๔ ใหม่
ถอยออกจากฌาน ๔ หยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ลองเอานิ้วมือจิ้มน้ำดู ถ้าแข็งก็ใช้ได้
แล้วก็เล่นให้คล่องต่อไป ถ้ายังไม่แข็งต้องฝึกฝนฌานให้คล่องและมั่นคงกว่านั้น เมื่อขณะฝึก
นิรมิต อย่าทำให้คนเห็น ต้องทำที่ลับเฉพาะเท่านั้น ถ้าทำให้คนเห็น พระพุทธเจ้าท่านปรับโทษไว้
เราเป็นนักเจริญฌาน ต้องไม่หน้าด้านใจด้านจนกล้าฝ่าฝืนพระพุทธอาณัติ เมื่อเล่นน้ำในถ้วยสำเร็จ
ผลแล้ว ก็คำว่าสำเร็จนั้น หมายความว่าพอคิดว่าเราจะให้น้ำแข็งละน้ำก็แข็งทันที โดยเสียเวลาไม่ถึง
เสี้ยวนาที อย่างนี้ใช้ได้ ต่อไปก็ทดลองในแม่น้ำและอากาศ เดินบนน้ำ บนอากาศ ให้น้ำในแม่น้ำ
และอากาศเหยียบไปนั้น แข็งเหมือนดินและหิน ชำนาญดีแล้วก็เลื่อนไปฝึกกสิณอื่น ท่านว่าทำคล่อง
อย่างนี้กสิณเดียว กสิณอื่นพอนึกขึ้นมาก็เป็นทันที อย่างเลวสุดก็เพียง ๗ วัน ได้กอง เสียเวลาฝึก
อีก ๙ กองเพียงไม่เกินสามเดือนก็ได้หมด เมื่อฝึกครบหมดก็ฝึกเข้าฌานออกฌานดังกล่าวมาแล้ว
และนิรมิตสิ่งต่างๆ ตามความประสงค์ อานุภาพของกสิณ จะเขียนไว้ตอนว่าด้วยกสิณ ๑๐

ทิพยโสตญาณ
ญาณนี้เป็นญาณในอภิญญาหก เป็นญาณที่สองรองจากอิทธิฤทธิญาณทิพยโสตญาณนี้
เป็นญาณสร้างประสาทหูให้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าประสาทห ูธรรมดา สามารถฟังเสียงจากที่ไกล เกิน
หูสามัญจะได้ยินได้ เสียงเบาเสียงละเอียด เช่น เสียงอมนุษย์ เสียงเปรต เสียงอสุรกาย ที่นิยมเรียก
กันว่าเสียงผี เสียงเทวดา เสียงพรหมและเสียงของท่านที่เข้าถึงจุดจบของพรหมจรรย ์ ทิพยโสตญาณ
ถ้าทำให้เกิดมีได้แล้ว จะฟังเสียงต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วได้อย่างอัศจรรย์

เสียงหยาบละเอียดไม่เสมอกัน

เสียงต่างๆ ที่จะพึงฟังได้นั้น มีความหยาบละเอียดชัดเจนหนักเบาไม่เสมอกัน เสียงมนุษย์
และสัตว์ที่ปรากฏร่างที่เห็นชัดเจน ย่อมมีเสียงดังมาก ฟังชัดเจน พวกมด ปลวก เล็น ไร ฟังเสียงเบา
มาก แต่ก็ยังเป็นเสียงหยาบ ฟังง่ายและสะดวกกว่าเสียงอมนุษย์ เสียงเปรต อสุรกาย และพวกยักษ์
กุมภัณฑ์ คนธรรพ์ นาค มีเสียงเบากว่าเสียงมนุษย์ และสัตว์ที่สามารถเห็นได้ด้วยตา และเห็นได้ด้วย
การใช้กล้องขยายส่องเห็น แต่ถ้าจะเปรียบกับพวกอทิสมานกายด้วยกันแล้ว บรรดาเสียงเปรต อสุรกาย
ยักษ์ กุมภัณฑ์ คนธรรพ์ นาค ก็จัดว่ามีเสียงหยาบมาก เสียงหนัก ดังมาก ได้ยินง่ายและชัดเจน เสียง
ของเทวดาชั้นกามาวจร ที่เรียกว่าอากาศเทวดา ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต
ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี รวมหกชั้นนี้ เรียกว่าเทวดาชั้นกามาวจร เพราะยังมีอารมณ์
ท่องเที่ยว คือมีความใคร่ในกามารมณ์ เป็นภูมิชั้นของเทวดาที่ยังมีความเสน่หาในกาม ยังมีการครองคู่
เป็นสามีภรรยากันเยี่ยงมนุษย์ เทวดาทั้งหกชั้นนี้มีเสียงละเอียดและเบากว่า พวกเปรต อสุรกาย ยักษ์
กุมภัณฑ์ คนธรรพ์ นาค เสียงเทวดาชั้นกามาวจร ละเอียด เบาและไพเราะมาก ฟังแล้วรู้สึกนิ่มนวล
สดชื่น แต่ทว่าเทวดาทั้งหกชั้นนี้ก็ยังมีเสียงหยาบกว่าเสียง พรหม พรหมมีเสียงละเอียดและเบามาก
ฟังเสียงพรหมแล้ว ผู้ที่ได้ยินใหม่ๆ อาจจะเข้าใจว่า เป็นเสียงเด็กเล็กๆ หรือเสียงสตรี เสียงพรหม
จะว่าแหลมคล้ายเสียงสตรีก็ไม่ใช่จะว่าเหมือนเสียงเด็ กเล็กๆ ก็ไม่เชิง ฟังแล้วก้ำกึ่งกันอย่างไรชอบกล
ทุกท่านที่ได้ยิน ใหม่ๆ อดสงสัยไม่ได้
สำหรับเสียงท่านที่จบพรหมจรรย์นั้น เป็นเสียงที่ละเอียดและเบามาก ไม่ทราบว่าจะพรรณนา
อย่างไรถึงจะตรงกับความเป็นจริง
เรื่องของเสียงมีความหนักเบาแตกต่างกันอย่างนี้ แม้เสียงที่หยาบเป็นเสียงของมนุษย์และ
สัตว์ที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าอยู่ไกลสักหน่อย หูธรรมดาก็ไม่สามารถจะได้ยิน แต่ท่านที่ได้
ทิพยโสตญาณ ท่านสามารถได้ยินเสียงได้ แม้ไกลกันคนละมุมโลก ท่านก็สามารถได้ยินเสียงพูดได้และ
รู้เรื่องละเอียดทุกถ้อยคำ แม้แต่เสียงอมนุษย์ เทวดา พรหม และเสียงท่านผู้จบพรหมจรรย์ก็เช่น
เดียวกัน ท่านสามารถจะพูดคุยกับ เทวดา พรหม ยักษ์ เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก ตลอดจนท่านผู้จบ
พรหมจรรย์ได้ทุกขณะที่ปรารถนาจะพูดคุยด้วย ท่านที่ได้ทิพยโสตญาณนี้ ดูเหมือนจะมีกำไรในส่วน
ของการฟังมากเป็นพิเศษ

