yafa Maiquang ทำเว็บ
เวียนว่ายตายเกิด และ กฏแห่งกรรมมีจริง - 80 วิชชาจรณสัมปันโน
  พุทธประวัติ
  พระอรหันต์
  พระอริยบุคคล
  พระไตรปิฎก
  ศาสนาในโลก
  หน้าแรก
  ศาสนาพุทธ
  ภิกษุ-สมณะ
  การปกครองสงฆ์ไทย
  พระศรีอาริย์โพธิสัตว์
  15.2 พิธีกรรมประจำชีวิต
  17 ประวัติองค์พุทธทั้งห้า
  18 อภิญญา
  19 กฎแห่งกรรม
  19.1 กฏแห่งกรรม
  20 แก้ กรรมเก่า
  20.1 เวร
  21 วิบากกรรม
  22 ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
  23 ลดกรรม 45
  24.1 คู่กรรม คู่บารมี
  27 กรรมชั่ว
  28 กรรมฆ่าตัวตาย
  29 กรรมให้ผลอย่างไร ?
  29.1 เหตุให้กะเทย
  29.2 อาถรรพ์สวาท
  31 กรรมเก่ากรรมใหม่
  32 แก้กรรมด้วยตนเอง
  33 กุศลกรรม 10 ประการ
  34 อกุศลกรรม 10
  34.1 กิเลส1500ตัณหา108
  35 ความตาย
  36 เยี่ยมเมืองนรก
  38 โอปปาติกะ
  40 พญามัจจุราช
  43 ตายจะไปเกิดที่ไหน
  45 นรก
  46 สวรรค์
  คนเหนือดวง
  50 บุญ
  52 บำเพ็ญ วิปัสนา
  53 ปฏิบัติกรรมฐาน
  55 ไตรลักษณ์
  56 ฌาน 4 กับ ญาณ 16
  58 อสุภกรรมฐาน
  59 วิธีเจริญภาวนา, จิต
  60 วิริยบารมี ,ปัญญา
  63 มโนมยิทธิ
  65 วิปัสสนูปกิเลส
  67 บทความธรรมะ
  68 เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา
  69 ศีล 5 . 8 .10. 227
  ศีล 5 แบบละอียด
  69.2 อานิสงส์ รักษาศีล5
  69.3 ศีล พระธุดงค์
  70 มงคลสูตร ๑๐
  72 อานาปานสติ
  73 มงคลสูตร
  74 มงคล ๓๘
  75 พฺรหฺมจริยญฺจ
  76 มรรคมีองค์ 8
  76.1 สังโยชน์ ๑๐
  77 สติปัฎฐาน ๔
  79 ปฏิจจสมุปบาท
  80 วิชชาจรณสัมปันโน
  จิตประภัสสร
  83 ฟัง พระโชดกญาณ
  83.1 ฟัง หลวงพ่อโชดก1
  85 ฟัง หลวงพ่อพุธฐานิโย
  86 ฟัง หลวงพ่อจรัญ
  88 ฟัง พระพรหมคุณา
  90 ฟัง สมภพโชติปัญโญ
  94 เกิดมาทำไม
  95 ติดต่อโลกวิญญาณ
  96 พุทธศาสนสุภาษิต
  97 ร้อยผกา
  98 เปรียบศาสนา
  99 เตือนสติผู้ปฏิบัติ
  99.1 พระดูหมอผจญมาร
  101 เคล็ดลับ
  102 เพื่อหนีบาป
  103 บริจาคเลือด
  104 ขยะในใจ
  105 วิวาห์ ทารุณ
  107 วิธีช่วยคนใกล้ตาย
  109 การประเคน
  110 การจุดธูปบูชา
  111 การแผ่เมตตา
  112 วิธีใช้หนี้พ่อแม่
  113 คุณบิดา-มารดา
  114 วิธีกราบ
  115 อธิษฐาน
  106 แด่เธอผู้มาใหม่
  116 แขวนพระเพื่ออะไร
  117 เลือกเกิดได้จริง
  118 ทำนายฝัน
  119 พระเจ้าทำนายฝัน
  120 เสียงธรรมะ
  121 โอวาท เสียงธรรม
  122 สัตว์ไปตามกรรม
  123 นิทานธรรมะ
  124 ฟังเสียง หนังสือ
  124.1 ฟัง นิทานอีสป
  125 ละครเสียงอิงธรรม
  126 เสียง อ่านหนังสือ
  126.1 เสียง ทางสายเอก
  127 หนังสือธรรมะ
  128 ฟังบทสวดมนต์
  129 เทศน์มหาชาติ
  130 เพลงสร้างสรรค์
  131 สารบัญคำสอน
  เรื่องจริงอิงนิทาน ลี้ลับ
  แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ
  ,
  แนะนำ วิธีป้องกัน โรค
  F 1 บำบัดความเครียด
  F 2 ความวิตกกังวล
  F 3 วิธีรักษา โรคต่างๆ
  F 4 ตรวจสุขภาพผู้หญิง
  F 5 มะเร็ง
  F 6 ทำแท้งเถื่อน
  F 7 เป็นภูมิแพ้
  F 8 การช่วยชีวิตฉุกเฉิน
  F 9 ช่วยเหลือผู้จมน้ำ
  .
  ข่าว บันเทิง
  M 1 ดูทีวีออนไลน์
  M 2 ฟังวิทยุ
  M 3 หนังสือพิมพ์วันนี้
  M 4 หอ มรดกไทย
  M 5 มรดกไทย
  M 6 ที่สุดของโลก
  M7 เรื่องน่ารู้
  M 9 ตอบ-อ่าน
  M 10 ดูดวง..
  M 11 ฮวงจุ้ย จีน
  ..
  ค้นหา ข้อมูลช่วยเหลือ
  S 1 ท่องเที่ยวไทย
  S 2 Airway
  S 2.1 สถานีขนส่ง - Bahn
  S 2.2 GPS
  S 3 อากาศไทย
  S 4 เวลา อากาศ โลก
  S 5 กงสุลใหญ่
  S 6 เว็บไซต์สำคัญ
  S 7 วัดไทยในต่างแดน
  S 8 ราคาเงินยูโรวันนี้
  S 9 ราคาทองคำวันนี้
  S 10 แปล 35 ภาษาไทย
  S 11 บอกบุญ ทำบุญ
  *
  D 1 Informationen Thailand
  D 2 Buddha
  D 3 Thai Reise
  D 4 Super foto
  D 5 Logo
  ...
  Z 1 Clip คำขัน
  Z 2 Clip นิทานธรรมะ
  Z 3 Clip อัศจรรย์
  Z 4 Clip เรื่องจริง
  30 กรรมลิขิต Clip
  Z 5 Clip บาป-บุญ
  Z 6 Clip หนัง Kino
  แนะนำติชม
  Meditation
  Free Thamma CD
  Titel der neuen Seite
  ธรรมที่อุปการะสมาธิ
  การใช้ชีวิตคู่
  เกมส์คุณหนู
  เว็บพระพุทธศาสน
  กรรมฐานแก้กรรม
  "สุข" แม้ในยาม เศร้า
  เกมส์คุณหนู 1
  Karaoke
  ค่าน้ำนม
  เสียงอ่านพระไตรปิฎก
  logo1
  ศูนย์พิทักษ์ศาสนา
  รวมบทความธรรมะ
  ตัณหา
  การ ทำสมาธิ
  จิต
  เอตทัคบุคคล
  ทุกขัง
  ปาติโมกข์
  3eite
  koon
  koon1
  หนังสือธรรมะ
  Pali Buddha Sprache
  Dhamma Lehrer
  Albert Einstein
  Doeawlöd
  ลุงบุญมีระลึกชาติ
  visak
  คำปลง

วิชชาจรณสัมปันโน
(พระธรรมเทศนาเมื่อ 70 กว่าปีมาแล้ว)

...พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์)

            การปฏิบัติทุกวันนี้ เพื่อจะนำมาแห่งความสุขแก่ตน ผู้ที่ไม่รู้จักความสุขแล้วอย่าว่าแต่เป็นฆราวาสเลย ถึงแม้เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถ้าไม่รู้จักแต่งความสุขแล้วก็ไม่ได้รับความสุขเหมือนกัน และอย่ามัวไปเกี่ยงกันว่า การปฏิบัติเป็นหน้าที่ของอุบาสกอุบาสิกา ใครๆ ก็ปฏิบัติได้เหมือนกันทั้งนั้น หรืออย่าถือว่าเพราะมั่งมีศรีสุขจึงทำได้ หรือคนมีก็อย่าเห็นเสียว่าเพราะยากจนไม่มีกังวลอะไรจึงตั้งหน้าปฏิบัติได้ ต้องรู้ว่ากรรมเป็นของของตน การที่มั่งมีก็เพราะกรรมที่ตนทำมาเป็นกรรมดี การที่ยากจนก็เพราะกรรมที่ตนทำมาเป็นกรรมชั่ว เมื่อตนทำไว้อย่างไร ต้องได้รับผล อย่างนั้น และต้องถือเอาแก่นสารในตน ตนไม่เป็นแก่นสาร ก็ต้องทำให้เป็นแก่นสารขึ้น แก่นสารในตนนั้นคือ ทาน ศีล นี่แหละเป็นแก่นสารของตน ศีล สมาธิ ปัญญา เป็น รส ของพรหมจรรย์ และเป็นแก่นสารของศาสนา ผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ไม่ทำประโยชน์ให้เป็นแก่นสารอะไร กินแล้วก็นอน นอนแล้วก็กิน ก็ไม่ต่างอะไรกับโค กระบือ ที่ได้อัตภาพเป็นมนุษย์ที่บริสุทธิ์แล้ว ก็ควรหรือที่จะทำตนเช่นนั้น บัดนี้จักได้พรรณนาในจรณธรรม 15 ต่อไป ในวาระก่อนได้แสดงในวิชชา 3 วิชชา 8 มาแล้วโดยลำดับ วาระนี้จักได้อธิบายในจรณธรรม 15 ข้อ ความในจรณธรรม 15 นั้น มีเสขปฏิปทา 4 สัปปุริสธรรม 7 และฌาน 4 เสขปฏิทา นั้น แปลว่าเป็นทางปฏิบัติแห่งพระเสขบุคคล เสขบุคคล ได้แก่พระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี เพราะมีกิจที่ยังต้องทำอยู่และตั้งหน้าทำไปถ่ายเดียว อเสขบุคคล นั้นได้แก่พระขีณาสวอรหันต์ เสร็จกิจแล้วไม่ต้องทำอีก เนวเสกขานาเสกขาบุคคลนั้นได้แก่พวกอุบาสกอุบาสิกา เพราะทำบ้างไม่ทำบ้าง ในพวกเราเหล่าพุทธบริษัทนี้ก็สมมติว่าเป็น เสขปฏิปทา ได้บ้างบางอย่างในเสขปฏิปทา 4 นี้ คือ สีลสังวร 1 อินทรีย์สังวร 1 โภชเนมัตตัญญุตา 1 ชาคริยานุโยค 1 สีลสังวรนั้นให้สำรวมระวัง ในศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีลพระปาฏิโมกข์ ตามที่ตนได้สมาทานไว้ ผู้ที่สมาทานศีล 5 ก็ต้องระวังของตนไว้อย่าให้เศร้าหมอง ผู้ที่รักษาศีล 8 ศีล 10 หรือศีลพระปาฏิโมกข์ ก็จงสำรวมระวังของตนๆ ไว้ อย่าให้เศร้าหมองไปได้ ในวันหนึ่งๆ ให้ตรวจของตนอยู่เสมอ ส่วนอินทรีย์สังวรนั้นก็ให้ระวังในศีลเหมือนกัน แต่เป็นของที่ควรระวังได้ยาก คือให้ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 6 อย่างนี้ ก็ต้องเอาใจนั่นแหละเป็นผู้ระวังใจ จะเอาอะไรมาระวังก็ไม่ได้ หรือจะเอาใจเป็นเจ้าของคอยระวังอารมณ์ 5 อย่างนั้นก็ไม่ได้ เพราะกิเลสที่เกิดขึ้นก็ต้องมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้แหละ ถ้าใจรู้เท่าทันต่ออารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กายนี้ไม่มีพิษมีสงอะไร การที่ให้ระวังนั้นไม่ใช่จะให้ปิดตา ปิดหู ปิดจมูก ปิดลิ้น หรือปิดกาย ดังเช่นแขกเขาคลุมกายจนหมดเช่นนั้น การที่คลุมกายนอกอยู่เช่นนั้นใช้ไม่ได้ ต้องการให้รู้เท่าทันต่ออารมณ์เท่านั้น อารมณ์นั้นให้แบ่ง 3 อย่าง คือสิ่งที่พอใจอย่าง 1 ที่ไม่พอใจอย่าง 1 หรือที่เฉยๆ ไม่ใช่ชอบหรือไม่ใช่ไม่ชอบนั้นอย่าง 1 เมื่อตาเห็นรูปก็เป็นรูปารมณ์ หูได้ยินเสียงก็เป็นสัททารมณ์ จมูกได้ดมกลิ่นก็เป็นคันธารมณ์ ลิ้นได้ลิ้มรส ก็เป็นรสารมณ์ กายได้รับสัมผัสก็เป็นโผฏฐัพพารมณ์ เมื่อระหว่างที่กระทบกันอยู่เรียกว่า รูปารมณ์ สัททารมณ์ เป็นต้น เมื่อล่วงไปแล้วเป็นธัมมารมณ์ ฝังอยู่ที่ใจนี่แหละ เพราะใจเป็นชาติกายสิทธิ์ เมื่ออารมณ์ที่ดีหรือที่ชั่วเข้ามาเป็นธัมมารมณ์อยู่แล้วก็ถอนไม่ออก ฝังอยู่นั้นแหละ ธัมมารมณ์นี้เป็นของเรียนรู้มาแต่ผู้อื่น เมื่อเขาว่ารูปนี้ดี รูปนี้ชั่ว เสียงนี้ดี เสียงนั้นไม่ดี เป็นต้น ก็เข้ามาฝังอยู่ในใจทีเดียว ที่นี้พอได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังเข้าอีกก็รับรู้รับเห็นทันทีทีเดียว ว่าเขามาสรรเสริญเรา หรือเขามาด่ามาว่าเราเช่นนี้ก็เกิด ราคะ โทสะ โมหะ เกิดความรักความชังขึ้นทันทีทีเดียว บางคนก็ว่าข้าพเจ้าไม่มีอิจฉาพยาบาลดอก มีแต่โทสะเท่านั้น จะว่าเช่นนั้นอย่างไรได้ ก็โทสะมันเป็นลูกหลานอิจฉาพยาบาทต่างหาก ผู้ที่มักโกรธนั้นเข้าใจว่าโกรธคนอื่น ถ้าพิจารณาให้ดีก็โกรธตนเอง หาใช่โกรธผู้อื่นไม่ การที่จะรู้เท่าทันต่ออารมณ์เหล่านี้ต้องรู้จักสภาพธรรมดา เมื่อเวลาอารมณ์ใดเกิดขึ้นต้องรู้ว่าเขาหากเป็นอยู่อย่างนี้ ตั้งแต่เรายังไม่เกิดก็เป็นอยู่ดังนี้ หรือเราตายไปแล้วก็เป็นอยู่ดังนี้ เมื่อรู้เท่าทันสภาพธรรมดาเสียเช่นนี้ก็จะต้องไปยุ่งเหยิงอะไรกับอารมณ์เหล่านั้น เปรียบเหมือนเขาจะว่าอ้ายหมาหรืออ้ายเปรตเช่นนี้ หมาหรือเปรตของเราก็มี เราจะนั่งพูดไปวันยังค่ำก็ได้ ก็ธุระอะไรจะเอาหมาของเราไปกัดกับหมาของเขา เท่านั้นก็พอแล้ว ถ้าของเราไม่มีอยู่เราจะรู้หรือที่เขามาว่าเช่นนั้นเช่นนี้ เพราะมันเข้ามาเป็นธัมมารมณ์เช่นนี้จึงรู้ ถ้าเรามัวจะวิ่งตามไปตามมากับอารมณ์เหล่านี้แล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ไม่พอกัน วันคืนมีมากก็จริง แต่ชีวิตของเรานั้นน้อยนัก ส่วนโภชเนมัตตัญญุตา ให้รู้ประมาณในอาหารที่จะบริโภคนั้น คือให้พิจารณาเสียก่อนแล้วจึ่งบริโภค และต้องรู้ว่าพอยังชีวิตให้เป็นไปเท่านั้น ถ้าไม่พิจารณาเสียก่อนแล้วก็อาจเป็นพิษเป็นโทษได้ หรือบริโภคอาหารมากเกินไปก็มักทำให้ร่างกายหนักและเป็นข้าศึกแก่สมถะและวิปัสสนาด้วย การที่พิจารณาแล้วจึงบริโภคนั้นเป็นปัจจัยสันนิสสิตศีลด้วย ชาคริยานุโยค นั้น คือไม่เป็นผู้หน่ายต่อความเพียร เช่น ในสัมมัปปธาน คือเพียรละบาปบำเพ็ญบุญเป็นต้น และให้มีความรู้อยู่เสมอ อย่าให้หลับอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ให้หมั่นตรวจของตนอยู่เสมอว่าศีลของเราบริสุทธิ์บริบูรณ์ดีละหรือๆ ด่างพร้อยด้วยประการใดบ้าง ในวันหนึ่งๆ อินทรีย์ของเราสำรวมระวังไว้ดีละหรือ เรารู้เท่าทันต่ออารมณ์ดีละหรือ อาหารที่เราบริโภคนั้นพิจารณาดีละหรือ เป็นของบริสุทธิ์ละหรือ ให้หมั่นมีการตรวจของตนอยู่ดังนี้ทุกเมื่อ
        เมื่อพุทธบริษัทได้สดับตรัสฟังแล้วจงหมั่นตรวจตรองของตนแล้วอุตส่าห์ปฏิบัติขึ้นในตน เพราะพระองค์ผู้เป็นพระบรมครูก็เป็นผู้อุตส่าห์เช่นนี้ เมื่อเราได้มาเป็นลูกศิษย์ของท่าน ก็ต้องเดินตามท่านในชั้นนี้แล้วจึงจะถึงวิชชาชั้นสูงต่อไป.

๑.   ปาณาติบาตที่ไม่บาป
๒.   มหายานไม่ใช่เซ็น- เซ็นไม่ใช่มหายาน
๓.   ไม่มีใครเกิด-ไม่มีใครตาย
๔.   ตายแล้วเกิด-ตายแล้วไม่เกิด
๕.   นรกใต้ดิน-สวรรค์บนฟ้า
๖.   การเวียนว่ายตายเกิด
๗.   กระแสปฏิจจสมุปบาท-ชาติ--ภพ
๘.  
สิ่งที่เรียกว่า "อุปาทาน"
๙.   พระอรหันต์เป็นพราหมณ์
๑๐.  การแปลพระไตรปิฏก
๑๑.  การจัดพุทธศาสนาให้เป็นวิทยาศาสตร์เป็นการดูหมิ่นพระพุทธเจ้า
๑๒.  เรื่องกลับชาติของพระพุทธเจ้า
๑๓.  พระพุทธเจ้าไม่ตาย
๑๔.  ไม่มีนรก-สวรรค์
๑๕.   ตกนรกทั้งเป็น
๑๖.  ปรโลกอยู่ที่ไหน?
๑๗.
นรกสวรรค์-การเวียนว่ายตายเกิด เป็นเรื่องไร้สาระ?
๑๘.  เทวดา-พรหม-เปรต-สัตว์นรก
๑๙.  ตัวกู-ของกู-อุปาทาน-การเกิดใหม่
๒๐.  ปฏิจจสมุปบาทคร่อมภพชาติ
๒๑.  ความเร้นลับของโอปปาติกะกำเนิด
๒๒.  การออกเสียง โอปปาติกะ
๒๓.  พรหม ในพระคัมภีร์
๒๔.  โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี?

ซีดี เสียงธรรมะ ชุดเสียงธรรมจากสวนโมกข์ 

1. ชีวิตต้องเทียมด้วยควายสองตัว

   2. โลกพระศรีอารย์อยู่แค่ปลายจมูก

3. ทำวัตรเย็น 

4. ทำวัตรเช้า

5. การบังคับความรู้สึก

6. วิธีฝึกสมาธิอานาปานสติ

7. การศึกษาและการรับปริญญาในพระพุทธศาสนา

8. ชีวิตว่าง บรรยายประจำวันเสาร์ ๒๓ กันยายน ๒๕๓๒ (๕๘:๒๕)

9. นิพพานสำหรับทุกคน บรรยายประจำวันเสาร์ ๒ เมษายน ๒๕๓๑ (๖๑:๕๗)

10. วิธีทำสมาธิเบื้องต้น ปาฐกถาพิเศษ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๒๗ (๕๙:๐๗)

11. โลกอื่น บรรยายแก่ชมรมครูศีลธรรมแห่งประเทศไทย ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๗ (๕๓:๐๑)

12. การทำงานคือการปฏิบัติธรรม ปาฐกถาพิเศษ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ (๓๐:๐๑)

13. ไสยศาสตร์กับพุทธศาสตร์ อบรมพระนวกะในพรรษา ๒๓ สิงหาคม ๒๕๒๗ (๕๙:๕๔)

14. โอวาทสำหรับคนเจ็บไข้ บรรยายพิเศษสำหรับคนเจ็บไข้ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๕ (๔๙:๒๕)

15. พ่อแม่สมบูรณ์แบบ บรรยายประจำวันเสาร์ ชุด สิ่งสำคัญที่พากันมองข้าม ๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๒ (๖๑:๑๖)

๑๖. การจัดที่เหตุของสิ่งที่มีเหตุ บรรยาย ชุด คู่มือที่จำเป็นสำหรับการศึกษาและปฏิบัติธรรม ๑๔ พ.ค. ๒๕๓๑

 

ซีดี บรรยายธรรมะ ชุดธรรมะท่านพุทธทาส

ลิขสิทธิ์โดย ธรรมทานมูลนิธิ/ผลิตและจำหน่ายโดย  บริษัท โอเชี่ยน มีเดีย  จำกัด, ๖๐๐/๔๓๘ ม.สีวลี ถ.พหลโยธิน ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ๑๒๑๓๐ โทร. ๕๓๖๗๑๓๖,๕๓๖๖๓๘๗

หมวดที่ ๒ ไขข้อข้องใจในธรรมะ

1. สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์คืออะไร

2. ความมีจุดมุ่งหมายปลายทาง

3. การทำบุญสุนทรทานคืออะไร 

4. ธรรมะคืออะไร จะมีธรรมะได้อย่างไร

5. การเวียนว่ายตายเกิดคืออะไร  

6. ทรัพย์สมบัติคืออะไร

7. การมีพระรัตนตรัยที่ถูกต้อง  

8. การมีกุศลที่แท้จริง

9. การทำงานคือการปฏิบัติธรรม  

10. ความสุขที่แท้มีอยู่ในงาน

ปาฐกถาชุด "พุทธธรรม"

             " พุทธธรรมคือสิ่งๆ หนึ่ง ที่จะทำให้คนธรรมดากลายเป็นพุทธะ
คือผู้ตรัสรู้ ผู้เบิกบาน, เป็นสิ่งธรรมดาอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่เบื้องหลังของชีวิต,
รุ่งเรืองสว่างไสวอยู่เสมอ ไม่รู้จักดับ ทรงตัวเองอยู่ได้ตลอดกาลและพร้อม
อยู่เสมอที่จะสัมผัสกับใจ ถ้าหากลอกเอาเครื่องหุ้มห่อจิตออกเสียได้เมื่อใด
ก็จะพบสิ่งๆ นั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ให้แต่ความสงบ
เยือกเย็น ความสะอาด และ
ความแจ่มแจ้ง ในปัญหาของชีวิตทุกอย่าง. สิ่งๆ นี้เป็นสัจธรรมอันเดียว
ที่สูงยิ่งกว่าสัจธรรมทั้งหลาย. ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่พบสัจธรรมนี้
ความปลอดภัยที่แท้จริงของชีวิต ยังมีไม่ได้.
             สาเหตุที่คนส่วนมากไม่สนใจในเรื่องนี้ เป็นเพราะไปเข้าใจเสียว่า
เรื่องพุทธธรรมไม่เกี่ยวกับคนเรา หรือเห็นไปเสียว่า ไม่จำเป็นต้องรู้ก็อาจหาความสุขได้ บางคน
เห็นว่า ถ้าสนใจกับเรื่องนี้แล้ว จะต้องทำตัวเป็นฤาษีชีไพร ต้องทำตัวให้เหินห่างจากความสนุก
เพลิดเพลินในโลกทุกอย่าง และบางคนถึงกับเห็นไปว่า เรื่องพุทธธรรมนั้นวิเศษจริง แต่ก็ยาก
ที่คนอย่างเราจะเข้าใจได้. อันที่จริง ความเข้าใจเช่นนั้น เป็นการหลอกตัวเองให้เข้าใจผิดทั้งสิ้น.
              ข้อที่เข้าใจว่า พุทธธรรมไม่จำเป็นต้องรู้ ก็อาจหาความสุขได้นั้น ก็เป็นความจริง, แต่
ท่านคงไม่เคยรู้สึกว่า ความสุขที่เราแสวงหาและมีๆ กันอยู่นั้น เป็นของหลอกลวงเกือบทั้งสิ้น และ
มักมีพิษในภายหลังเสมอ. ถ้าได้สัมผัสกับพุทธธรรมเสียบ้าง พิษที่เกิดจากความสนุกนั้นจะลด
น้อยลง และสามารถแสวงหาความสุขที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป.
             ข้อที่ว่า ถ้าคนสนใจกับเรื่องนี้ จะต้องออกไปเป็นฤาษีชีไพร เข้าไปแตะต้องกับความสุข
ในทางโลกไม่ได้เลยนั้น ข้อนี้ก็เป็นความเข้าใจผิดถนัด. พุทธศาสนาไม่มีการบังคับให้เชื่อ หรือ
บังคับให้ทำตาม. ท่านจะเป็นฤาษีหรือไม่ สุดแล้วแต่ความพอใจ. และก็ไม่ใช่เป็นกฎตายตัวว่า
ต้องเป็นฤาษีหรือนักบวชเท่านั้น จึงจะเข้าใจพุทธธรรมได้. เรื่องนี้ท่านผู้แสดงได้ชี้แจงไว้
ดีที่สุดแล้ว ในปาฐกถาของท่าน.
              ข้อที่ว่า คนธรรมดาไม่ใช่นักบวชหรือนักปราชญ์เข้าใจเรื่องนี้ไม่ได้นั้น ก็ยังขัดต่อ
ความจริง ในครั้งพุทธกาล ปรากฏว่าคนอายุ ๗ ขวบทั้งหญิงทั้งชาย หรือฆราวาสผู้ครองเรือน
เข้าใจเรื่องนี้ได้ ก็มีอยู่ ข้อที่ว่าเราเห็นว่ายากนั้น อาจเป็นเพราะเราไม่สนใจอย่างแท้จริง หรือ
เพราะอ่านหนังสือที่ทำอย่างไรเสียก็ไม่อาจเข้าใจได้ ก็ได้..."

         ปาฐกถาที่ ๑  วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม 
         ปาฐกถาที่ ๒  ความสงบ คือ พุทธธรรม    
         ปาฐกถาที่ ๓  ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม    
         ปาฐกถาที่ ๔  ขยายความภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม 
         บันทึกเกี่ยวกับภูเขาพุทธธรรม - ข้อปุจฉา-วิสัชนา

มาเป็นพุทธทาสกันเถิด
เรียนพุทธศาสนาใน ๑๕ นาที
พุทธศาสนาเป็น Pessimism หรือ Optimism
พุทธศาสนา ศาสนาแห่งการบังคับตนเอง
ความกลัว
อาหารของดวงใจ  
ฤทธิ์-ปาฏิหาริย์?
ศรัทธาความเชื่ออย่างพุทธมามกะ
หลักอนัตตากับการอบรมประชาชน
อานาปานสติ สำหรับคนทั่วไป อย่างง่าย
ทางเดินของชีวิต
บุญ กับ กุศล
"พระ"ที่ตรงตามตัวหนังสือ

วันคืนแห่งกรรมฐาน
พระสงฆ์ควรเลิกยาเสพติด
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
จุดแท้จริงของความเป็นคน!
คุณค่าของปริยัติ
สิบปีในสวนโมกข์
ฟ้าสางทางการขุดเพชร
ฟ้าสางทางสวรรค์ในทุกอิริยาบถ
ศานติภาพอยู่ที่ไหน?
จะมีชีวิตเป็นคนอยู่อย่างไรจึงจะไม่ขาดทุน
ธรรมะกับเรา
นิพพาน จุดหมายปลายทางของชีวิต

ปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับการถือพระรัตนตรัย
ใครทุกข์? ใครสุข?

พุทธทาสธรรม
 

บวชอยู่ที่บ้าน  
นิพพานสำหรับทุกคน  
สังโยชน์ ๑๐

Happiness & Hunger
 
นรก-สวรรค์ ตามหลักของพระพุทธเจ้า
นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้
พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์
มารหรือซาตานที่แท้จริง
มีตน ทั้งที่ไม่มีตัวตน
ไม่มีตัวตน ก็มีร่างกายและจิตได้
เทวดามีจริงหรือ?
ไม่มีอะไรเป็นตัวตน
คติ ๘ ภาษาคน-ภาษาธรรม   
ต้องเชื่อสิ่งที่เห็นได้ด้วยตนเอง
ก ข ก กา ของพุทธศาสนาที่แท้จริง
กรรมในพระพุทธศาสนา
คำว่า ผู้รู้ ผู้เห็นสิ่งทั้งปวง
ต้องทำลายความเห็นแก่ตัวก่อน
ตัญหา ๓
วิธีปฏิบัติที่รวบรัด
วิปัสสนากรรมกร
นิวรณ์ ๕ 
กิเลส
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘
หลักความเชื่อ ๑๐
สามัญญลักษณะ หรือ ไตรลักษณ์    
อิทธิบาท ๔
ชาตินี้ ชาติหน้า


สัญโญชน์ หรือสังโยชน์ แปลว่าเครื่องร้อยรัดในสัตว์ข้องในสงสาร
ในข้อความนี่หมายถึงพระอนาคามีคะ เพราะพระอนาคามีละสัญโยชได้ 5 ข้อคือ
1.สักกายทิฐิสัญโญชน์ คือความเห็นว่าตัวเรามี
2.วิจิกิจฉาสัญโญชน์ คือความลังเลสงสัยที่เกี่ยวกับพระรัตนตรัย
3.สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ คือ การลูบคลำศีลจะไม่มีอีก
จะรักษาศีลออกมาจากใจเลยทีเดียว
แปลง่ายๆว่า จะไม่ชั่งใจว่าจะผิดศีลหรือไม่ผิดศีลดีอีกต่อไปแล้ว
4.กามราคะสัญโญชน์ คือหมดกามราคะ หมดความยึดมั่นอาลัยในกาย
(แต่ยังมีความยึดมั่นในจิตอยู่ เพราะยังเห็นไม่ชัดว่าจิตไม่ใช่ตัวเราด้วยคะ)
5.ปฏิฆะสัญโญชน์ คือหมดความขัดใจ หมดกิเลสที่มีรากมาจากโทสะทั้งหวง

เมื่อหมดความยินดีที่เป็นด้านหนึ่งของเหรียญ
ก็หมดความยินร้ายด้วย คือไม่มีโทสะ(ความโกรธ)แล้วคะ
ถ้าใครสังเกตุดีๆจะพบว่าช่วงไหนภาวนาแล้วโทสะเกิดบ่อย
อีกช่วงเมื่อโทสะหมดอำนาจ ราคะก็จะเหวี่ยงมาเกิดบ่อยด้วยเช่นกันคะ
เพราะสองอย่างนี้มีรากอันเดียวกัน เหวี่ยงไปมาระหว่างยินดีกับยินร้าย

หากพระอนาคามีเสียชีวิตในภพภูมิของมนุษย์ก็จะไปเกิดในภพของพรหม
เพราะภพของมนุษย์เทวดายังมีความเพลินเพลินในกามคุณ 5 อยู่
แต่พระพรหมจะมีความสุขปราณีตพ้นกามคุณ
ทั้งนี้เนื่องจากพระอนาคามีหมดกามและปฏิฆะแล้ว

หลังจากนั้นพระอนาคามีไม่ว่าจะมีอินทรีย์อ่อนหรือแก่กล้าแค่ไหน
คือไม่ว่าจะสะสมบารมีมามากหรือน้อย จะบรรลุได้ง่ายหรือยากนับแต่นี้ไป
ก็จะไม่พลาดพลั้งในการภาวนาอีกแล้ว สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหัตในชั้นพรหมเลยคะ



 พระอริยะบุคคลได้มี 4 ประเภท ดังนี้

พระอริยะบุคคลประเภทที่ 1. พระโสดาบันบุคคล
คือท่านผู้ที่เพียรปฏิบัติวิป้สสนากรรมฐาน จนวิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น ทั้ง 16 ญาณ
เป็นครั้งแรก ทำให้กิเลสต่างๆ เบาบางอย่างมากมายและสามารถละกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง 3 ประการ ในสัญโญชน์ 10
ประการ คือ
1.1 สักกายทิฐิสัญโญชน์ คือการยึดถือเป็นตัวตนผิดๆ ในรูปนามนั้นๆ
1.2 วิจิกิจฉาสัญโญชน์ คือความสงสัยใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือความสงสัยในสิ่งต่างๆ จนฟุ้งซ่าน
จนควบคุมจิตใจไม่อยู่เป็นบ่อเกิดโรคจิต โรคนอนไม่หลับ โรคหวาดระแวงโดยไร้สาเหตุ โรควิตกกังวัลจนผิดปกติ
รวมความแล้วคือสงสัยลังเลจนเลยเถิด
1.3. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ คือการถือข้อวัตรปฏิบัติผิดไม่ถูกทาง
มากล่าวถึงคำว่าสัญโญชน์ 10 ก็คือกิเลสหรืออนุสัยกิเลสที่นอนสงบนิ่งอยู่ในจิต
เมื่อมีสิ่งอื่นใดมากระตุ่นหรือกวนให้กิเลสนี้กระจายขึ้นมากลายเป็น ราตะ โทษะ และโมหะ ให้เห็นทั้งทางใจ ทางวาจา
และทางร่างกาย มี 10 ประการดังนี้
1 สักกายทิฐิสัญโญชน์ คือการยึดถือเป็นตัวตนผิดๆ ในรูปนามนั้นๆ
2 วิจิกิจฉาสัญโญชน์ คือความสงสัยใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ คือการถือข้อวัตรปฏิบัติผิดไม่ถูกทาง
ทั้ง 3 ประการข้างบนพระโสดาบัน ละได้อย่างเด็ดขาด
4. กามราคะสัญโญชน์ คือการมีกามราคะ
5. ปฏิฆะสัญโญชน์ คือความขุ่นเคือง ความโกรธ
ทั้ง 5 ประการข้างบนพระอนาคามี ละได้อย่างเด็ดขาด
6. รูปราคะสัญโญชน์ คือความยินดีในรูปภพ
7. อรูปราคะสัญโญชน์ คือความยินดีในอรูปภพ
8. มานะสัญโญชน์ คือความถือตัว
9. อุทธัจจะสัญโญชน์ คือความที่จิตฟุ้งไป ไม่สามารถตั้งอยู่อารมณ์เดียวได้นาน
10. อวิชชาสัญโญชน์ คือสภาพไม่รู้ ความมืดหลงของจิต หรือ โมหะ
ทั้ง 10 ประการพระอรหัน ละได้อย่างเด็ดขาด
เมื่อท่านทั้งหลายทราบถึง สัญโญชน์ 10 ประการแล้ว ก็จะมากล่าวถึงคุณวิเศษของพระโสดาบันต่อ ดังมีอยู่ในพระสูตรหนึ่ง
พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบให้ทราบถึงกิเลส และความทุกข์ที่เหลือของพระโสดาบันกับปุถุชน ให้เข้าใจดังนี้
มีอยู่ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกกับพระภิกษุว่า
"ภิกษุทั้งหลายเธอจงหยิบเศษดินบนแผ่นดินมาหนึ่งกำมือ"
เมื่อภิกษุหยิบเศษดินขึ้นมาหนึ่งกำมือแล้ว พระพุทธเจ้าทรงตรัสถามว่า
"เธอทั้งหลายจงเปรียบเทียบดูจำนวนเศษดินที่อยู่ในมือ กับแผ่นดินต่างกันมากใช่ไหม่?"
พระภิกษุตอบว่า "ใช่ครับ" พระพุทธเจ้าจึงอธิบายให้ทราบ
"เศษดินที่อยู่ในมือเธอเปรียบเสมือนกิเลสที่เหลืออยู่ของพระโสดาบันบุคคล
แต่แผ่นดินนั้นเปรียบเสมือนกิเลสที่มีอยู่ของปุถุชนทั้งหลาย ดังนั้นความทุกข์เร้าร้อนที่พระโสดาบันได้รับ
ย่อมน้อยกว่าปุถุชนมากมายจนประมาณไม่ได้"

คุณวิเศษที่พระโสดาบันได้รับมีดังนี้
1. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระโสดาบันได้
2. จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ คือ สัตว์เดรัชฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก อีกเลย เพราะกิเลสที่จะก่อให้เกิดทำอกุศลกรรม
ที่ร้ายแรงที่ต้องให้ไปเกิดในอบายภูมิ ย่อมไม่มีอีกแล้ว
3. จะเกิดในภพมนุษย์ หรือ สวรรค์ หรือ พรหม ตามบุญกุศล หรือตามกำลังสมาธิ ของแต่ละท่าน
4. จะมาเกิดในภพมนุษย์อย่างมากที่สุดไม่เกิด 7 ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์เข้าสู่พระนิพพาน

ประเภทของพระโสดาบันบุคคลแบ่งได้ 3 ประเภท
1. เอกพิชีโสดาบัน คือจะกับมาเกิดในโลกมนุษย์เพียงชาติเดียว แล้วปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อจนบรรลุเป็นพระอรหันต์
แล้วดับขันธ์ปรินิพพานในชาตินั้น
2. โกลังโกละโสดาบัน คือท่านที่จะมาเกิดบนโลกมนุษย์อีก 2 ถึง 3 ชาติ แล้วมีโอกาศได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ดับขันธ์สู่พระนิพพาน
3. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือท่านที่จะมาเกิดบนโลกมนุษย์ มากกว่า 3 ชาติ แต่ไม่เกิน 7 ชาติ
แล้วมีโอกาศบรรลุเป็นพระอรหันต์ ดับขันธ์นิพพาน





พระอริยะบุคคลประเภทที่ 2. พระสกิทาคามี
คือพระอริยะบุคคลที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ 16
ญาณในรอบแรกแล้วแล้วยังเพียรกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนวิปัสสนาญานบังเกิดขึ้นในรอบที่ 2 ตั้งแต่ญาณที่ 4
อุทยัพพยญาณจนญานที่ 12 อนุโลมญาณ
ชึ่งวิปํสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นอย่างละเอียดอ่อนแจ่มแจ้งกว่าสภาวญาณที่เคยฝ่านมาแล้ว และติดตามด้วย โวทานะ
โวทานะแทนโคตรภูญาณ เพราะท่านเป็นอริยะบุคคลแล้ว หลังจากนั้นบรรลุถึงพระสกิทาคามีมรรค และเมื่อฝ่านตลอดทั้ง
16 ญาณในรอบที่ 2 กิเลสที่มีอยู่จะเบาบางจากเดิมที่มีอยู่ในทันที่
แต่ไม่สามารถละสัญโญชน์ทีเหลืออยู่ให้ตัวใดตัวหนึ่งขาดหายโดยสิ้นเชิ่ง
แต่กิเลสของท่านเบาบางกว่าพระโสดาบันอย่างมาก ดำรงค์ฐานะเป็นพระสกิทาคามีบุคคล

คุณวิเศษที่พระสกิทาคามีได้รับมีดังนี้
1. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระสกิทาคามีได้
2. จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ คือ สัตว์เดรัชฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก อีกเลย เพราะกิเลสที่จะก่อให้เกิดทำอกุศลกรรม
ที่ร้ายแรงที่ต้องให้ไปเกิดในอบายภูมิ ย่อมไม่มีอีกแล้ว
3. จะเกิดในภพมนุษย์ หรือ สวรรค์ หรือ พรหม ตามบุญกุศล หรือตามกำลังสมาธิ ของแต่ละท่าน
4. จะมาเกิดในภพมนุษย์อย่างมากที่สุดเพียง 1 ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ดับขันธ์นิพพาน



พระอริยะบุคคลประเภทที่ 3. พระอนาคามีบุคคล
คือพระอริยะบุคคลที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ 16 ญาณในรอบที่ 2 แล้ว
ก็ยังกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนวิปัสสนาญานบังเกิดขึ้นในรอบที่ 3 ตั้งแต่ญาณที่ 4 อุทยัพพยญาณจนญานที่ 12
อนุโลมญาณ ชึ่งวิปํสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นอย่างละเอียดอ่อนแจ่มแจ้งกว่าสภาวญาณที่เคยฝ่านมาแล้ว และติดตามด้วย
โวทานะ โวทานะแทนโคตรภูญาณ เพราะท่านเป็นอริยะบุคคลแล้ว ก็บรรลุถึงพระอนาคามีมรรค และเมื่อฝ่านตลอดทั้ง 16
ญาณในรอบที่ 3 กิเลสที่มีอยู่จะเบาบางจากเดิมที่มีอยู่ในทันที่ และสามารถละสัญโญชน์ทีเหลืออยู่ได้อีก 2
สัญโญชน์อย่างสิ้นเชิ่ง ได้แก่ กามราคะสัญโญชน์ และปฏิคะสัญโญชน์ ก็คือละกามและโทษะได้อย่างะเด็ดขาด
ดำรงค์ฐานะเป็นพระอนาคามีบุคคล

คุณวิเศษที่พระอนาคามีได้รับมีดังนี้
1. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระอนาคามีได้ แต่ท่านที่เคยฝึกสมาธิถึงฌานที่ 4 ท่านสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้
หรือบางท่านบังเกิดมีวิชา 3 อภิญญา 5 สามารถสำแดงฤทธิ์เดชได้
2. ถ้ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์จะไปเกิดใน พรหมโลก ชั้นสุทาวาสพรหม อย่างเดียว จะไม่มาเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกเลย
แล้วจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ดับขันธ์นิพพานบนสุทาวาสพรหมนั้น
ชั้นสุทาวาสพรหม เป็นชั้นของพระพรหมที่เป็นที่จุติของพระอนาคามีอริยะบุคคลในพระพุทธศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น
ซึ่งสามารถแบ่งลำดับชั้นในสุทาวาสพรหมได้อีก 5 ชั้น จากลำดับล่างไปสู่ชั้นสูง ดังนี้
1 ชั้นอวิหาภูมิ
2.ชั้นอตัปปาภูมิ
3.ชั้นสุทัสสาภูมิ
4.ชั้นสุทัสสีภูมิ
5.ชั้นอกนิฏฐกาภูมิ
ซึ่งพระอนาคามีท่านจะไปจุติตามชั้นต่างๆ ตามกำลังพละ 5 ของท่านที่เด่นชัด



พระอริยะบุคคลประเภทที่ 4. พระอรหันต์บุคคล
คือพระอริยะบุคคลที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ 16 ญาณในรอบที่ 3 แล้ว
ก็ยังกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนวิปัสสนาญานบังเกิดขึ้นในรอบที่ 4 ตั้งแต่ญาณที่ 4 อุทยัพพยญาณจนญานที่ 12
อนุโลมญาณ ชึ่งวิปัสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นอย่างละเอียดอ่อนแจ่มแจ้งเป็นที่สุดด้วยบารมีที่เต็มบริบูรณ์ และติดตามด้วย
โวทานะ โวทานะแทนโคตรภูญาณ เพราะท่านเป็นอริยะบุคคลแล้ว ก็บรรลุถึงพระอรหัตมรรค
สามารถตัดกิเลสทั้งหมดได้สิ้นเชิง และเมื่อฝ่านตลอดทั้ง 16 ญาณในรอบที่ 4
กิเลสที่ตัดขาดโดยอรหัตมรรคได้แก่สัญโญชน์ที่เหลืออยู่ 5 อย่างคือ
6. รูปราคะสัญโญชน์ คือความยินดีในรูปภพ
7. อรูปราคะสัญโญชน์ คือความยินดีในอรูปภพ
8. มานะสัญโญชน์ คือความถือตัว
9. อุทธัจจะสัญโญชน์ คือความที่จิตฟุ้งไป ไม่สามารถตั้งอยู่อารมณ์เดียวได้นาน
10. อวิชชาสัญโญชน์ คือสภาพไม่รู้ ความมืดหลงของจิต หรือ โง่ หรือ โมหะ

คุณวิเศษของพระอรหันต์ได้รับมีดังนี้
1. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระอรหันต์ได้
2. ไม่มีกิเลสเหลือในจิตใจแม้แต่เพียงนิดเดียว
3. เมื่อดับขันธ์ต้องปรินิพพานอย่างเดียว

ประเภทพระอรหันต์ แบ่งตามกำลังสมาธิได้ 2 ประเภท
1. เจโตวิมุติอรหันต์ ได้แก่ท่านผู้ที่ได้ฌานมาก่อนแล้วมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
หรือท่านที่ปฏิบัติวิปัสสนาอย่างเดียว แต่เมื่อพระอรหัตมรรคจะอุบัติขึ้นนั้น ฌานก็อุบัติขึ้นในขณะนั้นเอง
ด้วยบารมีที่สังสมมา ท่านเหล่านี้เรียกว่า ฌานลาภีบุคคล คือสำเร็จฌานสมาบัติได้วิชา 3 อภิญญา 6
มีคุณสมบัติแสดงฤทธิ์ทั้งหลายได้
2. ปัญญาวิมุติอรหันต์ ได้แก่พระอรหันต์ที่ท่านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวล้วนๆ และฌานไม่มีเกิดขึ้นเลย
พระอรหันต์เหล่านี้มีชื่อว่า สุกขวิปัสสโก ไม่สามารถที่จะแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
ประเภทพระอรหันต์ ยังแบ่งตามความแตกฉานได้ 2 ประเภทใหญ่
1. ปฏิสัมภิทาปัตตอรหันต์ ได้แก่พระอรหันผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา
เพราะเมื่อท่านบรรลุอรหัตมรรคอรหัตผลนั้นปฏิสัมภิทาญาณ ทั้ง 4 หรืออย่างหนึ่งอย่างใดบังเกิดขึ้น มีดังนี้
- อรรถปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในอรรถ
- ธรรมปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในธรรม
- นิรุตติปฏิสมภิทา คือแตกฉานในภาษา
- ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในปฏิภาน
2. อัปปฏิสัมภิทาปัตตอรหันต์ ได้แก่พระอรหันต์ผู้ชึ่งไม่แตกฉานในปฏิสัมภิทาญานทั้ง 4
ซึ่งพระอรหันเหล่านี้มีเชื่อเรียกอีกอย่างว่า มูคพระอรหันต์ คือพระอรหันต์ผู้ที่ไม่มีความรู้ในปริยัติธรรม
การที่ท่านจะได้บรรลุพระอรหันประเภท เจโตวิมุติอรหันต์ มีวิชา 3 อภิญญา 6 หรือ ปฏิสัมภิทาปัตตอรหันต์
เกิดจากท่านได้เคยสร้างสมอบรมบารมีมาก่อนแต่ชาติปางก่อน และ/หรือ ท่านเคยตั้งจิตอธิฐานเมื่อประกอบกุศลต่างๆ
โดยนัยว่า "เมื่อข้าพเจ้า ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์สาวกแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า
ขอให้มัคคสิทธิฌานหรือพระปฏิสัมภิทาญาณจงบังเกิดขึ้นพร้อมกับได้บรรลุมรรคผลด้วยเถิด"
เพราะเนื่องด้วยได้อธิฐานบารมีอย่างนี้ไว้ การสังสมบารมีก็จะถูกชักนำไปทาง ฌาน อภิญญา และ ปฏิสัมภิทา
ตามฐานะจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ที่มีปฏิสัมภิทาพร้อมทั้งอภิญญา 6 ไม่ใช่ว่าพออธิฐานแล้วไม่ต้องทำอะไร
รอเมื่อถึงเวลาก็จะได้เอง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของคนส่วนมาก
เพราะไม่มีสิ่งใดเลยที่ไม่ต้องมีเหตุปัจจัยอันสมบูรณ์แล้วจะได้ผลอันสมบูรณ์

Diese Webseite wurde kostenlos mit Homepage-Baukasten.de erstellt. Willst du auch eine eigene Webseite?
Gratis anmelden