yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - 68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
พุทธประวัติ
พระอรหันต์
พระอริยบุคคล
พระไตรปิฎก
ศาสนาในโลก
หน้าแรก
ศาสนาพุทธ
ภิกษุ-สมณะ
การปกครองสงฆ์ไทย
พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
18 อภิญญา
19 กฎแห่งกรรม
19.1 กฏแห่งกรรม
20 แก้ กรรมเก่า
20.1 เวร
21 วิบากกรรม
22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
23 ลดกรรม 45
24.1 คู่กรรม คู่บารมี
27 กรรมชั่ว
28 กรรมฆ่าตัวตาย
29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
29.1 เหตุให้กะเทย
29.2 อาถรรพ์สวาท
31 กรรมเก่ากรรมใหม่
32 แก้กรรมด้วยตนเอง
33 กุศลกรรม 10 ประการ
34 อกุศลกรรม 10
34.1 กิเลส1500ตัณหา108
35 ความตาย
36 เยี่ยมเมืองนรก
38 โอปปาติกะ
40 พญามัจจุราช
43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
45 นรก
46 สวรรค์
คนเหนือดวง
50 บุญ
52 บำเพ็ญ วิปัสนา
53 ปฏิบัติกรรมฐาน
55 ไตรลักษณ์
56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
58 อสุภกรรมฐาน
59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
60 วิริยบารมี ,ปัญญา
63 มโนมยิทธิ
65 วิปัสสนูปกิเลส
67 บทความธรรมะ
68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
69 ศีล 5 . 8 .10. 227
ศีล 5 แบบละอียด
69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
69.3 ศีล พระธุดงค์
70 มงคลสูตร ๑๐
72 อานาปานสติ
73 มงคลสูตร
74 มงคล ๓๘
75 พฺรหฺมจริยญฺจ
76 มรรคมีองค์ 8
76.1 สังโยชน์ ๑๐
77 สติปัฎฐาน ๔
79 ปฏิจจสมุปบาท
80 วิชชาจรณสัมปันโน
จิตประภัสสร
83 ฟัง พระโชดกญาณ
83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
88 ฟัง พระพรหมคุณา
90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
94 เกิดมาทำไม
95 ติดต่อโลกวิญญาณ
96 พุทธศาสนสุภาษิต
97 ร้อยผกา
98 เปรียบศาสนา
99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
99.1 พระดูหมอผจญมาร
101 เคล็ดลับ
102 เพื่อหนีบาป
103 บริจาคเลือด
104 ขยะในใจ
105 วิวาห์ ทารุณ
107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
109 การประเคน
110 การจุดธูปบูชา
111 การแผ่เมตตา
112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
113 คุณบิดา-มารดา
114 วิธีกราบ
115 อธิษฐาน
106 แด่เธอผู้มาใหม่
116 แขวนพระเพื่ออะไร
117 เลือกเกิดได้จริง
118 ทำนายฝัน
119 พระเจ้าทำนายฝัน
120 เสียงธรรมะ
121 โอวาท เสียงธรรม
122 สัตว์ไปตามกรรม
123 นิทานธรรมะ
124 ฟังเสียง หนังสือ
124.1 ฟัง นิทานอีสป
125 ละครเสียงอิงธรรม
126 เสียง อ่านหนังสือ
126.1 เสียง ทางสายเอก
127 หนังสือธรรมะ
128 ฟังบทสวดมนต์
129 เทศน์มหาชาติ
130 เพลงสร้างสรรค์
131 สารบัญคำสอน
เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
,
แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
F 1 บำบัดความเครียด
F 2 ความวิตกกังวล
F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
F 5 มะเร็ง
F 6 ทำแท้งเถื่อน
F 7 เป็นภูมิแพ้
F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
.
ข่าว บันเทิง
M 1 ดูทีวีออนไลน์
M 2 ฟังวิทยุ
M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
M 4 หอ มรดกไทย
M 5 มรดกไทย
M 6 ที่สุดของโลก
M7 เรื่องน่ารู้
M 9 ตอบ-อ่าน
M 10 ดูดวง..
M 11 ฮวงจุ้ย จีน
..
ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
S 1 ท่องเที่ยวไทย
S 2 Airway
S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
S 2.2 GPS
S 3 อากาศไทย
S 4 เวลา อากาศ โลก
S 5 กงสุลใหญ่
S 6 เว็บไซต์สำคัญ
S 7 วัดไทยในต่างแดน
S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
S 9 ราคาทองคำวันนี้
S 10 แปล 35 ภาษาไทย
S 11 บอกบุญ ทำบุญ
*
D 1 Informationen Thailand
D 2 Buddha
D 3 Thai Reise
D 4 Super foto
D 5 Logo
...
Z 1 Clip คำขัน
Z 2 Clip นิทานธรรมะ
Z 3 Clip อัศจรรย์
Z 4 Clip เรื่องจริง
30 กรรมลิขิต Clip
Z 5 Clip บาป-บุญ
Z 6 Clip หนัง Kino
แนะนำติชม
Meditation
Free Thamma CD
Titel der neuen Seite
ธรรมที่อุปการะสมาธิ
การใช้ชีวิตคู่
เกมส์คุณหนู
เว็บพระพุทธศาสน
กรรมฐานแก้กรรม
"สุข" แม้ในยาม เศร้า
เกมส์คุณหนู 1
Karaoke
ค่าน้ำนม
เสียงอ่านพระไตรปิฎก
logo1
ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
รวมบทความธรรมะ
ตัณหา
การ ทำสมาธิ
จิต
เอตทัคบุคคล
ทุกขัง
ปาติโมกข์
3eite
koon
koon1
หนังสือธรรมะ
Pali Buddha Sprache
Dhamma Lehrer
Albert Einstein
Doeawlöd
ลุงบุญมีระลึกชาติ
visak
คำปลง
วิธีทำให้เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา ตามหลักมรรค ๘
อธิบายวิธีเห็น ศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิชชาธรรมกายโดยคุณลุงการุณย์ บุญมานุช
มรรค ๘ เป็นอย่างไร
อริยมรรค ๘ หรือมรรค ๘ นั้น เป็นดังนี้
๑. สัมมา วาจา วาจา ชอบ
๒. สัมมา กัมมันตะ การงาน ชอบ
๓. สัมมา อาชีวะ เลี้ยงชีพ ชอบ
๓ อย่างนี้เป็น ศีล
//////////////////////////////////////////////////////////
๔. สัมมา วายามะ ความเพียร ชอบ
๕. สัมมาสติ ระลึก ชอบ
๖. สัมมา สมาธิ ตั้งใจ ชอบ
๓. อย่างนี้เป็น สมาธิ
///////////////////////////////////////////////////////////
๗. สัมมา ทิฏฐิ ความเห็น ชอบ
๘. สัมมา สังกัปปะ ดำริ ชอบ
๒ อย่างนี้เป็น ปัญญา
///////////////////////////////////////////////////////////
สรุปแล้ว มรรค ๘ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาจึงเกิดแก่เราว่าทำอย่างไร จึงจะเข้าถึง
ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะศีล สมาธิ ปัญญาเป็นมรรค ๘ ดังนั้น เราจึงต้องเรียนเรื่อง ศีล
สมาธิ ปัญญา กันต่อไป
ศีล สมาธิ ปัญญา คืออะไร
ศีล คืออะไร
ศีล คือ การสำรวม กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย การสำรวมกาย การสำรวมวาจา
ให้อยู่ในบัญญัติศีล เราเห็นกันอยู่แล้ว ไม่ต้องอธิบาย
ศีลใจ การสำรวมใจ ไม่ให้ละเมิดข้อศีล เราเห็นนักบวชปฏิบัติทุกวันอย่างนั้นเป็น
“ปกติศีล” เป็นศีลเบื้องต้น ไม่ใช่ศีลที่ควรแก่การงาน ยังไม่มีฤทธิ์เดชอะไร ใคร ๆ
ก็ทำได้
ศีล ที่ควรแก่การงานตามนัยมรรค ๘
“ปกติศีล” สภาพใจที่สำรวม ไม่ละเมิดข้อศีล เช่น ไม่คิดฆ่าสัตว์ แต่ถ้าคิด
ก็ระงับความคิดนั้น ศีลในลักษณะนี้ กำจัดอวิชชาไม่ได้ กำจัดทุกข์ไม่ได้
กำจัดภัยไม่ได้ กำจัดโรคไม่ได้ ปกติศีล จึงไม่มีฤทธิ์ ไม่มีอานุภาพ กิเลสไม่กลัว
ศีลลักษณะนี้
อธิศีล คือ ศีลตามนัยมรรค ๘
เป็นการรวมใจ ระวังใจ เข้มงวดกวดขันยิ่งกว่า “ปกติศีล”
เป็นการรวมใจ ระวังใจ จนสภาพใจ ใสสะอาด เกิดความบริสุทธิ์ด้วย “ใจ” เป็นดวงแก้ว
ใสสว่างโชติ ในท้องของตน คือ มีใจใสเหมือนดวงแก้วมณีโชติ ใจลักษณะนี้
เป็นสภาพใจตามแนวมรรค ๘ เรียกว่า “อธิศีล” เป็นใจที่ควรแก่งาน กำจัดอวิชชาได้
กำจัดทุกข์ได้ กำจัดภัยได้ กำจัดโรคได้ เป็นใจที่มีฤทธิ์ มีเดช มีอานุภาพ
กิเลส ตัณหา อุปาทาน กลัว อธิศีล ยิ่งนัก อธิศีล อยู่ที่ไหน กิเลสพังที่นั่น
ถ้าอยากพ้นทุกข์ อยากกำจัดกิเลส จงทำ อธิศีล ให้เกิดแก่ใจตน
//////////////////////////////////////////////////////////
สมาธิ คืออะไร
สมาธิ คือ การตั้งใจมั่น หรือยึดมั่น อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งเพียงอย่างเดียว
สมาธิที่ว่านี้เป็นสมาธิเบื้องต้น ไม่เป็นสมาธิที่ควรแก่งาน
ส่วน สมาธิ ตามนัยแห่งมรรค ๘ จำเป็นต้องประคองใจ ให้มั่นคงยิ่งขึ้น
จนกระทั่งเห็นสภาพใจมั่น เป็นดวงใสด้วยใจตน จึงเป็นสมาธิที่ควรแก่งาน
ควรทำให้เป็นขึ้น ทำให้มีขึ้น
///////////////////////////////////////////////////////////
ปัญญา คืออะไร
ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ การคิดได้ นึกได้ ให้ตั้งข้อสังเกตว่า
ในภาวะที่ใจเราฟุ้งซ่าน เรามักนึกอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ออกเกิดความสับสน
แต่เวลาที่เราอารมณ์ดี หรือขณะที่ใจเราสงบระงับ เรามักคิดอะไรได้ นึกอะไรออก นี่คือ
ถ้าสมาธิดีทำให้ปัญญาเรือง หากสมาธิทราม ปัญญาก็อ่อน
ดังนั้น การฝึกดวงปัญญา ขึ้นอยู่กับการทำสมาธิ ถ้าดวงสมาธิเกิด ดวงปัญญาย่อมเกิดตาม
เป็นอันสรุปได้ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
เมื่อทำศีลให้เกิดขึ้นได้ สมาธิและปัญญาย่อมเกิดตามมาเองอย่างไม่ต้องสงสัย
ขั้นตอนนี้ท่านเข้าใจ ศีล สมาธิ ปัญญา ตามหลักของมรรค ๘ แล้ว
จากนี้ไปเป็นขั้นทดลองฝึกใจ ท่านจะมีวิธีทำอย่างไร ตั้งแต่ต้นจนปลาย เพื่อให้เกิด
ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ตามแนวของมรรค ๘
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ความรู้ปฏิบัติ
วิธีทำให้เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา ตามหลักมรรค ๘
ลำดับแรก
ให้ท่านนึกรวมใจของท่านเป็นจุดเดียว นึกให้เป็นจุดใสไม่ได้
ก็ให้นึกเป็นดวงแก้วขนาดโตเท่าแก้วตา นึกให้ดวงนี้ใสและบริสุทธิ์ ต้องนึกให้ใส
และให้สว่างเข้าไว้ เมื่อทำได้ถึงขั้นนี้ แปลว่า ใจของท่านพร้อม
ที่จะรับการพัฒนาให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ มรรค ๘ ตามวิธีการดังต่อไปนี้
๑. ปากช่องจมูก หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา
ให้ท่าน “หลับตา” น้อมดวงใส เข้าไปไว้ที่ปากข่องจมูก หญิงจมูกข้างซ้าย
ชายจมูกข้างขวา นึกให้ดวงใสสว่างขึ้น ถ้าไม่ใส บริกรรมในใจว่า “สัม มา อะ ระ หัง” ๓
ครั้ง โปรดดูภาพ
๒. เพลาตา หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา
แล้วเลื่อนดวงใสมาอยู่ที่เพลาตา ตรงรูน้ำตาออก หญิงเพลาตาข้างซ้าย ชายเพลาตาข้างขวา
แล้วนึกให้ดวงใส ใสยิ่งขึ้น ถ้าไม่ใส ให้บริกรรมในใจว่า “สัม มา อะ ระ หัง” ๓ ครั้ง
๓.จอมประสาท หรือเรียกว่ากลางกั๊กศีรษะ
แล้วเลื่อนดวงใสเข้าไปในกะโหลกศีรษะ ขณะที่เลื่อนดวงใส เข้าไปไว้ในจอมประสาทนั้น
ให้เหลือกตาตัวเองตามดวงใสไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ใจเห็นข้างใน
เมื่อดวงใสนิ่งอยู่ในกะโหลกศีรษะแล้ว นึกให้ดวงใสสว่างขึ้น
ถ้าไม่ใสให้บริกรรมในใจว่า “สัม มา อะ ระ หัง” ๓ ครั้ง
๔. ช่องเพดาน หรือเรียกว่า เพดานปาก
แล้วเลื่อนดวงใสจากจอมประสาทมาไว้ที่ช่องเพดานตรงจุดหมายที่สำลักอาหาร
นึกให้ดวงใสสว่าง ถ้าไม่สว่าง ให้บริกรรมในใจว่า “สัม มา อะ ระ หัง” ๓ ครั้ง
๕. ปากช่องลำคอ
แล้วเลื่อนดวงใสมาที่ ปากช่องลำคอ เหนือลูกกระเดือกนิดหนึ่งอยู่ในลำคอ
นึกให้ดวงใสสว่าง ถ้าไม่สว่าง ให้บริกรรมในใจว่า “สัม มา อะ ระ หัง” ๓ ครั้ง
๖. ฐานของศูนย์กลางกาย
แล้วเลื่อนดวงใสมาไว้ที่ศูนย์กลางกายราวสะดือ จุดวางดวงใสอยู่ที่ไหน
ให้ท่านสมมุติว่า มีเข็มอันหนึ่งร้อยด้าย แทงจากสะดือขึงตึงทะลุหลัง
อีกเส้นหนึ่งแทงจากสีข้างขวาไปซ้าย ท่านเห็นเป็นมโนภาพว่า ในท้องของท่านมีเส้นด้าย
๒ เส้นตัดกันเป็นรูปเครื่องหมายกากบาท จุดที่เส้นด้ายตัดกันนั้น เรียกว่า
ฐานของศูนย์กลางกาย ให้เอาดวงใสวางไว้ตรงจุดหมายที่เส้นด้ายตัดกันนั้น
นึกให้ดวงใสสว่างขึ้น ถ้าไม่สว่างให้บริกรรมในใจว่า “สัม มา อะ ระ หัง” ๓ ครั้ง
๗. ยกดวงใสให้สูงขึ้นมา จากจุดที่เส้นด้ายตัดกัน ประมาณ ๒ นิ้วมือตัวเอง
(ศูนย์กลางกาย)
แล้วนึกยกดวงใส ให้อยู่สูงขึ้นมาจากจุดหมายที่เส้นด้ายตัดกันประมาณ ๒ นิ้วมือตัวเอง
นึกให้ดวงใส ใสและสว่างยิ่งขึ้น ถ้าไม่สว่าง ให้บริกรรมในใจว่า “สัม มา อะ ระ หัง”
๓ ครั้ง
จากนี้ไป ให้จรดใจกลางดวงใสดวงนี้ที่อยู่ในท้องเรา และบริกรรมในใจว่า “สัม มา อะ ระ
หัง” เรื่อยไป ร้อยครั้ง พันครั้ง ขณะบริกรรม “สัม มา อะ ระ หัง”
นั้นให้จรดใจลงที่กลางดวงใส ไม่นึกไปในเรื่องอื่นใด ไม่นำความรู้ใด ๆ มาคิด
หน้าที่การงานและภารกิจใด ๆ ไม่นำมาคิด ไม่นำมานึก ในขณะนี้เป็นอันขาด
///////////////////////////////////////////////////////////
ลำดับ ๒
เมื่อบริกรรมในใจ “สัม มา อะ ระ หัง” ยิ่งขึ้น ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้
ทำในทุกอิริยาบถ ทั้ง ยืน เดิน นั่ง นอน ทำอย่างที่เรียกว่า “เอาใจจดจ่อ”
เป็นการสำรวมใจ จรดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายอย่างยิ่งยวด ก็เกิดภาวะของ “ใจสบาย” “ใจใส”
“ใจหยุด” “ใจนิ่ง” ดวงใสสมมุติที่กำหนดในตอนแรก กำหนดขึ้นเพื่อให้ใจเกาะและยึด
มิให้คิดฟุ้งซ่าน ไม่ให้ส่าย ดวงใสสมมุตินั้น จะหายไปเป็นอัตโนมัติ แล้วท่านจะเห็น
“ดวงแก้วใสสว่างโชติ” ในท้องของท่าน ดวงแก้วใสนี้ คือ “ดวงปฐมมรรค”
หรือเรียกอีกอย่างว่า “ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน”
///////////////////////////////////////////////////////////
ลำดับ ๓
เป็นลำดับเห็น ศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนวมรรค ๘
- เมื่อเห็นดวงแก้วใสสว่างโชติ คือ ดวงปฐมมรรค ดวงที่ ๑ แล้ว
- ดวงปฐมมรรคนี้ จะเป็นพื้นฐานให้ท่านได้เห็นดวงศีลอย่างง่ายดาย
ความยากอยู่ที่ว่า ทำปฐมมรรคให้เกิดขึ้นได้หรือไม่เท่านั้น
ถ้าทำปฐมมรรคให้เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็หมดโอกาสที่จะเข้าถึง ศีล สมาธิ ปัญญา
เมื่อเราเข้าถึงศีล สมาธิ ปัญญาไม่ได้ แสดงว่าเราหมดหนทางที่จะได้ “มรรคผล”
และเมื่อเราไม่ได้มรรคผล ชาตินี้เกิดมาเพื่อตายเปล่า ไม่ได้ประโยชน์อะไร
มีแต่จะสร้างเวรสร้างกรรมเพิ่มขึ้น หรือไปเรียนกัมมัฏฐานของสายมารเข้า
(คือกัมมัฏฐาน
ที่กำหนดใจไม่ตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกาย) ก็จะถอยหลังเข้าคลองกันใหญ่
- เมื่อเห็นดวงปฐมมรรค (ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) แล้ว
ให้ท่านส่งใจจี้กลางดวงปฐมมรรคไว้หยุดและนิ่ง กลางดวงปฐมมรรคนั้น ไม่ถอยหลังกลับ
แล้วส่งใจจี้ กลางดวงปฐมมรรคให้ยิ่งขึ้น
- กลางดวงปฐมมรรคนั้นเอง ท่านจะเห็น “จุดใสโตเท่าปลายเข็ม” จุดใสเล็กนี้ คือ
“มัชฌิมาปฏิปทา” หรือเรียก “เอกายนมรรค” หรือเรียกว่า “กลาง”
เมื่อเห็นจุดใสโตเท่าปลายเข็มแล้ว ให้เอาใจจี้ตรงจุดใสเล็กนั้นและเพิ่มความหยุด
ความนิ่งของใจ ให้ทับทวีขึ้น ต่อเมื่อ “ใจหยุดและนิ่ง ถูกส่วน” จุดใสเล็กจะหายไป
เกิดความ “ว่าง” ซึ่งความว่างนั้น มีลักษณะเวิ้งว้าง ประดุจท้องฟ้า เรียกว่า