วิธีฝึกทิพยโสตญาณ

ทิพยโสตญาณจะมีขึ้นได้แก่นักปฏิบัติกรรมฐาน ก็ต้องอาศัยการฝึก สำหรับท่านที่เป็น
อาทิกัมมิกบุคคล หมายถึงท่านที่ไม่เคยได้ทิพยโสตญาณมาในชาติก่อนๆ ตามนัยวิสุทธิมรรค
ท่านให้ฝึกดังต่อไปนี้
ท่านให้สร้างสมาธิในกสิณกองใดกองหนึ่ง จะเป็นกองใดก็ได้ตามใจชอบ จนได้ฌาน ๔ แล้ว
ท่านให้เข้าฌาน ๔ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์เงียบสงัดจากอกุศลวิตก แล้วถอยหลังจิต คือค่อยๆ คลาย
สมาธิมาหยุดอยู่เพียงอุปจารสมาธิ แล้วค่อยๆ กำหนดจิตฟังเสียงที่ดังๆ ในที่ไกลพอได้ยินได้ และเสียง
ที่เบาลงไปเป็นลำดับ เช่น เสียงฆ้อง กลอง ระฆัง กำหนดฟังให้ชัดเจน แล้วค่อยๆ เลื่อนฟังเสียงที่เบา
กว่านั้น ขณะที่กำหนดฟังอยู่นั้น ถ้าเห็นว่าอารมณ์จะฟุ้งซ่าน ก็เข้าฌาน ๔ เสียใหม่ เมื่อเห็นอารมณ์ใจ
สงัดดีแล้ว จึงค่อยคลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วค่อยๆ กำหนดฟังเสียงที่เบาลงเป็นลำดับ
จนเสียงเล็นเสียงไร เสียงที่อยู่ไกลคนละทวีป และเสียงผี เสียงเปรต เสียงยักษ์ กุมภัณฑ์ คนธรรพ์
เสียงนาค เทวดาชั้นกามาวจร เสียงพรหม เสียงท่านที่จบพรหมจรรย์ค่อยเลื่อนขึ้นเป็นลำดับ แต่ทว่า
การกำหนดฟังนั้น ต้องฟังให้ชัดเจนเป็นขั้นๆ ไป ถ้าฟังเสียงหยาบยังได้ยินไม่ชัดเจน ก็อย่าพยายาม
ฟังเสียงที่ละเอียดกว่านั้น ต้องฟังเสียงอันดับใดอันดับหนึ่ง ให้ได้ยินชัดแจ่มใสเสียก่อน แล้วจึงเลื่อนไป
ฟังเสียงที่ละเอียดกว่านั้น แล้วเข้าฌาน ๔ ออกฌาน ๔ ไว้เสมอๆ พยายามทำให้มากวันละหลายๆ ครั้ง
ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ทำเป็นร้อยครั้งพันครั้ง ทำเสมอๆ อย่าเกียจคร้าน ถ้าได้แล้วก็อย่าละเลย
ต้องทำไว้เสมอๆ จะได้เกิดความเคยชินคล่องแคล่วว่องไว จนกระทั่งคิดว่า จะต้องการฟังเสียงเมื่อไร
ก็ได้ยินเมื่อนั้น ไม่ว่าเสียงระดับใด อย่างนี้เป็นอันใช้ได้
ทิพยโสตญาณมีวิธีปฏิบัติตามที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิ มรรคอย่างนี้ ขอนักปฏิบัติที่สนใจใน
ญาณนี้ จงตั้งจิตอุตสาหวิริยะเป็นอันดี ไม่ท้อถอยแล้ว เป็นมีหวังสำเร็จผลทุกราย
ไม่มีอะไรที่ท่านผู้มีความวิริยะอุตสาหะจะทำไม่สำเร็ จ เว้นไว้แต่จะคุยโวโม้แต่ปากแต่ไม่เอาจริงเท่านั้น
สำหรับฉฬภิญโญ ขอเขียนไว้เพียงเท่านี้

Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden