พฺรหฺมจริยญฺจ
เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์
เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่
ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี
สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล
คำว่า พรหมจรรย์หมายความถึง การบวชซึ่งละเว้นเมถุน การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน การประพฤติธรรมอันประเสริฐ ท่านว่าลักษณะของธรรมที่ถือว่าเป็นการประพฤติพรหมจรรย์นั้น (ไม่ใช่ว่าต้องบวชเป็นพระ) มีอยู่ดังนี้คือ
๑.ให้ทาน บริจาคทานไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง หรือปัญญา (ทาน)
๒.ช่วยเหลือผู้อื่นในกิจการงานที่ชอบ ที่ถูกที่ควร (เวยยาวัจจมัย)
๓.รักษาศีล ๕ คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ทำผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำเมา (เบญจศีล)
๔.มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขากับคนที่เราต้องพบปะด้วยทุกคน (อัปปมัญญา)
๕.งดเว้นจากการเสพกาม (เมถุนวิรัติ)
๖.ยินดีในคู่ของตน คือการมีสามีหรือภรรยาคนเดียว (สทารสันโดษ)
๗.เพียรพยายามที่จะละความชั่ว ไม่ท้อถอยในความบากบั่น (วิริยะ)
๘. รักษาซึ่งศีล ๘ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ร่วมประเวณี ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่บริโภคอาหารตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไป ไม่ฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่น ใช้ของหอมหรือเครื่องประดับ ไม่นอนบนที่สูงใหญ่ หรูหรา (องค์อุโบสถ)
๙.ใช้ปัญญาเห็นแจ้งใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (อริยมรรค)
๑๐.ศึกษาปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ให้รู้แจ้งเห็นจริง (สิกขา)
*ขอ อธิบายเพิ่มเติมว่าข้อ ๕ ที่บอกว่าให้งดเว้นการเสพกาม แต่ข้อ ๖ ให้ยินดีในคู่ของตนนั้น เพราะว่าการประพฤติพรหมจรรย์ในที่นี้หมายถึง บุคคลทั่วไปที่อาจมีครอบครัวแล้ว ก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้โดยการงดเว้นการร่วมประเวณี เช่นในวันสำคัญๆเป็นต้น
ในตำราบางเล่ม ก็มีการเพิ่มเติม นั่นคือ
- ศาสนา คือ ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
- สมณธรรม คือ ประพฤติกิริยา วาจา ใจ ให้สงบ
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ฆราวาส นี้ เป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลีอันล่อใจให้กำหนัดขัดเคือง ลุ่มหลงและมัวเมา การบรรพชาเป็นช่องว่างห่างจากอารมณ์เช่นนั้น เป็นทางที่จะได้บำเพ็ญประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ทำชีวิตให้มีผลไม่เป็นหมัน เป็นเหตุกำจัดกิเลสให้ขาดจากจิตสันดานโดยไม่เหลือ”
การตัดความกังวล ได้ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา ชักพาให้แลเห็นอรรถธรรมได้อย่างแจ่มแจ้งค่ะ ตลอดจนได้ปัญญาอย่างสูงสุด ดังนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า พรหมจรรย์เป็นมงคลเครื่องเจริญ เพราะเป็นทางที่จำทำให้ขึ้นสู่มงคลอย่างสูงตามลำดับค่ะ...
มนุษย์เราไม่ว่าหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ ยากจนหรือมั่งมี ล้วนแต่ต้องการสิ่งที่ดีงาม เป็นมงคล
แก่ชีวิตของตนทั้งสิ้น แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่ามงคลคืออะไร และอะไรที่เป็นมงคล
นานมาแล้วในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติบังเกิดขึ้น ได้มีการถกเถียงกันในชมพูทวีป
ว่าอะไรเป็นมงคล ต่างคนต่างก็แสดงสิ่งที่เป็นมงคลตามความเห็นของตน แต่ไม่อาจตกลงกันได้ว่า อะไรแน่เป็น
มงคล การถกเถียงกันมิได้เกิดขึ้นในหมู่มนุษย์เท่านั้น หากได้ลุกลามไปถึงพวกเทวดาและพรหม ในสรวงสวรรค์
ด้วย ถึงกระนั้นก็ยังหาข้อยุติไม่ได้จวบจนเวลาล่วงไป ๑๒ ปี สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าคือพระพุทธเจ้าของเรา
พระองค์นี้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกเทวดาในดาวดึงส์เทวโลกจึงได้พากันเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะเทวราช ( คือพระ
อินทร์ ) ผู้เป็นพระราชาในภพดาวดึงส์ทูลถามถึงมงคล ท้าวสักกะตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายได้ทูลถามเรื่องนี้กับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหรือยัง เมื่อทรงทราบว่ายัง จึงได้ทรงตำหนิว่าพวกท่านได้ล่วงเลย พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ทรงแสดงมงคลแล้วกลับมาถามเรา เป็นเหมือนทิ้งไฟเสีย แล้วมาถือเอาไฟที่ก้นหิ้งห้อย ตรัสแล้วชวนกันไป
เฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระวิหารเชตวัน ใกล้กรุงสาวัตถีในแคว้นโกศล ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร ท้าวสักกะ
ทรงมอบหมายให้เทวดาองค์หนึ่งเป็นผู้ทูลถามเรื่องนี้
ในเวลานั้นเทพเจ้าในหมื่นจักรวาล เนรมิตกายให้ละเอียดมาแออัดประชุมกัน เพื่อมงคลปัญหาในที่
นั้นด้วย จนพระเชตวันสว่างไสวไปทั่วด้วยรัศมีกายของเทวดาเหล่านั้น ถึงกระนั้นก็มิอาจบดบังพระรัศมี ซึ่ง
เปล่งออกจากพระกายของพระพุทธเจ้าได้ เทวดาองค์ที่ได้รับมอบหมายให้ทูลถามมงคลปัญหากะพระพุทธเจ้า
ได้ทูลถามปัญหากะพระพุทธเจ้าว่า "เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากหวังอยู่ซึ่งความสวัสดี ได้พา
กันคิดสิ่งที่เป็นมงคล (แต่ไม่อาจคิดได้) ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอุดมมงคล"
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสให้ทราบว่า มงคลมีอยู่ ๓๘ มงคล ด้วยพระคาถา ๑๐ คาถาใน มงคลสูตร๑
ตามลำดับดังนี้