“สุญญตา”
- ในว่างนั้น หรือในสุญญตานั้น ท่านจะเห็นดวงใสอีกดวงหนึ่ง ดวงใสที่ ๒ นี่คือ
“ดวงศีล”
- เมื่อเห็นดวงศีลแล้ว ปฏิบัติตามแนวที่กล่าวแล้ว ส่งในนิ่งไปกลางดวงศีล
จะเห็นดวงใสที่ ๓ คือ “ดวงสมาธิ” ส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงสมาธิ ก็จะเห็นดวงใสที่ ๔ คือ
“ดวงปัญญา”
และเมื่อส่งใจนิ่งไปที่กลางดวงปัญญาแล้ว จะเห็นดวงใสอีกดวงหนึ่งเป็นดวงที่ ๕
เรียกว่า “ดวงวิมุตติ”
ส่งใจนิ่งลงไปที่กลางดวงวิมุตติ จะเห็นดวงใสอีกดวงหนึ่ง เป็นดวงที่ ๖ เรียกว่า
“ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ”
บัดนี้ ท่านได้เห็น ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ตามหลักของมรรค ๘ แล้ว มรรค ๘
ไม่ใช่จะเห็นแค่ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา เท่านั้น ผลพลอยได้ก็คือ
ยังได้เห็นดวงปฐมมรรค ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีกด้วย นั่นคือ
ท่านได้เห็นดวงปฐมมรรค (ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา
ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ รวมเป็น ๖ ดวงธรรม ดวงธรรมเหล่านี้
ท่านเห็นในท้องของท่าน
เมื่อเห็นดวงธรรม ๖ ดวงในท้องของท่านแล้ว ต่อไปจะทำอย่างไรต่อไปอีก ท่านส่งใจนิ่ง
ลงไปกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ประคองใจให้หยุดและให้นิ่ง ในว่างกลางดวงธรรม
ท่านจะเห็นอะไรอีก
///////////////////////////////////////////////////////////
ลำดับ ๔
เป็นลำดับเห็น กายมนุษย์ละเอียด (กายฝัน)
- เมื่อท่านส่งใจ นิ่งและหยุด ลงไปกลางดวงธรรมที่ ๖ คือ กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ณ
กลางดวงธรรม ท่านจะเห็น “จุดใสเล็กเท่าปลายเข็ม” เอาใจจี้ ตรงจุดใสเล็กนั้น
- จุดใสเล็กนั้น จะว่างเป็น “สุญญตา” เกิดความเวิ้งว้างใหญ่ไพศาล
ในว่างนั้นท่านจะเห็น “ตัวตนของท่าน” มีรูปร่างหน้าตาเหมือนตัวท่าน คือ
เหมือนกับกายมนุษย์หยาบ ได้แก่กายที่กำลังอ่านอยู่ขณะนี้
กายที่ท่านเห็นกลางของความว่างใสนั้น คือ “กายมนุษย์ละเอียด” หรือเรียกว่า “กายฝัน”
ของท่าน
- กายฝันหรือกายมนุษย์ละเอียด เขาจะทำหน้าที่ฝันเมื่อกายมนุษย์นอนหลับ
เมื่อกายมนุษย์ตื่นจากหลับไม่ทราบว่ากายฝันนั้นหายไปไหน ทั้งที่กายนี้เป็นตัวของเรา
ทำหน้าที่ไปฝันมาฝันอยู่ทุกคืนวัน เมื่อกายมนุษย์นอนหลับ
คืนใดฝันร้ายกายมนุษย์จะทุกข์ร้อน
เหมือนหนึ่งกายมนุษย์ได้รับเคราะห์กรรมไปตามที่ฝันนั้นด้วย
-แต่เราก็ไม่คิดค้นคว้าหาความรู้ถึงกายฝันว่า เหตุใดเราจึงต้องมีกาย ๒ กาย คือ
กายมนุษย์หยาบ คือกายที่กำลังอ่านหนังสืออยู่ขณะนี้และมีการทำหน้าที่ฝัน
เมื่อกายมนุษย์นอนหลับ กายฝันอยู่ที่ไหน
ทำไมจึงจับต้องไม่ได้จับต้องได้แต่กายมนุษย์หยาบ
และเหตุใดกายฝันกับกายมนุษย์จึงมีหน้าตา ลักษณะ ท่าทางเหมือนกัน
ถ้าฝันร้ายกายมนุษย์จะไม่ทุกข์ร้อนได้ไหม
เหตุใดจึงยึดมั่นว่ากายฝันเป็นตัวตนของท่านด้วยเล่า
- ทุกคนยอมรับว่า เคยฝัน เคยเห็นกายฝันกันทุกคน และยอมรับความจริงว่า เรามี ๒ ตัวตน
คือ กายมนุษย์กับกายฝัน ถ้าใครมาล่วงเกินกายมนุษย์ เราจะต้องป้องกัน
และถ้าใครมาล่วงเกินกายฝัน ในขณะที่เรานอนหลับไปนั้น
กายฝันของเราก็ต้องต่อสู้จนเต็มกำลังเช่นกัน สู้ได้ก็สู้ ถึงสู้ไม่ไหว เราก็ต้องสู้
- แปลว่า เราสู้ทั้ง ๒ กาย คือ กายมนุษย์หยาบต่อสู้การดำเนินชีวิตในโลกมนุษย์
ใครมารังแก กายมนุษย์ก็ต่อสู้ไปตามเรื่องของกายมนุษย์ ครั้นกายมนุษย์นอนหลับ
กายฝันหรือกายมนุษย์ละเอียดก็ต่อสู้ไปในโลกของความฝันของเขา
ความไพศาลของโลกมนุษย์ กายมนุษย์หยาบทราบเป็นอย่างดี แต่ความมหึมาของโลกความฝัน
กายฝันของท่านไปเรียนรู้อะไรมาบ้าง และจะสู้กันอย่างไรต่อไป และจะไปสู้กับใคร
ที่ไหน เมื่อไร
กายมนุษย์ต่อสู้ กายฝันเขาก็สู้ด้วย
กายมนุษย์ชนะ กายฝันชนะด้วย
กายมนุษย์ “เห็นธรรม” กายฝันเห็นด้วย
แต่ถ้ากายมนุษย์ทำบาป กายฝันตกนรก
กายมนุษย์ตาย กายฝันรับภาระแทนกายมนุษย์ ทุกข้อหา
กายมนุษย์ที่ไม่มีธรรมเป็นเกาะเป็นหลัก กายฝันรับเคราะห์กรรมทุกสถาน
นี่คือ ความเกี่ยวข้องกันระหว่าง กายมนุษย์ (หยาบ) กับกายฝัน (กายมนุษย์ละเอียด)
เมื่อมีกายมนุษย์ (หยาบ) กายละเอียดของกายมนุษย์คือ กายฝัน
ทุกท่านยอมรับความจริงข้อนี้ กายละเอียดต่อจากกายฝัน มีกายอะไรอีกหรือไม่
จะทราบได้อย่างไร และมีอะไรเป็นข้อพิสูจน์
///////////////////////////////////////////////////////////
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เป็นหน้าที่ของท่านที่ต้องค้นคว้าหาต่อไป
ถ้าท่านค้นหาไม่ได้ แปลว่า เราไม่มีโอกาสได้มรรคผล เราแสวงหามรรคผลกันทุกคน
แต่ไม่ทราบว่าจะไปแสวงหาที่ไหน เพราะไม่รู้ทางเดิน ไม่ทราบว่า จะไปตรงไหน
และอย่างไร เราเป็นคนเกิดยุคนี้ก็จริง แต่ความรู้ของเกจิอาจารย์ก่อน ๆ
พอมีตำรับตำราค้นคว้า เราพอจะทราบว่าอาจารย์ใดมีความรู้อะไร มีเนื้อหาของวิชาเท่าไร
อะไรบ้าง แต่ยังไม่มีใครบอกแก่เราว่า กายฝันของเราอยู่ที่ไหน อยู่อย่างไร
ทำอย่างไรจึงจะไปพบได้ ผู้ที่บอกเราได้อย่างชัดเจน
มีกฎเกณฑ์การปฏิบัติและมีการพิสูจน์ได้คือ พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร หรือที่เรียกว่า “หลวงพ่อสด” เท่านั้น
Diese Webseite wurde kostenlos mit
Homepage-Baukasten.de
erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden